วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตนิ่งไม่ได้ จิตเป็นสภาพรู้ เกิดขึ้นครั้งใดต้องรู้อารมณ์ อารมณ์ในที่นี้

หมายถึงสิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตรู้อารมณ์จะเกิดโลภะความพอใจหรือโมหะ คือ

ความหลง ความไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือจะเป็นกุศลในทาน คือการ

คิดให้ ในศีลคือความไม่เบียดเบียน เป็นต้น การที่เข้าใจว่าจิตนิ่ง เป็น

ความไม่เข้าใจในสภาวะลักษณะของสภาพธรรมะที่กำลังปรากฏว่า ขณะ

นั้นเป็นโลภะหรือโมหะ หรือเ ป็นจิตที่ปราศจากโลภะ โทสะ หรือ โมหะ

เพราะเป็นกุศลจิต ถ้าเป็นปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่แสงสว่าง

แต่อุปมาให้เห็นลักษณะของปัญญาว่า เปรียบเหมือนแสงสว่างเพราะทำ

ความมืด คือ โมหะให้หายไป เมื่อความรู้เกิดขึ้น ความไม่รู้ย่อมหมดไป

ถ้าใช่คำว่า "จิตนิ่ง" ก็ไม่ใช่ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าใช่คำว่า "จิตนิ่ง" ก็ไม่ใช่ปัญญา


มันเป็นปัญหาตรง การใช้ภาษาครับ



เราท่านในยุคปัจจุบัน ใช้คำว่า"จิตนิ่ง"

คือ คำว่า"จิตนิ่ง"เป็นภาษาที่คนในยุคปัจจุบันใช้กัน
มันเลยตีความหมายไปในทาง ที่ ท่าน จขกท กล่าวได้

ในสมัยพุทธกาล ท่านใช้คำว่า ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ความไม่ฟุ้งซ่าน และ ความตั้งมั่นแห่งจิต บรรยายลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ


ผมขออนุญาตนำพระพุทธพจน์ดั้งเดิม เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาวางเทียบ

เสนอ พระสูตรบาลีดั้งเดิม ที่กล่าวถึง การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

แสดง

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ความไม่ฟุ้งซ่าน และ ความตั้งมั่นแห่งจิต .... อันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนา

มาลงเสนอ

เผื่อว่า ท่านใดยังไม่เคยอ่าน



[๕๓๗] กถํ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ

อนิจฺจโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา ทุกฺขโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา
อนตฺตโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา

ตตฺถ ชาตานํ ธมฺมานํ จ โวสฺสคฺคารมฺมณตา จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป สมาธิ

อิติ

ป€มํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ
เตน วุจฺจติ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ




[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่ จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา



เสนอ สังเกตุ คำกล่าว
1.เอกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว)
2.อวิกเขโป(ไม่ฟุ้งซ่าน)
3.สมาธิ


ถึงแม้นจะเจริญอริยมรรค โดยใช้วิปัสสนานำหน้า ก็ตาม
เอกัคคตาจิตคือ จิตที่มีอารมณ์เดียว ก็ต้องปรากฏเช่นกัน
รวมทั้ง อวิกเขโป(ความไม่ฟุ้งซ่าน) และ สมาธิ(ตั้งมั่นชอบ)ก็เช่นกัน ที่จะต้องบังเกิดขึ้น

ดังนั้น ผมเสนอให้เรา-ท่าน ย้อนกลับไปใช้ภาษาที่ใช้กันในพระสูตร(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ความไม่ฟุ้งซ่าน ความตั้งมั่นชอบ)
ดีกว่า คำว่า"จิตนิ่ง"

เพื่อป้องกันความสับสน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตรอยู่พระสูตรหนึ่ง ต้องอ่านดีๆ

พระสูตรนี้กล่าวถึง "ความรู้สึกไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน"



http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=552938

[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึง
พิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่
ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และ ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระ-
ภาษิตดังนี้ ครั้นแล้วพระองค์ผู้สุคตจึงเสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร ฯ


และ

[๖๔๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ
นั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดวิเวก ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความ
ยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ



ในฌานระดับอื่นก็เช่นเดียวกัน
คือ ถ้า "กำหนัดด้วยยินดี" ผูกพันด้วยยินดี" หรือ "ประกอบด้วยสังโยชน์" ซึ่งนี่ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นในฌาน เป็นอุปาทาน ภพ ชาติ.... ซึ่งยังไม่ใช่หนทางที่ถูก

ลักษณะนี้ น่าจะเข้ากับ "จิตนิ่ง"ในแง่มุมที่ ท่าน จขกท กล่าวถึง
คือ เข้าไปสงบอย่างเดียว จนไม่เดินหน้าด้านปัญญา คือ ไม่ได้ใช้ สภาวะจิตที่ตั้งมั่น-นุ่มนวล-ควรแก่การงาน ให้เกิดประโยชน์ด้านปัญญา


แต่ พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสห้ามอบรมจิตให้ตั้งมั่น(เช่น อานาปานสติ)น่ะครับ...อย่าเข้าใจผิด

ที่ท่านตรัสคือ ไม่ให้ติดตันอยู่เพียงความสงบนั้นๆ

มีพระสูตรที่ตรัสอย่างชัดเจนว่า บุคคลไม่ควรกลัวสุขจากฌาน และ สรรเสริญอานิสงส์แห่งฌานไว้หลายต่อหลายพระสูตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: โมทนากับ จขกท และท่านตรงประเด็นครับ :b8:

อ้างคำพูด:
จิตนิ่งไม่ได้ จิตเป็นสภาพรู้


จิตนี้ดิ้นรนกวัดแกว่งหนอ อยู่นิ่งไม่ได้เช่นลิง
เหมือนปลาที่อยู่ในน้ำจับขึ้นมาวางบนบก ย่อมดิ้นฉนั้น....

เพราะจิตเป็นสภาพรู้ จึงรู้โน่น รู้นี่ไปเรื่อยๆ จะให้ไม่รู้ไม่ได้
ถ้ารู้สิ่งที่เป็นอกุศล ......ก็ไม่ดี

รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ โมหะ ทำหลง ทำเป็นรู้แบบมึนๆ เฉยๆ แต่ก็รู้นะ รู้แบบเฉยๆนั่นเอง

เราจับมามาฝึกให้รู้สิ่งที่เป็นกุศลดีกว่า (เช่นฝึกลิงเล่นละครดีกว่า ได้เงินด้วย)
อาจทำให้เกิดปัญญา พาหลุดพ้นได้
เหมือนนายช่างศร เพียรดัดลูกศรให้ตรง.....

เหมือนนิทานยักษ์ปีนต้นไม้ ต้องหางานให้ยักษ์ทำเรื่อยๆ มันไม่ยอมอยู่เฉยๆครับ


รูปภาพ

นิทานเรื่อง ยักษ์ปีนต้นไม้

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชายตัดฟืนอาศัยอยู่ในป่า ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแน่นอน

"เราจะมอบของล้ำค่า เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนที่เจ้าเป็นคนดี มันคือยักษ์วิเศษ


รูปภาพ

"เทวดากล่าวและบรรยายสรรพคุณต่อ "เจ้ายักษ์ตนนี้มีความสามารถสูง มันเกิดมาเพื่อทำงาน มันสามารถทำงานให้เจ้าได้ทุกอย่าง และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญมันทำงานได้เร็วมากเลย"

รูปภาพ

"แต่.." เทวดาเว้นวรรคเล็กน้อยแล้วกล่าวต่อ "เจ้าต้องระวังหากไม่สามารถหางานให้มันทำได้ละก็…

รูปภาพ

มันจะกลับมาเล่นงานเจ้าเอง มันจะเล่นงานเจ้าถึงตายเชียวนะ" ชายตัดฟืนตัดสินใจรับยักษ์วิเศษไว้ เขาพามันกลับบ้าน

รูปภาพ

ทันทีที่เข้าบ้าน ยักษ์ตนนั้นก็เริ่มกล่าวว่า "นาย ๆ มีอะไรให้ข้าฯ ทำบ้าง" ชายตัดฟืนได้มอบหมายงานให้ยักษ์ไปทำความสะอาดบ้านที่รกรุงรัง

ตัวเองก็กระหยิ่มใจที่ได้พัก ขณะที่เขากำลังจะเอนตัวลงงีบ ก็ได้ยินเสียงชัดเจนดังข้างหูว่า "นาย ๆ ข้าฯ ทำความสะอาดบ้านเสร็จแล้ว มีอะไรให้ข้าฯ

ทำอีก" ชายตัดฟืนกวาดสายตามองไปรอบ ๆ บ้านอย่างไม่เชื่อสายตาตัวเอง บ้านสะอาดหมดจดอย่างไม่มีที่ติ เหงื่อเม็ดโป้งผุดขึ้นเต็มหน้าผากเขาแก้

ปัญหาเฉพาะหน้าสั่งให้ยักไปตัดฟืนที่เขาทำค้างไว้เป็นงานชิ้นใหญ่ที่ทำให้เขาพอมีเวลา จากนั้นชายตัดฟืนได้ไปปรึกษาท่านผู้รู้ประจำหมู่บ้าน

หลังจากฟังคำแนะนำชายตัดฟืนได้กลับถึงบ้าน เจ้ายักษ์เสร็จงานผ่าฟืนพอดี


รูปภาพ

"นาย ๆ ผมผ่าฟืนเสร็จแล้วมีอะไรให้ผมทำอีก" น้ำเสียงของเจ้ายักษ์ส่อเลศนัยว่ามันจะได้กินชายตัดฟืนเป็นอาหารแน่ ๆ ชายตัดฟืนเริ่มทำตามแผน

ทันที เขาสั่งให้ยักษ์พาตนไปยังต้นไม้สูงกลางป่า ณ ต้นไม้นั้นเขาสั่งให้เจ้ายักษ์ให้ลิดกิ่ง ลิดใบออกจนหมด ต้นไม้สูงต้นนี้จึงดูเหมือนเสาโล้น ๆ ต้น

หนึ่ง "นับจากนี้ไป" ชายตัดฟืนกล่าว "เมื่อใดที่เจ้ายืนอยู่ที่โคนต้นงานของเจ้าคือให้ปีนขึ้นไปจนสุดปลายยอดไม้" เขาเว้นเล็กน้อยก่อนที่จะกล่าวต่อ

"และเมื่อใดที่เจ้าอยู่ปลายยอดไม้ งานของเจ้าคือให้ปีนลงมายังโคนต้นไม้" คำสั่งสองคำนี้ทำให้เจ้ายักษ์ทำงานเป็นวงจรอันไม่รู้จบ ผลก็คือเมื่อใด

ที่ชายตัดฟืนมีงานให้ทำ เขาก็เรียกเจ้ายักษ์มาใช้ ครั้นเมื่องานเสร็จสิ้นลงเขาก็ใช้ให้เจ้ายักษ์ไปปีนต้นไม้…..


รูปภาพ

ยักษ์วิเศษตนนี้ก็คือความคิดของมนุษย์นั่นเอง

ใช่หรือไม่ที่ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความสามารถสูง เป็นสิ่งที่เร็วยิ่ง มนุษย์มีเทคโนโลยีอัน ทันสมัย เดินทางไปถึงดวงจันทร์ได้ ก็เพราะความคิดนี่เอง แต่..บ่อยครั้งที่เราพบว่าเพราะความคิดนี่แหละ กลับมาเล่นงานมนุษย์เสียเอง บางคน คิดมากจนบั่นทอนสุขภาพ บ้างถึงกับจบชีวิตตนเองลงด้วยซ้ำ ก็เพราะเจ้าความคิดนี่เอง ต้นไม้ในนิทานก็คือลมหายใจในตัวเรานั่นเอง ซึ่งจะเดิน ทางขึ้นลง จากปอดขึ้นสู่จมูกจากจมูกลงสู่ปอดเท่านั้น


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า.. ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักที่จะใช้ความคิดของตนเองให้เกิดประโยชน์ ครั้นเมื่อว่างจากการคิด ก็ควรหมั่นฝึกนำจิตของตนมารู้อยู่กับลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ผู้ที่ทำได้เช่นนี้ ก็จะยังชีวิตที่เป็นประโยชน์และเป็นสุข.


:b4: :b4: ผมเป็นบัวทองแล้วหรือนี่..... :b4: :b4:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ

อ้างคำพูด:
คุณตรงประเด็น: มันเป็นปัญหาตรง การใช้ภาษาครับ


จิต VS ความนึกคิด ...โดยทั่วไปยังแยกกันไม่ออกเลยค่ะ

ความคิดที่ซัดส่าย ฟุ้งไป... ก็ว่าจิตไม่นิ่ง
จริงแล้วคือจิตรู้ว่าคิดไป ฟุ้งซ่านไป มีการปรุงแต่งที่เนื่องจากความคิดนั้น...
คิดถึงคนรัก กิ๊กคนใหม่ รู้สึกเป็นสุข เผลอยิ้มปลื้มออกมา
คิดถึงเช็คช่วยชาติที่รับมาเมื่อเช้า..ก็รู้สึกสุข..เตรียมไปช็อบช่วยชาติ...
คิดถึงโน้น..นี่ จิตก็ปรุงแต่ง สุข เศร้า โกรธ เกลียดไปตามกิเลส...ตามสัญญาเดิมที่คุ้นเคย

การอบรม การฝึกใจฝึกจิต ให้รู้ตามทันเจตสิกที่ปรุงแต่ง เมื่อคิดฟุ้งไป ก็จะมีสติรู้ว่าคิดไปอีกแล้ว

มีสติรู้ตัวบ่อยๆ แล้วจะขำที่เห็นจิต เกิด แล้วดับไปต่อหน้าต่อตา ค่ะ

จิตจะรู้อารมณ์ทางตา หู ฯ แต่การปรุงแต่งจะลดลง ความสงบเย็นในจิตจะเจริญขึ้น

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีกับท่าน ฌาณ ด้วยค่ะที่ได้ตำแหน่งบัวแก้ว ตามที่ปรารถนา

เหมือนแก้ห้อผ้าที่เล็งมานาน เปิดออกแล้วก็งั้นๆ
ไม่มี ไม่คงทน เสื่อมไป สิ้นไป เหมือนกัน

แต่ความเพียรเป็นที่ประจักษ์แก่สมาชิกทุกท่านค่ะ

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตนิ่งได้ต่อเมื่อหมดที่รู้ (รู้แจ้ง).... :b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเสนอเพิ่มน่ะครับ

ประเด็นปัญหาของภาษาที่ใช้ไม่ตรงกัน

ปัจจุบัน
คำว่า "จิตมีอารมณ์เดียว(เอกัคคตา) ไม่ฟุ้งซ่าน(อวิกเขโป)"ที่ปรากฏมากมายในระดับพระสูตร .........จะถูกเข้าใจเพียงในแง่มุม"จิตนิ่ง"ชนิดที่เป็นมิจฉาสมาธิ ที่ไม่นำไปสู่ปัญญาในความหมายเดียวกับ ที่แสดงในกระทู้นี้ (พระพุทธองค์ท่านใช้คำว่า "จิตตั้งสงบอยู่ภายใน แล้วกำหนัดด้วยยินดี ผูกพันด้วยยินดี ประกอบด้วยสัญโญชน์ในฌาน คือ ติดตันเพียงแค่ฌาน "
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=552938 )

มีประเด็นที่สำคัญคือ
ปัจจุบันจะมี บางท่านที่เชื่อว่า การฝึกจิต หรือ การอบรมจิต เช่น อานาปานสติ เมตตาพรหมวิหาร อสุภกรรมฐาน คือ การกดข่มแทรกแซงจิต และ ไม่ควรปฏิบัติ

คือ แยกระหว่าง
การฝึกจิต-อบรมจิตตามพุทธวิธี
กับ
การกดข่มแทรกแซงจิต
ไม่ออก

โดยที่ จะเห็นว่า
การเจริญสมาธิภาวนา เช่น อานาปานสติ คือ อย่างเดียวกับการกดข่มแทรกแซงจิต ....จิตเขาฟุ้งซ่าน ก็ใช้สมาธิวิธีไปบังคับให้สงบ ครั้นสงบแล้วก็ต้องมาคอยเสียเวลารักษาสภาวะจิตที่ดีเอาไว้อีก ทำให้ไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์แห่งจิต คือ ไม่เห็น การเกิดดับของอาการฟุ้งซ่าน ซึ่งเห็นว่า การเจริญอานาปานสติ เป็นสิ่งที่ผิด....ที่ถูกต้องนั้น ต้องตามดูอาการฟุ้งซ่านอย่างเดียว จนเห็นความฟุ้งซ่านเกิดดับ และ ปล่อยวาง....ไม่ควรเจริญอานาปานสติ




พระพุทธเจ้า ท่านมีพระญาณที่ทรงจำแนกแจกแจงธรรม และ ทรงสามารถหยั่งถึงอุปนิสัยของบุคคลต่างๆได้ว่า บุคคลใดมีจริตนิสัยใด และ จะได้ประโยชน์จากแนวกรรมฐานใด. ซึ่งพระญาณนี้ ไม่มีผู้ใดเสมอพระพุทธเจ้า...พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ จึงหลากหลาย เอื้อประโยชน์ ต่อนานาจริตนิสัย


เสนออ่าน ในพระสูตร เรื่อง กรรมฐาน กับ จริต

อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

"....พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต. ...."



อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับ บุคคลวิตกจริต (น่าจะมีสักหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ในสังคมไทย) คือ อานาปานสติช่วยให้จิตไม่ฟุ่งซ่าน(อุทธธัจจะ)จนเกินไป สามารถค่อยๆพิจารณาวิปัสสนาธรรมต่างๆได้ชัดเจนขึ้น.ท่านที่เป็นวิตกจริต ถ้าจะพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรงเลย ก็อาจเบลอร์(เพราะปกติ ก็เบลอร์อยู่แล้ว)... แต่ ทั้งนี้และทั้งนั้น จะอย่างไร ทุกจริตนิสัยก็ต้องมาสู่จุดที่พิจารณาไตรลักษณ์จนบังเกิดวิปัสสนาญาณ เช่นเดียวกันกับบุคคลที่เป็นญาณจริต เพียงแต่ กรรมฐานต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ จะช่วยปรับให้จิตเอื้อต่อการเกิดปัญญามากขึ้น

ส่วน การพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรง(เจริญวิปัสสนาโดยตรง หรือ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า)เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับ บุคคลที่เป็นญาณจริต(ปัญญาจริต) คือ เป็นคนที่ชอบพิจารณาหาเหตุผล (ท่านเหล่านี้ จิตพื้นฐานของท่านจะมีความสงบอยู่บ้างแล้ว และ ก็ต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน)...

อยากเสนอให้สังเกตุว่า ท่านผู้มีญาณจริตในสมัยพุทธกาล เช่น ท่านพาหิยะ ท่านสันตติมหาอำมาตย์ ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็ว ท่านเคยกล่าวตำหนิอานาปานสติเอาไว้ เหมือนชาวพุทธผู้(ทีเชื่อว่าตน)เป็นญาณจริตในปัจจุบันไหม

อสุภกรรมฐาน เมตตาภาวนา พุทธานุสติ ๆลๆ ก็เช่นกัน คือ มีประโยชน์เหมาะสมกับแต่ล่ะจริตนิสัยที่แตกต่างกันไป...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณตรงประเด็น อ่านแล้วเข้าใจมากๆเลยค่ะโดยเฉพาะ
:b41:
อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับ บุคคลวิตกจริต (น่าจะมีสักหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ในสังคมไทย) คือ อานาปานสติช่วยให้จิตไม่ฟุ่งซ่าน(อุทธธัจจะ)จนเกินไป สามารถค่อยๆพิจารณาวิปัสสนาธรรมต่างๆได้ชัดเจนขึ้น.ท่านที่เป็นวิตกจริต ถ้าจะพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรงเลย ก็อาจเบลอร์(เพราะปกติ ก็เบลอร์อยู่แล้ว)... แต่ ทั้งนี้และทั้งนั้น จะอย่างไร ทุกจริตนิสัยก็ต้องมาสู่จุดที่พิจารณาไตรลักษณ์จนบังเกิดวิปัสสนาญาณ เช่นเดียวกันกับบุคคลที่เป็นญาณจริต เพียงแต่ กรรมฐานต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ จะช่วยปรับให้จิตเอื้อต่อการเกิดปัญญามากขึ้น
:b41: คือเราว่าบทนี้ตรงกับตัวเราเลยค่ะ ทุกวันนี้ก็ปฏิบัติพอประมาณ รู้สึกว่าตัวเองคงปฏิบัติได้แค่นี้
คือใจรู้สึกว่าแค่นี้ เราก็ทำได้ไม่เต็มร้อย
:b41: ถามนะคะว่าถ้าใจเรารู้สึกได้แค่นี้ จะได้ไม๊คะ ก็คิดว่าตัวเองก็แค่มีบุญปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง อนาคตข้างหน้าเราไม่รู้ ถ้าพยายามทำมาถึงตรงนี้ แต่ก็ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล5 ให้มากที่สุด เกิดในวันหนึ่งมีอันต้องเป็นไป ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว คุณช่วยแนะนำเราได้ไม๊คะ

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ OWAN


อ้างคำพูด:
คือเราว่าบทนี้ตรงกับตัวเราเลยค่ะ ทุกวันนี้ก็ปฏิบัติพอประมาณ รู้สึกว่าตัวเองคงปฏิบัติได้แค่นี้
คือใจรู้สึกว่าแค่นี้ เราก็ทำได้ไม่เต็มร้อย


อนุโมทนาครับ
ผมเองก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปฏิบัติไม่ได้มากมายอะไรหรอก


อ้างคำพูด:
ถามนะคะว่าถ้าใจเรารู้สึกได้แค่นี้ จะได้ไม๊คะ ก็คิดว่าตัวเองก็แค่มีบุญปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง อนาคตข้างหน้าเราไม่รู้ ถ้าพยายามทำมาถึงตรงนี้ แต่ก็ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล5 ให้มากที่สุด เกิดในวันหนึ่งมีอันต้องเป็นไป ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว คุณช่วยแนะนำเราได้ไม๊คะ


คงไม่ถึงขนาดการแนะนำหรอกครับ

เป็นเพียง เพื่อนร่วมทุกข์ ที่พยายามหาทางอยู่ด้วยกัน ช่วยเหลือ-เกื้อกูล-พูดคุยแลกเปลี่ยน กันมากกว่าครับ
ส่วนเรื่องที่คุณกล่าวว่า พยายามทำปัจจุบันให้ดีที่สุดนั้น ผมเห็นด้วยครับ


มีบทธรรมของ หลวงปู่ ชา สุภัทโท มาฝากครับ

http://mahamakuta.inet.co.th/practice/m ... ml#mk722_1

ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาคุณหมอด้วยนะครับ
:b8: :b8: :b8:

ผมพอจะจับประเด็นได้อย่างนึงว่า


ถ้าผู้หัดใหม่ จิตกับเจตสิกยังไม่แยกออกจากกัน
ย่อมเข้าใจว่าจิตกับเจตสิกเป้นอันเดียวกัน
เมื่อได้ยินว่าต้องทำจิตให้นิ่ง ให้ว่าง ก็เลยพยามข่มเจตสิกไปด้วย


แต่ถ้าผู้ที่มีเจตสิกต่างหาก มีจิตต่างหาก แยกกันอยู่ชัดเจน
หรือสำนวนปฏิบัติท่านเรียกว่า สามารถมีจิตผู้รู้แยกอยู่ต่างหากได้แล้ว

ย่อมรู้ดีว่า "ทำให้จิตว่าง" คือ จิตผู้รู้ ที่เฝ้าดูเจตสิก
โดยจิตผู้รู้นี้มีความเป้นกลาง เฝ้าดูอยู่เฉยๆ หรือที่เขาจะเรียกว่าจิตว่าง

ในขณะที่จิตผู้รู้แยกเด่นอยู่ต่างหากนี้ เจตสิกย่อมมีเกิดดับเป้นปกติธรรมดาให้เห็น
เมื่อจิตผู้รู้ได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดเป้นธรรมดา ดับเป็นธรรมดา ย่อมวางอุเบกขารู้อยู่ไปเรื่อยๆเพื่อสะสมอบรมปัญญา


นิ่งกับว่าง เป้นอันเดียวกัน แต่ขึ้นอยู่กับภูมิผู้ปฏิบัติ
ถ้าหากยังไม่สามารถจะแยกจิตผู้รู้ออกมาได้ ย่อมเข้าใจว่าต้องกดข่มบงการบังคับจิตให้มันนิ่ง

แต่ถ้าภูมิผู้ปฏิบัติมีความพร้อมระดับหนึ่งแล้ว
ย่อมเห็นว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น และสิ่งหนึ่งสิ่งใดดับลง เป้นธรรมดา ไม่แทรกแทรง
แล้วจิตผู้รู้เฝ้าดุด้วยสติอย่างเป้นกลาง อันเป็นการอบรมบ่มความรู้ให้ปัญญามันยิ่งๆขึ้นไปอีก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันเรื่อง "จริต กับ การปฏิบัติธรรม" น่ะครับ



อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

"....พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต. ...."





ผมไม่ได้ปฏิเสธความจริง ที่ว่า "ไม่ว่าจริตใดๆก็ตาม ในที่สุดแล้ว ถ้าจะพ้นทุกข์ก็จักต้องบังเกิดสัมมาญาณะ-สัมมาวิมุติ ด้วยการเกิดวิปัสสนาญาณเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ จึงจักพ้นทุกข์ได้"...น่ะครับ.
ทุกจริตนิสัย ก็ต้องมาลงที่การเกิดวิปัสสนาญาณเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ จึงจักพ้นทุกข์ได้ ด้วยกันทั้งสิ้น.

และ ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า "มีบุคคลบางท่าน ที่ไม่จำเป็นต้องไปเจริญสมาธิภาวนา(เช่น อานาปานสติ เมตตาภาวนา อสุภกรรมฐาน พุทธานุสติๆลๆ)มาก่อน ก็สามารถเจริญวิปัสสนาโดยตรง(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ไม่ใช่วิปัสสนาล้วน) และ พ้นทุกข์ได้"..เช่นกัน



แต่ ผมไม่เห็นด้วย ที่มีบางท่าน กล่าวในทำนอง มุ่งตำหนิสมาธิภาวนา(เช่น อานาปานสติ เมตตาภาวนา อสุภกรรมฐาน พุทธานุสติๆลๆ)เพียงด้านเดียว ....โดยไม่ได้มองตรงจุดที่ว่า มีบุคคลบางจริตนิสัยจะได้รับประโยชน์จากสมาธิภาวนาวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้.

บางท่านที่อาจจะเจริญวิปัสสนาโดยตรงแล้วบังเกิดความจางคลายจากทุกข์ ท่านอาจจะเห็นว่า การเจริญวิปัสสนาโดยตรงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในความรู้สึกของท่าน... แล้ว ใช้จุดนั้นเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผู้อื่น ว่า บุคคลที่ไปเจริญสมาธิภาวนาเป็น การเสียเวลาเปล่าบ้าง การเดินอ้อมบ้าง หรือ บางครั้งกล่าวหนักถึงขนาดว่า สมาธิภาวนาเป็นเฉพาะของฤาษีนอกพระพุทธศาสนา ไปเลย ก็มี...
และ อาจจะเกิดความเห็นว่า "ที่ข้าพเจ้าปฏิบัตินี้เท่านั้นที่ถูก นอกนั้นผิดหมด".....
มันเลย เลยเถิด กลายเป็น ทิฏฐุปาทาน คือ การยึดมั่นในความคิดเห็นไปเสียอีก...
และ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของชาวพุทธในปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาของเรื่องก็คือ จิตใจแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจารย์แต่ละท่าน (ที่ปฏิบัติได้จริง) ก็สำเร็จมาได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ทีนี้ พวกลูกศิษย์ (ที่ยังปฏิบัติไม่ได้) ก็เอามาทะเลาะกันว่า วิธีของใครถูกต้องกว่ากัน

อันที่จริง เราคิดว่า วิธีที่มีการเผยแพร่กันนั้น เป็นวิธีสำหรับผู้เริ่มต้นที่จะใช้เป็นแนวทางเท่านั้น มันไม่ใช่สูตรสำเร็จ หากผู้ปฏิบัติสามารถก้าวหน้าไปได้มากๆ ก็จะค้นพบได้เองว่า วิธีไหนเหมาะกับตนเอง :b6: :b6: :b6:

เรื่องการทำสมาธินั้น มีประโยชน์แน่ แม้จะไม่ได้มุ่งหวังจะสละโลกในเร็ววัน แต่หากผู้ใดมีสมาธิมาก ก็ย่อมมีความพร้อมที่จะวิปัสสนา (พิจารณา) เมื่อใดก็ตามที่ต้องการ และอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะคำนึงไว้ก็คือ หากมีผู้ปฏิบัติคนใด สามารถปฏิบัติได้จนถึงระดับอภิญญา หรือไปถึงขั้นอรูปฌาณได้ ผู้ปฏิบัติคนนั้น ก็ย่อมสามารถละกิเลสได้อย่างรวดเร็ว หากเขาต้องการ


สำหรับคนทั่วไป การทำสมาธิวันละเล็กละน้อย ทำให้ใจสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน ป่วยน้อยกว่าคนอื่น แล้วก็หวังได้ว่า ชาติหน้าจะเกิดมาฉลาด :b1: อย่าหวังว่าจะสำเร็จอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะถ้าหวังก็จะไม่สำเร็จ ถ้าจะสำเร็จมันก็สำเร็จเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต ท่าน จขกท คุยรวมในกระทู้นี้เลยแล้วกันน่ะครับ


ที่ ท่านกล่าว

viewtopic.php?f=1&t=21428



อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาค ก็ทรง "เน้น"
เรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน
ไม่ใช่ เรื่องสมาธิ.!



มีพระสูตร ที่ตรัสว่า การเจริญสติปัฏฐานย่อมเจริญทั้งสมถะและ วิปัสสนา ไม่ใช่หรือ?

ในหนังสือพุทธธรรม ก็มีการกล่าวชัดเจน(และ มีหลักฐานจากพระสูตรอ้างอิงกำกับด้วย) ว่า การเจริญสติปัฏฐาน ย่อมเป็นทั้งการเจริญสมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว

จาก มหาจัตตารีสกสูตร ก็ตรัสว่า เพราะมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะ ...ไม่ใช่หรือ?
และ ทรงตรัสว่า สัมมาสมาธิ คือ เอกัคคตาจิตที่แวดล้อมด้วยอริยมรรคอีกเจ็ดอย่าง(สัมมาสติก็อยู่ในอริยมรรคทั้งเจ็ดนี้ล่ะ)

ถ้าเป็นจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิม สัมมาสติ กับ สัมมาสมาธิ เป็นองคฺแห่งอริยมรรคที่สืบเนื่องกันไปเลย .... แยกขาดจากกันไม่ได้หรอกครับ



อ้างคำพูด:
เพราะว่า...ถ้าเป็น เรื่องสมาธิ.!
ก็จะไม่มีการศึกษา
ในเรื่องของ "สภาพธรรม" ต่างๆ ที่ "ปรากฏ"
เช่น เรื่องของการสังคายนา
และ เรื่องการนอบน้อมต่อสงฆ์ เป็นต้น.


สมาธิ ที่ศึกษาสภาพธรรมไม่ได้นั้น คือ มิจฉาสมาธิครับ
ส่วนสมาธิ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสาวกให้เจริญนั้น คือ สัมมาสมาธิ ครับ...
ใน สัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงสัมมาสมาธิด้วยองค์แห่งฌานเสียด้วยซ้ำ
เอกัคคตาจิต ที่เป็นสัมมาสมาธิ สามารถเจริญปัญญาได้ และ เจริญได้อย่างดียิ่ง

ที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่แยก สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ ออกจากกัน แล้วกล่าวตำหนิคำว่า"สมาธิ"แบบรวมๆ ถึงขนาด กล่าวว่า สมาธิจะทำให้ไม่มีการสังคายนา สมาธิจะทำให้ไม่นอบน้อมต่อสงฆ์(???) และ ๆลๆ... ผมว่า มันเลยเถิดไปมากน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบัน จะมีผู้ที่เรียกตนว่า นักวิปัสสนา ออกมาแสดงความเห็นกล่าวโทษคำว่า"สมถะ"กันมากมายกลาดเกลื่อน

เข้าลักษณะที่ว่า ถ้าไม่กล่าวตำหนิสมถะ(สมาธิภาวนา)แล้วละก็ จะไม่ใช่นักวิปัสสนาที่แท้จริง

ถ้าจะเป็นนักวิปัสสนาที่แท้จริง ต้องตำหนิสมถะ!!!

จนบางครั้ง กล่าวในลักษณะที่ว่า สมถะเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเวลาเจริญภาวนา!!!



มีนักวิปัสสนาจารย์บางท่านกล่าวถึงขนาดที่ว่า สมถะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเอาไว้ให้สาวกปฏิบัติ แต่ สมถะเป็นเฉพาะของฤาษี และ มีอาจารย์รุ่นหลังมาพากันปฏิบัติไปเอง.

อ่าน รายละเอียด ในบทความ

ฝึกดูใจ..ไม่ใช่การฝึกใจ..

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=86151

อ่านแล้ว น่ากังวลครับ
ถ้า ชาวพุทธไทยในปัจจุบันเชื่อแบบนี้กัน ก็น่าเป็นห่วงว่า หลักสมถะ-วิปัสสนา ดั้งเดิมที่สืบทอดมาในพระสูตร คงจะถูกมองอย่างดูแคลนจากชาวพุทธไทยในปัจจุบัน

ถ้าว่างๆ ผมจะเข้ามาวิเคราะห็บทความนั้น ทีละประเด็น




อนึ่ง ในระดับพระสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอน สมถะคู่กับวิปัสสนา แน่นอนครับ

วิปัสสนาญาณ(สัมมาญาณะ)ที่พระพุทธเจ้าสอน ก็ยืนอยู่บนพื้นฐานของสมถะ(สัมมาสมาธิ) นั่นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร