วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณพลศักดิ์อ้างอิงคาถานี้บ่อย แล้วก็โยงไปถึงศีล
ลองพิจารณาว่า เข้าใจถูกผิดจากตำราอย่างไร โดยเฉพาะคำแปล สำเร็จด้วยใจ (มโนมยา)



มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นัง ทุกขมเนวติ จักกังว วหโต ปทัง.

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น ดุจล้อซึ่งหมุนไปตามรอยเท้าโค
ตัวเทียมแอกไปฉะนั้น.

อีกแห่งหนึ่งคล้ายๆกัน

มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสันเนน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นัง สุขมเนวติ ฉายาว อนุปายินี.

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนดังเงาตามตัวไปฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูที่ท่านอธิบายไว้ จะถอดให้เห็นทีละศัพท์ๆว่าได้แก่ อะไร มีคำแปล ว่าอย่างไร

ธัมมา – ธรรมทั้งหลาย ในคาถานี้ ได้แก่ อรูปขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร)
มโนปุพพังคมา –มีใจเป็นหัวหน้า
มโนเสฏฐา - มีใจเป็นใหญ่ หรือ มีใจเป็นอธิบดี
มโนมยา - สำเร็จด้วยใจ หรือ เสร็จด้วยใจ (มยา แปลว่า สำเร็จ หรือ เสร็จ)

มโนปุพพังคมา- มโน+ปุพพังคมา
มโนเสฏฐา-มโน+เสฏฐา
มโนมยา-มโน+มยา

มโน (ใจ) ๓ ตัว ที่เห็นนั่น ใช้แทนคำว่า จิต

ศัพท์ที่มีความหมายเดียวกัน ใช้แทนกันได้มี ๖ ตัว ได้แก่
จิตฺตํ มโน มานสํ วิญฺญาณํ หทยํ มนํ

ท่านแก้อรรถไว้ว่า จิต เรียกว่า ใจ (มโน) ในพระคาถานั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ยากหน่อย พึงจับใจความข้างต้นให้ได้ก่อน)

ใจ ได้ชื่อว่า เป็นหัวหน้า ของธรรม -(คือ เวทนา สัญญา สังขาร) เหล่านั้น ด้วยอรรถว่า
เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้น เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า (= มโนปุพพังคมา)
แท้จริง ธรรมเหล่านั้น เมื่อใจไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้

ส่วน “ใจ” เมื่อเจตสิกบางเหล่าถึงยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นได้แท้ และ ใจ ชื่อว่าเป็นใหญ่
กว่าธรรมเหล่านี้ ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี ดังนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า มีใจเป็นใหญ่
(= มโนเสฏฐา)
(อุปมาก็เหมือนปลัด-หรือ อธิบดีในกระทรวงทะบวงกรมหนึ่ง ๆ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า..ในกระทรวงนั้น)

ตามแบบท่านอุปมาอุปไมยไว้ดังนี้ เทียบดู

“ใจ” เป็นหัวหน้าของอรูปขันธ์ทั้ง ๓ มีเวทนาขันธ์ เป็นต้น โดยอรรถ คือ เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรม
ให้เกิดขึ้น เหตุนั้น ขันธ์ทั้ง ๓ ประการนั่น จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า (= มโนปุพพังคมา)

เหมือนอย่างว่า เมื่อทายกเป็นอันมาก กำลังทำบุญ มีถวายบาตรและจีวรเป็นต้น แก่ภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่....ด้วยกัน เมื่อมีผู้กล่าวว่า “ใครเป็นหัวหน้าของพวกทายกเหล่านั้น”
ทายก ผู้ใด เป็นปัจจัยของพวกเขา คือ พวกเขา อาศัยทายกผู้ใด จึงทำบุญเหล่านั้นได้
ทายกผู้นั้น ชื่อติสสะ เป็นต้น ก็ตาม ประชุมชนย่อมเรียกว่า “เป็นหัวหน้าของพวกเขา” ฉันใด
ข้ออุปไมย ก็พึงทราบฉันนั้น

ใจ ชื่อว่า เป็นหัวหน้าของธรรม (คือ เวทนา สัญญา สังขาร) เหล่านี้ ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่อง
ยังธรรมให้เกิดขึ้น เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า
แท้จริง ธรรมเหล่านั้น เมื่อใจไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้

ส่วน “ใจ” เมื่อเจตสิกบางเหล่า ถึงยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นได้แท้ และใจชื่อว่า เป็นใหญ่กว่า
ธรรมเหล่านี้ ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่ามีใจเป็นใหญ่
(= มโนเสฏฐา)

อนึ่ง สิ่งของทั้งหลายนั้นๆ เสร็จแล้วด้วยวัตถุมีทองคำ เป็นต้น ก็ชื่อว่า สำเร็จแล้วด้วยทองคำ เป็นต้น
ฉันใด
ถึงเวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ก็ได้ชื่อว่า สำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเป็นของเสร็จมาแต่ใจ ฉันนั้น (= มโนมยา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2009, 18:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกตที่กึ่งคาถาแรกกับกึ่งคาถาที่สอง มี ๒ บทที่มีสารธรรมต่างกัน คือ บทว่า ปทุฏเฐน กับ ปสันเนน

มนสา เจ ปทุฏเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
มนสา เจ ปสันเนน ภาสติ วา กโรติ วา

บทว่า ปทุฏเฐน - อันโทษ มีอภิชฌา เป็นต้น ซึ่งจรมาประทุษร้ายแล้ว
(อภิชฌา กับ กามฉันท์ที่ในนิวรณ์ สาระเดียวกัน)

