วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบทความนี้ จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับทางโลกหรือทางธรรม พอเป็นสังเขป เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ใช้ประกอบในการคิดพิจารณาควบคู่กับหลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ จุดประสงค์ และความมุ่งหมายของศาสนา โดยเฉพาะในที่นี้หมายเอาเฉพาะพุทธศาสนา เหตุเพราะมีบุคคลากรทางศาสนากลุ่มหนึ่ง หรือบางคนบางกลุ่ม บิดเบือนหลักการทางพุทธศาสนา ทำให้ผู้ศรัทธาหลงเช้าใจผิด คิดไปว่า
พุทธศาสนา แบ่งแยกโลกมนุษย์ หรือเแบ่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์และสรรพสิ่ง ออกเป็นทางโลก อย่างหนึ่ง ทางธรรมอย่างหนึ่ง
การที่พวกเขาเหล่านั้น เข้าใจอย่างนั้น อีกทั้งยังได้สอน ได้เผยแพร่ ไปในทางแบ่่งแยก หลักธรรมคำสอน ทางพุทธศาสนาให้เป็นทางโลก และทางธรรม แท้จริงแล้วเป็นความเข้าใจผิด บิดเบือนหลักธรรมคำสอน ทางพุทธศาสนาทำให้เกิดการแบ่งแยก บ้างก็หลบหนีสังคม กลายเป็นบุคคลหนีโลก หนีปัญหา ไม่รู้จักใช้ปัญญาพิจารณา ถึงหลักธรรมคำสอนที่แท้จริงให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นการทำความเสื่อมโทรมให้กับพุทธศาสนาทางหนึ่ง

หลักธรรมคำสอน ในทางพุทธศาสนา มิได้แบ่งแยกว่าเป็นทางโลก หรือทางธรรม เหตุเพราะ หลักธรรมคำสอนทั้งหลายที่มีอยู่ล้วนเป็นเครื่องมือ ในการปฏิสัมพันธ์ หรือในการดำรงชีวิตในสังคมการเป็นอยู่ร่วมกัน ในทุกสถานที่ และในทุกภุมิภาคของโลก
ธรรมชาติ ของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนย่อมต้องมี ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้าจะใช้คำศัพท์ทางภาษาบาลี ก็มีความหมายว่า ธรรมชาติ ของมนุษย์ ย่อมต้องมี โลภ (ความอยากได้) ,โทสะ (ความคิดประทุษร้าย),โมหะ(ความหลง หรือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) {จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกๅ}
ดังนั้น ธรรมะทั้งหลายในทางพุทธศาสนา ล้วนมุ่งขัดเกลา ควบคุม ธรรมชาติของมนุษย์ ทั้ง 3 ชนิด ให้เกิดความพอดี พอควร ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน สามารถปฏิสัมพันธ์กัน ได้อย่างสงบสุข มิให้มีพฤติกรรม และการกระทำ เยี่ยง"สัตว์ที่เอาลำตัวเดินขวางแผ่นดิน"เพราะมนุษย์เจริญกว่า สัตว์เหล่านั้นในทุกด้าน
ธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด คือ โลภ,โทสะ,โมหะ หากจะให้ความหมาย ตามหลักภาษาของแต่ละประเทศ ก็ย่อมมีความหมายที่แตกต่างกันไป ถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะมีความหมายใกล้เคียงกัน หรืออาจแตกต่างกันไปเช่น
คำว่า "โทสะ" หากเป็นความหมายในภาษาไทย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็คือ "ความโกรธ ความฉุนเฉียว"
แต่ถ้าเป็นความหมาย ตามภาษาบาลี คำว่า "โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้าย" อย่างนี้เป็นต้น
มาถึงตอนนี้ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจว่า คำว่า โทสะ ไม่ใช่คำศัพท์ ทางธรรม หรือเป็นคำศัพท์ ทางโลก และคำว่า โทสะ เป็นคำศัพท์ ทาง ภาษาบาลี และหรือ เป็นคำศัพท์ทางภาษาไทย
ดังนั้นในทางพุทธศาสนา จึงไม่มีการแบ่งแยกว่า อย่างนั้น เป็นทางโลก อย่างนั้น เป็นทางธรรม มีแต่พฤติกรรม การกระทำทาง กาย วาจา และใจ ของมนุษย์ทั่วๆไป
มีแต่จะประพฤติ ปฏิบัติ ตามข้อศีล ข้อ ธรรมะ ตามหลักพุทธศาสนา เพราะหลักพุทธศาสนา มีหลักธรรม หรือวิธีปฏิบัติ เพื่อการขัดเกลา ควบคุม และขจัด ธรรมชาติของมนุษย์บางอย่างบางชนิด ให้สามารถดำรงชีวิต ปฏิสัมพันธ์ เป็นอยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุข
ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงได้ทำความเข้าใจเอาไว้ว่า หลักการทางพุทธศาสนา มิได้แบ่งแยกว่า ปฏิบัติแบบนั้น เป็นทางธรรม ปฏิบัติแบบนี้ เป็นทางโลก หลายๆท่านอาจจะสงสัยและมีข้อกังขาว่า ผู้ที่ไปปฏิบัติธรรม ตามสำนักต่างๆ เรียกว่า เป็นทางธรรม นั่นเป็นความเข้าใจผิด รู้เท่าไม่ถึงกาล เป็นความหลงหรือโมหะ คือไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่รู้จักหลักธรรมคำสอน อย่างถูกต้อง เหตุเพราะ วิธีการปฏิบัติตามสำนักต่างๆที่มีอยู่นั้น เป็นเพียงการ ขัดเกลา ควบคุม และขจัด ธรรมชาติของมนุษย์บางอย่างบางชนิด เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ดังคำจำกัดความที่ว่า "พุทธะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ท่านทั้งหลายอย่าได้คิด หรือ เข้าใจว่า
การบวช หรืออุปสมบท เข้าสู่พุทธศาสนา เป็นการ ละทิ้งทางโลก เข้าสู่ทางธรรม คำกล่าวเช่นนั้น เป็นการบิดเบือน วัฒนธรรม ประเพณี ในทางพุทธศาสนา อาจจะเป็นด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล หรืออาจจะจงใจกล่าว ก็ตามแต่
ความจริงแล้ว การบวช หรือการอุปสมบท เข้าสุ่พุทธศาสนานั้น เป็นการเข้าไปเรียนรู้ หรือศึกษา หลักธรรมทางพุทธศาสนา
โดยยึดถือเอา พระวินัย และพระธรรม ทั้งหลาย เป็นสิ่งเรียนรู้ และศึกษา มิใช่เป็นการละทางโลก เข้าสู่ทางธรรม
เพราะไม่ว่าจะเป็น พระวินัย หรือ พระธรรมใดใด ล้วนเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม ย่อมล้วนเป็นการประพฤติ ปฏิบัติ ตามบทบาทอันพึงปฏิบัติ ในการดำรงชีวิต ตามสังคมสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การบวช หรือการอุปสมบท คือ การเข้าสู่พุทธศาสนา เพื่อเรียนรู้ ศึกษา พระธรรม และจำต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ พร้อมทั้งปฏิบัติ ตามพระวินัย ในสภาพสถานะและบทบาท แห่งตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจมีอีกหลายๆท่านคิดไปว่าข้าพเจ้าบ้า หรือมีความคิดที่ผิดจากความคิดเดิมของท่านทั้งหลาย
ถ้าหากท่านทั้งหลายคิดแบบนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายเปลี่ยนความคิด และให้มองให้คิดตามความเป็นจริงว่า
หลักธรรม ทั้งหลายทางพุทธศาสนา (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะพุทธศาสนา) รวมไปถึงหลักปฏิบัติ ทั้งหลายที่มีอยู่ ล้วนเป็นหลักการทางธรรมชาติ ล้วนเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ล้วนเป็นการปฏิบัติของมนุษย์ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในบทบาท หรือหน้าที่อะไรก็ตามแต่ ย่อมหนีไม่พ้น การปฏิสัมพันธ์ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บุคคลบางเหล่า บางกลุ่ม คิดไปว่าตัวเองต้องการเข้าไปสู่ทางธรรม แต่ความจริงแล้่ว มันเป็นเพียงความคิดที่มีแต่ความหลงผิด โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาลว่า พวกเขาเหล่านั้น ไม่ว่าจะไปอยู่ ณ.แห่งหน ตำบลไหน ถ้าหากยังมีชีวิตอยู่ ย่อมหนีไม่พ้นการปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กับธรรมชาติของโลก
ดังนั้น ในหลักการทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมะ หรือหลักปฏิบัติใดใด ก็ตาม ย่อมมีสถานะเพียงประการเดียว คือ มุ่งขัดเกลา ควบคุม เพื่อให้มนุษย์ อยู่ร่วมกันอย่างปกติเป็นสำคัญ ส่วนบุคคลใดจะปฏิบัติ เพื่อให้สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลส ก็จะต้องฝึกตน ทำความเข้าใจในบทเรียน และวิธีการปฏิบัติ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ซึ่งไม่ว่าบุคคลทั้งหลายจะมีความต้องการในการปฏิบัติทางพุทธศาสนาเยี่ยงไร ก็ย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับสภาพธรรมชาติของโลก
นั่นย่อมหมายความว่า ไม่มีคำว่าทางโลก หรือ ทางธรรม มีแต่ หลักการทางศาสนา คือ "ธรรมะ" มีแต่หลักวิชาการทั่วๆไป อันสามารถนับเข้าในวิปัสสนาได้ทั้งนั้น
และการปฏิบัตใดใด ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใด หรือหน้าที่ใด สถานที่ใดใด ล้วนเป็นไปตามหลักธรรมะทางพุทธศาสนา (ในที่นี้หมายเอาหลักการทางพุทธศาสนา) ตามแต่สังคมสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2009, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปสรรค กับ อุปาทาน นั้น แตกต่างจากกัน
เพราะ อุปสรรค เกิดขึ้นได้จากปัจจัย ทั้งภายนอก และภายในร่างกายของบุคคลนััน หรือ อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น หรือเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิประเทศ หรือสภาพภูมิอากาศ ฯ

แต่ อุปาทาน นั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากภายใน แม้จะเกี่ยวเนื่องจากปัจจัยภายนอกอยู่บ้าง ก็เป็นเพียงน้อยนิด คือ เมื่อไดัสัมผัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บุคคลนั้นๆก็จะจดจำ และคิดเอาเองว่าต้องเป็นอย่างที่ตัวเองเข้าใจ เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่ตัวเองคิดนั้นถูกต้อง โดยไม่ได้พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง หรือหลักธรรมชาติ (ขยายความจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

ทั้งอุปสรรค และอุปาทาน ย่อมมีทั้งสามารถแก้ไขได้ และมีทั้งแก้ไขไม่ได้ ตามแต่สถานะการณ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ ความรู้ หลักการตามหลักวิชา ฯ และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ ตัวบุคคล หรือจะเรียกว่า ทรัพยากรบุคคลก็ย่อมได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b16: สาธุค่ะ คุณ Buddha เนื้อหาสาระที่คุณ :b48:
โพสต์ดีมาก และมีประโยชน์ คนไร้สาระ
ขอน้อมรับไว้ด้วยใจจริง

แต่ว่า
คำว่า "อุปสรรค ไม่หนักเท่าอุปทาน"
เป็นคำ เป็นคติเตือนใจตัวเอง ค่ะ
มิได้มีเจตนา สร้างผัสสะไม่ดีน่ะค่ะ
ด้วยเจตนาดี และอนุโมทนาจริง

เผื่อว่า

"เรา" อาจเข้าใจไม่ตรงกัน ขออภัยและ
แสดงความขอโทษ คนไร้สาระ ขอแสดง
ความเสียใจ ถ้าทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นคำปรามาท

คำนี้ก็จะติดไปทุกโพสต์ที่คนไร้สาระเขียนค่ะ
คุณ Buddha ลองแวะเข้าไปอ่านดูน่ะค่ะ
หวังว่าเรา จะเป็นกัลยาณมิตรกันได้ค่ะ

:b41: :b41: :b41:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คนไร้สาระ เขียน:
:b8: :b16: สาธุค่ะ คุณ Buddha เนื้อหาสาระที่คุณ :b48:
โพสต์ดีมาก และมีประโยชน์ คนไร้สาระ
ขอน้อมรับไว้ด้วยใจจริง

แต่ว่า
คำว่า "อุปสรรค ไม่หนักเท่าอุปทาน"
เป็นคำ เป็นคติเตือนใจตัวเอง ค่ะ
มิได้มีเจตนา สร้างผัสสะไม่ดีน่ะค่ะ
ด้วยเจตนาดี และอนุโมทนาจริง

เผื่อว่า

"เรา" อาจเข้าใจไม่ตรงกัน ขออภัยและ
แสดงความขอโทษ คนไร้สาระ ขอแสดง
ความเสียใจ ถ้าทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นคำปรามาท

คำนี้ก็จะติดไปทุกโพสต์ที่คนไร้สาระเขียนค่ะ
คุณ Buddha ลองแวะเข้าไปอ่านดูน่ะค่ะ
หวังว่าเรา จะเป็นกัลยาณมิตรกันได้ค่ะ

:b41: :b41: :b41:

หามิได้ ข้าพเจ้ามิได้มีจิตคิดอกุศล ในข้อความที่คุณเขียน แต่ข้าพเจ้ามองว่า สิ่งที่คุณเขียนมานั้น เป็นการเข้าใจผิด และเป็นการเข้าใจอย่างไม่ถ่องแท้ ตามหลักความเป็นจริง จึงได้อธิบายให้ได้เกิดความเข้าใจ เมื่อคุณอ่านแล้ว ทำความเข้าใจต้นตอแห่งอุปสรรค และอุปาทานแล้ว ก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้ แต่คุณ จะเป็นผู้ตื่น หรือเป็นผู้เบิกบาน หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับอุปาทานของคุณ ให้คุณกลับไปอ่านสิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนอธิบายไว้อีกครั้ง พิจารณาอย่างช้าช้า แล้วปัญญาย่อมเกิดมี
อนึ่ง
ทั้ง อุปสรรค และ อุปาทาน ลัวนมีค่าเท่ากัน แม้จะไม่เหมือนกัน ในเหตุและปัจจัย แต่ทั้งอุปสรรค และอุปาทาน ล้วนมีทางแก้ไขได้เท่าเทียมกัน มันขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่า จะมีสติ สัมปชัญญะ ความรู้ ความเข้าใจ ในการขจัด หรือฟันฝ่า ทั้ง อุปสรรค และอุปาทานนั้นได้อย่างไรเท่านั้นขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 129 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร