วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 05:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ
และที่ไม่ควรเสพแก่พวกเธอ ......


ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ-
*อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระ
ผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ
และที่ไม่ควรเสพแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

.............
๑๙๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
ความประพฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน เรากล่าวความ
ประพฤติทางวาจาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒
อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกัน เรากล่าวความประพฤติ
ทางใจโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น
แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางใจด้วยกัน เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตโดยส่วน
๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่าง
เป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกัน เรากล่าวความได้สัญญาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควร
เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้
สัญญาด้วยกัน เรากล่าวความได้ทิฐิโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร
เสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ทิฐิด้วยกัน เรากล่าวความ
ได้อัตภาพโดยส่วน ๒ คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง
นั้น แต่ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน ฯ..
.................
.................................

[๒๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้
โดยพิสดารอย่างนี้-
.......................


**พระสารีบุตร**

ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
ประพฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง
๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั้น
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ..
.................................
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประ
พฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความ
ประพฤติทางกายเช่นนี้ ไม่ควรเสพ


และเมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด
อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง
ความประพฤติทางกายเช่นนี้ ควรเสพ ฯ

.............

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างไร

อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือ เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือ
เปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต อนึ่ง
เป็นผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ คือ ถือเอาอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น
ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า อันเจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยความเป็นขโมย อนึ่ง เป็นผู้มัก
ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง หญิงที่บิดา
รักษาบ้าง หญิงที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง หญิงที่พี่สาว
รักษาบ้าง หญิงที่ญาติรักษาบ้าง หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่
บ้าง ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
เสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ

[๒๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่าง
ไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เพราะละปาณาติบาต จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา
วางศาตราแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน
สรรพสัตว์และภูตอยู่ เพราะละอทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ไม่
ถือเอาอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า อันเจ้าของเขามิได้
ให้ ด้วยความเป็นขโมย เพราะละกาเมสุมิจฉาจาร จึงเป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุ-
*มิจฉาจาร ไม่เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง หญิงที่บิดารักษาบ้าง
หญิงที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง หญิงที่พี่สาวรักษาบ้าง
หญิงที่ญาติรักษาบ้าง หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง ที่สุด
แม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประ-
*พฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ

............
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประ-
*พฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง
นั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัย
เนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว ฯ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วาจา....


[๒๐๓] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวความประพฤติทางวาจาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่
ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทาง
วาจาด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไร ตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรม
ย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางวาจาเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความ
ประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความ
ประพฤติทางวาจาเช่นนี้ ควรเสพ ฯ


[๒๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่าง
ไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ คือไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปใน
ท่ามกลางญาติก็ดี ไปในท่ามกลางขุนนางก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขา
นำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด ท่านรู้อย่างใด ก็จงพูด
อย่างนั้น เขาไม่รู้ บอกว่ารู้บ้าง รู้อยู่ บอกว่าไม่รู้บ้าง ไม่เห็น บอกว่าเห็นบ้าง
เห็นอยู่ บอกว่าไม่เห็นบ้าง พูดเท็จทั้งรู้ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่น
บ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เป็นผู้พูดส่อ
เสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้วบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่าย
โน้นแล้ว บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาพร้อมเพรียงกัน ก็ยุ
ให้แตกกันเสีย หรือเมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็ช่วยส่งเสริม ชอบเป็นพรรคเป็นพวก
ยินดีความเป็นพรรคเป็นพวก ชื่นชมความเป็นพรรคเป็นพวก เป็นผู้กล่าวคำทำให้
เป็นพรรคเป็นพวก อนึ่ง เป็นผู้กล่าวคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่มีโทษ หยาบคาย
เผ็ดร้อน ขัดใจผู้อื่น ใกล้เคียงความโกรธ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสมาธิ อนึ่ง เป็นผู้
เจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวไม่ถูกกาละ กล่าวไม่จริง กล่าวไม่เป็นประโยชน์ กล่าวไม่
เป็นธรรม กล่าวไม่เป็นวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มี
ขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึง
เสื่อมไป ฯ

[๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่าง
ไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท คือ ไปในสภา
ก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในท่ามกลางญาติก็ดี ไปในท่ามกลางขุนนางก็ดี ไปใน
ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด
ท่านรู้อย่างใด ก็จงพูดอย่างนั้น เขาไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง รู้อยู่ ก็บอกว่ารู้บ้าง
ไม่เห็น ก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เห็นอยู่ ก็บอกว่าเห็นบ้าง ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ๆ
เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
เพราะละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว
ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่บอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน หรือเมื่อเขาดี
กันอยู่ ก็ช่วยส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน
ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคี เพราะละวาจาหยาบ
จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รัก
ใคร่จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ เพราะละการ
เจรจาเพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตาม
เป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่
อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
เสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึง
เจริญยิ่ง ฯ


..............

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org//tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2899&Z=3431

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป..
กาย วาจา ใจ ใดใด..
ทำให้อกุศล เจริญ ไม่ควรเสพ
ทำให้กุศล เจริญ ควรเสพ..
.....

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ๑. บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ
ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ
ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
เข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม
ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานลึกลับ ไม่ใช่สมณะ แต่
ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีบุคคล แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี
บุคคล เน่าในภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ บุคคลเห็นปานนี้
ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะแม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริง แต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดี
ของเขา ก็ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่ว
เป็นเพื่อน เปรียบเหมือนงูที่จมอยู่ในคูถ ถึงแม้จะไม่กัดแต่ก็ทำให้เปื้อนได้
ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน แม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติ ของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริง
แต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดีของเขา ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็น
สหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงน่าเกลียด ไม่ควรเสพ
ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควร
เสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้
โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง
พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ
เปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมให้ความหมักหมมยิ่ง
กว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ
มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือน
ถ่านไม้มะพลับ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมแตกเสียงดังจิๆ แม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ
เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ
และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ
เข้าย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่าเพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง
พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่
ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงด่าบ้าง บริภาษบ้าง ทำความ
พินาศให้เราบ้าง ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควร
คบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควร
เข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
บุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะแม้จะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคลเห็นปานนี้ก็ตาม ถึงกระนั้น ชื่อเสียงที่ดีงาม
ของเขาก็จะระบือไปว่า เป็นผู้มีคนดีเป็นมิตร มีคนดีเป็นสหาย มีคนดีเป็นเพื่อน
ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อม
ในกาลไหนๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น เพราะ
ฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ฯ

.....................
**ชิคุจฉสูตร**

...........
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3303&Z=3348

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron