วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 14:42
โพสต์: 121


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: จริงมั้ย :b6: ที่มนุษย์จะมองเรื่องเคราะห์หามยามร้ายมาก่อนเวรกรรม :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนอานนท์! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้
กรุงราชคฤห์ นี่เอง.ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉน
เราเข้าไปสู่อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด.
ดูก่อนอานนท์! เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น
กระทำสัมโมทยียกถาแก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

ดูก่อนอานนท์! ปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ได้กล่าวแก่เราผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า “ท่านโคตมะ!
มีสมณ-พราหมณ์บางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง;
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นกระทำให้;
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย;
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้.
ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา จะพูดว่าอย่างไร จะกล่าวว่าอย่างไร;
และพวกเรากล่าวอยู่อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว, ไม่เป็น
การกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม
จะไม่พลอยเป็นผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย?" ดังนี้.

ดูก่อนอานนท์! เราเมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว ได้ตอบแก่ปริพพาชกเหล่านั้นว่า
"ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทุกข์นั้นเรากล่าวว่า เป็นเพียงสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่าง
หนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันธรรม). ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเล่า?
ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือผัสสะ.
ผู้กล่าวอย่างนี้แลชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว,
ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคน
ที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น :
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง;
แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้.
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้;
แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้.
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย; แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้.
ถึงแม้สมณพรามหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้เกิดขึ้นได้ ก็ตาม; แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้ อยู่นั่นเอง.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น :
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง;
สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้.
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ ก็ตาม; สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้.
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ตาม; สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ดังนั้นหรือ : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้.
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม; สมณพราหมณ์พวกนั้นหนาเว้นผัสสะเสียแล้วจะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้", ดังนี้.

สูตรที่ ๔ ทสพลวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๔๑/๗๖, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่เวฬุวัน.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาของมนุษย์ครับที่เวลาเกิดเหตุร้ายหรือมีเรื่องอะไรไม่ดีๆ ก็มักจะกล่าวโทษผู้อื่น หรือถ้าไม่มีใครให้กล่าวโทษก็จะไปโทษว่าเป็นเรื่องของโชคร้าย ทั้งนี้เพราะทำใจยอมรับไม่ได้ว่าเรื่องร้ายต่างๆเกิดขึ้นจากตัวเอง(ผลกรรมของตน)

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


maw เขียน:
:b8: จริงมั้ย :b6: ที่มนุษย์จะมองเรื่องเคราะห์หามยามร้ายมาก่อนเวรกรรม :b48:


งง :b23:

ไม่เข้าใจ น่าจะยกตัวอย่างหน่อย :b5:


เคราะห์หามยามร้าย นี่มันน่าจะเป็นเรื่องของ เวลาที่ประสบ พบกับสิ่งที่ไม่ดี

เวรกรรม มันน่าจะหมายถึง การกระทำที่ผูกพันกันไว้ เกี่ยวเนื่องกันมา
:b34: :b34: :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 14:42
โพสต์: 121


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ตอบ K .ว่างเปล่า ถ้าวันหนึ่งกำลังเดินเที่ยวไปเจอกลุ่มวัยรุ่นกำลังทะเลาะวิวาท์กัน แล้วเจอลูกหลงอย่างนี้จะเรียกว่าอะไรดี :b41:
แต่ในด้านของข้าพเจ้าก็ยังมองเป็นเวรกรรมต่อกัน เพราะมนุษย์ถ้าไม่เคยมีการกระทำต่อกันมาไม่รู้ภพไหนชาติไหน ก็คงจะไม่ได้มาเจอกันมีเวรผูกต่อกันเช่น คนเคยรู้จักเขาเป็นเด็กดีมากตั้งใจเรียนไม่เกเร
เหมือนกับยกตัวอย่างข้างต้นนั่นละค่ะ ทางบ้านน้องคนนี้เขาถือว่าคงเป็นคราวเคราะห์ของเขาหรืออีกอย่างหนึ่งก็คงเป็นเมื่อชาติก่อนเคยกระทำกันมา :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 131 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร