วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ไม่เอาแล้วเหนื่อย ที่พิมพ์ๆไปลงถังขยะหมด ที่คุณพูดก็พอมีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างสับสน
เล่นประเด็นอื่นบ้างดีกว่านะขอรับ :b1:




ถูก! :b35:



ผมตอบสวนไปว่า:


ถ้าประเด็นเรื่องศีล ยังทำให้คนในเว็บไม่เห็นความจริง ผมยังไม่เล่นประเด็นอื่นหรอกครับ

มารและพวกมารในใจของชาวเว็บธรรมะ เขาจนตรอก และเข้ามุมแล้ว ผมต้องตามไล่บี้อัดให้น็อคเลย

เนื่องจาก ผมใช้หลักของเหมาเจ๋อตุง

" มันมาเรามุด มันหยุดเราแหย่ มันแย่เราตี มันหนีเราไล่ "


ด้วยเหตุนี้เอง ผมจึงต้องเขียนกระทู้นี้ขึ้น เพื่อจะช่วยให้ชาวเว็บธรรมะเข้าใจพุทธศาสนามากขึ้น และดีขึ้น ความจริงแล้ว การวิเคราะห์พุทธศาสนาต้องวิเคราะห์ด้วย สัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ด้วย มิจฉาทิฏฐิ

เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนว่า "ใจ"เป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง ดังนั้น การวิเคราะห์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จึงต้องเป็นการวิเคราะห์ที่"ใจ" เป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง ถ้าเราไปวิเคราะห์ว่า กายและวาจา เป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง อันนี้ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่เป็นศาสนาของมาร เป็นสัทธรรมปฏิรูป

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า

"ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ"

นี่เป็นการยืนยันว่า พวกที่วิเคราะห์โดยเอา กายเป็นใหญ่ กายเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยกาย พวกนี้เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ส่วนพวกที่วิเคราะห์โดยเอา ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ พวกนี้จึงควรเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ...จริงไหมครับ?

บังเอิญ ผมไปพบพุทธพจน์อีก 2 บท ที่ยืนยันคำกล่าวของผมได้ ผมจึงขอนำมาแสดงด้วย:

มะโนปุพพังคะ ธัมมา มะโนเสฏโฐ มะโนมะยา

1. ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นประธาน มีใจประเสริฐสุด จะสำเร็จก็อยู่ที่ใจ

- ธรรมทั้งหลาย = ธรรมชาติทุกอย่างทุกชนิด
- ใจเป็นผู้บงการ เป็นผู้กระทำ กาย และ วาจา เป็นเพียงบ่าว คอยรับคำสั่งจากใจเท่านั้น
- ศีล 5 จะเป็นบาปหรือไม่ ต้องดูว่าใจเป็นอกุศลหรือเปล่า จะโยนความผิดให้กาย และ วาจา ไม่ได้
- พูดอีกนัยหนึ่ง ในบรรดาอายตนะ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าใจไม่ได้เป็นอกุศล แม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย จะทำลงไป ก็ไม่ได้เป็นบาปกรรม

มะนะสา เจ ปะทุฏเฐนะ ภาสะติ วา กะโรติ วา

2. เมื่อใจของคนถูกโทษ คือ กิเลสประทุษร้าย เมื่อจะพูดหรือจะทำย่อมพูดชั่วกระทำชั่ว

- ข้อนี้ชัดยิ่งกว่าชัดว่า บาปอกุศลอยู่ที่ใจ ซึ่งเป็นนาย ไม่ใช่อยู่ที่วาจาและกาย ซึ่งเป็นบ่าว เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราจะวิเคราะห์ศีล 5 ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

ผมหวังว่า ตั้งแต่นี้ไป ชาวเว็บธรรมะคงจะวิเคราะห์เรื่องศีล 5 ด้วยใจ มากกว่าด้วยวาจาและกายนะครับ เพราะการวิเคราะห์แบบนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ พวกมารเขาลวงเรามา 2000 ปีแล้ว ให้วิเคราะห์ศีล 5 แบบสัมมาทิฏฐิไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนว่า "ใจ"เป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง ดังนั้น การวิเคราะห์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จึงต้องเป็นการวิเคราะห์ที่"ใจ" เป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง ถ้าเราไปวิเคราะห์ว่า กายและวาจา เป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง อันนี้ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่เป็นศาสนาของมาร เป็นสัทธรรมปฏิรูป

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า

"ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ"

นี่เป็นการยืนยันว่า พวกที่วิเคราะห์โดยเอา กายเป็นใหญ่ กายเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยกาย พวกนี้เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ส่วนพวกที่วิเคราะห์โดยเอา ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ พวกนี้จึงควรเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ...จริงไหมครับ?

บังเอิญ ผมไปพบพุทธพจน์อีก 2 บท ที่ยืนยันคำกล่าวของผมได้ ผมจึงขอนำมาแสดงด้วย:

มะโนปุพพังคะ ธัมมา มะโนเสฏโฐ มะโนมะยา

1. ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นประธาน มีใจประเสริฐสุด จะสำเร็จก็อยู่ที่ใจ

- ธรรมทั้งหลาย = ธรรมชาติทุกอย่างทุกชนิด
- ใจเป็นผู้บงการ เป็นผู้กระทำ กาย และ วาจา เป็นเพียงบ่าว คอยรับคำสั่งจากใจเท่านั้น
- ศีล 5 จะเป็นบาปหรือไม่ ต้องดูว่าใจเป็นอกุศลหรือเปล่า จะโยนความผิดให้กาย และ วาจา ไม่ได้
- พูดอีกนัยหนึ่ง ในบรรดาอายตนะ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าใจไม่ได้เป็นอกุศล แม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย จะทำลงไป ก็ไม่ได้เป็นบาปกรรม

มะนะสา เจ ปะทุฏเฐนะ ภาสะติ วา กะโรติ วา

2. เมื่อใจของคนถูกโทษ คือ กิเลสประทุษร้าย เมื่อจะพูดหรือจะทำย่อมพูดชั่วกระทำชั่ว

- ข้อนี้ชัดยิ่งกว่าชัดว่า บาปอกุศลอยู่ที่ใจ ซึ่งเป็นนาย ไม่ใช่อยู่ที่วาจาและกาย ซึ่งเป็นบ่าว เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราจะวิเคราะห์ศีล 5 ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

ผมหวังว่า ตั้งแต่นี้ไป ชาวเว็บธรรมะคงจะวิเคราะห์เรื่องศีล 5 ด้วยใจ มากกว่าด้วยวาจาและกายนะครับ เพราะการวิเคราะห์แบบนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ พวกมารเขาลวงเรามา 2000 ปีแล้ว ให้วิเคราะห์ศีล 5 แบบสัมมาทิฏฐิไม่ได้


อันนี้อนุโมทนา ไม่มีอะไรที่ไม่เห็นด้วยเลย แล้วก็ไม่เคยมีใครไปแย้งคุณในเรื่องนี้เลยสักครั้งเดียว

แต่เดี๋ยวคอยดูลุงเหมา แกจะเมาไปถึงไหนต่อไหน

เริ่มต้นดีแล้ว แต่เด๊ี๋ยวมันจะต้ิองมีที่สะดุด

แต่เชิญไปเถอะนะครับ ลุงเหมา จะยุดจะแหย่อะไรผมก็เหนื่อยแล้วเหมือนกัน
ตัวใครตัวมันจ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
วิเคราะห์ศีล 5 แบบใดเป็น สัมมาทิฏฐิ แบบใดเป็น มิจฉาทิฏฐิ


ตอบ = ศีลห้าแบบพลศักดิ์ไงเป็นมิจฉาทิฐิ
ย้ำ!! ฟันธง!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานคือศีลข้อหนึ่งให้ชาวพุทธสมาทานนั้น

พระองค์ไม่ได้ตรัสแม้แต่น้อยว่า ศีลข้อนี้อนุญาตให้ชาวพุทธฆ่าสัตว์ตัดชีวิตได้ในบางกรณี

ความหมายของศีลข้อนี้ตามพุทธบัญญัติคือจงใจละเว้นจากการฆ่าสัตว์ในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้น

พุทธศาสนานั้นไม่ยอมรับการฆ่าในทุกกรณี นอกจากการไม่ฆ่าด้วยตนเองแล้ว การเกี่ยวข้องกับการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธพึงหลีกเลี่ยง ดังนั้น นอกจากศีลข้อที่หนึ่งแล้ว ยังมีหลักธรรมคำสอนว่า ด้วยมิจฉาวณิชชา หรือการค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรประกอบ สามในห้าข้อ ได้แก่ การค้าขายอาวุธ การเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย (เอาเนื้อ) และการค้าขายยาพิษ ล้วนเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการฆ่า ซึ่งชาวพุทธไม่ควรข้องแวะ

ในความเป็นจริงของชีวิต การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลยนั้นทำได้ยาก เพราะในการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้นั้นบ่อยครั้งก็จำต้องอาศัยชีวิตของสัตว์อื่นเป็นอาหาร แม้กระนั้นการฆ่าชีวิตอื่นเพื่อความอยู่รอดก็ยังถือว่าผิดศีลในทางพุทธศาสนาอยู่นั่นเอง (ด้วยเหตุนี้จึงทรงสอนให้ชาวพุทธกินอาหารเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ร่างกายอยู่ได้ มิใช่เพื่อความเอร็ดอร่อยหรือโก้เก๋) ในประเทศศรีลังกา ตั้งแต่อดีตมาชาวพุทธจึงหลีกเลี่ยงอาชีพประมงหรือฆ่าสัตว์ ปล่อยให้คนศาสนาอื่นมาทำอาชีพนี้แทน ส่วนคนไทยใช้วิธีหลีกเลี่ยงบาปหนักด้วยการกินปลาเป็นพื้น เพิ่งมาระยะหลังนี้เองที่กินสัตว์ใหญ่กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แม้กระทั่งวัวควายที่ช่วยทำไร่ ไถนา ก็ไม่ละเว้น

แต่ฆ่าอะไรก็ไม่หนักหนาเท่ากับการฆ่ามนุษย์ พุทธศาสนาไม่ยอมรับการฆ่ามนุษย์ในทุกกรณีแม้มนุษย์ผู้นั้นจะเป็นโจรใจบาป

ท่าทีของพุทธศาสนาในเรื่องนี้ปรากฏอย่างชัดเจนในชาดกเรื่องเตมีย์ใบ้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะมาบังเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

พระเตมีย์เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี เมื่อครั้งเป็นทารกทรงเห็นพระราชบิดาลงโทษโจรด้วยการเฆี่ยนตี ล่ามโซ่ ร้ายกว่านั้นคือเอาหอกแทงและหลาวเสียบ ทรงเกิดความสะดุ้งใจ

ต่อมาทรงระลึกชาติได้ว่าในอดีตพระองค์เคยครองราชย์ในกรุงพาราณสี ๒๐ ปี ครั้นสิ้นพระชนม์ก็ตกนรกหมกไหม้นานถึง ๘๐,๐๐๐ ปี เนื่องจากได้สั่งประหารชีวิตผู้คนไว้มาก

พระองค์เกรงว่าถ้าได้เสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินก็จะต้องตกนรกเพราะทำกรรมหนักอีก จึงแกล้งทำเป็นใบ้หูหนวกและง่อยเปลี้ยเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบต่อจากพระราชบิดา



ใช่แต่การฆ่าโจรร้ายเท่านั้น แม้การฆ่าศัตรูที่มารุกรานก็ถือว่าผิดศีล มิใช่วิสัยของชาวพุทธ มีชาดกหลายเรื่องที่กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าในชาติก่อนๆ) ที่ใช้ธรรมะหรือสันติวิธีเอาชนะผู้รุกราน เช่น พระเจ้าสีลวะที่ปฏิเสธการสู้รบเมื่อพระเจ้าโกศลยกทัพมาประชิดพระนครทั้งนี้เพราะไม่ประสงค์ให้มีคนล้มตาย แม้จะถูกส่งไปไห้สุนัขป่ากิน ก็ไม่ถือโทษโกรธเคืองศัตรู เมื่อหนีรอดมาก็ได้กลับมายึดราชบัลลังก์คืนโดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ อีกเรื่องหนึ่งคือมโหสถ (หนึ่งในทศชาติ) ที่เอาชนะกองทัพผู้รุกรานด้วยการใช้ "ธรรมยุทธ" นั่นคือการชนะด้วยปัญญาและไหวพริบปฏิญาณ

การฆ่าหรือความรุนแรงนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในทรรศนะของพุทธศาสนา เพราะ "เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร" และ "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์" การฆ่าย่อมก่อให้เกิดการฆ่าไม่สิ้นสุด ดังนั้น เมื่อมีปัญหาโจรผู้ร้าย พระพุทธองค์จึงไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามด้วยการใช้กำลัง หากทรงแนะนำให้ผู้ปกครองปรับปรุงเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน โดยการให้ทุน เช่น พืชพันธุ์ อาหาร และเงิน แก่บุคคลอาชีพต่างๆ

การแก้ปัญหาโดยหลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่ใช้สันติวิธีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย หากต้องอาศัยปัญญาและกรุณามาก โดยเฉพาะเมื่อปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับโจรผู้ร้ายหรือผู้ที่มีอาวุธอยู่ในมือ แต่สำหรับชาวพุทธ การแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามจะต้องเริ่มจากความตระหนักว่าความรุนแรงนั้นไม่ใช่วิถีของชาวพุทธ แม้ความรุนแรงนั้นจะกระทำด้วยเจตนาที่ดีเพียงใดก็ตาม ยิ่งการฆ่าด้วยแล้ว มิใช่วิสัยของชาวพุทธที่จะให้ความสนับสนุน อย่าว่าแต่จะลงมือกระทำเลย แน่นอนปัญหาและกรุณาของปุถุชนคนเรานั้นมีขีดจำกัด บางครั้งเรามองไม่เห็นหนทางอื่นนอกจากความรุนแรง บ่อยครั้งความโกรธเกลียดเข้ามาครอบงำใจจึงตอบโต้ด้วยกำลัง ในกรณีเช่นนั้นพึงตระหนักว่าเราได้คลาดเคลื่อนจากวิถีแห่งพุทธแล้ว และต้องพร้อมรับผลจากการกระทำนั้นๆ ขณะเดียวกันก็พึงแก้ปัญหาปรับปรุงตนเองให้ตั้งมั่นในอหิงสธรรม และไม่พึงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำสิ่งผิดพลาดเช่นเดียวกับเรา

บุคคลแม้จะเลวร้ายเพียงใด เป็นอาชญากร หรือผู้ค้ายาบ้า ก็ตามใครๆ ก็ไม่มีสิทธิตัดรอนชีวิตของเขาได้ เพราะมิใช่เป็นเจ้าของชีวิตของเขา การฆ่าไม่เพียงก่อความทุกข์แก่เขาและตัดรอนโอกาสที่จะได้กลับตัวกลับใจเท่านั้น หากยังก่อวิบากกรรมและบ่มเพาะอกุศลจิตแก่ผู้ลงมือกระทำปาณาติบาตด้วย แม้จะทำด้วยเจตนาดีต่อส่วนรวม คือเพื่อขจัด "คนชั่วร้าย" ออกไปจากสังคมก็ตาม แต่ยิ่งเราใช้ความรุนแรงขจัดคนชั่วร้าย อกุศลจิตจากปาณาติบาตดังกล่าวยิ่งสั่งสมมากขึ้น จนในที่สุดสามารถเปลี่ยนเราให้กลายเป็นคนชั่วร้ายใจคอโหดเหี้ยมเสียเอง

ฮิตเลอร์

สตาลิน

และ พอลพต

ล้วนเป็นผู้ที่กระเหี้ยนกระหือรือในการไล่ล่าสังหารคนชั่วร้ายให้หมดไปจากประเทศของเขา สุดท้ายเขาเหล่านั้นกลับกลายเป็นคนชั่วร้ายยิ่งกว่าคนที่เขาต้องการกำจัดเสียอีก

มิไยต้องเอ่ยถึงบินลาเดนกับสงครามศักดิ์สิทธิ์ของเขา อันที่จริงไม่ต้องดูอื่นไกล

ตำรวจที่ชอบใช้วิธีการดิบเถื่อนในการปราบโจร ในที่สุดมักมีจิตใจและพฤติกรรมไม่ต่างจากโจร กล่าวอีกนัยหนึ่งความชั่วร้ายนั้นสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยมีความรุนแรงเป็นพาหะ ตราบใดที่ยังมีความโกรธเกลียดอยู่ในใจ ย่อมง่ายที่จะรับเอาความชั่วร้ายนั้นเข้ามาในสันดานทุกครั้งที่ไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรง

ความชั่วร้ายไม่มีวันหมดไปจากสังคมได้ตราบใดที่สังคมนั้นยังนิยมกำจัดคนชั่วร้ายด้วยการฆ่า เพราะการฆ่านั้นจะคอยบ่มเพาะคนชั่วร้ายคนแล้วคนเล่าให้มาแทนที่คนเก่าที่ถูกกำจัด ยิ่งไปกว่านั้นก็คือเมื่อมีการฆ่ากันบ่อยเข้า วัฒนธรรมแห่งความรุนแรงก็แพร่ระบาดและฝังลึก ผู้คนเห็นกันและกันเป็นผักปลามากขึ้นเรื่อย ๆ มิคสัญญีก็เกิดขึ้นตามมา เมื่อฆ่าคนชั่วได้ง่ายดาย ต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะฆ่าคนบริสุทธิ์ถ้าหากเขาขัดผลประโยชน์ เป็นเพราะทำวิสามัญฆาตกรรมกันเป็นอาจิณใช่หรือไม่การสังหารสองแม่ลูกตระกูลศรีธนขันธ์ ในกรณีเพชรซาอุ เมื่อแปดปีก่อนโดยน้ำมือของคนที่ได้ชื่อว่าผู้พิทักษ์สันติราษฎร์จึงเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ไม่จำต้องพูดถึงกรณีอื่น ๆ ทั้งก่อนหน้าและภายหลังจากนั้นอีกมากมาย

สังคมใดที่สนับสนุนให้มีการฆ่ากันมากขึ้นโดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรมและศีลธรรม สังคมนั้นย่อมหาความสุขสงบได้ยาก เพราะอาวุธที่ใช้กำจัดคนชั่วร้ายในที่สุดจะหันกลับมาทำร้ายสุจริตชนในสังคมนั้น นี้เป็นกฎแห่งกรรมที่เราพึงสังวรให้มาก

ในยามที่ผู้คนเห็นดีเห็นงามกับปรากฏการณ์ "ฆ่าทั่วไทย" ในสงครามปราบยาเสพติด พระสงฆ์องค์เจ้าน่ามีบทบาทในการเตือนสติผู้คน รวมทั้งท้วงติงที่รัฐบาลที่สนับสนุนอย่างน้อยก็โดยอ้อมให้เกิดปรากฏการณ์ด้งกล่าว ในยามนี้แทนที่จะสนับสนุนให้รัฐใช้ปาณาติบาตกับอาชญากร จำเป็นอย่างยิ่งที่พระสงฆ์จะต้องยืนยันและเน้นย้ำ

คำสอนของพระบรมศาสดาว่า ปาณาติบาตนั้นเป็นกรรมหนักที่ก่อผลเสียแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในยามนี้สิ่งที่พระสงฆ์พึงทำคือตั้งมั่นในจุดยืนของชาวพุทธ นั่นคือปฏิเสธการฆ่าในทุกกรณี แม้จะขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลก็ตาม

ในเรื่องนี้ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นแบบอย่างที่น่าศึกษา เมื่อครั้งที่ดำรงสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ท่านเคยเทศน์ว่า วิชาทหารเป็น "ทุวิชา เป็นวิชาชั่วโดยแท้ เพราะขาดเมตตากรุณาแก่ฝ่ายหนึ่ง...เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทราม ความฉิบหายโดยแท้" ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังวิพากษ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ ว่า ทำ ให้ผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ไม่เว้นแม้กระทั่งคนแก่ ผู้หญิง และเด็ก เกิดความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเพราะ "อำนาจของวิชาชั่ว"

เทศนาดังตำหนิคู่สงครามทั้งสองฝ่ายและมีนัยยะวิพากษ์นโยบายของรัฐบาลที่ ๖ ที่ส่งทหารไปร่วมรบในมหาสงครามครั้งนั้น ผลก็คือในหลวงทรงกริ้วเป็นอย่างมาก ถึงกับสั่งถอดสมณศักดิ์และกักบริเวณท่านในวัด แต่ด้วยอำนาจแห่งธรรมไม่นานท่านก็พ้นจากราชอาญา อีกทั้งยังได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี

ถ้าหากยังไม่สามารถท้วงติงผู้มีอำนาจอย่างเจ้าพระคุณท่านนั้นได้ อย่างน้อยพระสงฆ์ก็ไม่ควรออกปากสนับสนุนหรือเห็นดีเห็นงามกับการใช้ปาณาติบาตไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ควรแม้กระทั่งชี้ช่องให้ทำเช่นนั้น สาเหตุก็เพราะ นอกจากหลักธรรมในพุทธศาสนาจะไม่เอื้อให้ทำเช่นนั้นแล้ว พระวินัยยังไม่อนุญาตอีกด้วยโดยเฉพาะในกรณีที่ระบุอย่างเฉพาะเจาะจง

ดังในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุรูปหนึ่งไปที่ตะแลงแกง เห็นเพชรฆาตกำลังทรมานนักโทษก่อนจะประหารชีวิต คงเพราะความหวังดี ท่านได้แนะเพชรฆาตผู้นั้นว่า

"อย่าทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว"

ปรากฏว่า เพชรฆาตทำตาม พระภิกษุรูปนั้นเมื่อไปทูลถามพระพุทธเจ้า ก็ได้คำตอบว่าท่านได้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว


โดย พระไพศาล วิสาโล

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


มันมาเรามุด มันหยุดเราตี มันหนีเราล่า มันฆ่าเราก็ตาย.... :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มะโนปุพพังคะ ธัมมา มะโนเสฏโฐ มะโนมะยา


คุณพลศักดิ์
บาทคาถาของคุณที่ว่า มะโนปุพพังคะ ธัมมา มะโนเสฏโฐ มะโนมะยา

(ที่จริงไม่ถูกต้องตามหลักหรอก แต่สำหรับคุณพลศักดิ์คงไม่เป็นไร ไม่แก้ให้แล้ว ด้วยไม่แน่ใจว่า
จะถูกส่งเข้าห้องดับจิตอีกวันไหน)

มะโนปุพพังคะ ธัมมา มะโนเสฏโฐ มะโนมะยา

คุณอธิบายมาทีละบทๆ เอากันชัดๆว่าบทนั้น ๆ เอาตามศัพท์ ความหมาย และได้แก่ เช่น

มะโนปุพพังคะ......แปลว่า....หมายถึงอะไร ได้แก่ ถึงอะไร
ธัมมา…..แปลว่า...หมายถึงอะไร ได้แก่ถึงอะไร
มะโนเสฏโฐ.....แปลว่า...หมายถึงอะไร ได้แก่ถึงอะไร
มะโนมะยา…..แปลว่า....หมายถึงอะไร ได้แก่ถึงอะไร

ห้ามแถ ห้ามแถก :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
วิเคราะห์ศีล 5 แบบใดเป็น สัมมาทิฏฐิ แบบใดเป็น มิจฉาทิฏฐิ


ตอบ = ศีลห้าแบบพลศักดิ์ไงเป็นมิจฉาทิฐิ
ย้ำ!! ฟันธง!!


ศีลห้าแบบไหนของผมครับ เรื่องไหนด้วย กรุณาอย่ากล่าวให้กำกวม เอาหลักฐานมาลง และเอาข้อมูลพุทธพจน์มาแย้งผมด้วย ถ้าไม่มี ข้อเขียนของคุณ ก็มาจากมารในใจคุณ


พระพุทธเจ้าเป็นผู้สอนเรื่องศีลห้า พุทธะจะตีความแบบผม มารจะตีความแบบสมมุติสงฆ์ในคณะสงฆ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านลุงเหมา

ผมลืมไปว่าลุงมีกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่ง คือกลยุทธ "ทำเป็นลืม"


มาร มาร มาร .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
ท่านลุงเหมา

ผมลืมไปว่าลุงมีกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่ง คือกลยุทธ "ทำเป็นลืม"


มาร มาร มาร .



ตกลงคุณคามินธรรมกล่าวว่า ศีลห้าแบบพลศักดิ์ไงเป็นมิจฉาทิฐิ คุณเอาหลักฐานมาลงได้ไหม และเอาข้อมูลพุทธพจน์มาแย้งผมมาลงก็ได้ ถ้าไม่มี ข้อเขียนของคุณ ก็มาจากมารในใจคุณ

มาร..มาร..มาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงเหมา
ผมท่องคำนี้อยู่ " มันมาเรามุด มันหยุดเราแหย่ "

ผมอุดส่าห์ทำตามคำสอนลูงเหมานะนี่
:b22:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอบ = ศีลห้าแบบพลศักดิ์ไงเป็นมิจฉาทิฐิ
ย้ำ!! ฟันธง!!


คอนเฟริม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2004, 09:18
โพสต์: 280


 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล ๕ นี้ เราต้องถึงขั้นมานั่งวิเคราะห์ด้วยหรือครับ
แล้วเรายังเป็นปุถุชนด้วยกันอยู่ จะวิเคราะห์ถูกหรือผิดยังไง ก็ยังไม่รู้เลย

หลักของศีล ๕ ก็มี
๑.ไม่ฆ่าสัตว์
๒.ไม่ลักทรัพย์
๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม
๔. ไม่พูดปด
๕. ไม่กินเหล้า

เอาเป็นว่าใครที่จะถือ ศีล ๕ ก็ลงมือ ปฏิบัติเลยจะดีกว่าไหม

มานั่งวิเคราะห์ เถียงกันไป เถียงกันมา ว่าอยู่ที่ กาย วาจา หรือใจ กันแน่
จะอยู่ กาย วาจา หรือ ใจ ถ้าเราไม่ลงมือปฏิบัติ ตามหลักของศีล มันก็ไม่เกิดผล

นั่งวิเคราะห์ไปก็เท่านั้นล่ะครับ ผมว่ามันไม่เกิดประโยชน์ และไม่มีวันจบ วันสิ้น

สู้ลงมือถือศีล ๕เลย ไม่ดีกว่าหรือ
:b43:

:b41: :b52:

.....................................................
ผมเลือก อานาปานสติครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


90%ของคนที่ทำผิดศีล 5 เป็นบาป เพราะทำด้วยจิตอกุศล แต่อาจจะมีอีก 10% ที่ทำด้วยจิตเป็นกุศล หรือทำไปตามหน้าที่ ตามสัญชาติญาณ ถ้าเขาทำอย่างนี้ย่อมไม่ใช่บาป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลไม่ต้องวิเคราะห์หรอกครับ ข้อศีลแต่ละข้อก็ชัดเจนอยู่แล้ว.....

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เนื่องจาก ผมใช้หลักของเหมาเจ๋อตุง

" มันมาเรามุด มันหยุดเราแหย่ มันแย่เราตี มันหนีเราไล่ "


หลักสัปเหร่อเผาเรียบร้อยไม่เป็นโรคติดต่อ :b1: :b38:

" เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าไล่ เอ็งตาย ข้าเผา :b32: "

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร