ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เรื่องมรรคเรื่องใหญ่ : ธรรมที่ประคับประครองความเห็นชอบ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21600 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กามโภคี [ 09 เม.ย. 2009, 20:04 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | เรื่องมรรคเรื่องใหญ่ : ธรรมที่ประคับประครองความเห็นชอบ | ||
ถ้าเราพูดถึงความเห็นชอบในระดับเบื้องต้นคือ สาสวะ หมายถึงความเห็นชอบระดับที่ยังมีอาสวะเจือปน อยู่ ก็จะมีกลุ่มของธรรมอยู่กลุ่มหนึ่งที่จะเกื้อหนุนหรือประคับประครองให้สัมมาทิฏฐิในระดับนี้คงตัว ปกติ มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดความเห็นผิดแทรกมาได้ ทำความรู้จักกลุ่มธรรมกลุ่มนี้เลยดีกว่า ไม่สำนวนมาก เสียประโยชน์เปล่าๆ พระสุตตันตะปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจกะนิบาต อนุคคหะสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเป็นธรรมมี เจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติ เป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ องค์ ๕ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ สรุปตามพระพุทธพจน์แล้ว ความเห็นชอบนั้น จะสำเร็จประโยชน์จริงๆ จำต้องมีธรรมที่ประคับประครอง คือ ๑.ศีล ๒.สุตะ ๓.การสนทนาธรรม(สากัจฉะ) ๔.สมถะ ๕.วิปัสสนา ศีล ความหมายกว้างหมายถึงการสำรวมกายวาจา แล้วมีส่วนประคับประครองความเห็นชอบได้อย่างไร คำตอบนี้ผมเองยังค้นคว้าตามอรรถกถาจารย์ไม่พบ แต่ถ้าความเข้าใจผมเองนั้น ผมเข้าใจว่า ถ้าผู้ที่มีความเห็นชอบระดับที่มีอาสวะหรือผู้ที่กำลังปฏิบัติตามแนวแห่งความเห็นชอบนั้น มีการสำรวมระวังที่ดีทางกายหรือวาจา(ศีล) ความสงบระงับทางกายก็เกิดพร้อม ข้อที่น่าจะพึงคิดก็คือ เสมือนเป็นการประชุมเสริมมรรคองค์อื่นเข้ามาด้วยแบบยังไม่เต็มที่นัก ได้แก่ สัมมากัมมันตะการงานชอบ สัมมาวาจาวาจาชอบ สัมมาสังกัปปะดำริชอบ (ข้อนี้น่าจะตรงกับดำริไม่เบียดเบียน) สัมมาวายะเพียรชอบ(คือพยายามทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด) ส่วนสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพชอบนั้น เห็นว่ายังไม่ตรงนัก แต่ถ้าถือเอาตามอรรถก็พออนุโลมได้ ข้อนี้ท่านใดทราบความนัยก็บอกแจ้งผมด้วย อยากรู้จริงๆครับ สุตะ การสดับรับฟัง การศึกษา ค้นคว้า ในข้อนี้ตรงกับปัญญาโลกิยะที่ว่า ปัญญาจากการฟังหรือเรียนรู้ กับปัญญาเกิดจากการคิด ข้อนี้ชัดเจนว่า หากไม่ศึกษาค้นคว้าแล้วก็เป็นอันแยกระหว่างเห็นชอบกับเห็นผิดไม่ออกนั่นเอง การสนทนาธรรม(สากัจฉะ) ข้อนี้ได้แก่การพูดคุยสนทนาสาระธรรมกับผู้ที่รู้ เพื่อจะได้กลั่นกรองความรู้ของตัวเองที่ได้มาจากสุตะหรือการศึกษาค้นคว้านั่นเอง ข้อที่น่าสังเกตคือ ปกติการศึกษาก็น่าจะมีการพูดคุยอยู่แล้ว ทำไมต้องมีข้อนี้อีก คำตอบก็คือ ปกติอาจได้เรียนรู้จากคนไม่กี่คน หรือตำราไม่กี่เล่ม การสนทนาก็จะได้เห็นมุมมองอื่นๆอีก และอาจได้พบผู้ที่รู้แจ้งจริงๆด้วยก็ได้ ที่ต้องระวังในข้อนี้คือ ต้องผู้ที่รู้สัมมาทิฏฐิจริงๆ เพราะไม่ฉนั้นแล้วข้อนี้จะไม่ไช่ธรรมที่ประคับประครองความเห็นชอบ จะกลายเป็นพากันเข้าป่าเข้าดง หากเป็นผู้ที่ไม่รู้สัมมาทิฏฐิแจ่มแจ้งแล้ว โอกาสที่จะผิดพลาดมีอยู่มาก อีกประการหนึ่ง พระองค์ตรัสข้อนี้ว่า การสนทนาธรรมนะครับ ไม่ไช่เรื่องอื่นต้องระวัง สมถะและวิปัสสนา ถ้าในระดับที่ยังมีอาสวะ นี้หมายถึงการทำใจสงบและการเจริญสติ ใน ๒ ข้อนี้เห็นได้ชัดเจนว่า องค์มรรคอีก ๒ คือ สัมมาสมาธิ และสัมมาสติ เข้ามาประคับประครองความเห็นชอบ อีกประการหนึ่ง ไม่มีวิธี อะไรจะตัดสินได้ว่าที่ได้ทำมาทั้ง ๓ ข้อคือ ศีล สุตะ สากัจฉะ(การสนทนาธรรม)จะถูกต้องจริงหรือไม่เท่ากับการ ปฏิบัติแล้ว ทั้งหมดทั้งปวงนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นชอบนั้น ย่อมต้องมีธรรมอื่นๆมาช่วยประคับประครอง ที่กล่าวนี้หมายเอาระดับอาสวะนะครับเพราะถ้าผ่านสัมมาทิฏฐิระดับอาสวะไปสู้ระดับที่ไม่มีอาสวะแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องมาประคับประครองกันอีก ตรงตามจุดประสงค์ของสัมมาทิฏฐิที่แท้จริงแล้ว ความเห็นชอบระดับ สาสวะ(เป็นไปกับด้วยอาสวะ) หมายถึงปุถุชนธรรมดา เสขะบุคคลทุกประเภท ความเห็นชอบระดับ อนาสวะ(ไม่มีอาสวะ) หมายถึงพระอรหันต์ - - -- --- --- ---- --- สัมมาทิฏฐิเป็นจุดเริ่มต้นที่ระดับอาสวะ สัมมาทิฏฐิเป็นจุดสุดท้ายที่ระดับอนาสวะ
|
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 09 เม.ย. 2009, 20:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรื่องมรรคเรื่องใหญ่ : ธรรมที่ประคับประครองความเห็นชอบ |
ต้องพึงระลึกเสมอว่า สัมมาทิฐิที่เรากำลังลังพูดถึงนั้น เป็นสัมมาทิฐิแบบนิยามของโลก หรือนิยามของอริยมรรค เวลาคุยกันจะได้ไม่สับสน อีกอย่างหนึ่ง ในยุคมีพระพุทธเจ้า ก็ไม่ใช่ว่าใครได้ฟังจากพระพุทธเจ้า (ซึ่งเป้นสัมมาทิฐิ) แล้วจะเข้าถึงสัมมาทิฐิ ในยุคเรามีชีวิตอยู่นี้ ก็มีพระอริยาจารย์ มีพระอรหันต์อยู่ไม่น้อย ท่านก็เทศน์เป็นภาษาไทย เราอุตส่าห์ได้ฟังสัมมาทิฐิ แต่เราก็ไม่เข้าถึงสัมมาทิฐิอย่างแท้จริง อาศัยเชื่อถือ/ศรัทธา/ขบคิด/เอา (กาลามสุตรทัง้นั้นเลย) จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า ถูกก็ดี ผิดก็ดี ผู้พูดสัมมาทิฐิก็ดี ผู้พูดมิจฉาทิฐิก็ดี ล้วนไม่สำคัญ สำคัญที่ผู้ฟังต้องเพียรพยามเข้าให้ถึงสัมมาทิฐิ เมื่อเข้าถึงเองแล้ว ก็ไม่ต้องพึ่งพาสัมมาทิฐิของผู้อื่น พึ่งตัวเองได้ เอาตัวเองรอด ผมว่างั้นนะ |
เจ้าของ: | กามโภคี [ 10 เม.ย. 2009, 06:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรื่องมรรคเรื่องใหญ่ : ธรรมที่ประคับประครองความเห็นชอบ |
คามินธรรม เขียน: ต้องพึงระลึกเสมอว่า สัมมาทิฐิที่เรากำลังลังพูดถึงนั้น เป็นสัมมาทิฐิแบบนิยามของโลก หรือนิยามของอริยมรรค เวลาคุยกันจะได้ไม่สับสนฯลฯ สำคัญที่ผู้ฟังต้องเพียรพยามเข้าให้ถึงสัมมาทิฐิ เมื่อเข้าถึงเองแล้ว ก็ไม่ต้องพึ่งพาสัมมาทิฐิของผู้อื่น พึ่งตัวเองได้ เอาตัวเองรอด ผมว่างั้นนะ ขอบคุณมากครับ เป็นข้อคิดที่ดี คุณคามินธรรมพูดชอบแล้วครับ เมื่อปรโต โฆสะ แล้ว ก็ต้องโยนิโสมนสิการ เมื่อได้ฟังมาก็ต้องพิจารณาครับ สาธุจ้า ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |