วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 04:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 12:51 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การบรรลุธรรมนั้นหมายถึงอะไรและผู้ที่บรรลุธรรมแล้วควรได้รับผลและมีจิตที่เป็นอย่างไรในความคิดของทุกท่านขอให้ทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะลองแสดงความคิดเห็นดูนะครับ

คุณ puy เทียบเคียงความรู้สึกด้วยข้ออุปมาอุปไมยนี้ครับ


ค่ำวันหนึ่ง นาย ก.แลเห็นงูตัวยาวใหญ่พอสมควรตัวหนึ่ง แต่ตนไม่แน่ใจว่าเป็นงูมีพิษหรืองูไม่มีพิษ
ได้เลื้อยหายเข้าไปในบ้าน นาย ก. ค้น ๆ ดูก็ไม่พบงูนั้นว่า ไปหลบอยู่ซอกไหนมุมใด

ครั้นจะปลงใจว่า งูไม่มีพิษ ก็ยังสงสัยไม่แน่ใจ :b10: เกิดเป็นพิษงูเห่าล่ะ :b5: :b14:
ตกลงคืนนั้น นาย ก. นอนหลับๆตื่นๆ กว่าจะรุ่งเช้า

วันรุ่งขึ้น นาย ก. เที่ยวค้นๆ อย่างละเอียดทุกซอกทุกมุม ก็พบงูตัวนั้นนอนขดอยู่ในหวด :b9:
พิจารณาดู :b20: :b11: ก็รู้ว่า อ๋อ...งูดินไม่มีพิษ จึงปล่อยงูตัวนั้นไปตามสบาย :b1: :b12:

ต่อมา นาย ก. จะยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ ในบ้านนั้นด้วยความผาสุก โปร่งเบา ไร้กังวล ฯลฯ ฉันใด

ผู้บรรลุธรรมก็ฉันนั้น คือ เปรียบก็เหมือน นาย ก. ผู้ค้นพบงูตัวนั้นและรู้ว่า มิใช่งูมีพิษภัยอะไร


ชีวิตหรือกายใจนี้ เมื่อไม่รู้จักไม่เข้าใจ ก็เหมือนงูพิษ (หรือเหมือนอยู่กับงูพิษ)

ต่อเมื่อรู้จักเข้าใจแล้วก็เหมือนงูดิน (หรือเหมือนอยู่กับงูดิน)ไม่มีพิษมีภัยแก่ตน เพราะธรรมชาติธรรมดามันเป็นอย่างนั้น
แต่กลับใช้กายใจนี้ในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น :b39: :b41: :b42:



เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น พิจารณาข้อเขียนลิงค์นี้ด้วยครับ

viewtopic.php?f=2&t=20282

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ม.ค. 2009, 16:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะทางปัญญา

ลักษณะสำคัญที่เป็นพื้นฐานทางปัญญา คือ การมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น หรือ เห็นตามความเป็นจริง เริ่มต้นตั้งแต่การรู้รู้อารมณ์ทางอายตนะ ด้วยจิตใจที่มีท่าทีเป็นกลางและมีสติไม่หวั่นไหวถูกชักจูง
ไปตามความชอบใจ ไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้เห็นอารมณ์นั้นๆไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ต้นจนตลอดสาย
ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือ ความกระทบกระแทกที่เนื่องจากอารมณ์นั้นฉุดรั้งหรือสะดุดเอาไว้ให้เขวออกไปเสียก่อน


ลึกซึ้งลงไปอีก คือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทันสมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกให้หลงไปตามรูปลักษณ์ภายในอกของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน
มิใช่ติดอยู่เพียงแง่ใดแง่หนึ่ง ความรู้เห็นตามที่มันเป็น หรือ รู้เห็นตามความเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ภาวะทางจิต



ภาวะทางจิตที่สำคัญเป็นพื้นฐาน คือ ความเป็นอิสระ หรือ เรียกตามคำพระว่า ความหลุดพ้น ภาวะนี้
เป็นผลสืบเนื่องจากปัญญา คือ เมื่อเห็นตามเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส

ลักษณะด้านหนึ่งของความเป็นอิสระ ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครองงำ ก็คือ การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่
เย้ายวน หรือ ยั่วยุ อย่างที่เรียกว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งของราคะ หรือ โลภะ โทสะ และโมหะ-
(องฺ. จตุกก. 21/117/161 ฯลฯ) เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ยิ่งกว่านั้น ยังมีผลสืบเนื่องจากความปราศจากราคะ โทสะ โมหะต่อไปอีก คือ ทำให้ไม่มีความหวาดเสียว สะดุ้ง สะท้าน หวั่นไหว- (องฺ. จตุกก. 21/117/161 ฯลฯ)
นอกจากไม่มีเหตุที่จะให้ทำความชั่วเสียหายที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริตใจในการทำงาน
ด้วย- (ม.ม.13/657/630)
สามารถเป็นนายของอารมณ์ ถึงขั้นที่ท่านเรียกว่า เป็นผู้อบรมอินทรีย์แล้ว คือ เมื่อรับรู้อารมณ์ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า น่าชอบใจ ไม่น่าชอบใจ หรือ เป็นกลางๆ
ก็ตาม ก็สามารถบังคับสัญญาของตนได้ ให้เห็นของปฏิกูล เป็นไม่ปฏิกูล เห็นของไม่ปฏิกูล
เป็นปฏิกูล เป็นต้น ตลอดจนสลัดทิ้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล

วางใจเฉยเป็นกลางอยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ทำได้ตามต้องการ- (ม.อุ.14/863/546)
เป็นผู้มีสติควบคุมตนได้ เรียกว่าเป็นคนที่ฝึกแล้ว- (ขุ.สุ.25/331/398 ฯลฯ)
หรือ ผู้ชนะตนเองซึ่งเป็นยอดของผู้ชนะในสงคราม (ขุ.ธ.25/18/28)
มีจิตหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปตามอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ เหมือนภูเขาหินใหญ่ไม่หวั่นไหว
ด้วยแรงลม- (องฺ.ฉกฺก.22/326/423)
หรือ เหมือนผืนแผ่นดินเป็นต้นที่รองรับทุกสิ่ง ไม่ขัดเคืองผูกใจเจ็บต่อใครไม่ว่าจะทิ้งของดีของเสีย
ของสะอาดไม่สะอาดลงไป (ขุ.อ.25/17/27 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกด้านหนึ่งของความหลุดพ้นเป็นอิสระ คือ ความไม่ติดในสิ่งต่างๆ ซึ่งท่านมักเปรียบกับใบบัวที่ไม่ติด
ไม่เปียกน้ำ และดอกบัวที่เกิดในเปือกตมแต่สะอาดงามบริสุทธิ์ ไม่เปื้อนโคลน
(ขุ.สุ.25/371/436; 413/493 ฯลฯ) เริ่มตั้งแต่ไม่ติดในกาม ไม่ติดในบุญบาป ไม่ติด
ในอารมณ์ต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้ต้องรำพึงหลังหวังอนาคต ดังบาลีว่า

“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่
เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณของท่านจึงผ่องใส
ส่วนชนผู้อ่อนปัญญาทั้งหลาย เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วง
แล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้กลางแสงแดด”
(สํ.ส.15/22/7)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 18:54
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะพ้นโลก หลุดจากห่วงสุดท้ายได้ คือว่างจากรักได้ จะไม่มีการเกิดทั้งปวงอีก. :b41:

.....................................................
การไม่มีตัวเราตัวเขาหรือตัวเขาตัวเราคือคนๆ เดียวกัน
หรือปลายสุดคือความว่างเปล่าแล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 20:17
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


ในกาลใดแล.. ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
ในกาลนั้น.. ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ.

(๓๘/๙๖ โพธิสูตร)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สวัสดีครับ :b8:

ผมลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบบ้างนะครับอาจารย์ทุกท่าน

ยกตัวอย่างเราจะเดินทางไป จ.เชียงใหม่ ม๊ากมาก (หาทางออกจากทุกข์)

แต่เราไม่เคยไป ไม่รู้จะไปอย่างไร (ไม่มีวิชชา)

ต่อมามีผู้มาบอกกล่าวทาง (กัลยาณมิตร)

อธิบายแผนที่ให้ดู (รู้ธรรมคืออริยสัจสี่)

เราเข้าใจทางไปอย่างถ่องแท้ ไม่หลงทาง ออกนอกทาง ไม่หวนกลับ (ดวงตาเห็นธรรม)

จิตใจพบกับภาวะลิงโลด ดีใจยิ่งนัก เหมือนบุคคลหลงป่า หาทางออกจากป่าได้สำเร็จ

(การได้ชื่อว่าเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมนั้น อาจกล่าว่าเป็นการบรรลุธรรมชั้นต้นแล้ว
เป็นการก้าวเข้าสู่ทางอริยบุคคลคือพระโสดาบัน)

เริ่มออกเดินทางไปเชียงใหม่ (ตามทางอริยมรรค ) ทางที่เดินคือ มรรค เป้าหมายคือ ผล

เป้าหมายที่ 1 คือ จ.ลพบุรี (สกทาคามี)

ถึง จ.ลพบุรี...... จิตใจมั่นคง แน่ใจ คลายกังวล (ละกิเลสได้บ้าง) ใจยินดีปรีดามากขึ้น

เป้าหมายที่ 2 คือ จ.นครสวรรค์ (อนาคามี)

ถึง จ.นครสวรรค์ ใจปิติ คลายกังวล สงบมากขึ้น(กิเลสลดน้อยลง)ว่าถึงแน่ ชัวร์ป้าบ

เป้าหมายที่ 3 จ.เชียงใหม่ (อรหันต์/นิพพาน)

ถึง จ.เชียงใหม่ ใจเลิกกังวลแล้ว มาถึงแล้ว ใจสุขมาก สงบมาก ไม่มีใดเกิน

(กิเลสหมดสิ้น)

เปรียบเทียบง่ายๆอย่างนี้แบบโลกๆไปก่อนนะครับ

เพราะผมก็ไม่เคยสัมผัสจริงแต่ของจริง
หรือสุขสงบจริงในนิพพานนั้นคงประเสิรฐสุดมากกว่านี้ยิ่งนัก.....

:b4:

สวัสดีครับ

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:
การบรรลุธรรมนั้นหมายถึงอะไรและผู้ที่บรรลุธรรมแล้วควรได้รับผลและมีจิตที่เป็นอย่างไรในความคิดของทุกท่านขอให้ทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ


(ความเห็นส่วนตัวครับ)
บรรลุธรรมนั้นหมายถึงอะไร การรู้ความเป็นจริงของธรรมชาติ
เบื้องต้นก็ เช่น ไฟมันร้อน ตีระฆังแล้วมีเสียง เป็นต้น
เบื้องลึกก็ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ไม่ไช่ตัวตน เป็นต้น

จิตก็จะรู้เองตามความเป็นจริง ก็แค่นั้นครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:
การบรรลุธรรมนั้นหมายถึงอะไร

- หมายถึง จิตที่ยอมรับ"ความจริง"ด้วยปัญญา (เห็นอริยะสัจ)
มี 4 ระดับ



Puy เขียน:
ควรได้รับผลและมีจิตที่เป็นอย่างไร

- สมรรถนะจิตนั้น ขึ้นอยู่กับระดับที่บรรลุนะครับ ผมจำได้ไม่หมด

1. โสดาบันนั้น สิง่สำคัญคือ
- สามารถเห็นกายต่างหาก จิตต่างหาก
เรียกปัญญาแยกรูปนามนี้ว่า "นามรูปปริจเฉทญาน" หมายถึงว่าแยกรูปนามได้
ทำให้เห็นความจริงว่า ร่างกายไม่ใช่ของเรา จิตก็ไม่ใช่ของเรา (ละสักกายทิฐิได้)
- เห็นความขาดออกจากกันของรูป ไม่เห็นว่ารูปความสืบเื่นื่องเป้นอันเดียวกัน
เห็นรูปเกิดดับ เห็นรูปทั้งที่เพิ่งดับไป และรูปที่เกิดใหม่
- เห็นความขาดออกจากกันของนาม ไม่เห็นว่าจิตมีความสืบเื่นื่องเป้นอันเดียวกัน
เห็นจิตเกิดดับ เห็นจิตทั้งที่เพิ่งดับไป และจิตที่เกิดใหม่

2. สกทาคามี จำไม่ได้
3. อนาคามี จำได้บางส่วนว่ามีการถอนเรื่องกามได้หมดจรด
4. อรหันต์ ผู้แจ้งในนิพพาน

ครูอาจารย์ที่ผมนับถือสอนว่า เอาแค่โสดาบันให้ได้ก่อน
ถ้ายังไม่ได้โสดาบันอย่าไปสนใจสิ่งที่เหนือกว่านั้นเลย
ต่อให้รู้ได้มันก็แค่คิดๆไปเองตามที่ได้ยินได้ฟัง
ถ้าแจ้งในโสดาบันแล้ว เรื่องที่เหลือค่อยว่ากันก็ไม่สาย

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ

อุบาสิกา. พ่อคุณทั้งหลาย ชื่อว่าสมณธรรมนั้นคืออะไร?
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันทำการสาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพอยู่.
อุบาสิกา. ท่านเจ้าขา การทำการสาธยายอาการ ๓๒#- และการเริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ ย่อมสมควรแก่พวกท่านเท่านั้น หรือย่อมสมควรแก่พวกดิฉันด้วยเล่า?
____________________________
#- คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ถ้าเติมมัตถลุงคัง มันสมองเข้าด้วย เป็น ๓๒ ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ธรรมนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงห้ามแก่ใครๆ.
อุบาสิกา. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงให้อาการ ๓๒ และขอจงบอกการเริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ แก่ดิฉันบ้าง.
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนเอา. แล้วให้เรียนเอาทั้งหมด.

อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ
จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ) เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มาถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล.
นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า “เมื่อไรหนอแล? พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ?” เห็นว่า “มี” ดังนี้แล้ว จึงรำพึง (ต่อไป) ว่า “เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมีหรือไม่มีหนอ?” เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือหนอ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ?” ก็ได้เห็นว่า “อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ.”
จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู๑- อันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน้ำทักษิโณทก๒- แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า “ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใดๆ ขอจงถือเอาสิ่งนั้นๆ ฉันเถิด.”
ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภคตามความชอบใจ.
____________________________
๑- แปลตามพยัญชนะว่า …ยังข้าวยาคูมีอย่างต่างๆ ด้วย ยังของเคี้ยวมีประการมิใช่น้อยด้วย ยังโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ด้วย ให้ถึงพร้อมแล้ว.
๒- แปลว่า น้ำเพื่อทักษิณา.

ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหัต
เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า
“น่าขอบคุณ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่), บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จักไปสู่สำนักของพระศาสดา”


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=2
.....................

ความคิดเห็น...ผู้โพส
1. ต้องมีอุปนิสัย....คือได้ทำบุญมาแต่ปางก่อน แล้วอธิฐานว่าให้บรรลุธรรม
2. ต้องได้ ฟังสัจธรรม (อันนี้ ในเวปนี้ มีมาก)
3. ต้อง ปฎิบัติ.....ตามสัจธรรมนั้น (อันนี้ พูด ง่าย ทำยาก)

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณ puy

ได้รับข้อความที่คุณฝากไว้ที่สเปสแล้ว การฝากข้อความที่สเปส คุณสามารถเข้าไปฝากไว้ที่แบบที่คุณฝากไว้หรือเข้าไปที่คอมเม้น หรือ จะเข้าไปฝากที่ข้อความส่วนตัวก็ได้ค่ะ เพราะพอดิฉันเข้าไปที่สเปสของตัวเอง ข้อความจะโชว์ขึ้นมาเองค่ะ ที่เว็บบอร์ดนี้ คุณจะฝากข้อความทิ้งไว้ก็ได้ค่ะ เข้าไปที่ข้อมูลส่วนตัว โดยคุณคลิกไปที่ชื่อของดิฉัน แล้วจะมีรูปสำหรับเขียนข้อความ ตรงภาอังกฤษว่า pm. แล้วกดส่งข้อความได้ เมื่อดิฉันเข้าระบบสมาชิกมา ก็จะมีข้อความบอกว่า คุณมีข้อความใหม่ และก็สำหรับข้อความที่ดิฉันนำมาโพสนั้น คุณสามารถนำไปเก็บไว้เป็นการส่วนตัวได้เลยค่ะ ต่อไปนี้ไม่ต้องขออนุญาติแล้วค่ะ

ผู้ที่หมั่นสำรวมในอายตนะ ย่อมระวังรักษาศิล แม้เป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อย ย่อมระวัง อนุโมทนากับกุศลจิตด้วยค่ะ :b8:

อนุโมทนาในความเพียรค่ะ :b8:

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

บรรลุธรรม ก็น่าจะหมายถึง การเข้าใจถึงสัจจะธรรม ตามความเป็นจริง อย่างแจ่มแจ้ง อันเป็นเหตุ ที่จะมีผลตามมาก็คือ สภาวะจิตของผู้นั้นไม่หลงผิดในอวิชชา ซึ่งอวิชชานั้นเป็นต้นตอแห่งทุกข์
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง... :b41:
.........................
๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ]
๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม]
๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย]
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]
....................... :b42:

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: เอ้า...เอาทฤษฎีบ้างนะครับ :b8:

การบรรลุธรรมคือการได้เป็นอริยบุคคล

คือ บุคคลที่มีความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ และสามารถปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ จนสามารถดับกิเลสที่ผูกมัดจิตใจมนุษย์ ๑๐ อย่างให้ลดลงหรือหมดไป(ละสังโยชน์ ๑๐) ตามระดับความรู้และความสามารถทางธรรมที่มีอยู่ในความจำขณะนั้น ซึ่งเป็นปัจจุบันขณะหรือปัจจุบันธรรม.

อริยบุคคลมี ๔ ระดับได้แก่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี(หรือสกทาคามี) พระอนาคามี พระอรหันต์ เรียงตามลำดับตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับสูงสุด.

การจะเป็นอริยบุคคลระดับใดและมีความต่อเนื่องเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ และความสามารถในการดับกิเลสและกองทุกข์ของแต่ละบุคคลในขณะนั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้และความสามารถทางธรรมเฉพาะตน.

กิเลสหรือสังโยชน์ที่อริยบุคคลต้องละ

กิเลส คือ สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ซึ่งประกอบด้วยความโลภ โกรธ หลง.

สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดจิตใจมนุษย์ให้เกิดความทุกข์มี ๑๐ ข้อ ซึ่งเป็นการขยายความของความโลภ โกรธ หลง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการละกิเลสในระดับต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการประเมินผลด้วย.

การเลื่อนระดับของอริยบุคคลนั้น เป็นเรื่องของการเลื่อนระดับของความรู้และความสามารถทางธรรมในการดับหรือละกิเลสที่ผูกมัดจิตใจมนุษย์ ๑๐ ข้อ เพื่อดับความทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้เอง.

ปุถุชนจะไม่มีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ (เพราะมีอวิชชา) ส่วนอริยบุคคลนั้น จะมีความรู้และความสามารถทางธรรมตามความเป็นจริง(รู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔) ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(มีวิชชา)ในระดับต่าง ๆ กัน.

การเลื่อนระดับสูงขึ้นของอริยบุคคล คือ ความก้าวหน้าของความรู้และความสามารถในการละกิเลสต่าง ๆ ที่ผูกมัดจิตใจ(สังโยชน์)ได้มากขึ้นตามลำดับ ซึ่งไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์ หรืออิทธิฤทธิ์ หรือผลบุญในอดีต แต่เป็นเรื่องของความรู้ความสามารถในด้านสติปัญญาทางธรรม(มีวิชชา)ในปัจจุบันขณะนี่เอง

การบรรลุธรรม หมายถึงการที่บุคคลที่สามารถในการเริ่มละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก(เริ่มละความหลงหรืออวิชชา)ได้บ้างแล้ว ด้วยการเริ่มมีความรู้หรือความเข้าใจในเรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(มีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน).

พระโสดาบันจึงเป็นเพียงผู้เริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา) เพราะเพิ่งเริ่มศึกษาอริยสัจ ๔ และฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ อย่างถูกต้อง. ดังนั้น พระโสดาบันจึงต้องมีกิจที่ต้องทำอีก คือ ต้องศึกษาอริยสัจ ๔ และฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพิ่มเติมอีก จนกว่าจะพ้นความทุกข์ได้อย่างต่อเนื่อง(เป็นพระอรหันต์).

ในสมัยพุทธกาล พระโสดาบัน คือ บุคคลที่มาฟังธรรม(ศึกษาธรรม)แล้วเริ่มมีความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ ที่ถูกต้องและครบถ้วนตามสมควร เรียกว่า ผู้มีดวงตาเห็นธรรม แต่เนื่องจากพระโสดาบันยังมีกิเลส(โลภ โกรธ หลง)เหลืออยู่มาก ดังนั้น พระโสดาบัน จึงเป็นเพียงผู้เริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา)*.

พระสกิทาคามี คือ บุคคลที่มีกิเลส(โลภ โกรธ หลง)ลดน้อยลงตามลำดับ.

พระอนาคามี คือ บุคคลที่ละกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำได้หมด.


พระอรหันต์ คือ บุคคลที่ดับความหลง(ดับอวิชชา)ได้หมดสิ้น จึงไม่คิดด้วยกิเลส(ไม่มีสังขารในปฏิจจสมุปบาท) และไม่มีความทุกข์ที่เกิดจากความคิดที่เป็นกิเลสอีกเลย คงมุ่งปฏิบัติตนตามโอวาทปาฏิโมกข์ จิตใจจึงมีความบริสุทธิ์ผ่องใส เข้าถึงภาวะความดับทุกข์(นิโรธหรือนิพพาน)ได้อย่างต่อเนื่อง.

การบรรลุธรรม/พระโสดาบัน/เพราะอริยสัจสี่

นางวิสาขา เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ พร้อมกับเพื่อนทั้งหมด เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ต่างก็มีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน จึงเป็นพระโสดาบันทั้งหมด เพราะเริ่มรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง.

ท่านอุปติสสะ(ชื่อเดิมของพระสารีบุตร)ได้ฟังธรรมเรื่องอริยสัจ ๔ จากพระอัสสชิ(หนึ่งในปัญจวัคคีย์)เพียงครั้งเดียว เมื่อฟังจบ ก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมตามความเป็นจริง จึงเป็นพระโสดาบัน.

ในวันเดียวกัน ท่านอุปติสสะได้ไปเล่าเรื่องอริยสัจ ๔ ที่จดจำมาได้ให้กับท่านโกลิต(ชื่อเดิมของพระโมคคัลลานะ)ฟัง เมื่อท่านโกลิตฟังจบ ก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันในวันเดียวกันนั้นเอง.

โจรองคุลิมาล ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว เมื่อฟังจบก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันทันที.

พระเจ้าสุทโธทนะ(พระราชบิดาของพระพุทธเจ้า) ประทับยืนฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบนถนนเพียงครั้งเดียว เมื่อทรงฟังธรรมจบ ก็เริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือเป็นผู้ที่มีพระเนตรเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จึงเป็นพระโสดาบัน.

จะเห็นได้ว่า การเป็นพระโสดาบันนั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ขอเพียงให้ท่านได้ศึกษาอริยสัจ ๔ ด้วยสติปัญญาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามความเป็นจริง เพื่อเริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา)ได้ตรงประเด็น ซึ่งมีเนื้อหาไม่มากนัก(เปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือเดียว)

มีพุทธพจน์อยู่ตอนหนึ่ง ที่กล่าวถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน พอจะสรุปได้ว่า

“สาวกที่(เริ่ม*)มีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ และรู้จักทางออกจากความคิดที่ยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ในขันธ์ ๕ (รู้จักวิธีดับความคิดที่เป็นกิเลส*)ตามความเป็นจริง คือ พระโสดาบัน”

(พุทธธรรม หน้า ๓๕๕ ป.อ.ปยุตโต).๗๒

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48:
อาจกล่าวว่าการบรรลุธรรมคือ “การเริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔“ นั่นเอง

:b4: :b4: :b4:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 140 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร