วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 19:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา กับ อนัตตา

เป็นที่มาของ คำที่เรียกว่า สุญฺญตวิโมกฺขมุข


หากยังไม่รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ สุญญตา
จะมารู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ อนัตตา เป็นไปไม่ได้เลย

หากรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ สุญญตาและอนัตตา
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ สุญฺญตวิโมกฺขมุข


หากยังไม่รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ ทุกขัง
จะมารู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข เป็นไปไม่ได้เลย



สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกต่างๆนี้
เป็นความปกติของผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
มีเกิดขึ้นไปตามลำดับ วิโมกฺมุข เกิดท้ายสุด


ในตำราที่ไม่ใช่พระธรรมคำสอน
มีการอธิบาย สภาพธรรมเหล่านี้
โดยเกี่ยวข้องกับความเป็นนั่น เป็นนี่
ตามคำเรียกที่มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน

พระพุทธเจ้า ไม่เคยตรัสสอนแบบนี้
มีแต่ทรงตรัสสอนว่า ให้โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)



ภิกษุ ทั้งหลาย. ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา :

เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ)




===============================




เกี่ยวกับตำราที่ไม่ใช่พระธรรมคำสอน

มีการอธิบาย สภาพธรรมเหล่านี้

โดยเกี่ยวข้องกับความเป็นนั่น เป็นนี่

ตามคำเรียกที่มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน




ถ้ามองอีกแง่ ผู้รู้ในสมัยก่อน(คนเขียนตำรา)

อาจจะเขียนเกี่ยวกับคำเรียกต่างๆนี้

เพื่อเป็นกับดักบุคคลที่อยากเป็นอะไรๆ ในคำเรียกนั้นๆ




ที่พูดแบบนี้ ดูจากช่วงท้ายๆเล่ม

หากคนที่คิดว่าเป็นนั่น เป็นนี่
แต่ไม่รู้ชัดใน ผัสสะ




เป็นตัวบ่งบอกถึง

บุคคลนั้น ติดกับดักกิเลส ที่มีเกิดขึ้นในใจ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหลุดพ้น

เจ้านายกำลังฟังเรื่องๆหนึ่งอยู่
มีพูดเรื่อง การหลุดพ้น

เจ้านายถามว่า ความหลุดพ้น นี่คืออะไรหรือ?
ใช่อย่างที่กำลังฟังอยู่นี่มั๊ย?

บอกกับเจ้านายว่า คนที่พูดนี่ เขาพูดแค่ที่เขารู้
พูดตามความเข้าใจของเขา

คำว่า หลุดพ้น หมายถึง หลุดพ้นจากกิเลส
ไม่ใช่ได้อะไร เป็นอะไร

คือ เมื่อมีสิ่งเกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

กิเลสที่มีเกิดขึ้น สักแต่ว่ารู้ว่ามีเกิดขึ้น

แต่ไม่สร้างเหตุออกไป
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น จากผัสสะ เป็นปัจจัย

จึงได้ชื่อว่า หลุดพ้น คือ หลุดพ้นจาก กิเลส ตัณหา

เมื่อตัณหาครอบงำไม่ได้
ย่อมไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

เรื่องนี้ ก็พูดให้ฟังอยู่บ่อยๆ

เจ้านายบอกว่า เรื่องการหลุดพ้น
เพิ่งจะถามวันนี้เอง

เราบอกว่า ก็เป็นเรื่องเดียวกัน
ที่อธิบายให้ฟังบ่อยๆน่ะแหละ

เพียงแต่คนที่พูด(ที่เจ้านายกำลังฟังอยู่)
เขารู้แค่ไหน เขาก็พูดตามความเข้าใจของเขา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตหลุดพ้นโดยชอบ



ผัสสะ/สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ในแต่ละขณะๆๆๆๆ
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

การกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่กำลังมีเกิดขึ้น
(ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางกาย วาจา)





ผัสสะ





พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน



ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ








พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ


จบมหาวรรคที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กับดักกิเลสในใจ


ผู้ปฏิบัติ ที่ติดกับดักกิเลสในใจ
ตัณหา ความทะยานอยาก ความอยากมี อยากเป็นอะไรๆในสมมุติ
เพราะคิดว่า เมื่อเป็นแล้ว อาจจะพ้นจากทุกข์

เวลาอธิบายความ โดยส่วนมาก
มีแต่การน้อมเข้าสู่ความมี ความเป็นในสมมุติ

พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนไว้
มีแต่การสละออก ไม่ใช่น้อมใจเชื่อว่า ตนมี ตนเป็นอะไรๆในคำเรียกต่างๆ

เช่น



============


สนฺทิฏฺฐิโก เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
คุณธรรมข้อนี้หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้ง ๙

อกาลิโก เป็นธรรมที่พึงปฏิบัติได้และให้ผลทันทีในลำดับนั้นเลยทีเดียว
โดยไม่ต้องรอเวลา หรือมีระหว่างคั่นแต่อย่างใด
คุณธรรมข้อนี้หมายถึง มัคคจิต ๔

เอหิปสฺสิโก เป็นธรรมที่ให้ผลได้อย่างแท้จริง จนสามารถที่จะทำให้พิสูจน์ได้
คุณธรรมข้อนี้หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้ง ๙

โอปนยิโก เป็นธรรมที่ควรน้อมนำมาให้บังเกิดแก่ตน และทำให้แจ้งแก่ตน
หมายความว่า ควรบำเพ็ญเพียรให้เกิดมัคคจิต ผลจิต ก็จะแจ้งซึ่งพระนิพพาน
คุณธรรมข้อนี้หมายถึง โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ เหมือนกัน

ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญู เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนเอง
ผู้อื่นหารู้ด้วยไม่ว่า มัคคเราเจริญ ผลเราบรรลุ นิโรธเราได้แจ้งแล้ว
เป็นการรู้ด้วยการประจักษ์แจ้งอย่างที่เรียกว่า ประจักขสิทธิ



====================================


คำแปลพวกนี้ คนละเนื้อความ คนละความหมาย
กับพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้

และไม่สามารถนำมาปฏิบัติ
เพื่อละเหตุแห่งทุกข์ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัจตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ


ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามาในตน

อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






อุปวาณสูตร


[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้

ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ




[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน
อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=908&Z=947






จะรู้ชัดในพระธรรมคำสอนนี้ได้
ต้องรู้ชัดใน ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ
ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ

ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ
ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือ

ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ






ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ
นิพพานอันยวดยิ่ง ในปัจจุบันมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ

เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่ง
ในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์




พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2016, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สุญญตา กับ อนัตตา

เป็นที่มาของ คำที่เรียกว่า สุญฺญตวิโมกฺขมุข

สุญญตา เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
สัมมาวิมุติ(สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่)
รูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ(สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่)
อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ(สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่)


หากยังไม่รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ สุญญตา(สัมมาสมาธิ)
จะมารู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ อนัตตา(ไตรลักษณ์) เป็นไปไม่ได้เลย

หากรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ สุญญตาและอนัตตา
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ สุญฺญตวิโมกฺขมุข(ไตรลักษณ์)


หากยังไม่รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ ทุกขัง
จะมารู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข เป็นไปไม่ได้เลย



สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกต่างๆนี้ เป็นเรื่องของไตรลักษณ์
ที่มีเกิดขึ้นจากจิตเกิดการปล่อยวางในผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
มีเกิดขึ้นไปตามลำดับ วิโมกฺมุข เกิดท้ายสุด









สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนิมิตฺตวิโมกฺขมุก

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข


คำเรียกต่างๆนี้ เป็นเรื่องของ "ไตรลักษณ์"
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
เกิดจากจิตเกิดการปล่อยวางของผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ









สุญญตาเป็นเรื่อง สัมมาสมาธิ

อนัตตา เป็นเรื่องของ ไตรลักษณ์


มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันคือ
สิ่งที่เกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่




เพียงแต่ สุญญาตาเกิดจาก สัมมาสมาธิ


อนัตตา(ไตรลักษณ์) เกิดจาก
จิตที่เกิดการปล่อยวางจาก ผัสสะ ที่กำลังมีเกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 ม.ค. 2017, 23:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะเด่นของสัมมาสมาธิ


"ธรรมเอกผุด"
หมายถึง วิญญาณ/ธาตุรู้





ว่าด้วยสัมปชานะ


ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า
จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายในให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ


[๓๔๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

(๒) เข้าทุติยฌาณ มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุกเกิดแต่สมาธิอยู่.

(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่ เป็นสุขอยู่.

(๔) เจ้าจตตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.



ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น.



สัมมาสมาธิ(ธรรมเอกผุด)

รูปฌาน(ผัสสะ/รูปที่ปรากฏและใจที่รู้อยู่-วิญญาณ/ธาตุรู้)



โมคคัลลานสังยุตต์


[๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ
ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้
ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน

เราก็สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน




สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ






[๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน

เราก็เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติยฌาน



สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ






[๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน

เราก็มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข


เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในตติยฌาน
จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน



สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ






[๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน



เราก็เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน



สมัยต่อมา เราเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ






สัมมาสมาธิ(ธรรมเอกผุด)


อรูปฌาน(ความว่างที่ปรากฏและใจที่รู้อยู่/วิญญาณ/ธาตุรู้)


[๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้
อากาสานัญจายตนฌานเป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้

เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน

เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้

เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน



สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยคำนึงว่าอากาศหาที่สุดมิได้

เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ






[๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้
วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน

เราก็เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน




สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ








[๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้
อากิญจัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี

เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน

เราก็เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน




สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา
ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ



[๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

เราก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

สมัยต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ




[๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้
อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ


เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ


สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 846&Z=7183

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 มิ.ย. 2017, 08:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2016, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิโมกฺขมุข


viewtopic.php?f=1&t=53358

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท กับ อริยสัจสี่




viewtopic.php?f=1&t=53439

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ กับ อริยสัจสี่



viewtopic.php?f=1&t=53440&p=402294#p402294

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร