วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 19:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


คือการฆ่าคนนี่บาปมากแต่ว่าในสงครามแบบนั้นจำเป็นต้องฆ่า แล้วบาปรึปล่าวครับ สงสัยมานานแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บาป ที่ฆ่าคน และก็ได้บุญ ที่ช่วยปกป้องชีวิตคนอีกเป็นอันมาก
ไม่ให้ถูกคนที่เราฆ่า มาฆ่า มาเบียดเบียน มาพลัดพรากพวกเขาจากญาติพี่น้อง

ผู้เสียสละยอมตนเป็นผู้ล่วงบาป ซะเองเพื่อปกป้องชนเป็นอันมาก

อานิสงค์บาป ก็ต้องรับตามกฏเกณฑ์ แต่อานิสงค์การช่วยชีวิต
หมู่คนเป็นอันมาก ก็มีประมาณมหาศาล

หากมาบวกลบกันแล้ว คงเหลือกำไรเป็นบุญอยู่บ้างไม่มากก็น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
บาป ที่ฆ่าคน และก็ได้บุญ ที่ช่วยปกป้องชีวิตคนอีกเป็นอันมาก
ไม่ให้ถูกคนที่เราฆ่า มาฆ่า มาเบียดเบียน มาพลัดพรากพวกเขาจากญาติพี่น้อง

ผู้เสียสละยอมตนเป็นผู้ล่วงบาป ซะเองเพื่อปกป้องชนเป็นอันมาก

อานิสงค์บาป ก็ต้องรับตามกฏเกณฑ์ แต่อานิสงค์การช่วยชีวิต
หมู่คนเป็นอันมาก ก็มีประมาณมหาศาล

หากมาบวกลบกันแล้ว คงเหลือกำไรเป็นบุญอยู่บ้างไม่มากก็น้อย


อันนี้มีตัวอย่างมาก่อนแล้ว ชื่อ สงครามครูเสด
ต่างฝ่ายต่างฆ่ากันเพราะมีทิฐิว่าเป็นมหากุศล ที่ได้ฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง
ผมไม่คิดว่าพระพุทธเจ้าสรรเสิญสิ่งนี้

ผมคิดว่าการฆ่าทุกชีวิตเป็นบาป ไม่มีฆ่าแล้วเป็นบุญ
แต่ที่คิดว่าเป็นบุญนั้น ที่จริงเป็นความเข้าใจผิด
ปรุงแต่งยึดถือกันไปเองว่าเป็นบุญตามกระแสทิฐิแบบโลกีวิสัย

"ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้ "

ถ้าหากว่าการฆ่าเป็นบุญจริง เราควรฆ่าบ่อยๆอย่างนั้นหรือ


"สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้"
การสั่งสมการฆ่า นำความสุขมาให้อย่างนั้นหรือ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: คุณ boom_manman ขยันตั้งกระทู้จัง :b12: สงสัยจะเร่งสะสมดาวใช่เปล่า :b12: :b27:
:b19: ไม่ได้แล้วเดี๋ยวกระผมต้องเร่งบ้างแล้ว.... :b19: สะสมดาว...สะสมดาว.... :b19:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณคามิน

จริงแล้วในกรณีนี้ ผมแยกกรรมออกเป็นสองลักษณะ ของการให้ผล

1. ฆ่าคนต้องบาป 2. การฆ่าครั้งนั้นถ้าเป็นการฆ่า ด้วยจิตที่ต้องการ
ปกป้องตนเอง และปกป้องคนอีกเป็นอันมาก ที่อาจต้องถูกฆ่า รึถูกเบียดเบียน
ทำร้าย การฆ่าอย่างนั้นน่าจะมีกุศลจิตแฝงอยู่เป็นรากฐานของบุญด้วย

คนแค่คิดว่าตนได้มีส่วนช่วยชีวิตคนเป็นอันมาก และได้ช่วยบ้านเมืองให้รอดพ้นจากการ
ตกเป็นทาส ผมว่าแค่นึกถึงก็อิ่มใจแล้วนะครับ

อย่างพระมหากษัตริย์สมัยก่อน ที่กู้เอกราช และป้องบ้านเมืองมาหลายครั้งคราว
จิตที่ยอมเอาชีวิตตนเองเข้าแลก จิตที่มีความเป็นห่วงหมู่คนเป็นอันมาก
ก็น่าจะเป็นจิตที่ยิ่งใหญ่ และเป็นด้านหนึ่งของมหากุศลที่ยิ่งใหญ่

ทุกวันนี้แค่คนไทยนึกถึงเอกราชของไทย ที่ได้มาจากความทุมเท
ของมหาราช พระองค์ไหน จิตก็มีแต่ความอิ่มเอม ซาบซึ้งศรัทธา
แค่นึกถึงวีรกรรมของท่าน ก็อิ่มใจ และสุขใจได้ทุกเวลาที่นึกถึง

และผมคิดว่า แม้ท่านผู้ที่มีส่วนในการร่วมปกป้องแผ่นดิน ถึงแม้จะต้อง
ปกป้องด้วยการฆ่า พวกเขาก็น่าจะอิ่มใจทุกครั้งที่ได้นึกถึง จวบจนวันตาย
ของพวกเขา

หากเป็นการทำสงคราม ด้วยการยกพลไปเบียดเบียน แย่งชิง ทำลายล้าง
เพื่อผลประโยชน์ของหมู่ตน การกระทำนั้นเป็นบาป อย่างสมบูรณ์แบบ
ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่า เพราะมันมาจากโลภโมโทสันเพียงส่วนเดียว
ไม่ได้มีกุศลเจตนาอะไรแฝงอยู่เลย เช่นกรณีที่คุณหมายถึง

และถึงแม้จะมีความคิด ว่าจะแย่งชิงมาเพื่อผู้อื่น การแย่งชิงนั้นก็เป็นบาป
ที่สมบูรณ์แบบอยู่ดี ถึงแม้จะฆ่า หรือไม่่ฆ่า


ปล. ผมใช้ความคิดส่วนตัววิเคราะห์ ไม่จำเป็นต้องเห็นว่าคือถูกต้อง
หรอกนะครับ เพราะมันเป็นแค่ความคิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


boom_manman เขียน:
คือการฆ่าคนนี่บาปมากแต่ว่าในสงครามแบบนั้นจำเป็นต้องฆ่า แล้วบาปรึปล่าวครับ สงสัยมานานแล้ว

บาปครับ...แต่ว่ามันก็เป็นกฎแห่งกรรมครับ เพราะถ้าไม่มีกรรมตรงนั้นก็ไม่ต้องไปรบ ไม่ต้องไปฆ่าใคร

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริงต้องวิเคราะห์กันด้วยขณะจิต..
คำถามข้อนี้ เขายกขึ้นมาโดยเอา"การฆ่า"เป็นประเด็นนำก็จริง แต่มี sub-context ว่า "ในสงครามแบบนั้นจำเป็นต้องฆ่า" ซึ่งครอบคลุมถึงประโยชน์ที่เกิดแก่กลุ่ม หมู่หรือประเทศโดยองค์รวม..

จริงอยู่ว่า เมื่อพูดถึงการฆ่าชีวิตใดๆนั้นไม่สามารถเป็นฝักฝ่ายแห่งบุญกุศลได้เลย.. เพราะว่าทำกิจได้ด้วยโทสะเท่านั้น แต่ในความจริง จิตที่เป็นบุญสามารถเกิดสลับขึ้นมาได้เมื่อคิดว่าเราจะปกป้องหรือให้ความคุ้มครองคนในกลุ่ม หมู่ หรือประเทศชาติ.. ทั้งส่วนกุศลและอกุศลจึงเกิดสลับกันไปได้เช่นนี้ ผลของเขาก็แยกกันไม่ปนกันอยู่แล้ว

เช่นเดียวกัน คนที่สงสารคนป่วยที่ทุกข์ทรมานเพราะโรครุมเร้า ก็ปรารถนาสงเคราะห์เขาด้วยการยุติชีวิตเขาด้วยวิธีต่างๆ (mercy killing) ตรงนี้ก็วิเคราะห์ได้ทำนองเดียวกันว่่าจิตคิดเมตตาสงสารนั้นเป็นส่วนแห่งบุญ ส่วนขณะแห่งชวนะจิตที่ทำการฆ่าหรือตัดสินให้ฆ่านั้นเป็นไปกับโทสะ บุญและบาปจึงสลับกันไปได้ดังนี้ ...

ด้วยความเกิดสลับกันของขณะจิตดังกล่าว คนทำชั่วขนาดหนัก ก็สามารถไปเกิดบนสวรรค์ได้หากคิดได้ถึงบุญกุศลที่ตนทำมาได้ตอนมรณาสันกาล (ใกล้ตาย) และทำนองเดียวกัน คนที่ทำบุญมาตลอดชีวิต ดันตกนรกเพราะไปคิดถึงบาปที่ทำไว้ครั้งหนึ่งเท่านั้นตอนใกล้ตาย..

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มันขึ้นอยู่กับบริบท หากเราไม่ใด้อยู่ในสายธรรมะอย่างสมบูรณ์ เช่นเป็นพระ ชี หรือนักบวช หรือหากเราเป็นนักปกครอง ก็ต้องเอาทางโลก และทางธรรม มาชั่งน้ำหนักกัน
เพราะเรื่องการสงครามเพื่อป้องกันตัว เพื่อคนหมู่มาก ที่ไม่ใช่การรุกราน นั้น เราคิดว่า มันพ้นขอบเขตของศีล ซึ่งเป็นเรื่องของ ปัจเจก (หมายถึง เป็นเรื่องในระดับบุคคล)

คำถามนี้ ก็มีลักษณะเหมือนกับคำถามที่ว่า ทหารตำรวจยิงคนตาย บาปไหม...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ดีนะ ที่ฆ่ากันตายกันไปมากมาย
ขื่นไม่มีผู้ขัดแย้งขึ้นมาห้ำหั่นกัน คงจะมีผู้ที่มีสมรรถภาพในการผลิตประชากรเหลืออยู่ล้นหลาม
ทุกวันนี้ปัญหาจำนวนประชากรโลกจำนวนมาก คงยังไม่ชัดเจนพอที่จะพูดว่า
"ดีนะที่ตายกันไปเยอะ" ใช่มั๊ย

เรื่องของกรรม ที่เกี่ยวเนื่องสู่การเกิด-ตาย มันดำเนินตามวิถีที่เหมาะสม
การรักษาสมัยใหม่ มันรุดหน้ามาก คนอายุยืน ตายกันยาก อยู่กันยั๊วเยี๊ยะไปหมด
ไม่คิดบ้างเหร๋อ ว่าสิ่งที่อยากจะมาเกิดจะรู้สึกอย่างไร
ที่ต้องเฝ้ามองดูพวกเรา แล้วคิดในใจ "เมื่อไรจะมีที่ว่างให้ตูเกิดสักทีฟะ"
ไอ้ที่อยู่บนภาคพื้น บ้างก็แตกแยก ขัดแย้ง ชิงดี ชิงเด่น
เฮอะ คิดหรือว่าจะมีแต่คนภาคพื้นที่ส่งเสียงยุ "เอาเลย ฆ่ากันเลย"
ไอ้ที่ลอยคอมองอยู่ข้างบน ก็ลุ้นให้ตายกันเยอะ ๆ ใจจะขาด
ส่วนที่เป็นกุศล ก็คอยเป็นพรายกระซิบ "อย่าเลย อย่าฆ่ากัน บาป"
เฮ้อ...ขัดแข้ง ขัดคอ กันจริง ๆ ไอ้สองตัวนี้
ทำไม เราต้องตัดสินในสิ่งที่ตนเห็นมันไปซะทุกเรื่อง
เกลียดบาป กลัวบาป ก็เลยรักบุญ ทำบุญ
แปลกใจ ทำไมเราไม่เคยสงสัยว่าเมื่อวานกวาดบ้านไปแล้ว ทำไมวันนี้ยังมีฝุ่นมาให้กวาดอีก

...แม้แต่สัตว์นรกที่ต่ำช้าเลวร้ายที่สุด...ก็ไม่มีสิทธิถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากวัฏจักร...
...เพราะถ้าเมล็ดพันธ์ที่ต่ำช้าเจริญเติบโตไม่ได้
...ก็จะไม่มีเมล็ดพันธ์ที่สูงส่งโงหัวขึ้นมาได้เช่นกัน

การทำกุศลบางอย่างเป็นบาป การทำบาปบางอย่างเป็นกุศล คละเคล้ากัน
กำลังกลมกล่อมน่ารัปทาน เฮอะ...เฮอะ
ผู้ใหญ่ในวันนั้น คือคนที่ไม่เหลือซากแล้วในวันนี้ "แต่ชื่อกูนี้เสือกไม่เคยตายไปสักกะที"
เพราะดันฝากเรื่องราวไว้ในพงศาวดาร ให้คนแสวงบุญอย่างพวกเราหยิบมาพิจารณา
พอพูดถึง "ไอ้พวกพม่าที่ยกทัพมาตีไทย" ไอ้ที่นอนอยู่ในหลุมดี ๆ เป็นสะดุ้งโหยงกันเป็นแถบ ๆ หะ หะ
"โอย๋...ไอ้เวรไหนมันบันทึกชื่อกูไว้วะ"
หะ หะ อันนี้นอกคอก นอกเรื่องนะ จริง ๆ พี่พม่าเขาน่ารัก น่ารักตามแบบฉบับเขาน่ะ
ในวันนั้นเราก็แค่ไม่ลงรอยกัน ก็เลยยกทัพมาอวดสักดานิดหน่อย
ประชากรมันเยอะน่ะ ก็เลยอยากแบ่งมาอยู่ในดินแดนของน้องไทยบ้างง่ะ...
น้องไทยบอก "กูไม่ยอม กูไม่ให้" อีโล้งโช้งเช้ง ฉิ่ง ฉาบ แอะ...
ทุกวันนี้ "น้องไทย พี่-ม่าขอยืมตังค์ไปลงทุนหน่อย" -จ๊า....-

ก็ต้องนึกดูว่า แล้ววันนี้ เราจะฝากเรื่องราวเอาไว้ในพงศาวดารอีกรึเปล่า อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2008, 08:42
โพสต์: 67

ที่อยู่: สังขตธาตุ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหา นักรบอาชีพที่มีความอุตสาหะ วิริยะในสงครามตายไปแล้วจะเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

คำถามนี้ ประธานชุมชน (นายบ้าน) ผู้เป็นนักรบอาชีพทูลถามพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตอบ แต่ในที่สุดก็จำต้องตอบว่า

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนนายบ้าน แท้จริงเราไม่ได้อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เกร่ากล่าวว่า อย่าเลย นายบ้าน เรื่องนี้พักไว้เสียเถิด อย่างถามปัญหานี้กะเราเลย แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน
“ดูก่อนนายบ้าน นักรบอาชีพคนใด อุตสาหพยายามในสงคราม จิตของเขาเป็นสภาพต่ำ ชั่ว ตั้งไว้ไม่ดีก่อนแล้วว่าขอสัตว์เหล่านั้นจงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีอยู่เลย ดังนี้บุคคลอื่นย่อมฆ่า ย่อกำจัดเขาที่กำลังอุตสาหพยายามอยู่นั้น เมื่อเขาตายเพราะกายแตกทำลายย่อมยังเกิดในนรกชื่อสรชิต...

“ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหพยายามในสงคราม ผู้นั้นเมื่อตายไปเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิตดังนี้ไซร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด....”

โยธาชีวสูตร สฬา. สํ. (๕๙๓)
ตบ. ๑๘ : ๓๘๐-๓๓๙ ตท. ๑๘ : ๓๓๘-๓๓๙
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑๖-๒๑๗

.....................................................
เราคือใจที่บริสุทธิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


โปรดติดตามได้จากกระทู้นี้ค่ะ :b8: :

:b43: :b43: :b43:

เสียศีล เพื่อรักษาสัตย์...ฆ่าในการสงคราม บาปหรือไม่?
: พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=21788


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในศีลห้าข้อหนึ่งพึงกำหนด
ขึ้นต้นบท "ปาณา" ห้ามฆ่าเขา

ข้อหนึ่งคือปาณามีเมตตาเป็นอารมณ์
รักเพื่อนร่วมสังคมเหมือนพี่น้องท้องเดียวกัน
ไม่โกรธและไม่เกลียดไม่เคียดแค้นคิดฆ่าฟัน
ไม่ตบต่อยตีกันให้เจ็บชำระกำใจ


สัตว์โลกทุกฃนิดรักชีวิตกันทั้งนั้น
ไม่คิดปลิดฃีพกันย่อมสุขสันต์สมใจปอง...

นี่เป็นเรื่องของทางธรรมเขา แต่ฝ่ายโลกก็ต้องดำเนินกระบวนการไปตามอีกแนวทางหนึ่ง กล่าวคือหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไม่เหมือนกัน ในสงครามเหล่าทหารถือเป็นหน้าที่ที่จำต้องรักษาอธิปไตยของชาติ และเมื่อฆ่ากันก็ถือเป็นบาปกรรมซึ่งสอดคล้องกับหลัก กัมมุนา วัตตะตี โลโก
:b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นี่เป็นเรื่องของทางธรรมเขา แต่ฝ่ายโลกก็ต้องดำเนินกระบวนการไปตามอีกแนวทางหนึ่ง กล่าวคือหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไม่เหมือนกัน ในสงครามเหล่าทหารถือเป็นหน้าที่ที่จำต้องรักษาอธิปไตยของชาติ และเมื่อฆ่ากันก็ถือเป็นบาปกรรมซึ่งสอดคล้องกับหลัก กัมมุนา วัตตะตี โลโก


:b12: ถูกต้องที่สุด ในลักษณะเช่นนี้ก็น่าจะเป็นแบบว่า ฆ่าเขาก็เป็นบาป ทำหน้าที่ก็คือบุญ คนละส่วนกัน เวลามันสนองก็คนละเวลากันอีก ก็ไม่หนีไปจากเรื่อง "ขายยาบ้าแล้วเงินไปเลี่ยงแม่หรอกนะ "
นี่แหละโลก :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเจตนาก็บาป ถ้าไม่เจตนาก็ไม่บาป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าเจตนาก็บาป ถ้าไม่เจตนาก็ไม่บาป


ก็ลองอ่านพระสูตรนี้อีกทีนะลองเทียบเคียงกันดูว่าตอบได้ถูกใจหรือเปล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ฆ่าสัตว์ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ
[๖๐] ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้
นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่
บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้.
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสบบาปมิใช่บุญ
เป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้.
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้.
สัตว์นั้นเมื่อกำลังเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้.
ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสบ
บาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้.
ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบ
บาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
[๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

ไม่มีโทษหนอ ข้าแตพระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีบในที่มืด ด้วยคิด
ว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก-
ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้น
ไป ดังนี้แล.
จบชีวกสูตรที่ ๕


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร