วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 19:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มิ.ย. 2004, 12:36
โพสต์: 86

โฮมเพจ: naiyanit.blogspot.com
แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ ทุกเล่ม
ชื่อเล่น: นิดนึง
อายุ: 0
ที่อยู่: เมืองนนท์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ช่วงนี้มีแต่ความแตกแยกในสังคมเรา

เพราะทิฏฐิและตัณหาเท่านั้นเอง

ทิฏฐิคือความเห็น ตัณหาคือความทะยานอยาก

หรือเรียกง่ายๆ ว่า ความต้องการ

เมื่อเห็นไม่ตรงกัน ต้องการไม่ตรงกัน

ก็แบ่งฝ่ายแบ่งพวก ใครไม่แบ่งก็ถูกแบ่ง

โดยปริยาย ถ้าเผลอไปพูดให้เหตุผล

ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้า ก็จะถูกโยนไปเป็น

อีกพวกนึงโดยปริยาย

เหมือนไก่ในสุ่มไก่ไม่มีผิด ยืนเบียดเสียด

จิกตีกันไป ทั้งๆ ที่ล้วนก็ถูกนำไปเชือด

เหมือนๆ กัน แต่หารู้ไม่ ยังมัวจิกตีกันอยู่

ผู้ที่น่าเห็นใจมากที่สุด ก็คือผู้ที่ต้องเป็นคนจัดการ

เพราะจัดอย่างไรก็ไม่ได้การหมด เพราะจะถูกใจ

ใครทั้งหมดมันยาก ขาดข้อมูลเหตุผลบางประการ

ไปก็ดูเหมือนไม่รอบคอบเป็นกลางจริง และผลก็

จะออกมาว่าไม่ยุติธรรม ทั้งๆ แท้จริงแล้ว การยุติ

นั้นแหละเป็นธรรมแล้ว แต่ใครจะยอมที่จะยุติเสีย

จบมันไปก็แค่นั้น

ที่ยอมไม่ได้นั้นเพราะอัตตาตัวตน มันล้นทะลัก

มันผิดไม่ได้ มันถูกไม่ได้ มันไม่ชอบ และชอบ

เป็นเช่นนั้นเอง มันก็แค่เกิดขึ้นอีกเรื่องแล้วก็

จะจบไปในไม่ช้าแค่นั้น แต่ใครอยากให้ไม่จบ

มันก็ต่อไปเรื่อยๆ รอยแตกแยกที่อยากจะปกปิด

ก็จะยิ่งเห็นชัดขึ้นไปอีก

ลืมเรื่องการเห็นตามความเป็นจริงกันไปเสียหมด

ปิดและบังคนอื่น เหมือนปิดตาตัวเอง แล้วคิดว่า

คนอื่นคงมองไม่เห็น ไม่พูดนึกว่า คนอื่นคงไม่รู้

ทั้งทีใจนั้นแทบระเบิดเพราะเก็บงำ ความที่ไม่ควร

เอาไว้ มีกำลังเท่าใด ก็กดเอาไว้ แล้วเมื่อไหร่

ความเป็นจริงมันจะเป็นอิสระเสียที ปล่อยให้มัน

เป็นของมันตามจริง มันจะเสียหาย ก็คงสมเหตุ

สมผลของมันแล้ว เพราะมีเหตุ ก็ต้องเกิด หมด

เหตุก็ดับไปเอง เท่านั้น

.....................................................
~รู้สภาวะตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง~
สติมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ธ.ค. 2008, 21:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณสติมา :b8:

พึงมองว่าสนทนาสอบทานกันและกัน เพื่อชำระทิฐิ คือ ความเห็นกัน เพื่อให้ดำเนินไปในทิศทางที่ตรงต่อจุดหมายของพุทธะเถอะครับ ไม่พึงคิดว่าแตกแยก ฝ่ายใดฝายหนึ่งอาจเห็นผิดได้ :b1: หรือผิดทั้งสองฝ่าย เราจะได้ตั้งต้นกันใหม่ ไม่อย่างนั้นจะผิดทั้งระบบวิปัสสนา ที่สำคัญจะนำมาซึ่งโทษแก่ผู้ปฏิบัติ น่าจะมองจุดนี้นะครับ :b1:
.......


ชื่อกระทู้มีคำว่าทิฐิ-ตัณหา ฝากคำอธิบายทิฐิไว้ด้วยก่อน :b42:

ทิฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน * เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการพัฒนาปัญญา เพราะความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ปุถุชน ที่ต่อจากขั้นขึ้นต่อผู้อื่นด้วยศรัทธา ก้าวมาสู่การ มีความคิดตามความเข้าใจหรือมีสิ่งที่เรียกว่าเหตุผลของตนเองประกอบ พอจะนับได้ว่าเป็นความเข้าใจของตนเอง ก็คือ ทิฐิ บางครั้งทิฐิก็สัมพันธ์กับศรัทธาอย่างใกล้ชิด หรือถึงกับเป็นคนละแง่ของเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ แง่ที่เป็นการมอบความไว้วางใจไว้ในความรู้ของผู้อื่น ยอมไปตามปัญญาของเขา (แล่นออก หรือ พุ่งไปหา) เป็นศรัทธา

ส่วนแง่ที่เป็นการรับเอาความรู้นั้นหรือสิ่งที่เขาบอกให้นั้นมายึดถือทำเป็นของตน (รับมาถือเอาเข้ามา)เป็นทิฐิ ลักษณะสำคัญของทิฐิ คือ การยึดถือเป็นของตน ** ความรู้ที่เป็นทิฐินี้มีได้ตั้งแต่ขั้นไม่มีเหตุผลเลย จนถึงมีเหตุผลบ้างและมีเหตุผลมาก คือ ตรงตามสภาวะ ก็เรียกว่า เป็นสัมมาทิฐิ และจัดเป็นปัญญา (เช่น อภิ.วิ.35/240/164; 612/337) เมื่อปัญญานั้นเจริญขึ้นจนมองเห็นสภาวะนั้นด้วยตนเองอย่างชัดแจ้งสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องยึดถือความรู้นั้นเป็นของตน เพราะความจริงแท้ดำรงอยู่อย่างนั้นเป็นกลางๆ ไม่ต้องมีที่อ้างที่ยัน เป็นอันเลยพ้นขั้นของทิฐิไปเอง แต่เพราะทิฐิพ่วงอยู่กับความยึดถือเป็นของตน ทิฐิจึงมักก่อให้เกิดผลเสีย ถ้ายึดถือเหนี่ยวแน่น แม้จะเป็นทิฐิใกล้เคียงความจริงมาก แต่ก็กลายเป็นเครื่องปิดบังขวางกั้นไม่ให้เข้าถึงความจริงนั้น


(พุทธธรรมหน้า 44)
....

* ไม่พึงปะปนกับคำว่าทิฐิ ที่หมายถึงความดื้อดึงในความเห็น ตามที่ใช้ในภาษาไทย (ทิฐินี้ รูปสันสกฤต เป็นทฤษฎี แต่ก็ไม่ตรงกันนักกับคำว่าทฤษฎีที่ใช้ในภาษาไทย)

**ไวพจน์บางคำของทิฐิ คือ อภินิเวส และ อุปาทาน (ซึ่งลึกลงไปย่อมมีตัณหาเป็นปัจจัย)
อภิ.วิ. 35/312/200

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ผู้ไม่เข้าถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ย่อมแยกไม่ออกระหว่าง ปรมัตถ์ (สัจจะ) กับ บัญญัติ (สมมุติ)
พวกเขาย่อมเข้าใจว่าบัญญัติที่ตนยึดถืออยู่นั้น เป้นปรมัตถ์ เป็นสัจจะ เป็นที่สุด

บัญญัติเหล่านั้นมีอยู่โดยสมมุติ
มันเป็นผลิตผลของตันหา
สุดแล้วแต่จะปรุงสร้างกันไปต่างๆนาๆ

ผู้ที่ไม่ศึกษาธรรมะ ย่อมเข้าใจว่านั่นคือ ความถูกต้อง ความจริง ความชอบธรรม
ผู้ที่รู้จักศึกษาธรรมะ และเข้าถึงธรรมะ ย่อมสามารถแยกแยะว่าสิ่งใดคือตันหาบัญญัติ สิ่งใดคือปรมัตถ์
ไม่ว่ามันจะถูกปรุงสร้างให้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเพียงใด
หรือถูกอำพรางด้วยความวิจิตรสวยงาม หรือแม้แต่ซ่อนอยู่ในคราบธรรมะ
ผู้เข้าถึงธรรมะ ย่อมสามารถแยกแยะได้

ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า "ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม" นะครับท่านทั้งหลาย

:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ธรรมะสวัสดี ทุกท่าน

การที่บ้านเมืองเรา (ประเทศไทย) ในยุคปัจจุบันเกิดความวุ่นวาย-สับสน ก็เพราะคนในชาติ
ขาดความรัก ความสามัคคี กันเช่นในอดีต คนในยุคปัจจุบัน(บางคน) คงลืมไปแล้ว " ไทย "
เราได้เอกราชมาอย่างไร ลืมไปแล้วหรือว่า บรรพบุรุษของเราต้องเสียเลือด เสียเนื้อ กันไป
มากมายเพียงไร ลำบากยากเข็ญกันขนาดไหน ที่จะปกป้องความเป็นเอกราชของเรา และ
ที่สำเร็จได้ ก็เกิดจากความรัก-ความสามัคคี ปรองดองกันของคนในชาติ นั่นเอง อยากให้
ทุกคนท่องประโยคนี้ไว้เพื่อเตือนสติตนเองอยู่ตลอดเวลาว่า " รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย "
และ " ประเทศชาติจะอยู่รอด เพราะคนในชาติรู้รัก-รู้สามัคคี " ขอให้คิดว่ามนุษย์ทุกคนเกิด
มาเป็นพี่น้องกัน ดั่งที่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ ว่า ตราบใดที่เรายังคงเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ เรา
ทุกคนก็เป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง กัน ทั้งนั้น

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอขยายความคำว่า ตัณหา ได้ไหมครับคุณคามิน พอดีเข้ากับกระทู้นี้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พอขยายความคำว่า ตัณหา ได้ไหมครับคุณคามิน พอดีเข้ากับกระทู้นี้เลย


คุณพี่จะถามไปทำไมล่ะครับ :b16:
จะให้ผมเอามะพร้าวห้าวไปขายสวนหรืออย่างไร :b10:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประชดอีก :b1: ไม่ได้ซื้อ อยากแลกเปลี่ยน :b15:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เป็นไรครับ คุณ walaiporn ไม่ว่าง ผมเสียบแทน :b12: :b12: :b12:


ตันหาโดยปริยัติ เราท่านทราบดีว่ามี 3 อย่างคือ
- กามตันหา
- ภวตันหา
- วิภวตันหา
ซึ่งคงไม่ต้องไปคุยกันถึงนิยาม ซึ่งมีความคงที่แน่นอนอยู่แล้วนะครับ


แต่เอาตามความเข้าใจที่เป้นทิฐิของผมนั้น
ตันหาคือผลผลิตของจิตที่ขาดสติ
สอดส่ายไปรับอารมณ์ต่างๆ
เมื่อสอดส่ายไปรับรู้เจตสิกแล้ว ก็สร้างความชอบ-ไม่ชอบ ขึ้นมา

พูดง่ายๆคือตันหาในปฏิจสมุปบาทนั่นแหละครับ


สำหรับในกระทู้นี้ ที่ผมตอบไปก่อนหน้าีนี้ ก้เป้นตันหาตัวเดียวกัน
เพียงแต่ตันหาแบบที่กำลังพูดถึงเหตุการณ์บ้านเมืองนั้นมันเป็นตันหาที่แปรรูปไปอย่างมากมาย
เรียกว่า แปรรูปจนดูกันไม่ออกว่าเป็นตันหา

เหมือนอาหารสารพัดเมนูสุดพิศดาร
ถ้าจับมาหั่นย่ิอยลงไปจนเล็กที่สุด เราจะได้อยู่ธาตุไม่กี่ธาตุ เช่น Carbon Hydrogen Oxygen Nitrogen เป็นต้น ซึ่งเป้นธาตุที่พบเฉพาะในสิ่งมีชีวิต

หรือภาษาธรรมะเราอาจจะกล่าวว่า ธาตุ 4
อาหารต่างๆที่วิจิตรพิศดารซับซ้อนอย่างไร ก้ธาตุ 4 เท่านั้นเอง

ตันหาในคนก็เหมืิอนกันครับ
มองอย่างปรมัตถ์จะมองง่าย
มองอย่างบัญญัติ มันจะมีมากและไม่รู้จบ สุดแต่จะถูกปรุงไป

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณวลัยพรไม่เกี่ยวแล้ว อย่าเรียกท่านเลยครับ

(ความ อยาก มี ๒ อย่าง ที่คุณคามินนำมาชาวพุทธเคยได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ซึ่งเป็นแง่หนึ่ง
แต่ความอยากอีกแง่มุมหนึ่ง อาจไม่ค่อยได้ยินกัน ลองพิจารณายาวหน่อยครับ )


ดูหลักการง่ายๆ เกี่ยวกับความอยาก ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้แห่งหนึ่ง



ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี และปรมัตถทีปนี * (ม.อ. 1 /55-56 อิติ.อ.79)ท่านกล่าวไว้ว่า
ความปรารถนา (บาลีว่า ปตฺถนา แปลเป็นไทยว่า ความอยาก)มี ๒ อย่าง

๑. ความปรารถนาที่เป็นตัณหา (ตัณหาปัตถนา -อยากด้วยตัณหา)
๒. ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ (ฉันทปัตถนา-อยากด้วยฉันทะ)

ถือตามความนี้ว่า ความอยากที่เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์กระทำการต่างๆนั้น แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท
ความอยากที่ชั่วร้ายก็มี
ความอยากที่ดีก็มี
ความอยากฝ่ายชั่วเรียกว่า ตัณหา
ความอยากฝ่ายดีเรียกว่า ฉันทะ

(ความอยากจึงมี ๒ อย่าง อยากที่เป็นฉันทะ (ฝ่ายกุศล) ก็มี ความอยากที่เป็นตัณหา (ฝ่ายอกุศล) ก็มี)


ในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คำศัพท์ธรรมที่รู้จักกันทั่วไป สำหรับใช้ในความหมายว่า
ความอยาก ก็คือคำว่า ตัณหา ซึ่งบางที แปลให้ได้ความหมายจำเพาะมากยิ่งขึ้นว่า
ความทะยานอยาก เหตุที่รู้จักคำนี้มาก เพราะเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งท่านใช้เป็นคำจำกัดความ
ของอริยสัจข้อที่ 2 คือ เหตุแห่งทุกข์
ตัณหา เป็นความอยาก ชนิดที่มีมูลรากมาจากอวิชชา เป็นต้นตอให้เกิดทุกข์ และจะต้องกำจัดเสีย จึงเป็นข้อธรรมที่คนทั้งปวงผู้ต้องการดับทุกข์ แก้ปัญหาชีวิต หรือเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา
จะต้องเกี่ยวข้องสนใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้จักความอยากที่เป็นตัณหาแล้ว จะเหมาเอาความอยากทุกอย่างเป็นตัณหาไปหมด
ก็ไม่ถูกต้อง ในเมื่อตัณหาเป็นความอยากจำเพาะแง่ ก็ควรรู้จักความอยากที่เป็นความหมายกว้างด้วย และการรู้จักความอยาก ในความหมายกว้างนั่นแหละจะช่วยให้เข้าใจความอยากจำเพาะแง่ ที่เรียกว่า ตัณหา นี้ชัดเจนขึ้นด้วย


คำศัพท์ธรรมที่มีความหมายครอบคลุมความอยากในแง่ต่างๆได้แก่ ฉันทะ ซึ่งโดยทั่วไป แปลกันว่า ความพอใจ แต่ความจริงแปลได้อีกหลายอย่าง ความชอบใจ ความอยาก ความยินดี ความรัก ความใคร่ ความต้องการ เป็นต้น เมื่อถือตามที่พระอรรถกถาจารย์จัดแยกไว้ พอสรุปได้ว่า ฉันทะ
มี ๓ ประเภท (นิทฺ.อ.1/20,73 ฯลฯ

๑. ตัณหาฉันทะ ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา เป็นฝ่ายชั่วหรืออกุศล

๒. กัตตุกัมยตาฉันทะ ฉันทะคือความใคร่เพื่อจะทำ ได้แก่ ความต้องการทำหรืออยากทำ
เป็นฝ่ายกลางๆ คือใช้ในทางดีก็ได้ ชั่วก็ได้ แต่ท่านมักจัดรวมเข้าเป็นฝ่ายดี

๓. กุศลธรรมฉันทะ ฉันทะในกุศลธรรม หรือธรรมฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงามหรือกุศล มักเรียกสั้นๆ เพียงว่า กุศลฉันทะ (ความรักดี ความใฝ่ดี) หรือธรรมฉันทะ (ความรักธรรม หรือ ความใฝ่ธรรม)

....

* ท่านยกตัวอย่างจากบาลีมาอธิบายด้วยว่า คำว่า ปรารถนา ในพุทธดำรัสว่า “ผู้ที่ยังปรารถนาอยู่ จึงมีความเพ้อพร่ำ กับทั้งความหวั่นไหวในสิ่งที่หมายใจเอาไว้” เป็นความปรารถนาแบบตัณหา
(ขุ.สุ.25/420/510)

ความปรารถนา ในพุทธพุทธพจน์ “ กระแสของมารร้าย เราตัดได้ ทลาย ทำให้หมดลำพองแล้ว เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ พึงปรารถนาความเกษมเถิด” เป็นความปรารถนาแบบฉันทะ ซึ่งเป็นกุศล ได้แก่ ความอยากทำ - (ม.มู.12/391/421)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(แรงจูงใจ)

๑. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่ดี ไม่สบาย ไม่เกื้อกูล เป็นอกุศล เรียกว่า ตัณหา

๒. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล เป็นกุศล เรียกว่า ฉันทะ



ตัณหา แปลว่า ความกระหาย ความทะยาน ความอยาก ความเสน่หา ความรน ความร่าน ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย ไม่รู้อิ่ม
หลักสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับตัณหาคือ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมีอวิชชาเป็นมูลราก กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม
เช่นเห็นรูปสวยหรือน่าเกลียด ได้ยินเสียงไพเราะหรือหนวกหู เป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึกสุข หรือทุกข์
หรือเฉยๆขึ้น ในเวลานั้น ตัณหาก็จะเกิดขึ้นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ถ้ารู้สึกสุข ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้

ถ้ารู้สึกทุกข์ ก็ยินร้าย ขัดใจ ชัง อยากเลี่ยงหนี หรืออยากให้สูญเสียไปเสีย
ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เพลินๆ เรื่อยเฉื่อยไป
อาการอย่างนี้มันเป็นของมันได้เอง โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอะไรเลย

(ตรงข้าม ถ้ามีความรู้ความเข้าใจหรือใช้ความคิดแทรกมาในระหว่างนั้น เช่น รู้ว่ารูปที่น่าเกลียดนั้นเป็นสิ่ง
มีประโยชน์ หรือ รู้ว่าเสียงไพเราะนั้น เป็นสัญญาณอันตราย หรือ เกิดสำนึกทางจริยธรรม หรือ วัฒนธรรมประเพณีว่า สิ่งนั้นไม่เหมาะสมกับภาวะหรือฐานะของตน เป็นต้น ตัณหาอาจถูกตัดตอน---หรือ นึกพุทโธ ๆ หรือ คิดหนอๆๆ เป็นต้น--- กระบวนการไม่ไหลต่อเนื่องเรื่อยไปอย่างเดิม แต่เกิด
พฤติกรรมรูปอื่นรับช่วงไปแทน)

จึงอาจพูดอย่างง่ายๆว่า ตัณหาอิงอาศัยเวทนา โดยมีอวิชชาเป็นตัวหนุน หรือตัณหาแอบอิงเวทนาอยู่บนฐานแห่งอวิชชา

เมื่อตัณหาใฝ่หรือผูกพันมุ่งหมายเวทนาอย่างนี้ ตัณหาจึงร่านรนหันไปหาสิ่งที่จะให้เวทนาแก่มันได้ เมื่อจัดรวมเข้าเป็นประเภทแล้ว ก็มีเพียง ๖ อย่าง เรียกว่าอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) และธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) เฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์จำพวกที่เด่นชัดกว่าเป็นรูปธรรม
คือ ๕ อย่างแรก ซึ่งเรียกว่า กามคุณ ๕ (ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ) อารมณ์ ๖ โดยเฉพาะกามคุณ ๕ นี้ เป็นสิ่งที่ตัณหาต้องการ และเป็นที่เกิดของตัณหา จึงขยายความของตัณหาออกไปได้ว่า ตัณหาคือ ความกระหายอยากในสิ่งที่ให้เวทนา หรือความกระหายอยาก
ในอารมณ์ที่ชอบใจ หรือในกามคุณทั้งหลาย * หรือความกระหายอยากได้อารมณ์ที่ชอบใจมาเสพเสวยเวทนาอันอร่อย พูดสั้นๆว่าอยากได้หรืออยากเอา
......

* ที่ว่าตัณหาเกิดในอารมณ์ ๖ หรือ กามคุณ ๕ นี้ เป็นการพูดกันสั้นๆ อย่างรวบรัด ถ้าจะพูดขยายให้เต็มความก็ว่า ในปิยรูป สาตรูป ซึ่งมี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ และวิจาร ๖
มีพุทธพจน์ตรัสว่า ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในปิยรูปสาตรูปเหล่านี้ เมื่อจะตั้งหลักลง ก็ย่อมตั้งหลักลง
ในปิยรูป สาตรูปเหล่านี้ และเมื่อจะถูกละ เมื่อจะดับ ก็ย่อมถูกละได้ ดับได้ ที่ปิยรูป สาตรูปเหล่านี้
(ที.ม.10/297-8/343-8 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงฉันทะบ้าง กุศลฉันทะ ฉันทะ ในที่นี้ หมายถึง กุศลธรรมฉันทะที่เรียกสั้นๆว่า กุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ
กุศลธรรมฉันทะ * แปลว่า ฉันทะในกุศลธรรม คือความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่ง
ที่ดีงาม กุศลฉันทะ แปลว่า ฉันทะในกุศล ถึงแม้จะตัดคำว่า ธรรม ออก ก็มีความหมายเท่าเดิม คือ ตรงกับกุศลธรรมฉันทะนั่นเอง
กุศล แปลว่า ดีงาม ฉลาด เกื้อกูล คล่อง สบาย ไร้โรค เอื้อต่อสุขภาพ ได้แก่ สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ สิ่งที่เป็นผลดีเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและคนอื่น **

ส่วนธรรมฉันทะ แปลว่า ฉันทะในธรรม หรือความต้องการธรรม คำว่า ธรรม ที่มาในคำว่า กุศลธรรม มีความหมายกลางๆ คือแปลว่า สิ่ง หรือ หลัก แต่เมื่อแยกออกมาใช้ลำพังเดี่ยวๆ ก็อาจแปลความหมายได้กว้างขึ้น ความหมายหลักของธรรมในกรณีนี้มี ๒ อย่าง คือ
ความจริง (= สภาวธรรม หรือ คำสอนที่แสดงสภาวธรรมนั้น ตรงกับที่บัดนี้ใช้คำว่าสัจธรรม)

และความดีงาม สิ่งที่ดีงาม หรือ ภาวะที่ดีงาม (= คุณธรรม ปัจจุบัน ดูเหมือนนิยมเรียกส่วนหนึ่งของความหมายนัยนี้ว่า จริยธรรม)

ธรรมฉันทะ จึงแปลได้ว่า ฉันทะในความจริง ฉันทะในความดีงาม หรือความต้องการความจริง ความต้องการความจริง เล็งไปถึงความรู้ คือ เท่ากับพูดว่า ต้องการรู้ความจริง ต้องการเข้าถึงตัวธรรม คือ ตัวจริง ตัวแท้ ความหมายที่แท้ เนื้อหาสาระที่เป็นแก่นแท้ ภาวะที่แท้จริงของสิ่ง
ทั้งหลาย ตลอดจนความดีงามที่เป็นคุณค่าอันแท้จริงของสิ่งนั้นๆ
เป็นอันว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการก็คือ ธรรม หรือ กุศล (ธรรม)
หมายความว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ คือ ความจริงและสิ่งที่ดีงาม แล้วมีความหมายขยายออกไปว่า
ต้องการรู้ความจริง ต้องการทำให้สิ่งที่ดีงาม หรือ ภาวะที่ดีงามเกิดมีขึ้น อยากทำให้สิ่งที่เป็น
คุณประโยชน์สำเร็จผลเป็นจริงขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาแยกออกได้เป็น ๓ อย่าง หรือ ๓ ด้าน

๑. ความกระหายอยากได้อารมณ์ที่น่าชอบใจมาเสพเสวยปรนเปรอตน หรือ ความทะยานอยาก
ในกามเรียกว่า กามตัณหา

๒. ความกระหายอยากในความถาวรมั่นคง มีอยู่คงอยู่ตอลดไป (รวมถึงใหญ่โตโดดเด่น) ของตนหรือความทะยานอยากในภพ เรียกว่า ภวตัณหา

๓. ความกระหายอยากในความดับสิ้นขาดสูญ (รวมทั้งพรากพ้น บั่นรอน) แห่งตัวตน
หรือความทะยานอยากในวิภพ เรียกว่า วิภวตัณหา *

………..

กามตัณหา จะจำกัดความว่าตัณหาในกามคุณ ๕ ก็ได้ (สงฺคณี อ. 522)ว่า ตัณหาในแง่ของความชื่นชอบกาม ในอารมณ์ ๖ ก็ได้
(ปญฺจ.อ.312) ภวตัณหา คือ ความอยาก ความใคร่ที่ประกอบด้วยภวทิฐิ (คือ สัสสตทิฐิ ความเห็นว่าเที่ยง)
วิภวตัณหา คือ ความอยาก ความใคร่ที่ประกอบด้วยอุจเฉทิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) กามตัณหา
คือ ตัณหานอกจากนั้น (อภิ.วิ. 35/933/494 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้จักความอยากที่เป็นตัณหาแล้ว จะเหมาเอาความอยากทุกอย่างเป็นตัณหาไปหมด
ก็ไม่ถูกต้อง
ในเมื่อตัณหาเป็นความอยากจำเพาะแง่ ก็ควรรู้จักความอยากที่เป็นความหมายกว้างด้วย และการรู้จักความอยาก ในความหมายกว้างนั่นแหละจะช่วยให้เข้าใจความอยากจำเพาะแง่ ที่เรียกว่า ตัณหา นี้ชัดเจนขึ้นด้วย



ผมเห็นต่างตรงนี้นะครับ

ตันหาบัญญัติ อาจะต่างกัน
เราเพียงแต่กำหนดว่าตันหามีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
แต่ตันหานั้น เหมือนกันหมดโดยปรมัตถ์

ตันหาก้คือความอยาก
ผู้อยากคือจิต

จิตที่ไม่เหลือเจตน์จำนงในความอยาก คือ จิตที่มีสมรรถะนะอย่างพระอรหันต์เท่านั้น
นอกนั้นกล่าวได้ว่าเป้นจิตที่มีความอยาก จิตที่มีตันหา

ดังนั้นคำว่าฉันทะ ก็คือชื่อหนึ่งตันหา

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปความเท่าที่กล่าวมาเพื่อฐานสำหรับทำความเข้าใจกันต่อไป ดังนี้


๑. ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา และ จึงต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือ สิ่งที่จะปรนปรือตัวตน ตัณหาอาศัยอวิชชาคอยหล่อเลี้ยงและให้โอกาส พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง

๒. ฉันทะ มุ่งประสงค์อัตถะคือตัวประโยชน์ (หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต คล้ายกับที่ปัจจุบันเรียกว่า คุณภาพชีวิต) และจึงต้องการความจริง สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม ฉันทะก่อตัวขึ้นจากโยนิโสมนสิการ คือความรู้จักคิดหรือคิดถูกวิธี คิดตามสภาวะและเหตุผล เป็นภาวะกลางๆของธรรม ไม่ผูกพันกับอัตตา และนำไปสู่อุตสาหะ หรือวิริยะ คือทำให้เกิดการกระทำ

.........

* พึงเทียบกับ กุศลธรรมอสันตุฏฐี (อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ) คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญเกื้อหนุนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรม
ควรมีคู่กับความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย –ที.ปา.11/227/227 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 92 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร