วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 19:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านครับ ผมฝึกสมาธิวันละ ๓๐ นาทีครับคุณมิตรตัวน้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่คิดถึงเรื่องการปฏิบัติธรรมที่เขาทำ ๆ กัน นั้นคือการทำสมาธิ หรือนั่งกรรมฐาน นั่งวิปัสสนาแล้วแต่จะเรียก เคยได้อ่านพระไตรปิฎกบ้างหรือยังว่า

จากพระไตรปิฎก ฉบับบ มมร ชุด 91 เล่ม
การศึกษาธรรมต้องเป็นตามลำดับ

เล่ม 37 หน้า 402

...ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้
มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน
ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด
ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง
ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ
มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่...

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การศึกษาตามลำดับ 2 เล่ม 20 หน้า 428

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้
แต่การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ
ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตผลย่อมมีได้.
ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสต (หู) ลง
เมื่อเงี่ยโสตลงแล้ว ย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด
เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้วย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
เมื่อมีตนส่งไป ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย
และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา (นิพพาน)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ถ้า) ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี
การฟังธรรมก็ดี การทรงจำธรรมก็ดี การพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันได้ซึ่งความพินิจก็ดี
ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้น ๆ ไม่ได้มีแล้ว
เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.

พระอรรถกถาจารย์อธิบายความว่า

บทว่า นาหํ ภกฺขเว อาทิเกเนว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลเป็นครั้งแรกเท่านั้น ดุจกบกระโดดไปฉะนั้น

ไม่รู้ว่าจะลัดขั้นตอนไปได้อย่างไร

เล่ม 30 หน้า 448

ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์
ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน.
ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และ ความเห็นอันตรง

ดูก่อนอุตติยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความเห็นของเธอจักตรง
เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน
....

ที่นำมาให้อ่านนี้ ตัวเองก็ยังเป็นไส้เดือนอยู่เลยไม่กล้า เพราะพระพุทธองค์สั่งไว้แล้ว ศาสนาพุทธ พระพุทธองค์เป็นผู้ตรัสรู้มา ก็เลยเชื่อว่าตัวเองยังเป็นไส้เดือนอยู่

บริขารแห่งสมาธิ เล่ม 13 หน้า 544

.....ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการนี้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติแล้ว
เพื่อความเจริญแห่งสัมมาสมาธิเพื่อความบริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ (สมาธิที่ถูกต้อง)
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเห็นถูก ความคิดถูก การเจรจาถูก
การทำการงานถูก การเลี้ยงชีวิตถูก การทำความเพียรถูก การระลึกถูก ความที่จิตตั้งมั่น
แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้แล

เรียกว่า สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ มีอุปนิสัยดังนี้บ้าง มีบริขารดังนี้บ้าง…..

เล่ม 2 หน้า 352

อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้
ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌาน (ฌาน 4) เกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล
แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์.
เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี
เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี
เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน,
เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน
ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์ เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น
ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ (อาจารย์ผู้แตกฉาน) ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา.

จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น.
ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบาย
ในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.

เล่ม 43 หน้า 44
(เป็นบทสนทนาระหว่างพระอานนท์กับพระพุทธเจ้า)


...อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ย่อมแทรกอวัยวะทั้งหลาย
มีผิวเป็นต้น (เข้า) ไปจดเยื่อในกระดูกตั้งอยู่
เพราะเหตุไร อุบาสกเหล่านี้แม้เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงไม่ฟังโดยเคารพ ?

พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า ธรรมของเราอันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง ?

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อันบุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ ?

พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.

อานนท์. เพราะเหตุไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อานนท์ บทว่า พุทฺโธ ก็ดี ธมฺโม ก็ดี สงฺโฆ ก็ดี

อันสัตว์เหล่านั้นไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้
แต่ในสงสารมีที่สุดอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล มาแล้ว
เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลายมีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น
จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้….

ขอเป็นไส้เดือนต่อไปดีกว่า


เล่ม 28 หน้า 390


…..ก็บุคคลจะผูกแพ ควรมีมือ - เท้าบริบูรณ์
จริงอยู่ คนมีเท้าเป็นโรคพุพอง หรือมีเท้าหงิกง่อย ไม่สามารถจะยืนได้
บุคคลผู้มีมือเป็นแผล เป็นต้น ไม่อาจจับใบหญ้าใบไม้ เป็นต้นได้ ฉันใด
ภิกษุผู้จะผูกแพคืออริยมรรคนี้ ก็ฉันนั้น พึงปรารถนาความบริบูรณ์ ด้วยเท้าคือศีล และด้วยมือคือศรัทธา.
จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีล - ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งมั่นในพระศาสนา ไม่เชื่อข้อปฏิบัติ ไม่อาจจะผูกแพคืออริยมรรคได้.

อนึ่ง แม้บุคคลผู้มือเท้าบริบูรณ์ แต่ไม่มีเรี่ยวแรง ถูกพยาธิเบียดเบียน ก็ไม่สามารถจะผูกแพได้
ต่อเมื่อสมบูรณ์ด้วยกำลังเท่านั้นจึงจะสามารถผูกแพ ฉันใด
แม้คนมีศีล - มีศรัทธา ก็ฉันนั้น แต่เป็นคนเกียจคร้าน นั่งจมน่าเกลียด ก็ไม่สามารถจะผูกแพคือ
มรรคนี้ได้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงจะสามารถ.....

อ่านพระสูตรแล้วยังคิดจะปฏิบัติธรรมอย่างถึงแก่นหรือเปล่าหนอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2009, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2009, 10:41
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


รวบรัดดีคือ ที่นี่ เดี๋ยวนี้

ยึดพิธี ติดพิธี

ยึดธรรม ติดธรรม

"ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

.....................................................
ไร้กระบี่ ไร้ใจ คือเรา เทพกระบี่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์วิสุทธิมรรค..
http://www.larnbuddhism.com/visut/


[ผู้โพสต์]...(โปรดใช้พิจารณา..ข้อความนี้เป็นความเข้าใจของผู้โพสต์ในการตีความตำรา อาจไม่ถูกต้อง)

เล่ม 1. ศีลนิเทศ....เป็นพื้นฐาน ให้ สมบูรณ์ด้วยคีล เป็นยาแก้..สังโยชน์ ศีลพรตปรามาส

เล่ม 2. สมาธินิเทศ..เป็นพื้นฐาน ให้ สมบูรณ์ ด้วยสมาธิ เป็นยาแก้..สังโยชน์ วิจิกิจฉา
...ลังเลสงสัย ทำให้ฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่าน ก็ ไม่มีสมาธิ...

เล่ม 3. ปัญญานิเทศ..เป็นที่สุด...ให้บรรลุธรรมได้ ..เป็นยาแก้..สังโยชน์ สักกายทิฐิ....

เพราะศีลสมบูรณ์แล้ว สมาธิสมบูรณ์แล้ว อินทรีย์ก็จะแก่กล้า
อินทรีย์ ๕ เสมอกันแล้ว
ศรัทธา
วิริยะ
สติ
สมาธิ
ปัญญา

พอ ที่จะเข้าใจธรรมอันลึกซึ้งสุดๆ
ที่ ว่า ขัน๕ เป็น ทุกขัง....
ละ สังโยชน์ ๓ ได้=บรรลุธรรมขั้นต้น [ผู้โพสต์]


............................................

เขาพูดอย่างนั้นแล้วก็รีบร้อน เดินทางเข้าไปยังกรุงสาวัตถี ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งกำลังเสด็จจาริกไป เมื่อท่านพาหิยะได้แลเห็นพระพุทธเจ้า ด้วยพระพุทธสิริอันหาที่เปรียบมิได้
ก็บังเกิดปิติขึ้นท่วมท้น แล้วก็น้อมสรีระไปแล้ว
กราบลงที่ระหว่างถนนด้วยเบญจางคประดิษฐ์จับที่ข้อพระบาทไว้มั่นแล้ว กราบทูลว่า
อาราธนาพระพุทธองค์ให้แสดงธรรมโปรด

ลำดับนั้น พระศาสดาทรง
ตรัสห้ามเขาไว้ด้วยเหตุว่ามิใช่เวลาเหมาะ เพราะเป็นเวลาที่พระพุทธองค์จะทรงบิณฑบาต.

พาหิยะ ก็ได้กราบทูลวิงวอนซ้ำอีก พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสห้ามอีกเป็นครั้งที่สอง
ในครั้งที่สามเมื่อท่านพาหิยะทูลวิงวอนอีก
พระศาสดาได้มีพระดำริว่า ที่ท่านห้ามท่านพาหิยะถึงสองครั้งก็ด้วยเหตุว่า นับตั้งแต่เวลาที่ท่านพาหิยะเห็นพระพุทธองค์แล้ว เขาก็มีปิติท่วมท้นไปทั้งร่างกาย

ในช่วงเวลาที่ปิติมีกำลังมากนี้ แม้จะได้ฟังธรรม ก็จักไม่ทำให้ท่านสามารถบรรลุธรรมได้เลย

อีกประการหนึ่งเป็นเพราะทรงเห็นว่าพาหิยะมีความกระวนกระวายในการฟังธรรมมาก ซึ่งก็เป็นเหตุให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เช่นกัน

เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงตรัสห้ามถึง ๒ ครั้ง ครั้นเมื่อเขาทูลขอในครั้งที่ ๓

ทรงพิจารณาเห็นความแกร่งกล้าในอินทรีย์ของท่านพาหิยะพร้อมแล้ว
จึงทรงประทับยืนอยู่ในระหว่างทางและได้ทรงแสดงธรรมโดยย่อว่า




ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

............................................................
พาหิยะนั้นขณะกำลังฟังธรรมของพระศาสดาอยู่นั่นแล ได้ทำอาสวะทั้งปวงให้หมดสิ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7555
เอตทัคคะในทางผู้ตรัสรู้เร็ว
.....................

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 15 ก.พ. 2009, 16:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


2.

“ท่านถามเราหมดแล้ว ต่อไปนี้เราจะขอถามท่านบ้าง”
“ถามเถิด พระคุณเจ้า”

“ที่ชื่อว่าหนึ่ง นั้นคืออะไร ?”

“พระคุณเจ้า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า”

ขอบวชในพระพุทธศาสนา

นางชัมพุปริพาชิกา ยอมพ่ายแพ้ต่อพระเถระด้วยปัญหาเพียงข้อเดียวเท่านั้น นางหมอบลงกราบแทบเท้าพระเถระ ขอศึกษาวิชาพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งขอบรรพชาและถึงพระเถระเป็นสรณะ แต่พระเถระบอกว่าขอให้นางถึงพระพุทธองค์เป็นสรณะเถิด แล้วพานางไปยังพระวิหารเชตวัน นำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงทราบจริยาอัธยาศัยของนางดีแล้ว
จึงตรัสพระธรรมเทศนาคาถาภาศิตว่า:-


“ผู้ใดกล่าวคาถาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา
ผู้กล่าวคาถาที่ประกอบด้วยประโยชน์แม้เพียงคาถาเดียวยังผู้ฟังให้สงบระงับได้ ชื่อว่า ประเสริฐกว่าแล”




พอจบพระธรรมเทศนาคาถาภาษิต ทั้งที่นางกำลังยืนอยู่นั้น ยังไม่ทันจะนั่งลงก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในขณะนั้น แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วส่งนางให้ไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์เมื่อนางบวชแล้ว ได้ชื่อว่า“กุณฑลเกสาเถรี”

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 146 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร