วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
กฏ อิทัปปัจจยตา
"เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น"
"ถ้าไม่มีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ก็ไม่เกิดขึ้น"
ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ เกิดตาม เหตุ ตามปัจจัย
"ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ผลอย่างนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น"
มันเป็นกฏวิทยาศาสตร์เหมือนกัน พิสูจน์ได้ มีเหตุและมีผล
เจริญในธรรม :b8:


แปลว่าถ้าไม่ขอ ก็จะไม่ได้ :b14:

หรือแปลว่า ทำไปเถอะ ถึงไม่ต้องขอ เดี๋ยวก็ได้ :b23: แปลไม่ออกจริงๆครับ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านฮาฯเขียน:

อ้างคำพูด:
การขอนั้น มีกิเลสคือโลภะ(ตัณหาราคะ)และโทสะ(ความเดือดร้อนทั้งทางกายและใจ)เข้าบงการหรือชักจูงไปให้กระทำ
-----ถ้า ผมอธิษฐานหลังตักบาตรว่าขอให้ได้มรรคผลนิพพาน หรืออีกทางหนึ่งอธิษฐานว่าขอให้ได้เรียนสูงๆจะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีเงินมากๆ จะได้เลี้ยงแม่ได้ดีๆ แบบไหนเรียกขอแบบไหนเรียกอธิษฐานครับ


ตอบ: ขอให้ได้มรรคผลนิพพาน อันนี้เป็นอธิษฐานต่อเมื่อ รู้ความหมายของนิพพานว่าคืออะไร ถ้าเข้าใจว่านิพพานเป็นดินแดนอมตะอันนี้เรียกว่า"ขอ"ครับ เพราะเป็นไปกับโลภะและโมหะ..เพราะอยากสบายได้อยู่แบบอมตะ(ภวตัณหา)... คนที่คิดอยากได้มรรคผลนิพพานได้อย่างแท้จริง ก็ด้วยอำนาจของ"ปัญญา" ที่เกิดได้เฉพาะหลังจากได้"สดับคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้า"มาแล้วเท่านั้น นอกนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ...

ขอให้ได้เรียนสูงๆจะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีเงินมากๆ จะได้เลี้ยงแม่ได้ดีๆ --อันนี้ ขอ ครับ คล้ายๆขอทานน่ะครับ คืออยากได้เพื่อไปบำรุงบำเรอตนและบริวารที่ตนรักด้วยตัณหา..คำขอคล้ายดูดีว่าเพื่อพ่อแม่ แต่ก็ไม่พ้นตัณหา เพราะยึดว่านี่พ่อแม่ของเรา เราจึงรัก ถ้าเป็นพ่อแม่คนอื่นเราไม่สนเลย จริงใหม?...

ถ้าตั้งเจตนาว่า ขอให้ได้เรียนสูงๆจะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีเงินมากๆ จะได้ สามารถช่วยเหลือคนที่ยากจนทั้งตำบล (เกรงใจมาก เลยไม่ยกตย เป็นระดับประเทศหรือโลก)ให้มีกินมีใช้ นี่เป็นคำอธิิษฐาน ..เกิดจากจิตที่มี"กรุณา"เพราะเห็นสัตว์อื่นทุกข์ื มีได้ด้วยปัญญานำไป.. ไม่ได้เกิดเพราะเขลา .. ตัวอย่างนี้ เกิดมีเป็นปรกติในพระโพธิสัตว์ทั้งหลายครับ

อ้างคำพูด:
การอธิษฐานเปรียบเสมือนจรวดนำวิถี เพื่อให้ถึงเป้าโดยตรง ไม่กระจัดกระจายไปตามยถากรรม
-----Action = Reaction อยู่แล้วนี่ครับ ฉะนั้นอธิษฐานหรือไม่อธิษฐาน ผลก็น่าจะไม่ต่างกันมาก


คุณฮาฯ ช่วยอ่านข้อความที่้ตัวใหญ่ข้างบนสักสามรอบนะครับ..จะให้ดี อ่านที่ผมเขียนข้างบนอีกด้วย บางทีการอ่านซ้ำอาจได้ความเข้าใจเพิ่มได้นะครับ...

ขอยกอุปมาขึ้นเพื่ออาจช่วยให้เข้าใจอะไรๆได้.. :b1:

คุณฮาฯ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน... เมื่อจะโจมตีเป้าหมายใด การยิงด้วยจรวดธรรมดากับจรวดนำวิถี อย่างใดจะถูกเป้ามากกว่า? จรวดทั้งสองต่างหรือเหมือนกัน?...

คุณฮาฯอาจไม่เข้าใจเพราะไม่ใช่ทหาร.. เอาอีกอุปมาหนึ่งก็ได้..

หากคุณฮาฯ ต้องการน้ำฝน จะนำตุ่มไปตั้งกลางบ้าน หรือจะนำไปตั้งใ้ต้รางรองน้ำฝนดีครับ อย่างใดทำให้ได้น้ำมากกว่า ต่างกันใหมครับ?..

:b55: :b54: :b55:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าตั้งเจตนาว่า ขอ ให้ได้เรียนสูงๆจะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีเงินมากๆ จะได้ สามารถช่วยเหลือคนที่ยากจนทั้งตำบล (เกรงใจมาก เลยไม่ยกตย เป็นระดับประเทศหรือโลก)ให้มีกินมีใช้ นี่เป็นคำอธิิษฐาน ..เกิดจากจิตที่มี"กรุณา"เพราะเห็นสัตว์อื่นทุกข์ื มีได้ด้วยปัญญานำไป.. ไม่ได้เกิดเพราะเขลา .. ตัวอย่างนี้ เกิดมีเป็นปรกติในพระโพธิสัตว์ทั้งหลายครับ
-----แต่ยังไงมันก็คือตำบลของเรานี่ครับ ซึงผมเข้าใจว่า ก็ไม่ต่างจากทำเพื่อแม่ของเรา หรือเพื่อจังหวัดของเรา ไม่น่าต่างกันนี่ครับ ทำไมเปลี่ยนจาก ขอ ไปเป็น อธิษฐานได้ :b14:

คุณฮาฯ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน... เมื่อจะโจมตีเป้าหมายใด การยิงด้วยจรวดธรรมดากับจรวดนำวิถี อย่างใดจะถูกเป้ามากกว่า? จรวดทั้งสองต่างหรือเหมือนกัน?...
-----อันนี้พอนึกภาพออกครับ ว่าแบบนำวิถีมันจะตรงเป้ากว่า
-----ผมจะลองสรุปดูนะครับว่า หากไม่อธิษฐาน ผลบุญที่ได้อาจไม่ตรงเป้าที่เราหวัง เช่นอยากนิพพาน แต่กลับไปได้หน้าตาดีแทน เป็นต้น ถูกไหมครับ :b14: ถ้าถูก...ผมก็มีคำถามต่อไปว่า ทำบุญอย่างนึง มันก็มีผลของมันอย่างนึงอยู่แล้วนี่ครับ เช่น ให้ทานด้วยหนังสือ จะได้..... มีใจรักไม่เบียดเบียนสัตว์โลกก็จะได้...... รักษาศีลห้าครบ ก็จะส่งผลให้.... ถ้าอย่างนั้นเราจะต้องอธิฐานทำไมครับ :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำบุญที่ดีคือ ทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แล้วทำไมต้องให้อธิษฐานครับ

อธิษฐาน (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))
2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา


บัญญัติธรรมตามความหมายแล้ว การอธิษฐานต่างจากการขอครับ

การขอ ผู้ขอไม่ได้ตั้งใจแต่แรกว่า “จะทำ” แต่เป็นการพึ่งพาให้ผู้อื่น “กระทำ” แทนให้ตน ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่หรือส่วนที่ยากของการกระทำนั้นๆ)

แต่การอธิษฐาน ผู้อธิษฐานตั้งใจแต่แรกว่า จะเป็นผู้กระทำการนั้นๆให้ถึงจุดหมายด้วยตนเอง (แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน ตามคำอธิบาย) ไม่ว่าจะทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ หรือในส่วนที่ยาก โดยผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรืออำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น

การอธิษฐานที่ถูกต้องหลังทำบุญหรือทำทาน จึงเป็นการ “ตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน” (วงเล็บ) และกระทำ "ด้วยตนเอง" ไม่ใช่การขอ เหมือนดังที่คุณ –dd- ว่าน่ะครับ

ถ้าพิจารณาทางแนวคิดตะวันตก การอธิษฐาน จะเป็นการฝังความตั้งใจมั่นที่จะทำอะไรสักอย่างให้ประสบผลสำเร็จ โดยฝังลงไปในจิตใต้สำนึก โดยมีความเชื่อว่า จิตใต้สำนึก (Subconscious) เป็นตัวที่คอย drive การกระทำของเราให้ไปในแนวทางที่ตั้งใจไว้ แม้ในยามท้อแท้ อ่อนแรง สิ้นหวัง

(note ไว้หน่อยครับ จิตใต้สำนึกของตะวันตก คือจิตอะไรในทางพุทธ ขอยกไว้ก่อน เพราะไม่ทราบจริงๆในการใช้บัญญัติใดเทียบให้ใกล้เคียง บางท่านก็ว่า เป็นภวังคจิต ซึ่งผมว่า อาจจะไม่ตรงเสียทีเดียวตามอรรถกถา ฯลฯ เอาไว้ให้ผู้รู้ที่เป็นนักปริยัติ หรือศิษย์ผู้รู้ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มาตอบแล้วกันครับ)

ซึ่งการฝังอะไรลงไปให้ถึงจิตใต้สำนึกนั้น จะต้องฝังลงไปในขณะที่เหมาะสม คือ จิตเป็นสมาธิ (หมายถึงการปลูกฝังด้วยตนเอง ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้อื่นมาปลูกฝังให้ เช่น การสะกดจิต)

ดังนั้น ก่อนการอธิษฐาน จึงต้องมีกระบวนการที่ใช้คำว่า “การตั้งจิต” แล้วจึง “อธิษฐาน” นั่นคือ มีการเหนี่ยวนำให้จิตเกิดสมาธิก่อนการอธิษฐาน เพื่อฝังความตั้งใจอย่างแน่วแน่ลงไปในจิตใต้สำนึก

ดังนั้น Key word คือ การทำจิตให้เกิดมาธิก่อนการอธิษฐาน และการทำจิตให้เกิดสมาธิได้ง่ายนั้น ต้องไปสร้างเหตุใกล้ของสมาธิ ซึ่งได้แก่ ความสุข

และตามที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ว่า “คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข” (ขุ.อิติ. ๒๕/๒๐๐/๒๔๐) ดังนั้น การทำบุญหรือทำทาน จึงเป็นกุศโลบายที่ทำให้จิตเกิดความสุข เมื่อจิตเป็นสุขแล้ว การเกิดขึ้นของสมาธิจึงมีได้โดยง่าย ท่านจึงให้ใช้สภาวะที่เหมาะสมหลังจากทำบุญหรือทำทานตรงนี้ เป็นเหตุเอื้อในการหนุนส่ง ให้การตั้งจิตอธิษฐานที่กระทำตามมา มีผลที่มากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อน (drive) ที่แน่วแน่และมุ่งมั่น แม้ในยามท้อแท้ อ่อนแรง สิ้นหวังครับ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 13 ก.ย. 2010, 23:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ :b1: :b48: :b41:

ส่วนผลโดยตรงของบุญหรือทานที่ทำไปแล้วนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เนื่องมาจากการอธิษฐานในตอนหลัง แต่เป็นผลที่เนื่องมาจากความตั้งใจในขณะทำบุญหรือทำทานนั้นๆ โดยศึกษาได้จากทานสูตร ว่าด้วยการทำทานด้วยความหวังต่างๆ จะส่งผลให้เป็นเทวดาในชั้นไหน ฯลฯ

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องทานในข้อสุดท้าย คือ ให้ทานเพื่อ“เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต”คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้หมดจดจากกิเลส เป็น“ทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก”คือ “ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม” คือ อนาคามีภูมิ และ“เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา” คือ กลับมาเกิดในโลกนี้อีก ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ตามพระสูตรและอรรถกถา

ทานสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


หรือโดยย่อ ตัดทอนมาจาก "ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก" (ประณีต ก้องสมุทร) ครับ :b1: :b46:

http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html

๑. บุคคลบางคน ให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว จักได้เสวยผลของทานนี้ เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๒. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน แต่ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี เป็นบุญ เป็นกุศล จึงให้ เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๓. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี แต่ให้ทานเพราะละอายใจที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษเคยทำมา ถ้าไม่ทำก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๔. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ แต่ให้ทานเพราะเห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ ถ้าไม่ให้ก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๕. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่า สมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ แต่ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทานมาแล้ว เขาตายไปได้เกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๖. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่าสมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ ไม่ได้ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทาน แต่ให้ทานเพราะคิดว่า เมื่อให้แล้ว จิตจะเลื่อมใสโสมนัสจึงให้ ครั้นตายไปย่อมเกิดในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม
สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานเพราะเหตุที่กล่าวแล้วทั้ง ๖ อย่างข้างต้นนั้น แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล ตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก

สรุปรวมความว่า ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิดที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์ แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้ ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย มีอานิสงส์มากด้วย เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส

ฉะนั้นคำว่า "อานิสงส์มาก" ในที่นี้ จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องเกิดอีก

จริงอยู่ การเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นนั้น มีความสุขมาก เพราะได้รับกามคุณอันเลอเลิศที่เป็นทิพย์ ละเอียดประณีตขึ้นไปตามลำดับชั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของชวนให้หลงใหล เป็นของมีสุขน้อย แต่มีโทษมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม คือ อนุปุพพิกถา แก่คฤหัสถ์ จึงได้ทรงแสดงโทษของกามไว้ด้วย ผู้ที่ยินดีหลงไหลเพลิดเพลินในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมไม่อาจล่วงทุกข์ไปได้ ผู้ที่จะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะเห็นโทษของกาม ก้าวออกจากกามด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น

ด้วยเหตุนั้น ทานที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ขัดเกลาจิตให้อ่อน ให้ควรแก่การเจริญสมถะและวิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลไม่ต้องกลับมาเกิดอีก จึงเป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มากแม้สังฆทานที่กล่าวว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็เพราะผู้ถวายมีโอกาสได้ฟังธรรมจากสงฆ์แล้วบรรลุอริยสัจธรรม ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก

พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์โลกแม้เมื่อทรงแสดงเรื่องทาน ก็ทรงแสดงให้พุทธบริษัทได้รับประโยชน์ครบทั้ง ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ มรรค ผล นิพพาน ด้วยเหตุนี้ จึงควรทำใจให้เลื่อมใส บำเพ็ญทานให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริง


เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การขอ ผู้ขอไม่ได้ตั้งใจแต่แรกว่า “จะทำ” แต่เป็นการพึ่งพาให้ผู้อื่น “กระทำ” แทนให้ตน ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่หรือส่วนที่ยากของการกระทำนั้นๆ)

แต่การอธิษฐาน ผู้อธิษฐานตั้งใจแต่แรกว่า จะเป็นผู้กระทำการนั้นๆให้ถึงจุดหมายด้วยตนเอง (แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน ตามคำอธิบาย) ไม่ว่าจะทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ หรือในส่วนที่ยาก โดยผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรืออำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น
-----มันก็คือการขอนั่นแหละครับ ผมเข้าใจว่าแค่เขียนต่างเท่านั้นเองครับ ยกตัวอย่างประกอบ เช่น

-----โดยผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรืออำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น
-----เขียนอีกอย่างก็คือ ขอให้ผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรือขอให้อำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น

-----ถูกไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ศรีสมบัติ เขียน:
กฏ อิทัปปัจจยตา
"เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น"
"ถ้าไม่มีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ก็ไม่เกิดขึ้น"
ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ เกิดตาม เหตุ ตามปัจจัย
"ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ผลอย่างนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น"
มันเป็นกฏวิทยาศาสตร์เหมือนกัน พิสูจน์ได้ มีเหตุและมีผล
เจริญในธรรม :b8:


แปลว่าถ้าไม่ขอ ก็จะไม่ได้ :b14:

หรือแปลว่า ทำไปเถอะ ถึงไม่ต้องขอ เดี๋ยวก็ได้ :b23: แปลไม่ออกจริงๆครับ :b10:


แปลว่า..การร้องขอหรืออ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่เรานับถืออย่างเดียว...มันไม่สำเร็จไม่ได้ตามปรารถนาแน่...นอกซะจากจะลงมือกระทำหรือปฏิบัติด้วย...
คือกระทำสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น...เหตุ ปัจจัย มายังไง ผลก็จะต้องตามมาอย่างนั้น..แน่นอน
อยากจะสอบเข้ามหาลัย..จะอธิษฐาน..หรือ อ้อนวอนร้องขอ..อย่างเดียว ถ้าไม่อ่าน ไม่ศึกษาค้นคว้าเลย หรือจะสอบติด ..
อยากจะไปถึง พระนิพพาน...มัวแต่อธิษฐาน อย่างเดียว ไปไม่ถึงแน่ๆ จะชาตินี้ชาติหน้า ถ้าไม่ลงมือ ปฏิบัติ...
ยา ถ้าเราอ่านวิธีใช้อย่างเดียว..รู้วิธีกิน..รู้ว่าแก้โรคอะไรๆ ฯลฯ แต่ถ้าไม่กินโรคก็ไม่หาย
ก็คือ...วันนี้ถ้าเรากระทำแต่กรรมดีอันเป็นกุศลวันหน้าเราก็จะได้รับกรรมดี คือบุญกุศลนี้แน่นอนโดยอัตโนมัติ(ไม่จำเป็นต้องร้องขอหรืออธิษฐานก็ได้)
หวังว่าคงจะพอเข้าใจนะครับ
เจริญในธรรม :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 14 ก.ย. 2010, 09:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าตั้งเจตนาว่า ขอ ให้ได้เรียนสูงๆจะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีเงินมากๆ จะได้ สามารถช่วยเหลือคนที่ยากจนทั้งตำบล (เกรงใจมาก เลยไม่ยกตย เป็นระดับประเทศหรือโลก)ให้มีกินมีใช้ นี่เป็นคำอธิิษฐาน ..เกิดจากจิตที่มี"กรุณา"เพราะเห็นสัตว์อื่นทุกข์ื มีได้ด้วยปัญญานำไป.. ไม่ได้เกิดเพราะเขลา .. ตัวอย่างนี้ เกิดมีเป็นปรกติในพระโพธิสัตว์ทั้งหลายครับ
-----แต่ยังไงมันก็คือตำบลของเรานี่ครับ ซึงผมเข้าใจว่า ก็ไม่ต่างจากทำเพื่อแม่ของเรา หรือเพื่อจังหวัดของเรา ไม่น่าต่างกันนี่ครับ ทำไมเปลี่ยนจาก ขอ ไปเป็น อธิษฐานได้



ชอบข้อความตรงนี้ของคุณค่ะ :b17:

สำหรับเรา เวลาที่เราทำบุญ เราไม่เคยอธิฐานขออะไรให้ตัวเองเลยค่ะ
ส่วนใหญ่จะอุทิศผลบุญ ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเท่านั้นเอง

แต่ถ้ามีเหตุการณ์อะไร ที่ตัวเราและสมองของเรา ไม่สามารถที่จะแก้ไข
เหตุการณ์หรืออะไรเหล่านั้นได้ เราจะตั้งจิตถึงท่านโพธิสัตว์กวนอิมให้ท่านช่วยค่ะ
คือไม่ได้ขอบ่อยๆน่ะ

การให้ทานแล้วเราไม่หวังผลอะไรตอบแทน เราให้เพราะจิตเมตตากรุณา
ให้แล้วใจไม่ทุกข์ เป็นผลบุญที่ใหญ่ค่ะ
ถ้าให้แล้วหวังผลตอบแทน
บุญนั้นจะเล็กแค่เม็ดทรายค่ะ :b1: :b41: :b55: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณฮาฯเขียน:-----แต่ยังไงมันก็คือตำบลของเรานี่ครับ ซึงผมเข้าใจว่า ก็ไม่ต่างจากทำเพื่อแม่ของเรา หรือเพื่อจังหวัดของเรา ไม่น่าต่างกันนี่ครับ ทำไมเปลี่ยนจาก ขอ ไปเป็น อธิษฐานได้


ดูที่ผมยกตัวอย่างนะครับว่า ผมเขียนว่า"ตำบล" (ประเทศ โลก) เฉยๆ ไม่มีคำว่าของเรา .. เพียงจะสื่อถึงสาระว่าเป็นเรื่องเป้าหมายที่ไม่นำประโยชน์เข้าตัวหรือบริวารของตัว...

อ้างคำพูด:
-----ผมจะลองสรุปดูนะครับว่า หากไม่อธิษฐาน ผลบุญที่ได้อาจไม่ตรงเป้าที่เราหวัง เช่นอยากนิพพาน แต่กลับไปได้หน้าตาดีแทน เป็นต้น ถูกไหมครับ :b14:


ไม่ถูกครับ บุญอย่างไรก็ให้ผลตรงกับเจตนาที่ทำครับ ส่วนเป้าหมายนั้นไม่เกี่ยวกับบุญนั้นๆครับ.แต่อาศัยบุญนั้นเป็นฐานส่งให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งได้..

อ้างคำพูด:
ถ้าถูก...ผมก็มีคำถามต่อไปว่า ทำบุญอย่างนึง มันก็มีผลของมันอย่างนึงอยู่แล้วนี่ครับ เช่น ให้ทานด้วยหนังสือ จะได้..... มีใจรักไม่เบียดเบียนสัตว์โลกก็จะได้...... รักษาศีลห้าครบ ก็จะส่งผลให้.... ถ้าอย่างนั้นเราจะต้องอธิฐานทำไมครับ :b23:


ดีแล้วที่คุณฮาฯถามตรงนี้..ประเด็นนี้สำคัญที่สุดในเรื่องการอธิษฐานในทางพุทธศาสนา ขอเพิ่มตรงนี้ (ที่ควรแจ้งไว้แต่แรกแต่ละเลยไปเพราะอนุโลมเอาว่า กำลังพูดเรื่องอธิษฐานตามความหมายของพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่รวมถึงลัทธิอื่นๆ) ว่าเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สรรเสริญการอธิษฐานเพื่อเป้าประสงค์ในการกำจัดกิเลสได้จนหมดสิ้นเป็นที่สุด..

ส่วนคำถามว่า ...
ถ้าอย่างนั้นเราจะต้องอธิฐานทำไมครับ

ข้อนี้[color=#008040]คุณฮาฯ
จะได้คำตอบจากคำถามข้างล่างนี้ครับ..


ในฐานะที่คุณฮาฯรับรองตนว่านับถือพุทธศาสนา..มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ก็ใคร่เรียนถามว่า คุณฮาฯพอทราบใหมครับว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร มีความเป็นมาที่จะได้"ฐานะ"นี้ อย่างไรครับ..หรือ เพียงเพราะทำบุญมากเท่านั้น..ผลบุญเลยส่งมาให้ได้ตำแหน่งนี้ ใช่ใหมครับ?..

...โดยอาการเดียวกัน ..พระอานนท์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอุบลวรรณา พระอุบาลีฯลฯ(คงเคยได้ยินชื่อมาบ้างนะครับ).. ท่านเหล่านี้ (ทำบุญมามาก)จึงได้"ฐานะ"ต่างๆใช่ใหมครับ?..

ขอให้ทราบว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าอันปรากฏในพระอภิธรรมนั้น แสดงหลักความจริงขั้นปรมัตถ์ว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดได้จากเหตุใดเพียงเหตุเดียวเหตุเดียว มีแต่เกิดได้จากปัจจัยมากมายหลายอย่างมาประชุมพร้อมกัน

ดังนั้น ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แม้ใครๆจะตั้งใจ..อยากได้อยากมีหรือเป็นอะไรอย่างใด ก็ใช่ว่าจะสำเร็จอะไรๆได้ด้วยเพียงการ"คิด/ ขอ/ อธิษฐาน" แต่ประการเดียวไม่
..ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีส่วนให้เกิดขึ้นด้วย เช่นกรรม ปโยคะ กาล อุปธิฯลฯ..

ดังนั้นการจัดการวางแนวเอาบุญที่ทำให้ส่งผลในทางที่ถูกควรคือเข้าเป็นปัจจัยสนันสนุนให้ตนหมดกิเลสจึงเป็นเรื่อง"ควรทำ"..แต่ก็ไม่ขัดแย้งอะไรกับใครที่จะปล่อยให้บุญส่งผลเองโดยไม่หวังหรือขออะไร นะครับ.. :b12:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
-----มันก็คือการขอนั่นแหละครับ ผมเข้าใจว่าแค่เขียนต่างเท่านั้นเองครับ ยกตัวอย่างประกอบ เช่น

-----โดยผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรืออำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น
-----เขียนอีกอย่างก็คือ ขอให้ผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรือขอให้อำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น

-----ถูกไหมครับ

ขยายความเพิ่มเติมครับ :b1: :b46: :b48:

ถ้าจะเข้าใจว่า การอธิษฐานเป็นการ “ขอ” หรือ “ขอให้” ก็อนุโลมตามบัญญัติที่คุณ halem1982 เข้าใจได้ครับ แต่แก่นจริงๆของการอธิษฐานในความหมายทางพุทธคือ “ขอ” หรือ “ขอให้” แล้ว ตนต้องเป็นผู้กระทำไม่ว่าจะทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ หรือในส่วนที่ยาก

โดยอาจจะพ่วงด้วยการ "ขอให้ผู้อื่นเป็นพียงแค่ผู้ช่วย ผู้แนะนำ หรือขอให้อำนวยความสะดวกไม่ให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น" ก็ได้ครับ เช่น อาจจะอธิษฐานตั้งใจสมาทานขอถือศีล ๘ (ด้วยตนเอง) และพ่วงด้วย ขอให้ (ผู้อื่น เทวดา ฯลฯ ช่วยป้องกัน) อย่าได้มีอุปสรรคอันใด (หรืออุบัติภัยอันใด ที่ตนเองควบคุมไม่ได้) เข้ามาขัดขวางความตั้งใจในการถือศีล ๘ ของตนเองเลย (โดยตนเองนั้น ต้องเป็นผู้ถือศีล ๘ ด้วยตนเอง) :b4: :b12: :b46:

ดังนั้น ขอแล้วการทำด้วยตัวเอง จะเป็นพระเอก ซึ่งต้องมี ส่วนการขอให้ผู้อื่นช่วยเสริมเข้าไปด้วยนั้น เป็นแค่ตัวประกอบครับ มี หรือไม่มี ก็ได้ :b48: :b53: :b51:

แต่ถ้าขอแล้วตนไม่กระทำ หรือกระทำเพียงเล็กน้อยในบทบาทแค่ตัวประกอบ จะไม่ใช่เรื่องของการอธิษฐานในความหมายทางพุทธครับ :b48: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ :b48: :b51: :b53: :b41:

การอธิษฐาน เกี่ยวข้องกับองค์ธรรมอีกองค์หนึ่ง คือ ศรัทธา (สัทธาเจตสิก) ซึ่งเป็นข้อแรกในพละ ๕ (ธรรมที่ทำให้เกิดกำลัง) :b4: :b46:

ดังนั้น การอธิษฐานจะเป็นการทำให้เราเอง เชื่อ (ศรัทธา) จนถึง เชื่อมั่น ว่าสิ่งที่อธิษฐานนั้น สามารถสำเร็จได้ด้วยการกระทำของตน นั่นคือ เป็นการปลูกฝังศรัทธาในความสามารถของตน ว่ามีพละ มีพลัง ที่จะทำในสิ่งที่อธิษฐานให้สำเร็จได้

และเมื่อมีศรัทธาที่แนบแน่นจนเป็นความเชื่อมั่นในความสามารถของตนแล้ว องค์ธรรมข้อต่อมาในพละ ๕ คือ วิริยะ ก็จะไม่คลอนแคลน แม้ในยามท้อแท้ อ่อนแรง สิ้นหวังครับ :b4: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกซักประโยคสองประโยคเพื่อเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติครับ :b46: :b48:

อธิษฐานบารมี ซึ่งเป็น ๑ ในทศบารมี ถ้าจะให้เห็นแจ้งถึงอานิสงค์จริงๆ คงต้องลองปฏิบัติดูด้วยครับ :b1:

จากประสบการณ์ส่วนตัว เวลาที่ต้องต่อสู้กับกิเลสบางตัวที่ยังแพ้ทางกันอยู่ ก่อนนอนและตื่นนอน ผมจะใช้วิธีทำสมาธิแล้วอธิษฐานจิต หรืออธิษฐานจิตแล้วเข้าสมาธิ เพื่อให้จิตมีกำลังตั้งมั่นในการต้านทานกับกำลังของกิเลสนั้นๆ เวลาเกิดการกระทบเกิดผัสสะจริงๆขึ้นมา จิตจะมีกำลังตั้งมั่น ซึ่งส่วนหนึ่งด้วยผลของการอธิษฐาน ไม่ปรุงแต่งไหลไปตามกิเลส พอที่จะเป็นผู้รู้ผู้ดูกิเลสที่จรเข้ามาให้เจริญภาวนาได้ตามสติปัฏฐานครับ :b1: :b45:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 23:00
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขออนุโมทนาด้วยนะคะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร