วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 01:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา บทที่2 (พุทธศาสนา พัฒนามนุษย์) ตอนที่ 5 (จบบท)
สืบเนื่องจากตอนที่ 4 ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงการพัฒนาศาสนาทุกศาสนา อันนี้ข้าพเจ้ามิใช่บังคับ หรือว่าอวดเก่ง หรือว่าหลงทะนงในความรู้แห่งตน ถึงกับสอนให้ทุกศาสนารู้จักวิธีการพัฒนาศาสนาแห่งสังคมนั้นๆ เพียงแต่ข้าพเจ้าไม่ต้องการสร้างความร้าวฉาน หรือความแตกแยกให้กับศาสนา เพราะสิ่งที่ข้าพเจ้าได้สร้างบรรทัดฐานเกี่ยวกับธรรมะอันเป็นธรรมะในพุทธศาสนาขึ้นนี้ แท้จริง ก็คือธรรมชาติของมนุษย์ (สัตว์ พืช และอื่นๆ) อยู่แล้ว เมื่อข้าพเจ้ายกขึ้นมา เป็นหลักธรรมะในศาสนาพุทธ ท่านทั้งหลายผู้ศรัทธาในศาสนาใดใดก็ตาม หากได้อ่าน แล้วเกิดความรู้ ความเข้าใจ ก็ย่อมเกิดผลดีต่อศาสนาแห่งตนมากขึ้น เพราะท่านทั้งหลายผู้ศรัทธาในศาสนาใดใด ล้วนย่อมนำเอาธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเอง และผู้อื่น อันได้แก่ การคิด(ดำริ) และการนึกถึง(ระลึก) นำไปพิจารณาหลักธรรม หรือข้อศีลข้อธรรมะแห่งศาสนานั้นๆ จนเกิดความเข้าใจและแตกฉานได้โดยง่าย สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานหรือระดับปุถุชนทั่วไป จนถึงระดับอริยะบุคคล ซึ่งในศาสนาต่างๆ ล้วนมีชื่อเรียกผู้บรรลุธรรมชั้นอริยะบุคคลตามแต่ศัพท์ภาษาแห่งศาสนานั้นๆ (เพียงแต่ผู้ศรัทธาในศาสนานั้นๆอาจไม่เข้าใจ อาจไม่รู้ คือมีความเข้าใจไปอีกรูปแบบหนึ่ง) อีกทั้งยังเป็นเครื่องช่วยหรือปัจจัยในการสร้างปัญญาความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมหลักศีล ที่องค์ศาสดาแห่งศาสนาใดใดได้บัญญัติไว้ว่าดีเยี่ยมตามยุคตามสมัย อย่างเยี่ยมยอด ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอรรถาธิบายไปเป็นทำนองว่า ศาสนาทุกศาสนานั้น ล้วนสอนเหมือนกัน มีรากฐานแบบเดียวกัน จะแตกต่างกันเพียงแต่ภาษาที่ใช้ และหรือแตกต่างกันตรงที่ความจำเป็นในการใช้ภาษาหรือใช้หลักธรรมคำสอน ตามยุค ตามสมัย ตามสมองสติ ปัญญา ตามสภาพภูมิประเทศ ตามสภาพภูมิอากาศ ตามความจำเป็นในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ดังนั้นธรรมะในข้อ “ ระลึก ดำริ” นี้จึงเป็นหลักธรรมะ 2 ข้อแรกแห่งความเป็นมนุษย์(หมายเอาเฉพาะมนุษย์) เป็นธรรมะที่ทำให้มนุษย์ไม่สบายใจก็ได้ หรือจะให้สบายใจก็ได้ หรือทำให้เป็นทุกข์ก็ได้ หรือทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ก็ได้ หรือทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ก็ได้หรือทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นจากความทุกข์ก็ได้ เช่นกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบหลายๆประการ ทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม นับตั้งแต่ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับประเทศ หรือระดับโลก ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิด ความคิด(ดำริ) และนึกถึง(ระลึก) จนก่อให้เกิดพฤติกรรม หรือการกระทำ ในรูปแบบต่างๆ บ้างก็สร้างความสบายใจ เป็นสุข บ้างก็สร้างความไม่สบายใจเป็นทุกข์ ดิ้นรนเสาะแสวงหา ตามความคิด (ดำริ) และการนึกถึง(ระลึก) เป็นไปตามปัจจัยที่ได้กล่าวไป
ท่านทั้งหลายที่สนใจและได้อ่าน บทเรียน “ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา”ทั้ง2 บทเรียนไปแล้ว อาจมีข้อสงสัยว่า เหตุไฉน หลักธรรมะ จึงทำให้เกิดทุกข์ หรือเหตุไฉน หลักธรรมะ จึงเป็นเหตุทำให้เกิด ความหลง(โมหะ),ความโลภ(โลภะ),ความโกรธ(โทสะ) แทนที่หลักธรรมะจะสอนให้เกิดการหลุดพ้นจากทุกข์เพียงอย่างเดียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะท่านทั้งหลายเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า ธรรมะ คือสิ่งที่สอนให้มนุษย์ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือสอนให้กระทำหรือประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งแท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องปลายเหตุ หมายความว่า ถ้าทุกท่าน หรือมนุษย์ทั้งหลายได้รู้ว่า “ความหลง(โมหะ),ความโลภ(โลภะ),ความโกรธ(โทสะ) ล้วนเกิดจาก การที่มนุษย์ ระลึก,ดำริ แล้ว สภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆจะเกิดขึ้น หรืออาจไม่รู้ แต่สภาพสภาวะจิตใจฯเกิดขึ้นจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม จารีต วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ (ซึ่งก็คือเกิดจากการ ระลึกและดำริ แต่ไม่รู้ว่า ทำให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง) เช่น สภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่าพรหมวิหารสี่ คือ ความวางเฉย, ความพลอยมีความยินดี (ไม่อิจฉาหรือน้อยใจฯ),ความปรารถนาให้พ้นทุกข์,ความปรารถนาให้ได้ดีพบสุข ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งแม้แต่สภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า พรหมวิหารสี่ ก็ยังก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลงได้เช่นกัน หากมีน้อยเกินไป หรือหากมีมากเกินไป หรืออยู่ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป(จะได้อธิบายในบทเรียนต่อต่อไปในภายหลัง)
สภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วนั้น ล้วนเป็นผลแห่งการได้สัมผัสทางอายตนะภายใน โดยรับมาจากอายตนะภายนอก ก่อให้เกิดความคิด และนึกถึง ซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ตามที่ได้ประสบ หรือเล่าเรียนมาหรือ จดจำมา ก็แล้วแต่ ทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ที่หัวใจ หากบุคคลมีความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของสรรพสิ่งตามความเป็นจริงแล้ว สภาพสภาวะจิตใจที่เกิดขึ้น จะเป็นสภาพสภาวะจิตใจที่ในทางศาสนาเรียกว่า “ธรรมะ” นั่นหมายความว่า ธรรมะจะเกิดขึ้นในจิตใจ ในความคิด หรือถูกเก็บไว้เป็นข้อมูลความจำในสมองของบุคคลได้ ก็ย่อมต้องเกิดจากการ “ระลึก และ ดำริ” หรือในทางกลับกัน การที่บุคคลได้ประสบ ได้สัมผัส แล้วเกิดการ “ระลึก และ ดำริ” ธรรมะก็จะเกิดขึ้น(ธรรมะในวรรคนี้หมายถึงสภาพสภาวะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ในรูปแบบต่างๆกันที่จักทำให้จิตใจสบาย ว่างเปล่า ปลอดโปร่ง ฯลฯ)
แต่การ “ระลึกและ ดำริ” ก็ก่อให้เกิด กิเลส หรืออาสวะเครื่องทำให้จิตใจเศร้าหมอง อันได้แก่ ความโลภ(โลภะ) ,ความโกรธ(โทสะ),ความหลง(โมหะ) ได้เช่นกัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า หากบุคคลไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจถึงธรรมชาติแห่งตนเอง และผู้อื่น หรือไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจ ในการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่น ฯลฯ ก็ย่อมไม่สามารถใช้การ ระลึก,และดำริ อบรมตัวเองหรืออบรมจิตใจ สร้างความคิดหรือสร้างข้อมูลให้กับตัวเองจนเกิดธรรมะขึ้นในตัวเอง
ดังนั้นการ “ระลึก(นึกถึง),ดำริ(การคิด)” จึงเป็นทั้งหลักธรรมะที่ทำให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆกันซึ่งนิยมเรียกกันว่า “ธรรมะ” และเป็นทั้งหลักธรรมะที่ทำให้เกิด “กิเลส” หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ “ระลึก,ดำริ” คือหลักธรรมะที่จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจฯที่ก่อให้เกิดความหลุดพ้นจากทุกข์, แต่ก็เป็นหลักธรรมะที่จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ อันเป็นสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ได้ด้วยเช่นกัน และเมื่อท่านทั้งหลายได้รู้แล้วว่า การระลึก และดำริ นี้เป็นได้ทั้งสองอย่าง ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้น การรู้จักขจัดอาสวะแห่งกิเลสก็จะเกิดขึ้นทีละอย่าง ทีละอย่าง ตามแต่ท่านทั้งหลายจะมีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมะที่ได้กล่าวไป คือ ระลึก,ดำริ
ส่วนสภาพสภาวะจิตใจ หรือ อารมณ์ ความรู้สึก อีกชนิดหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการระลึกดำริ ซึ่งสืบเนื่องมาจากปัจจัยหลายสิ่งหลายประการ นับตั้งแต่ สังคมสิ่งแวดล้อม จารีตวัฒนธรรมประเพณี กรรมพันธุ์ โดยในทางศาสนาบัญญัติไว้เป็นธรรมะ เช่น พรหมวิหารสี่,อิทธิบาทสี่,และอื่นๆอีกมากมายนั้น แท้จริงแล้ว สภาพสภาวะจิตใจฯ เหล่านั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลจากการ ระลึกดำริ ทั้งสิ้น หรือเรียกว่า เป็นผลที่เกิดจากการระลึกดำริ ก็ได้เช่นกัน หากท่านทั้งหลายลองสังเกตตัวเองพิจารณาสภาพจิตใจของตัวเอง เวลาเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตัวท่านเองว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไปนั้นเป็นความจริง และสภาพสภาวะจิตใจฯ ในรูปแบบต่างๆกันที่ในทางศาสนา เรียกว่า พรหมวิหารสี่ , อิทธิบาทสี่ และอื่นๆ ก็เป็นได้ทั้งธรรมะ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้หลุดพ้นจากทุกข์หรือกิเลสได้ แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือเกิดกิเลสได้เช่นกัน และสามารถเป็นได้ทั้งกิเลสอย่างหยาบ และกิเลสอย่างละเอียด ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ในที่นี้ยังจะไม่อรรถาธิบายแยกแยะรายละเอียด เอาเป็นเพียงสังเขปขั้นพื้นฐาน พอให้เกิดความเข้าใจไว้ก่อนว่า “ธรรมะ”ที่แท้จริงในทางศาสนานั้น ย่อมเป็นสายกลาง หรือย่อมเป็นกลาง คือ เป็นได้ทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ ฯ และเป็นได้ทั้งสิ่งที่ทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งผู้ศรัทธาหรือบุคลากรในศาสนา ล้วนเข้าใจผิดกันมานานแล้วเกี่ยวกับเรื่องของ ทางสายกลาง เพราะมักเอาไปผูกเชื่อมโยงกันมั่วไปหมด โดยไม่ได้ไปนั่งคิดพิจารณารูปภาพตอนพระอินทร์ดีดพิณให้พระพุทธองค์ทรงได้คิด ตอนเมื่อยังไม่บรรลุธรรมใดใด ตามภาพฝาผนังในอุโบสถ หรือวิหาร ตามวัดต่างๆ
เมื่อข้าพเจ้ากล่าวว่า หลักธรรมะที่แท้จริง คือ “ระลึก ,ดำริ” แล้วทำไมศาสนาหลายๆศาสนาจึงได้นำเอา สภาพสภาวะจิตใจฯหรือผลที่เกิดจากการ “ระลึก ,ดำริ” มาเป็นหลักธรรมคำสอน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเป็นเทคนิคหรือวิธีการสอนของแต่ละยุคแต่ละสมัย และแต่ละศาสดาแห่งศาสนานั้นๆ จะหยิบยกสิ่งที่สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้เร็ว หรือง่ายกว่า มาเป็นหลักธรรมคำสอน เช่น ถ้าหากสอนว่า “ท่านทั้งหลายหากต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ อันเกิดจากการได้สังคมเป็นอยู่ร่วมกัน กับคนหมู่มาก นับตั้งแต่ระดับครอบครัว เป็นต้นมา ท่านทั้งหลายต้องมี “พรหมวิหารสี่” คือ มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” (ในที่นี้จะไม่ขยายความหรืออธิบายความในหลักพรหมวิหารสี่)
ก็ง่ายต่อการปฏิบัติ เพราะเมื่อผู้ได้ฟัง รู้แล้วว่า เมตตาทำอย่างไรเป็นอย่างไรหรือมีความว่าอย่างไร ก็ทำหรือปฏิบัติอย่างนั้น กรุณาทำอย่างไรเป็นอย่างไรหรือมีความหมายว่าอย่างไร ก็ทำหรือปฏิบัติอย่างนั้น ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
ที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น เป็นการอธิบายให้ได้เกิดความเข้าใจถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมศาสนาจึงได้นำเอา ผลแห่งการ ระลึก,ดำริ มาบัญญัติเป็นธรรมะ ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว สภาพสภาวะจิตใจฯ เหล่านั้นเป็นชื่อเรียก สภาพสภาวะจิตใจหรืออารมณ์ หรือความรู้สึก รูปแบบหนึ่ง อันเกิดจากการหลักธรรมะในข้อ “ ระลึก,ดำริ”
อนึ่ง ข้าพเจ้าต้องบอกไว้อีกอย่างว่า ที่ยกตัวอย่าง ในหลัก"พรหมวิหาร4"ขึ้นมานั้น มิใช่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละศาสนา แต่ยกขึ้นมาเพื่อให้ได้รู้ และเกิดความเข้าใจ ในสภาพสภาวะจิตใจ หรืออารมณ์ หรือความรู้สึก ในรูปแบบต่างๆกัน ล้วนมีต้นตอหรือแหล่งที่เกิดจากฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่นใด ที่มีชีวิต หากแต่ สิ่งมีชีวิตที่นอกเหนือจากมนุษย์ไปแล้ว ล้วนมีข้อด้อยในการระลึกดำริ
หรือหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีการ ระลึก ดำริ ได้น้อยกว่า มนุษย์ ฉะนี้
(จบบทเรียน บทที่2)
ศาสนา จะเจริญหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่า ศาสนานั้นๆ เป็นหลักความจริง ที่คนทั้งโลก ไม่สามารถหนีพ้นหลักการเหล่านั้นได้


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 22 ต.ค. 2008, 21:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ในกระทู้บทจบ บทที่2 นี้ ข้าพเจ้าต้องบอกไว้อีกอย่างว่า ที่ยกตัวอย่าง ในหลัก"พรหมวิหาร4"ขึ้นมานั้น มิใช่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละศาสนา แต่ยกขึ้นมาเพื่อให้ได้รู้ และเกิดความเข้าใจ ในสภาพสภาวะจิตใจ หรืออารมณ์ หรือความรู้สึก ในรูปแบบต่างๆกัน ล้วนมีต้นตอหรือแหล่งที่เกิดจากฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่นใด ที่มีชีวิต หากแต่ สิ่งมีชีวิตที่นอกเหนือจากมนุษย์ไปแล้ว ล้วนมีข้อด้อยในการ ระลึก ดำริ
หรือหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีการ ระลึก ดำริ ได้น้อยกว่า มนุษย์ ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
:b35: :b35:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากประโยคข้อความในกระทู้ ขาดหาย เพราะพิมพ์ตกหล่นไป
จีงได้แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ขอให้ท่านที่สนใจ ได้ศึกษาเถิดขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 79 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron