วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 16:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2008, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ว ทำไม ในทางพุทธศาสนา จึง กล่าวในหลักการปฏิบัติ ไว้ว่า
ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา
ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ ศีลจะเกิดมีได้
ก็ต่อเมื่อบุคคลได้ ดำริ(คิด) หรือ ระลึก(นึกถึง)
เพราะเมื่อบุคคลมีจิตใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิ ก็จะเกิดขึ้น
เมื่อสมาธิเกิด ก็จะเกิดปัญญา คือสามารถนำเอาความรู้ ความเข้าใจ
จากความจำในสมอง มาใช้ประพฤติ ปฏิบัติ หรือ กระทำการ
ประกอบกิจการใดใดได้ อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์
ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา
ในคำว่า ศีล จึงมิได้หมายข้อศีลใดใด แต่หมายถึงการ คิด หรือระลึก(นึกถึง)
เช่น ถ้าเรามีความต้องการจะพิจารณาในข้อศีล ขณะที่เราเกิดความต้องการนั้น
สมาธิได้เกิดขึ้นชั้นหนึ่งแล้ว เมื่อสมองได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับศีล และปรุงแต่ง
ตามแต่ประสบการณ์ ความจำ ความรู้ และอื่นๆ สมาธิก็จะเป็นปัจจัยประกอบ
ที่จะคอยควบคุม บังคับให้บุคคลนั้นๆ ระลึกนึกถึง และคิดพิจารณา เพื่อทำความเข้าใจ
ในข้อศีล หรืออื่นใดก็ตาม เมื่อเกิดความเข้าใจ ความรู้ หรือ ปัญญา ก็เกิดขึ้น
ปัญญา นั้นแท้จริงแล้ว หมายถึง ความรู้ ที่บุคคลนั้นๆ มีความเข้าใจอย่างละเอียด
ในระดับหนึ่ง และสามารถนำ เอาความรู้ดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นการประพฤติ การปฏิบัติ
หรือใช้ในการทำงานใดใดได้เป็นอย่างดี อย่างนี้จึงเรียกปัญญา
เพราะความรู้ ในตัวบุคคลมีอยู่หลายประเภท หลายอย่าง ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลนั้น
ไม่ว่าจะเป็น ความรู้จากประสบการณ์ ความรู้จากการเรียนรู้ทางสังคมสิ่งแวดล้อม
ความรู้จากการศึกษาเล่าเรียน ตามหลักวิชาการ หรือความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนด้วย
ตัวเอง จากการดู จากการทำ หากไม่ได้นำมาใช้หรือไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าปัญญา
ต่อเมื่อนำออกมาใช้ได้อย่างเป็นผลดีต่อการประกอบกิจการ หรืองานใดใด นั่นแหละคือ
ปัญญา
ในทำนองเดียวกัน ถ้าบุคคลใดใด มีความรู้ในหลักธรรมคำสอนทางศาสนา รวมไปถึง
มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปฏิบัติ แต่มิได้ประพฤติ ปฏิบัติ หรือมิได้ใช้หลักธรรม
หรือการปฏิบัติเหล่านั้น ออกมา ก็ไม่เรียกว่า ปัญญา แต่จะเรียกว่า ความรู้ ความจำ
ต่อเมื่อบุคคลนั้น ประพฤติ ปฏิบัติ เช่นคิดพิจารณา ปฏิบัติธรรม จนเกิดความเข้าใจ
สามารถใช้ศีลใช้ธรรม ใดใด ได้อยู่เสมอ นั่นแหละคือ ปัญญา
หรือจะกล่าวอีกรูปหนึ่ง หากบุคคลสามารถคิดพิจารณาในข้อศีลจนเกิดความเข้าใจ
อย่างละเอียดตามแต่ประสบการณ์อย่างถ่องแท้ นั่นแหละคือปัญญา
เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ แปลกประหลาดมหัศจรรย์ เมื่อบุคคลเกิดความ
เข้าใจในเรื่องใดอย่างละเอียดลึกซึ้งและจดจำไว้ อยู่เนืองๆ ระบบพฤติกรรมจาก กาย
วาจา และใจ ก็จะเป็นไป ตามความรู้ความเข้าใจที่เกิดมีขึ้น ซึ่งเรียกว่า ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
:b35: :b35:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร