วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2024, 23:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2015, 06:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
เราได้เครื่องมือตรวจวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมมา 4 เครื่องแล้วคือ

1.ความโกรธ

2.ความโลภ

3.เข้าถึงสมาธิและความสงบได้รวดเร็วดั่งใจ

4.เข้าถึงสมาธิและความสงบได้ทุกกาลเวลาและสถานที่

เครื่องมือตัวที่5

5.แยก รูป นาม กาย ใจ ได้เสมอทุกโอกาส
ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาทุกๆคน เพราะเป็นญาณปฐมหรือญาณชั้นที่ 1 ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน วิปัสสนาปัญญาจึงจะเจริญก้าวหน้าไปได้จากจุดเริ่มต้นนี้

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2015, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๓๑] ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗
ประการ คืออริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี-
*พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป
ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.
๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อม
แห่งอกุศลธรรมอันลามก.
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว
ต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.
๔. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงาม
ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้
สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น.
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้
ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน.
๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็น
อริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า
เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2015, 04:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนากับข้อธรรมที่คุณเช่นนั้นยกมาแสดงครับ
:b27:
ในเรื่องความสามารถแยกรูปนามได้เสมอทุกโอกาสนั้น เรามีเครื่องมือย่อยที่ช่วยชี้วัดได้อีกทีว่า สติ ปัญญาสมาธิของเราขึ้นถึงระดับที่แยกรูปนามได้หรือยัง

มิเตอร์หรือเครื่องมือนั้นคือ ชีพจร

ถ้าใครก็ตามสามารถระลึกรู้อาการเต้นตอดของชีพจรได้ทันทีที่ต้องการรู้ นั่นแสดงว่า รูปนามแยกจากกันได้แล้ว สังเกตได้จาก

อาการเต้นตอดของชีพจร เป็นรูป เป็นสภาวะธาตุลม

สติที่ไปรู้และปัญญาที่ไปสังเกตชีพจรที่เต้นอยู่เป็น นาม ที่ไปรู้รูป เขาจะแยกกันอยู่เป็นคนละส่วน

เมื่อสติ ปัญญาหรือนามไปรู้รูปชัดเจนดีแล้วหลังจากนั้น สติปัญญาจะมีความคมชัดละเอียดมากขึ้นๆจนสามารถไปรู้นามด้วยกันซึ่งเป็นของละเอียดกว่ารูปได้ด้วย

เมื่อมาถึงตรงนี้ สติปัญญาจะมีความสามารถ รู้รูป รู้นาม แยกรูปแยกนามได้ชัดเจน การรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ การสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ จะเกิดขึ้นได้ชัดเจนตลอดเวลา วิปัสสนาปัญญาจึงเจริญต่อยอดขึ้นไปจากจุดนี้เป็น
ปัจจัยปริคหญาณ ต่อขึ้นไปตามลำดับดัง ลำดับขั้นของญาณ 16 ที่ยกมาให้ดูพอเป็นสังเขปต่อไปนี้

ลำดับญาณ ๑๖ โดยสังเขป
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปแยกนามออกจากกัน คือรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
๓. สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์ปรากฏแจ้งชัด ๑๕ % คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของรูปนาม พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐ % สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา
๕. ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม คือ อุปาทะ ความเกิดขึ้น ฐิติ ความตั้งอยู่ มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจน เพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้น รูปนามปรากฏเร็วขึ้น จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะในส่วนแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ว่า สังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้น
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
๗. อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม คือเมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่ดับสลาย เป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
๘. นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหลในรูปนาม
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปจากนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อที่จะหาทางหลุดพ้นไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่นมั่นคง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉยเป็นกลางในรูปนาม คือทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลาง วางเฉยได้
๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์ อาการใดอาการหนึ่ง
๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔. มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2015, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

กับวิปัสนาทั้ง16

และเกร็ดความรู้ปลีกย่อย มาสดุดคำว่า ชีพจรเต้นเป็นจังหวะ เป็นธาตุลม ผมเห็นด้วยอยู่ส่วนที่เป็นสภาวะ คือ เลือดส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ เป็นปกติสุข ไม่วิงเวียน ไม่หน้ามือ ตาลาย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2015, 06:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
เครื่องมือชี้วัดตัวที่ 6

การทรงและรักษาอารมณ์ไว้ที่เฉยต่อการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 ได้นั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัวและเป็นเครื่องชี้วัดถึงระดับความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้แต่ยังไม่ใชความสำเร็จ มันเป็นเพียงบันไดหรือทางผ่านไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2015, 05:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
เครื่องมือชี้วัดตัวที่ 6

การทรงและรักษาอารมณ์ไว้ที่เฉยต่อการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 ได้นั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัวและเป็นเครื่องชี้วัดถึงระดับความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้แต่ยังไม่ใชความสำเร็จ มันเป็นเพียงบันไดหรือทางผ่านไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม

onion

:b53:
อารมณ์ เฉย หรือการเฉยต่อผัสสะของทวารทั้ง 6 นั้น มีได้ตั้งหลายวิธีคือ

1.ใช้ความไม่สนใจ ปัดทิ้งอารมณ์ต่างๆที่จะเกิดจากผัสสะ

2.ใช้ความอดทนบังคับไม่ให้เกิดอารมณ์

3.ใช้การใคร่ครวญคิด พิจารณาเหตุผลต่างมาตัดอารมณ์

4.ใช้คำบริกรรมหรือกรรมฐานต่างๆมาปิดกั้นและสกัดอารมณ์

5.ใช้สติรู้ทัน ตัด ไม่ให้เกิดอารมณ์ตอบโต้กับผัสสะนั้นๆ


6.ใช้วิปัสสนาปัญญาตั้งรู้ ตั้งสังเกตอารมณ์นั้นไว้เฉยๆ จนมันดับไปเองเมื่อหมดกำลังของเหตุ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอารมณ์นั้นๆ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 05:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b36:
ทั้ง 6 วิธีที่ทำให้เกิดการ เฉย ต่ออารมณ์และความรู้สึกนั้น น่าสนใจขยายความกันใน วิธีที่ 5 และวิธีที 6 นะครับ

5.ใช้สติรู้ทัน ตัด ไม่ให้เกิดอารมณ์ตอบโต้กับผัสสะนั้นๆ

วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมทำกันเป็นอย่างมากและเป็นหลักใหญ่ในการปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ คือการเอาสติไปกั้นระหว่างผัสสะ กับ เวทนา ทำให้หยุดปัจจัยที่จะไปก่อให้เกิด ตัณหา อันเป็นสมุทัยหรือต้นเหตุแห่งทุกข์เมื่อมีผัสสะของทวารทั้ง 6

วิธีนี้เป็นการกั้น ปัจจัย ไม่ให้กระทบ เหตุ เป็นการ

ระงับเหตุทุกข์ไว้ชั่วคราว

ต่างจากวิธีที่ 6 คือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นการไป ถอน เหตุทุกข์

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 05:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
ทำไม? สติจึงเป็นเพียงการกั้นเหตุทุกข์ ไม่สามารถถอนเหตุทุกข์ออกได้

ทั้งนี้เพราะเหตุทุกข์ที่แท้จริงนั้นมันซ่อนอยู่ภายใต้ ตัณหา ซึ่งความจริงแล้วตัณหาเป็นผลมาจากการกระทบกันของปัจจัย กับเหตุทุกข์ที่แท้จริง

ปัจจัย คือการกระทบกันของอายตนะ ทั้ง 12 คือ ตา เป็นอายตนะภายใน กระทบ รูป อายตนะภายนอก หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และใจ ก็เช่นกัน

ตัวเหตุที่แท้จริง คือ

ความเห็นผิดว่ากายใจนี้เป็นอัตตา ตัวตน เป็นกู เป็นเราหรือ สักกายทิฏฐิ

ความยึดผิดว่ากายใจนี้เป็นอัตตา ตัวตน เป็นกู เป็นเรา หรือ มานะทิฏฐิ

มันซ่อนอยู่ภายในจิตใจของปุถุชนทุกคน


เมื่อเอาสติ อันจะเป็นสติตรงๆ หรือคำกำหนดบริกรรมต่างที่มาเป็นเครื่องยึดของสติให้ระลึกได้มากำหนดปิดกั้นณ จุดกระทบกันของอายตนะ สัญญาณต่างๆที่จะส่งสายไปแปลความหมายที่ทวารใจ หรือมโนวิญญาณธาตุก็ขาดลงเสียก่อนที่จะไปแปลและกระทบกับเหตุคือสักกายทิฏฐิและมานะทิฏฐิในใจ ตัณหาใหม่ก็จึงไม่เกิด เพราะสังขารมันปรุงไม่ขึ้น

แต่ตัวเหตุที่แท้จริงคือความเห็นผิดกับความยึดผิดเขายังอยู่ครบเท่าเดิม

วิธีใช้สติกั้นนี้ ความจริงก็ได้ผลอยู่แต่ต้องใช้กำลังมาก ใช้เวลามาก เป็นการงดการรับรู้ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจซึ่งทำยาก แต่เพราะด้วยความยากจึงช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติวิธีนี้มีพลังจิตที่เข้มแข็งมาก ถึงทีสุดเหตุทุกข์ที่แท้จริงก็อาจตายได้ด้วยกำลังจิตที่เข้มแข็ง ที่ท่านเรียกว่า "เจโตวิมุติ"

คอยฟังตอน "ปัญญาวิมุติ" หรือการขุดถอนเหตุทุกข์ออกด้วยปัญญาต่อไปนะครับ

:b36:
:b37:
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 06:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


b27:
เรื่องของเจโตวิมุติ ลุงหมานได้กรุณานำภาพ พรานหนีหมามาให้ดูแล้วคงเห็นกันทั่วนะครับ

หมาไม่ตายเฝ้าคอยจังหวะที่จะขยำนายพรานอยูตลอดเวลาถ้านายพรานเผลอจึงเป็นเรื่องที่ต้องเหนื่อยและระวังอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้านายพรานทนได้มีสะเบียงกรังเพียงพอในที่สุดเอาชนะหมาได้ หมาก็จะจากไปหรือตายเพราะความหิวหมดภาระได้เหมือนกัน

ส่วนเรื่องของปัญญาวิมุติ อันเปรียบเหมืนนายพรานฆ่าหมาตายเสียด้วยลูกศรแห่งปัญญานั้น นายพรานเสียแรงเสียเวลาน้อยและไม่ต้องคอยหวาดระแวงระวังหมาอีกต่อไป ใช้ชีวิตได้อย่างสบายเบาสิ้นกังวล

นี่เป็นสำนวนและความหมายของเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตของหลุงหมาน

แต่สำนวนที่อโศกะจะนำมาเล่าสู่กันฟังนั้นเป็นอีกนัยยะหนึ่งพึงลองอ่าน ฟัง ดูเป็นธรรมทัศนะนะครับ

:b43: :b43: :b44: :b44:
เจโตวิมุต คือการเจริญสติสมาธิให้มีกำลังมากจนสามารถกำหราบ สยบ กิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิต่างๆให้ฝ่อตาย ท่านทั้งหลายที่เจริญแนวนี้จะใช้สติระวังที่ผัสสะ (สมุทัยตายด้วยพลังสติสมาธิ)ออกแรงมาก ลงทุนลงแรงและเวลาเยอะ
เหนื่อยหนัก แต่ได้ความแข็งแรง ได้พลังทางใจทางกายเยอะ มีของแถมมาก

ปัญญาวิมุติ คือการเจริญปัญญา ตามรู้ตามสังเกตปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ โดยมีสติสมาธิเป็นกองหนุนจนรู้ทันเหตุทันผลของความเกิดขึ้นดับไปของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆตามความเป็นจริง แล้วถอนเหตุ หรือเหตุเกิดของอารมณ์ ความรู้สึกสลายไปด้วยตัวของมันเอง (สมุทัยสลายตัวด้วยปัญญาพ้นความหลงเห็นผิดยึดผิด)ออกแรงน้อย ลงทุนลงแรงน้อย เรียบง่าย แต่ไม่ค่อยมีของแถม

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 02:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
อ้างคำพูด:
6.ใช้วิปัสสนาปัญญาตั้งรู้ ตั้งสังเกตอารมณ์นั้นไว้เฉยๆ จนมันดับไปเองเมื่อหมดกำลังของเหตุ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอารมณ์นั้นๆ

s004
การเจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นการชำระกิเลสอนุสัยและสิ่งสกปรกทั้งหลายในกายและจิตได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด เป็นพุทธวิชาที่ไร้เทียมทาน ใครได้วิชชานี้ไปและตั้งใจประพฤติปฏิบัติจนก้าวหน้า ไม่ช้าจะได้

"ความเฉยที่สมบูรณ์" (ศัพท์ที่นิยมใช้ในสำนักของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า) เป็นรางวัล

ในลำดับของปัญญาวิปัสสนา 16 อย่าง ท่านเรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ"
เป็นญาณที่ 11

สังขารุเปกขาญาณเป็นความเฉยอย่างยิ่งเพราะสังขาร ความนึกคิดปรุงแต่งจะหยุดทำงานไปชั่วคราว ครูบาอาจารย์บางท่านเรียกตรงนี้ว่า "นิพพานหลอก"
มันคล้ายนิพพานจริงมาก แต่มันไม่ถาวรเท่านั้นเอง

ใครมาถึงจุดนี้ได้ท่านกล่าวว่า คนผู้นั้นได้มายืนอยู่ที่หน้าประตูพระนิพพานแล้ว
รอเวลาแต่จะยื่นพาสปอร์ตหรือบัตรผ่านประตูเพื่อเข้าสู่พระนิพพาน

สังขารุเปกขาญาณนี้จึงเป็นเครื่องมือหรือมิเตอร์ที่ช่วยชี้วัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมว่าเกือบถึงจุดสุดยอดแล้ว

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2016, 05:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
นิพพาน

นิพพาน เป็นเครื่องมือตัวสุดท้ายที่ใช้ชี้วัดความก้าวหน้าและความสำเร็จในการภาวนา


ใครสามารถทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยการสามารถเข้าไปเสวยอารมณ์นิพพานได้ จนสามารถเข้าถึงได้เสมอตามใจปารถนา นี่คือเครื่องมือหรือมิเตอร์ตัวสุดท้ายครับ

จบกระทู้เรื่องเครื่องมือตรวจวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมไว้เพียงเท่านี้

10 มกราคม 2559

เจริญสุข เจริญธรรมทุกท่านครับ

:b8:
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2016, 16:56 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2024, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
นิพพาน

นิพพาน เป็นเครื่องมือตัวสุดท้ายที่ใช้ชี้วัดความก้าวหน้าและความสำเร็จในการภาวนา


ใครสามารถทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยการสามารถเข้าไปเสวยอารมณ์นิพพานได้ จนสามารถเข้าถึงได้เสมอตามใจปารถนา นี่คือเครื่องมือหรือมิเตอร์ตัวสุดท้ายครับ

จบกระทู้เรื่องเครื่องมือตรวจวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมไว้เพียงเท่านี้

10 มกราคม 2559

เจริญสุข เจริญธรรมทุกท่านครับ

:b8:
:b37:



คุณasoka คุณสามารถอธิบายรายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นในสิ่งที่คุณนำมาเขียนไว้หรือยัง?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2024, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion รูปฌาน
15
ก.ย.
2007
3 ความเห็น
by walailoo in รูปฌาน


รูปฌาณ คือฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

หรือฌานที่เป็นรูปาวจร มี 4 อย่าง ได้แก่

ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) มีองค์ประกอบ 5 คือ

วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา

ทุติฌาน ( ฌานที่ 2 ) มีองค์ประกอบ 3 คือ

ปิติ สุข เอกัคคตา

ตติฌาน ( ฌานที่ 3 ) มีองค์ประกอบ 2 คือ

สุข เอกัคคตา

จตุตฌาน ( ฌานที่ 4 ) มีองค์ประกอบ 2 คือ

อุเบกขา เอกัคคตา ( อัปปนาสมาธิ )

วิตก คือ นึกถึงอารมณ์ที่จะบริกรรมภาวนา

วิจาร ความที่จิตจดจ่อต่ออารมณ์บริกรรมภาวนานั้นๆ

ปีติ ภาวนาจนกระทั่งจิตมีความซาบซึ้งถึงสิ่งที่บริกรรมภาวนา

สุข เป็นผลพลอยได้ที่ตามมา

เมื่อปีติกับสุขอันเป็นอาหารของใจเกิด

ใจก็มีความสุข ความสงบ เบากาย เบาใจ

และความฟุ้งซ่านวุ่นวายภายภายในจิตใจก็หายไป

จิตก็มุ่งต่อความสงบเป็นระยะไปตามขั้น

จนกระทั่งปีติและสุขรวมลงสู่ความเป็นหนึ่ง

เรียกว่า เอกัคคตา

ใครจะบริกรรมภาวนากรรมฐานบทไหน

หรือแค่จิตจดจ่อที่ลมหายใจอย่างเดียว

เมื่อสภาวะจิตสงบลงสู่ความเป็นสมาธิ

หรือเป็นสมาธิแล้วนั้น ย่อมมีลักษณะเดียวกันหมด

คือไม่หนีหลักที่ว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่รู้ ( เราคนหนึ่งแหละที่ปฏิบัติได้

แต่ไม่รู้ว่ามีคำเรียก ตอนนี้เข้าใจชัดแจ๋ว รู้แต่ไม่รู้ว่ารู้ )

:b38: สภาวะของรูปฌานในสัมมาสมาธิ
ปฐมฌาน

ขณะทรงฌานหูยังได้ยินเสียงจากภายนอกทุกอย่าง แต่ไม่รำคาญในเสียง ไม่ฟุ้ง ไม่ตกใจ
จิตทรงอารมณ์มั่นคง คือ ต่อให้มีใครมาจุดประทัดใกล้ตัว ก็ไม่มีความสะดุ้งตกใจ



ทุติยฌาน

ลมหายใจเบาลง ได้ยินเสียงจากภายนอกเบาลง ได้ยินแต่เหมือนอยู่ไกลๆ เกิดปีติเสียวแปบ
เหมือนสายฟ้าแลบ ความเสียวซ่านแผ่ไปตามร่างกาย ขนลุกทั้งตัว ไม่มีบริกรรม
จิตแจ่มใส จิตจะหยุดภาวนาเอง จิตไม่รับเสียงไม่สนใจในเสียง

ตติยฌาน
หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่รู้ความหมาย ร่างกายแข็ง ( ตรงนี้คือมีสติ สัมปชัญญะรู้อาการของกาย )
จิตละปีติจึงมีอาการเครียดทางกายคล้ายถูกจับมัดแน่น ลมหายใจยังปรากฏแต่เบามาก
มีความสุขมาก พอรู้สึกได้ว่ายังหายใจอยู่ ลมหายใจตรงนี้เริ่มละเอียดมากขึ้น

จตุตถฌาน

เมื่อกำหนดนั่ง อาจจะหายใจครั้ง หรือสองข้าง หรือแค่หายใจเข้า หรือ แค่ยืนกำหนดกำลังจะนั่งลง
จิตสามารถเข้าสู่สมาธิได้ทันที โดยไม่มีการบริกรรมภาวนาใดๆทั้งสิ้น จะมีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่
ในกายและจิตได้ดี มีสมาธิที่แนบแน่น ลมหายใจจับไม่ได้ รู้แค่ว่าหายใจ แต่ไม่มีลมปรากฏ
จิตเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง มีสภาวะรูป,นาม เป็นอารมณ์ ไม่ใช่ฌานตัวแข็งนะ

แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ

คือ จะไม่มี สติ สัมปชัญญะรู้แจ้งชัดแบบนี้ แต่ทุกอย่างจะดับสนิท
แบบที่เรียกว่า ฌานตัวแข็ง ไม่มีการรับรู้ใดๆเลย

:b37:



ตามที่คุณasoka ข้อความจากบล็อกที่ดิฉันเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2007
สมัยนั้น ดิฉันมีความรู้เห็นแค่ไหน จะอธิบายไว้แค่นั้น
ในปัจจุบัน ดิฉันไม่ได้กลับไปแก้ไขใหม่

เรื่องสมาธิ หากเข้าถึงสภาวะนั้นๆ
รายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ไม่ใช่เรืองสำคัญต่อไปอีก
ดิฉันจะเน้นการเห็นความเกิดดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
หากผู้ปฏิบัติสามารถรู้ทัน มีเห็นความเกิดดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ทำให้ผู้นั้นจะสามารถรู้ได้ว่าสภาวะของตนนั้นอยู่ตรงไหน
เริ่มต้นจะรู้ตรงนี้ก่อน เริ่มจากความเกิด ขณะกำลังเกิด และขณะดับในรูปฌาน
แรกจะรู้แบบหยาบๆก่อน
ความรู้ความเห็นจะมีเกิดขึ้นตามลำดับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron