วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จอหน์ดำเนินการบรรยายต่อไป ผมจะพูดถึงอริยสัจสี่โดยละเอียด

เรื่องทุกข์ .............. :b41: :b41: :b41:


ซึ่งผมคิดว่าสำคัญมาก ที่พวกเราหลายๆคน มุ่งปฏิบัติเลยหวังหลุดพ้นโดยไม่ทำความกระจ่างเรื่องทุกข์ให้ชัดเจน........ หรือเห็นทุกข์ให้ชัดเจน

เมื่อท่านทั้งหลายไม่เห็นทุกข์ชัดเจนแล้ว
การดำเนินการเพื่อออกจากทุกข์ตามมรรคข้อต่อๆไป นั้นก็จะไม่สำเร็จ........

ดุจเช่นถ้าท่านรู้ว่าไฟกำลังไหม้ศรีษะท่านอยู่ หรือท่านกำลังแบกอุจจาระอยู่
เมื่อท่านรู้ ท่านจะรีบวางอุจจาระนั้นทันที หรือดับไฟที่กำลังไหม้ศรีษะทันที.....

แต่เหตุไร ท่านยังคงแบกมันต่อไป ต่อให้ไฟมันไหม้หัวอยู่ต่อไปละ........
และก็หาวิธีออกจากทุกข์ด้วยวิธีต่างๆนานา ........ โดยตัวเองยังแบกมันไว้เช่นนั้น




พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า.......... :b43: :b43:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลิดเพลินใจในอารมณ์ต่างต่าง

สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนที่ไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างต่างเพียงสักว่าสักว่า ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างต่าง ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย
ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ภิกษุทั้งหลาย :b48: :b48: :b48:

ความเกิดเป็นความทุกข์
ความแก่
ความเจ็บ
ความตาย ก็เป็นความทุกข์
ความแห้งใจหรือความโศก
ความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า
ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ
ความคับแค้นใจ
ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก
ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป

การยึดมั่นในขันธ์ห้าด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ :b51: :b52: :b53:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา เรียก กามตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เรียก ภวตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นแล้ว เรียก วิภวตัณหา อย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน

ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างต่าง ดับตัณหา คลายตัณหา โดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่า นิโรธ คือความดับทุกข์ได้


รูปภาพ

อ้างคำพูด:
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? คือ แม้ความเกิดเป็นทุกข์
แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความ
ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความทุกข์เกิดขึ้นโดยตลอดตั้งแต่เกิด ดำรงชีวิตอยู่และจนตาย
นั่นคือการเกิดมีขันธ์ห้าหรือรูปร่างกายนี้ขึ้นมา แล้วยึดมันว่าเป็นของเรา เป็นเรา
หรืออุปทานขันธ์ 5 นี่เองคือทุกข์ใหญ่ที่สุด....นำมาซึ่งความทุกข์อื่นๆ.....

เมื่อยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา........
จึงทำทุกอย่างเพื่อให้ขันธ์ห้านี้ยั่งยืน ........
ทำมาหากินไข่วคว้าซึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ และสุขทางโลก

เพื่อให้ขันธ์ห้านี้ยั่งยืน มีความสุขแบบโลกๆ.....ตราบจนวันตาย..

ทั้งที่ไอ้ตัวขันธ์ 5 มันคือกองทุกข์..............ยังแบกมันอยู่
จิตยังยึดมั่นว่าเป็นเราอยู่........

แล้วจิตยังไปยึดในสิ่งอื่นๆนอกจากขันธ์ 5
อีกเช่นลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข...........แบกโลกธรรมอีก

ทุกข์จากการทำงานของขันธ์ 5 อีก.........ทั้งคิด วางแผน เดิน วิ่ง ทำอย่างไรให้ได้มา

เห็นทุกข์หรือยัง เห็นชัดหรือยัง(ไม่คิดเอาเองนะ)
ทุกท่านต้องไปหยั่งใจเองนะว่าการมีขันธ์ห้าและยึดในขันธ์ห้า......มันนำมาซึ่งความทุกข์อย่างไร


:b49: :b49: ขอให้หยั่งใจหยั่งจิตให้เห็นชัด(โยนิโสมนสิการ) :b48: :b34:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำถาม......มีคนยกมือขึ้น


ผู้ฟังรายที่ 1 "ขอถามท่านว่ากระบวนการเกิด แก่ เจ็บและตายมันเป็นกระบวนการธรรมชาติ
ไฉนท่านจึงบอกว่ามันเป็นทุกข์เล่า"

จอหน์ "นั่นคือสิ่งที่คนทุกคนรู้ เห็น เพราะได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนโดยหลักสูตรที่พวกท่านบรรจุเข้าไปเรียนเอง ทำเอง เออเอง ว่าเป็นกระบวนการธรรมชาติ ท่านลองเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ตั้งแต่ตอนนี้ซิ...ว่ามันคือทุกข์...สอนเด็กๆไปเรื่อยๆหลายๆสิบปี แล้วดูว่าจะเป็นอย่างไร."

แคท "เช่นกันเมื่อเกิดมาต้องเรียนหนังสือ จบแล้วทำงาน มีครอบครัว ท่านก็ว่ามันเป็นปกติของชีวิตมนุษย์ ท่านก็มองไม่ออกหรอกว่าเป็นทุกข์อย่างไร เพราะสิ่งนั้นมันสะสมอยู่ในจิตของท่านอาจไม่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว มันนานมากจนกว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดแล้วในโลกนี้ มาบอกความจริง "

(เช่นเมื่อก่อนเชื่อว่าโลกแบนมาหลายร้อยปี
พอมีผู้มาเกิดบอกว่าโลกเรากลมนะ ท่านจะเชื่อได้อย่างไร)

ผู้ฟังรายที่ 2 "การหิว กิน ขับถ่าย ยืน เดิน นั่ง นอน มันก็เป็นธรรมชาตินะ ท่านว่าเป็นทุกข์อย่างไร"

จอหน์ "อ้าวถ้าหิว ไม่กิน รู้สึกอย่างไร..... ถ้ากินห้ามหยุดจะรู้สึกอย่างไร.....
ห้ามถ่ายจะเป็นอย่างไร........ให้ถ่ายไม่หยุดจะเป็นอย่างไร.......
ยืนอย่างเดียวห้ามนั่งจะเป็นอย่างไร ........ นอนห้ามลุกจะเป็นอย่างไร
ท่านลองคิดดูสิว่ามันทุกข์ไหม......."

แคท "ที่เราต้องหิว กิน ขับถ่าย นั่นเพราะอะไร มีใครคิดบ้างไหม ปกติเราไม่เคยคิดเลย เพราะคิดว่ามันเป็นธรรมชาติ ...... เป็นปกติ......ขอตอบว่าเพราะเรามีร่างกายนี้เอง ยึดมันว่าคือเรา เราคือร่างกายนี้นั่นเอง จึงต้องดูแลมันตลอด กินกับทุกข์ นอนกับทุกข์อยู่ไม่รู้นั่นเอง"

ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวท่านแคท.....ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา แล้วเราคือใคร ท่านลองโดนตีดูบ้าง ถามว่าใครเจ็บ ท่านเจ็บไหมละ........."

คำถามนี้เรียกเสียงเฮฮา.....ขำขันกันทั่วห้องประชุม :b13: :b13: :b13:
แต่บางกลุ่มคนก็ไม่ได้ขำไปด้วย...ได้แต่ส่ายหน้าไปมากับบุคคลที่ถามเช่นนั้น......... :b3:

แคท "คำถามนี้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนถามมาก พระพุทธองค์ก็ทรงตอบว่า ถ้าร่างกายนี้เป็นของท่าน ท่านบังคับไม่ให้แก่ เจ็บ หรือ ตายได้ไหมละ......"

ทุกคนเงียบ...................... :b21: :b21: :b21:

ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวมันเป็นธรรมชาติ เกิดมาก็แก่ เจ็บ ตาย นะท่าน บังคับไม่ได้อยู่แล้ว"

แคท "นั่นแหละสภาพที่บังคับไม่ได้นี่แหละ ท่านเรียกว่าทุกข์ "

ทุกขัง(ทุกฺขํ,ทุกขะ) หรือ ทุกข์ แปลว่า ทนอยู่ได้ยาก.

ท่านว่า...

สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย

เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข

เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ

ผู้ฟังรายที่ 3 (ท่าทางแก่เรียน) :b31: :b31: :b31:

"แล้วเราคือใคร ถ้าไม่ใช่ร่างกายนี้ "

"ท่านอย่าตอบนะว่าเราไม่ใช่อะไรเลย.......ไม่มีอะไรเป็นเรา ของเรา ทุกอย่างเป็นอนัตตาหมด

คำตอบแบบนี้ มันถามไม่จบ..... เพราะผมจะถามต่อว่าเมื่อเราไม่ใช่อะไรเลย..... แล้วเรามาจากไหน ....... จะไปไหน

แล้วเมื่อปฏิบัติธรรมไปเพื่อไปสู่ความไม่มีอะไรเลย .....จะทำไปทำไม

เพราะเราทุกคนต่างแสวงหาความสุขอันยั่งยืนทั้งสิ้น
คำว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนั้นจะตอบว่าอย่างไร ใครเสวยสุขนั้น.....ถ้าอะไรก็อนัตตาหมด "

:b51: :b52: :b53: :b54: :b48: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ :b8:
จัดทำรูปแบบได้น่าอ่านมากๆ น่าพิมพ์เป็นหนังสือแจกนะคะ :b42:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ผู้ฟังรายที่ 3 (ท่าทางแก่เรียน)

"แล้วเราคือใคร ถ้าไม่ใช่ร่างกายนี้ "

"ท่านอย่าตอบนะว่าเราไม่ใช่อะไรเลย.......ไม่มีอะไรเป็นเรา ของเรา ทุกอย่างเป็นอนัตตาหมด

คำตอบแบบนี้ มันถามไม่จบ..... เพราะผมจะถามต่อว่าเมื่อเราไม่ใช่อะไรเลย..... แล้วเรามาจากไหน ....... จะไปไหน

แล้วเมื่อปฏิบัติธรรมไปเพื่อไปสู่ความไม่มีอะไรเลย .....จะทำไปทำไม

เพราะเราทุกคนต่างแสวงหาความสุขอันยั่งยืนทั้งสิ้น
คำว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนั้นจะตอบว่าอย่างไร ใครเสวยสุขนั้น.....ถ้าอะไรก็อนัตตาหมด "


จอหน์ กระผมขอนับถือคำถามดังกล่าว บ่งบอกว่าท่านเป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้มาอย่างเยี่ยมยอด ผมจึงใคร่ขอเวลาอธิบายเรื่องนี้ ขอท่านจงใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคายเถิด.....(ทำตัวเป็นแก้วเปล่า อย่าเป็นน้ำล้นถ้วย)

รูปภาพ

เดิมเราคือจิต ไม่ใช่ร่างกายสังขารนี้
ร่างกาย สังขารนี้คือสิ่งที่มากไปกว่าจิต


ตามพระบาลีในอนมตัคคสูตร กล่าวไว้ดังนี้
อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สงฺสาโร ปุพฺพาโกฏิ น ปญฺญายติ :b39:

แปลว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรนี้ มีอยู่ก่อนนานมาแล้ว
ซึ่งผู้มีปัญญาไม่อาจตามรู้ได้ว่ามาจากไหน? และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อใด


ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่ก่อนนานมาแล้ว ไม่มีผู้ใดเป็นผู้สร้างขึ้น
และไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยใดๆทั้งสิ้น เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
จิตไม่เคยดับตายหายสูญไปไหนเลย เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

กล่าวให้ชัดก็คือ จิตมีอยู่นานแล้ว โดยไม่มีใครรู้ว่าเริ่มต้นมาจากที่ไหน
และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อไร.

จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีรูปร่าง ให้สัมผัสหรือให้แลเห็นได้เลย
นอกจากจะแสดง ความรู้ ออกมาให้รู้สึกเท่านั้น

อะไรเกิดขึ้นก็รู้ อะไรดับไปก็รู้ พอใจก็รู้ ไม่พอใจก็รู้ เฉยๆก็รู้
มีจิตอยู่ที่ใด ย่อมรู้อยู่ที่นั้น ตลอดกาล ไม่มีการเกิดดับ
กล่าวคือ ไม่มีการรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง.


มีพระบาลีในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานรับรอง ไว้ดังนี้:
สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ,
วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ :b43:

แปลว่า

เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิต ก็รู้ชัดว่าราคะเกิดขึ้นที่จิต
เมื่อราคะหายไปจากจิต ก็รู้ชัดว่าราคะหายไปจากจิต

ทั้งนี้แสดงว่า เมื่อมีกิเลสอย่างใดเกิดขึ้นก็รู้ (ในที่นี้คือ ราคะ)
เมื่อกิเลสอย่างนั้นๆ ดับไปก็รู้
อะไรเกิดขึ้นก็รู้ อะไรดับไปก็รู้ สิ่งที่เกิดดับนั้น ไม่ใช่จิตแน่นอน
จิตไม่มีการเกิดดับ แต่จิตทรงไว้ซึ่ง ความรู้ ตลอดเวลา


มโน ปุพพํ คมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปทุฏฺเฐน
ภาสติ วา กโรติ วา ตโตนํ ทุกฺขมนฺเวติ จกฺกํ ว วหโต ปทํ :b42:

แปลว่า

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ
ผู้ที่กล่าววาจาหรือ กระทำการสิ่งใดด้วยใจคิดร้าย

กรรมย่อมตามผู้นั้นไป เหมือนดังล้อที่หมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น

ทั้งนี้แสดงว่า บรรดาสรรพสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้
ล้วนแล้วแต่มี จิต เป็นประธานสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น นั่นคือ
บรรดาการกระทำที่เกิดขึ้นทุกอย่างนั้น
ก็เพราะจิตเป็นผู้สั่งให้ลงมือกระทำทั้งทางกายและวาจาทั้งสิ้น

อันร่างกายสังขารนี้ก็คือสิ่งที่จิตสร้างขึ้น

แม้แต่โลก จักรวาล หรือทุกสิ่งในโลก และ จักรวาล ล้วนเกิดจากอำนาจของจิตทั้งสิ้น
:b41: :b41: :b41:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อ้างคำพูด:
"ท่านอย่าตอบนะว่าเราไม่ใช่อะไรเลย.......ไม่มีอะไรเป็นเรา ของเรา ทุกอย่างเป็นอนัตตาหมด

คำตอบแบบนี้ มันถามไม่จบ..... เพราะผมจะถามต่อว่าเมื่อเราไม่ใช่อะไรเลย..... แล้วเรามาจากไหน ....... จะไปไหน


สิ่งที่มากไปกว่าจิต คือสังขาร คือสิ่งที่จิตปรุงแต่งสร้างขึ้นมา
แล้วหลงยึดสังขารนี้ ร่างกายนี้ สิ่งของนี้ ว่าเป็นของเรา ว่าเป็นเรา
ทั้งนี้เพราะอวิชชาหรือความไม่รู้ของจิตนั่นเอง....

จึงอาจกล่าว่าอวิชชาทำให้เกิดสังขารนั่นเอง....

สังขารเป็นสิ่งปรุงแต่งที่จิตสร้างขึ้น จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน

ธรรมทั้งปวง คือ อารมณ์ที่เข้ามากระทบจิต
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารมั่นคงเลย

เดิมเราคือจิตบริสุทธิ์ แต่ไม่มีวิชชาหรือโง่นั่นเอง


เรากำลังจะหาทางกลับไปสู่ภาวะจิตที่บริสุทธิ์และฉลาด มีวิชชา
ไม่หลงยึดสิ่งใดๆอันมากไปกว่าจิต(สังขาร)ว่าเป็นเรา เป็นของเราอีกต่อไป
นั่นคือภาวะนิพพานนั่นเอง


:b41: :b41: :b41:

อ้างคำพูด:
แล้วเมื่อปฏิบัติธรรมไปเพื่อไปสู่ความไม่มีอะไรเลย .....จะทำไปทำไม

เพราะเราทุกคนต่างแสวงหาความสุขอันยั่งยืนทั้งสิ้น
คำว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนั้นจะตอบว่าอย่างไร ใครเสวยสุขนั้น.....ถ้าอะไรก็อนัตตาหมด "


เราปฏิบัติธรรมเพื่อชำระจิตใจของเราให้บริสุทธิ์ตามโอวาทปาฏิโมกข์
อันเป็นเป้าหมายสูงสุดคือบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวง แล้วเรา(คือจิต)จะได้สัมผัสสุขอันอมตะนั้นในนิพพาน (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง)

อ้างคำพูด:
๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือ การไม่ทำบาปให้เกิดขึ้นด้วยประการทั้งปวง
อันได้แก่ คำสั่งสอนเกี่ยวกับศีล วินัย ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งจะป้องกันพุทธบริษัทผู้ปฏิบัติตาม
ไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว หรือได้รับความเดือดร้อนนานาประการจากการอยู่ร่วมกันในสังคม.

๒.กุสลสฺสูปสมฺปทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่
คำสั่งสอนที่เกี่ยวกับการทำความดี ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม.

๓.สจิตฺตปริโยทปนํ คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ปราศจากกิเลสต่างๆ
ที่จะทำให้จิตเศร้าหมอง.


:b48: :b48: :b48:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


เหตุแห่งทุกข์ .... แคทขออนุญาตกล่าวต่อจากจอหน์เลย

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

รูปภาพ

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

สมุทัยสัจจะ

สัจจะคือสมุทัยนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสชี้เอาตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากของใจ
ดังที่ตรัสไว้ในนิเทศแห่งสมุทัยสัจจะ ทั่ว ๆ ไปว่า ตัณหา ที่ให้เกิดใหม่


สหรคต คือ ไปกับ นันทิและราคะ คือความเพลินและความติดใจยินดี มีความเพลิดเพลินยินดียิ่ง ๆ ขึ้นไปในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

๑. กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ

๒. ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในภพ คือ ความเป็นนั่น เป็นนี่ต่าง ๆ

๓. วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในวิภพ คือ ความไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ต่าง ๆ หมายถึง ความอยากที่จะให้สิ่งที่ไม่ชอบ ภาวะที่ไม่ชอบ สิ้นไปหมดไป หรือความต้องการที่จะทำลายสิ่งที่ไม่ชอบ ภาวะที่ไม่ชอบ

ในปฏิจจสมุปบาท อันแสดงธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้นอันเนื่องกันไปเป็นสาย ได้ยกอวิชชาความไม่รู้ในสัจจะเป็นข้อต้น โดยเป็นปัจจัยแห่งข้อต่าง ๆ มาจนถึงตัณหา และตัณหาก็เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานคือความยึด

อุปาทานก็เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติก็เป็นปัจจัยให้เกิดชราและมรณะ และโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ต่าง ๆ กองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมเกิดขึ้น สืบมาจากอวิชชา ดังนี้


เพราะฉะนั้น ตามนัยปฏิจจสมุปบาทนี้ ตัณหาจึงสืบเนื่องมาจากอวิชชา และเป็นปัจจัยสืบต่อไป อุปาทานคือความยึดถือ เมื่อยกเอาเฉพาะตัณหาและอุปาทาน ก็กล่าวสั้นว่า ได้แก่ ความอยากยึด อยากอยู่ในสิ่งใดก็ยึดในสิ่งนั้น

อยากเป็นตัณหา ยึดเป็นอุปาทาน เพราะฉะนั้น ทั้งสองนี้จึงเนื่องกันอย่างใกล้ชิด แม้จะยกขึ้นกล่าวเพียงข้อเดียว ก็จะต้องมีอยู่ถึงสอง เหมือนอย่างยกตัณหาขึ้นกล่าวข้อเดียว ก็ต้องมีอุปาทานอยู่ด้วย

หรือยกอุปาทาน ขึ้นกล่าวข้อเดียว ก็หมายถึงว่ามีตัณหาอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น เพราะตัณหาอุปาทานดังกล่าวนี้เอง ขันธ์ทั้งห้าซึ่งเป็นทุกข์อยู่ตามธรรมชาติธรรมดา โดยไม่มีใครเป็นทุกข์ ทุกข์เป็นทุกข์เอง

แต่เมื่อมีตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ ขันธ์ทั้งห้าจึงเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น คือ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ เมื่อเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น จึงมี สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นขึ้น เพราะว่าเมื่อตัณหาอุปาทานเข้าไปเกี่ยวข้องยึดถือ ขันธ์ทั้งห้านี้ก็เป็นเราขึ้น เป็นของเราขึ้น เป็นตัวตนของเราขึ้น


เมื่อมีเรา มีของเรา มีตัวตนของเรา จึงมีเรา มีของเรา มีตัวตนของเรา เกิดเป็นทุกข์ขึ้น เมื่อขันธ์เกิดก็เราเกิด ขันธ์แก่ก็เราแก่ ขันธ์ตายก็เราตาย เพราะมีตัณหาอุปาทานอยู่ในขันธ์ จึงมีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นทุกข์ขึ้น ทุกข์จึงบังเกิดขึ้นเต็มอัตรา

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไร รัญจวนใจ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก

ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ แต่ละอย่าง และเมื่อกล่าวโดยย่อ ก็ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้งห้านี้แหละเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่รวมรับทุกข์ทั้งหมด


เมื่อมีตัณหาอุปาทานขึ้นในขันธ์ ขันธ์ก็เป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น จึงมีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นทุกข์ ทุกข์บังเกิดขึ้นเต็มอัตรา ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแล้ว แต่เมื่อไม่มีตัณหาอุปาทานในขันธ์ ขันธ์ก็ไม่เป็นอุปาทานขันธ์

แต่เป็นขันธ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติธรรมดา ก็เป็นทุกข์อยู่ตามธรรมชาติธรรมดา แต่ไม่มีใครเป็นทุกข์ ทุกข์เป็นทุกข์อยู่เอง ฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้ทุกขสัจจะ สัจจะคือทุกข์แล้ว จึงได้ทรงแสดงสมุทัยสัจจะ


สัจจะคือสมุทัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาจับตัวเหตุของทุกข์ คือตัณหาอุปาทาน ที่บังเกิดขึ้นในขันธ์ และได้ตรัสชี้ให้เห็นลักษณะของตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากของใจตั้งต้นแต่ โปโนพฺภวิกา เป็นเหตุให้ถือเอาภพใหม่ คือให้เกิดอีก

นนฺทิราคสหคตา ไปกับนันทิคือความเพลิน และราคะความติดใจยินดี ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี มีความเพลิดเพลินยินดียิ่งในอารมณ์นั้น ๆ และก็ได้ทรงจำแนกออกเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังที่ได้กล่าวแล้ว


จาก แนวปฏิบัติทางจิต
เทศน์ของ สมเด็จพระญาณสังวร
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


นิโรธ :b52: :b51: :b53:

ควรทำให้แจ้ง

ต่อให้ได้ขึ้นสวรรค์เป็นเทวดา นางฟ้าจริง ก็ยังเวียนอยู่แค่ในกามภพเท่านั้น
สูงกว่าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ยังมีรูปพรหมอีก ๑๖ ชั้น อรูปพรหมอีก ๔ ชั้น
ซึ่งก็ยังไม่หมดทุกข์ จะหมดทุกข์จริง ๆ ต้องฝึกจนกระทั่งหมดตัณหา
ดับความทะยานอยากต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง หมดกิเลสเข้าพระนิพพานเท่านั้น


นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เมื่อพระองค์เห็นสมุทัย พระองค์ละสมุทัย
มันก็เป็นนิโรธเท่านั้นเอง นิโรธเป็นของควรทำให้แจ้ง พระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) :b49: :b49: :b49:

วันนี้วันพระอ่านธรรมะ นิโรธ เป็นอริยสัจประการที่สามในอริยสัจ ๔ กันครับ


มิลินทปัญหา ปัญหาที่ ๘ ถามถึงเรื่องนิโรธนิพพาน

“ ข้าแต่พระนาคเสน นิโรธ คือ นิพพาน หรือ ? ”

“ ถูกแล้ว มหาบพิตร ”

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อย่างไรจึงว่านิโรธคือนิพพาน ? ”

“ ขอถวายพระพร อันว่าพาลปุถุชนทั้งหลาย ย่อมเพลิดเพลิดยินดีใน อายตนะภายในภายนอก
( ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ) จึงถูกกระแสตัณหาพัดไป จึงไม่พ้นจากการเกิด แก่ ตาย
โศกร่ำไร ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และคับแค้นใจ

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับคำสอนพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินยินดีในอายตนะภายในภายนอก
เมื่อไม่เพลิดเพลินยินดี ตัณหาก็ดับไป เมื่อตัณหาดับ อุปทานก็ดับ เมื่ออุปทานดับ ภพก็ดับ
เมื่อภพดับ ชาติก็ดับ เมื่อชาติ คือ การเกิดดับ ความโศก ความร่ำไร ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
และความคบแค้นใจก็ดับ เป็นอันว่า ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
อย่างนี้แหละมหาบพิตร จึงว่า นิโรธ คือ นิพพาน ”


ทุกขนิโรธ ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ :b48: :b48: :b48:

(1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์คือทุกขนิโรธเป็นอย่างไร
(2) คือ ความสำรอก และความดับโดยไม่มีเหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยในตัณหานั้นนั่นแล อันใด
(3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นแล เมื่อบุคคลจะละเสีย ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน
(4) ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับก็ย่อมดับในที่นั้น
(5) ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
(6) ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
(7) หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ
(8) รูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...
(9) ความรู้ทางตา..., ทางหู..., ทางจมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...
(10) ความกระทบทางตา..., หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...
(11) เวทนาที่เกิดแก่กระทบทางตา..., หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...
(12) ความจำรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...
(13) ความจงใจในรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...
(14) ความอยากในรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...
(15) ความตรึกถึงรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...
(16) ความตรองถึงรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...


ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่นั้น เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่นั้น
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริยสัจจ์คือทุกขนิโรธ


สำหรับปถุชนคนธรรมดา ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลกและในทางธรรม

ทุก ๆ คนปรารถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์
และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก
ทั้งนี้ก็เพราะ ไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข
ถ้าได้รู้แล้ว ก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข
อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไป จึงต้องเกิดเดือดร้อน
:b44: :b44: :b44: :b44:
ที่พูดกันว่า ตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา คือความอยากของใจ ในขั้นโลก ๆ นี้
ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาศัยความอยากเพื่อสร้างโลกหรือสร้างตนเอง
ให้เจริญต่อไป แต่ก็ต้องมีการควบคุมความอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควร และจะต้องรู้จักอิ่ม
รู้จักพอใจในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ก็พอครองชีวิตอยู่เป็นสุขในโลก
ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัยก็คือ ผู้ที่ไม่ควบคุมตัณหาของใจให้อยู่ในขอบเขต

แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย
จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ ไม่ปล่อยความคิดนั้นก็หลับไม่ลง
ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป-เสียงทั้งหลาย เช่น ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกเกณฑ์
ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไป เสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง
จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง คือ ความสงบ
:b43: :b43: :b43: :b43:
จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย นี้คือความสงบใจ
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือความสงบความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง
ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่า ความดับทุกข์ก็คือ ความสงบใจ
ซึ่งเป็นอาหารใจ ที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจใน นิโรธ นี้ขึ้น


(สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก)

ขอบพระคุณที่มีจิตกุศลติดตามอ่านครับ :b8: :b8:
วันนี้ขอจบนิโรธ ควรทำให้แจ้ง ก่อนนะครับ

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์

.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

:b40: :b40: :b40:

..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา


....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-


:b42: :b42: :b42:

..........1. สัมมาทิฏฐิ ิ คือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง


รูปภาพ

.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน

.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ :b44: :b44: :b44:

ศีล - สมาธิ - ปัญญา

สรุปสั้น ๆ ก็คือ :b49: :b49:
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....


.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)

.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว


สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์


.สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น


.สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น


.สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น


.สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า


.สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป


.สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ อ
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ

:b51: :b52: :b53:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัมมาทิฏฐิ สำคัญที่สุด

รูปภาพ

:b51: :b52: :b53: :b45: :b46:

พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบไว้ทั่วไปว่า

คือ ความรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔

รู้จักทุกข์

รู้จักสมุทัย

เหตุให้เกิดทุกข์ :b49: :b49: :b49:

รู้จักนิโรธ ความดับทุกข์

รู้จักมรรค คือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


ท่านพระสารีบุตรเถระก็ได้อธิบายสัมมาทิฏฐิแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ท่านประมวลไว้ในสัมมาทิฏฐิสูตร โดยที่ท่านได้อธิบายกว้างขวางออกไป ขยายความออกไป จับตั้งแต่เบื้องต้นโดยที่ท่านได้กล่าวตั้งเป็นกระทู้ขึ้นว่า

ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนั้นเป็นอย่างไร

ท่านก็อธิบายว่าได้แก่

ความรู้จักอกุศล ความรู้จักอกุศลมูล มูลเหตุของอกุศล

ความรู้จักกุศล ความรู้จักกุศลมูล มูลเหตุของกุศล

สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบดั่งนี้ :b43: :b43: :b43:

เป็นทิฏฐิคือความเห็น

เป็นทัศนะคือความเห็น

เป็นญาณะคือความรู้ หรือเป็นปัญญาคือความรู้ทั่วถึง

ที่จำต้องการเป็นขั้นต้นของทุก ๆ คนในโลก
:b39: :b39: :b39:

แต่ว่าจะได้สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบดั่งนี้ได้ ก็ต้องอาศัยความที่ใช้ปัญญาที่มีอยู่เป็นพื้น
ในการประกอบปลูกปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ด้วยการฟังการเรียนอันรวมในคำว่า สุตะ

ด้วยการคิดพินิจพิจารณา อันรวมเรียกว่า จินตา :b52: :b51: :b53:

และด้วยการปฏิบัติอบรมต่าง ๆ ในข้อที่พึงปฏิบัติอบรมนั้น ๆ อันเรียกว่า ภาวนา

และเมื่อได้ประกอบปฏิบัติปลูกปัญญาอบรมปัญญา เพิ่มพูนปัญญาในทางที่ถูกต้องอยู่เสมอ ก็ย่อมจะได้ปัญญาที่เป็นปัญญาถูกต้อง อันเรียกว่า สัมมัปปัญญา ได้สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ ดังกล่าว

สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบความเห็นตรง นำให้ได้ความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระธรรม นำเข้ามาสู่สัทธรรมคือธรรมะของสัตตบุรุษ

รูปภาพ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

จากสัมมาทิฏฐิ ๑

เบื้องต้นของสัมมาปฏิบัติ

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร


เมื่อจบการบรรยายดั่งกล่าวตรงกับเวลา 21.00 น

ผู้คนในห้องประชุมและที่ฟังอยู่ข้างนอกรวมทั้งหมด 84000 คน

ได้บรรลุโสดาบันในที่สุด.......


ขณะนั้นได้บังเกิดแสงสว่างขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเลย
สว่างมากเหมือนเวลากลางวันไปทั่วโลก

โดยเฉพาะบริเวณที่มหาโพธิมัณฑสถาน พุทธคยา ประเทศอินเดีย
ได้ปรากฏพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน.
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว


รูปภาพ


ลอยเด่นสามารถมองเห็นแต่ไกลได้ทั่วพื้นโลกและสากลจักรวาลแห่งนี้แต่นั้นจักการทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์.

หมู่มวลมนุษยชาติในปี พ.ศ.5001 ได้รับความปลื้มปิติจากพุทธคุณของพระองค์กันทุกคน
การดำเนินงานของแคทและจอหน์ได้บรรลุในสิ่งที่ทั้งสองคนหวังไว้แล้ว....
เอวังก็มีด้วยประการนี้......


อ้างคำพูด:
บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น
กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์.
ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา
ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต.
จักมีอย่างไร ?
:b44: :b44: :b44: :b44:

คือครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะ และสัมมานะในที่นั้น ๆ ก็ไปสู่ที่ ๆ มีสักการะ และสัมมานะ ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

เมื่อกาลล่วงไป สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์.

พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง.

พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว :b42: :b42:

รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว. แต่นั้นจักการทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์. ในกาลนั้น ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น.

ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬ ประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด.

ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ.....
ทำให้พระสรีระนั้น ถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพรรณผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไปเปลวเพลิงก็จักขาดหายไป. พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป.

ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์เป็นต้น เหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำปทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ จักได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตน ๆ นี้ ชื่อว่า อันตรธานแห่งพระธาตุ.



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172


อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

---------------------------------------------------------------------------------------

[๒๘๔] ยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ
ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่สาธารณะด้วยหมู่พระสาวก คือ

ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน
ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า
ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา

รูปภาพ

ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ

ท่อไฟพุ่งออกจากขุมพระโลมา สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมา
(พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีรกายด้วยสามารถ) แห่งวรรณ ๖ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแสด สีเลื่อมประภัสสร


:b8: :b8: :b8: กราบอนุโมทนาบุญทุกท่าน :b8: :b8: :b8:

รูปภาพ

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร