ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=18745 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | natdanai [ 27 ต.ค. 2008, 13:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
อยากทราบทัศนะของสหายธรรมครับว่าท่านมีทัศนะอย่างไรกับ " ทางสายกลาง " คนทั่วไปมักกล่าวว่า ทางสายกลาง หมายถึงความพอดี คือไม่มากไป ไม่น้อยไป ในทางปฏิบัติก็กล่าวกันไว้ว่า ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ท่านทั้งหลายคิดว่าทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ มันจะมีความหมายเพียงเท่านี้ หรือแตกต่างจาก ที่คนส่วนมากเข้าใจหรือไม่ ส่วนตัวกระผมพิจารณาเห็นอีกความหมายนึงครับ นั่นคือ ทางสายกลางระหว่าง กุศล และ อกุศล หรือ ทาง สายกลางระหว่าง รัก กับ ชัง ซึ่งก็น่าจะเป็นทางลัดตัดตรงและราบเรียบอย่างที่ครูบาอาจารย์หลายๆท่านได้กล่าวไว้ ท่านพิจารณากันอย่างไรบ้างครับ..... ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ฌาณ [ 27 ต.ค. 2008, 13:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
สวัสดีครับพี่นัฐ.... กระผมเห็นว่าทางสายกลางคือ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() มรรคมีองค์แปดเท่านั้น ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ทางอื่นนอกจากที่กล่าวนี้หาได้ใช่ทางสายกลางไม่ ![]() |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 27 ต.ค. 2008, 14:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
ทางสายกลางนี่เป็นธรรมะข้อแแรกเลยนะคับ ที่พระพุทธเจ้าตรัสออกมา เป็นปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปวัตนสูตร - ว่าด้วยส่วนสุด 2 ประการ และทางสายกลาง ทางสายกลางนี้เป็นอะไรที่มีอยู่ในธรรมะทุกๆข้อเลยของพระพุทธเจ้า เป้นตัวคุมธรรมอื่นๆ อย่างพรมวิหาร 4 นี้ ท่านมีข้ออุเบกขาขึ้นมา ให้เอาไว้เบรก 3 ข้อแรก ไม่งั้นคนก้จะพยามเมตตาอย่างสุดโต่ง กรุณาอย่างสุดโต่ง มุทิตาอย่างสุดโ่ต่ง สุดโต่งคือไม่ทำอะไรเลย หรือ ทำจนเกินขีด นอกจากนี้ ในการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ล้วนแล้วแต่ต้องมีความพอดีเป็นที่ตั้ง จึงจะทำธรรมะต่างๆนั้นเจริญงอกงามขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยให้กรรมฐานไม่แตกไปเสียก่อนจะถึงฝั่ง |
เจ้าของ: | ฌาณ [ 27 ต.ค. 2008, 16:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน? ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑ พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้าที่ 44 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ศิรัสพล [ 27 ต.ค. 2008, 16:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
ขอตอบคุณ natdanai ดังนี้ครับ ทางสายกลาง หากมุ่งในการปฏิบัติแล้วจะหมายถึง การปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป คือ ไม่สุดโต่งไปทางติดข้องอยู่กับโลกวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว หรือไม่สุดโต่งไปอีกด้านคือไม่ยุ่งเกี่ยวกับวัตถุเลย (หนีโลกไปเลย) แต่เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับวัตถุได้เท่าที่จำเป็นแก่สถานภาพ แต่ก็ไม่หลงไหลในโลกวัตถุต่างๆ การดำเนินอย่างนี้เรียกว่า "เดินสายกลาง" หรือ "มัชฌิมาปฏิปทา" ครับ ผิดถูกอย่างไร พิจารณาดูนะครับ ขอให้เจริญในธรรมครับ ![]() |
เจ้าของ: | natdanai [ 27 ต.ค. 2008, 16:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
อ้างคำพูด: ทางสายกลางระหว่าง กุศล และ อกุศล จะขออธิบายขยายความตรงที่กระผมพิจารณาสักหน่อย เผื่อท่านทั้งหลายจะได้แนะนำกระผมได้ชัดเจนขึ้น กระผมพิจารณาอยู่ว่าการที่ทำอะไรแล้วเป็น กุศล และ อกุศล นั้นมีเจตนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า เจตนาคือกรรม อันกรรมนั้นเป็นเหตุแห่งการเกิด ซึ่งจะเกิดภพใด ภูมิใด ล้วนเป็นผลมาจากกรรม พอพิจารณามาตรงนี้ก็ระลึกถึง " ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด เมื่อสิ้นเหตุเหล่านั้นจึงดับทุกข์ได้ " ก็ในเมื่อกรรมนั้นเป็นเหตุแห่งการเกิด จะดับทุกข์เกิดก็ต้องดับที่กรรม แลเจตนาเป็นเหตุของกรรม ดังนี้การดับเจตนาจึงน่าจะเป็นการดับไปของกรรม การกระทำใดๆที่ไม่มีเจตนาจึงเรียกได้ว่าเป็นเพียง กิริยา (ทำบุญก็ไม่เป็นบุญ ทำบาปก็ไม่เป็นบาป) สรุปจากการพิจารณาได้ว่า ทางสายกลางสู่ความพ้นทุกข์นั้นจึงเป็นทางสายกลางระหว่าง กุศล(บุญ) และ อกุศล (บาป) ที่ว่าเป็นทางที่ราบเรียบและตัดตรงนั้นคื่อไม่มีความสุข และความทุกข์ ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ อุปมาเป็นทางเดิน 3 สาย สายที่ 1 ด้านซ้าย เป็นเป็นทางเดินที่ต้องเดินขึ้นเขา เมื่อเดินขึ้นไปก็จะเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามมากมาย(กุศล) แต่เมื่อเดินไปจนถึงยอดเขาแล้ว ก็ต้องเดินลงอยู่ดี แต่ทางเดินสายนี้ก็ยังดีที่เมื่อลงมาถึงตีนเขาแล้วก็ยังเดินต่อ ให้ถึงที่หมายได้ สายที่ 2 ตรงกลาง เป็นทางเดินในระดับเดียวกันตลอด จึงไม่ต้องเสียเวลาในการเดินขึ้น เดินลง และไปถึงที่ หมายได้รวดเร็วและไม่เหนื่อย สายที่ 3 ด้านขวา เป็นทางเดินที่ดิ่งลงไปทางก้นเหว ตลอดทางไม่มีทิวทัศน์ที่สวยงามให้ชม(อกุศล)แถมเดินไป เรื่อยก็ดิ่งลึกลงไปเรื่อยๆ แสงสว่างก็ส่องถึงน้อยลงๆ เมื่อลึกจนแสงส่องไม่ถึง ก็เดินต่อไปไม่ได้เพราะมองไม่เห็น ทาง สุดท้ายก็ต้องเดินย้อนกลับขึ้นมาที่จุดเริ่มต้น เพื่อเลือกทางเดินใหม่ |
เจ้าของ: | เศษพุทธทาส [ 27 ต.ค. 2008, 17:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
ทางสายกลางถ้าจะกล่าวให้มันสอดคล้องกับยุคสมัย คือ กลียุค ที่มันยากจะเข้าสู่ทางสายกลางเวอร์ชั่นClassic ก็คือทางที่ไม่มักง่ายจนเกินไป แล้วก็ไม่ฝืนจนเกินไป พูดสั้นๆให้คิดยาวๆ |
เจ้าของ: | mes [ 27 ต.ค. 2008, 20:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
ทาสงสายกลางคือวินัยการดำเนินชีวิต มีอยู่แปดประการ คือมรรคที่มีองค์แปดเหมือนท่านฌาณ มีใครเคยคิดบ้างไหมครับว่า เราลองปฏิบ้ติตามอริยะมรรคให้ตึงสุด กับหย่อยสุด แต่ให้อยู้ในกรอบของอริยะมรรคไม่ว่าจะเป็นองค์ใด ผลก็คือ ไม่มีตึง ไม่มีหย่อน คือไม่ทรมานตนเองแน่นอน แม้แต่ความเพียรชอบ ความเพียรพยายามคงจะไม่ถึงขั้นทรมานตนเอง คิดอย่างนี้ถูกไหมครับ |
เจ้าของ: | natdanai [ 03 พ.ย. 2008, 20:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
เรากล่าวกันว่าอริยมรรคมีองค์แปดเป็นทางสายกลาง แล้วเราพิจารณาอริยมรรคกันอย่างไรบ้างครับจึงเรียกว่าเป็นทางสายกลางเอาแบบทีละองค์เลยนะครับ เช่นว่า สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจสี่คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์คือ ความเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา สมุทัยคือ การเข้าไปยึดถือสิ่งที่เป็นทุกข์ นิโรธคือ การอยู่ร่วมกับสิ่งที่เป็นทุกข์โดยไม่ทุกข์ มรรคคือ การไม่ยึดถือสิ่งที่เป็นทุกข์ อะไรประมาณนี้น่ะครับ.....ลองแบ่งปันกันนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนทัศนะกันครับ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ฌาณ [ 03 พ.ย. 2008, 22:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
อ้างคำพูด: อะไรประมาณนี้น่ะครับ.....ลองแบ่งปันกันนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนทัศนะกันครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ลองดูนะครับ ความเห็นส่วนตัวนะครับ ข้อ 1 พี่ณัฐตอบไปแล้วอะครับ (คือเห็นชอบในที่นี้คือเห็นอริยสัจสี่เท่านั้นครับ) ข้อ 2 ดำริชอบก็ตามมาคือคิดที่จะออกจากทุกข์ตามแนวสัมมาทิฏฐิให้ได้(ข้อ 2 นี้มากำชับข้อ 1 ให้ได้) ข้อ 3 พูดชอบ คือไม่พูดเดรัจฉานกถา พูดแต่หนทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์เท่านั้น ไม่เบียดเบียนทางวาจา ข้อ 4 กระทำชอบ คือกระทำการไม่เบียด ไม่เบียนผู้อื่นทางกาย ข้อ 5 เพียรชอบ คือเพียรตั้งแต่ข้อ 1- 8 เลยครับ(หรือสัมมปธาน 4) ข้อ 6 เลี้ยงชีพชอบ ไม่ทำอาชีพต้องห้ามเช่นค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ เป็นต้น ข้อ 7 สติชอบ มีสติระลึกเสมอว่าเรากำลังกระทำการตั้งแต่ข้อ 1-8 (หรือสติปัฏฐาณ 4) ข้อ 8 สมาธิชอบ เมื่อมีสติระลึกเสมอ ต่อเนื่องเสมอจนกลายเป็นฌาณ เป็นญาณ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | natdanai [ 04 พ.ย. 2008, 08:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
อ้างคำพูด: ข้อ 1 พี่ณัฐตอบไปแล้วอะครับ (คือเห็นชอบในที่นี้คือเห็นอริยสัจสี่เท่านั้นครับ) ข้อ 2 ดำริชอบก็ตามมาคือคิดที่จะออกจากทุกข์ตามแนวสัมมาทิฏฐิให้ได้(ข้อ 2 นี้มากำชับข้อ 1 ให้ได้) ข้อ 3 พูดชอบ คือไม่พูดเดรัจฉานกถา พูดแต่หนทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์เท่านั้น ไม่เบียดเบียนทางวาจา ข้อ 4 กระทำชอบ คือกระทำการไม่เบียด ไม่เบียนผู้อื่นทางกาย ข้อ 5 เพียรชอบ คือเพียรตั้งแต่ข้อ 1- 8 เลยครับ(หรือสัมมปธาน 4) ข้อ 6 เลี้ยงชีพชอบ ไม่ทำอาชีพต้องห้ามเช่นค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ เป็นต้น ข้อ 7 สติชอบ มีสติระลึกเสมอว่าเรากำลังกระทำการตั้งแต่ข้อ 1-8 (หรือสติปัฏฐาณ 4) ข้อ 8 สมาธิชอบ เมื่อมีสติระลึกเสมอ ต่อเนื่องเสมอจนกลายเป็นฌาณ เป็นญาณ แล้วแปดองค์นี้ประกอบกันเป็นทางสายกลางยังไงครับท่านฌาณ กลางระหว่างอะไรครับ ![]() ![]() ท่านฌาณลองขยายความอธิบายได้ไหมครับ..... ![]() |
เจ้าของ: | ฌาณ [ 04 พ.ย. 2008, 08:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
อ้างคำพูด: แล้วแปดองค์นี้ประกอบกันเป็นทางสายกลางยังไงครับท่านฌาณ กลางระหว่างอะไรครับ อ้าวพี่ณัฐ...ก็กลางระหว่างทาง 2 สายไงครับ คือสมัยพุทธกาลเนี่ยนิยมฝึกตนตามแนว 2 ทางคือสุดโต่งไปทางทุกข์นิยม และ พวกสุขนิยม ท่านจึงตรัสว่าทางสายมรรค 8 นี้เท่านั้นที่เป็นทางสายกลาง ปัจจุบันเราเอาคำว่าทางสายกลางไปใช้ในทางโลกเช่น ไม่ซ้าย ไม่ขวา ไม่เอียง พอดี แต่ถ้าพูดทางสายกลางในพระพุทธศาสนาคือต้องกล่าวแค่มรรคมีองค์ 8 เท่านั้นครับ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | natdanai [ 05 พ.ย. 2008, 09:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
ฌาณ เขียน: อ้าวพี่ณัฐ...ก็กลางระหว่างทาง 2 สายไงครับ คือสมัยพุทธกาลเนี่ยนิยมฝึกตนตามแนว 2 ทางคือสุดโต่งไปทางทุกข์นิยม และ พวกสุขนิยม ท่านจึงตรัสว่าทางสายมรรค 8 นี้เท่านั้นที่เป็นทางสายกลาง ปัจจุบันเราเอาคำว่าทางสายกลางไปใช้ในทางโลกเช่น ไม่ซ้าย ไม่ขวา ไม่เอียง พอดี แต่ถ้าพูดทางสายกลางในพระพุทธศาสนาคือต้องกล่าวแค่มรรคมีองค์ 8 เท่านั้นครับ ![]() ![]() แล้วท่านฌานคิดว่าว่าคนมนสมัยนั้น ผู้ที่สุดโต่งทางทุกข์นิยม มีทิฏฐิอย่างไรจึงถือปฏิบัติเช่นนั้น ผู้ที่สุดโต่งทางสุขนิยม มีทิฏฐิอย่างไรจึงถือปฏิบัติเช่นนั้น |
เจ้าของ: | ฌาณ [ 05 พ.ย. 2008, 15:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
อ้างคำพูด: แล้วท่านฌานคิดว่าว่าคนมนสมัยนั้น ผู้ที่สุดโต่งทางทุกข์นิยม มีทิฏฐิอย่างไรจึงถือปฏิบัติเช่นนั้น ผู้ที่สุดโต่งทางสุขนิยม มีทิฏฐิอย่างไรจึงถือปฏิบัติเช่นนั้น โอ้ย...เรื่องมันยาวครับพี่...ชาวอินเดียสมัยก่อนพุทธกาลนี่ ศาสนาพราหมณ์เค้ารุ่งเรืองมาก ความปราถนาจะเข้าสู่ปรมาตรมันรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้านี่มีทิฏฐิความเชื่อมากมาย โยคะหรือวิธีการทรมานตนให้ถึงที่สุดก็เป็นความเชื่อหนึ่ง การเสพสุขมากๆก็เชื่อแบบหนึ่ง หรือการตั้งลัทธิ ตั้งตนเป็นศาสดาเกิดขึ้นมากมายด้วยทิฏฐิต่างๆนานา ลองอ่านดูในนี้นะครับ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7945 ![]() ![]() |
เจ้าของ: | natdanai [ 05 พ.ย. 2008, 16:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ "ทางสายกลาง" |
เอาแค่ความเห็นส่วนตัวน่ะครับท่านฌาณ ![]() ![]() อย่างกระผมคิดว่า..... พวกทุกข์นิยมคิดว่าการเสวยทุกข์เป็นการแสวงบุญ และการเสพสุขเป็นบาป ส่วนพวกสุขนิยมนั้นไม่เชื่อในบุญและบาปครับ ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |