วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:33 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b2: ใครทุกข์ ? ใครสุข? :b12:
พระพุทธองค์ตรัสว่า
"เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นที่สุดแล้ว เบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์."
(สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา)
เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความสงสัยว่า
ถ้าขันธ์เป็นทุกข์ ก็ช่างมันเป็นไร เราอย่าทุกข์ก็แล้วกัน มิใช่หรือ?

บาลีแห่งอื่นก็มีอีกว่า
"ตัวทุกข์นั้นมีอยู่แท้ แต่บุคคลผู้เป็นทุกข์หามีไม่"
(ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ)
นี่ก็เช่นเดียวกันอีก แสดงว่าตัวตนของเราไม่มี. ทุกข์อยู่ที่รูปและนาม.
นี้ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า เราจะพยายามทำที่สุดทุกข์ไปทำไม
เมื่อเราผู้เป็นเจ้าทุกข์ก็ไม่มีเสียแล้ว,
พยายามให้ใคร. ใครจะเป็นผู้รับสุข ทำบุญกุศลเพื่ออะไรกัน?

เพื่อขบปัญหานี้ให้แตกหัก โดยตนเองทุกๆ คน (เพราะธรรมะเป็นของเฉพาะตน).
ข้าพเจ้าขอเสนอแนวคิดสั้นๆ แต่กว้างขวางออกไป
แด่ท่านทั้งหลายสำหรับจะได้นำไปคิดไปตรอง
จนแจ่มแจ้งในใจด้วยปัญญาของตนเองแล้ว
และบำบัดความหนักใจ หม่นหมองใจ อันเกิดแต่ความสงสัย
และลังเลในการประพฤติธรรมของตน ให้เบาบางไปได้บ้าง ดังต่อไปนี้ :-

ร่างกายและจิตใจสองอย่างนี้ รวมกันเข้าเรียกว่า นามรูป,
หรือเรียกว่า เบญจขันธ์ เมื่อแยกให้เป็น ๕ ส่วน.

ในร่างกายและจิตใจนี้ ถ้ายังมีอุปาทาน กล่าวคือ
ความยึดถือว่า "ของฉัน" ว่า "ฉัน" อยู่เพียงใดแล้ว ความทุกข์นานัปการ
ตั้งต้นแต่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนถึงความหม่นหมองร้ายแรงอย่างอื่น เช่น
อยากแล้วไม่ได้สมอยาก เป็นต้น ก็ยังมีอยู่ และออกฤทธิ์แผดเผาทรมานร่างกาย
และจิตใจอันนั้นเอง.

แต่เมื่อใดอุปาทานอันนี้หมดไปจากจิต ผู้นั้นไม่มีความสำคัญตนหรือรู้สึกตนว่า
"ฉันมี", "นี่เป็นของฉัน" เป็นต้นแล้ว ทุกข์ทั้งมวลดังกล่าวก็ตกไปจากจิต
อย่างไม่มีเหลือ เพราะเราอาจที่จะไม่รับเอาว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นของเรา
และสิ่งที่เกิดขึ้นแก่มันว่าเป็นของเราได้จริงๆ.

แต่พึงทราบว่า เมื่ออวิชชา (ความโง่หลง) ยังมีอยู่ในสันดานเพียงใดแล้ว
ความสำคัญว่าเรา หรือของเรา มันก็สิงอยู่ในสันดานเรา โดยเราไม่ต้องรู้สึก
เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาความทุกข์ทั้งมวลเข้ามาเป็นของเรา โดยเราไม่รู้สึกตัว;
จึงกล่าวได้ว่า ตัวตนของเรา มีอยู่ในขณะที่เรายังมีอวิชชาหรืออุปาทาน เพราะ
สิ่งที่เป็นตัวตน (ตามที่เรารู้สึกและยึดถือไว้ในสันดานนั้น) เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง
ให้เกิดขึ้นโดยอวิชชานั่นเอง. ตัวตนไม่มีในเมื่อหมดอวิชชา.

เมื่อใดหมดอวิชชา หรือความโง่หลง เมื่อนั้น "ตัวตน" ก็ทำลายไปตาม;
ความรู้สึกว่า "เรา" ก็ไม่มีในสันดานเรา;
ไม่มีใครเป็นผู้ทำ หรือรับผลของอะไร จึงไม่มีทุกข์,
ความจริงนั้นมีแต่นามรูปซึ่งเกิดขึ้น, แปรปรวน, ดับไปตามธรรมดาของมัน
เรียกว่า มันเป็นทุกข์.

เมื่ออวิชชาในสันดานเรา (หรือในนามรูปนั้นเอง) ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า
"นามรูปคือตัวเรา" แล้ว "เรา" ก็เกิดขึ้นสำหรับเป็นทุกข์,
หรือรับทุกข์ทั้งมวลของนามรูปอันเป็นอยู่ตามธรรมชาตินั้น.

เห็นได้ว่า "เราที่แท้จริง" นั้นไม่มี มีแต่เราที่สร้างขึ้นโดยอวิชชา.
ท่านจึงกล่าวว่า ความทุกข์นั้นมีจริง แต่ผู้ทุกข์หามีไม่,
หรือเบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์.

ที่เรารู้สึกว่า มีผู้ทุกข์ และได้แก่ตัวเรานี่เองนั้น เป็นเพราะความโง่ของเรา
สร้างตัวเราขึ้นมาด้วยความโง่นั้นเอง, ตัวเราจึงมีอยู่ได้แต่ในที่ๆ ความโง่มีอยู่.
ยอดปรัชญาของพุทธศาสนา จึงได้แสดงถึงความจริงในเรื่องนี้
ด้วยการคิดให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งประจักษ์ชัดว่า "ตัวเราไม่มี" จริงๆ.

อาจมีผู้ถามว่า ก็เมื่อความจริงนั้น ตัวเราไม่มีแล้ว
เราจะขวนขวายประพฤติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ทำไมเล่า?

นี่ก็ตอบได้ด้วยคำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกนั่นเอง, คือว่าในขณะนี้
เราหาอาจมีความรู้ได้ไม่ว่า "ตัวเราไม่มี". เรายังโง่เหมือนคนบ้าที่ยังไม่หายบ้า
ก็ไม่รู้สึกเลยว่าตนบ้า.

เหตุนี้เอง "ตัวเรา" ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความโง่ นั่นแหละมันมีอยู่,
มันเป็นเจ้าทุกข์, และเป็นตัวที่เราเข้ายึดเอามาเป็นตัวเรา หรือของเราไว้โดยไม่รู้สึก.
เราจึงต้องทำตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อหายโง่ หายยึดถือ
หมดทุกข์ แล้วเราก็จะรู้ได้เองทีเดียวว่า อ้อ! ตัวเรานั้น ที่แท้ไม่มีจริงๆ!!
นามรูปมันพยายามดิ้นรนเพื่อตัวมันเองตลอดเวลา
มันสร้าง "เรา" ขึ้นใส่ตัวมันเองด้วยความโง่ของมัน;
เราที่มันสร้างขึ้น ก็คือเราที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่นี่แหล่ะ !

ความทุกข์ ความสุขมีจริง. แต่ตัวผู้ทุกข์ หรือผู้สุขที่เป็น "เราจริงๆ" หามีไม่,
มีแต่ "เรา" ที่สร้างขึ้นจากความไม่รู้ โดยความไม่รู้.
ดับเราเสียได้ ก็พ้นทุกข์และสุข, สภาพเช่นนี้เรียกว่า นิพพาน.

ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นยอดสุขนั้น ไม่ถึงเข้าใจว่า เป็นสุขทำนองที่เราเข้าใจกัน,
ต้องเป็นสุขเกิดจากการที่ "เรา" ดับไป และการที่พ้นจากสุขและทุกข์ ชนิดที่เรา
เคยรู้จักมันดีมาแต่ก่อน. แต่พระนิพพานจะมีรสชาติเป็นอย่างไรนั้น ท่านจะทราบ
ได้เองเมื่อท่านลุถึง. มันอยู่นอกวิสัยที่จะบอกกันเข้าใจ ดังท่านเรียกกันว่าเป็น
ปัจจัตตัง หรือสันทิฏฐิโก.

ในพระนิพพาน ไม่มีผู้รู้, ไม่มีผู้เสวยรสชาติแห่งความสุข; เพราะอยู่เลยนั้น
หรือนอกนั้นออกไป; ถ้ายังมีผู้รู้ หรือผู้เสวย ยังยินดีในรสนั้นอยู่ นั่นยังหาใช่
พระนิพพานอันเป็นที่สุดทุกข์จริงๆ ไม่ แม้จะเป็นความสุขอย่างมากและน่า
ปรารถนาเพียงไรก็ตาม มันเป็นเพียง "ประตูของพระนิพพาน" เท่านั้น.
แต่เมื่อเราถึงสถานะนั่นแล้ว เราก็แน่แท้ต่อพระนิพพานอยู่เอง.

เมื่อนามรูปยังมีอยู่ และทำหน้าที่เสวยรสเยือกเย็นอันหลั่งไหลออกมาจากการ
ลุถึงพระนิพพานได้ ในเมื่อมันไม่เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งอุปาทาน หรืออวิชชาอีกต่อไป.
เราเรียกกันว่า นั่นเป็นภาวะแห่งนิพพาน.

เมื่อรูปนามนั้น ดับไปอย่างไม่มีเชื้อเหลืออยู่อีก นั่นก็คือ ปรินิพพาน

ดังนี้ ท่านตัดสินเอาตามความพอใจของท่านเองเถิดว่า

ใครเล่าเป็นผู้ทุกข์? ใครเล่าเป็นผู้สุข?

แต่พึงรู้ตัวได้ว่า ตัวเราที่กำลังจับกระดาษแผ่นนี้อ่านอยู่นั้น

ก็ยังเป็นตัวเราของอวิชชาอยู่ !



๑ สิงห์ ๗๙

พุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นนามรูปเป็นทุกข์ เพราะมันเป็น อัตตาอุปทาน หรือ อัตตาทิฏฐิ สิ่งนี้เป็นอนัตตา

" อัตตา " ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในอนัตตลักขณะสูตร หมายถึง สิ่งนั้นต้องเที่ยง ไม่ทุกข์
ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา บังคับให้เป็นไปได้ดังใจ ซึ่งก็คือ อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย ซึ่งมีจิตพุทธะหรือจิตบริสุทธิ์ดำรงอยู่ในอายตนะนั้นชั่วนิรันดร

อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย หรือธรรมขันธ์ เป็นกายแท้หรืออัตตา มันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
ส่วนอายตนะทางโลกคือ ขันธ์ 5 เป็นกายเก๊ เป็นอนัตตา มันจึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย

คนที่ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นอนัตตา

คนไม่ทุกข์หรือคนเป็นสุข คือ จิตพุทธะหรือจิตบริสุทธิ์ดำรงอยู่ในอายตนะทางโลก คือขันธ์ 5


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับบทธรรมะของท่านพุทะทาสด้วยครับผม

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2008, 07:43
โพสต์: 567

ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
!!@ ธรรมะไม่กลับมา โลกาจะวินาศ มวลมนุยษ์จะลำบาก คนบาปจะครองเมื่อง @!! คำของท่านพุทธทาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากพุทธทาสนั้นไม่ใช่นักปฏิบัติ ท่านเป็นเพียงนักปราชญ์ ท่านจึงตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แค่ สิ่งที่เป็นนาม-รูปเท่านั้น ไปๆมาๆท่านก็จนตรอกกับความคิดของตัวเอง

เบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์ แต่เมื่อเราดับเบญจขันธ์ที่เป็นอุปทานไปแล้ว เราก็ไม่เป็นทุกข์ แต่การไม่เป็นทุกข์ หรือการเป็นสุขอย่างยิ่ง ต้องมีอายตนะหรือขันธ์รองรับ ไม่ใช่สูญหายไปเฉยๆ

อายตนะหรือขันธ์ที่รองรับ พระพุทธเจ้าเรียกว่า อายตนะนิพพาน หรือ ธรรมกาย ถ้าไม่มี อายตนะหรือขันธ์อะไรรองรับเลย เราก็สูญหายไปเฉยๆ แล้วเราชาวพุทธจะพยายามหาทางเข้านิพพานไปทำไม เพราะมีอยู่ มันดีกว่าไม่มีอยู่

พระนิพพานบรมสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ณ เวลานี้ ทรงสถิตอยู่ ณ ที่ใด
บางท่านว่า พระองค์ดับสูญ หมดความนึกคิด ไม่เหลืออะไรเลย ความสงสัยนี้ ยากที่ปุถุชน ผู้ศึกษา จะทำให้กระจ่างได้ เว้นแต่พระสงฆ์ผู้มีญาณ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสั่งสอน จึงพออธิบาย พระนิพพาน ให้กระจ่างได้ ผมจึงขอยกคำสอนเรืองพระนิพพาน จากคำครูอาจารย์มาลงสัก 3 ท่านนะครับ

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

"จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "


พระนาคเสน มหาเถระ
ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา


" ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

"ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์เสด็จมาเยี่ยมท่าน"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อก่อนก็เข้าใจว่าท่านพุทธทาสเป็นเพียงนักปราชญ์ ไม่ใช่นักปฏิบัติ ที่เข้าใจเช่นนั้นเพราะว่าหาอ่านเกี่ยวกับการปฏิบัติของท่าน หาไม่ได้เลย ไม่เหมือนครูบาฯท่านอื่นๆ ต่อมาได้เจอครูบาฯปรีชา ท่านบอกว่า ท่านเคยได้ปฏิบัติกับหลวงพ่อพุทธทาส หลังจากท่านเสร็จกิจแล้ว ท่านจะเข้าไปปฏิบัติในป่า ไม่ออกมายุ่งกับใคร ตรงนี้ท่านขอยืนยันได้ว่าท่านพุทธทาสเป็นนักปฏิบัติ ไม่ใช่แค่นักปราชญ์แบบที่เขาพูดๆกัน ส่วนหนังสือที่เราได้อ่านๆของท่านทุกวันนี้เป็นเพียงบันทึกแค่บางส่วนที่น้องชายท่าน ได้ก๊อปออกมา แบบว่าท่านถูกใจตอนไหนก็ก๊อปมาตอนนั้น ไม่ได้นำมาทั้งหมด เราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การตีความ ผู้ใดเข้าใจแค่ไหน ย่อมตีความได้แค่นั้น เฉกเช่นเดียวกันกับน้องท่านพุทธทาส อ่านแล้วคิดว่าตรงไหนใช่ก็ก๊อปมาให้ผู้อื่นอ่านต่อ
สมัยท่านพุทธทาสปฏิบัติใหม่ๆ ท่านก็เป็นเช่นเราและท่านทั้งหลาย ท่านก็เป็นเพียงบุคคลธรรมดาคนหนึ่ง ในแง่ของการปฏิบัติ ท่านจะชอบบันทึกทุกๆขั้นตอน ครูบาฯปรีชาบอกว่า บางทีดึกๆ ถ้ามีธรรมอะไรผุดขึ้นมา ท่านก็จะบันทึกไว้ ทุกวันนี้ก็ยังชอบธรรมะที่ครูบาฯปรีชาท่านเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยวางที่ท่านพุทธทาสใช้แสดงธรรมให้ชาวบ้านฟัง

ชาวบ้าน : หลวงพ่อครับ การปล่อยวางคืออะไร เห็นเขาชอบพูดกัน แล้วต้องทำยังไงถึงจะปล่อยวางได้
หลวงพ่อพุทธทาส : รู้จักขี้ไหม ขี้เราน่ะ
ชาวบ้าน : รู้จักครับ
หลวงพ่อฯ : เมื่อเวลาเราขี้ออกมาแล้ว เราจะเก็บเอามันไว้ไหม
ชาวบ้าน : ไม่เอาครับ ใครจะไปเอา
หลวงพ่อฯ : นั่นแหละการปล่อยวาง

คืนนั้นหลังจากที่ได้สนทนากับครูบาฯท่าน ก็ได้มากราบขออโหสิกรรมต่อท่านพุทธทาส ที่ได้เคยคิดละเมิดล่วงเกินท่านโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทุกวันนี้ยังจำคำสอนของหลวงพ่อจรัญได้ ท่านจะสอนกับทุกๆคนเสมอๆว่า " ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ " ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมท่านถึงสอนแบบนั้น เพราะการเที่ยวละเมิดครูบาฯ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม มันมีผลต่อการปฏิบัติ วิบากใครวิบากมันนะ เพียงเล่าสู่กันฟังเฉยๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:
:b2: ใครทุกข์ ? ใครสุข? :b12:
พระพุทธองค์ตรัสว่า
"เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นที่สุดแล้ว เบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์."
(สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา)
เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความสงสัยว่า
ถ้าขันธ์เป็นทุกข์ ก็ช่างมันเป็นไร เราอย่าทุกข์ก็แล้วกัน มิใช่หรือ?

บาลีแห่งอื่นก็มีอีกว่า
"ตัวทุกข์นั้นมีอยู่แท้ แต่บุคคลผู้เป็นทุกข์หามีไม่"
(ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ)
นี่ก็เช่นเดียวกันอีก แสดงว่าตัวตนของเราไม่มี. ทุกข์อยู่ที่รูปและนาม.
นี้ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า เราจะพยายามทำที่สุดทุกข์ไปทำไม
เมื่อเราผู้เป็นเจ้าทุกข์ก็ไม่มีเสียแล้ว,
พยายามให้ใคร. ใครจะเป็นผู้รับสุข ทำบุญกุศลเพื่ออะไรกัน?

เพื่อขบปัญหานี้ให้แตกหัก โดยตนเองทุกๆ คน (เพราะธรรมะเป็นของเฉพาะตน).
ข้าพเจ้าขอเสนอแนวคิดสั้นๆ แต่กว้างขวางออกไป
แด่ท่านทั้งหลายสำหรับจะได้นำไปคิดไปตรอง
จนแจ่มแจ้งในใจด้วยปัญญาของตนเองแล้ว
และบำบัดความหนักใจ หม่นหมองใจ อันเกิดแต่ความสงสัย
และลังเลในการประพฤติธรรมของตน ให้เบาบางไปได้บ้าง ดังต่อไปนี้ :-

ร่างกายและจิตใจสองอย่างนี้ รวมกันเข้าเรียกว่า นามรูป,
หรือเรียกว่า เบญจขันธ์ เมื่อแยกให้เป็น ๕ ส่วน.

ในร่างกายและจิตใจนี้ ถ้ายังมีอุปาทาน กล่าวคือ
ความยึดถือว่า "ของฉัน" ว่า "ฉัน" อยู่เพียงใดแล้ว ความทุกข์นานัปการ
ตั้งต้นแต่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนถึงความหม่นหมองร้ายแรงอย่างอื่น เช่น
อยากแล้วไม่ได้สมอยาก เป็นต้น ก็ยังมีอยู่ และออกฤทธิ์แผดเผาทรมานร่างกาย
และจิตใจอันนั้นเอง.

แต่เมื่อใดอุปาทานอันนี้หมดไปจากจิต ผู้นั้นไม่มีความสำคัญตนหรือรู้สึกตนว่า
"ฉันมี", "นี่เป็นของฉัน" เป็นต้นแล้ว ทุกข์ทั้งมวลดังกล่าวก็ตกไปจากจิต
อย่างไม่มีเหลือ เพราะเราอาจที่จะไม่รับเอาว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นของเรา
และสิ่งที่เกิดขึ้นแก่มันว่าเป็นของเราได้จริงๆ.

แต่พึงทราบว่า เมื่ออวิชชา (ความโง่หลง) ยังมีอยู่ในสันดานเพียงใดแล้ว
ความสำคัญว่าเรา หรือของเรา มันก็สิงอยู่ในสันดานเรา โดยเราไม่ต้องรู้สึก
เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาความทุกข์ทั้งมวลเข้ามาเป็นของเรา โดยเราไม่รู้สึกตัว;
จึงกล่าวได้ว่า ตัวตนของเรา มีอยู่ในขณะที่เรายังมีอวิชชาหรืออุปาทาน เพราะ
สิ่งที่เป็นตัวตน (ตามที่เรารู้สึกและยึดถือไว้ในสันดานนั้น) เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง
ให้เกิดขึ้นโดยอวิชชานั่นเอง. ตัวตนไม่มีในเมื่อหมดอวิชชา.

เมื่อใดหมดอวิชชา หรือความโง่หลง เมื่อนั้น "ตัวตน" ก็ทำลายไปตาม;
ความรู้สึกว่า "เรา" ก็ไม่มีในสันดานเรา;
ไม่มีใครเป็นผู้ทำ หรือรับผลของอะไร จึงไม่มีทุกข์,
ความจริงนั้นมีแต่นามรูปซึ่งเกิดขึ้น, แปรปรวน, ดับไปตามธรรมดาของมัน
เรียกว่า มันเป็นทุกข์.

เมื่ออวิชชาในสันดานเรา (หรือในนามรูปนั้นเอง) ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า
"นามรูปคือตัวเรา" แล้ว "เรา" ก็เกิดขึ้นสำหรับเป็นทุกข์,
หรือรับทุกข์ทั้งมวลของนามรูปอันเป็นอยู่ตามธรรมชาตินั้น.

เห็นได้ว่า "เราที่แท้จริง" นั้นไม่มี มีแต่เราที่สร้างขึ้นโดยอวิชชา.
ท่านจึงกล่าวว่า ความทุกข์นั้นมีจริง แต่ผู้ทุกข์หามีไม่,
หรือเบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์.

ที่เรารู้สึกว่า มีผู้ทุกข์ และได้แก่ตัวเรานี่เองนั้น เป็นเพราะความโง่ของเรา
สร้างตัวเราขึ้นมาด้วยความโง่นั้นเอง, ตัวเราจึงมีอยู่ได้แต่ในที่ๆ ความโง่มีอยู่.
ยอดปรัชญาของพุทธศาสนา จึงได้แสดงถึงความจริงในเรื่องนี้
ด้วยการคิดให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งประจักษ์ชัดว่า "ตัวเราไม่มี" จริงๆ.

อาจมีผู้ถามว่า ก็เมื่อความจริงนั้น ตัวเราไม่มีแล้ว
เราจะขวนขวายประพฤติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ทำไมเล่า?

นี่ก็ตอบได้ด้วยคำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกนั่นเอง, คือว่าในขณะนี้
เราหาอาจมีความรู้ได้ไม่ว่า "ตัวเราไม่มี". เรายังโง่เหมือนคนบ้าที่ยังไม่หายบ้า
ก็ไม่รู้สึกเลยว่าตนบ้า.

เหตุนี้เอง "ตัวเรา" ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความโง่ นั่นแหละมันมีอยู่,
มันเป็นเจ้าทุกข์, และเป็นตัวที่เราเข้ายึดเอามาเป็นตัวเรา หรือของเราไว้โดยไม่รู้สึก.
เราจึงต้องทำตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อหายโง่ หายยึดถือ
หมดทุกข์ แล้วเราก็จะรู้ได้เองทีเดียวว่า อ้อ! ตัวเรานั้น ที่แท้ไม่มีจริงๆ!!
นามรูปมันพยายามดิ้นรนเพื่อตัวมันเองตลอดเวลา
มันสร้าง "เรา" ขึ้นใส่ตัวมันเองด้วยความโง่ของมัน;
เราที่มันสร้างขึ้น ก็คือเราที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่นี่แหล่ะ

ดังนี้ ท่านตัดสินเอาตามความพอใจของท่านเองเถิดว่า

ใครเล่าเป็นผู้ทุกข์? ใครเล่าเป็นผู้สุข?

แต่พึงรู้ตัวได้ว่า ตัวเราที่กำลังจับกระดาษแผ่นนี้อ่านอยู่นั้น

ก็ยังเป็นตัวเราของอวิชชาอยู่ !



๑ สิงห์ ๗๙

พุทธทาสภิกขุ



ที่ท่านกล่าวมาทั้งหมด ท่านกล่าวไว้ถูกนะ ถูกทั้งในแนวทางปฏิบัติและตามความเป็นจริง พระธรรมนี้เป็นอกาลิโก เหมือนกับในบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,

เหมือนเรื่อง รูป นาม ขันธ์ 5 นั้น ไม่ใช่มีแค่ในตำรา ไม่ใช่แค่เรื่องการน้อมเอาคิดเอา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
อ้างคำพูด:
"นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"




อ้างคำพูด:
บาสกผู้คงแก่เรียนผู้หนึ่ง สนทนากับหลวงปู่ว่า "กระผมเชื่อว่า แม้ในปัจจุบันพระผู้ปฏิบัติถึงขั้นได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็คงมีอยู่ไม่น้อย เหตุใดท่านเหล่านั้นจึงไม่แสดงตนให้ปรากฎ เพื่อให้ผู้สนใจปฏิบัติทราบว่าท่านได้บรรลุถึงคุณธรรมนั้นแล้ว เขาจะได้มีกำลังใจและความหวัง เพื่อเป็นพลังเร่งความเพียรในทางปฏิบัติให้เต็มที่" ฯ

หลวงปู่กล่าวว่า

"ผู้ที่เขาตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดว่าเขารู้แล้วซึ่งอะไร เพราะสิ่งนั้นมันอยู่เหนือคำพูดทั้งหมด"

คัดจาก - http://www.nkgen.com/pudule.htm

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
อ้างคำพูด:
"นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"






นิพพานคือจิตเป็นของว่างจากกิเลส แต่นิพพานมีอายตนะของมันด้วย คือ อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย ซึ่งเป็นแค่นามกาย(รูปเฉยๆ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร