ลัทธิอกายนิพพาน


Agai-nippan


ลัทธิอกายนิพพาน เป็นลัทธิใหม่ของศาสนาพุทธ อุบัติขี้นเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ โดยอุบาสกสัมพันธ์

อกายนิพพาน เป็นการนิพพานโดยอกาย หรืออิสระต่อกาย


เนื่องด้วย การดับกิเลสทั้งปวง จะต้องมีบุญบารมีอย่างสูง พระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบุญบารมีถึง ๕๐๐ ชาติ จึงจะปรินิพพานได้ แต่ปุถุชนทั่วไป มิได้มีบุญบารมีสูงเฉกเช่นพระพุทธเจ้า ปุถุชนจึงต้องหาวิธีทางลัดสู่นิพพาน วิธีทางลัดนั้นก็คือ อกายนิพพาน


อกายนิพพาน เป็นยุทธวิธียุทธศาสตร์บำเพ็ญจิตให้เป็นอิสระต่อกาย อิสระต่อกามราคะ กามราคะเป็นตัวล่อตัวเชื่อมที่สำคัญยิ่งของกิเลสทั้งปวง กามราคะทำให้เกิดกาย ซึ่งเป็นตัวเชื่อมไปยังกายกรรม วจีกรรมและนโนกรรม เป็นตัวการสนองตอบต่อกิเลสทั้งปวง ไม่มีวัฏจักรกาย ก็ไม่มีกายกรรม ไม่มีวจีกรรม ไม่มีมโนกรรม

ปุถุชนทั้งปวง ต้องบำเพ็ญภาวนาให้จิตเป็นอิสระต่อกามราคะ อิสระต่อกายเพื่อตัดวงจรกายกรรม วจีกรรม นโนกรรม เพื่อตัดวงจรกิเลสทั้งปวง ชั่วนิรันทร์ดร


จิตอิสระ เป็นอย่างไร


จิตอิสระ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ


๑. จิตอิสระ ต่อสิ่งทั้งปวง นั้นคือ พระพุทธเจ้า , พระอรหันต์


๒. จิตอิสระ ต่อกาย/กาม/ราคะ นั้นคือ อกายนิพพาน ของปุถุชน


วิธีบำเพ็ญภาวนาของอกายนิพพาน


ตั้งสติ ตั้งจิตแน่วแน่ ณ จุดใด จุดหนึ่งของจักรวาล เนื่องจากพระพุทธเจ้าตรัสว่า ชีวิตเรา กับจักรวาล คือสิ่งเดียวกัน

เพื่อไม่ให้จิตอยู่บนโลก เป็นสัมภเวสี.

หายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ


หายใจเข้า ท่องคำว่า “ อะ “


หายใจออก ท่องคำว่า “ กายะ “


หรือ เห็นสิ่งใด ท่องในใจ " อะ - กายะ" ได้ตลอดเวลา


ท่อง ภาวนา คำว่า อะ – กายะ ชั่วนิรันทร์ดร


ลัทธิ อกายนิพพาน ไม่ยึดถือ ของนอกกาย ไม่ยีอถือสิ่งแวดล้อมสิ่งสัมผัสนอกกาย ที่ทำให้เกิดทุกข์ บำรุงจิตด้วยศีล ๕ และทาน ๑๐ ประการ


อะไรถือเป็นอกาย


อกาย แปลว่า ไม่มีกาย ไม่มีรูปร่าง หรือว่างเปล่า


สิ่งที่ประสบ สิ่งที่สัมผัสทุกอย่าง ถือเป็นอกาย เช่น



การนินทา เป็นนินทาอกาย


การด่า เป็นการด่าอกาย


การโกรธ เป็นการโกรธอกาย


ความแค้น เป็นความแค้นอกาย


ความริษยา เป็นความริษยาอกาย


การหลง เป็นการหลงอกาย


ความปรารถนา เป็นการปราถนาอกาย


ความกลัว เป็นความกลัวอกาย


ความกังวล เป็นความกังวลอกาย


ลัทธิอกายนิพพาน ถือว่า สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งเดียวกัน


๑. การเกิด – การสร้างบาป – การสร้างกรรม


๒. ไม่เกิด – ไม่สร้างบาป – ไม่สร้างกรรม


๓. การทำบุญบารมี – การบำเพ็ญภาวนา – การเผยแพร่คำสอน


๔. การภาวนา – การทำจิตอิสระ – การมีสติระลึก


๕. นิพพาน – ดับทุกข์ – ดับกิเลส


การควบคุมกายเป็นอกาย


ขณะยังมีชีวิต จะควบคุมกายให้เป็นอกาย ได้อย่างไร


๑. ควบคุมกาย ไม่ให้ทำตาม จิตอกุศล ตัดกายกรรม


๒. ควบคุมปาก ไม่ให้พูดตาม จิตอกุศล ตัดวจีกรรม


๓. ควบคุมสมอง ไม่ให้คิดตาม จิตอกุศล ตัดมโนกรรม


กายของพระพุทธเจ้า , พระอรหันต์ ถือเป็น อกาย เนื่องจากไม่มีกายกรรม ไม่มีวจีกรรม ไม่มีมโนกรรม


บำรุงจิต ด้วย ศีล 5


๑. เว้นจากทำลายชีวิต


๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้


๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม


๔. เว้นจากพูดเท็จ


๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


บำรุงศีล ๕ ด้วยบุญ ๑๐ ประการ


1.การให้ทาน ประกอบด้วย ให้วัตถุสิ่งของ ให้ธรรมะ และให้อภัย สังเกตใจทุกครั้งที่มีโอกาสให้ ทานว่า ให้ด้วยความเต็มใจ เปี่ยมสุขหรือมีสิ่งใดตกค้างขัดขวางอยู่บ้าง ก็สลัดออกไป


2.การสมาทานศีล คือความตั้งใจที่จะงดเว้นจากการกระทำที่เบียดเบียนตนเอง และเบียดเบียนผู้อื่น เพราะเห็นโทษของการกระทำนั้นๆและเต็มใจสลัดขัดเกลาอย่างเต็มสติกำลัง


3.การภาวนา คือการเฝ้าระวังรักษาใจมิให้เผลอไผลสร้างตัวตนขึ้นมาก่อทุกข์ เพราะเกิดความรู้สึกตัวตนครั้งหนึ่ง กระบวนการเกิดทุกข์ยกโขยงมาทั้งขบวน เมื่อใจไม่ต้องแบกตัวตน ก็กลายเป็นใจเบา หรือเบาใจนี้แหละคือใจในขณะที่ว่างจากตัวตน


4.ความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความอ่อนโยนหรือ อ่อนน้อมถ่อมตนที่แท้คือวิธีการลดตัวตนชนิดหนึ่ง การ ทำบุญ ที่ง่ายที่สุด ได้ผลมากไม่แพ้วิธีอื่นๆก็คือการอ่อนน้อมถ่อมตนนี้เอง


5.เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่น งานที่เรียกกันว่างานอาสาสมัคร ที่คนทำกันอยู่โดยทั่วไป หรือ การรวมกลุ่มกันบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ชุมชนใดๆโดยไม่รับสิ่งใดๆตอบแทน


6.การแสดงธรรม การที่พระสงฆ์แสดงธรรมก็ดี การที่ใครๆแม้มิใช่เป็นพระสงฆ์แต่มีเจตจำนง มีความปรารถนาดีในการบอกทางชีวิตดีๆให้แก่เพื่อนผู้ต่างการชี้ทางล้วนเป็น การแสดงธรรม


7.การฟังธรรม การตั้งใจฟังธรรมจากพระสงฆ์ที่แสดงธรรม การฟังธรรมจากสื่อธรรม เพื่อเพิ่มความรู้ทางชีวิตที่ถูกต้อง ล้วนเป็นการ ทำบุญ ที่จะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขทั้งนั้น


8.การมอบความดีให้แก่กันและกัน เมื่อได้สร้างความดีอย่างใดแล้ว ตั้งใจเผื่อแผ่ความดีนั้นไปให้แก่ผู้อื่นด้วยการตั้งความปรารถนาดีแก่บุคคล ทั้งที่เป็นที่รักและที่เคยเกลียดชัง ให้สิ่งเหล่านั้นหายขาดเลิกแล้วต่อกัน วางใจเป็นกลาง


9.การพลอยยินดีกับผู้อื่น เมื่อเห็นว่าพวกเขาทำความดี เป็นการสร้างกำลังใจให้แก่สังคม สลายความอิจฉาจากใจ ไม่ตกนรก นั่งนอนเป็นสุข แค่นั้นก็เห็นสวรรค์อยู่ตรงหน้า


10.ทำความเห็นให้ตรง เมื่อใดใช้สติพิจารณา กิจกรรมที่ผ่านมาในชีวิตแล้ว ทบทวนว่า สิ่งใดดีควรจะเพิ่มเติม และหากพบว่าสิ่งใดไม่ดี ไม่เป็นประโยชน์มีแต่โทษเจือปน ต้องตัดใจขจัดออกไปอย่างตรงไปตรงมาไม่ปล่อยให้ค้างคาชีวิต


อุปมาต้นไม้อกายนิพพาน


ผล - นิพพาน-อกาย-ไม่เกิด


ใบไม้ - บุญบารมี


กิ่งก้าน - ภาวนา อะ กายะ


ลำต้น - จิต


ราก - บุญบารมีแต่ชาติปางก่อน


น้ำ - ศีล ๕


ปุ๋ย - ทาน ๑๐ ประการ


อุปมาต้นไม้ปรินิพพานของพระอรหันต์


ผล - ปรินิพพาน


ใบไม้ - บุญบารมี


กิ่งก้าน - ภาวนา / วิปัสสนา...พุทโธ /........


ลำต้น - จิต


ราก - บุญบารมีแต่ชาติปางก่อน


น้ำ - ศีลทั้งปวง


ปุ๋ย - ทานทั้งปวง


อุปมา อกายนิพพาน และ ปรินิพพาน



   ปรินิพพาน
      l
      l 
   ภาวนา / วิปัสสนา
      l
      l
   ศีลทั้งปวง
      l
      l
    ทานทั้งปวง
     l
     l
   อกายนิพพาน
      l
      l
    ภาวนา
      l
      l
    ศีล 5
      l
      l
   ทาน 10 ประการ
พระพุทธเจ้า สอนว่า อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้ฟัง อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน การปฏิบัติจริง จะทำให้รู้ข้อเท็จจริง


วงจรตัดกิเลสของอกายนิพพาน


 
          l------------------------------------------------           กิเลสทั้งปวง
          l                                                                          l
          l                                                  ตัดวงจร  ..............................ปรินิพพานโดยพระพุทธเจ้า
          l                                                                          l
          l                                                                  กาย /กาม / ราคะ
 
          l                                                 ตัดวงจร.......... .  .l.......................อกายนิพพาน
          l                                                                    จิตอิสระต่อกาย-กาม/ราคะ+บำรุงจิตด้วยศีล ๕ - ทาน ๑๐ ประการ                                                                                                                                            
          l                                                                          l
          l                                                                     กาย  -   กายกรรม  วจีกรรม   มโนกรรม
          l                                                                          l
          l                    การสนองตอบ                                   l
          l----------------------------------------------------- -----l
 
 
……………………


ร่วมสร้างเผยแพร่ ลัทธิอกายนิพพาน จักเป็นบุญบารมีแก่ตนเองและจักเป็นคุณที่ยิ่งใหญ่ต่อมนุษยชาติ

againippan@gmail.com




Free Web Hosting