ท่านอธิบายถึง “จิตเดิมประภัสสร” (จิตประภัสสร) ที่เราได้ยินกันบ่อยๆด้วย

ดังบาลีว่า “ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ
อุปกฺกิลิฏฺฐํ ”
ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่มันเศร้าหมองแล้ว เหตุอุปกิเลสทั้งหลายซึ่งจรมาแล
(องฺ.เอก.20/11)

จริงอยู่ ใจปกติชื่อว่า ภวังคจิต (จิตเดิม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาที่ท่านขยายความเต็มๆซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ปทุฏเฐน - คือ ถูกโทษอภิชฌา เป็นต้น ซึ่งจรมาประทุษร้ายแล้ว
จริงอยู่ ใจปกติชื่อว่า ภวังคจิต

ภวังคจิตนั้น ไม่ต้องโทษประทุษร้ายแล้ว เหมือนอย่างว่า น้ำใสเศร้าหมองแล้ว เพราะสีทั้งหลาย
มีสีเขียวเป็นต้นซึ่งจรมา (แต่กลับ) เป็นน้ำต่างโดยประเภทมีน้ำเขียว เป็นต้น จะชื่อว่า น้ำใหม่ก็ไม่ใช่
จะชื่อว่า น้ำใสตามเดิมนั่นแลก็ไม่ใช่ ฉันใด
ภวังคจิต แม้นั้น อันโทษมีอภิชฌา เป็นต้น ที่จรมาประทุษร้ายแล้ว จะชื่อว่า จิตใหม่ก็ไม่ใช่
จะชื่อว่า ภวังคจิตตามเดิมนั่นแลก็ไม่ใช่ ฉันนั้น

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่มันเศร้าหมองแล้ว
เหตุอุปกิเลสทั้งหลายซึ่งจรมาแล” .

มนสา เจ ปทุฏเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี

-ตโต นัง ทุกขมเนวติ จักกังว วหโต ปทัง.
-ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ตัวนำแอกไปอยู่ฉะนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนที่เหลือ มีเนื้อความตรงกันข้าม

ปสันเนน - คือ ผ่องใส ด้วยคุณทั้งหลาย มีความไม่เพ่ง (อนภิชฌา) เป็นต้น

มนสา เจ ปสันเนน ภาสติ วา กโรติ วา
เมื่อบุคคล มีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี

ความสุข ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น
ตโต นัง สุขมเนวติ ฉายาว อนุปายินี.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ดูที่ท่านขยายความเต็มๆ


ปสันเนน - มีใจผ่องใสแล้ว ด้วยคุณทั้งหลายมีความไม่เพ่งเล็ง เป็นต้น

ภาสติ วา กโรติ วา ความว่า บุคคลมีใจเห็นปานนี้ เมื่อจะพูด ย่อมพูดแต่วจีสุจริต ๔ อย่าง เมื่อจะทำ ย่อมทำแต่กายสุจริต ๓ อย่าง เมื่อไม่พูด เมื่อไม่ทำ ย่อมทำมโนสุจริต ๓ อย่างให้เต็มที่ เพราะความ
ที่ตนเป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว ด้วยคุณทั้งหลายมีความไม่เพ่งเล็ง เป็นต้นนั้น
กุศลกรรมบถ ๑๐ ของเขาย่อมถึงความเต็มที่ ด้วยประการอย่างนี้

ตโต นัง สุขมเนวติ ความสุข ย่อมตามบุคคลนั้นไป เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น
เพราะฉะนั้น พึงทราบอธิบายว่า ความสุขที่เป็นผล ซึ่งเป็นไปในกายและเป็นไปในจิต ดังนี้ว่า
ความสุขมีกายเป็นที่ตั้งบ้าง ความสุขมีจิตนอกนี้เป็นที่ตั้งบ้าง ย่อมตามไป คือว่า ย่อมไม่ละบุคคลนั้น
ผู้เกิดแล้วในสุคติภพก็ดี ตั้งอยู่แล้วในที่เสวยสุขในสุคติก็ดี เพราะอานุภาพแห่งสุจริตที่เป็นไปในภูมิ ๓
(กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)

มีคำถามว่า เหมือนอะไร ?
ตอบว่า เหมือนเงามีปกติไปตามตัว ฉะนั้น
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมดาเงาเป็นของเนื่องกับสรีระ เมื่อสรีระเดินไป ก็เดินไป เมื่อสรีระหยุด
เงาก็หยุด เมื่อสรีระนั่ง เงาก็นั่ง ไม่มีใครสามารถที่จะว่ากล่าวกะมัน ด้วยถ้อยคำอันละเอียดก็ดี
ด้วยถ้อยคำหยาบคายก็ดีว่า เอ็งจงกลับเสีย หรือเฆี่ยนตีแล้วไล่ให้กลับได้
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
เพราะเงาเป็นของเนื่องด้วยสรีระ ฉันใด
ความสุขที่เป็นไปในกายและเป็นไปในจิต ต่างสุขโดยกามาพจรสุขเป็นต้น มีกุศลแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐
เหล่านี้ ที่บุคคลประพฤติมากแล้ว และประพฤติดีแล้ว เป็นรากเหง้า ย่อมไม่ละบุคคลเช่นว่านั้น
ในที่ที่เขาไปแล้วไปแล้ว เหมือนดังเงาไปตามตัวฉันนั้น แล.

...

ทางพุทธศาสนาจัดความสุขไว้เป็นขั้นๆ ตามลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=18652

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2009, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแนะนำให้รู้จักอรูปขันธ์ อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งอาจจะแปลกหู คือ นิสสัตตธรรม หรือ นิชชีวธรรม

นิสสัตตธรรม แปลว่าธรรม คือ สภาพที่มิใช่สัตว์
นิชชีวธรรม แปลว่าธรรม คือ สภาพที่มิใช่ชีวิต

อรูปขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ท่านเรียกว่า นิสสัตตธรรม หรือ นิชชีวธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร