วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 13:33 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก...พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

ผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็น ปริยายกว้างขวาง ครั้งมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย ฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วต้อง เก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา กำหนดรู้เท่ามหาสมบัติ-มหานิยม อันเอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้า อากาศกลางหาว ดาวนักขัตฤกษ์สารพัดสิ่งทั้งปวง อันเจ้าสังขารคืออาการจิต หากออกไปตั้งไว้บัญญัติไว้ว่าเขาเป็นนั้นเป็นนี้ จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่า กำหนดทุกข์ สมุทัย เมื่อทำให้มาก-เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว จิตก็จะ รวมลงได้ เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้ว นิโรธ ก็ไม่ต้องกล่าวถึง หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ในกาย วาจา จิต นี้ที่เรียกว่าอกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อโอปนยิโก เมื่อผู้ ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว คือ มาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะเปื่อยเน่า แตกพังลง ไป ตามสภาพความเจริญของภูตธาตุ ปุเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อนสว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและ กลางคืน

ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้ อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุย โคลนตากแดดกรำฝน จึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าว สุกมาได้และได้บริโภคอิ่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็อยู่ใน กาย วาจา จิต ของ ทุกคนฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 13:38 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอน....โดยพระอาจารย์มั่น

การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก...
การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยื่ยม
จุดที่เยี่ยมยอดของโลก คือ ใจ
ควรบำรุงรักษาด้วยดี
ได้ใจแล้ว คือ ได้ธรรม
เห็นใจแล้ว คือ เห็นธรรม
รู้ใจแล้ว คือ รู้ธรรมทั้งมวล
ถึงใจตน แล้วคือ ถึงพระนิพพาน

..............................................................................

ใจนี้ คือ สมบัติอันล้ำค่า
จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป
คนพลาดใจ คือ คนไม่สนใจปฏิบัติต่อดวงใจดวงวิเศษในร่างนี้
แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ ก็คือผู้เกิดพลาดอยู่นั่นเอง

..............................................................................

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะแยกกันไม่ได้
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ต้องอิงอาศัยกันอยู่ฉันใดก็ดี
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็อาศัยกันอยู่อย่างนั้น
สัทธรรมสามอย่างนี้ จะแยกกันไม่ได้เลย

..............................................................................

ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ “ตน” ว่าเสวย เป็นอันผิดทั้งนั้น

..............................................................................

ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก

..............................................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 13:45 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทาน - ศีล - ภาวนา

ทาน คือ เครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง มีเมตตาจิต ต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ด้วยการให้ การเสียสละแบ่งปัน มากน้อยตามกำลังของวัตถุ เครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากกุศล คือ ความดีที่ได้จากทานนั้น เป็นสิ่งตอบแทนที่เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น อภัยทานควรให้แก่กัน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน คนมีทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผย และเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพรักในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตนย่อมไม่เป็นคนล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่น หนุนโลกให้ชุ่มเย็น การเสียสละจึงเป็นเครื่องค้ำจุนหนุนโลก การสงเคราะห์กันทำให้โลกมีความหมายตลอดไป ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติ ขาดกระเจิง เหลือแต่ซากแผ่นดิน ไม่แห้งแล้ง แข่งกับทุกข์ตลอดไป

ศีล คือ รั้วกั้นความเบียดเบียน และทำลายสมบัติร่างกายและจิตใจของกันและกัน ศีล คือ พืชแห่งความดียอดเยี่ยมที่ควรมีประจำทุกชาติมนุษย์ ไม่ปล่อยให้สูญหายไปเพราะมนุษย์ไม่มีศีลเป็นรั้วกั้น เป็นเครื่องประดับตัว จะไม่มีที่ให้ซุกหัวนอนหลับสนิทได้โดยปลอดภัย แม้โลกเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์ แต่ความรุ่มร้อนแผดเผา จะทวีคูณยิ่งกว่าพระอาทิตย์ ถ้ามัวคิดว่าวัตถุมีค่ามากกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นเพียงสมบัติของมนุษย์ พระพุทธเจ้าผู้ค้นพบ และนำมาประดับโลกที่กำลังมืดมิดให้สว่างไสว ร่มเย็นด้วยอำนาจศีลธรรมเป็นเครื่องปัดเป่าความคิดของมนุษย์ผู้มีกิเลส ผลิตอะไรออกมาทำให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งปล่อยให้ความคิดตามอำนาจโดยไม่มีศีลธรรมช่วยเป็นยาชโลมไว้บ้างจะผลิตยักษ์ใหญ่ทรงพิษขึ้นมา กว้านกินมนุษย์ จนไม่มีอะไรเหลืออยู่บ้างเลย ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่ทรงคุณค่าอย่างสูง คือพระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็นซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็นกิเลส มีผลให้ตนเองและผู้อื่น ได้รับความเดือดร้อนจนคาดไม่ถึง ผิดกันอยู่มาก ควรหาทางแก้ไข ผ่อนหนักให้เบาลงบ้าง ก่อนจะหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็นเหมือนยาปราบโรค ทั้งโรคระบาดและเรื้อรัง

ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผลอันจะเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรมจากภาวนาจึงเปรียบเหมือนสัตว์ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด ยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร จำต้องฝึกหัดให้ทำประโยชน์ถึงจะได้รับประโยชน์ตามควร ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัว จะเป็นผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนเล็กส่วนใหญ่ภายนอกภายใน ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจ จะทำอะไรชอบใช้ความคิดอ่านเสมอ ไม่เสี่ยงและไม่เกิดความเสียหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้อง

การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้มีภาวนา จะสำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญ เล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศ

ทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากดั้งเดิมเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูก ดี ชั่ว พาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย

ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลยแล้ว ของเก่าก็เสียไป ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้ ฉะนั้นการภาวนาจึงเป็นเครื่องหักล้างความไม่มีเหตุผลของตนได้ดี วิธีภาวนานั้นลำบากอยู่บ้าง เพราะเป็นวิธีบังคับใจ

วิธีภาวนาก็คือ วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิก ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยมีสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุข

ในขณะภาวนา ที่ให้ผลดีก็มี อานาปานสติ คือ กำหนดจิตตามลมหายใจเข้าออก

ด้วยคำภาวนา พุทโธ พยายามบังคับใจให้อยู่กับอารมณ์แห่งธรรมบทที่นำมาบริกรรม ขณะภาวนา พยายามทำอย่างนี้เสมอ ด้วยความไม่ลดละความเพียร จิตที่เคยทำบาปหาบทุกข์อยู่เสมอจะค่อยรู้สึกตัว และปล่อยวางไปเป็นลำดับ มีความสนใจหนักแน่นในหน้าที่ของตนเองเป็นประจำ จิตที่สงบลงตัวเป็นสมาธิ เป็นจิตที่มีความสุขเย็นใจมากและจำไม่ลืม ปลุกใจให้ตื่นตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด

เมื่อพูดถึงการภาวนา บางท่านรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจว่า ตนมีวาสนาน้อย ทำไม่ไหว เพราะกิจการยุ่งยากทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน ตลอดงานสังคมต่างๆ ที่ต้องเป็นธุระ จะมานั่งหลับตาภาวนาอยู่ เห็นจะไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ทำให้ไม่อยากทำประโยชน์ที่ควรได้จึงเลยผ่านไป ควรพยายามแก้ไขเสียแต่บัดนี้ แท้จริงการภาวนาคือ วิธีแก้ความยุ่งยากลำบากใจทุกประเภทที่เป็นภาระหลัก ให้เบาและหมดสิ้นไป ได้อุบายมาแก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัว การอบรมใจด้วยการภาวนาก็เป็นวิธีแห่งการรักษาตัว เป็นวิธีที่เกี่ยวกับจิตใจผู้เป็นหัวหน้างานทุกด้าน

จิต จำต้องเป็นตัวการรับภาระแบกหาม โดยไม่คำนึงถึงความหนักเบาว่าชนิดใดพอยกไหวไหม จิตต้องรับภาระทันที ดี - ชั่ว - ผิด - ถูก - หนัก - เบา เศร้าโศกเพียงใด บางเรื่องแทบเอาชีวิตไปด้วย ขณะนั้นจิตใจยังกล้าเอาตัวเข้าเสี่ยงแบกหามจนได้ มิหนำซ้ำยังหอบเอามาคิดเป็นการบ้านอีกจนนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ก็มี คำว่า หนักเกินไป ยกไม่ไหวเกินกำลัง ใจจะคิดและต้านทานนั้นไม่มี งานทางกายยังมีเวลาพักผ่อนนอนหลับ และยังรู้ประมาณว่าควรหรือไม่ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจไม่มีเวลาได้พักผ่อนเอาเลย พักได้เล็กน้อยขณะนอนหลับเท่านั้น แม้เช่นนั้นจิตยังอุตส่าห์ทำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก ไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่างๆ นั้นควรแก่กำลังของใจเพียงใด เมื่อเกิดอะไรขึ้น ทราบแต่ว่าทุกข์เหลือทน ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงานหนัก และเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังใจจะสู้ไหว

ใจคือนักต่อสู้ ดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง สู้จนไม่รู้จักตาย หากปล่อยไปโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้งคงไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง

ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์ได้กองเท่าภูเขา ก็ยังหาความสุขไม่เจอ ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียวจะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใดก็เป็นเพียงโลกเศษเดน และกองสมบัติเดนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด ความทุกข์ทรมาน ความอดทน ทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิตอันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะ ก็คือ ภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต คือ นั่งพินิจพิจารณา ดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่าคิดอะไรบ้าง ในวันและเวลาที่นั่งๆ มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิดถูกของตัวบ้างไหม พิจารณาสังขารภายนอก ว่ามีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารร่างกายมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดลงไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจ

เสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการ

ให้ท่องอยู่ในใจเสมอว่า เรามีความแก่ เจ็บ ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน ป่าช้าอันเป็นที่เผาภายนอก และป่าช้าที่ฝังศพภายในคือตัวเราเอง เป็นป่าช้าร้อยแปดพันเก้าแห่งศพ ที่นำมาฝังหรือบรรจุจะอยู่ในตัวเราตลอดเวลาทั้งศพเก่าศพใหม่ทุกวัน พิจารณาธรรมสังเวช พิจารณาความตายเป็นอารมณ์ ย่อมมีทางถอดถอน ความเผลอเย่อหยิ่งในชีวิต และวิทยฐานะต่างๆ ออกได้ จะเห็นโทษแห่งความบกพร่องของตัว และพยายามแก้ไขได้เป็นลำดับมากกว่าจะไปเห็นโทษของคนอื่นแล้วมานินทาเขา ซึ่งเป็นความไม่ดีใส่ตน

นี่คือการภาวนา คือ วิธีเตือนตน สั่งสอนตน ตรวจตราดูความบกพร่องของตน ว่าควรแก้ไขจุดใดตรงไหนบ้าง ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อยๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง ด้วยการรำพึงในอิริยาบถต่างๆ บ้าง ใจจะสงบเย็นไม่ลำพองผยองตัว และความทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็นผู้รู้จักประมาณในหน้าที่การงาน ที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว ทั้งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่างๆ คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมาย ไม่อาจพรรณาให้จบสิ้นได้

ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง ๓ นี้

เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา

ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มา

อยู่ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติอย่างแท้จริง

พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร), มุตโตทัย การทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, (ม.ป.ป.).


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงอย่างหลวงปู่ว่าจริงๆล่ะครับ เจอกับตัวเองว่า
พอเริ่มได้ยินได้ฟังมากๆ แล้วปฏิบัติธรรมยากขึ้นจริงๆ
ใจมันคอยแต่จะคิดวิเคราะห์วิจารณ์ คอยเพ่ง คอยสอดส่อง
คอยสู่รู้ไปก่อนล่วงหน้า คอยกะเกณฑ์ว่าจะเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้
คอยทำอะไรที่มันเกินความเป็นจริงไป แล้วแก้ยากมากเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก
ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสุตะ อันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งานในสุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์
สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขา
สดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
ภิกษุ ท.!อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ
เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน :


นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.

- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 16:50
โพสต์: 175

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนุโมทนาสาธุด้วยครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร