วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาพระธรรมก็เพื่อให้เข้าใจในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎอยู่ในขณะนี้

การฟังพระธรรมควรพิจารณาให้ละเอียด เพื่อความเข้าใจพระธรรมให้ถูกต้อง จึงจะเป็น

ปัจจัยให้สังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฎตรงตามความเป็นจริงไม่

ว่าทางตา ทางหู..... เมื่อปัญญาค่อยๆเจริญขึ้นจนสามารถระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่

กำลังปรากฎทางทวารต่างๆว่าเป็นเพียงนามธรรม และรูปธรรมเท่านั้นและสามารถระลึก

รู้ลักษณะของจิตที่ติดข้อง หรือที่กำลังโกรธ ในขณะที่ระลึกขณะนั้นก็เป็นอนัตตาไม่ใช่

สัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจิตดูจิตจึงเป็นปัญญาที่รู้ในลักษณะสภาพ

ของจิตที่ติดข้อง หรือของจิตที่โกรธ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่สามารถบังคับบัญ-

ชาได้ จิตดูจิตจึงไม่ใช่ความคิดนึกถึงเรื่องราว.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ
ช่วยลงต่อได้มั้ยค่ะ :b20:
ขอบคุณค่ะ :b8:

.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตานุปัสสนา คือ โยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะของจิต ทั้งอาการของจิต และ จิตผู้รู้
สงเคาะห์อยู่ในโอวาทปาติโมกข์ข้อ3

เป็นการตามรู้สภาวะแห่งจิตตรงๆ
เฝ้าสังเกตุการเปลี่ยนแปลงแห่งอาการของจิต ที่เปลี่ยนแปลงไปมา บ้างสงบ-บ้างฟุ้งซ่าน บ้างมีราคะ-บ้างไม่มีราคะ บ้างมีโทสะ-บ้างไม่มีโทสะ...และ ๆลๆ
แม้นแต่จิตที่เป็นมหรคต(ฌาน) หรือ ไม่เป็นมหรคต(ไม่เป็นฌาน) ก็ให้รู้เท่าทัน

เป็นลักษณะ เฝ้าสังเกตุ โดยไม่ยินดีในสภาวะจิตที่ดี ไม่ยินร้ายในสภาวะจิตที่ไม่ดี เห็นอาการแห่งจิต และ จิตผู้รู้ ว่า เป็นสิ่งที่"สักแต่ว่า".... ไม่มี สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา-เขา ใดๆ...และ ไม่พึงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง
เป็นสติปัฏฐานภาวนา หนึ่งในสี่




ปัจจุบันจะมี การเชื่อกันว่า ถ้าเจริญจิตตานุปัสสนาแล้ว ต้องห้ามอบรมจิต เช่น เจริญสมาธิภาวนา เป็นต้น

เพราะ เชื่อว่า

1.สมาธิภาวนาคือการแทรกแซงจิต??? ....
เป็นการ ทำจิตที่ไม่ดีให้ดี
ยังคง มีการ"ทำ"อยู่
ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้อง"ไม่ทำ" คือ ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา

2.สมาธิภาวนาเป็นการกดข่มจิต???....
ใช้อานาปานสติมากดข่มไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน
ใช้เมตตาภาวนามากดข่มไม่ให้จิตโกรธ
ใช้อสุภกรรมฐานมากดข่มไม่ให้จิตมีราคะ
ซึ่งทำให้เครียด เพราะเป็นการกดข่มจิต ดังนั้นจึงไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา

3.สมาธิภาวนาเป็นการปรุงแต่ง???....
เพราะยังมีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสังขตธรรมอยู่ ยังเป็นการปรุงแต่งอยู่
ที่ถูกคือ ไม่ควรปรุงแต่ง และ ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา

และ ๆลๆ



จึงนำไปสู่บทสรุปที่ว่า การอบรมจิต หรือ สมาธิภาวนา ทำให้ไม่สามารถ เห็นไตรลักษณ์ของสภาวะแห่งจิต และจิตได้....
และ ควรยุติ การอบรมจิต หรือ สมาธิภาวนาวิธีที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเสีย

คือ เห็นว่า

โอวาทปาติโมกข์ข้อ1และข้อ2 เป็นสิ่งที่ขัดขวางโอวาทปาติโมกข์ข้อ3???





ปล.. อ่านรายละเอียด ที่อาจเกี่ยวข้อง จากกระทู้เก่า

viewtopic.php?f=1&t=21445&start=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับท่านตรงประเด็น

คำสอนทำนองนี้...

1.สมาธิภาวนาคือการแทรกแซงจิต
2.สมาธิภาวนาเป็นการกดข่มจิต
3.สมาธิภาวนาเป็นการปรุงแต่ง
ฯลฯ

โปรดทำความเข้าใจให้ดี หากไม่เข้าใจให้ดีแล้ว อาจจะเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปมากเลยทีเดียว บางคนถึงขนาดไม่ฝึกสมถะ กลัวสมถะไปเลยก็มี หรือบางคนเกิดทุกข์มาไม่ดับทุกข์ ไม่ละทุกข์ก็มี...

หากเข้าใจไม่ดีแล้วคำสอนที่แท้ของพระพุทธเจ้าก็จะมีแต่สาปสูญไป...

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อ ในรายละเอียด

อ้างคำพูด:
สมาธิภาวนาคือ การแทรกแซงจิต ??? ....

เป็นการ ทำจิตที่ไม่ดีให้ดี
ยังคง มีการ"ทำ"อยู่
ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้อง"ไม่ทำ" คือ ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา




ประเด็นเรื่อง การแทรกแซงจิต

คือ ในสมัยพุทธกาล กับ ในยุคปัจจุบัน มีความเห็นต่อคำว่า "สมาธิภาวนา"ที่แตกต่างกันมาก

ในสมัยพุทธกาล ท่านใช้คำเรียก สมาธิภาวนา ว่า เป็นการ"ภาวนา" แปลว่า การทำให้เจริญขึ้น หรือ ด้วยคำว่า การอบรมจิต ....คือ สมาธิภาวนาในสมัยพุทธกาลเป็นเหตุนำสู่ความเจริญ เป็นการอบรม เป็นความหมายในทางบวก เป็นกุศล และ ช่วยปรับดุลย์ให้จิตเอื้อต่อการเห็นไตรลักษณ์ง่ายขึ้น คือ เป็นส่วนแห่งวิชชา(พระพุทธพจน์ตรัสวิชชามีสองคือ สมถะ และ วิปัสสนา)

แต่ ในสมัยปัจจุบัน จะใช้คำเรียก สมาธิภาวนา ว่า "การแทรกแซงจิต" โดยไม่สนใจว่าจะเป็นเหตุนำไปสู่ความเจริญหรือไม่ และ โดยไม่สนใจว่ามีบางจริตนิสัยจะได้ประโยชน์จากสมาธิภาวนาหรือไม่ ก็ตาม... ถ้า ไม่เพียงตามรู้อาการของจิตและจิตเพียงอย่างเดียว ก็จะจัดให้เป็นการแทรกแซงจิต หรือ มีการ"ทำ"ขึ้นทันที .... และ มักจะกล่าวไปในความหมายทางลบ ในลักษณะที่สื่อว่า สมาธิภาวนาจะปิดกั้นการเห็นไตรลักษณ์


ที่ผมกล่าวเช่นนี้ มิได้หมายความว่า ทุกคนจะต้องมาเจริญสมาธิภาวนาน่ะครับ

ขอย้ำอีกครั้ง

บางท่านมีจริตนิสัยทางปัญญาจริต ก็สามารถเจริญวิปัสสนาโดยตรงเลย แล้ว สัมมาสมาธิจะเป็นของตามมาเอง(เจริญวืปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า)






ส่วน เรื่อง การอบรมจิตที่นอกเหนือจากการตามดูอาการแห่งจิตและจิต(นอกเหนือจากจิตตานุปัสสนา) เช่น อานาปานสติ เมตตาภาวนา อสุภกรรมฐาน พุทธานุสติ ยังคงเป็นการ"ทำ"อยู่...นั้น

คือ อยากเรียนว่า มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้น ที่ท่าน"ไม่ทำ"ใดๆอีกแล้ว

ที่ท่านไม่ทำ เพราะท่านสิ้นอุปาทาน... หาใช่ เป็นเพราะท่านไปตั้งเงื่อนไขว่า "ต้องไม่ทำ"

สำหรับ พุทธเถรวาทแล้ว การไม่ทำของพระอรหันต์ ไม่ใช่เหตุผลใดๆที่จะนำมาปฏิเสธโอวาทปาติโมกข์ข้อ1และข้อ2น่ะครับ



เรื่อง "การไม่ทำอะไร" นั้น

ลองอ่าน


พอล; xxx ถือว่าจิตเดิมแท้เป็นของบริสุทธิ์ สรรพสัตว์มีพุทธภาวะในใจอยู่แล้ว ฉะนั้น บางคนเห็นว่าไม่ต้องประพฤติปฏิบัติให้ลำบาก

หลวงพ่อ; เรามีอะไรสะอาดบ้างไหม.....
ถาดใบนี้น่ะ สมมติว่าเราเอาขี้ใส่ แล้วพูดว่าถาดใบนี้เดิมแท้เป็นถาดสะอาด ฉะนั้นเราจึงไม่ต้องล้าง......อย่างนี้จะถูกไหม

(โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท จาก อุปลมณี หน้า536)


“ เราสอนไม่ได้ตามใจคน ถ้าตามใจคน มันก็ยังเป็นคนอยู่อย่างนั้น.
ถ้าตามใจกิเลสก็ยังเหลืออยู่ ไม่ได้เป็นอะไรสักที
เช่น ถ้ามันขี้เกียจก็ให้มันขี้เกียจ มันอยากนอนก็ให้มันนอนเสีย อยากทำงานก็ให้ทำงานเสีย.

ถ้าอยู่ตามธรรมชาติจริงๆนั้น ท่านให้อยู่ตามธรรมชาติ ต้องให้มีปัญญารู้เท่าทันธรรมชาติด้วย ....ไม่ผิดเหมือนกัน

แต่กลัวพวกเราทั้งหลายมันจะเป็นลิงหมดน่ะ …..ปล่อยให้เป็นลิง มันก็จะไม่เป็นมนุษย์สักที …..ก็เป็นลิงอยู่เรื่อย….

เซนท่านพูดอย่างนั้น ท่านก็มีปัญญาพูดน่ะ ให้มีปัญญารู้เท่าทันธรรมชาติ
ธรรมชาตินั่นล่ะเป็นธรรมะ ธรรมะนั้นก็คือ ธรรมชาติ ถ้ารู้มันแล้วมันก็เป็นอย่างนั้น……

กลัวคนทั้งหลายจะไม่รู้ถึงนั่น…..ๆลๆ”

(โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท จาก อุปลมณี หน้า 539)



.............................................



ผมไม่ได้ปฏิเสธการไม่ทำอะไรของพระอรหันต์(การสิ้นกรรม หรือ การอยู่เหนือกรรม)น่ะครับ
แต่ นั่น เป็น "จุดสุดท้ายของการปฏิบัติตามหลักแห่งอริยมรรค" เป็นที่สุดแห่งทุกข์

ผมว่า ระดับ เราๆท่านๆ
แทนที่ เราจะ เน้น"การไม่ทำอะไร" จนถึงขนาดไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา ....เราน่าจะมาเน้นการเจริญอริยมรรค ตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา กันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
สาธุกับท่านตรงประเด็น

คำสอนทำนองนี้...

1.สมาธิภาวนาคือการแทรกแซงจิต
2.สมาธิภาวนาเป็นการกดข่มจิต
3.สมาธิภาวนาเป็นการปรุงแต่ง
ฯลฯ

โปรดทำความเข้าใจให้ดี หากไม่เข้าใจให้ดีแล้ว อาจจะเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปมากเลยทีเดียว บางคนถึงขนาดไม่ฝึกสมถะ กลัวสมถะไปเลยก็มี หรือบางคนเกิดทุกข์มาไม่ดับทุกข์ ไม่ละทุกข์ก็มี...

หากเข้าใจไม่ดีแล้วคำสอนที่แท้ของพระพุทธเจ้าก็จะมีแต่สาปสูญไป...

ขอให้เจริญในธรรม



อนุโมทนาเช่นกันครับ





มี คห.ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่
เป็นของ เพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง
แสดงความเห็น ในส่วนที่ว่าชาวพุทธรุ่นใหม่ รู้สึกลบกับสมาธิ

อ้างคำพูด:
เราว่าปัีญหาของคนส่วนใหญ่ มักจะเป็นที่ไม่รู้่จักคำว่าสัมมาสมาธิดีพอ บ้างมักน้อย ต้องการเพียงแค่ความสงบ หรือดูถูกสมถะไปเลย อย่างโพสต์ต่อๆมาที่คุณยกมา
ยุคที่อะไรๆก็เร่งร้อน รีบเร่ง มีเวลา 3 วัน 5 วัน 7 วัน สำหรับเข้าคอร์ส หรือไปปฏิบัติธรรมที่วัด เราว่ามันน้อยไปสำหรับศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า
คือ ถ้าไม่ขวนขวายเพิ่มเติม ก็มักจะเห็นว่า ติดอยู่ตรงที่อยากจะให้สงบเท่านั้น

กลายเป็นการทำสมถะด้วยโลภะ ซึ่งก็ไม่ถูก พอถูกครูบาอาจารย์ทักว่า ติดสมถะ ซึ่งเรามองว่าไม่ได้หมายถึง ไม่ให้ทำสมถะ แต่เราว่าน่าจะแปลว่า ทำสมถะด้วยโลภะเจตนามากกว่า

ก็ไปเข้าใจกันเองอีกว่า ไม่ควรทำสมถะ ซะอย่างงั้นแหละ หรือบางประเภทก็กลัวผิด เลยไม่ทำก็มี ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายค่ะ

โดยส่วนตัวเรามองว่าการปฏิบัติในรูปแบบที่ครูบาอาจาร ย์สอน ยังเป็นสิ่งจำเป็นและควรให้เวลากับการฝึกในแต่ละวัน
บวกกับการให้เวลากับศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ฟังธรรมเทศนาของครูบาอาจารย์เป็นราวเกาะสำหรับการเดินทางของเราค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาที่ต้นตอดีกว่านะครับ
ความจริงสอนเหมือนกันหมด สำนวนเท่านั้นที่ต่างกัน
โดยเฉพาะว่าไปเอาคำพูดลูกศิษย์ที่ผิดๆถูกๆไม่แน่นอน
เอามาเถียงกันไปเสียเวลาเปล่าๆ

เพราะว่าสมาธินั้นมันเป็นสากล จิตใครก็เหมือนกันหมด
ถ้าทำสมาธิถูกทาง มันต้องมีผลอันเดียวกัน แล้วลูกศิษย์ท่านหลายคน ได้ผลลัพธ์เป็นสากล

จะว่าท่านสอนผิดก็ไม่ใช่ เพราะมีคนทำได้ถูก
จะว่าท่านสอนถูก ก็ยังมีคนทำผิด
สรุปว่าคนปฏิบัติธรรมนั่นแหละมีภูมิที่ต่างกัน เข้าใจต่างกัน รองรับได้ไม่เท่ากัน


เวลาท่านเทศน์ มันมีบริบทอยู่มาก
บางทีก้มีข้อยกเว้น บางทีมีคำขยาย บางทีเป้นศัพท์บัญญัติเฉพาะในสำนวนของอาจารย์ท่านนั้น

เช่นคำว่า "ทำ" ที่คุณตรงประเด็นสนใจอยู่
ต้องไปฟังต้นฉบับท่านเทศน์ ฟังเยอะๆถึงจะเข้าใจในที่สุดว่าหมายถึงอะไร
ลำพังไปเอาทิฐิลูกศิษย์มาถกกันนี่คงทำให้เสียเวลา
เพราะคนเราพูดไปเท่าที่รู้ พูดเท่าที่เห็น จะว่าเขาผิดก็ไม่ได้ เพราะเขารู้แค่นั้น รู้อย่างนั้น

หรืออย่างสำนวนหลวงปู่เทสก์ ท่านแยก "จิต" กับ "ใจ" ออกจากกัน
ใครไม่รู้นึกว่าหลวงปู่สอนผิด ที่จริงมันเป้น "นิยามศัพท์ในสำนวนของท่าน"

คำว่า "ทำ" ก็เป็นในทำนองเดียวกัน ต้องศึกษาว่าเจ้าของศัพท์คำนี้
ท่านนิยามในสำนวนของท่านไว้อย่างไร อธิิบายไว้อย่างไร ศึกษาที่ต้นตำรับผู้สอน
ลำพังไปเอาทิฐิลูกศิษย์หรือผู้สนใจมาคุยกันให้ได้ข้อสรุปเด็ดขาดนั้นคงยาก มันเหนื่อยเปล่าๆครับ
:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันน่ะครับ


อ้างคำพูด:
สมาธิภาวนาเป็น การกดข่มจิต???....

ใช้อานาปานสติมากดข่มไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน
ใช้เมตตาภาวนามากดข่มไม่ให้จิตโกรธ
ใช้อสุภกรรมฐานมากดข่มไม่ให้จิตมีราคะ
ซึ่งทำให้เครียด เพราะเป็นการกดข่มจิต ดังนั้นจึงไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา




หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านเคยได้กล่าวเรื่อง ท่าทีการปฏิบัติต่อนิวรณ์ไว้ อย่างน่าสนใจดังนี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6753

หลวงพ่อท่านให้ภาวนาตั้งท่าทีทัศนะต่อนิวรณ์ที่กำลังรุมเร้ารบกวนจิตใจอยู่ว่า เป็นครูบาอาจารย์หรือเครื่องทดสอบสติปัญญาของตน มากกว่าที่จะมองเห็นนิวรณ์เป็นตัวศัตรูที่น่าเกลียด อันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดเป็น วิภวตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้ความไม่อยากให้นิวรณ์นั้นอยู่ในใจของตนทุกข์เพิ่มทวี

อีกวิธีการหนึ่งที่หลวงพ่อสอนสำหรับแก้องค์นิวรณ์ คือคำว่า “ไม่แน่”
“เมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่ มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่เราชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมันไปเลยว่า อันนั้นมันไม่แน่ จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะ สับมันลงไป ไม่แน่ ไม่แน่ อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสับลงไป ไม่แน่ทั้งนั้นแหละ มันแน่ตรงที่ไหนล่ะ ถ้าเห็นว่ามันไม่แน่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ราคามันก็น้อยลง อารมณ์ทั้งหลายมันเป็นของที่ไม่มีราคาแล้ว ของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม”


...............................................


เรื่อง การปฏิบัติต่อ นิวรณ์ หรือ อกุศลต่างๆ จึงขึ้นกับ ทัศนะมุมมอง และ ท่าทีของการปฏิบัติต่อมัน

ถ้า ปฏิบัติด้วยการ รู้เท่าทัน เข้าใจ คือ เป็นการปฏิบัติต่อนิวรณ์ด้วย ปัญญา เช่นที่ทรงแสดง ใน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ คือ

รู้ชัดว่า มีหรือไม่มีอยู่ในจิต
รู้ชัดว่า ที่มีนี้ มีเพราะเหตุใด
รู้ชัดว่า ที่มันดับไป ดับด้วยเหตุใด
รู้ชัดว่า ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด
และ เห็นสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่อง"สักแต่ว่า" ที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


ถ้าอยู่ในหลักการนี้ การปฏิบัติต่อจิต ไม่ว่าจะเป็นการอบรมจิตด้วยสมาธิภาวนาวิธีใดๆ ก็จะจัดเป็น ฉันทะ เป็นเหตุแห่งความเจริญ และ ก็จะบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ทั้งสิ้น

แต่ ถ้าปฏิบัติต่อจิต ด้วยการไปตั้งหน้าตั้งตารังเกียจนิวรณ์ เห็นนิวรณ์เป็นศัตรูที่จะต้องกำจัด จนกลายเป็นการปฏิบัติต่อนิวรณ์ด้วย วิภวตัณหา(อยากให้ไม่เกิด หรือ ไม่อยากให้เกิด) ก็จะกลายเป็นความเครียด และ ทุกข์เมื่อจิตมีนิวรณ์เข้า
และ นี่คือลักษณะของการกดข่มจิต คือ ไปยึดมั่นถือมั่นในการปฏิบัติเข้า ว่า จิตต้องดีเท่านั้น!!!...



ท่าน อ.มิตซูโอะ ท่านเคยกล่าวเอาไว้ในเรื่อง การเจริญสมาธิภาวนา แบบไม่ยึดมั่นถือมั่น ดังนี้

viewtopic.php?f=2&t=19824

"....ระวังอย่าทุกข์ใจกับจิตที่ไม่สงบนะ
ไม่สงบก็ให้รับรู้ไว้
สงบเอา ไม่สงบไม่เอา ไม่ได้นะ อยากแต่สงบ ไม่อยากไม่สงบไม่ได้
ดีใจเพราะสงบ เสียใจเพราะไม่สงบก็ไม่ถูก

เรื่องจิตมันเป็นอย่างนี้มาตลอด ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว
จิตของเราต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ควรเป็นอย่างนั้น
เราบังคับมันไม่ได้หรอก
เรามีหน้าที่เพียงแต่กำหนดรู้ว่าสงบหรือไม่สงบเท่านั้น
มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
...."



การฝึกจิต อบรมจิต ด้วยกรรมฐานต่างๆ ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร
เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง

การฝึกจิต ไม่ใช่เป็นการทำจิตที่เป็นอนัตตา(บังคับไม่ได้) ให้กลายเป็นจิตที่เป็นอัตตา(บังคับได้)

การฝึกจิต ไม่ใช่การสั่งจิตว่า "จงสงบเดี๋ยวนี้ จงหายโกรธเดี๋ยวนี้ จงสงัดจากกามเดี๋ยวนี้" โดย ไม่ประกอบเหตุอันควร ....ซึ่ง นั่นคือ การบังคับจิต และ เป็นสิ่งที่ไม่ถูก

แต่ การฝึกจิต คือ "การประกอบเหตุที่จะเป็นเหตุนำจิตไปสู่ความสงบ ที่จะนำจิตไปสู่ความมีเมตตา ที่จะนำจิตไปสู่ความจางคลายจากราคะ " แล้ว ปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่ผล ....เป็นกุศโลบายที่พระพุทธองค์ท่านประทานไว้ให้แก่ผู้เดินตามที่มีจริตนิสัยบางประเภท สำหรับอบรมจิต




สรุป

การเจริญสมาธิภาวนาด้วยวิภวตัณหา นำไปสู่ความทุกข์ ความเครียด เป็นลักษณะกดข่มจิต

การเจริญสมาธิภาวนาด้วยปัญญา(ความเข้าใจ)เป็น ฉันทะ เป็นเหตุนำไปสู่ความพ้นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันน่ะครับ


อ้างคำพูด:
สมาธิภาวนาเป็น การปรุงแต่ง???....

เพราะยังมีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสังขตธรรมอยู่ ยังเป็นการปรุงแต่งอยู่
ที่ถูกคือ ไม่ควรปรุงแต่ง และ ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา





เคยมีการเสวนา ในประเด็น การแผ่เมตตาขัดขวางวิปัสสนา หรือไม่???

การแผ่เมตตานี้ หมายเอา การแผ่เมตตาที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้น่ะครับ
อาจจะเรียกว่า เจริญเมตตาภาวนา หรือ เจริญอัปปมัญญาเมตตาพรหมวิหาร ก็ได้
สงเคาะห์เป็นสมาธิภาวนาประเภทหนึ่ง


เสนออ่าน ในพระสูตร เรื่อง กรรมฐาน กับ จริต

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

"....พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต. ...."



ในระดับพระสูตรนั้น

การแผ่เมตตามีประโยชน์ต่อทุกจริตนิสัย แต่ มีประโยชน์อย่างยิ่งกับโทสะจริต




ในปัจจุบัน มีบางท่านเหมือนจะเชื่อว่าการแผ่เมตตาขัดขวางวิปัสสนา ขัดขางจิตตานุปัสสนา

ท่านมีเหตุผลดังนี้

1.การแผ่เมตตายังไม่ใช่เมตตาที่แท้จริงที่หลั่งไหลออกมาจากใจเอง ยังคงเป็นเพียงขั้นตอนของการฝึกฝนอยู่

2.การแผ่เมตตายังคงเป็นการปรุงแต่ง(สังขตธรรม) คือ มีเหตุ-ปัจจัยปรุงแต่งอยู่ ... ยิ่งแผ่เมตตา ยิ่งปรุงแต่งมากขึ้น.... สู้ดี มาเจริญจิตตานุปัสสนาอย่างเดียว(ตามรู้อาการแห่งจิต และ จิต ตรงๆโดยไม่แทรกแซง) ดีกว่า




ลองพิจารณากันทีละข้อ


อ้างคำพูด:
1.การแผ่เมตตายังไม่ใช่เมตตาที่แท้จริงที่หลั่งไหลออกมาจากใจเอง ยังคงเป็นเพียงขั้นตอนของการฝึกฝนอยู่


ข้อนี้ กล่าวถูก ในบางแง่มุม...

เพราะเมตตาที่แท้จริงต้องเป็นเมตตาอัตโนมัติที่หลั่งไหลออกมาเองจากใจ เหนือกว่าเมตตาที่ยังคงต้องฝึกเจริญอยู่ขึ้นไปอีก

แต่ นั่นคือ เหตุผลที่ไม่ควรเจริญเมตตาภาวนาหรือไม่???

ในเมื่อ หากเมตตาอัตโนมัติมันยังไม่บังเกิด... และ พระพุทธเจ้าท่านก็สอนเมตตาภาวนาเอาไว้ให้สาวกหัดเจริญกัน



อ้างคำพูด:
2.การแผ่เมตตายังคงเป็นการปรุงแต่ง(สังขตธรรม) คือ มีเหตุ-ปัจจัยปรุงแต่งอยู่ ... ยิ่งแผ่เมตตา ยิ่งปรุงแต่งมากขึ้น.... สู้ดี มาเจริญจิตตานุปัสสนาอย่างเดียว(ตามรู้อาการแห่งจิต และ จิต ตรงๆโดยไม่แทรกแซง) ดีกว่า


ข้อนี้ กล่าวถูก ในบางแง่มุม... อีกครับ

ที่บอกว่า ถูก คือ เมตตาภาวนายังคงเป็นสังขตธรรม เป็น ธรรมที่มีเหตุ-ปัจจัย ปรุงแต่งอยู่ จริง

แต่ ตรงนี้ ต้องไม่ลืมว่า ธรรมที่เป็นอสังขตธรรม พ้นจากเหตุ-ปัจจัยปรุงแต่ง หรือ "นอกเหตุ-เหนือผล"นั้น มีเพียงหนึ่งเดียว คือ พระนิพพาน
นอกนั้นแล้ว เป็นสังขตธรรมทั้งสิ้น

ไม่เว้น แม้นแต่อริยมรรคที่มีองค์แปด

จาก พระพุทธพจน์ดั้งเดิม

ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สังฺขตา
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่าใดอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง
อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ
อริยมรรคที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นยอดของสัขตธรรมทั้งหลายเหล่านั้นดังนี้




อริยมรรค เป็นยอดของสังขตธรรม

เพราะ อริยมรรค เป็นสังขตธรรมที่นำไปสู่อสังขตธรรม
เป็นการปรุงแต่ง ที่นำไปสู่ การสิ้นปรุงแต่ง



เมตตาภาวนา ก็สงเคราะห์อยู่ใน อริยมรรคข้อ สัมมาวายามะ หรือ สัมมัปปธาน เช่นกัน

เป็นไปได้ด้วยหรือว่า สัมมาวายามะ จะขัดขวางการเจริญจิตตานุปัสสนา



ที่กล่าวเช่นนี้ ไม่ใช่ว่า ผมจะกล่าวว่า ทุกคนต้องมาหัดแผ่เมตตา น่ะครับ

ท่านผู้ใดที่เป็นญาณจริต ก็ให้เจริญวิปัสสนาโดยตรงไปเลยตามอัธยาศรัย เป็น การตามรู้อาการแห่งจิต และ จิต ตรงๆ โดยไม่แทรกแซง...
ในลักษณะ "ดูพฤติแห่งจิตของตนโดยไม่แทรกแซง"... และ ก็สามารถพ้นทุกข์ได้แน่นอน
สบายใจได้ครับ

แต่ ขอเตือนว่า อย่าเผลอไปแทรกแซงพฤติแห่งจิตผู้อื่น ...คือ ไป วิพากย์การที่ผู้อื่นยังคงฝึกแผ่เมตตาอยู่. เพราะ มีบางกลุ่มบุคคล(เช่น ที่เป็นโทสะจริต)ยังคงได้ประโยชน์จากการแผ่เมตตาอยู่

และ การกล่าวใดๆ ที่อาจจะหมิ่นเหม่ไปในลักษณะ การแทรกแซงพระพุทธพจน์ดั้งเดิม .... ก็ ต้องระมัดระวังเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง เบื้องหลังแห่งการจงใจปฎิบัติ




เสนอ พระพุทธพจน์

ทุกข์มีอยู่ ผู้ถึงทุกข์ไม่มี
หนทางมีอยู่ ผู้เดินไม่มี

มีทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นดับ
ไม่มี "ผู้" ถึงทุกข์


อ่านรายละเอียดจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6606


นี่คือ ที่สุดแห่งการปฏิบัติ




ในความรู้สึกของคนทั่วไป มักจะมีความรู้สึกว่า
"ฉัน"เป็นทุกข์ และ ปฏิบัติเพื่อให้"ฉัน"นั้นพ้นทุกข์

แต่ ในปฏิจจสมุปบาทแล้ว ทุกข์มี เพราะ มี "ฉัน"(หรือ ของฉัน)ที่ปรวนแปรวิบัติพรัดพรากไป
ท่านเรียก"ฉัน"(หรือ ของฉัน) ว่า อุปาทานขันธ์๕ นั่นเอง

คือ โดยแท้แล้ว ไม่มีฉันที่แท้จริงอยู่... แต่ ที่มีฉัน เพราะอุปาทานคือ ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง๕

การปฏิบัติเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็เป็นไปเพื่อให้จิตนั้นยอมรับในเบื้องต้นว่า ฉัน(หรือ ของฉัน)นั้น ไม่มีจริงอยู่ในโลก
และ จิตบังเกิดญาณที่ถอดถอนอุปาทานในที่สุด

ที่สุดของการปฏิบัติแล้ว จึงไม่ใช่เป็นไปเพื่อให้"ฉัน"นั้นพ้นทุกข์
แต่ เป็นดังที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสกับ พระพาหิยะ ว่า เมื่อไม่มีท่าน(ฉัน)ในโลก ทุกข์ย่อมไม่มี นั้นเอง




ครูบาอาจารย์พระป่า หลายท่าน ก็เคยกล่าวเรื่องเหล่านี้ไว้

เสนออ่าน โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท

พอลเล่าว่า……คืนนั้นได้ฟังธรรมลึกซึ้งที่สุดที่เคยได้ยินมา นัยน์ตาของหลวงพ่อปิดลงแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น….แล้วท่านพูดไปเรื่อยๆ….โดยไม่สนใจว่าพูดกับใคร….มีใครฟัง….มีใครสนใจ….ข้ออรรถข้อธรรมไหลเรื่อยออกมาเหมือน"สายน้ำที่ไหลนิ่ง".คำสอนของหลวงพ่อที่พอลพยายามจำมาถ่ายทอดให้ฟัง มีตอนหนึ่งว่า….

"ในความจริง สิ่งที่ต้องละและต้องบำเพ็ญนั้นไม่มี………

สิ่งที่โลกเขาสมมติกันว่าเป็นของจริง มีราคา……สำหรับพระอรหันต์แล้ว มันเป็นของปลอมไม่มีค่าเลย…..
ฉะนั้นการที่จะให้พระอรหันต์ไปสนใจเรื่องของโลก ก็เหมือนกับเอาตะกั่วไปขอแลกกับทองคำ……..
เราคิดแต่ว่าเรามีตะกั่วแท่งใหญ่ๆ ท่านมีทองคำก้อนนิดเดียว…..ทำไมหนอ ท่านจึงไม่อยากเปลี่ยน…..
ทุกวันนี้ คนเราจึงมองไม่เห็นพระอรหันต์กัน…."

(จากอุปลมณี น.545)




นอกจาก หลวงปู่ชาแล้ว ก็ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายรูปที่ท่านกล่าวถึง"ที่สุดแห่งการปฏิบัติ"เอาไว้

แต่ ในขณะเดียวกัน ท่านกลับ เน้นสอนการเจริญอริยมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา



อาจจะตรงกับคำกล่าวที่ว่า

"ทางที่กำลังดำเนินอยู่ มีความสำคัญพอๆกับจุดหมายปลายทาง"

หรือ

"เราไม่สร้างพระเจดีย์ จากยอดลงมาสู่ฐาน"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 128 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร