วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


จากคิริมานนทสูตร :b24:

อ้างคำพูด:
อันที่แท้จิตใจนั้นเป็นลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา โลกเขาตั้งแต่ง ไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพา เอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตใจนั้นก็หมดไป ใครจะ เกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของ มีอยู่สำหรับโลก


คำถาม แสดงว่าจิตเป็นลม มีอยู่เดิมแล้วเป็นอมตธาตุ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง :b25:

แล้วเราละมาจากไหน.... :b30:

:b41: :b41: :b41: :b48: :b48: :b43: :b43: :b41: :b41: :b39: :b39:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ต่อคิริมานนทสูตร
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:
ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้น ได้แล้วก็เป็นจิตของตน
ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น


ที่ว่า จิตใจของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาป การอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข สวรรค์และพระนิพพาน ถือเอาไว้ให้ถึงที่สุดเพียงพระนิพพานเท่านั้น

ถ้าถึงพระ นิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้แก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ทราบ พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสอนไว้ว่าจิตเดิมมาจากไหน
ผมคิดว่า เป็นอจินไตยนะ เปล่าประโยชน์จะรู้ไป
เหมือนถามว่า "จักรวาลมาจากไหน" .... ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ตอบ

เพราะเราปฏิบัติเพื่อให้เกิดนิพพาน
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อให้ทราบต้นกำเนิดอันหาที่สุดไม่ได้

ส่วนหลวงปู่มั่นก้เรียกมันว่า ฐิติภูตัง เป็นพ่อแม่ของอวิชชา
แต่ท่านไม่ได้ชี้แจงเหมือนกันว่า จิตเดิม หรือ ฐิติภุตังนี้มาจากไหน
แต่ท่านสอนให้ตัดมูลของสังสารวัฏให้ขาดสูญ ด้วยการอบรมให้เกิดวิชชา ไม่หลงอีก
จึงจะหลุดจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

อ้างคำพูด:
ฐีติภูตํ อวิชชาปัจจยา สังขารา อุปาทานัง ภโว ชาติ คนเราทุกรูปทุกนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้นกล่าวคือ มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติ ปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชชาปัจจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไร? ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่พวกเราก็ยังมีบิดามารดา อวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเอง เป็นพ่อแม่ของอวิชชา
ฐีติภูตํ ได้แก่จิตดั่งเดิม เมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจาก ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยอวิชชา จึงไม่รู้เท่าอาการทั้งหลาย แต่เมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงนี่พิจารณาด้วย วุฏฐานคามินีวิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํเป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่ามูลตันไตร
เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏให้ขาดสูญจึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชา รู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงก็จะหายหลงแล้วไม่ก่อการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏด้วยประการฉะนี้

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีความเห็นดังนี้ครับ



คำถามที่ว่า เราคือใคร แล้วใครคือเรา?
เป็นคำถามที่อิงกับอัตตาตัวตน ว่า"เรา" ว่า "ใคร"

ไม่จัดเป็นคำถามที่นำไปสู่การสิ้นทุกข์



พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้สอนให้หาว่า เราคือใคร แล้วใครคือเรา?

แต่พระองค์ท่านชี้ให้เห็นว่า
ขันธ์๕ที่จิตยึดมั่นถือหมายว่าเป็นเรา และ ของเรา นั้น คือตัวทุกข์.....




ขออนุญาต อธิบาย ตามแนวของปฏิจจสมุปบาท นัยยะที่แสดงตนในปัจจุบันขณะ
(ไม่ได้ปฏิเสธ ปฏิจจสมุปบาท ที่อธิบายการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ แบบ ชาติ คิอ กำเนิด๔ น่ะครับ)

ที่ทุกข์ เพราะ ขันธ์๕ที่จิตยึดมั่นถือหมายว่าเป็นเรา และ ของเรา นั้น ปรวนแปร-วิบัติ-พลัดพราก


ในความจริงแล้ว

ความรู้สึกว่าเป็นตัวตน นั้นมันเป็นผลที่มีมาตั้งแต่ขั้นอวิชชา
กล่าวคือ เมื่อจิตไม่รู้แจ้งในไตรลักษณ์ ก็จะมีความรู้สึกของอัตตาที่ฝังตัวอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก.....และ ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนนี้ ก็จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการปรุงแต่ง(สังขาร)ไปในทิศทางของการเกิดทุกข์

ในขั้นผัสสะ(วิญญาณ+นามรูป+อายตนะ) ซึ่งก็คือจุดที่จิตใต้สำนึกนั้นส่งต่อมายัง ระดับจิตสำนึกที่รับรู้ทางอายตนะทั้งหก..... ก็ จะมี "การตามเห็นว่าเป็นตน"คือ อัตตานุทิฏฐิ นอนเนื่องอยู่ตลอด

ความรู้สึกว่าเป็นตัวตน นั้นเข้มข้นขึ้นในระดับตัณหา คือ มี อหังการ-มมังการ หรือ ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา-ของเราที่เข้มข้นขึ้น(เรียกว่า ความรู้สึกว่าเป็นตัวกู-ของกู ก็ได้)

ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนที่เข้นข้นนั้น นำให้จิตยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ในขันธ์๕ หมายเอาว่าขันธ์๕นั้นเป็น เรา หรือ ของเรา....

จุดที่มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง อุปาทาน กับ ขันธ์๕ นี่คือ "ภพ"
(อุปาทาน+ขันธ์๕)

จุดที่มีการปรากฏของ ขันธ์๕ ที่เป็น เรา หรือ ของเรา ขึ้นในโลกนี้เต็มขั้น คือ ชาติ.....

อาการที่ ขันธ์๕ ที่เป็น เรา หรือ ของเรา เสื่อม หรือ แตกดับ นี้ คือ ชรา มรณะ....

ชาติ ขรา มรณะ จึงเป็นทุกข์ด้วยประการฉะนี้




ทุกข์ หรือ การที่มีอุปาทานขันธ์๕เกิดขึ้น เสื่อม และ แตกดับ.... เป็นสิ่งที่พระศาสดาสอนให้กำหนดรู้

สมุทัย อันได้แก่ ตัณหา(และอุปาทาน) ท่านสอนให้ละ

นิโรธ คือ การสิ้นทุกข์ พึงกระทำให้แจ้ง

มรรค คือ ทางที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ท่านสอนให้ภาวนา




การกำหนดรู้ทุกข์ หรือ กำหนดรู้อุปาทานขันธ์๕
ไม่จำเป็นต้องอิงกับอัตตา ใดๆเลย
เพราะนี่เป็นเรื่อง ของเหตุและปัจจัย ที่ดำเนินไปสู่ผล
หาใช่มี เรา หรือ ใคร มาเป็นทุกข์ไม่....
แต่ เพราะ มี เรา หรือ ใคร นั้นล่ะ ทุกข์จึงมีขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เราคือใคร แล้วใครคือเรา



"เราคือใคร....ใครคือเรา" เล่าเพื่อนเอ๋ย?

คำเฉลย ของปัญหา น่าฉงน

รูปนามขันธ์ นั้นหาใช่ ใครสักคน

ใยสับสน มี"เรา-ใคร" ให้วุ่นวาย


จิตหยุดปรุง เห็นกระจ่าง ว่างอย่างยิ่ง

จึงละทิ้ง สิ่งสมมุติ หยุดซัดส่าย

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เบาสบาย

โอ้สหาย! เลิกสงสัย "ใคร" หรือ "เรา"


มีสติ รู้พร้อมพรัก "สักแต่ว่า"

หมดปัญหา แจ้งโลก สิ้นโศกเศร้า

เห็นกระแส เหตุ-ปัจจัย ไม่มัวเมา

ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ข้า ไม่ใช่ใคร


ละความเห็น ที่ผิด ว่าเป็นเรา

แล้วจักเห็น เป็นเขา ฤา ไฉน

สิ้นสุดทุกข์ ร่มเย็น พ้นเวรภัย

เกิดปัญญา ตาใจ ได้เห็นธรรม



ตรงประเด็น

2 เม.ย. 2551


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระพุทธวจนะ ตรัสว่า

"กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์"



อุปาทานขันธ์๕ หรือ เรา-ของเรา(ภาษาห้าวๆ แต่ความหมายชัดเจน ก็คือ ตัวกู-ของกุ)จึงเป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้

เมื่อใดที่ใจเป็นทุกข์...นั่นคือ จิตถูกบีบคั้นด้วย การวิบัติ พลัดพรากในอุปาทานขันธ์๕

รถของฉันหาย ก็เป็นทุกข์

เมื่อก่อนเขาชื่นชมฉัน ต่อมาเขากลับมาด่าฉัน ก็เป็นทุกข์

เมื่อก่อน เธอรักฉัน ตอนนี้เธอไม่รักฉันแล้ว ก็เป็นทุกข์


กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์ ....จึงเป็น อริยสัจจ์ข้อแรกสุดที่พึงกำหนดรู้



การสลัดคืนอุปาทานขันธ์๕(ปฏินิสสัคโค) คือ คืน ขันธ์๕ที่จิตไปหลงยึดมั่นถือหมาย ให้กลับไปเป็นของกลางโลกเสีย.... ไม่มี ฉัน-ของฉัน หรือ อุปาทานขันธ์๕ ที่เกิดขึ้น เสื่อม แตกดับ.... เหลือ แต่เพียงขันธ์๕ ที่ มีแล้ว-หาไม่ เกิดแล้ว-ดับไป



ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน พระพาหิยะ ว่า

จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 607&Z=1698


ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี

ในกาลใด ท่านไม่มี
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง

นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ



ที่สุดแห่งทุกข์..... ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสกับท่านพาหิยะ

ก็คือ "เมื่อท่านไม่มี" .....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์๕

กับ

อุปาทานขันธ์๕




ผมนำ พระพุทธวจนะ ที่ตรัส เปรียบเทียบแสดง ขันธ์ กับ อุปาทานขันธ์ ที่ชัดเจนพระสูตรหนึ่งมาฝาก

จาก http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?b ... 082&word1=ขันธ์&word2=อุปาทานขันธ์


๖. ปัญจขันธสูตร

ว่าด้วย ขันธ์ และ อุปาทานขันธ์ ๕

[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ขันธ์ ๕ และ อุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน .นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

จบ สูตรที่ ๖



ลองสังเกตุ รูปประโยค ที่พระพุทธองค์ใช้บรรยายเปรียบเทียบ ขันธ์ กับ อุปาทานขันธ์๕ ดีๆน่ะครับ ระหว่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์.

กับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป.

จะเห็นว่า ทรงใช้ภาษาการบรรยาย ระหว่าง ขันธ์๕ และ อุปาทานขันธ์๕ ตั้งแต่ต้นมาเหมือนกันเป๊ะ! ...แต่มาแตกต่างกันตรงที่ตรัสระบุว่า อุปาทานขันธ์ มีลักษณะ

"เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน"

ดังนั้น อุปาทานขันธ์๕ ก็คือ "ขันธ์๕"ที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือหมายว่าเป็นเรา หรือ ของเรา นั่นเอง





ขันธ์๕ มีสภาพทุกขังในไตรลักษณ์เป็นพื้นเดิมอยู่ คือ ต้องปรวนแปร มีเกิดขึ้น เสื่อม แตกดับ จะไปยึดถือเอาไว้ไม่ได้เลย

เมื่อ จิตไปยึดถือในขันธ์๕(เป็น อุปาทานขันธ์๕) .... ทุกข์อริยสัจจ์ คือ การที่จิตถูกบีบคั้นจากการปรวนแปรวิบัติพลัดพราก ใน สิ่งที่ถือว่าเป็น เรา ของเรา จึงบังเกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b4: :b4: :b4: :b4: :b4:

:b41: :b41: :b41: สุดยอดเลยครับอาจารย์ทุกท่าน :b41: :b41: :b41:

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2008, 07:43
โพสต์: 567

ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue อนุโมทนา เจ้าค่ะ ที่ได้ให้ความรู้

.....................................................
!!@ ธรรมะไม่กลับมา โลกาจะวินาศ มวลมนุยษ์จะลำบาก คนบาปจะครองเมื่อง @!! คำของท่านพุทธทาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:39
โพสต์: 316

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: :b18: :b20: :b16: :b20: ขออนุโมทนาสาธุ :b8: :b8: :b8: ที่ทุกๆท่านใด้โปรดอธิบายขยายความทำให้ใด้สาระธรรมมากยิ่งขึ้นคับ :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b17: :b42: :b46: :b42: :b46: :b42: :b46: :b42: :b46: :b42: :b46: :b42:

.....................................................
คิดดี พูดดี ทำดี มองเเต่ดีเถิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เรา....คือใครมาจากไหน

ตอบแบบพุทธเถรวาท

เดิมเราเป็นจิตประภัสสร พอจิตประภัสสรของเราไปหลงกิเลสอวิชชาที่มาล่อ เราจึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดใน
สังสารวัฏ

ตอบแบบพุทธมหายาน

พวกเราจิตประภัสสรทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า พระไวโรจนพุทธเจ้า หรือต้นธาตุหรืออสังขตธาตุ

ตอบแบบศาสนาพราหมณ์

พรกเราเดิมเป็นปรมาตมัน กระจายตัวออกเป็นอาตมัน เพราะเราไม่ต้องการทรงสภาวะ

ในคัมภีร์อุปนิษัท พระเจ้า(พระศิวะ)ตรัสว่า:

"เราเปล่าเปลี่ยว เพระมีมาก่อนสรรพสิ่ง และจะดำรงอยู่ ทั้งจะต้องดำรงอยู่
ต่อไป ไม่มีใครทำให้แปรผันได้เราคืออมตะ แต่ไม่ทรงสภาวะอมตะ เราสามารถเล็ง
ทุกอย่าง และไม่มีใครสามารถเล็งเห็นเรา เราคือพรหม และเราไม่ใช่พรหม"



ลองเปรียบเทียบที่พระพุทธเจ้าตรัสดู

พระพุทธเจ้าเป็นสรรพสัญญู เป็นพรหมภูต เป็นพรหมกาย ไม่มีใครเห็น
พระองค์ แม้แต่พระพรหมในภูมิอื่นๆ พระองค์เป็นอมตะ ไม่แปรงปรวน


จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าก็คือปรมาตมันนั่นเอง ส่วนพระอรหันต์ก็คืออาตมัน พวกเราสรรพสัตว์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่
เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะพวกเราไม่ยอมทรงสภาวะอมตะ เราจึงออกมาเพื่อเล่นเกมค้นหาตัวเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
เรา....คือใครมาจากไหน


นี่เป็นสุดยอดความลับของฟ้า


ตอบแบบพุทธเถรวาท

เดิมเราเป็นจิตประภัสสร พอจิตประภัสสรของเราไปหลงกิเลสอวิชชาที่มาล่อ เราจึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดใน
สังสารวัฏ

ตอบแบบพุทธมหายาน

พวกเราจิตประภัสสรทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า พระไวโรจนพุทธเจ้า หรือต้นธาตุหรืออสังขตธาตุ

ตอบแบบศาสนาพราหมณ์

พรกเราเดิมเป็นปรมาตมัน กระจายตัวออกเป็นอาตมัน เพราะเราไม่ต้องการทรงสภาวะเอาไว้

ในคัมภีร์อุปนิษัท พระเจ้า(พระศิวะ)ตรัสว่า:

"เราเปล่าเปลี่ยว เพราะมีมาก่อนสรรพสิ่ง และจะดำรงอยู่ ทั้งจะต้อง
ดำรงอยู่ต่อไป ไม่มีใครทำให้แปรผันได้เราคืออมตะ แต่ไม่ทรงสภาวะอมตะ
เราสามารถเล็งทุกอย่าง และไม่มีใครสามารถเล็งเห็นเรา เราคือพรหม และ
เราไม่ใช่พรหม"



ลองเปรียบเทียบที่พระพุทธเจ้าตรัสดู

พระพุทธเจ้าเป็นสรรพสัญญู เป็นพรหมภูต เป็นพรหมกาย ไม่มีใครเห็น
พระองค์ แม้แต่พระพรหมในภูมิอื่นๆทุกชั้น พระองค์เป็นอมตะ ไม่แปรปรวน


จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าก็คือปรมาตมันนั่นเอง ส่วนพระอรหันต์ก็คืออาตมัน พวกเราสรรพสัตว์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่
เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะพวกเราไม่ยอมทรงสภาวะอมตะ เราจึงออกมาเพื่อเล่นเกมค้นหาตัวเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร