วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 23:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่อาตมาต้องการย้ำในที่นี้ก็คือว่า สิ่งที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ การที่พระพุทธเจ้า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงแก้ไขความหวาดกลัว อย่างเสด็จประทับอยู่ในกลางป่า แล้วได้ยินเสียงกรอบแกรบขึ้น เกิดความกลัว แล้วพระองค์ก็ใช้วิธีว่า จะแก้ความกลัวด้วยการที่ต้องสืบหาให้ได้ว่าก่อนว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดเสียงนั้น หรือทำให้เกิดความกลัวนั้น แล้วพระองค์ก็แก้ไขความกลัวได้ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า โยนิโสมนสิการ หรืออย่างที่พระองค์ได้ บำเพ็ญทุกกรกริยาจนกระทั่ง เต็มที่แล้ว ไม่มีใครทำได้ยิ่งกว่านั้น แล้วพระองค์วินิจฉัยได้ว่า นี้ไม่ใช่ทางการตรัสรู้ แล้วทรงพระดำริว่า หนทางอื่นคงจะมี หมายความว่าความเป็นไปได้อย่างอื่นคงจะมี ไม่ติดอยู่แค่นั้น การที่พระองค์ไม่ติดอยู่แค่นั้น คิดหาทางออก ว่าอาจจะมีทางอื่นอีกนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการเหมือนกันเจริญพร แล้วก็การที่พระองค์ได้ทรงพิจารณาเช่นว่า ตรวจสอบพระหฤทัยของพระองค์เองว่า เมื่อสภาพจิตอย่างนี้เกิดขึ้นมานั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย การคิดพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการนี่แหละ เป็นปัจจัยสำคัญในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสไว้บอกว่า ปัจจัยแห่งสัมมาทิฐินั้นมี ๒ ประการ คือ ๑ ปรโตโฆสะ เสียงจากผู้อื่น เสียงบอกเล่า เช่น จากกัลยาณมิตร และประการที่ ๒ ปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ และก็มีหลักอยู่ด้วยสำหรับ คนทั่วไปนั้น ต้องอาศัยปรโตโฆสะเป็นสำคัญ คนทั่วไปที่จะโยนิโสมนสิการขึ้นมาเองนั้นเป็นไปได้ยาก ส่วนมากแล้วต้องอาศัย การบอกเล่าแนะนำสั่งสอนจากคนอื่น ก็มีบุคคลพิเศษ ก็พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพระพุทธเจ้านี่เป็นแบบอย่างที่ว่ามีโยนิโสมนสิการ

เริ่มตั้งแต่ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดมาก็อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกับคนอื่น เจ้านายในวัง ประชาราษฏร เกิดมาอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับพระองค์ เขาก็เห็นความเป็นไปในโลก ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ความเป็นไปของชีวิตผู้คน เขาก็ไม่เห็นอะไรแปลก เขาก็อยู่กันมาอย่างนั้น แต่เจ้าชายสิทธัตถะนี่ มองเห็นสิ่งเดียวกะที่คนอื่นเห็น มองเห็นความเป็นไปในชีวิตของคนต่างๆ ในสังคมนี่อย่างเดียวกับที่คนอื่นเขาประสบ แต่พระองค์มีความคิดที่แปลกกว่าคนอื่น ความคิดที่แปลกว่าพระองค์อื่นนี่แหละ ทำให้พระองค์เสด็จออกบรรพชา ความคิดอย่างนี้ก็เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

ท่านบอกว่า คนที่จะมีโยนิโสมนสิการขึ้นมาอย่างนี้ ต้องเป็นคนพิเศษ เช่นอย่างพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพระพุทธเจ้า การตรัสรู้จึงเกิดขึ้นได้ แต่ว่า สำหรับคนทั่วไปเมื่อได้อาศัยปรโตโฆสะ เสียง แนะนำ ชักจูงจากคนอื่นแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมาในตนเอง เมื่อเราได้รับคำแนะนำสั่งสอนแล้ว เรารู้จักคิดพิจารณาต่อจากนั้น เราเอาคำแนะนำสั่งสอนของท่านผู้อื่น เช่น ของพระพุทธเจ้า มาพิจารณาไตร่ตรอง เราก็เกิดโยนิโสมนสิการของตนเอง และเราก็สามารถที่จะบรรลุธรรม เข้าใจสัจธรรมได้ เพราะฉะนั้นตัวปัจจัยสำคัญก็คือเรื่อง โยนิโสมนสิการนี้

นี้ในบรรดาโยนิโสมนสิการนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่องความคิด การรู้จักคิด รู้จักพิจารณา บางที่เราไปสอนกันว่า ในทางพระพุทธศาสนาในการปฏิบัติธรรม เช่นอย่าง วิปัสสนานี่ไม่ให้คิด อันนี้อาจจะพลาดได้ พระพุทธเจ้านี้ ที่ตรัสรู้นั้นด้วยการคิดนะ การรู้จักคิด อยู่ที่คิดเป็น อย่างที่อาตมายกตัวอย่างเมื่อกี้นี้ พระพุทธเจ้าทรงคิดอยู่ตลอดเลย เช่นอย่างสภาพจิตของพระองค์เองนี่ อันนี้เกิดขึ้น เป็นกุศลธรรม เป็นอกุศลธรรม มันเกิดขึ้นแล้วมันเป็นผลดี หรือผลร้าย และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไรเป็นปัจจัยสภาพจิตนี้จึงเกิดขึ้น พระองค์คิดทั้งนั้นเลย แต่คิดจากของจริง คือ มีการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นต้องแยกว่าความคิดมีสองอย่าง คือ ความคิดปรุงแต่ง กับความคิดที่เป็นความคิดเชิงปัญญา ที่เรียกว่าสืบสาวหาเหตุปัจจัยเป็นต้น

ความคิดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำให้เราคิด ทรงแนะนำให้เราละเสีย คือ ความคิดปรุงแต่ง ความคิดปรุงแต่งคือความคิดอะไร คือ ความคิดด้วยอำนาจความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่าคนเรานี้ ได้ประสบอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เวลาประสบอารมณ์นั้น นอกจากการรับรู้แล้ว ก็จะมีสิ่งหนึ่งคือความรู้สึก ที่เรียกว่า เวทนา สิ่งใดที่เข้ามาแล้ว เป็นที่สบาย เราก็เรียกว่าเกิดสุขเวทนา อันใดที่ไม่สบาย เราเรียกว่าเกิดทุกขเวทนา สิ่งทั้งหลายที่เรารับรู้ ทุกอย่างจะมีความรู้สึกประกอบอยู่ด้วย เวลาเราเห็นเราไม่ใช่เฉพาะว่า เห็นรูปร่าง เห็นสีเขียว สีขาว สีดำ สีแดง รูปร่าง กลม ยาว เหลี่ยม เท่านั้น เราไม่ใช่แค่นั้น ทุกครั้งที่เราได้ดูได้เห็นนั้น เรามีความรู้สึกด้วย คือ มีความรู้สึกสบาย ไม่สบาย อันนี้แหละเป็นจุดสำคัญ นั้นความรู้สึกตัวนี้ที่เรียกว่าเวทนา จะทำให้เราเกิดปฏิกิริยา ที่เรียกว่าความชอบหรือไม่ชอบ หรือยินดียินร้าย ภาษาพระเก่าท่านเรียกว่ายินดียินร้าย ถ้าเป็นสุขเวทนาสบาย เราก็มักจะชอบใจ หรือยินดี ถ้าหากว่าเป็นทุกขเวทนา เราก็ไม่ชอบใจเรียกว่ายินร้าย โยมต้องแยกให้ได้สองตอน

ที่ว่าสบายกับยินดี หรือสบายและชอบใจนี่ คนละตอนกัน ตอนสบายเป็นเวทนาเป็นฝ่ายรับ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศล อกุศล กายไม่สบาย สุข ทุกข์ อันนี้ไม่เป็นกุศล อกุศล ยังเป็นกลางๆ เป็นเวทนา แต่เมื่อไรเกิดปฏิกิริยาว่าชอบหรือไม่ชอบอันนี้เกิดตัณหาแล้ว ตัณหาอันนี้เป็นปฏิกิริยา เป็นสภาพจิตที่เป็นสังขารแล้ว ก้าวจากเวทนาเป็นสังขารแล้ว เวทนา สุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย เป็นเวทนา แต่ชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นสังขาร พอเราเกิดสังขารชอบใจไม่ชอบใจก็คือเกิดตัณหาขึ้นมา ตัณหานี่เป็นสังขารด้วย ตอนนี้แหละจากนี้เราจะคิด ถ้าชอบใจเราก็คิดตามอำนาจความชอบใจ ถ้าไม่ชอบใจเราก็คิดตามอำนาจความไม่ชอบใจ ความคิดอย่างนี้เรียกว่า ความคิดปรุงแต่ง จะเกิดความเอนเอียง จะเกิดปัญหากับจิตใจ จะมีตัวตนที่รับกระทบอย่างนั้นอย่างนี้

แต่ถ้าเราคิดเชิงปัญญา คือ พิจารณาว่า อะไรเกิดขึ้นจึงเป็นอย่างนี้ อันนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร สืบสาวหาเหตุปัจจัย อันนี้ไม่ใช่ความคิดปรุงแต่ง อันนี้เป็นการคิดเชิงปัญญา เช่นคิดสืบสาวตามหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงคิดในตอนที่ตรัสรู้ เพราะฉนั้นโยมต้องแยกให้ถูกว่าความคิดมีสองแบบ เราไม่ควรจะคิดเชิงปรุงแต่ง เพราะว่าทำให้

๑ ไม่เกิดปัญญา ไม่เห็นตามเป็นจริง เห็นตามอำนาจความยินดียินร้าย เกิดความลำเอียงไปตามความชอบชัง
๒ เกิดโทษกับชีวิตจิตใจ ทำให้จิตใจขุ่นมัว เศร้าหมอง คับแคบ บีบคั้นอะไรต่างๆ เป็นต้น

อาตมายกมาพูดเพราะว่าเป็นคติที่เกี่ยวเนื่องกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

จาก : จาริกบุญ จาริกธรรม โดยพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบคุณค่ะที่นำความรู้มาให้ :b23: :b23: :b23:

:b8: :b8: :b8: :b8: ...นู๋เอจ้า

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b5: :b14: :b5: :b14: :b5: ในระหว่างกรรมฐานถ้ามีเหตุให้เราเกิดความกลัว แล้วเราพิจารณาหาเหตุของความกลัวนั้น แล้วปรากฏว่าสิ่งที่ทำให้เราเกิดความกลัวนั้นเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่เสียงง่ะ แต่เป็นรูปและก็ไม่ใช่มนุษย์ด้วยง่ะ เราควรจะทำยังไงดี มีวิธีที่ลดความกลัวรึเปล่าค่ะ :b5: :b5: :b5:

s006 นู๋เอเองจ้า... :b41: :b51: :b53: :b46: :b45: :b55: :b55:

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำใจดีสู้ผีซะสิ เดี๋ยวก็หายกลัว

กลัว แต่อย่าหนี ให้หมั่นวิ่งเข้าหาสิ่งที่กลัวทั้งๆที่ใจกำลังกลัว และเข้าหาบ่อยๆ
นี่เป็นวิธีง่ายๆ ที่ครูอาจารย์ทั้งหลายก็ใช้กัน

และถ้าปฏิบัติธรรมมากขึ้น มีธรรมมากขึ้น เรื่องกลัวผีก็จะหมดไป

หากมีเวลาว่างๆ ก็หาโอกาส หัดไปนั่งเล่น นอนเล่นแถวป่าช้าซะบ้าง
จะได้คุ้นเคยกับบรรยากาศแบบผีๆ

ขอให้คุณโชคดี ได้เจอ.......สมความปรารถนา

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบ นู๋เอ ดังนี้ครับ

หากสิ่งที่ทำให้กลัวนั้นไม่ใช่เสียง แต่เป็นรูป และก็ไม่ใช่มนุษย์ด้วยอย่างนี้ สิ่งที่ควรกระทำ คือ ให้จัดการกับความกลัวนั้นเสียก่อนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น พิจารณาธรรม เป็นต้น เมื่อสามารถละความกลัวได้แล้ว หลังจากนั้นจึงวางท่าที ดำรงกาย-วาจา-ใจอย่างเหมาะสมกับสิ่งที่ทำให้กลัวครับ

สมมุติว่าคุณกำลังเดินจงกรมนั่งสมาธิอยู่ในป่า เกิดมีเสียงดังขึ้น แล้วไปดูปรากฏว่าเป็นสัตว์ร้าย ที่ดูท่าว่าจะทำอันตรายเราแน่ ก็พึงละความกลัวในใจ แล้วหลังจากนั้นพึงหลีกเลี่ยงเสีย อาจจะย้ายไปปฏิบัติที่อื่น หรือขับไล่ออกไป (หากทำได้) แต่หากเป็นสิ่งหรือเป็นสัตว์ที่ดูท่าแล้วไม่สามารถทำอันตรายเรา หรือไม่ทำร้ายเรา เราก็ปฏิบัติธรรมต่อไป ไม่ต้องสนใจครับ

ตรงนี้มีตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำมาให้ศึกษาเพิ่มเติมดังนี้ครับ

****************************

[๔๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่
กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ
อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร
เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ โดยสมัยอื่น เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน
ที่กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ
อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูกร
พราหมณ์ ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมาก็ดี หรือว่าลมพัด
ใบไม้ให้ตกลงมาก็ดี. ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ความกลัวและความขลาดนั่น
นั้นมาเป็นแน่. เรานั้นได้มีความดำริว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้หวังภัยอยู่โดยแท้ ไฉนหนอ
ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไรๆ เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้นๆ แล พึง
กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นเสีย ดังนี้.

ดูกรพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้กำลังเดินจงกรมอยู่. เรานั้น
จะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบที่เรายังเดินจงกรมอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด
นั้นได้.

ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่เดิน
จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบเท่าที่เรายังยืนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้.

ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน
ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนั่งอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้.

ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่
นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด
นั้นได้.

ที่มา : ภยเภรวสูตร



ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรวจสอบพระหฤทัยของพระองค์เองว่า เมื่อสภาพจิตอย่างนี้เกิดขึ้นมานั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย การคิดพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการนี่แหละ


มีประโยชน์มากเลยครับ

ขอบคุณและอนุโมทนาด้วยนะครับ cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 01:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2_6_f9494ac557f53ac.jpg
2_6_f9494ac557f53ac.jpg [ 47.25 KiB | เปิดดู 3299 ครั้ง ]
ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ



ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “สังขารนิมิต” โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ

.....พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ

.....พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ



พระโยคาวจร.....


.....พิจารณาเห็น “รูปนิมิต” โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีนิมิตแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ


.....พิจารณาเห็น “ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป” โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้งแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


.....พิจารณาเห็น “ความถือมั่นว่ารูป” โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
...........คำนึงถึงนิพพาน อันเป็นที่ดับว่างเปล่าแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ


พระโยคาวจร.....

พิจารณาเห็น “ชราและมรณนิมิต”
...........โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไป
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีนิมิต
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะ”
...........โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไป
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้ง
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “ความยึดมั่นชราและมรณะ”
...........โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไป
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่างเปล่า
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ


ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น

ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sasikarn เขียน:
:b5: :b14: :b5: :b14: :b5: ในระหว่างกรรมฐานถ้ามีเหตุให้เราเกิดความกลัว แล้วเราพิจารณาหาเหตุของความกลัวนั้น แล้วปรากฏว่าสิ่งที่ทำให้เราเกิดความกลัวนั้นเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่เสียงง่ะ แต่เป็นรูปและก็ไม่ใช่มนุษย์ด้วยง่ะ เราควรจะทำยังไงดี มีวิธีที่ลดความกลัวรึเปล่าค่ะ :b5: :b5: :b5:

s006 นู๋เอเองจ้า... :b41: :b51: :b53: :b46: :b45: :b55: :b55:



ถ้ากลัวมาก ๆ ก็พิจารณา อัตภาพ ที่เป็นไปของ สิ่งที่เรากลัว หาต้นตอว่า เกิดมาจากอะไร

เช่น วิญญาณ นั้นเกิดมาจากไหน ก่อนที่จะเป็นวิญญาณ เมื่อรู้ต้นตอ ก็จะสามารถบรรเทาความกลัวลงได้

ทุกอย่างย่อมมีเหตุ และ ปัจจัย เกื้อหนุน หาให้เจอ คือพิจารณาให้เจอ และ ตั้งสติ ให้เห็นไปตามความเป็นจริง

คงจะช่วยได้บ้างนะครับ

:b16: cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron