วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: คนไร้สาระ อยากขอทัศนคติและความคิดเห็น จากทุกท่านช่วยเสนอแนะ :b41:
:b48: เรื่องเมตตาเป็นเหตุแห่งความกังวลใจ คนไร้สาระมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เธอเป็นคนจิตใจดี หน้าตางดงามดวงตาแจ่มใส มีแววเบิกบาน พุดเพราะไม่เคยด่าใคร ตั้งแต่ที่คบกันมานานมาก เป็นคนขยัน ขอใช้คำว่าค่อนข้างจะสมบูรณ์ในเบญจกัลยาณี คนหนึ่งในสังคมยุคนี้ทีเดียว ที่สำคัญเธอรักษาศีล 5 เป็นปกติ แม้แต่ยุงยังไม่ฆ่า :b48:
:b50: ด้วยความที่เธอเป็นคนอย่างนี้ เธอเคยปรารภกับคนไร้สาระเสมอ ๆ ว่า วันนี้จะให้อะไรใครดี เป็นแบบให้เกือบทุกวัน ไม่ว่าใครจะขอหรือไม่ขอเธอมีอะไรที่พอจะให้ได้เธอให้ทันที :b41:
:b54: เรื่องนี้จึงเป็นเหตุ ในเวลาประมาณ เกือบปีที่ผ่านมา มีคนย้ายมาอยู่ใกล้ ๆ บ้านเธอ เป็นผู้ชายเด็กกว่าเธอหลายปี อยุ่ใกล้กันเกือบเดือนไม่เคยเห็นหน้ากัน เพราะเธอเป็นคนเก็บตัว จนวันหนึ่งฝนตก เธอก็เก็บผ้าให้ผู้ชายคนนั้น เป็นวันแรกที่เห็นหน้ากัน จากนั้นก็ได้คุยกันเรื่อยๆ มาจนวันหนึ่งผู้ชายคนนี้เค้าก็เล่าเรื่องตัวเค้าเอง ว่าเกิดมาจากครอบครัวที่แตกแยก พ่อแม่โยนเค้าไปมาไม่มีใครเอา ด้วยความสงสาร เธอก็เก็บไว้ในใจเงียบ ๆ มีโอกาสก็ทำกับข้าวเผื่อ หรือให้อะไรที่พอจะเป็นประโยชน์
พอเจอะกันเธอก็ถาม ด้วยความเป็นมิตร ว่าทานข้าวหรือยัง เค้าก็ตอบว่าทาน บะหมี่สำเร็จรูป เกือบทุกครั้งที่เธอถาม จากนั้นเธอก็เลยทำตัวเป็นแม่พระทำกับข้าวให้ทุกวัน แล้วเธอก็เริ่มรู้สึกว่า มันมากไปหรือเปล่าคนไร้สาระก็เตือนเธอ ว่าเมตตามันจะพลิกเป็นเสน่หาเอา

เธอยอมรับว่ารู้สึกกังวลพอสมควร เพราะเหตุที่ ช่วงปีใหม่เค้าก็ซื้อเค้กช๊อคโกแล็ตมาให้ วันวาเลนไทม์ก้ซื้อช๊อคโกแล็ตรูปหัวใจมาให้ เธอบอกว่า เธอไม่อยากเป็นเหตุทำให้ใครเสียใจ และเธอก็ดับอารมณ์เมตตาไม่ได้
:b48: คนไร้สาระก็เลยบอกเธอไปให้สบายใจว่า ให้คือให้ ไม่ได้ให้เพื่อเอา วางใจให้ถูก มีสติเข้าไว้รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ อยู่กับปัจจุบันขณะ
:b52: คนไร้สาระก็ไม่ทราบว่าตัวเอง ให้คำชี้แนะเค้าถูกหรือเปล่า ทุกท่านที่มีความคิดเห็นช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตา เป้นหนึ่งในพรหมวิหาร4 ซึ่งตามหลักแล้วจะต้องบำเพ็ญให้ครบทั้ง4 อย่าง มิเช่นนั้นจะเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว เมตตามากก็ต้องระวังราคะ เพราะอยู่ใกล้กันมาก เป็นศัตรูใกล้ ส่วนความกรุณาศัตรูใกล้คือความโทมนัส ปกติแล้วหากมีความกรุณาจิตจะต้องเบิกบาน หากมีแต่เมตตากรุณาอย่างเดียว ไม่มีอุเบกขามากำกับก็จะมีความห่วงหาอาทรณ์มาก ต้องระวัง

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาด้วยครับคุณคนไร้สาระที่มีสาระ
ปล. เขาอาจจะเป็นคู่บุพเพกันมาก็ได้นะ
:b4:


ความเมตตากับความรัก ว่ากันจริงๆแล้วมันคนละอันกันนะครับ
ความรัก มันเป็นเมตตาแบบที่มีราคะ โมหะ โทสะ เจือปนอยู่ เพราะขาดสติ

เมตตาแท้ๆ มันต้องมีสติกำกับ มีผลเป็นอุเบกขาจิต เรื่องนี้ต้องฝึกนะครับ

เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าเมตตาสั่งสอนชาวโลกนั้น
ท่านไม่ได้ดีใจว่าได้สอน หรือเสียใจเพราะว่าสอนบางพวกไม่ได้
ไม่มีการกลัดกลุ้มกังวลอาลัยอาวรณ์อะไรทั้งสิ้น
เพราะจิตเป็นกลางอย่างแท้จริง ดีชั่วเสมอกันหมด
แต่มีความรู้ความคิดว่าสิ่งที่รู้อยู่นี้เป็นประโยชน์ จึงได้เทศนาสั่งสอนผู้คนให้ช่วยเหลือตัวเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมบัติของเมตตา คือ ระงับพยาบาท (พฺยาปาทุปสโม เอติสฺสา สมฺปตฺติ)
วิบัติของเมตตา คือ การเกิดสิเนหะ (สิเนหสมฺภโว วิปตฺติ) (วิสุทธิ. 2/121)

ในแง่วิบัติ มีเรื่องที่ต้องสังเกตอย่างสำคัญ สิเนหะ หมายถึง เสน่หา ความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล ความพอใจ โปรดปรานส่วนตัว เช่น ปุตตสิเนหะ ความรักอย่างบุตร ภริยาสิเนหะ ความรักใคร่ฐานภรรยา เป็นต้น
สิเนหะ เป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง ทำให้ช่วยเหลือกันในทางที่ผิดได้ อย่างที่เรียกว่า ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรักใคร่) เป็นต้น เป็นเรื่องของสิเนหะ ซึ่งเป็นความวิบัติ
ของเมตตามากกว่า หาใช่เมตตาไม่

ส่วนเมตตาที่แท้จริงนั้น เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับรักษาความเที่ยงธรรม เพราะเป็นธรรมกลางๆ ทำให้มีภาวะจิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ที่จะเอนเอียงเข้าหา ปราศจากความเกลียดชังคิดร้ายที่จะทำลาย ไมตรี ปรารถนาดีต่อคนทุกคนสม่ำเสมอกัน พิจารณาตัดสินและกระทำสิ่งต่าง ๆ ไปตามเหตุผล มุ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่คนทั้งหลาย มิใช่มุ่งสิ่งที่เขาหรือตนชอบหรืออยากได้อยากเป็น
เมตตาที่แท้จริงจะเป็นไปแบบที่ว่า

“ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงมีพระทัยเสมอกัน ทั้งต่อนายขมังธนู (ที่รับจ้างมาลอบสังหารพระองค์) ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลิมาล ต่อช้างธนบาล (ที่พระเทวทัตปล่อยมาเพื่อฆ่าพระองค์) และ ต่อพระราหุล ทั่วทุกคน”
(ขุ.อป. 32/8/68 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะไปยุ่งกับเขาทำไมครับน่า เขาเป็นหนุ่ม เราเป็นสาว แล้วยังเข้าใจคำว่า เมตตาผิดอีก
หากจะใช้พรหมวิหาร ควรมองให้ตลอดทั้งกระบวนธรรม คือ ปฏิบัติให้ถึงอุเบกขาด้วย


จขกท. แนะนำไม่ผิดหรอกครับ เข้าหลักเลย
สมบัติของเมตตา คือ ระงับพยาบาท (พฺยาปาทุปสโม เอติสฺสา สมฺปตฺติ)
วิบัติของเมตตา คือ การเกิดสิเนหะ (สิเนหสมฺภโว วิปตฺติ) หรือ เสน่หา

อ้างคำพูด:
เธอบอกว่า เธอไม่อยากเป็นเหตุทำให้ใครเสียใจ

ควรถามกลับเพื่อให้เพื่อนฉุกคิดว่า แล้วเธอพร้อมแล้วหรือที่จะเสียใจแทนใครๆ

อ้างคำพูด:
เธอยอมรับ ว่ารู้สึกกังวลพอสมควร เพราะเหตุที่ ช่วงปีใหม่เค้าก็ซื้อเค้กช๊อคโกแล็ตมาให้
วันวาเลนไทม์ก้ซื้อช๊อคโกแล็ตรูปหัวใจมาให้


ยังพอฉุกใจได้คิด แต่ก็สู้วัฏฏะหรือวงจรความคิดที่ว่า (เธอก็ดับอารมณ์เมตตาไม่ได้) ไม่ได้ นี่คือปัญหาทางด้านนามธรรมของมนุษย์ พอรู้ว่าบ้างเป็นทุกข์ พอเห็นทุกข์
แต่ยังไม่รู้หนทางหรืออุบายออกจากความทุกข์นั้น เหมือนคนหลงป่า รู้ว่าหลงแล้ว แต่ยังหาทางออกจากป่านั้นไม่ได้ จึงเดินวนๆกลับมาที่เก่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมตตาเป็นพรหมวิหารหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ซึ่งได้แก่

เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

คำว่าพรหมวิหารนั้น แปลว่า ธรรมอันเป็น เครื่องอยู่อันประเสริฐ หรือไม่มีโทษ ก็ธรรม

เหล่านี้มีเมตตาเป็นต้น จัดว่าเป็นเครื่องอยู่อัน ประเสริฐ
ก็เพราะความที่เป็นการปฏิบัติชอบ
ในสัตว์ทั้งหลาย โดยเหตุที่จะนำความสุข
ความสวัสดีมาสู่สัตว์เหล่านั้น.................

ความหมายของคำว่า "รัก" ของเมตตานี้ แตกต่างไปจากความรักของตัณหา
ด้วยความรักมีสองอย่างคือ รักด้วยเมตตา และ รักด้วยตัณหา

รักด้วยเมตตาเป็นอย่างไร ?


รักด้วยตัณหาเป็นอย่างไร ?

ความรักด้วยเมตตา เป็นความเยื่อใยในคนอื่น ใคร่ จะให้เขาได้ดีมีสุข
โดยไม่ได้คำนึงว่า การได้ดีมีสุขของคนเหล่านั้น ตนเองจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่


ส่วนความรักด้วยตัณหา เป็นเพียงความอยากได้
เป็นเพียงความเพลิดเพลินว่า ถ้าบุคคลนั้นมีอยู่เป็นไป อยู่ก็เป็นความสุขแก่เรา
แม้ว่าบางครั้งจะเป็นการกระทำ ที่คิดว่าจะให้ผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ตาม
ตนเองต้องมีส่วน เกี่ยวข้องในความได้ดีมีสุขนั้นด้วย จึงจะกระทำ



ความรักด้วยเมตตา ไม่มีการหวังผลตอบแทน แม้เพียงให้ผู้อื่นเห็นความดีของตนจึงไม่เป็นเหตุแห่งความ ทุกข์ ความเสียใจเนื่องจากความผิดหวังในภายหลัง

ส่วนความรักด้วยตัณหา มีการหวังตอบแทน ต้องการให้เขารักตอบ
เพียงให้เขาเห็นความดีของตน
เพราะฉะนั้น จึงมีโอกาสเป็นเหตุแห่งความ ทุกข์ความเสียใจ
อันเนื่องมาแต่ความผิดหวังในภายหลังได้
สมตามพระดำรัสที่ว่า
"ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์"

นี่เป็นความแตกต่างระหว่าง เมตตา กับ ตัณหา
ความจริง คนเรายังละตัณหาไม่ได้อย่างพระอรหันต์
ก็มีทั้งความรักด้วยเมตตา และตัณหา
เพียงแต่ว่า ใน ทั้งสองอย่างนั้น อย่างไหนมากกว่ากันเท่านั้น

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมตตา

- มีความเป็นไปโดยอาการเกื้อกูล เป็นลักษณะ
- มีความนำเข้าไป ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส (กิจ)
- มีการกำจัดความอาฆาตเป็นอาการปรากฏ
- มีการเล็งเห็นภาวะ ที่สัตว์ทั้งหลายน่าพอใจ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
ก็สมบัติ คือ

คุณของเมตตานี้ ได้แก่ความเข้าไปสงบความ พยาบาทได้นั่นเอง
เพราะธรรมชาติของเมตตา เป็นไปเพื่อกำจัดโทสะ ความเกิดขึ้นแห่งความใคร่
จัดว่าเป็นความวิบัติ ของเมตตา เพราะเหตุที่จะกลับกลายเป็นความรักด้วยตัณหาไป


ไม่ควรเจริญเมตตาในบุคคล ๔ ประเภทก่อน คือ

คนที่เกลียด ๑ คนกลางๆ ๑
คนที่รักมาก ๑ คนมีเวร หรือเป็นศัตรูกัน ๑


เพราะจิตใจที่ยังไม่คุ้นเคยกับความรู้สึกของเมตตา เมื่อพยายามจะ
แผ่ความรักไปยังคนที่เกลียด โดยทำให้เป็นที่รัก ย่อมลำบาก ทำได้ยาก

ถ้าพยายามแผ่ไปในคนที่รักมาก เช่น บุตร ภรรยา หรือสหายรัก โอกาสที่
จะเกินเลยกลายเป็นตัณหาไปก็มีมาก

สำหรับบุคคลที่เป็นกลางๆ ไม่ได้รักแต่ไม่ถึงกับเกลียด
การที่จะทำให้ความรู้สึกพอใจ อิ่มเอิบใจเป็นไปในบุคคลนั้นได้นานๆ
ย่อมเป็นการลำบาก

ส่วนผู้ที่มีเวรเป็นศัตรูกันมาก่อนนั้นก็แทบจะไม่ต้องพูดถึงกันเลย
เพราะปกติเพียงแต่นึกถึงเขาในแง่ดีบ้าง ก็ยังยากอยู่แล้ว
จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการที่จะแผ่เมตตาไปในเขา
เพราะฉะนั้น แรกเริ่มเดิมที ควรเว้นบุคคลเหล่านี้เอาไว้ก่อน


เมื่อเป็นเช่นนี้จะให้เริ่มที่ใครก่อนเล่า ?

ตอบว่าในตนเองก่อน ควรสงสัยว่า ทำไมจะต้องให้แผ่เมตตาไปในตนก่อน
เพราะตามปกติ คนเราก็มีความรักในตนเองอยู่แล้ว?
ตอบว่า ความรักที่มีในตนนั้น สำหรับผู้ที่มิได้มีจิตอบรมมาทางเมตตา
จนเกิดความคุ้นเคยแล้ว มักจะเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาไม่ใช่เมตตา
เพราะมันเกิดขึ้นโดยสักแต่เห็นว่า "เป็นเรา" เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรๆ
ที่เกี่ยวกับตัวเรามันก็เป็นไปได้ในด้านดีไปเสียทั้งนั้น


:b4: :b4: :b4:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
เมตตา เป้นหนึ่งในพรหมวิหาร4 ซึ่งตามหลักแล้วจะต้องบำเพ็ญให้ครบทั้ง4 อย่าง มิเช่นนั้นจะเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว เมตตามากก็ต้องระวังราคะ เพราะอยู่ใกล้กันมาก เป็นศัตรูใกล้ ส่วนความกรุณาศัตรูใกล้คือความโทมนัส ปกติแล้วหากมีความกรุณาจิตจะต้องเบิกบาน หากมีแต่เมตตากรุณาอย่างเดียว ไม่มีอุเบกขามากำกับก็จะมีความห่วงหาอาทรณ์มาก ต้องระวัง


:b41: ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ เป็นจริงอย่างที่คุณkokorado ว่า คนไร้สาระก็คิดอย่างนั้น เช่นกัน ด้วยปัญญาอันน้อยนิด ของตัวเองก็แนะนำได้แค่นั้น จริงๆเธอตั้งใจไว้ว่าจะไม่แต่งงาน เราก็ปลื้มไปด้วย แต่มันชักจะล่อแหลม ช่วงปิดเทอมเธอบอกว่าจะไปหาที่ปฏิบัติธรรม จะเอาข้อความที่คุณบอกไปบอกเธออีกที ขอบคุณอีกครั้งค่ะ :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
ขออนุโมทนาด้วยครับคุณคนไร้สาระที่มีสาระ
ปล. เขาอาจจะเป็นคู่บุพเพกันมาก็ได้นะ

:b41: ขอบคุณค่ะ สำหรับคำแนะนำ รู้สึกเห็นด้วยจริงๆ เมตตาแบบขาดสติมีผลเป็นทุกข์ คนไร้สาระรู้สึกว่า ชีวิตที่เป็นอยู่นี่ไม่ปลอดภัยจริง ๆ เมื่อใดขาดสติ จิตดำริไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรมีกิเลสพ่วงมาด้วย ผลที่ได้เป็นทุกข์เสมอ :b41:
:b48: คนไร้สาระจะนำเอาข้อคิดที่คุณคามินธรรมแนะนำ ใส่ใจตัวเองเพื่อเตือนตัวเองและบอกเธอด้วย :b48:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
เมตตา

[color=#0040FF]- มีความเป็นไปโดยอาการเกื้อกูล เป็นลักษณะ
- มีความนำเข้าไป ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส (กิจ)
- มีการกำจัดความอาฆาตเป็นอาการปรากฏ
- มีการเล็งเห็นภาวะ ที่สัตว์ทั้งหลายน่าพอใจ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
ก็สมบัติ คือ


:b41: ขอขอบคุณอย่างสูง สำหรับข้อแนะนำมากมากมาย สมแล้วที่คนไร้สาระยกให้เป็นอาจารย์ ข้อมูลมากมายจริงๆ ได้ความรู้และข้อคิดเยอะทีเดียว :b8:
:b48: ตัวเองก็พลอยได้รับอานิสงฆ์ในข้อนี้ไปด้วย ศิษยืคนไร้สาระจะน้อมใส่ใจ และบอกกับเจ้าของเรื่องด้วย เธอบอกว่าช่วงปิดเทอม จะไปปฏิบัติธรรม คนไร้สาระก็อนุโมทนากับเธอด้วย :b48:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตาแต่ไม่มีอุเบกขา ก็เป็นเหตุแห่งความกังวลใจ เพราะไปเอาเรื่องของเขามาเป็นเรื่องของตัวเอง

เมตตาแต่มีอุเบกขา ช่วยเขาไม่ได้ เราก็ต้องวางเฉย จะไปกังวัลใจได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตา เป็นคุณธรรมที่เริ่มเจริญได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ของการปฏิบัติธรรม ก็มิใช่เป็นข้อธรรม
ที่ง่ายนักอย่างที่มักเข้าใจกันอย่างผิวเผิน เพราะเมตตาอย่างที่พูดถึงกันง่ายๆทั่วๆ ไปนั้น หายากนักที่จะเป็นเมตตาแท้จริง
ดังนั้น เพื่อช่วยป้องกันความเข้าใจผิดที่เป็นผลเสียหายแก่ธรรม ในขั้นต้นนี้ ควรทราบหลักเบื้องต้นบางอย่างไว้เล็กน้อยก่อน

เมตตา - หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ
ความเข้าใจดีต่อกัน ความใฝ่ใจ หรือ ต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์
ทั้งหลาย

เมตตา เป็นธรรมกลางๆ กลางทั้งในแง่ผู้ควรมีเมตตา และในแง่ผู้ควรได้รับเมตตา จึงควรมีทั้งผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ต่อผู้น้อย
คนจนต่อคนมี และคนมีต่อคนจน
ยาจกต่อเศรษฐี และเศรษฐีต่อยาจก
คนฐานะต่ำต่อคนฐานะสูง และคนฐานะสูงต่อคนฐานะต่ำ
คฤหัสถ์ต่อพระสงฆ์ และพระสงฆ์ต่อคฤหัสถ์
เป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดี
ต่อกัน พร้อมที่จะรับฟังและเจรจาเหตุผลของกันและกัน ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว หรือความเกลียดชังเป็นที่ตั้ง


การที่กล่าวว่า เมตตา (รวมทั้งพรหมวิหารข้ออื่นๆด้วย) เป็นธรรมของผู้ใหญ่นั้น อันที่จริงความเดิม
เป็น “ธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่” คือ แปลคำว่า พรหม ในพรหมวิหารว่า “ท่านผู้เป็นใหญ่”
พรหม หรือท่านผู้เป็นใหญ่ในที่นี้ หมายถึงผู้ประเสริฐ คือ ผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม มิใช่ หมายถึงผู้ใหญ่ในความหมายอย่างที่เข้าใจกันสามัญ
ทุกคนควรมีพรหมวิหาร ทุกคนควรมีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ ไม่เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น


แต่ในเมื่อปัจจุบันเข้าใจกันแพร่หลายทั่วไปเสียแล้วว่า พรหมวิหาร มีเมตตาเป็นต้น เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็ควรทำความเข้าใจใหม่แง่ที่ว่า ความหมายเช่นนั้นมุ่งเอาความรับผิดชอบเป็นสำคัญ คือ เน้นว่า ในเมื่อ
ทุกคนควรบำเพ็ญพรหมวิหาร ผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นตัวอย่างและเป็นผู้นำ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ได้
ก่อน

ถ้าไม่รีบทำความเข้าใจกันอย่างนี้ ปล่อยให้ยึดถือปักใจกันว่า เมตตาก็ดี พรหมวิหารข้ออื่นๆก็ดี เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นความเข้าใจที่เขวผิดพลาด
การตีความและทัศนคติของคนทั่วไป ต่อธรรมข้อนี้ จะผิดพลาดไปหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พึงพิจารณาตั้งแต่ต้นว่า เมตตา เกี่ยวข้องกับสัมมาสังกัปปะองค์มรรคข้อที่ ๒ อย่างไร )

องค์มรรคข้อที่ ๒ มีความจำกัดความแบบทั่วไปตามคัมภีร์ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ๆ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ”
(ที.ม.10/299/348 ฯลฯ)

(นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกออกเป็นระดับโลกียะ และระดับโลกุตระไว้อีก)

จะทำความเข้าใจ เพียงคำจำกัดความแบบทั่วไปที่เรียกว่า เป็นขั้นโลกียะเท่านั้น
ตามคำจำกัดความแบบนี้ สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ หรือ ความนึกคิด
ในทางที่ถูกต้อง ตรงข้ามกับความดำริผิด ที่เรียกว่า มิจฉาสังกัปปะ ซึ่งมี ๓ อย่าง คือ

๑.กามสังกัปป์ หรือ กามวิตก คือ ความดำริที่เกี่ยวข้องกับกาม ความนึกคิดในทางที่จะแสวงหา หรือ หมกมุ่นพัวพันติดพันติดข้องอยู่ในสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ หรือ สิ่งสนองตัณหาอุปาทานต่างๆ ความคิดในทางเห็นแก่ตัว เป็นความนึกคิดในฝ่ายราคะ หรือ โลภะ

๒. พยาบาทสังกัปป์ หรือ พยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ประกอบด้วยความเคียดแค้นชิงชัง ขัดเคือง ไม่พอใจ คิดเห็นเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรูผู้มากระทบกระทั่ง เห็นสิ่งทั้งหลาย
เป็นไปในทางขัดอกขัดใจ เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่ถูกกระทบ
(ตรงข้ามกับเมตตา)

๓. วิหิงสาสังกัปป์ หรือ วิหิงสาวิตก คือ ความดำริในทางที่จะเบียดเบียน ทำร้าย ตัดรอน
และทำลาย อยากไปกระทบกระทั่งรุกรานผู้อื่น อยากทำให้เขาประสบความทุกข์ความเดือนร้อน เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่ที่จะไปกระทบ
(ตรงข้ามกับกรุณา)


ความดำริหรือแนวคิดแบบนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตามธรรมดา เมื่อบุถุชนรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการเห็น ได้ยิน ได้สัมผัสเป็นต้นก็ตาม จะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในสองอย่าง คือ ถ้าถูกใจ ก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน คล้อยตาม
ถ้าไม่ถูกใจ ก็ไม่ชอบ ขัดใจ ขัดเคือง ผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์ จากนั้น ความดำรินึกคิดต่างๆ ก็จะ
ดำเนินไปตามแนวทางหรือตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้น

ด้วยเหตุนี้ ความคิดของบุถุชนโดยปรกติ จึงเป็นความคิดเห็นที่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง มีความพอใจและไม่พอใจของตนเข้าไปเคลือบแฝงชัดจูง ทำให้ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเองล้วนๆ

ความนึกคิดที่ดำเนินไปจากความถูกใจ ชอบใจ เกิดความติดข้อง พัวพัน เอียงเข้าหา ก็กลายเป็น
กามวิตก
ส่วนที่ดำเนินไปจากความไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ เกิดความขัดเคือง ชิงชัง เป็นปฏิปักษ์ มองในแง่ร้าย ก็กลายเป็น พยาบาทวิตก
ที่ถึงขนาดพุ่งออกมาเป็นความคิดรุกราน คิดเบียดเบียน ทำลาย ก็กลายเป็น วิหิงสาวิตก
ทำให้เกิดทัศนคติ (หรือ เจตนคติ) ต่อสิ่งต่างๆอย่างไม่ถูกต้อง

ความดำริ หรือ ความนึกคิดที่เอนเอียง ทัศนคติที่บิดเบือนและถูกเคลือบแฝงเช่นนี้เกิดขึ้นก็เพราะการขาดโยนิโสมสิการแต่ต้น คือ มองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ
แล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นตัวนำ ไม่ได้ใช้
ความคิดวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบและความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมสิการ

โดยนัยนี้ มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือน และ มิจฉาสังกัปปะนี้ ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิด มิจฉาทิฏฐิ เข้าใจและมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือนต่อไป หรือยิ่งขึ้น
ไปอีก
องค์ประกอบทั้งสอง คือ มิจฉาทิฏฐิ และมิจฉาสังกัปปะ จึงส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางตรงข้าม การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามที่มันเป็นของมันเองได้ จะต้องใช้โยนิโสมสิการ
ซึ่งหมายความว่า ขณะนั้นความนึกคิด ความดำริต่างๆจะต้องปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ไม่มีทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ ผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์ต่างๆด้วย
ข้อนี้ มีความหมายว่า จะต้องมีสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ และองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับในฝ่ายมิจฉานั่นเอง


โดยนัยนี้ ด้วยการมีโยนิโสมสิการ ผู้นั้นก็มีสัมมาทิฏฐิ คือ มองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง เมื่อมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จึงมีสัมมาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และตั้งทัศนคติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึดติดหรือผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์ เมื่อมีความดำรินึกคิดที่เป็นอิสระจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นกลางเช่นนี้ (*) จึงทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง คือ
เสริมสัมมาทิฏฐิให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
จากนั้น องค์ประกอบทั้งสองก็สนับสนุนกันและกันหมุนเวียนต่อไป
...
(* )ท่าที่ของจิตใจอย่างนี้ พัฒนาขึ้นไปในขั้นสูงจะกลายเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่ง ในการใช้ความคิดอย่างได้ผล หาได้มีความหมายเป็นการนิ่งเฉย ไม่เอาเรื่องเอาราวอย่างที่มักเข้าใจกันไม่ )
...

ในภาวะจิตที่มีโยนิโสมสิการ จึงมีความดำริซึ่งปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ปราศจากความเอนเอียงทั้งฝ่ายติดคล้อยเข้าหา และฝ่ายผลักเบือนหนี ตรงข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ มี ๓ อย่างเช่นเดียวกัน คือ

๑. เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง * จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะ หรือ
โลภะ

...
* เนกขัมมะ = อโลภะ เนกขัมมธาตุ = กุศลธรรมทั้งปวง อพยาบาทธาตุ = เมตตา
อวิหิงสาธาตุ = กรุณา (อภิ.วิ.35/122/107 ฯลฯ)
...

๒. อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง
ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือ เมตตา
ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ

๓. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีการเบียดเบียน การคิดทำร้าย หรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือ กรุณา ซึ่งหมายถึงคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจาก
ความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมา อาจสรุปว่า ตามปกติมนุษย์บุถุชนเมื่อจะคิดอะไร ก็ย่อมคิดเพื่อสนองตัณหาในรูปใด
รูปหนึ่ง
ถ้าไม่คิดตามแนวทิฏฐิ เช่น ค่านิยมเป็นต้น ซึ่งตัณหาอาศัยอวิชชาปรุงแต่งไว้ก่อนแล้ว ก็จะคิดไปตาม
อำนาจของตัณหาสดในเวลานั้นๆ ซึ่งอาจเป็นไปโดยอาการของความอยากที่ยังเรียกว่า เป็นตัณหา
โดยตรงบ้าง โดยอาการถือตัวเชิดชูตนระวังฐานะของตัวตนที่เรียกว่ามานะบ้าง
ท่านจึงเรียกความคิดของปุถุชนเช่นนี้ว่า ประกอบด้วยอหังการ มมังการ และมานานุสัย หรือ เรียกสั้นๆว่า มีตัณหามานะและทิฏฐิ เป็นตัวสานและชักใยอยู่ ความคิดของปุถุชนนั้น จึงอาจเรียกได้ว่า
เป็นบริการของจิตที่รับใช้ตัณหา
ลักษณะของการคิดเพื่อสนองตัณหานั้น เป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ
ด้านบวก ออกมาในรูปของกามสังกัปป์ คือ คิดเอา คิดปรนเปรอบำเรอตน
ด้านลบ ออกมาในรูปของพยาบาทสังกัปป์ คือ คิดขัดคิดแง่ร้าย คิดเป็นปฏิปักษ์ เห็นเขาเป็นศัตรู
(กลัวเขาจะมาแย่งมาขัด) คิดกระทบกระทั่ง ไม่พอใจ เกลียดชัง
และวิหิงสาสังกัปป์ คือ คิดรุกราน คิดทำลาย
อย่างไรก็ตาม ความคิดสนองตัณหานั้น อาจถูกหักล้างด้วยโยนิโสมนสิการที่มองดูตามสภาวะ-
(ดูแนว ในวิภงฺค.อ.117, 149 ฯลฯ)
ความคิด ที่ประกอบกับโยนิโสมนสิการเช่นนี้ ไม่มีกาม ไม่มีพยาบาท ไม่มีวิหิงสา จึงบริสุทธิ์ตรง
ตามจริง ไม่เอนเอียง ติดข้องหรือปัดเหไปข้างใดข้างหนึ่ง และจึงเป็นความคิดที่มีขอบเขต
กว้างขวาง

อาจให้ความหมายของสัมมาสังกัปปะในแง่นี้ได้ว่า จะคิดอะไรก็ได้ ที่มิใช่เอามาปรนเปรอตัว มิใช่มุ่งร้าย หรือ หมายข่มเหงรังแกเบียดเบียนใคร นี้เป็นด้านปัญญาเกื้อกูลแก่สัมมาทิฏฐิโดยตรง
อีกด้านหนึ่ง ความคิดสนองนั้น อาจถูกหักล้างด้วยโยนิโสมนสิการแบบปลุกเร้ากุศลธรรม ความคิด ที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการแบบนี้ เป็นความคิดแบบตรงข้าม กาม พยาบาท และวิหิงสา คือ คิดสละ มีเมตตา มีกรุณา เป็นการสร้างเสริมกุศลธรรมจำเพาะอย่าง

สัมมาสังกัปปะแง่นี้ แม้จะเกื้อกูลแก่สัมมาทิฏฐิ แต่เป็นแง่ที่สัมพันธ์กับศีลโดยตรง คือนำไปสู่
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร