ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=20083 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | สมพล [ 15 ม.ค. 2009, 22:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
ผมอ่านมรรคข้อสัมมาสมาธิเป็นไฉน... ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาสมาธิ ด้วย ฌาน 4 คือจตุตถฌาน สงสัยว่าเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรืออย่างไร จึงจะเรียกว่าเจริญมรรคข้อนี้ผ่านขอรับ ขอบพระคุณขอรับ ![]() |
เจ้าของ: | พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 16 ม.ค. 2009, 00:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
สัมมาสมาธิ ขั้นฌาน 4 (จตุตถฌาน) ถ้าได้ปัญญาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างแจ่มแจ้ง และละกิเลส โดยกิเลสไม่กำเริบอีกได้ ที่เรียกว่า ปัญญาวิมุติ อันนี้ถือว่าเป็นสัมมาสมาธิสมบูรณ์ แต่สัมมาสมาธิ ที่ได้เจโตวิมุติอย่างเดียว ยังไม่ถือว่าเป็นสัมมาสมาธิที่สมบูรณ์ เพราะละได้แต่ราคะอย่างเดียว คือ ยังเป็นเจโตวิมุติขั้นโลกีย์อยู่ เจโตวิมุตติขั้นโลกีย์นั้นยังไม่เกิดปัญญาสมบูรณ์(ปัญญาวิมุตติ) กิเลสกลับกำเริบได้อีก ถ้าได้เจโตวิมุตติ ที่กิเลสไม่กำเริบได้อีกแล้ว ที่เรียกว่า 'สมุจเฉทประหาร' คือขาดแล้วขาดเลย ไม่กลับกำเริบอีก เจโตวิมุตติแบบนี้เป็นเจโตวิมิตติ อันละเอียดประณีต พระพุทธองค์เรียกว่า สันตเจโตวิมุตติ ถ้าได้สันตเจโตวิมุตติจึงจะถือว่าได้ปัญญาสมบูรณ์(ปัญญาวิมุตติ) เนื่องจากกิเลสไม่กำเริบอีกแล้ว สรุป ความหลุดพ้นจากกิเลส และอวิชชาทั้งปวง จึงจะถือว่าได้ปัญญาสมบูรณ์ หรือปัญญาวิมุตติ |
เจ้าของ: | พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 16 ม.ค. 2009, 00:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
"เจโตวิมุตติ" ที่กิเลสไม่กำเริบได้อีกแล้ว หลุดพ้นจากกิเลสและอวิชชาทั้งปวงแล้ว อาจมีชื่อเรียกเป็นพิเศษแบบอื่นได้ เช่น เตวิชโช (ผู้ที่ได้วิชชา ๓) ฉฬภิญโญ (ผู้ได้อภิญญา ๖) ปฏิสัมภิทัปปัตโต (มีความสามารถคลุมวิชชาสามและอภิญญาหก แต่มีความฉลาดกว่าโดยเฉพาะข้อธรรมต่างๆ) |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 16 ม.ค. 2009, 12:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
ลองไปค้นกระทู้ของคุณ "ตรงประเด็น" ดูนะครับ คุณตรงประเด็นท่านเรียบเรียงจากพระไตรปิฏกเอาไว้อย่างดี ช่วยให้เขา้ใจง่ายขึ้นมาก รวดเร้วขึ้นมาก |
เจ้าของ: | มิตรตัวน้อย [ 16 ม.ค. 2009, 15:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
ต้องเข้าใจ อย่างนี้ก่อนว่า อย่างไรเรียก “มิจฉาสมาธิ” อย่างไรเรียก “สัมมาสมาธิ” “มิจฉาสมาธิ” หลวงปู่มั่น ท่านเรียก สมาธิของ หลวงตามหาบัวว่า “สมาธินอนตาย” คือติดความสงบ ไม่ยอมออกจากสมาธิมาใช้ความคิดเพื่อให้เกิดปัญญา สมาธิของ ท่านอาฬารดาบสและอุทกกดาบส ก็เช่นเดียวกัน “สัมมาสมาธิ” คือ เมื่อใช้สมาธิตามขั้นตามภูมิที่ตัวเองทำได้ ซึ่งอาจจะเป็น อุปจาร ปฐมฌาน จนถึง จตุตถฌาน หรือบางท่านได้ถึง อรูปฌาน เมื่อเข้าสมาธิจนเต็มภูมิของตนเองแล้ว ก็ถอยออกมาที่ อุปจารสมาธิ เพื่อใช้ความคิด ตรึกตรอง โดยแยบคาย ในธรรมหมวดใดหมวดหนึ่ง จนเกิดปัญญา เข้าใจหายสงสัย ในธรรมหมวดนั้น ๆ นี่แหละที่ท่านเรียก “สัมมาสมาธิ” สัมมาสมาธินี้ไม่จำเป็นต้องถึง ฌานที่ สี่ แค่อุปจารสมาธิ หรือสมาธิจิตตั้งมั่นก็พอ ปัญญาเกิดที่ "สมาธิจิตตั้งมั่น"นี่แหละ ไมได้เกิดที่ สมาธิความสงบ หรือ อัปนาสมาธิ “สมาธิ” เป็นฐานอันเลิศของปัญญา ปัญญาที่เกิดจากฐานของสมาธินี้ เราเรียก “วิปัสสนา” หรือ “ภาวนามัยปัญญา” เจริญธรรม ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ว่างเปล่า [ 17 ม.ค. 2009, 00:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
สมพล เขียน: ผมอ่านมรรคข้อสัมมาสมาธิเป็นไฉน... ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาสมาธิ ด้วย ฌาน 4 คือจตุตถฌาน สงสัยว่าเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรืออย่างไร จึงจะเรียกว่าเจริญมรรคข้อนี้ผ่านขอรับ ขอบพระคุณขอรับ ![]() กะว่าจะไม่ตอบน่ะนี่ แต่พออ่าน มาสะดุด ตรงคำที่ว่า "เจริญมรรคข้อนี้ผ่าน" ทำให้ผมคิดเหมือนกับว่า เป็นการทำข้อสอบเลยแฮะ ![]() ![]() ![]() เลยอยากจะถามเจ้าของกระทู้ กลับไปหน่อยว่า คุณเข้าใจว่า มรรคมีองค์แปด อย่างไร เกี่ยวกับการปฏิบัติ คุณคิดว่าควรทำให้ผ่านทีละข้อ หรือว่าทำข้อไหนให้ผ่านก่อนก็ได้ หรือว่าทำทุกข้อพร้อมกันให้ผ่าน พร้อมกัน หรือว่าคุณคิดยังไงเอ่ยยยย ![]() ![]() |
เจ้าของ: | natdanai [ 17 ม.ค. 2009, 11:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มรรคข้อสัมมาสมาธิเราต้องทำให้ได้ถึงระดับฌาณหรือเปล่า |
สัมมาสมาธิหมายถึงสมาธิที่ไม่มีอารมณ์ ว่างเปล่าจากการปรุงแต่งของสังขาร |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |