วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2024, 12:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความเดิมจากตอนที่แล้ว :b41: :b41: :b41:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=20844


หลังจากที่แคทและจอหน์บรรลุโสดาบัน คือผู้ที่ประกอบด้วยมรรคมีองค์แปดแล้ว
แคทได้เดินทางมาถึงนครราชคฤห์ มีความปราถนาที่จะเข้าเฝ้าพระศาสดาในเวฬุวันวรมหาวิหาร

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

ส่วนจอหน์นั้นพักอาศัยอยู่กับอุปกะปริพาชกแต่ต้องแยกเรือนออกมา
เนื่องจากอุปกะได้อาศัยอยู่กับสุชาวดีฉันสามีภรรยากันแล้ว

อุปกะพยายามเอาอกเอาใจสุชาวดีสมกับที่ตนรัก แต่สุชาวดีซิ เห็นการเอาใจของอุปกะเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และรำคาญ


"สุชาวดี!"

อุปกะพูดในขณะที่ชมพันธุ์ไม้อยู่ในป่า :b51: :b52: :b53:

"ดูดอกไม้ดอกนั้นซิมันช่างสวยงามเบ่งบานดีเหลือเกิน"

"เห็นแล้ว" สุชาวดีตอบสะบัดๆ

"แต่" อุปกะพยายามพูดให้ถูกใจเธอ

"ดอกไม้ดอกนั้นยังสวยน้อยกว่าสุชาวดี มันอาจจะอ่อนแต่ไม่หวานสุชาวดีทั้งอ่อนด้วยหวานด้วย จึงสู้สุชาวดีไม่ได้ ไม่ว่าจะมองในแง่ใดๆ" :b44: :b44:

"พูดยืดยาว รำคาญเสียจริง เขาจะชมดอกไม้ให้เพลินเสียหน่อย ก็มาพร่ำอะไรก็ไม่รู้"

สุชาวดีพูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ :b26:

อุปกะไม่เคยได้รับความชื่นใจจากภรรยาสาวที่เขาหลงรักเลย สุชาวดีคอยพูดเสียดสีให้กระทบกระเทือนใจอยู่เสมอ ไม่เว้นแต่ละวัน

อุปกะบ่นเรื่องนี้ให้จอหน์ฟังเสมอทุกครั้งเวลาเย็นที่เขาแวะมาหา

อุปกะคิดหาทางออกในเรื่องนี้ เป็นเวลานาน ขณะนั่งคิดนอนคิดนั้นจู่ๆ
ภาพแห่งนักพรตรูปงามมีสง่าราศีก็ปรากฏในห้วงนึก


รูปภาพ

"เขาบอกว่าเขาชื่ออนันตชิน"

รูปภาพ

อุปกะปรารภกับตัวเอง

"มีลักษณะดีมีแววแห่งความเมตตากรุณา
คนอย่างนี้มักไม่ปฏิเสธคำขอร้องของผู้ตกยากบากหน้ามาพึ่งพิง"


รูปภาพ

อุปกะ "นี่จอหน์ท่านพาเราไปหาท่านอนันตชินได้ไหม"

จอหน์ "เอ้....เราไม่รู้จักท่านอนันตชิน แต่เราว่าท่านน่าจะไปหาพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันดีกว่านะ"

อุปกะ
"ท่านจะแน่ใจว่าอย่างไรว่าสมณะผู้นั้นเป็นพระพุทธเจ้าละ"

จอหน์ "เราอยากให้ท่านไปฟังพระสัทธรรมดูก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าอย่างไร"
:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ประกอบด้วยบูรพูปนิสัยอันแก่กล้า มีบารมีที่แก่เต็มที่แล้วคอยเตือน ในราตรีที่ดึกสงัดได้ยินแต่เสียงน้ำค้างตกจากใบไม้ อุปกะตัดสินใจแน่วแน่ที่จะจากหมู่บ้านพรานเนื้อไป...

ไปหาพระพุทธเจ้าพร้อมกับจอหน์ :b41: :b41: :b41: :b41:

เที่ยงวันวันหนึ่งอากาศร้อนอบอ้าว หลังจากได้เดินทางเหน็ดเหนื่อยเหงื่อโทรมกายแล้ว
อุปกะและจอหน์ได้แวะเข้าพัก ณ ใต้ร่มพฤกษ์ใหญ่ใบหนา ลมโชยมาเบาๆ ต้องผิวกายพอชุ่มชื่น
ทั้งสองคนเอนตัวลงนอนพัก เอารากไม้แทนหมอนและหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย :b23:

:b39: :b39: :b39:
อุปกะตื่นขึ้นก่อนเมื่อพระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันตกมากแล้ว รู้สึกชุ่มชื่นและมีกำลัง

เขานั่งตรองถึงชีวิตในอดีตโดยเฉพาะที่อยู่ร่วมกับสุชาวดีเป็นระยะเวลาที่เขาลำบากชอกช้ำสุดประมาณได้ ลำดับนั้นสุภาษิตเก่าๆ ที่โบราณบัณฑิตได้กล่าวไว้ก็แจ่มแจ้งแก่เขา ประดุจคบเพลิงสว่างโร่ขึ้นในมุมมืด สุภาษิตนั้นมีดังนี้


รูปภาพ

-- มีบิดาผู้ซึ่งสะสมหนี้สินไว้มากคือศัตรู มีมารดาผู้ซึ่งมิได้ประพฤติในความบริสุทธิ์คือศัตรู มีภรรยารูปงามคือศัตรู มิตรที่ปราศจากความรู้คือศัตรู


-- ความรู้เป็นประดุจยาพิษเพราะมิได้ใช้ความรู้นั้นให้เหมาะสม อาหารก็เปรียบเหมือนยาพิษเพราะไม่ย่อย พระราชวังเป็นประดุจยาพิษสำหรับคนเข็ญใจ ภรรยาสาวก็เปรียบเหมือนยาพิษสำหรับสามีชรา

-- แสงจันทร์ และละอองฝนไม่เป็นที่ยินดีของคนหนาว แสงอาทิตย์ไม่เป็นที่พอใจของคนร้อน สามีชราย่อมไม่เป็นที่ยินดีพอใจของภรรยาสาว


-- สามีเกศาหงอก ความรักของหญิงสาวผู้เป็นภรรยาจะมีรุนแรงได้อย่างไร ประดุจยาขม หรือไม่ขมก็ตาม ใครจะชอบรับประทานบ้าง เมื่อไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้สตรีจึงเอาใจออกห่างจากผัวแก่ไปฝักใฝ่ในชายอื่น

รูปภาพ

-- ความรักในสมบัติ ความรักชีวิตย่อมมีอยู่ในบุคคลทั่วไป ทุกรูปทุกนาม แต่เมียสาวเป็นที่รักเลิศของผัวเฒ่ายิ่งกว่าหัวใจ

-- ชายแก่มีสังขารทรุดโทรม แม้หมดกำลังเพื่อความสนุกรื่นรมณ์ ก็ยังมิวายกระเสือกกระสน เหมือนสุนัขถึงฟันหักเหี้ยน หากพบเนื้อติดกระดูกที่ตนไม่สามารถแทะทึ้งได้ ถึงกระนั้นก็ยังขอแต่ให้ได้เลียก็ยังดี
ไม่มีสถานที่ ไม่มีโอกาส ไม่มีบุรุษจะชักชวนให้ไขว้เขว นารีบริสุทธิ์อยู่ได้เพราะเหตุนี้ต่างหาก


:b46: :b45: :b47: :b48: :b49:

-- เหตุที่สตรีจะทนเป็นพรหมจารีอยู่ได้ มิใช่จะเป็นเพราะรู้สึกละอาย มีจริยสมบัติ เกลียดการหยาบคายหรือมีใจเกรงขาม ที่แท้เป็นเพราะยังไม่มีผู้ปรารถนาอย่างเดียวเท่านั้น

-- สตรีบางคนทำเป็นหวงตัวอย่างน่าหมั่นไส้ เหมือนใครกระทบกระแทกมิได้เลยแม้แต่น้อย แต่พออยู่ในที่ลับตาคน เธอกลับโถมเข้าหาผู้ชายเหมือนปลากระโดดลงน้ำ

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b41: :b41:

เวลานี้จิตใจของเขาคำนึงถึงแต่ภาพแห่งนักพรตรูปงามผู้มีนามว่า

อนันตชิน อยู่ที่ไหนหนอ.......

ขณะนั่งคิดอะไรอยู่นั้นเขาสังเกตุเห็นขบวนเกวียนกลุ่มหนึ่งมุ่งตรงมาทางนี้


รูปภาพ

อุปกะรีบปลุกจอหน์ให้ตื่นขึ้น ขบวนเกวียนนี้คือขบวนของนกุลเศรษฐีและภริยาและแคทนั่นเอง

เมื่อขบวนเข้ามาใกล้พลันสายตาของจอหน์ก็สะดุดเข้ากับใบหน้าผู้หญิงนางหนึ่งที่เขาคุ้นเคยและใผ่หามาตลอด


จอหน์ โอ้แคทใช่ไหมนั่น.....แคท แคท.....จอหน์ร้องตะโกนขึ้นสุดเสียง

ฝ่ายแคทนั้นนั่งเหม่อมองสายตาออกไปนอกหน้าต่าง
ก็กวาดสายตามองหาเสียงของผู้ใดที่เรียกชื่อตน เสียงนี้คุ้นหูยิ่งนัก
ขณะขบวนเกวียนกำลังจะผ่านไป

สายตาของแคทก็ประสบเข้ากับสายตาของจอหน์อย่างจังงัน


:b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:

อยากบอกเธอซักร้อยครั้งว่าคิดถึง
คึดถึง คึดถึง คิดถึง แต่เธอเสมอ
คึดถึง คึดถึง คิดถึง ทุกครั้งที่พบเจอ
และจะ คิดถึง คิดถึง เธอเสมอตลอดเวลา


:b19: :b19: :b19: :b19: :b19: :b19:

โฉมงามคิดถึงอสูร
เซเลอร์มูนคิดถึงใครหนอ
สโนไวท์ยังคอยเจ้าชายสุดหล่อ
ส่วนฉันยังรอและคิดถึงเธอ


แคท จอหน์....จอหน์.....แคทรีบกระโดดลงจากเกวียนวิ่งไปหาจอหน์

พร้อมๆกับจอหน์วิ่งมาหาแคทด้วยความดีใจทั้งคู่สวมกอดกันด้วยความดีใจปลื้มปิติ

ร้องไห้เหมือนตายจากกันไปนานแสนนาน แล้วมาพบกัน

รูปภาพ

ทั้งคู่เล่าเรื่องถึงการเดินทางของตนและบัดนี้รู้ว่าทั้งสองคนนั้นได้พบพระพุทธเจ้ามาก่อน
และได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์มาแล้วเช่นกัน...... :b39:

และแคทผู้ศึกษาพุทธประวัติมาอย่างดีก็ทราบว่าท่านอนันตชินที่อุปกะต้องการพบนั้นคือ

พระพุทธเจ้าเช่นกัน :b8: :b8:

ขบวนทั้งหมดจึงพร้อมใจออกเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยกัน

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปัจจุกาลวันนั้น

พระอนันตชินสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแผ่ข่ายพระญาณออกครอบจักรวาล
มองดูอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ที่พระองค์พอจะโปรดได้


รูปภาพ

อุปกะเข้าไปในข่ายพระญาณแห่งพระองค์ ทรงทราบโดยตลอดว่า

เช้าวันนี้อุปกะจะมาถึง :b43:

จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎีรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ทั้งหมด แล้วตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย

วันนี้ถ้ามีอาคันตุกะมาถามหาบุคคลผู้มีนามว่าอนันตชินก็ขอให้พาไปหาที่คันธกุฎี
ตรัสเท่านี้แล้วทรงให้โอวาทภิกษุสงฆ์เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับเรื่องความเคารพในปฏิสันถาร

มีอาทิว่า


"ภิกษุทั้งหลาย! ผู้เคารพหนักแน่นในพระศาสดา ในพระธรรม มีความยำเกรงในสงฆ์ มีความเคารพหนักแน่นในสมาธิ มีความเพียรเครื่องเผาบาป และเคารพในไตรสิกขา และเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับอาคันตุกะ ผู้เช่นนั้นย่อมไม่เสื่อม ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน"

:b48: :b48: :b48:
ตอนสายวันนั้นเอง ขบวนเดินทางก็มาถึงบริเวณวัดอันร่มรื่น เห็นภิกษุทั้งหลายกำลังสาธยายธรรมบ้าง ทำกิจอย่างอื่น เป็นต้นว่านั่งเป็นกลุ่มๆ สนทนาธรรมบ้างอุปกะและขบวนทั้งหมดจึงเดินเข้าไปหาภิกษุกลุ่มหนึ่ง นมัสการแล้วกล่าวขึ้นว่า

"พระคุณเจ้าผู้เจริญ! ข้าพเจ้ามีสหายผู้หนึ่งนามว่า อนันตชิน ใบหน้าเอิบอิ่มมีแววแห่งความกรุณาฉายออกจากดวงตาทั้งสอง ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างท่านนี้ ท่านพอจะรู้จักผู้ซึ่งข้าพเจ้าเอ่ยนามถึงนี้อยู่บ้างหรือ?

ภิกษุกลุ่มนั้นมองดูตากันแล้วยิ้มๆ ด้วยความอัศจรรย์ใจในการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ของพระศาสดา ก็พระองค์ตรัสสั่งไว้เมื่อเช้านี้เองว่า ถ้ามีคนมาถามหาพระอนันตชินให้พาไปเฝ้าพระองค์

ดังนั้นภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า "อุบาสก!

พระอนันตชินเป็นศาสดาแห่งเราทั้งหลาย พวกเราเป็นสาวกของพระองค์

ไฉนเล่าพวกเราจะไม่รู้จักพระผู้มีนามเช่นนั้น มาเถิดตามข้าพเจ้ามา
จะนำไปเฝ้าพระอนันตชินพระองค์นั้น"

ว่าแล้วได้ลุกเดินนำอุปกะและทุกคนไป :b41: :b41: :b41:

ถึงพระคันธกุฎี พระพุทธองค์ทรงรอคอยอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระรัศมีซ่านออกจากพระกายทั้ง ๖ สี ดุจเดียวกับวันที่พระองค์ได้พบอุปกะครั้งแรกเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆทุกคนรวมทั้ง อุปกะ แคท จอหน์และทุกคนก้มลงกราบพระมงคลบาทแห่งพระศาสดา มีน้ำตานองหน้า

อุปกะกราบทูลว่า


"ข้าแต่พระอนันตชิน! ท่านจำข้าพเจ้าได้อยู่หรือ ข้าพเจ้าเคยพบท่านครั้งหนึ่งแขวงเมืองพาราณสีเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว"

รูปภาพ

:b52: :b51: :b53: :b54: :b50: :b45: :b46: :b47: :b48: :b49:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


"ดูก่อนอุปกะ"

พระศาสดาตรัสตอบ

"เรารอคอยการมาของท่านอยู่ การมาของท่านครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ท่าน"

พอได้ยินคำว่า "อุปกะ" เท่านั้น ปีติปราโมชก็แผ่ไปทั่วสรรพางค์ของอุปกะ ชื่อใดเล่าในโลกนี้จะไพเราะอ่อนหวานยิ่งกว่าชื่อของตนเอง :b17:
ทุกคนจะดีใจเป็นที่ยิ่งเมื่อทราบว่าผู้อื่นจำชื่อของตนได้อย่างแม่นยำ หลังจากพรากกันไปเป็นเวลานาน


"อุปกะ"

พระองค์ตรัสต่อไป

"หลังจาก จากกันคราวนั้นแล้วท่านไปอยู่ที่ไหน ทำอะไร พอทนได้อยู่หรือ เมื่อก่อนนี้ดูท่านทรงเพศเป็นนักบวช บัดนี้ทำไมจึงเปลี่ยนแปลงไป?"

รูปภาพ


อุปกะได้เล่าความหลังทั้งมวลให้พระศาสดาทราบโดยตลอด แล้วทูลเพิ่มเติมว่า

"พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์เดินหลงทางอยู่เป็นเวลานาน บัดนี้มาพบพระองค์เป็นครั้งที่สอง คงจะดำเนินไปสู่ทางที่ถูกต้อง พระองค์ผู้อนุเคราะห์โลก โปรดอนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด"

พูดเท่านั้นแล้วเขาก็ซบศีรษะลงแทบพระบาทมูลแห่งพระศาสดา

พระจอมมุนีศรีศากยบุตร ประทับนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า

"ดูก่อนอุปกะ การครองเรือนเป็นเรื่องยาก

เรือนที่ครองไม่ดีย่อมก่อทุกข์ให้มากมาย :b39: :b39:

การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง อุปกะเอย!

เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ

เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย
แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล
รึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด

เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บ่วงบุตร ภรรยา
และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นั้นเป็นเหยื่อของโลก

เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย

ไม่มีรูปใดที่จะรัดรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี :b41: :b41:

ดูก่อนอุปกะ ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีมิได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ

กิเลสนั้นมีอำนาจครอบคลุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าในวัยและเพศใด

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


"ดูก่อนท่านทั้งหลาย!


รูปภาพ

ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปทาน ความทะยานอยากดิ้นรน

และความยึดมั่นถือมั่น

ว่าเป็นเราเป็นของเขา

รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ :b48: :b44: :b43:

สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี
หาไม่ได้ในโลกนี้

เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้

เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงแต่สักว่าๆ

ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา

เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ

ปลอดโปร่งแจ่มในเบิกบานอยู่ :b39: :b39:

ดูก่อน อุปกะ! เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ

ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้

เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล
ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม"


อุปกะ แคท จอหน์ และท่านเศรษฐีรวมทั้งภรรยา

ส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาของพระตถาคตเจ้า คลายสังโยชน์คือกิเลสที่ร้อยรัดใจออกเป็นเปาะๆ ได้บรรลุอนาคามีผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สามด้วยประการฉะนี้
.

:b41: :b41: :b41: :b41:
อ้างคำพูด:
อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก

หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก
แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหมโลกนั้นเลย

อนาคามี เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ ใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) อีก ๕ ประการ คือ

1. รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ
2. อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ

3. มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี (แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น

4. อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต
5. อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง

อนึ่งพึงเข้าใจว่า แม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชน (ผู้ยังไม่เป็นบรรลุเป็นพระอริยบุคคล) เช่น มานะ อุทธัจจะ หรือ อวิชชา แต่สังโยชน์เบื้องสูงอันเป็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของพระอนาคามีนั้น เป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมาก

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


แคทและจอหน์ได้กราบทูลพระศาสดาถึงเหตุการณ์ในโลกอนาคตปี พ.ศ.5001และถึงความประสงค์ของตนที่จะกลับไปช่วยมวลหมู่มนุษยชาติในยุคนั้น


ขอพระองค์ได้แสดงธรรมอันตนจะสามารถนำไปก่อประโยชน์แด่มนุษยชาติเมื่อกลับไปยังโลกอนาคตได้

รูปภาพ

พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า :b52: :b51: :b53:

"ดูก่อนภราดา พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธะนั้น ได้ยังจักรแห่งธรรมอันประเสริฐให้หมุน ใกล้อิสิปัตนะในมฤคทายวันจังหวัดพาราณสี ก็แหละจักรแห่งธรรมนั้น อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลกนี้ไม่พึงขัดขวางไว้มิให้หมุนได้

พระธรรมที่ทรงประกาศ คือ ธรรมอันให้เห็นแจ้งความจริงอย่างยิ่ง สี่ประการ สี่ประการนั้น คืออะไร?


ได้แก่ ความจริงอย่างยิ่ง คือทุกข์

ความจริงอย่างยิ่ง คือเหตุของทุกข์

ความจริงอย่างยิ่ง คือการดับทุกข์ทั้งสิ้น

และความจริงอย่างยิ่ง คือทางที่ไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น

ดูก่อนภราดา ความจริงอย่างยิ่ง คือทุกข์นั้นอย่างไร?

ได้แก่ความเกิดมานี้เป็นทุกข์ความที่ชีวิตล่วงไปๆ เป็นทุกข์

ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์

ความตายเป็นทุกข์

ความอาลัย ความคร่ำครวญ ความทนลำบาก ความเสียใจ และความคับใจล้วนเป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์

ความประจวบกันสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์

ความที่ไม่ได้สมประสงค์เป็นทุกข์

รวมความ บรรดาลักษณะต่างๆ เพื่อความยึดถือผูกพันย่อมนำทุกข์มาให้ทั้งนั้นดูก่อนภราดา
นี่แหละความจริงอย่างยิ่งนั้นคือ ทุกข์


ก็แหละความจริงอย่างยิ่ง คือ เหตุของทุกข์นั้นอย่างไร?

ได้แก่ความกระหายซึ่งทำให้เกิดมีสิ่งต่างๆ อันความเพลิดเพลินใจและความร่านเกิดตามไปด้วย เพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กระหายอยากให้มีไว้บ้าง กระหายอยากให้คงอยู่บ้าง กระหายอยากให้พ้นไปบ้าง ดูก่อนภราดา นี้ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์

ก็แหละความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้นนั้นอย่างไร?

ได้แก่ความดับสนิทแห่ง ความกระหายนี้เองไม่ใช่อื่น ความเสียสละได้ ความปลดเสียได้ ความปล่อยเสียได้ ซึ่งความกระหายนั้นแหละ และการที่ความกระหายนั้นไม่ติดพัวพันอยู่
ดูก่อนภราดา นี้แหละความจริงอย่างยิ่งคือการดับทุกข์ทั้งสิ้น


ก็แหละความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้นนั้นอย่างไร? :b40: :b40:

ได้แก่ทางอันประเสริฐมีองค์แปด คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบดู ก่อนภราดา นี่แหละความจริงอย่างยิ่ง คือทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น

เมื่อพระศาสดา มีพระพุทธบรรหารด้วยอริยสัจเป็นเบื้องต้น
ปานว่าได้ประดิษฐานหลักศิลาขึ้นสี่มุมด้วยประการดั่งนี้แล้ว

ก็ทรงยกพระธรรมทั้งมวลขึ้นตั้งประกอบ โดยอุบายให้เป็นดั่งเรือนยอด

สำหรับเป็นที่อาศัยแห่งดวงจิตผู้สาวก ทรงจำแนกแยกอรรถออกเป็นตอนเนื้อความ

แล้วทรงชี้แจงกำกับการไป

เสมือนดั่งบุคคลตัดแท่งศิลาออกเป็นชิ้นๆ แล้ว และขัดเกลาฉะนั้น ทรงเชื่อมตอนเนื้อความต่อเนื้อความ เสมือนบุคคลได้ลำดับซ้อนแท่งศิลาเหล่านั้น ผจงจัดดุจเป็นรากให้รับกันเองแน่นหนา มีสัมพันธ์เนื่องถึงกันตลอดเรียบร้อย ทรงนำหลักความเห็นแจ้งว่า

สิ่งทั้งปวงย่อมแปรปรวนเข้าประกอบกับหลักความเห็นแจ้งว่า สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์แล้วเชื่อมหลักทั้งสองนี้เป็นดั่งซุ้มทวาร ด้วยเครื่องประสาน :b49: :b49: :b44:

คือมนสิการ อันแน่นแฟ้นที่ว่า สภาวธรรมทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตาเลือกเอาไม่ได้ ทรงนำสาวกเข้าสู่ทวารอันมั่นคงนี้ คราวละขั้นเป็นลำดับไป แล้วย้อนลงย้อนขึ้นหลายครั้งหลายครา

โดยขึ้นบันไดอันสร้างไว้มั่นคงแล้ว คือปฏิจจสมุปบาทหลักธรรมอันมีเหตุผลอาศัยกันเองเกิดขึ้นเป็นขั้นๆ สืบเนื่องดั่งลูกโซ่ ซึ่งมั่นคงเต็มที่อยู่ทั่วไป


อันว่า นายช่างผู้เชี่ยวชาญ ก่อสร้างปราสาทมโหฬาร ย่อมเพิ่มรูปศิลาจำหลักไว้ในที่สมควรตามทำนอง มิใช่จะใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นประโยชน์รองรับหรือค้ำจุนที่บางแห่งนั้นไว้ด้วย

ความข้อนี้อุปมาฉันใด พระศาสดาในบางคราวย่อมทรงชักเอาเรื่องที่เปรียบเทียบเป็นภาษิตที่น่าฟัง และสมด้วยกาลสมัยขึ้นแสดง ก็อุปไมยฉันเดียวกัน เพราะทรงเห็นว่า

เทศนาวิธีชักอุทาหรณ์ขึ้นสาธกเปรียบเทียบ ย่อมกระทำไห้พระธรรมอันประณีตลึกซึ้งที่ทรงสำแดงหลายข้อ ให้แจ่มแจ้งขึ้นได้แก่บางเวไนยชน


รูปภาพ

ในท้ายแห่งเทศนา :b41: :b41:

พระองค์ทรงประมวลพระธรรมบรรยายทั้งหมด ในคราวเดียวกันเสมือนด้วยเรือนอันตะล่อมขึ้นด้วยยอดเด่นเห็นสง่างามรุ่งเรืองได้แต่ไกล ด้วยพระวาจาว่าดั่งนี้

"ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ ความเกาะเกี่ยวใคร่กระหายต่อความเกิดย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเกิด หากตัดความใคร่กระหายเช่นนั้นเสียได้ขาด ท่านก็ย่อมไม่เกิดในภพไรๆ อีก"

อันภิกษุ ผู้พ้นจากความเกาะเกี่ยวยึดถือพึงใคร่ในอารมณ์ไรๆ แล้ว ย่อมบังเกิดญาณความรู้แจ้งขึ้นในจิตอันสงบแจ่มใสปราศจากอวิชชาความมืดมัว ว่า

"วิมุตติความหลุดพ้นนั้น บัดนี้เป็นผลประจักษ์แล้ว นี้คือ ความเกิดเป็นครั้งที่สุด สิ้นความเกิดใหม่ในภพโน้นแล้ว"
:b39: :b39:
ภิกษุผู้บรรลุธรรมปานนี้ ย่อมได้รับผลตอบแทนคือธรรมรสอันล้ำเลิศ ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ ก็ธรรมรสอันล้ำเลิศนั้นคืออะไร? ได้แก่

"ญาณอันรู้ว่าทุกข์ทั้งปวงดับแล้ว"

ผู้ใดได้รับรสพระธรรมนี้ ก็ย่อมพบความหลุดพ้นอันเป็นผลเที่ยงไม่แปรผันเพราะสิ่งใดไร้สาระเป็นอยู่ชั่วขณะ สิ่งนั้นไม่ใช่ของจริง สิ่งใดมีสาระคงที่ถาวร สิ่งนั้นเป็นของจริงและเป็นที่สุดแห่งสิ่งมายาทั้งปวง

ผู้ใดจำเดิมแต่ต้นมาทีเดียว ตกอยู่ในความเกิด ในความสืบชีวิตเปลี่ยนไปๆ ในความตาย และบัดนี้ได้กำหนดรู้ไว้ดีแล้ว ซึ่งลักษณะแห่งสภาพอันเป็นพิษนี้ ผู้นั้นย่อมชนะด้วยตนเองแล้ว ถึงซึ่งความพ้นภัยในความเกิด ความแก่ และความตาย และเขาซึ่งเคยตกอยู่ในโรคาดูร ในมลทินกิเลส ในบาป ผู้นั้น

ณ บัดนี้ได้รับความรับรองแน่นอนแล้วว่าไม่มีพิการแปรผัน อันเป็นผลสะอาดหมดจด และเป็นบุณย์
:b48: :b48: :b48:

"เราพ้นแล้ว ความหลุดพ้นได้ประจักษ์แล้ว ชาติหยุดอยู่เพียงนี้แล้ว กรณียะของเราสำเร็จแล้ว โลกนี้หยุดแก่เรา ไม่สืบต่ออีกแล้ว"

ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชนมีญาณทรรศนะเช่นนี้ชื่อว่า

"ผู้สำเร็จแล้ว"

เพราะเขาเสร็จสิ้นธุระ และถึงที่สุดบรรดาความทุกข์ยากทั้งปวง

ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชนมีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า


"ผู้ได้ขจัดแล้ว" :b41: :b41: :b41:

เพราะเขาได้ขจัดแล้วซึ่งอุปาทาน (ความออกรับ?) ว่า "ตัวเรา" และ "ของเรา"

ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชนมีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า

"ผู้ถอนแล้ว"

เพราะเขาได้ถอนแล้ว ซึ่งต้นไม้คือ ความมี ความเป็นตลอดกระทั่งรากมิให้เหลือเชื้อเกิดขึ้นได้อีก

บุคคลมีลักษณะเช่นนี้ ตราบเท่าที่ยังมีร่างอยู่ เทวดาและมนุษย์คงเห็นได้ แต่เมื่อร่างสลายเพราะความตายแล้ว เทวดาและมนุษย์มิได้เห็นต่อไป แม้แต่ธรรมดาผู้เห็นได้ตลอดก็ไม่เห็นเขาคนนั้นอีก ผู้นั้นได้ทำให้ธรรมดาถึงความบอดแล้ว

เขาพ้นจากมารแล้ว ได้ข้ามห้วงมหรรณพที่ต้องแหวกว่ายวนเกิดเวียนตาย

ถึงเกาะอันเป็นแหล่งเดียวที่ผุดพ้นเหนือความเกิดความตาย กล่าวคือ


พระอมฤตมหานิรพาณ"

:b48: :b47: :b46: :b45: :b50: :b51: :b52: :b53: :b48:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


แคทและจอหน์น้อมรับพระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสไว้อย่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

พระมหากรุณาธิคุณนั้น

ก็หมายพระหฤทัยของพระองค์นั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณาในหมู่สัตว์ แม้ว่าพระองค์จะได้อุบัติตรัสรู้ล่วงพ้นจากทุกข์เป็นส่วนพระองค์ก็ตาม

แต่พระองค์ก็ยังมีความห่วงใยอาลัย ในเวไนยสัตว์ทั้งหลาย จึงได้วางประทานธรรมะคำสั่งสอนนี้ไว้ ให้แก่กุลบุตรที่เกิดมาสุดท้ายภายหลังได้นำไปประพฤติปฏิบัติ จัดเป็นพระมหากรุณาธิคุณ



แคทและจอหน์ก้มกราบลาพระพุทธองค์ แทบพระบาท ไม่อยากจากพุทธภูมิแห่งนี้ไปเลยอยากอยู่จนตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธองค์แต่ด้วยความห่วงใยเพื่อนมนุษย์ตามปณิธานที่ทั้งสองตั้งใจมาแต่ก็ยังลังเลสงสัยว่าจะกลับไปยังโลกอนาคตอย่างไร เพราะเครื่องย้อนเวลานั้นหายไปแล้ว :b41: :b41: :b41: :b41:

ด้วยพระทศพลญาณ พระองค์หยั่งรู้ถึง ความในใจของบุคคลทั้งสองจึงทรงพระดำรัสว่า

ขอความสมหวังของเธอทั้งสองจงสำเร็จดังใจหมายเถิด

:b46: :b45: :b51: :b52: :b53:

รูปภาพ

อ้างคำพูด:
ตถาคตพลญาณ ๑๐ ประการ หรือ ทศพลญาณ คือ
๑. ทรงหยั่งรู้สิ่งที่เป็นไปได้ และ เป็นไปไม่ได้
๒. ทรงหยั่งรู้ผลแห่งการกระทำทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต
๓. ทรงหยั่งรู้ข้อปฏิบัติ ที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง (คติ-ทางที่จะไปในอนาคต)
๔. ทรงหยั่งรู้สภาวของโลก อันประกอบด้วยธาตุต่างๆ
๕. ทรงหยั่งรู้ความโน้มเอียง และความถนัดแห่งบุคคล
๖. ทรงหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย
๗. ทรงหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งญาณ สมาธิ และ สมาบัติ
๘. ทรงหยั่งรู้ชาติก่อนๆในอดีต
๙. ทรงหยั่งรู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
๑๐. ทรงหยั่งรู้ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย


สิ้นพระดำรัสร่างกายของแคทและจอหน์ก็อันตรธานหายจากวัดเวฬุวันไป ณ บัดนั้น

:b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

31 ตุลาคม พ.ศ.5001

(ระยะเวลา 3 เดือนหลังจากแคทและจอหน์กลับสู่ยุคพุทธกาล)

ท่ามกลางซากปรักหักพังของเทพีสันติภาพ......
ท่ามกลางท้องทะเลอันเงียบสงบไร้คลื่นลม........... :b41: :b41:

ริมฝั่งชายหาดของเกาะแมนฮัตตันตอนนี้ช่างเงียบสงบเสียนี่กระไร.........
ไม่คึกคักเหมือนก่อนเกิดสงครามโลก

ปรากฏร่างชายหญิงสองคนนอนหมดสติอยู่บนผืนทราย........
แสงจันทร์ยามค่ำคืนนี้ส่องสาดกระทบผืนน้ำทะเลและร่างของคนทั้งสอง....

น้ำทะเลเริ่มขึ้นทีละเล็ก......ทีละน้อย..... :b47:

บัดนี้ความเย็นของน้ำทะเลได้ซัดสาดกระทบเข้ากับใบหน้าอันใสกระจ่าง ดุจพระจันทร์วันเพ็ญ
ของหญิงคนหนึ่ง.........

เธอค่อยๆขยับศรีษะหลบความเย็นของน้ำทะเลยามค่ำ....
และค่อยๆใช้มือยันตัวเองลุกขึ้นนั่ง.....

พลันมือน้อยๆอีกข้างหนึ่งก็ไปสัมผัสเข้ากับศรีษะของชายผู้หนึ่งเข้า เธออุทาน....
เปล่งเสียงร้องเรียก ....จอหน์......จอหน์


แคทส่งเสียงเรียกและหันไปมองรอบข้างกายเธอ..........

จอหน์รู้สึกตัวตื่นขึ้นและส่งเสียงเรียก.....แคท........แคท

ทั้งสองเรียกหากันและจับมือกันอย่างตื่นตระหนกตกใจ........
เมื่อหันไปมองรอบๆกาย..........

แม้ว่าจะยามค่ำแต่แสงจันทร์คืนนี้ก็สว่างพอทำให้เขาทั้งสองคนเห็นว่านี่มันคือซากปรักหักพังของเทพีสันติภาพ บนเกาะแมนฮัตตันนั่นเอง..............

แคท.........เราไม่ได้ฝันไปใช่ไหม......นี่เรายังหลับอยู่ใช่ไหม จอหน์กล่าว


รูปภาพ

ไม่หรอกจอหน์.....นี่มหานครนิวยอร์คอันศิวิไล แห่งโลกปี พ.ศ.5001 ที่เราจากไปนั่นเอง....


[b]โอ้พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพุทธานุภาพ ของพระองค์โดยแน่แท้....



เราถึงได้กลับมายังโลกอนาคต แคทพูดขึ้นด้วยน้ำตาคลอ

ทั้งแคทและจอหน์ปลื้มปิติ น้ำตาไหลพรากด้วยความสำนึกในพระพุทธคุณของพระองค์อย่างสูงส่งต่อหมู่สัตว์ไม่ว่าจะอยู่ในโลกพุทธกาลหรือโลกปีพ.ศ.5001 แห่งนี้ พระเมตตาของพระองค์ไม่มีประมาณจริงๆ


อ้างคำพูด:
พระพุทธคุณ ๓ ประการ

พระพุทธเจ้านั้น พระองค์เป็นผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเป็นอันมาก ยากที่จักพรรณนาให้สิ้นสุดได้โดยง่าย แต่เมื่อประมวลกล่าวเฉพาะพระคุณที่เป็นใหญ่เป็นประธานแห่งพระคุณทั้งปวง พระคุณอันยิ่งใหญ่นั้นมี ๓ ประการ คือ

๑. พระปัญญาธิคุณ
๒. พระบริสุทธิคุณ
๓. พระมหากรุณาธิคุณ

พระปัญญาธิคุณ คือ พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญารอบรู้ถึงความจริงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นอย่างไร ก็ทรงทราบชัดถึงความจริงเหล่านั้น และนำความจริงเหล่านั้นมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลก ตามพื้นเพแห่งอัธยาศัยของบุคคลเหล่านั้น

พระบริสุทธิคุณ คือ พระพุทธองค์ทรงมีพระทัยบริสุทธิ์ สะอาดหมดจด จากอาสวะกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ไม่มีความขุ่นมัวเศร้าหมองภายในพระทัยทรงดำรงอยู่อย่างคงที่ ไม่แปรผัน ท่ามกลางอารมณ์ที่กระแทกกระทั้นจากภายนอก ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแต่พระทัยของพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์อยู่มั่นคงอยู่อย่างนั้นไม่แปรผัน

พระมหากรุณาธิคุณ คือ ทรงกอปรด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทรงเลือกชาติชั้นวรรณะแต่ประการใด แม้แต่ในศีลของพระองค์ก็ทรงบัญญัติให้คนงดเว้นไม่ทำสิ่งมีชีวิตให้ตกล่วงไป และทรงแนะให้แผ่เมตตาจิตต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข อันเป็นเป้าหมายของการดำรงชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ซึ่งเมื่อกล่าวโดยนัยที่รู้กันแพร่หลายทั่วไปแล้ว พระคุณของพระพุทธเจ้า ก็สรุปรวมลงไว้ที่นวหรคุณทั้ง ๙ ประการ อย่างที่สวดสรรเสริญว่า

“แม้เพราะอย่างนี้ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา คือ ความรู้ และจรณะ คือ ความประพฤติ
เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ
ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


30 พ.ย.5001

หลังจากหนึ่งเดือนเต็มที่แคทและจอหน์ได้กลับมาสู่โลกในปี 5001 ณ ปลายทางของถนนสายประวัติศาสตร์ รูท 66 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (USC)

รูปภาพ

วันนี้คร่าคร่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วโลก ทุกชาติ ทุกภาษาและทุกศาสนา ได้มาร่วมงานประชุมสันติภาพครั้งสำคัญแห่งมวลมนุษยชาติหลังจากเสร็จสิ้นมหาสงครามล้างโลกไป

คือการประชุม .......World Congress Of Peace


โดยเฉพาะวันนี้มีบุคคลสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ที่โลกจะต้องจารึกไว้สองคน
ณ หอประชุมแห่งประวัติศาสตร์ เบิร์กลีย์ จุผู้คนได้ถึง 50000 คน วันนี้ดูแออัดคับคั่งยิ่งนัก เสียงผู้ประกาศประชาสัมพันธ์ถึงหัวข้อเรื่องที่จะพูดตอนนี้


รูปภาพ

Ladies and gentlemen, It is a pleasure and a great honour to tell you something about Dr.John Everington, and Dr. Cat Bromley

" for Back To The Buddha “

เสียงปรบมือกันแน่นห้องประชุม..... :b35: :b35: :b35: :b35: :b35:

แคทและจอหน์เดินขึ้นมาบนเวทีด้วยสีหน้าราบเรียบ แต่ดูแจ่มใสมีความสุขลึกซ่อนอยู่ภายใน แววตามุ่งมั่นและมีพลังดูน่าเลื่อมใสยิ่งนัก.....



:b42: :b42: :b42: :b42: อมตะธรรมอันล้ำเลิศของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า :b39: :b39: :b39:




..............ได้เวลาประกาศ ชวนให้ลิ้มรส เชิญเข้ามาลอง แก่มวลมนุษยชาติยุคปี พ.ศ.5001 แล้ว...............

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัวสดีครับทุกท่าน...... :b8:


วันนี้ผมมีเรื่องราวอันน่าประทับใจที่เกิดจากการเดินทางย้อนเวลากลับสู่อดีตสมัยพุทธกาลมาเล่าให้ทุกท่านในโลกปี พ.ศ.5001 ได้ฟังถึงอมตะธรรมอันล้ำเลิศที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้

:b43: :b43: :b43:

กระผมและแคทได้ยินได้ฟังต่อหน้าพระพักตร์ พระบรมศาสดาของพุทธศาสนา
ผู้เป็นศาสดาเอก อันยิ่งใหญ่ของโลก


การที่กระผมมีโอกาสอันประเสริฐเช่นนี้เพราะอะไร.........

1.กระผมได้เห็นทุกข์ก่อนนั่นเอง (โลกช่วงกลียุค)

2.เมื่อเห็นทุกข์จึงเห็นธรรม (ได้ฟังธรรมจากพระภิกษุอนันตระ)

3.เมื่อเห็นธรรมจึงได้เห็นพระตถาคต สมดั่งคำกล่าวว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
(จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระศาสดา ตามเรื่องสมมุติที่สร้างเครื่องย้อนเวลาไป เพราะถ้าไม่ได้ฟังธรรมจากพระอนันตระ คงไม่คิดย้อนเวลาสู่พุทธกาล)


คำพูดของจอหน์ประกาศดังหอประชุมอันกว้างใหญ่ที่ดูแล้ววันนี้เล็กคับแคบไป.......เพราะเนืองแน่ไปด้วยผู้คนล้นหลาม :b41: :b41: :b41:

แม้คนจะมากแต่เสียงพูดของจอหน์ก็สะกดให้ทุกคนอยู่ในความเงียบ
เงียบมากจนกระทั่งอาจได้ยินเสียงลมหายใจเข้าออกของตนเอง ...........

อาจกล่าวได้ว่าสภาพของผู้ฟังตอนนี้มีอารมณ์สมาธิเกิดขึ้น
กล่าวคือมีสภาพที่จิตตั้งมั่น มีสติอยู่กับเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง ไม่คิดเรื่องอื่น ไม่วอกแวก

สงัดมาก ได้ยินแม้แต่เสียงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของตนเอง :b48: :b48:
เป็นสภาพที่จิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ( คือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม)


จิตย่อมมีพลังประดุจกระแสน้ำที่ไหลไปทิศทางเดียวกัน
โฟกัสไปทางเดียวกัน

จิตที่นิ่ง ไม่หวั่นไหว เหมือนน้ำใสที่ไม่ขุ่น
ย่อมมองเห็นพื้นน้ำได้ชัดตามความเป็นจริง :b49:

อ้างคำพูด:
สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.


ดังนั้นอาจกล่าวว่าทุกคนในห้องประชุมแห่งนั้นอยู่ด้วยความมีสัมมาสมาธิ คือ

มีสติจดจ่อกับเรื่องราวที่ฟัง

สมาธิจึงไม่ได้หมายความว่าต้องนั่งหลับตา ตัวแข็ง กำหนดอริยาบถ กำหนดรูปหรืออรูปหรือสิ่งอื่นใดเป็นอารมณ์(โลกียฌาณ) แม้ลืมตา ยืนอยู่ นังอยู่ วิ่งอยู่ นอนอยู่ก็มีสมาธิได้

สมาธิจึงเป็นสภาพที่จิตตั้งมั่นปราศจากกามวิตกต่างๆ
มีสติต่อเนื่อง ตามรู้เรื่องที่ได้ยินได้ฟังต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย
(เปรียบดั่งจุดเส้นประต่อเนื่องๆกันไป เป็นเส้นตรงเดียวกัน)


รูปภาพ

ในสมัยพุทธกาล ยืนฟังอยู่ นั่งฟัง นอนอยู่ วิ่งอยู่ก็บรรลุธรรมได้
เพราะมีจิตที่ตั้งมั่นในกุศล ปราศจากอกุศลนั่นเอง



อ้างคำพูด:
ในมหาสติปัฏฐานสูตรมีพุทธพจน์ ตรัสไว้ว่า:
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรู้ตามเห็นอย่างไม่ขาดสาย
เข้าไปในกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำความยินดียินร้ายในโลก (อารมณ์) ให้พินาศสิ้นไป ดังนี้”.


คำว่า“ตามรู้ตามเห็นเข้าไปอย่างไม่ขาดสาย” นี้ ก็คือ “ความเพ่ง” หรือ “ฌาน” นั่นเอง
(โลกุตตระฌาณ)

กล่าวคือไม่มีสมาธิ และวิปัสสนาอย่างใดที่ไม่ต้องยกจิตขึ้นเพ่งอารมณ์เลย.


:b51: :b52: :b53:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


บรรยากาศในห้องประชุมเงียบสงบ จอหน์กล่าวต่อไปว่า..... :b41:

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบอะไร ในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ที่ทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์
พบสุขอันนิรันดร์คือพระนิพพาน.....

พระองค์ทรงค้นพบพระสัทธรรมอันประเสริฐ
หรือความจริงอันประเสริฐคือ
อริยะสัจสี่ นั่นเอง


อริยสัจ ๔ มีความสำคัญแน่ สมกับที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เมื่อทรงแจ่มแจ้งในอริยสัจ ๔ ก็ทรงพอพระทัยว่าได้ตรัสรู้แล้ว และทรงหยุดการค้นคว้า ทรงเบิกบานพระทัย ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ถึง ๗ สัปดาห์ :b39: :b43: :b42:

ผู้รู้อริยสัจ หาหลงสร้างทุกข์ขึ้นเพื่อตัวเองไม่


ผู้ไม่รู้อริยสัจ ย่อมหลงสร้างเหวแห่งความทุกข์เพื่อตัวเอง อยู่ร่ำไป

มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิด ๆ


สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ

เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ


ดังนั้นถ้าพวกเราทุกคนอยากพ้นทุกข์เช่นพระองค์ท่าน
เราควรศึกษา เรียนรู้ในสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบ....



****ไม่ใช่มัวศึกษาเรื่องราวต่างๆทางโลก เช่น เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เป็นต้น.....

ทำไมคนสมัยพุทธกาลได้พบสุขอันนิรันดร์.....

ทำไมโลกสมัยปัจจุบันจึงมีแต่ทุกข์ทุกหย่อมหญ้า แม้วิทยาการก็เจริญ สิ่งอำนวยความสะดวกก็มากกว่ายุคนั้นๆ..... เคยสงสัยกันบ้างไหม



****ไม่ใช่มัวศึกษาเรื่องราวต่างๆอันเป็นดิรัจฉานวิชชา(ดิรัจฉานแปลว่าขวาง คือขวางต่อการไปนิพพาน)เช่นคนทรงเจ้า หมอดู สะเดาะคราะห์ รดน้ำมนต์ เครื่องราง ของขลัง นับถือสิ่งอื่นๆนอกจากพระรัตนตรัยเช่นต้นกล้วยแปลกๆ สัตว์อวัยวะไม่ครบเป็นต้น :b22:

****ไม่มัวศึกษาเลียบๆเคียงๆ ไม่ตรงทาง เช่นทำมิจฉาสมาธิ ทำรูปฌาณ อรูปฌาณ เพ่งกสิน หวังฤทธิเดช อภิญญา เที่ยวสวรรค์ ชมนรก อวดผู้อื่น โดยที่ตนเองไม่มีความรู้เรื่องอริยะสัจสี่เลย ยิ่งฝึกทำ ยิ่งเพิ่มกิเลส อัตตา ตัวตน ไม่ได้ขัดเกลากิเลส มัวแต่เที่ยวทำบุญปิดทอง รดน้ำมนต์ วัดไหนดี ไปวัดนั้น (จะตายเมื่อไหร่ไม่รู้) :b7:

****ไม่ศึกษาสัทธรรมปฏิรูป(เพี้ยนจากพระไตรปิฏก หรือตีความเพี้ยน)
นึกเอง เออเอง เพราะเห็นถ้อยคำที่ผู้แต่งนั้นไพเราะ ถูกจริตตนเอง ชอบ
จึงยึด จึงเชื่อในสำนักนั้น ในอาจารย์นั้นๆอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทำตัวเป็นชาล้นถ้วย
(ดุจตะโพนอานกะ)ใครเห็นต่างจากสำนักเราก็ว่าผู้นั้นผิด ไม่ตรงทาง ทั้งๆที่ทางที่เราเดินยังไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่าเลย
:b14:

****ไม่ศึกษาธรรมเพื่อรู้ เอาไว้ข่ม อวดว่าเราเก่ง พระไตรปิฏกเคลื่อนที่
ทำตัวแบบใบลานเปล่า
:b31:

****มัวแต่ศึกษาพระสัทธรรมอื่นที่ไม่ใช่อริยะสัจสี่ ต้องเสียเวลา เสียเงินเรียน ท่องคำศัพท์มากมาย สอบผ่านทุกชั้นแล้ว บรรลุธรรมไหม ทุกข์ลดลงไหม....

รูปภาพ

ก็ในเมื่อพระพุทธองค์ทรงค้นพบอริยะสัจสี่ จึงตรัสว่าเป็นพุทธะ เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ไปแล้วด้วยดี แล้วไฉนเราไม่ศึกษาอริยสัจสี่ (ไม่ได้หมายถึงแค่รู้ศัพท์ รู้ความหมาย แต่ต้องรอบรู้และรู้รอบจริงๆ)

อ้างคำพูด:
หลักการรู้อริยสัจ ๔
การรู้อริยสัจนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ในการรู้ที่แน่นอนตายตัว การรู้อริยสัจที่ถือว่าจบเกณฑ์นั้น จะต้องรู้ ๓ รอบ รู้ในญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ เรียกว่า ปริวัติ ครั้งละ ๔ รวมเป็น ๑๒ ครั้ง


สมัยพุทธกาลทรงสอนใครก็สอนเรื่องนี้แหละเรื่องเดียวเท่านั้น

อริยสัจสี่ เรื่องนี้เท่านั้น

แล้วเราไปเรียน ไปทำอะไรกันอยู่

532 อริยสัจจ์เป็นเรื่องด่วน

อริยสัจจ์ ๔ เป็นเรื่องเร่งรีบที่ควรจะตรัสรู้และเป็นเรื่องที่มีค่า ควรกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตรัสรู้ แม้จะลำบากแสนสาหัสก็ตามอย่างไร ? :b39: :b39:

อ้างคำพูด:
พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะถูกไฟไหม้ ควรจะทำอย่างไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ควรกระทำความต้องการอย่างรุนแรง ความพยายาม ความอุตสาหะ.... เพื่อจะดับผ้าโพกและศีรษะนั้น

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเฉยเสีย ไม่เอาใจใส่ต่อผ้าโพกหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้อยู่ โดยที่แท้ควรสร้างความต้องการอย่างรุนแรง ความพยายาม ความอุตสาหะ...เพื่อจะตรัสรู้ อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังมิได้ตรัสรู้....

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุหนึ่งร้อยปี พึงกล่าวกับบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปีอย่างนี้ว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ คนทั้งหลายจักเอาหอกทิ่มแทงท่านในเวลาเช้า...เวลาเที่ยง....เวลาเย็น เวลาละร้อยเล่ม ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่มทิ่มแทงอยู่ทุก ๆ วัน จักมีชีวิตอยู่ร้อยปี และเมื่อเวลาล่วงไปครบหนึ่งร้อยปี จักได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มุ่งประโยชน์ควรจะรับเอาการลงทัณฑ์นั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าการท่องเที่ยวไปในวัฏฏะนี้ ไม่มีใครรู้ที่สุดได้ การประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และควาน ย่อมไม่ปรากฏมีเบื้องต้นหรือที่สุดถ้าแม้นว่า จะถูกประหารในวาระสุดท้ายเช่นนั้นจริง เราก็ไม่กล่าวว่าการตรัสรู้ อริยสัจจ์ ๔ นั้น เกิดขึ้นพร้อมด้วยความทุกข์ ความโทมนัส แต่เรากล่าวการอริยสัจจ์ ๔ นั้นว่าเกิดพร้อมด้วยความ สุขและโสมนัส...”


เจลสูตและสัตติสตสูตร มหา. สํ. (๑๗๑๗-๑๗๑๘ )
ตบ. ๑๙ : ๕๕๐-๕๕๑ ตท. ๑๙ : ๔๙๕-๔๙๖
ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒-๓๗๓


:b41: :b41: :b41:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความจริงอันประเสริฐนั้นคืออะไร :b41: :b41:

"อริยสัจจ์สี่" :b39: :b42:

แปลว่า ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

เป็นสัจจะ เป็นของจริงแท้ที่มีปรากฏอยู่ ในชีวิตของเราตลอดเวลา

อริยสัจจ์สี่ประการนั้น ประกอบด้วย


หนึ่ง ทุกขอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์

สอง สมุทยอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมา

สาม นิโรธอริยสัจจ์ความจริงคือการดับทุกข์ได้

สี่ นิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจจ์ ความจริงคือข้อปฏิบัติที่จะเป็นทางให้เกิดความพ้นทุกข์


นี่เป็นสิ่งที่พระองค์นำมาประกาศแก่โลกในวันนั้น
เป็นการประกาศพระพุทธศาสนาตัวแท้ตัวจริงให้ปรากฏแก่โลก

แม้ว่าจะมีครู มีอาจารย์มากมายในประเทศอินเดีย ก่อนยุคพระพุทธเจ้า แล้วก็มีความคิดแผลงๆ แปลกๆ หลายแง่หลายมุมเรียกว่า เป็นเจ้าลัทธิต่างๆ มีมากมาย แต่ไม่มีเจ้าลัทธิคนใดพูดถึงเรื่องนี้ ไม่มีเจ้าลัทธิคนใด ที่จะมีความรู้ในเรื่องนี้

ยุคปัจจุบันเช่นกันมีมากมายหลายสำนักดั่งเช่นก่อนยุคพุทธกาล เป็นการยากสำหรับผู้มาใหม่ที่คิดเริ่มต้นจะศึกษาหรือปฏิบัติธรรมมา ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนอย่างไร จึงลองผิดลองถูก บางคนโชคดี บางคนโชคร้ายตายก่อนจะพบทางที่ถูกก็มี

กระผมจึงอยากบอกว่าที่ใด สำนักใดสอนอริยสัจสี่ ท่านจงเข้าไปเรียน ไปศึกษา น้อมมาใส่ใจเถิด


เรื่องของอริยสัจจ์ ทั้งสี่ประการนี้ พูดเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของเราทั้งนั้น

พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนเราทั้งหลายในเรื่องอื่น ที่ไกลไปจากชีวิตของเราแต่ละคน

ให้เราเข้าใจข้อนี้ให้ถูกต้อง ว่าพระองค๎ชี้ลงมาที่ตัวของเรา ไม่ได้สอนไปในที่อื่น เรื่องอื่น ให้เราศึกษาทำความเข้าใจ ในภายในตัวของ เราเอง ดังมีพระพุทธดำรัสไว้ ในตอนหนึ่งว่า


อ้างคำพูด:
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาย ยาววา หนาคืบ กว้างศอกหนึ่งนี้ เราบัญญัติว่า เป็นโลก"


รูปภาพ
โลกของพระพุทธเจ้านั้นคือ กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก ไม่ใช่โลกอันกว้างใหญ่ไพศาล อันเป็นแผ่นดิน แต่ว่าพูดในโลกคือร่างกายของเรา

เขาเรียกว่า กรชกายแปลว่า กายที่เกิดจากฟองน้ำ :b48: :b48:

ในกายยาววา หนาคืบ กว้างศอกหนึ่งนี้ มีใจครอง แล้วก็มีเรื่องความทุกข์อยู่ด้วย เหตุให้เกิดทุกข์ ก็อยู่ในนี้ ความดับทุกข์ ก็อยู่ที่นี่

การปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็อยู่ที่นี่ อะไรๆ มันก็อยู่ที่นี่ทั้งนั้น อยู่ในตัวเราทั้งนั้น เราอย่าไปหาให้มันไกลออกไป จะวกวนเสียเวลาเปล่าๆ

แต่มองหาในตัวเราเอง ให้เห็นในตัวเราเอง ว่ามันมีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรตั้งอยู่ และสิ่งนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้ว มันเกิดอะไรขึ้นในตัวเรา เช่น เกิดความทุกข์ร้อนอกร้อนใจ วิตกกังวลด้วยปัญหาต่างๆ มันก็อยในตัวเรานี้ทั้งนั้น เรื่องนี้สำคัญที่สุด

สำหรับการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ เพราะปกติคนเราทั่วๆ ไปนั้นเมื่อมีความทุกข์ ความเดือดร้อนเกิดขึ้น ไม่พยายามมองที่ตนเอง แต่ว่าไปมองไกลออกไปที่อื่น

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระพุทธเจ้าขีดให้เดิน ถ้าเปรียบเหมือนคนขับรถ แทนที่จะขับบนเลนบนถนน แต่ไปขับอยู่ในคู่โน่น แล้วรถมันจะไปได้อย่างไร เมื่อลงไปในคู มันก็จอดอยู่ตรงนั้น ไม่มีทางจะไปได้ ในชีวิตเราก็เหมือนกัน เส้นทางที่พระพุทธเจ้าชี้ให้เดิน ไม่เดิน แต่ไปเดินนอกทาง เลยก็ไม่สามารถจะก้าวเดินต่อไปได้

การเดินนอกทางนั้น เดินไม่ได้สำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจ

ต้องเดินตามเส้นทางที่พระองค์ทรงชี้ไว้ให้เดิน ที่ได้เป็นนี้ ก็เพราะไม่เข้าใจหลักข้อนี้ คือไม่เข้าใจว่าอะไรทั้งหมด มันเกิดขึ้นในตัวเรา ไม่ได้เกิดจากที่อื่น เรื่องอื่น

การแก้ไขนั้นก็ต้องแก้ที่ตัวเรา การแก้ที่ตัวเรานั้น ไม่ใช่แก้ด้วยการเอาวัตถุภายนอกมาแก้ แต่เราต้องแก้ที่ใจของเรา ความทุกข์มันเกิดที่ใจ ความสุขมันก็เกิดที่ใจ ที่คนไทยเราพูดว่า "สวรรค์ในอก นรกในใจ พระนิพพานอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ใจนั่นแหละ" นี่เขาพูดถูกต้อง พูดเป็นธรรมะแต่ว่าคนฟังอาจจะไม่ได้คิดในข้อนี้ เลยก็ไปเที่ยววิ่งวุ่นหาอะไรจากภายนอก แทนที่จะพบ กลายเป็นไม่เจอสิ่งที่ต้องการ


:b49: :b49: :b49:

อ่านรายละเอียดทั้งหมดใน.....กระทู้ของคุณ TU โมทนาบุญด้วยครับ :b8: :b8:

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=157

"อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปปฺาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ ….

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

" มีเนื้อความว่า..... "ตถาคตคือพระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ความจริงก็คงอยู่เป็นกฎธรรมดา เป็นความแน่นอนของธรรมชาติ ว่าดังนี้ๆ"


การรู้ความจริงของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

หรือกฎธรรมชาติเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดแล้วดับไปเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็น ทุกขัง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และเป็น อนัตตา ไม่เป็นตัวตนของใครที่จะไปสั่งบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เราจะยึดถือครอบครองไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน แต่แท้จริงแล้วตัวตนอย่างนั้นไม่มี มีแต่เพียงภาพปรากฎชั่วคราว ส่วนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังคือกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กันของสิ่งทั้งหลายที่คืบเคลื่อนไปเรื่อยๆ ภาพตัวตนที่ปรากฏนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้นตัวตนที่แท้ยั่งยืนตายตัวที่จะยึดถือครอบครองบังคับบัญชาอะไรๆ ได้ จึงไม่มี (คำว่า อัตตา คือตัวตนที่เที่ยงแท้ยั่งยืนตายตัวตลอดไป) มีแต่ภาพรวมของปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายในกระบวนการของมัน เรียกว่าเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่เป็นตัวตนของใคร

นี้คือความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเรื่อง "ไตรลักษณ์" เป็นหลักที่เด่นว่าสิ่งทั้งหลายนี้..... อนิจฺจํ ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับหาย มีความเปลี่ยนแปลง..... ทุกฺขํ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อยู่ในภาวะขัดแย้ง ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วยความอยาก มันก็ฝืนความปรารถนา แล้วก็..... อนตฺตา ไม่เป็นตัวตนของใครได้ ใครจะยึดถือครอบครองสั่งบังคับไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน


:b41: :b41: :b41:

อ่านรายละเอียดจาก :b17:

http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/page07.php

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขณะที่จอหน์กำลังอะบายเรื่องอริยสัจสี่อยู่นั้น
มีนักบวชชาวตะวันออกผู้หนึ่ง ท่าทางเป็นผู้แก่เรียน........ :b31:
มีลูกศิษย์ลูกหาติดตามกระหนาบข้างมากมายได้ยกมือขึ้นถามจอหน์ว่า........


นักบวช "ขออนุญาติท่านผู้บรรยาย เราอ่านเรารู้เรื่องอริยสัจสี่ในพระไตรปิฏกมามากมายแล้ว เราจำได้ทุกตัวอักษรในพระไตรปิฏก อยากถามท่านว่าทำไมครั้งพุทธกาลจึงมีผู้บรรลุธรรมง่ายดายเหลือเกินไม่เห็นต้องตั้งท่า ยก ย่าง เหยียบ หรือ นั่งหลับตา บางคนยืนฟัง บางคนเมาสุราเสียอีกยังบรรลุธรรมได้"

จอหน์ "ขอบพระคุณครับ ผมขอเรียนว่าการบรรลุธรรมนั้น บรรลุด้วยจิต ไม่ได้ขึ้นกับท่าทางต่างๆ เมื่อไหร่ผู้ฟังมีจิตตั้งมั่น มีสติรู้ตาม เห็นตาม ความเป็นจริงก็สามารถบรรลุธรรมได้

ครั้งพุทธกาล.............พระพุทธเจ้าท่านมีพระบารมีมาก งดงามมากทั้งพระวรกาย พระสุรเสียง พระอริยาบถ หาบุรุษใดเทียบได้ไม่....... ลักษณะดังกล่าวย่อมเป็นที่ตรึงตา ตรึงใจ เหมือนมีมนต์สะกดกับผู้พบเห็น ทำให้ผู้พบเห็นหรือฟังธรรมต่อหน้าพระองค์ ฟังด้วยจิตตั้งมั่น มีสมาธิ รู้ตาม เห็นตามอย่างมีสติ จึงบรรลุธรรมได้ง่าย...... แม้ถ้อยคำไม่กี่ประโยค"


(ยกตัวอย่างเช่น เราเห็นอั้ม พัชราภา เดินผ่านมา เรายังต้องหยุดเพิ่งพินิจมองอย่างฝังตาฝังใจ ถ้าอั้มเข้ามาคุยด้วย เราแทบอ่อนล้มดุจมนต์สะกดเลยอะนะ...จริงมั้ยๆ :b20: )

รูปภาพ

นักบวช "แล้วขึ้นกับอธิษฐานบารมีในชาติก่อนๆด้วยหรือเปล่า"

จอหน์ "ก็มีส่วนนะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าบารมีสร้างในชาตินี้ไม่ได้...หรือสร้างไม่ทัน

บารมี แปลว่า กำลังใจ ถ้าเรามีกำลังใจมุ่งมั่นที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในชาตินี้ ก็เรียกว่ามีบารมีเต็มเช่นกัน........."


นักบวช " แล้วทำไมหลายสำนักจึงฝึกกำหนดรูปแบบต่างๆกัน เช่นพุธโธ สัมมา-อะระหัง ยุบพองเดินย่างหนอ ยกมือขึ้นลง เพ่งกสิน ทำรูปฌาณ อรูปฌาณ อย่างไหนกันแน่"

จอหน์ "นั้นเป็นรูปแบบการฝึกสติ สมาธิ หรือเป็นสมถะกรรมฐาน(มี 40 วิธี) อันเป็นบาทฐานของปัญญาต่อไป...... พระองค์กล่าวไว้มีหลายวิธีแล้วแต่จริต ซึ่งต้องพึ่งพากัน ขาดเสียซึ่งสมถะไม่ได้...... ที่ปัจจุบันต้องฝึกเช่นนั้นเพราะปัจจุบันไม่มีพระพุทธเจ้าอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตให้ตั้งมั่นได้เช่นพุทธกาล แม้บางคนฝึกจิตตั้งมั่นได้ดีระดับสมาบัติ 8........

แต่ไม่รู้อริยสัจสี่ ไม่รู้โลกตามความเป็นจริง ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เช่นอาฬรดาบสและอุทกกดาบสเป็นต้น.....

ในสมัยพุทธกาลบางคนฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ก็ไม่บรรลุธรรม แต่พระองค์มีพระญาณทราบจริตแต่ละคน จึงแนะนำกรรมฐานให้ จึงสามารถบรรลุธรรมในเวลาต่อมาได้

ปัจจุบันหาครูบาอาจารย์ระดับเช่นนี้ยาก จึงต้องปฏิบัติรวมๆกันไปด้วยความชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ไม่เพียรบ้าง เลิกล้มบ้าง เปลี่ยนสำนักบ้าง....หารู้ไม่ว่ามันอยู่ที่ใจต่างหาก ไม่ใช่รูปแบบ

เมื่อฝึกแล้วก็ไม่ควรยึดติดรูปแบบ บางทีเห็นใครทำผิดจากสำนักตนก็ว่าผิดบ้าง ไม่ใช่วิปัสสนาบ้าง จำไว้ว่าจิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่มีรูปแบบดั่งเช่นจอมยุทธไร้เทียมทาน ไร้กระบวนท่า


ยืนเดินนั่งนอนก็รบได้เสมอ...... :b48:

สู้กับกิเลสในใจได้เสมอ......
:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร