วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 19:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


-- อารมณ์บัญญัติ คืออะไร

-- สภาวะปรมัตถ์ คืออะไร

-- แล้วดูจากตรงไหน สภาวะอะไรเกิดขึ้น จึงได้รู้แน่ชัดว่า นี่คือ ปรมัตถ์จริงๆ

-- อีก 1 หัวข้อที่นำมาสนทนากัน อาจจะต่อเนื่องจากกระทู้นี้ หรือไม่ต่อเนื่องก็ได้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19848


-- เชิญมาแบ่งปันข้อคิดเห็นกัน คิดอย่างไร เห็นอย่างไร ก็โพสมาตามนั้น เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกกันว่าอันนั้นถูกอันนี้ผิด เป็นเพียงเรื่องของการรู้ไม่เท่ากัน หรือ รู้ต่างกันเท่านั้นเอง

-- เรื่องนี้ ผู้ใดปฏิบัติแล้วเจอกับสภาวะนี้แล้ว อาจจะไม่รู้ว่ามีคำเรียก เมื่อมาอ่านเข้าอาจจะร้อง อ้อ .... เคยเป็นมาแล้วแบบนี้ แต่ผู้ที่ศึกษาปริยัติ แต่ปฏิบัติยังไม่เคยพบสภาวะนี้ อาจจะตีความไปเรื่อยๆตามตำรา ก็อาจจะมีความเห็นผิดไปในบางเรื่องไป เช่น เรื่อง สมถะและวิปัสสนา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์บัญญัติ ก้คือการที่เราทำสมถะ
ปรมัตถ์คือความจริง (ที่เรามีหน้าที่ต้องดูให้เห็น)

อย่างขาเดินย่างจงกรม นี่คือเราบัญญัติ เรากำหนด ใส่เจตนาลงไปว่าจะสำรวมอย่างนี้ จะทำอย่างนี้
แต่บัญญัติเพื่อให้เห็นปรมัตถ์

- เวลาย่างฝ่าเท้ากระทบรูป(บัญญัติ)
- เกิดเวทนา นี่คือปรมัตถ์
คือเห็นจิตเสวยเวทนา จิตรับรู้รูป จิตรู้วิญญาน
จิตแสดงความเป้นธาตุรับรู้ให้เห็น แสดงเจตสิกให้ดู ซึ่งก้คือแสดงปรมัตถ์ให้ดู

สมถะคือมีเบื้องหลังคือตันหา แต่เมื่อทำแล้วจะเกิดปรมัตถ์ให้จิตได้รับรู้
เมื่อจิตรับรู้ปรมัตถ์ ก็จะเป้นวิปัสนา
ถ้าจิตรับรู้บัญญัติก้จะเป้นสมถะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2008, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


-- นำมาให้อ่านเพื่อศึกษาข้อมูลไปพรางๆก่อนค่ะ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับสภาวะนั้น มันมีมากกว่านี้ค่ะ เราจะเห็นอารมณ์บัญญัติหาย สภาวะปรมัตถ์ปรากฏ เมื่อผู้ปฏิบัติแล้วเจอสภาวะนี้ค่ะ ผู้ปฏิบัติจะรู้ด้วยตัวเอง ( เห็นทางจิตค่ะ ไม่ใช่เห็นทางตา ) จะเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือ อริยาบท ซ้อน อาริยาบท บัญญัติ ซ้อน ปรมัตถ์ ไม่ว่าใครจะเจริญสติปัฏฐาน ฐานไหนก็แล้วแต่ ล้วนเห็นเหมือนกันหมด เพียงแต่อาจจะแตกต่างในเรื่องอริยาบทเท่านั้นเอง

-- การเห็นมี 3 ระดับ
1.เห็นด้วยตาเปล่า แบบที่เห็นแบบคนทั่วๆไป
2.เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อันนี้เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน 4 ( สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก )
3.เห็นแจ้ง

-- ที่นำเรื่องสภาวะตรงนี้มาบอกนั้น เพราะไม่อยากให้คนหลงในสมมุติบัญญัติของคำว่า อุทยัพพยญาณ หลงในคำสมมุติบัญญัติเรื่องญาณ 16 หลงในสมมุติบัญญัติของคำที่เรียกว่า โสดาบัน ครูบาฯท่านใช้คำศัพท์ทับ เพื่อจะได้สื่อไปในทางเดียวกันค่ะ คือแค่ให้รู้ แต่อย่าไปยึดในศัพท์ต่างๆ เหมือนดาบสองคมค่ะตำรา ถ้ารู้ แต่ไม่รู้จักใช้ ก็มีแต่โทษ ถ้ารู้ แล้วรู้จักวิธีใช้ด้วย มีแต่สร้างคุณอนันต์

สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก

เมื่อโยคีบุคคลได้กำหนดพิจรณาในสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและฆนบัญญัติที่กำบังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามที่ขาดแตกไป เป้นความเห็นที่บริสุทธิ์เกิดขึ้นเวลาใด เวลานั้นวิปัสสนาญาณของโยคีบุคคลก็เข้าถึงความเป็นอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นได้ หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีการกำหนดรู้ในสังเขตธรรมที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าทุกๆระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามเลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้วคงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่น
เมื่อได้เห็นสีก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน ผ้าผ่อน
เมื่อได้ยินเสียง ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้เป็นเสียงชาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้
เมื่อได้กลิ่น ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ เป็นกลิ่นดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระ
เมื่อได้รส ก็คงจะรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ รสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ำตาล
เมื่อได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ก็คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ น้ำแข็ง น้ำร้อน ไฟ สำลี นุ่น ไม้ มีด อิฐ หิน พอง ยุบ ร่างกาย หย่อน เบา แข็ง ตุง หนัก ยกมือ ยกขา ดังนี้เป็นต้น
นี้เป็นโดยสันตตบัญญัติและฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเอาไว้นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจไปดังนี้ เรียกว่า สันตติบัญญัติไม่ขาด ฆนะก็ไม่แตก

แต่ความเป็นจริงนั้น ขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือ การเห็นนั้นแล้ว ก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดแทน ติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูอยู่ก็เห็นผิดเข้าใจไปในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กำลังเห็นก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ดี รสกับการกินก็ดี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสก็ดี เหล่านี้มีสภาวะเช่นกันคือ เก่าดับไป ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไปไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่ปกติ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเป็นสันตติบัญญัติ การเกิดขึ้นสืบต่อเนื่องกันไปมีสภาวะไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมณิกวิถีจิตภายในนั้น ซึ่งคล้ายๆกับเป็นกลุ่มเป็นกอง นี้เป็น ฆนบัญญัติ ในบัญญัติ ๒ ประการนี้ เมื่อสันตติบัญญัติปรากฏในใจ ฆนบัญญัติก็ปรากฏในในพร้อมๆกัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้งสองอย่างว่าสันตติฆนบัญญัติก็ได้
สันตติฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดไว้ดังกล่าวนี้แหละ จึงทำให้ผู้ที่ไม่มีสติกำหนดรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีใครได้รู้เห็นความเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะได้

ฝ่ายผู้ที่ทำการกำหนดสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติ ที่กำลังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามไปได้ โดยการกำหนดรู้เห็นวิถีจิตที่ก่อเกิดก่อนและวิถีจิตที่เกิดขึ้นทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ นึกถึงต่างๆเหล่านี้ขาดลงเป็นตอนๆไม่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ในด้านรูปนั้น ก็คงกำหนดรู้เห็นรูปที่เกิดก่อนและรูปที่เกิดหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น ยุบลง หายใจเข้า หายใจออก ยกมือ ยกขา ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ลุกขึ้น นั่งลง เหลียวซ้าย แลขวา กระพริบตา อ้าปาก เหล่านี้ขาดเป็นตอนๆ ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การู้เห็นในวิถีและอารมณ์ขาดเป็นตอนๆดังนี้เรียกว่า สันตติบัญญัติขา,ฆนบัญญัติแตก อนิจจลัขณะคือ ความเกิดดับไปก็ปรากฏขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของผู้นั้นได้เข้าถึงอนิจจานุปัสสนาที่แท้จริง

-- ข้อมูลที่นำมาอ้างอิงตรงนี้ นำมาจากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา โดย หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ


-- ผู้ที่ผ่านสภาวะนี้แล้ว อ่านครั้งเดียว ย่อมเข้าใจ ผู้ที่ยังไม่ผ่านสภาวะนี้ก็จะตีความตามที่ตัวเองเข้าใจ

-- เรียนท่านผู้ปฏิบัติทุกท่าน กระทู้นี้มีประโยชน์ในแง่ทั้งเรื่องการปฏิบัติและปริยัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นำบุญมาฝากกับทุกๆท่านค่ะ

บุญใดกุศลใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ขอบุญนั้นกุศลนั้นจงสำเร็จแด่ท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติ ได้เกิดปัญญาญาณ ได้บรรลุมรรคผล ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งในพระนิพพาน ทุกรูป ทุกนาม เทอญ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนอาจจะถามว่าเห็นมีอ้างอิงแต่ของพม่า ของไทยไม่มีหรือ มีค่ะ อ่านดูค่ะ หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวไว้ในเรื่อง การทำสมาธิและวิปัสสนา

หลักการดูและเห็นทางจิต

-- ข้อที่ต้องเปรียบเทียบกันตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ขั้นที่ดูด้วยตาธรรมดา เช่น จดไว้ในกระดาษแล้วเราก็ดูด้วยตา แล้วก็เห็น มันก็เห็นตัวหนังสือที่เขียนว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ก็ดูตัวหนังสือในกระดาษแล้วก็เห็นนะ มันไม่เห็นธรรมะ เพราะมันไม่ได้ดูด้วยธรรมจักษุ มันดูด้วยตาเนื้อ ต่อเมื่อดูด้วยธรรมจักษุ จึงจะเห็นธรรม ซึ่งดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น
-- ธรรมจักษุที่จะเห็นธรรมนั้น มันต้องดูด้วยอะไร? ลองสังเกตุของตัวเองดู ในบาลีก็มีคำว่า ธัมมจักขุง จักษุสำหรับเห็นธรรม ก็คือ ปัญญา หรือเจตสิกธรรม ที่เป็นกลุ่มของปัญญานั่นแหละ ปัญญานี้มันต้องอาศัยการดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วก็น้อมไปเพื่อจะเห็น ฉะนั้น เราจะต้องทำปัญญาจักษุกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ไม่ใช่ปากว่าบริกรรม แต่ให้รู้สึกเห็น เห็นอย่างรู้สึก รู้สึกอย่างที่เห็น นับตั้งแต่ดูด้วยตา แล้วก็ดูด้วยปัญญา แล้วก็รักษาการดูนั้นไว้ด้วยปัญญา ยกตัวอย่างเรื่องที่พวกเราทำกันอยู่เป็นประจำ คือว่า เดินจงกรมนี้ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ถ้าดูที่เท้าด้วยตา มันก็คือการเห็น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ดูด้วยตา ดูที่เท้า ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องศึกษาด้วยปัญญาก่อนจนเห็นว่า มันมีแต่ การยกหรือย่าง หรือเหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีบุคคล ผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบเลย เพราะว่าเรื่องธรรมะขั้นปัญญานั้น มันไม่ใช่ยกเท้าขึ้นมา แล้วยื่นออกไป แล้วเหยียบลง ตัวอย่างนี้ มันเป็นเรื่องสติ หรือสมาธิ
-- ยกหนอ หมายความว่า มันสักว่ามีการยกเท้า มีเท้าที่ยกขึ้นแล้วหนอ แต่ไม่มีบุคคล ที่เป็นผู้ยกหรือเป็นเจ้าของเท้านี้ ให้เขาบริกรรมสั้นมากกว่า ยกหนอ เท่านั้น ถ้าทำได้ลึกอย่างนั้น มันก็เป็นการเห็นอยู่ เห็นธรรมะอยู่ เมื่อยก ย่าง เหยียบนั่นแหละ สักว่าการยกเท้าเท่านั้นหนอ สักว่าการย่างเท้าไปเท่านั้นหนอ สักว่าการเหยียบเท้าลงเท่านั้นหนอ นี่มันลึกมาก มันเป็นหัวใจของธรรมะทั้งหมด คือว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ถ้าทำถึงที่สุดเป็นวิปัสสนา มีความหมายอย่างนี้
-- ถ้าทำในขั้นริเริ่มต้นๆ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นขั้นสติ ว่าสติอยู่ที่เท้ายกขึ้นมา ที่เท้าเสือกไป ที่เท้าหย่อนลง ก็เป็นสติเท่านั้น ยังไม่ใช่ปัญญา ยังไม่ใช่การเห็น เป็นการควบคุมด้วยสติหรือว่าการที่มีสติมั่น ผูกพันติดอยู่กับเท้าที่ยก ย่าง เหยียบนี้ อย่างนี้มันก็เป็นสมาธิ ยังไม่ใช่ตาเห็นธรรม ยังไม่ใช่เห็นในขั้นวิปัสสนา ขั้นวิปัสสนามันก็ต้องเห็นที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการให้เห็นอนัตตาหรือสุญญตา ว่าไม่มีสัตว์ บัคคล ตัวตนอะไรที่ไหน ซึ่งเป็นผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบ ตัวธรรมะแท้ เห็นด้วยปัญญา เรียกว่า วิปัสสนา
-- ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ไม่เพียงแต่ว่าเป็น สติ หรือว่าเป็นสมาธิ และไม่ได้หมายความว่า เห็นด้วยตา ความจริงการดับกิเลสตัณหานี้ ดับด้วย อนัตตา เพียง อนิจจังยังไม่ดับ ต้องให้เห็นทุกขัง เพียงทุกขัง ยังไม่ดับ ต้องเห็นอนัตตา มันจึงจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุมรรคผลได้ ให้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายเป็นอนัตตา เอาปัญญาเป็นจักษุ ธรรมจักษุนี้มาดูอยู่ด้วยกันตลอดเวลาทุกอริยาบถ เมื่ออริยาบทยืนก็ยืนหนอ สักว่าการยืนหนอ ไม่มีเจ้าของตัวผู้ยืน เมื่อเดินนี้แยกเป็น ยก ย่าง เหยียบนี้ มันก็สักว่า ยก ย่าง เหยียบ ไปตามเหตุ ปัจจัยของมันเท่านั้นเองหนอ ไม่มีส่วนไหนที่จะเป็นบุคคล ตัวตนอันแท้จริง เพราะฉะนั้น ทุกๆหนอ อาจจะทำให้เป็นวิปัสสนาได้ ถ้าขั้นฉันอาหาร หยิบหนอ ยกหนอ ใส่ปากหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ นี่ก็เหมือนกันอีก สักว่ามือมันหยิบอาหารมาด้วยเหตุปัจจัยนามรูปอะไรก็ตาม ไม่มีกู ไม่มีกูผู้หยิบอาหาร ไม่มีกูผู้กินอาหาร ไม่มีผู้กลืนหนอ อร่อยหนอ ไม่มีตัวตนแห่งความอร่อย ไม่มีตัวตนแห่งบุคคลอร่อยเลย
-- จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน จะกิน จะอาบ จะถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกอย่างแหละ ใส่คำว่า หนอ แล้ว มันเป็น สักว่า เท่านั้น หรือ เช่นนั้น เท่านั้นหนอ มันเป็นวิปัสสนาอยู่ในอริยาบถนั้นๆถึงกับว่าจะบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในอริยาบถนั้นๆอยู่ก็ได้ เพราะว่าเป็นวิปัสสนา
-- การดูและการเห็น มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเมื่ไร ในอริยาบถไหนมันก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้ ในอริยาบถนั้นๆที่นั่น และเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เราทำให้ดีๆสิ ทำให้ถูกๆ ให้ดีๆ ให้เป็ยวิปัสสนา คือ ดูและเห็น อยู่ด้วยปัญญาจักษุ ก็จะบรรลุธรรม คือ บรรลุมรรคผล
-- สรุปความว่า ขอให้ปฏิบัติถึงขั้นที่มันเป็นวิปัสสนา เช่น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ก็ให้ถึงขั้นวิปัสสนา คือ รู้อยู่แก่ใจแจ่มชัดว่า มันสักว่า อริยาบถ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีผู้ยก ย่าง เหยียบ สักว่า เป็นกิริยา อาการของการ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ นี้เรียกว่า วิปัสสนา คือ การเห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


-- จากข้อมูลของทั้งสองครูบาฯนั้น อาจจะเขียนอธิบายคนละแบบ แต่สภาวะที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างกันเลย ไม่ว่า จะเจริญสติฐานไหนก็แล้วแต่ล้วนเห็นเหมือนกันหมด แต่บางคนเห็นแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร เพียงอาจจะเห็นครั้งเดียว แล้วก็หายไปเลย แบบว่า ยังไม่สม่ำเสมอ

-- ถ้าคนไหนปฏิบัติผ่านตรงนี้แล้ว เมื่อมาอ่านจะเข้าใจได้ทันที

-- เริ่มเห็นภาพระหว่าง อารมณ์บัญญัติ กับ ปรมัตถ์ ที่ชัดเจนขึ้นหรือยังคะ

-- คำว่า อารมณ์บัญญัติ อาจจะหมายถึงการเจริญสติ และ ทำสมถะ ด้วยค่ะ ไม่ใช่หมายถึงสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เพราะเมื่อเราเจริญสติ เราก็ต้องอาศัยบัญญัติไม่ว่าจะใช้มีคำว่า หนอ หรือไม่มีคำว่า หนอ ร่วมด้วยก็ตาม หาใช่ สภาวะปรมัตถ์ที่แท้จริงไม่ ผลที่ได้รับคือ ทั้งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ผลของสมาธิที่เรียกว่า สมถะนั่นเอง อาจจะเป็น ขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิก็ได้ ( แล้วแต่ต้นทุนหรือกุศลที่แต่ละคนได้สร้างสั่งสมมานั่นเอง )

-- ส่วนสภาวะปรมัตถ์ จะนำมาอธิบายอีกทีค่ะ ว่าที่เห็นนั้น เห็นอย่างไร ทำไมถึงเห็น ลักษณะเป็นอย่างไร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มีบางคนพบสภาวะบางสภาวะแล้วคาดคิดเดาเอาเองว่าเป็นเรื่องอจินไตย ทั้งๆที่เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติแล้วจะต้องเจอ แล้วก็ไปหาคำตอบ ว่าคืออะไร ถ้าโชคไม่ดี ไปหาอรหันต์กูเกิ้ลล่ะก็ เสร็จเลย ดีไม่ดี ถ้าเชื่ออรหันต์กูเกิ้ล ก็จะกลายเป็น โสดากูเกิ้ล แบบที่หลายๆคนกำลังเป็นอยู่

-- บางคนนั่งสมาธิแล้วเกิดเวทนา คำว่า เวทนามากน้อยของแต่ละคนนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ อาจจะมากที่สุดสำหรับบางคน อาจจะยังไม่มากที่สุดสำหรับบางคนก็ได้ บางคนเมื่อนั่งไปแล้วเกิดเวทนา แล้วเห็นเห็นอาการเวทนานั้น โดยที่จิตไม่ไปเกี่ยวข้องกับการเกิดเวทนานั้นๆ ไปแต่นั่งดูอย่างเดียว เกิดแล้วก็ดับอยู่อย่างนั้น ถ้าไปถามผู้ปฏิบัติด้วยกันว่า นี่คืออะไร ผู้ที่ไม่เคยผ่านสภาวะนี้อาจจะแนะนำกันไปต่างๆนาๆ บางคนก็แนะนำให้ไปเดินจงกรม หรืออาจจะแนะนำว่าให้กำหนดรู้ลงไป สภาวะนี้เกิดเนื่องจาก ผู้ปฏิบัตินั้นมีสมาธิดี สติ สัมปชัญญะดี เจ้าตัวสังขารมันเลยทำงานไม่ได้ เป็นเพียงสมถะเท่านั้น เพราะยังมองเห็นเวทนาที่เกิด ดับอยู่อย่างนั้น หาใช่ วิปัสสนาที่แท้จริงไม่ ข้อแนะนำก็คือ ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ต้องไปกำหนดอะไร ถ้าไปกำหนด สภาวะจะเปลี่ยนไป ให้ตั้งใจดู อย่าไปแทรกแซง อย่าไปชอบ อย่าไปชัง เพราะสภาวะนี้ บางคนก็อยู่ได้เป็นเดือนๆ เห็นได้เป็นเดือนๆ อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายได้ ก็เพียง ดูตามความเป็นจริงอย่างเดียว จนกว่า จะเห็นสภาวะที่แท้จริงที่เป็นปรมัตถ์หรือวิปัสสนานั่นเอง ส่วนในการใช้ชีวิตทั่วๆไป ควรเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างต่อเนื่องเท่านั้นเอง แล้วมันก็จะหายไปเอง และก็จะไปเจอสภาวะอื่นๆต่อ
-- บางทีถ้าเจริญสติปัฏฐาน 4 มากๆ อาจจะทำให้สมาธิตั้งมั่นนานมากกว่าเดิม บางที 5 หรือ 10 ช.ม. ก็ไม่ต้องไปสงสัยมัน

-- บางคนติดนิมิต วิธีแก้คือ เจริญสติปัฏฐาน 4 ให้มากๆ เมื่อเห็นตามความเป็นจริงได้ ( วิปัสสนา ) นิมิตมันไม่มีแล้ว รู้หนอ เห็นหนอต่างๆมันก็เสื่อมไป มีแต่เห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น เมื่อเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น คำว่า โสดา หรืออะไรทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะถ้ายังมี นั่นคือ บัญญัติหาใช่ปรมัตถ์ไม่

-- ขจัดความอยากได้ ย่อมเกิดปัญญา มีธรรมองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นเครื่องกั้นความอยากได้ก็คือ สติ เท่านั้น ให้หาอ่านในโสฬสธรรม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 12 ม.ค. 2009, 19:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีนำไปวางอีกกระทู้หนึ่ง ขอนำมาที่กระทู้นี้ เรื่อง สภาวะที่เกิดขึ้น

-- วันนี้มายกตัวอย่างให้ฟัง 1 สภาวะ พอดีพี่คนนี้เขาปฏิบัติแนวดูจิต การดูจิตก็อยู่ในการปฏิบัติแนวเจริญสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

-- มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังเดินทาง นั่งอยู่ในรถแล้วมองออกไปนอกหน้าต่าง เขาบอกว่า มันแปลกมากๆ ภาพต่างๆที่เขาเห็นมันเหมือนภาพสโลว์โมชั่น แบบว่า ภาพที่เคลื่อนไหวนั้นมันช้ามากๆ มันไม่ใช่แบบธรรมดาที่มองเห็นๆกัน แล้วมันก็ขาดออกจากกันเหมือนหนังที่ขาดออกเป็นตอนๆ

-- ถ้าผู้ใดได้แต่เอาแต่นั่งสมาธิบริกรรมภาวนาอย่างเดียว ได้อย่างมากก็แค่สมถะ แต่ไม่อาจเห็นสภาพตามความเป็นจริงนี้ได้ ยกเว้นผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้นที่จะเห็นสภาวะนี้ได้

-- แล้วในกรณีที่เคยมีคนนำมากล่าวว่า " ย่ำๆ ก็รู้ว่า ย่ำ เดินๆ ก็รู้ว่าเดิน มันจะรู้อยู่ในจิต " หรือ การเดิน 6 ระยะนั้น มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น อันนี้ไม่จริง ผู้ปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน 4 นี่แหละที่จะรู้สภาวะตรงนี้ได้ เมื่อหมั่นเจริญสติปัฏฐานมาถึงระดับหนึ่ง

-- ส่วนผู้ที่เคยเจริญสติแบบใช้อารมณ์บัญญัติเข้าช่วย เช่นใช้ " หนอ " เมื่อมาถึงตรงนี้ จะยก จะย่าง จะเหยียบ ทุกอริยาบทที่เคลื่อนไหว มันจะรู้อยู่ในจิตโดยอัตโนมัติ " หนอ " จะหายไปเอง มันจะรู้เองทุกย่างก้าวที่เดินโดยไม่ต้องกำหนดใดๆหรืออะไรทั้งสิ้น

-- สำหรับผู้ที่เคยเข้าใจว่า " หนอ " เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อมาถึงตรงนี้จะรู้เองว่า " หนอ " นั้นเป็นเพียงสมถะอย่างเดียว หาใช่วิปัสสนาไม่

-- ส่วนการเห็นแจ้ง หรือ วิปัสสนาญาณ นั่นมันอีกเรื่องหนึ่งนะ คนละสภาวะกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
บางคนอาจจะถามว่าเห็นมีอ้างอิงแต่ของพม่า ของไทยไม่มีหรือ มีค่ะ อ่านดูค่ะ หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวไว้ในเรื่อง การทำสมาธิและวิปัสสนา

หลักการดูและเห็นทางจิต

-- ข้อที่ต้องเปรียบเทียบกันตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ขั้นที่ดูด้วยตาธรรมดา เช่น จดไว้ในกระดาษแล้วเราก็ดูด้วยตา แล้วก็เห็น มันก็เห็นตัวหนังสือที่เขียนว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ก็ดูตัวหนังสือในกระดาษแล้วก็เห็นนะ มันไม่เห็นธรรมะ เพราะมันไม่ได้ดูด้วยธรรมจักษุ มันดูด้วยตาเนื้อ ต่อเมื่อดูด้วยธรรมจักษุ จึงจะเห็นธรรม ซึ่งดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น
-- ธรรมจักษุที่จะเห็นธรรมนั้น มันต้องดูด้วยอะไร? ลองสังเกตุของตัวเองดู ในบาลีก็มีคำว่า ธัมมจักขุง จักษุสำหรับเห็นธรรม ก็คือ ปัญญา หรือเจตสิกธรรม ที่เป็นกลุ่มของปัญญานั่นแหละ ปัญญานี้มันต้องอาศัยการดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วก็น้อมไปเพื่อจะเห็น ฉะนั้น เราจะต้องทำปัญญาจักษุกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ไม่ใช่ปากว่าบริกรรม แต่ให้รู้สึกเห็น เห็นอย่างรู้สึก รู้สึกอย่างที่เห็น นับตั้งแต่ดูด้วยตา แล้วก็ดูด้วยปัญญา แล้วก็รักษาการดูนั้นไว้ด้วยปัญญา ยกตัวอย่างเรื่องที่พวกเราทำกันอยู่เป็นประจำ คือว่า เดินจงกรมนี้ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ถ้าดูที่เท้าด้วยตา มันก็คือการเห็น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ดูด้วยตา ดูที่เท้า ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องศึกษาด้วยปัญญาก่อนจนเห็นว่า มันมีแต่ การยกหรือย่าง หรือเหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีบุคคล ผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบเลย เพราะว่าเรื่องธรรมะขั้นปัญญานั้น มันไม่ใช่ยกเท้าขึ้นมา แล้วยื่นออกไป แล้วเหยียบลง ตัวอย่างนี้ มันเป็นเรื่องสติ หรือสมาธิ
-- ยกหนอ หมายความว่า มันสักว่ามีการยกเท้า มีเท้าที่ยกขึ้นแล้วหนอ แต่ไม่มีบุคคล ที่เป็นผู้ยกหรือเป็นเจ้าของเท้านี้ ให้เขาบริกรรมสั้นมากกว่า ยกหนอ เท่านั้น ถ้าทำได้ลึกอย่างนั้น มันก็เป็นการเห็นอยู่ เห็นธรรมะอยู่ เมื่อยก ย่าง เหยียบนั่นแหละ สักว่าการยกเท้าเท่านั้นหนอ สักว่าการย่างเท้าไปเท่านั้นหนอ สักว่าการเหยียบเท้าลงเท่านั้นหนอ นี่มันลึกมาก มันเป็นหัวใจของธรรมะทั้งหมด คือว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ถ้าทำถึงที่สุดเป็นวิปัสสนา มีความหมายอย่างนี้
-- ถ้าทำในขั้นริเริ่มต้นๆ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นขั้นสติ ว่าสติอยู่ที่เท้ายกขึ้นมา ที่เท้าเสือกไป ที่เท้าหย่อนลง ก็เป็นสติเท่านั้น ยังไม่ใช่ปัญญา ยังไม่ใช่การเห็น เป็นการควบคุมด้วยสติหรือว่าการที่มีสติมั่น ผูกพันติดอยู่กับเท้าที่ยก ย่าง เหยียบนี้ อย่างนี้มันก็เป็นสมาธิ ยังไม่ใช่ตาเห็นธรรม ยังไม่ใช่เห็นในขั้นวิปัสสนา ขั้นวิปัสสนามันก็ต้องเห็นที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการให้เห็นอนัตตาหรือสุญญตา ว่าไม่มีสัตว์ บัคคล ตัวตนอะไรที่ไหน ซึ่งเป็นผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบ ตัวธรรมะแท้ เห็นด้วยปัญญา เรียกว่า วิปัสสนา
-- ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ไม่เพียงแต่ว่าเป็น สติ หรือว่าเป็นสมาธิ และไม่ได้หมายความว่า เห็นด้วยตา ความจริงการดับกิเลสตัณหานี้ ดับด้วย อนัตตา เพียง อนิจจังยังไม่ดับ ต้องให้เห็นทุกขัง เพียงทุกขัง ยังไม่ดับ ต้องเห็นอนัตตา มันจึงจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุมรรคผลได้ ให้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายเป็นอนัตตา เอาปัญญาเป็นจักษุ ธรรมจักษุนี้มาดูอยู่ด้วยกันตลอดเวลาทุกอริยาบถ เมื่ออริยาบทยืนก็ยืนหนอ สักว่าการยืนหนอ ไม่มีเจ้าของตัวผู้ยืน เมื่อเดินนี้แยกเป็น ยก ย่าง เหยียบนี้ มันก็สักว่า ยก ย่าง เหยียบ ไปตามเหตุ ปัจจัยของมันเท่านั้นเองหนอ ไม่มีส่วนไหนที่จะเป็นบุคคล ตัวตนอันแท้จริง เพราะฉะนั้น ทุกๆหนอ อาจจะทำให้เป็นวิปัสสนาได้ ถ้าขั้นฉันอาหาร หยิบหนอ ยกหนอ ใส่ปากหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ นี่ก็เหมือนกันอีก สักว่ามือมันหยิบอาหารมาด้วยเหตุปัจจัยนามรูปอะไรก็ตาม ไม่มีกู ไม่มีกูผู้หยิบอาหาร ไม่มีกูผู้กินอาหาร ไม่มีผู้กลืนหนอ อร่อยหนอ ไม่มีตัวตนแห่งความอร่อย ไม่มีตัวตนแห่งบุคคลอร่อยเลย
-- จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน จะกิน จะอาบ จะถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกอย่างแหละ ใส่คำว่า หนอ แล้ว มันเป็น สักว่า เท่านั้น หรือ เช่นนั้น เท่านั้นหนอ มันเป็นวิปัสสนาอยู่ในอริยาบถนั้นๆถึงกับว่าจะบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในอริยาบถนั้นๆอยู่ก็ได้ เพราะว่าเป็นวิปัสสนา
-- การดูและการเห็น มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเมื่ไร ในอริยาบถไหนมันก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้ ในอริยาบถนั้นๆที่นั่น และเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เราทำให้ดีๆสิ ทำให้ถูกๆ ให้ดีๆ ให้เป็นวิปัสสนา คือ ดูและเห็น อยู่ด้วยปัญญาจักษุ ก็จะบรรลุธรรม คือ บรรลุมรรคผล
-- สรุปความว่า ขอให้ปฏิบัติถึงขั้นที่มันเป็นวิปัสสนา เช่น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ก็ให้ถึงขั้นวิปัสสนา คือ รู้อยู่แก่ใจแจ่มชัดว่า มันสักว่า อริยาบถ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีผู้ยก ย่าง เหยียบ สักว่า เป็นกิริยา อาการของการ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ นี้เรียกว่า วิปัสสนา คือ การเห็น



-- กรณีเดินจงกรม ก็เหมือนกัน หากผู้ใดที่ใช้อารมณ์บัญญัติเข้าช่วย เช่นใช้ " หนอ " ในการเจริญสติ สัมปชัญญะ ในขณะที่เดินจงกรม ซึ่งมีอยู่ถึง ๖ ระยะ เหตุที่มีถึง ๖ ระยะ หมายถึงอริยาบทละเอียดมากขึ้น สติ สัมปชัญญะยิ่งมากขึ้นตามอริยาบท บางคนที่ไม่ฝึกแบบนี้มา แล้วมาลองทำดู โดยไม่ยอมเริ่มจากระยะที่ ๑ ระยะเดียวก่อน เล่นทำทีเดียว ๖ ระยะ แบบว่าทำเองตามหนังสือ ผลปรากฏว่า หัวทิ่มหัวตำ ทำไม่ได้ อันนี้เขาเล่าให้ฟังเอง เขาบอกว่า ยากมากเลยทำแบบนี้ สู้เดินไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องกำหนดอะไรเลยไม่ได้ ดิฉันบอกว่า ไม่เป็นไร ถนัดแบบไหนก็ทำไป มันก็คือการเจริญสติเหมือนๆกัน เพียงแต่ต้องเอาจิตจดจ่ออยู่กับอริยาบทเดิน ไม่ใช่เดินไป ชมนกชมไม้ไป เดินไปเรื่อยๆไม่มีจุดหมายปลายทาง แบบนั้นมันไม่ใช่ แต่ถ้าชอบจะทำแบบนั้นก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ได้ทำ

-- ผู้ที่เดินจงกรมถึงระยะที่ ๖ จะมีสมาธิเกิดอย่างต่อเนื่องขณะที่กำลังเดิน หรือ กำลังหยุดเดิน หรือกำลังกำหนดยืน สติ สัมปชัญญะจะดีมากๆ เมื่อเดินมาถึงระยะนี้ เมื่อเกิดสมาธิอย่างต่อเนื่อง สติ สัมปชัญญะดี จิตจดจ่ออยู่กับทุกอริยาบทที่ย่างก้าวเดิน ถ้าจะเห็น มันจะเห็นทางจิต สิ่งที่เห็นนั้นไม่มีคำเรียก ดังที่หลวงพ่อภัททันตะท่านกล่าวไว้ เหมือนทุกย่างก้าว ทุกจังหวะ มันจะขาดออกจากกัน ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลังจากนั้น อารมณ์บัญญัติที่เราใช้ " หนอ " ทุกๆย่างก้าว มันจะหายไป มันจะรู้ที่จิตเอง มันจะรู้ทุกขณะที่ก้าวเดิน แม้กระทั่งเท้ากระทบพื้น มันก็ปรากฏรู้อยู่ที่จิต ถึงแม้ว่าลองกำหนด " หนอ " ลงไป มันก็เหมือนกับเราไปกำหนดบนความว่างเปล่า ไม่ว่าจะเดินกี่ครั้งๆ ไม่ว่าครั้งไหนๆก็แล้วแต่ มันจะรู้อยู่อย่างนั้น สมาธิก็จะเกิดอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ไม่มีแล้ว อารมณ์บัญญัติ มันหายไปหมด มันมีแต่รู้ทุกย่างก้าวที่เดินปรากฏอยู่ที่จิตแทน

-- มีบางคนชอบเอ่ยอ้างถึงเรื่องการเดินแบบใช้ " หนอ " ชอบมาติติงว่าทำไมต้องมีหนอ เดินธรรมดาๆก็ได้ หาว่าเดินกันกระย่องกระแย่ง นั่นเพราะไปเห็นคนที่กำลังฝึกเดิน เนื่องจากสติ สัมปชัญญะเขายังไม่มากพอ เขาจึงเดินกันแบบนั้น พอสติ สัมปชัญญะมากพอ เขาก็เดินเหมือนคนทั่วๆไปเดินนี่แหละ ไม่มีความแตกต่าง เพียงแต่เขาก็ยังใช้หนออยู่ แต่คนที่ดูอยู่น่ะ ไม่รู้หรอก คนที่ชอบติติงผู้อื่นเช่นนี้ เนื่องจากว่า ผู้นั้นยังไม่เคยผ่านสภาวะนี้ ยังไม่รู้ว่า บัญญัตินั้น มันซ้อน ปรมัตถ์อยู่ ดีแต่เพ่งโทษข้อปฏิบัติหรือแนวทางการปฏิบัติของผู้อื่น แต่ไม่เคยย้อนกลับมาดูตัวเองกันว่า ที่ทำกันอยู่น่ะ ก็ใช้บัญญัติโดยอริยาบทซ้อนปรมัตถ์อยู่ แต่เพราะความที่ไม่รู้เลยมาเที่ยวตำหนิติติงเรื่อง " หนอ "

-- มีอีกตัวอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติที่เดินถึงระยะ ๖
http://singharat357.blogspot.com/2008/03/6.html

" จงกรม 6 ระยะซึ่งเป็นต้นเหตุไว้ด้วย ข้าพเจ้าหายสงสัยแล้วและมั่นใจในการปฏิบัติแบบวัดมหาธาตุ
และที่วิเวกอาศรม ชลบุรีว่าถูกต้องตามตำราแน่ "

-- บางคนเดินจงกรมโดยใช้อารมณ์บัญญัติ " หนอ " เดินมาหลายปีก็แล้ว เดินถึงระยะที่ ๖ ก็แล้ว ก็ยังไม่เคยพบกับสภาวะธรรมดังกล่าว เนื่องจากมันมีเหตุ ที่ทำให้เป็นเช่นนั้น มันอยู่ที่การกำหนด มันมีความแตกต่งกันอยู่ ถึงแม้ว่าจะใช้ " หนอ " เหมือนๆกัน ซึ่งจะมาอธิบายรายละเอียดอีกครั้ง

-- ส่วนการนั่งดูท้องพองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก แล้วใช้ " หนอ " จะมาพูดเพิ่มเติมอีกครั้ง ว่าบัญญัติหายไปไหน ปรมัตถ์ปรากฏอย่างไร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญใดกุศลใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ขอบุญนั้นกุศลนั้นจงสำเร็จแด่ท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติ ได้เกิดปัญญาญาณ ได้บรรลุมรรคผล ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งในพระนิพพาน ทุกรูป ทุกนาม เทอญ

-ขอบพระคุณท่าน โมทนาสาธุครับ
จิตรู้คือสมถะ
จิตตื่นคือกรรมฐาน
จิตแจ้งคือวิปัสสนา
จิตดับเป็นมรรค

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนเดินจงกรมโดยใช้อารมณ์บัญญัติ " หนอ " เดินมาหลายปีก็แล้ว เดินถึงระยะที่ ๖ ก็แล้ว ก็ยังไม่เคยพบกับสภาวะธรรมดังกล่าว เนื่องจากมันมีเหตุ ที่ทำให้เป็นเช่นนั้น มันอยู่ที่การกำหนด มันมีความแตกต่งกันอยู่ ถึงแม้ว่าจะใช้ " หนอ " เหมือนๆกัน

--ในการเดินจงกรมโดยใช้ " หนอ " บางท่านอาจจะเคยได้ไปปฏิบัติที่วัดมหาธาตุคณะ ๕ หรือตามสถานปฏิบัติธรรมที่ใช้ " หนอ " ส่วนมากจะสอนระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖ การสอนนั้นเป็นเพียงแนวทางในการเดินเฉยๆ ว่า ระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖ กำหนดแบบไหน เช่น ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ อย่างหลวงพ่อจรัญท่านจะเน้นให้ช้าๆ ให้กำหนด แต่คนส่วนมากจะไม่ค่อยกำหนด กำหนดเหมือนกัน คือ เอาปากกำหนด ไม่ได้เอาจิตกำหนด บางคนบอกว่า เอาจิตกำหนดแล้ว คือใช้จิตดูไม่ได้ใช้ตาดู นั่นเขาเรียกใช้จิตดูตามจังหวะเท้าที่ย่างก้าว แต่ไม่ได้เอาจิตกำหนดให้รู้ลงไปตามอริยาบทที่กำหนด สักแต่ว่ากำหนดเฉยๆ สมาธิเลยเกิดขึ้นได้ยาก เช่น ขวา ให้รู้ลงไปที่เท้าขวา ย่าง ให้รู้ลงไปที่เท้ายื่นออกไปข้างหน้า หนอ ให้รู้ลงไปที่เท้ากระทบพื้น ไม่ใช่ ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ ก็เดินกันสบายสิแบบนั้น เดินไปเรื่อยๆ เมื่อ หนอ แล้วต้องหยุดก่อน อย่าเพิ่งก้าวเท้าต่อ เขาเรียกว่า ตั้งสติ ตั้งสติก่อนที่จะก้าวต่อ ทำได้ไหมแบบมีจังหวะ รู้ก่อนก้าว ก้าวแล้วรู้ รู้แล้วยื่นเท้าออกไป ยื่นแล้วรู้ หนอแล้วหยุด อย่าเพิ่งก้าวต่อ เอาแค่ระยะที่ ๑ ก่อน ให้ฐานมันแน่นก่อน แล้วค่อยเพิ่มระยะ ไม่ใช่เดินไปเรื่อยๆจนครบ ๖ ระยะ แบบนั้นมันไม่ใช่ ไปสำนักปฏิบัติ เราเพียงไปเอาแนวมา ว่าที่ ๖ ระยะนั้นมีอะไรบ้าง จะได้ไม่ต้องไปเดินเป็นคนแก่หลังโก่ง เดินกระย่องกระแย่ง เดินธรรมดานี่แหละ แต่เอาจิตกำหนดรู้ตามลงไป ไม่ใช่แค่รู้เฉยๆ เดินจนมันรู้สึกว่าเดิน รู้ว่ากำลังเดิน มันจะรู้สึกถึงในจิต แล้วค่อยเพิ่มระยะ นี่ยังเป็นบัญญัติอยู่นะ อาศัยบัญญัติเพื่อไปสู่ปรมัตถ์ เมื่อสติ สัมปชัญญะมากพอ สมาธิมากพอ จึงจะเห็นสภาวะตามความเป็นจริงได้นั้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 13 ม.ค. 2009, 22:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุท่าน กล่าวดีแล้ว
คนดีชอบแก้ไข คน ไรชอบแก้ตัว :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มีบางคนเวลาจะกลับตัว เขาถามว่า ทำไมมันเวียนหัว มึนหัวไปหมด บางครั้งก็จะรู้สึกว่าจะหน้ามืด

ในเวลากลับตัว ก่อนกลับตัว ให้กำหนดรู้อยู่ที่ยืนก่อน อย่าเพิ่งหมุนตัวกลับทันทีทันใด จะกลับ 2 คู่ ระยะที่หมุนตัวอาจจะถี่เกินไป ให้กลับ 3 คู่หรือ 4 คู่ เวลากำหนดกลับคือ จะหมุนกลับทางซ้ายหรือทางขวาก็ได้ ให้กำหนดว่า กลับหนอ คือ วาดขาออกไปด้านข้างที่จะกลับพร้อมกับกำหนดรู้ลงไปในขาข้างที่วาดออกไป แล้วกำหนดกลับหนอพร้อมกับวางเท้าลงพร้อมๆที่กำหนดกลับหนอ ให้หยุดก่อน อย่าเพิ่งเอาขาอีกข้างวาดตามมา หยุดสำรวมจิต เพื่อสติ สัมปชัญญะ จะได้เกิดทัน เช่น กลับ_หนอ หยุดก่อน อย่าเพิ่งวาดเท้าอีกข้างหนึ่งตาม หยุดแล้ว ค่อยกำหนด กลับ_หนอ คือ หยุดทุกครั้งก่อนที่จะวาดเท้าออกมาประกบกับเท้าอีกข้างหนึ่ง พอมาประกบกันแล้ว ก็ต้องหยุดก่อนอีก อย่าเพิ่งกลับตัวทันทีทันใด ทำเป็นจังหวะแบบนี้ ก้าว วาง หยุด ก้าว วาง หยุด จนครบรอบ ก็จะทำให้ไม่เวียนหัว บางคนอายุมากแล้ว อาจจะทำให้หน้ามืดได้ ถ้ากลับตัวเร็วๆ ทำช้าๆไปก่อน ไม่ต้องรีบ ถ้าสติ สัมปชัญญะมากพอ เราจะไม่เวียนหัว แต่ทำช้าๆน่ะดีที่สุด ไม่ต้องรีบ

บางคนถามว่า พื้นที่บ้านมีจำกัด แบบว่าแค่ 2 เมตร จะเดินยังไง เราร้องโอ้โหเลย บอกว่า แค่นั้นก็เหลือเฟือแล้ว เราต้องการสร้างสติ ไม่ใช่ไปเดินชมนกชมไม้ เดิน 3 ก้าวก็พอแล้ว ถ้าพื้นที่จำกัด กว่าจะเดินครบ 3 ก้าว ไปกลับก็ 6 ก้าว ไหนจะกำหนดตอนยืน ไหนจะกำหนดตอนกลับตัว เดิน 3 ก้าวนี่ก็พอแล้ว กำหนดดีๆ เดินไปกลับ 6 ก้าวนี่ อาจใช้เวลาถึงครึ่งช.ม.ได้ ถ้าเรากำหนดดีๆ สมาธิมันจะเกิดตลอด ยิ่งสมาธิเกิด มันยิ่งช้าลงเอง

บางคนถามว่า แล้วถ้าเกิดความคิด หรือเกิดเหตุการณ์อะไรในขณะที่เดินล่ะ จะให้กำหนดอย่างไร

ถ้าถามแบบนี้ก็ต้องถามกลับอีกว่า เราต้องการฝึกสติ สัมปชัญญะใช่ไหม ทำทีละตัวได้ไหม ทำตรงนี้ก่อน ทำฐานให้แน่น ส่วนตัวที่มากระทบน่ะ ปล่อยมันไปก่อน หรือถ้าอยากจะทำทั้งสองอย่างก็แล้วแต่ถนัด ส่วนตัวเราเองที่ฝึกมานั้น ฝึกฐานให้แน่นก่อน ถึงจะมาฝึกกำหนดตามข้อปลีกย่อยที่เกิดขึ้น ไม่งั้นมันว่อกแว่ก มันกำหนดไม่ทัน เอ้า .. เดี่ยวเสียงดังละ เดี๋ยวเกิดความคิดละ เดี๋ยวเมื่อย เดี๋ยวเบื่อ สารพัดเดี๋ยว เลยขอเอาเรื่องฝึกเจริญสติให้แน่นก่อน รู้สึกว่า พอสติ สัมปชัญญะแน่นดีแล้ว การกำหนดอื่นๆมันง่ายขึ้น มันดับได้ทัน ก็แล้วแต่ถนัดนะ จะทำแบบไหนก็ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 30 ม.ค. 2009, 07:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลาย ข้อแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าต่อไปนี้ ขอให้ถือว่า เป็นความคิดส่วนตัว ใครจะเห็นด้วย เห็นตาม หรือไม่เห็นด้วยเห็นตาม ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของท่านทั้งหลาย

อัน สุตตันตปิฏก นั้น เป็นกระจาด หรือที่รวบรวม การได้ยินได้ฟัง จากโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า แล้วจดจำมา มาบอกเล่าต่อๆกันมา แล้วจึงมาเขียนบันทึกไว้ภายหลัง ดังนั้น สุตตันต จึง หมายถึง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังและเล่าบอกต่อกันมา
ในทางที่เป็นจริงนั้น ผู้ได้อ่านพระไตรปิฏก หากคิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริงตามยุคตามสมัยแล้ว อีกทั้งยังต้องทำสำนวนภาษาบาลีสันสกฤต ให้เปลี่ยนเป็นสำนวนภาษาไทย หรือถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น ต้องทำความเข้าใจในสำนวนที่ปรากฏอยู่ใน ปิฏก ทั้งหลาย ที่มีอยู่
เนื่องเพราะสำนวนภาษาในสมัยโบราณส่วนใหญ่นั้น มักจะอยู่ในรูปของสำนวนภาษาชั้นสูง เช่นสำนวนกลอน หรือสำนวนวรรณคดี หรือสำนวนกวี อย่างนี้เป็นต้น
สภาวะ บัญญัติ หรือ สภาวะปรมัตถ์ นั้น เป็นเพียง คำบอกกล่าวให้รู้ว่า สรรพสิ่ง ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้บัญญ้ติขึ้นทั้งสิ้น แต่สิ่งที่บัญญัติขึ้นมานั้น ก็ย่อมเป็นประโยชน์ ย่อมเป็น เหตุ และ ปัจจัย เป็นญาณอันจักนำบุคคลให้บรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคล ตั้งแต่ชั้นโสดาบัน ไปจนถึง ชั้น นิพพาน
หมายความว่า ที่มีคำกล่าวถึง บัญญัติ และ ปรมัตถ์ นั้น เป็นเพียง การอธิบาย ให้เกิดความเข้าใจ ในส่วนรายละเอียด แห่งหลักธรรมะ ไม่ได้มีความหมายว่า ให้บุคคลนำเอาสิ่งเหล่านั้น มาเป็นปัญหา หรือนำมาคิดพิจารณา เพราะ บัญญัติ หรือ ปรมัตถ์ ไม่ใช่ตัวหลักธรรม ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น หรือปรากฏขึ้น หรือเป็นผล แห่งการปฏิบัติ ธรรม
ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น คำสองคำนั้น คือ บัญญัติ และ ปรมัตถ์ นั้น ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น จะทำความเข้าใจก็ได้ ไม่ทำความเข้าใจก็ได้ เพราะเป็นเพียงคำอธิบาย ให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น ที่ข้าพเจัากล่าวเช่นนั้น ก็เนื่องเพราะ สิ่งที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรม ภาษา หรือ สิ่งที่มีอยู่เองตามธรรมชาตินั้น ล้วนถูกมนุษย์ บัญญัติเรียกเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ต่างกันตรงที่ภาษาที่ใช้เขียน ใช้พูด แต่ความหมาย หรือสถานะของสิ่งเหล่านั้น เหมือนกัน สืบทอดต่อกันมานานหลายพันปี เช่น น้ำ(ไทย) water,ฯลฯ (ของเหลว ประกอบด้วย ธาตุไฮโดรเจน และออกซิเจน) อย่างนี้เป็นต้น
ที่กล่าวไปทั้งหมดแล้วนั้น ก็พอจะเป็นอุทาหรณ์ สำหรับ กลุ่มบุคคล ที่ยึดติด ในปิฏก ให้เกิดการพัฒนา ให้เกิดความกระตือรือล้น ที่จะศึกษา และทำความเข้าใจ ในพระไตรปิฏกอย่างแท้จริง คือ ศึกษา ให้เกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่เขาบันทึกไว้ มีสถานะ มีจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ อย่างไร ไม่ใช่สักแต่ว่า อ่าน แต่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่ผิดอะไรกับ เด็กชั้นอนุบาล ที่คุณครู ให้ท่องจำ พยัญชนะ ภาษาไทย ดอกขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร