วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามตามหัวข้อเลยครับ เป็นความรู้สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาด้วยครับ บางท่านเข้าใจอยู่ว่าเป็นอันเดียวกัน แต่บางท่านว่าไม่ แล้วเพื่อนๆ สมาชิกท่านคิดกันอย่างไร ?

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่เห็นมีใครตอบเลยอะ....อยากรู้เหมือนกันครับ... :b12:
งั้นผมลองตอบตามความเข้าใจของกระผมก่อนนะพี่นัฐ.... :b4:

จิต มโน วิญญาณ เหมือนกันโดยปรมัตถ์ คือสภาวะรู้
ต่างกันโดยบัญญัติ คือเวลาจะใช้ ณ โอกาสต่างๆกัน....


ยกตัวอย่างเช่นถามว่า พืช กับ ส้ม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบว่า ก็เป็นพืชเช่นกัน แต่พืชชนิดนี้เรียกส้ม เพราะสภาวะอย่างนี้(ออกผลสีส้ม)...งงงไหมครับ


จิต มโน วิญญาณ ก็เช่นกัน คือสภาวะรู้เช่นกัน....

พูดถึงจิตมักหมายถึง จิตทั่วๆไป ตัวเดียวโดดๆ ไม่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะเจาะจง

เมื่อจิตนี้อาศัยอยู่ในคูหา เราเรียกว่าใจหรือ มโน

เมื่อจิตนี้รับอารมณ์ที่มากระทบเราเรียกว่าวิญญาณ มโนวิญญาณ ชิวหาวิญญาณเป็นต้น

ลองดูครับ.... :b13:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตแบ่งเป็น

1. จิตบริสุทธิ์ไม่ติดอวิชชา หรือนิพพานจิต หรือ จิตพุทธะ จิตตัวนี้เป็นตัวสร้างอสังขตธาตุ หรือ อายตนนิพพาน (ธรรมกาย)

2. จิตไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตติดอวิชชา ซึ่งก็คือ จิตในปฏิจจสมุปบาท จิตตัวนี้เป็นตัวสร้างสังขตธาตุ

ส่วนคำว่าวิญญาณ หรือวิญญาณธาตุ ก็หมายถึงจิตเช่นเดียวกัน

ส่วนวิญญาณที่อยู่ในขันธ์ 5 เป็นตัวที่วิญญาณธาตุ หรือ จิต สร้างขึ้นมา

คนหรือสัตว์ตายลง ตัววิญญาณที่อยู่ในขันธ์ 5 ตาย แต่ตัววิญญาณธาตุ หรือ จิต ไม่ได้ตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิต มโน วิญญาณ เหมือนกันโดยปรมัตถ์ คือสภาวะรู้
ต่างกันโดยบัญญัติ คือเวลาจะใช้ ณ โอกาสต่างๆกัน....

อ้างคำพูด:
จิต มโน วิญญาณ ก็เช่นกัน คือสภาวะรู้เช่นกัน....

ท่านฌาณอธิบายเข้าใจง่ายดีครับ....สรุปได้ว่าเป็นอย่างเดียวกัน

อ้างคำพูด:
พูดถึงจิตมักหมายถึง จิตทั่วๆไป ตัวเดียวโดดๆ ไม่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะเจาะจง

เมื่อจิตนี้อาศัยอยู่ในคูหา เราเรียกว่าใจหรือ มโน

เมื่อจิตนี้รับอารมณ์ที่มากระทบเราเรียกว่าวิญญาณ มโนวิญญาณ ชิวหาวิญญาณเป็นต้น


แต่พอถึงตรงนี้ทำไมเป็นคนละอย่างไปซะแล้วล่ะครับ.... :b23: :b23:
มีจิตเป็นประทาน มีมโนเป็นกิริยา(อาศัยอยู่) แล้วก็มีวิญญาณเป็นกรรม.... :b13: :b13:

แต่กระผมเห็นด้วยกะอย่างหลังนะ :b12:

จิต คือจิต คือพุทธะ รับรู้ทุกสิ่งแต่ว่าจิตถูกปกคลุมด้วยสภาวะอวิชา จึงไม่แจ้ง ไม่เห็นความเป็นจริง(เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร)จึงมีการคาดเดา(สังขารปรุงแต่ง) จิตที่ถูกปรุงแต่งแล้วก็กลายเป็นวิญญาณ(ตัวรู้) และวิญญาณนี้จึงกำหนด นาม-รูปขึ้น (สมมติ)

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฌาณและคุณnatdanai ครับ


จิต มโน วิญญาณ เหมือนกันโดยปรมัตถ์ คือสภาวะรู้
หรือ จิต มโน วิญญาณ ก็เช่นกัน คือสภาวะรู้เช่นกัน....


จิตที่พวกคุณกำลังพูดถึงคือ จิตพุทธะ ครับ ส่วนจิตที่อยู่ในพระไตรปิฎกของเถรวาท เป็นจิต ที่เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และรับอารมณ์ด้วย ด้วยเหตุนี้ จิตที่อยู่ในพระไตรปิฎกของเถรวาท หรือจิตในปฏิจจสมุปบาท จึงมีสภาพที่เกิดดับ เกิดดับๆๆ...เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ตามสภาพอารมณ์ที่มันปรุงแต่งขึ้นมา

จิตในพระไตรปิฎกของเถรวาท ที่พยายามค้นหาตัวเอง ทำได้โดยการการทำสติปัฏฐาน 4 โดยเอาจิตพุทธะไปดูจิตปฏิจจสมุปบาท (เห็นจิตในจิต) เมื่อดูจิตพุทธะเห็นจิตในปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดๆ ดับๆ ตลอดเวลา อย่างแจ่มแจ้ง. ผลอันเกิดจากการเห็นจิตเห็นจิต, เป็นนิโรธ เมื่อจิตเข้าใจกลไกการทำงานของจิตอย่างละเอียดสมบูรณ์แบบ เรียกว่า อรหันต์

พระอรหันต์คือผู้ที่เราเรียกว่าพุทธะ จิตเป็นพุทธะ หมายถึง จิตพระอรหันต์ จิตของท่านจะรู้ตลอดเวลา และจะไม่คิดปรุงแต่งเลย ด้วยเหตุนี้ จิตของพระอรหันต์จึงเที่ยงตลอด ไม่มีคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเหลืออยู่อีก

เมื่อเทพเทวาและพรหมถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านเป็นใคร พระพุทธองค์จะตอบเสมอว่า เราเป็นพุทธะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสว่า "จงถือว่าเราเป็น " พุทธะ " เถิด"



.........ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดำเนินทางไกล พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เดินทางไกลทางเดียวกับพระองค์ มองเห็นรูปจักรที่รอยพระบาทแล้วก็มีความอัศจรรย์ใจ ครั้นพระองค์เสด็จลงไปประทับนั่งพักที่
โคนไม้ข้างทาง

พราหมณ์จึงเข้าไปเฝ้าแล้วทูลถามว่า " ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นเทพเจ้า ? " "

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " แน่ะ ! พราหมณ์ เทพเจ้าเราก็จักไม่เป็น "

พราหมณ์จึงเดาต่อว่า " ท่านผู้เจริญคงจักเป็นคนธรรพ์ ? " "

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "คนธรรพ์เราก็จักไม่เป็น "

พราหมณ์ถามแบบสงสัยต่อว่า เป็นยักษ์? เป็นมนุษย์?

พระพุทธองค์ก็ตรัสตอบเหมือนเดิมว่า " เราก็จักไม่เป็น "

พราหมณ์ย้อนทุกคำถามอีกครั้ง แล้วถามย้ำว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้เจริญจะเป็นใครกันเล่า...? "

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

" นี่แน่ะพราหมณ์ อาสวะเหล่าใดที่เมื่อยังละไม่ได้ จะเป็นเหตุให้เราเป็นเทพเจ้า เป็นคนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็นมนุษย์ อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว...หมดสิ้น...ไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีกต่อไป เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุญฑริก เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ แต่ตั้งอยู่พ้นน้ำ ไม่ถูกน้ำฉาบติด...ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เติบโตขึ้นในโลก แต่เป็นอยู่เหนือโลก ไม่ติดกลั้วด้วยโลก ฉันนั้น


นี่แนะ ! พราหมณ์ จงถือว่าเราเป็น " พุทธะ " เถิด


อนึ่ง อาสวะเป็นแหล่งกำเนิด ภพ แหล่งกำเนิดภพมาจากอวิชชา จึงเรียกอวิชชาว่า อาสวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2008, 08:42
โพสต์: 67

ที่อยู่: สังขตธาตุ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา จิตกับวิญญาณ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?
วิสัชนา จิตกับวิญญาณ เป็นสภาพธรรมอันเดียวกัน

ดังปรากฏในบาลีมหาวรรคว่า

ยํ จิตฺตํ มโน มานสํ หทยํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทริย์ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ
ตชฺฌา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ มโนวิญญาณ

ศัพท์เหล่านี้เป็นชื่อของจิตทั้งนั้น

ดังมีวจนัตถะว่า อารมฺมนํ จินฺเตตีติ = จิตฺตํ ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ คือได้รับ
อารมณ์อยู่เสมอ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต

อีกอย่างหนึ่ง จินฺเตนฺติ สมฺ ปยุตฺตธมฺมา เอ
เตนาติ = จิตฺตํ แปลว่า สมฺปยุตฺตธรรม คือ เจตสิกทั้งหลาย ย่อมรู้อารมณ์โดยอาศัย
ธรรมชาตินั้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า “จิต” หรือแปลว่าคิดก็ได้ดังในอัฎฐสาลินีอรรถกถา
อธิบายว่า

1. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต

2. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน

3. ธรรมชาติใดย่อมได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ธรรมชาตินั้นชื่อว่า หทัย

4. ธรรมชาติใดชื่อ “ฉันทะ” ที่มีในใจนั้นเอง ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มานัส

5. เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงได้ชื่อว่า ปัณฑระ

6. มนะนั่นแหละเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงได้ชื่อว่า มนายตนะ

7. มนะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์

8. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือรู้ทางทวาร 6
ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ

9. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ (เป็นกอง) จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์

10. มนะนั่นแหละเป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ

ดังนี้จะเห็นว่าท่านเปลี่ยนใช้ตามอำนาจของจิตที่ประกอบกิจการตามหน้าที่ได้ต่าง ๆ
กันทั้ง 10 ชื่อ ตามความเหมาะสมเท่านั้นเอง สภาวะของจิตที่แท้จริงคือ รู้อารมณ์ คิด
อารมณ์ และจำอารมณ์ ต่อจากสัญญา แล้วเก็บประทับไว้ในจิต

ปุจฉา คำว่าวิญญาณกับคำว่า จิต ต่างก็แปลว่า รู้อารมณ์เหมือนกันก็ทราบแล้ว แต่เหตุไรจึงมี
ชื่อต่างกันในบางแห่ง
วิสัชนา คำว่า วิญญาณ แปลว่า รู้อารมณ์ทวารทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นการเฉพาะทวาร

:b8:

.....................................................
เราคือใจที่บริสุทธิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 20:17
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบครับ..
1. เวทนา คือ อาการที่เสวยอารมณ์..สุขบ้าง..ทุกข์บ้าง..เฉยๆบ้างๆ..

2. สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ เช่น..จำอดีตที่ผ่านมา..เป็นต้น..

3. สังขาร คือ การคิดปรุงแต่ง..

4. วิญญาณ คือ การรับรู้อารมณ์.เมื่ออายตนะภายในกับภายนอกสัมผัสกัน..

ส่วน..จิต คือ 4 อย่างนี้รวมกัน.ขอรับ....


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร