วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2021, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20200113_111304.jpg
20200113_111304.jpg [ 91.74 KiB | เปิดดู 1447 ครั้ง ]
มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับข้อใด
คำว่า สัญญา ก็มักจะแปลกันว่า ความจำ
คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่าความระลึกได้ บางครั้งก็แปลกันว่า ความจำ
และมีตัวอย่างที่เด่น เช่นพระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ
ในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่าสติ
ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศกว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"

เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช้กิจของธรรมข้อเดียว
แต่เป็นกิจของกระบวนการธรรม และกระบวนธรรมแห่งความจำนี้
สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าเป็นหลัก มีบทบาทสำคัญที่สุด

สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยวและเหลื่อมล้ำกันกับความจำ
กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา
อยู่นอกเหนือความหมายของคำว่าความจำ แม้สติก็เช่นเดียวกัน
ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งเป็นของสติ
อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการความทรงจำ

ข้อที่กำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญคือ สัญญา และ สติ
ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการการทรงจำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2021, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา

สัญญา กำหนดหมาย หรือหมายรู้อารมณ์เอาไว้
เมื่อประสบกับอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น
มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน
เรียกว่าจำได้ ถ้ามีข้อต่างกันก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้
หรือหมายรู้อารมณ์ไว้เป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (เป็นการเก็บเทียบข้อมูล) ก็ดี

สิ่งที่กำหนดหมายเอาไว้(ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บข้อมูลไว้นั้น)ก็ดี
เรียกว่าสัญญา ตรงกับความจำในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ
ลักษณะสำคัญของสัญญาคือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฎอยู่แล้ว กล่าวคือ
เมื่ออารมณ์มาปรากฏอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2021, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติ

สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต
คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่าน
หรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้

สติมีขอบเขตมีความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้
ระลึกได้ ไม่เผลอ ตรงกับความจำ เฉพาะในส่วนที่เป็นการระลึก
และความสามารถในการระลึก ด้วยเหตุนี้ สติจึงเป็นธรรมตรงกันข้าม
กับสัมโมหะ ซึ่งแปลว่าการลืม(สัญญาไม่คู่กับลืม)สติเป็นการิเริ่ม
เองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตจำนง ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่
ไม่ปร่กฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์จึงจัดอยู่ในพวกสังขาร

สัญญาบันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือ รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน
เป็นระเบียบสร้างขึ้น เป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี
(ซึ่งอาศัยความใส่ใยและความเข้าใจเป็นต้นอีกต่อหนึ่ง) ก็ดี สติดี
คือความสามารถในการระลึก(ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติตลอดจาสภาพจิต
ที่สงบผ่องใส ตั้งมั่นเป็นต้น อีกต่อหนึ่ง)ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความจำดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2021, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นายแดง กับนายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกกันไป
ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบกับนายดำอีก จำได้ว่าผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ
แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่าตนกับนายดำเคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ
ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงไปแล้วเป็นสติ

วันหนึ่ง นาย ก.ได้พบปะสนทนากับนาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก.
ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้น ๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร
นาย ก.นึกทบทวนดู ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับนาย ข. จำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ

เครื่องโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สทุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องด้านหนึ่ง
นายเขียวเปิดสมุดหาหมายเลขโทรศัพท์ที่ตนต้องการ พบแล้วอ่านและกำหนดหมายเลขเอาไว้
แล้วเดินไปหมุนหมายเลขที่โทรศัพท์ตามที่ต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ได้ตลอด
การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุด โทรศัพท์ เป็นสัญญา การนึกหมายเลขนั้น
ตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ไป เป็นสติ

เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้วก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่
และถ้าอารมณ์นั้นเป็นธรรมารมณ์(เรื่องในใจ)ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย
อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือ ดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต
แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้น สำทับเข้ามาอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
หรือกำหนดหมายแนวใหม่เพิ่มเข้าไปตามวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร