วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 17:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 02:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


---------------------------------------------------------------------------------------------------




จากที่ศึกษามา ผมเข้าใจว่าเป็นดังนี้ครับ

ผู้รู้ คือ สติ

ผู้ตื่น คือจิตที่มีสติ

ผู้เบิกบาน คือ จิตที่เกิดอาการยิ้ม (อเหตจิต)
เกิดขึ้นในทุกครั้งที่บรรลุธรรมขั้นพระอริยะเจ้า คือ

- โสดาบัน 1 ครั้ง
- สกิทาคามี 1 ครั้ง
- อนาคามี 1 ครั้ง
- อรหันต 1 ครั้ง



ท่านทั้งหลายว่าอย่างไรกันบ้างครับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวัสดีครับอาจารย์ :b8:
ผมลองเล่นบ้างนะครับ น่าจะเรียงตามนั้น เรียงสลับกันก็ไม่ได้
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ผู้รู้.....


คือรู้ว่านี่คือทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่หนทางแห่งการดับทุกข์ (รู้อริยสัจสี่)
ถ้ารู้อย่างอื่นที่ไม่ใช่อริยะสัจสี่....ไม่เรียกว่าผู้รู้เลย ก็จะไม่เป็นผู้ตื่นด้วย


ผู้ตื่น

....ตื่นจากความโง่ ความหลง ที่เวียนว่ายในสังสารวัฏอยู่ตั้งนาน


ผู้เบิกบาน

....เมื่อรู้แล้ว ตื่นแล้ว....จึงปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์เป็นผู้เบิกบาน....อย่างช้า 7 ชาติ


:b4: :b4: :b4: :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทำไมต้องรู้อริยสัจสี่


ประการแรก

ความมีสาระของเรื่องอริยสัจ เพราะ “เป็นเรื่องที่พระองค์จะทรงยอมคุยด้วย”
หมายความว่า ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆเช่น ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด โลกเที่ยง –ไม่เที่ยง โลกมีที่สุด – ไม่มีที่สุด ฯลฯ เป็นต้นแล้ว จะไม่ทรง “ยอมคุยด้วย” แม้จะทูลถามก็จะไม่ทรงพยากรณ์ นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า เรื่องอริยสัจเท่านั้นที่มีแก่นสาร

ประการที่สอง
ความมีค่ามากค่าน้อย อาจจะกล่าวอุปมาด้วยเรื่องที่ไม่อาจจะเป็นไปได้แต่อาจจะเทียบเคียงค่าของมันได้ เช่นที่ตรัสว่า “แม้จะถูกเขาแทงด้วยหอก ๑๐๐ ครั้ง เฆี่ยน ๑๐๐ ครั้ง เป็นเวลา ๑๐๐ ปี เพื่อแลกเอาการรู้อริยสัจ ดังนี้ก็ควรยอม”

ประการที่สาม
ความด่วนจี๋ ทรงตรัสอุปมาอีกเช่นเดียวกันว่า “แม้ไฟไหม้อยู่ที่ศีรษะหรือที่เสื้อผ้าแล้ว กำลังหรือความเพียรที่มีอยู่ควรจะใช้ไปในการทำให้รู้อริยสัจก่อนแต่ที่จะนำมาใช้ในการดับไปที่กำลังไหม้อยู่ที่เนื้อที่ตัว”

ประการที่สี่
พูดถึงเรื่องที่ควรกระทำในฐานะเป็น โยคะกรรม คือการกระทำกันอย่างจริงๆจังๆ ไม่มีเรื่องอะไรควรกระทำยิ่งไปกว่าเรื่องการทำให้รู้อริยสัจ เราไม่เคยพบการที่ทรงเน้นให้ทำโยคะกรรมในเรื่องใดมากๆ เท่ากับทรงเน้นให้ทำโยคะกรรมเพื่อให้รู้อริยสัจ นี้ก็เป็นเครื่องวัดค่าแห่งการสมควรกระทำเกี่ยวกับเรื่องอริยสัจ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
อาจารย์คามินธรรมครับ....จิตยิ้มได้ด้วยหรือครับ งงงง :b34: :b34: งงง วอนอาจารย์ให้ความรู้ด้วยครับ :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 13:42 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธะ คือ ธรรมที่ปรากฏแก่จิต
จิตที่มีธรรมะปรากฏ คือพุทธะ
พุทธะ คือจิตที่ตรัสรู้ธรรม : จิตคือ พุทธะ ที่กำลังจะเป็น ที่กำลังเป็น ที่เป็นแล้ว (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)
เรียน พุ. ที่ไหน ที่จิต
ที่ความทุกข์
ที่ธรรมชาติ๙ตา
ที่ผี (ตัวกู)
ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสิคุณฌาน

ลองอ่านธรรมะปฏิบัติของหลวงปู่ดุลย์ดู
อันนี้ผมยกมาบางส่วนนะ


อเหตุจิต ๓ ประการ

๑. ปัญจทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตามอายตนะทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้
ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้
หู ไปกระทบกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ไม่ได้ยินเสียงไม่ได้
จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานะวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้
ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได
กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้

วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามไม่ให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดในทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ (ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่น เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)

๒. มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ในมโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความนึกคิดต่างๆ นานา คอยรับรู้เหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่ว ก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้ ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็กำหนดรู้ว่า จิต คิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ใหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี

สำหรับ อเหตุจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ ควรพิจารณา อเหตุจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญธรรม

อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจ ในอเหตุจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง

อเหตุจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะการรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง...

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี้
ไม่ใช่แค่คำสวยหรู หรือเป็นคำสร้อยคำประพันธ์เพื่อความไพเราะแต่อย่างใด
แต่เป็นสัจจะธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆในใจคนที่เจริญจิตภาวนาจนถึงขั้นอริยะชน

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
---------------------------------------------------------------------------------------------------




จากที่ศึกษามา ผมเข้าใจว่าเป็นดังนี้ครับ

ผู้รู้ คือ สติ

ผู้ตื่น คือจิตที่มีสติ

ผู้เบิกบาน คือ จิตที่เกิดอาการยิ้ม (อเหตจิต)
เกิดขึ้นในทุกครั้งที่บรรลุธรรมขั้นพระอริยะเจ้า คือ

- โสดาบัน 1 ครั้ง
- สกิทาคามี 1 ครั้ง
- อนาคามี 1 ครั้ง
- อรหันต 1 ครั้ง



ท่านทั้งหลายว่าอย่างไรกันบ้างครับ


ผมไม่ได้คุยกับน้องทั้งสองมาหลายวันจึงอยากคุยด้วย

ขอตอบอย่างนอกตำราครับ เพราะตามตำราผมตกม้าตายแน่นอนเมื่อเทียบกับน้องทั้งสอง

ขอตอบว่า

ผู้รู้คือ รู้แจ้งเห็นจริงครับ ไม่ใช่รู้แค่ที่มองเห็น แต่แทงทะลุ ปรุโปร่ง ในทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ

หรือที่เรียกว่าตรัสรู้

การตรัสรู้สำหรับความคิดผมมิได้แค่เพียงรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจจสี่เท่านั้น แต่หมายถึงรู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างในสากลโลก

ผู้ตื่น คือ ผู้ตื่นกลัวต่อบาป รู้ว่า วิบากมีจริง บาปมีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง นิพพานมีจริง จึงตื่นอยู่เสมอต่อการไม่ทำบาป

ผู้เบิกบานคือ การเดินทางถึงจุดหมายแล้ว ภาระวางลงได้แล้วอย่างสมบูรณ์ ความเหน็ดเหนื่อยจบสิ้นลงแล้ว เวลาพักตลอดกาลมาถึงแล้ว ไม่มีความเกร่ง ความเครียดความ ตื่นเต้นอีกต่อไปแล้ว

ดีใจที่ได้กลับมาอีก แต่อีกไม่นานก็ต้องเดินทางต่อ คงหายไปอีกนาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 14:05
โพสต์: 54


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ ทำให้ได้รู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2008, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เสฏฐวุฒิ เขียน:
อนุโมทนาสาธุ ทำให้ได้รู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ :b8: :b8: :b8:


อย่าเพิ่งรีบเชื่อนะครับ
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราทดลองให้เห็นจริงเองแล้วค่อยเชื่อครับ

ตัวผมเอง เจอบ่อยมาก
คือผมรีบเชื่ออะไรแล้ววันหลังกลับเจออะไรที่มันยิ่งๆขึ้นไปอีก
ทั้งๆที่ความเชื่อมันไม่ผิดนะครับ แต่มันไม่ถูก

เหมือนเราต่อ jigzaw รูปช้างอะคับ
ชิ้นไหนมันก้ช้างทั้งนั้น ไม่มีผิดถูก
แต่มันไม่ครบ

จนเราเห้นครบเราถึงรู้ว่า.. อ๋อ
นี่ต่างหาก ช้างทั้งตัว

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 26 ต.ค. 2008, 22:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2008, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


“พุทโธ” : ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

รู้อะไร ?
รู้แจ้ง เห็นจริง ตามหลักความเป็นจริง รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้าว่า เป็นไตรลักษณ์ สัจจะธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนคนตาดี (มีปัญญา) ออกเดินทางไปในที่แจ้ง ที่สว่าง อะไรอยู่ตรงไหนก็มองเห็น

ตื่นจากอะไร ?
ตื่นจากความหลงผิด เข้าใจผิด ตื่นจากความงมงาย ความมืดบอดของอวิชชา คลายความยึดมั่นถือมั่น ในธาตุสี่ ขันธ์ห้าว่า เป็นอัตตา ตัวตน เราเขา

เบิกบานอย่างไร ?
เมื่อมีความรู้แจ้ง เห็นจริง ตื่นจากความหลง งมงาย ตื่นจากความมืดบอด ก็ย่อมมีความเบิกบานใจ ไม่มีความรำคาญใจ ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ

จะเป็นผู้รู้แจ้ง เห็นจริงได้ ก็ด้วยการรู้แจ้งเห็นจริงจากปัญญาของตนเองเท่านั้น ผู้รู้เห็นจากตำรา จากคัมภีร์ ท่านไม่เรียก “พุทโธ”

เจริญธรรม

:b8: :b11:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร