วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 22:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตนำคำสอนของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) มาฝาก

การที่จะหมดกรรมก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น คือแม้แต่กรรมดีก็เปลี่ยนให้ดีขึ้น จากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนจากทำอกุศล เป็นทำกุศลกรรม และทำกุศลระดับสูงขึ้นไปจนถึงขั้นเป็นโลกุตตรกุศล ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ก็พูดว่า พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะมีศีล มีจิตใจ มีปัญญา ดีขึ้นๆ ในที่สุดก็จะพ้นกรรม

พูดสั้นๆ ว่ากรรมไม่หมดไปด้วยการชดใช้กรรม แต่หมดกรรมด้วยการพัฒนากรรม คือปรับปรุงตัวทำให้กรรมที่ดียิ่งขึ้นๆ จนพ้นชั้นของกรรมไป ถึงขั้นทำแต่ไม่เป็นกรรม จึงจะเรียกว่า พ้นกรรม :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนนี้ก็ดีนะ ขอบใจที่บอก :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มรรคในฐานะทางให้ถึงความสิ้นกรรม



“มรรคอันเป็นอริยะมีองค์ประกอบ ๘ ประการนี้แล เป็นทางนำไปสู่ความดับแห่งกรรม คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ”
(องฺ.ฉกฺก.22/334/464 สํ.สฬ.18/230/166)


ในที่นี้ มัชฌิมาปฏิปทา มีความหมายว่า เป็นทางให้ถึงความดับกรรมหรือสิ้นกรรม
ข้อสำคัญในที่นี้ก็คือ ต้องไม่เข้าใจว่า เป็นการสิ้นเวรสิ้นกรรม อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆไปซึ่งเป็นเรื่อง
แคบๆ
ต้องไม่เข้าใจว่าจะหมดกรรมได้โดยไม่ทำกรรมหรือไม่ทำอะไร ซึ่งกลายเป็นลัทธินิครนถ์ไป และต้องไม่
เข้าใจว่า เป็นทางนำไปสู่ความดับกรรมสิ้นกรรม คือ จะได้เลิกกิจการอยู่นิ่งเฉยไม่ต้องทำอะไร


ประการแรก จะเห็นว่า การที่จะดับกรรมหรือสิ้นกรรมได้ ก็คือต้องทำและทำอย่างเอาจริงเอาจัง
เสียด้วย แต่คราวนี้ทำตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทำตามหลักการวิธีการที่ถูกต้อง เลิกการกระทำที่
ผิดพลาด


ประการที่สอง ที่ว่าดับกรรมหรือสิ้นกรรม ไม่ใช่หมายความว่า อยู่นิ่งๆ เลิกไม่ทำอะไรหมด แต่หมายความว่าเลิกการกระทำอย่างปุถุชน เปลี่ยนเป็นทำอย่างอริยบุคคล

อธิบายง่าย ๆ ว่า บุถุชนทำอะไรก็ทำด้วยตัณหาอุปาทาน มีความยึดมั่นในความดี ความชั่วที่เกี่ยวข้อง
กับตัวฉันของฉัน ผลประโยชน์ของฉันในรูปใดรูปหนึ่ง การกระทำของบุถุชนจึงเรียกตามศัพท์ธรรมว่า กรรม แบ่งเป็นดีเป็นชั่ว และก็ยึดถือเอาไว้ว่าเป็นอย่างนั้นๆ ด้วยตัณหาอุปาทาน

ดับกรรมคือ เลิกกระทำการต่างๆ ด้วยความยึดมั่นในความดีชั่วที่เกี่ยวข้องกับตัวฉันของฉัน ผลประโยชน์
ของฉัน เมื่อไม่มีดีมีชั่วที่ยึดมั่นไว้กับตัว ทำอะไรก็ไม่รียกว่า กรรม เพราะกรรม ต้องเป็นอย่างใด
อย่างหนึ่ง ไม่ดีก็ชั่ว

การกระทำของพระอริยบุคคลจึงเป็นการกระทำไปตามความหมายและวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ทำนั้นล้วนๆ
ไม่เกี่ยวกับตัณหาอุปาทานภายใน
พระอริยบุคคลไม่ทำชั่ว เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้ทำชั่ว -(ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ที่จะให้ทำอะไร
เพื่อให้ตัวฉันได้ฉันเป็น) ทำแต่ความดีและประโยชน์ เพราะทำการต่างๆ ด้วยปัญญาและกรุณา แต่ที่ว่า
ดีก็ว่าตามที่ปรากฏยอมรับของโลก ไม่ได้ยึดว่าเป็นดีของฉัน หรือ ดีที่จะให้ฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
เมื่อปุถุชนบำเพ็ญประโยชน์อะไรสักอย่าง ก็จะไม่มีเพียงการทำประโยชน์ตามความหมายและวัตถุประสงค์
ของเรื่องนั้นๆ เท่านั้น แต่ย่อมจะมีความหวังผลประโยชน์ตอบแทนอะไรสักอย่างหนึ่ง
ถ้าไม่มีก็อาจจะละเอียดลงมาเป็นชื่อเสียงเกียรติคุณของฉัน หรือละเอียดลงมาอีก ก็อาจจะเอาพอให้สำหรับ
รู้สึกอุ่นๆ ภูมิๆ ไว้ภายในว่า เป็นความดีของฉัน

ส่วนพระอริยบุคคลเมื่อบำเพ็ญประโยชน์อันนั้น มีแต่กระทำตามความหมาย ตามวัตถุประสงค์ เหตุผล
ความควรจะเป็นอย่างไรๆ ของเรื่องนั้นๆ เอง ล้วนๆ เท่านั้น ภาษาธรรมจึงไม่เรียกว่ากรรม มรรคหรือ
มัชฌิมาปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้หมดการกระทำที่เรียกกว่า กรรมนั้น สิ้นกรรมนั้น มีแต่การกระทำที่เป็น
ตัวการกระทำล้วนๆ (= กิริยา) ต่อไป อันนี้จึงเป็นวิถีที่ต่างกันระหว่างโลกียะ กับโลกุตระ
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงเที่ยวบำเพ็ญประโยชน์สั่งสอนประชาชนโดยไม่เป็นกรรม
ทั้งที่เป็นการกระทำซึ่งคนธรรมดาเรียกกันว่า เป็นความดี

จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 587

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณามรรคอีกมุมหนึ่ง


มรรคในฐานะหลักปฏิบัติที่เนื่องด้วยสังคม


“ดูกรอานนท์ ความมีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย ชอบคบหากัลยาณชนนี้ เท่ากับเป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตร * ...พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เขาจักยังอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้เกิดมี เขาจักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘”
(สํ.ม.19/5-9/2-4)

(* คำว่า กัลยาณมิตร มิได้หมายแคบเพียงเพื่อนสามัญ แต่หมายถึงใครก็ตาม ซึ่งอาจเป็น
พระศาสดา ครูอาจารย์มิตรตลอดจนหนังสือ และสื่อมวลชนต่างๆ ที่ช่วยแนะนำ ให้ความรู้ ให้ความคิด
ชี้ช่องทางความประพฤติปฏิบัติ เป็นต้น)


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด
ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยมรรคมีองค์ ๘
แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
(สํ.ม.19/129/36 )


พุทธพจน์นี้ แสดงถึงการยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในฐานะสภาพแวดล้อม
ทางสังคม ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะชักนำและส่งเสริมให้เกิดมีการประพฤติปฏิบัติหลักธรรมใน
พระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่า ระบบการดำเนินชีวิต ระบบจริยธรรม หรือระบบการประพฤติปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยสังคม ไม่แยกต่างหากจากสังคม



“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด
ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยมรรคมีองค์ ๘
แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักกระทำให้มาก
ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘”
(สํ.ม.19/136/37 )


พุทธพจน์นี้ ให้ความคิดว่า แม้ว่าปัจจัยทางสังคมจะมีความสำคัญมาก แต่ก็ต้องไม่มองข้าม
ความสำคัญของปัจจัยภายในตัวบุคคล ปัจจัยที่ดีงามทั้งทางสังคมและภายในตัวบุคคล ต่างก็สามารถ
เป็นจุดเริ่ม ซึ่งทำให้เกิดความประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ ความจริง ทั้งสองอย่างนั่นแหละย่อมช่วยหนุนและเสริมซึ่งกันและกัน
หลักการนี้แสดงว่า การปฏิบัติชอบหรือชีวิตที่ดีงามเกิดจากการปรุงผสมผสานปัจจัยทางสังคม
และปัจจัยภายในตัวบุคคลเข้าด้วยกัน และการก้าวหน้าไปในมรรคาแห่งความดีงามสู่จุดหมายแห่งชีวิต จะเป็นไปได้อย่างสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด หากได้อาศัยปัจจัยสองอย่างนี้คอยอุดหนุนค้ำชูกันอยู่เรื่อยๆไป



แต่มีข้อเน้นพิเศษสำหรับปัจจัยทางสังคม คือความมีกัลยาณมิตร ซึ่งพิเศษกว่าปัจจัยภายในตัวบุคคล
ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ กล่าวคือ ท่านยกให้ปัจจัยทางสังคมนั้นมีค่าเท่ากับการปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า พรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว ทั้งนี้เพราะว่าสำหรับมนุษย์ทั่วไป
โดยส่วนใหญ่ การปฏิบัติชอบหรือชีวิตที่ดีงามหรือมรรคาแห่งอารยชนนั้นจะตั้งต้นขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยปัจจัย
ทางสังคม ปัจจัยดีงามทางสังคมนั้น เป็นทั้งเครื่องจุดชนวนความรู้จักคิดที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
ในเบื้องต้น และเป็นเครื่องประคับประคองคอยเสริมเติมและกระตุ้น โยนิโสมนสิการนั้นในระหว่างก้าวเดินคืบหน้าต่อๆไป จะมียกเว้นก็เฉพาะแต่อัจฉริยบุคคล ซึ่งมีจำนวนน้อยเหลือเกินที่จะก้าวเดินไปได้ตลอด
ปลอดโปร่งด้วยปัจจัยภายในตัวบุคคลอย่างเดียวล้วน คือสามารถริเริ่มโยนิโสมนสิการขึ้นเองแต่ต้นโดย
ไม่ต้องมีปัจจัยทางสังคมมาช่วยชักจูง และสามารถปลุกโยนิโสมนสิการขึ้นมาใช้ได้เรื่อยไปโดยไม่ต้องอิงอาศัยปัจจัยทางสังคม *
พุทธพจน์นี้ จึงตรัสไว้เพื่อมุ่งหมายประโยชน์แก่คนส่วนใหญู่ ผู้มีอินทรีย์ในระดับเฉลี่ยทั่วๆไป

........

(* ท่านว่า บุคคลปัญญาเลิศล้ำอย่างพระสัพพัญญูพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะสามารถ
เจริญปรีชาญาณด้วยลำพัง โยนิโสมนสิการอย่างเดียว โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยทางสังคม - -ม.อ.2/467)

พุทธรรมหน้า 585

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณามรรคอีกด้านหนึ่ง


มรรคในฐานะมรรคาสู่จุดหมายขั้นต่างๆของชีวิต



“ดูกรมหาบพิตร อาตมได้กล่าวกะภิกษุผู้ชื่อว่าอานนท์ว่า...อานนท์ ความมีกัลยาณมิตร
มีกัลยาณสหาย ชอบคบหากัลยาณชน นี้เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักยังอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เกิดมี จักกระทำได้มากซึ่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ … เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้มีกัลยาณมิตร เป็นผู้มีกัลยาณสหาย เป็นผู้ชอบคบหากัลยาณชน....พระองค์ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยใช้หลักธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาท (ไม่ปล่อยปละละเลย) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อพระองค์ไม่ประมาท
เป็นอยู่โดยใช้หลักความไม่ประมาท ปวงนางฝ่ายใน...ขัตติยะทั้งหลายผู้ตามเสด็จ...กองทัพ...และแม้ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ก็จักมีความคิดดังนี้ว่า พระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงเป็นอยู่โดยใช้หลักความไม่ประมาท เห็นทีแม้ว่า พวกเราก็จะต้องเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นอยู่โดยใช้หลักความ
ไม่ประมาทเหมือนกัน เมื่อพระองค์ไม่ประมาท เป็นอยู่โดยใช้หลักความไม่ประมาท แม้พระองค์เอง
ก็จักเป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา แม้ปวงนางฝ่ายในก็จักเป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา แม้ยุ้งฉาง
พระคลังหลวงก็จักเป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา

“ผู้ปรารถนาโภคทรัพย์ อันโอฬาร ยิ่งๆขึ้นไป พึงมีความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตไม่ประมาทจึงยึดเอาได้ซึ่งอรรถทั้ง ๒ ประการ คือ
ทิฏฐธัมมิกัตถะ และ สัมปรายิกัตถะ คนที่เรียกว่าเป็นปราชญ์ เป็นบัณฑิต ก็เพราะการบรรลุอรรถะ”
(อัปปมาทสูตร สํ.ส.15/381-5/126-130)


อรรถ หรืออัตถะ แปลว่า เรื่องราว ความหมาย ความมุ่งหมาย ประโยชน์ ผลที่หมายหรือจุดหมาย
แปลเอาความว่า ประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย หรือจุดหมายของชีวิต หมายถึงจุดหมายของพรหมจรรย์
หรือจริยธรรม หรือระบบการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนานั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า จุดหมาย
สูงสุดของพระพุทธศาสนา หรือพรหมจรรย์นี้ ก็คือนิพพานซึ่งมีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า ปรมัตถ์ หรือ
ปรมัตถะ แปลว่า ประโยชน์อย่างยิ่ง หรือจุดหมายสูงสุด
เป็นธรรมดาว่า ในการสอนธรรม จะต้องเน้นและเร่งเร้าให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด
อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนา มิได้มองข้ามประโยชน์หรือจุดหมายขั้นรองลดหลั่นกันลงมาที่มนุษย์จะพึงได้
พึงถึงตามระดับความพร้อมของตน และก็ได้จำแนกจัดวางเป็นหลักไว้ด้วย ดังจะเห็นได้จากพระบาลีที่ยกมา
แสดงไว้ข้างต้นนี้

ในขั้นเดิม ท่านจัดแบ่ง อรรถะ หรือจุดหมายนี้ไว้เป็น ๒ ระดับ เหมือนอย่างในบาลีที่ยกมาอ้างไว้นั้น กล่าวคือ

๑. ประโยชน์ขั้นต้น เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า ประโยชน์ปัจจุบันหรือประโยชน์บัดนี้
๒. ประโยชน์ขั้นลึกล้ำ เรียกว่า สัมปรายิกัตถะ แปลว่า ประโยชน์เบื้องหน้าหรือเบื้องสูง

ในกรณีเช่นนี้ ปรมัตถะ หรือประโยชน์สูงสุดก็รวมอยู่ด้วยในข้อที่ ๒ คือสัมปรายิกัตถะ คือเป็นส่วนสุดยอด
ของประโยชน์ขั้นที่ ๒ นั้น
แต่ในขั้นหลังท่านคงประสงค์จะเน้นปรมัตถะให้เด่นชัดเป็นพิเศษ จึงแยกออกมาเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหาก และจัดประโยชน์หรือจุดหมายนั้นออกเป็น ๓ ขั้น-(ขุ.จู.30/673/333 ฯลฯ )ดังจะให้ความหมายโดยสรุปดังนี้

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์บัดนี้ ประโยชน์ชีวิตนี้หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน เป็นจุดหมายขั้นต้นหรือจุดหมายเฉพาะหน้า หมายถึงประโยชน์อย่างที่มองเห็นๆกันอยู่ ที่เข้าใจกันง่ายๆ เกี่ยวข้องกับชีวิติประจำวัน เป็นเรื่อง
ชั้นนอก หรือเรื่องธรรมดาสามัญที่มุ่งหมายกันในโลกนี้ ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญหรือทรัพย์สิน ฐานะ เกียรติ ไมตรี ชีวิตคู่ครองที่เป็นสุดเป็นต้น
รวมถึงการแสวงหาสิ่งเหล่านี้โดยทางชอบธรรม การปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้โดยทางที่ถูกต้อง การใช้สิ่งเหล่านี้ทำตนและคนที่เกี่ยวข้องให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันด้วยดี ปฏิบัติหน้าที่ต่อกันอยู่ถูกต้องในระหว่างมนุษย์เพื่อความสุข
ร่วมกัน

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ที่ลึกล้ำยิ่งกว่าที่จะมองเห็นกันเฉพาะหน้าหรือผิวเผิน
ในภายนอก เกี่ยวด้วยชีวิตด้านในหรือประโยชน์ด้านคุณค่าของชีวิต เป็นจุดหมายขั้นสูงขึ้นไป เป็นหลักประกันชีวิตเมื่อละโลกนี้ไป หรือเป็นเครื่องประกันการได้คุณค่าที่สูงล้ำเลิศยิ่งกว่าสิ่งที่จะพึงได้กันตามปกติในโลกนี้ ได้แก่ความเจริญงอกงามแห่งชีวิตจิตใจ ที่ก้าวหน้าเติบใหญ่ขึ้นด้วยคุณธรรม ความใฝ่ใจในทางศีลธรรม
ในเรื่องบุญเรื่องกุศลในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม กิจกรรมที่อาศัยศรัทธา และความเสียสละ การมีความมั่นใจ
ในคุณธรรม มีความสงบสุขทางจิตใจ การรู้จักปีติสุขที่ประณีตด้านในตลอดจนคุณวิเศษที่เป็นผลสำเร็จทางจิต คือฌานสมาบัติ (เดิมรวมถึงการตรัสรู้ที่เป็นปรมัตถ์ด้วย) เป็นขั้นที่ผ่อนคลายความยึดติดผูกพันในวัตถุ
ทำให้ไม่ยอมตีค่าผลประโยชน์ด้านอามิสสูงเกินไปจนจะต้องมุ่งไขว่คว้ายอมสยบให้ หรือเป็นเหตุต้องกระทำกรรมชั่วร้าย หันมาให้คุณค่าแก่คุณธรรมความดีงาม รู้จักทำการด้วยความใฝ่ธรรม รักความดีงาม รักคุณภาพ
ของชีวิตและความเจริญงอกงามของจิตใจ

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยวดยิ่ง หรือ ประโยชน์ที่เป็นสาระแท้จริงของชีวิต เป็นจุดหมายสูงสุดหรือที่หมายขั้นสุดท้าย ได้แก่การรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันคติธรรมดาของสังขารธรรม ไม่ตกเป็นทาสขอโลกและชีวิต มีจิตใจเป็นอิสระโปร่งโล่งผ่องใส ไม่ถูกบีบคั้นคับข้องจำกัดด้วยความยึดติด
ถือมั่นหวั่นหวาดของตนเอง ปราศจากกิเลสเผาลนที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว อยู่อย่างไร้ทุกข์ ประจักษ์แจ้งความสุขประณีตภายในที่สะอาดบริสุทธิ์สิ้นเชิงอันประกอบพร้อมด้วยความสงบเยือกเย็นสว่างไสวเบิกบาน
โดยสมบูรณ์ เรียกว่า วิมุตติ และนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


พระพุทธเจ้าทรงยอมรับความสำคัญของประโยชน์หรือจุดหมายเหล่านี้ทุกด้าน โดยสัมพันธ์กับระดับความ
เป็นอยู่ การครองชีพ สภาพแวดล้อม และความพร้อมหรือความแก่กล้าสุกงอมแห่งอินทรีย์ของบุคคลนั้นๆ
อย่างไรก็ดี พึงสังเกตว่าในพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างข้างต้นนั้น มีข้อที่ทรงเน้นไว้ซึ่งควรจะกล่าวย้ำว่า ตามคติของพระพุทธศาสนา บุคคลทุกคนควรดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมายอย่างน้อยถึงขึ้นที่ ๒ กล่าวคือ เมื่อได้บรรลุ
ทิฏฐธัมมิกัตถะแล้ว ก็ดีอยู่ แต่ยังไม่เพียงพอ ไม่พึงหยุดอยู่แค่นั้น ควรก้าวต่อไปให้ได้อย่างน้อยบางส่วน
ของสัมปรายิกัตถะด้วย ผู้ได้ประสบจุดหมายหรือประโยชน์ถึงสองขั้นนี้แล้ว ท่านยกย่อให้ว่าเป็นบัณฑิต
แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้มีชีวิตไม่ว่างเปล่าไร้ค่าในโลกนี้

ในด้านวิธีปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตเพื่อเข้าถึงจุดหมายขั้นต่างๆเหล่านี้ พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงสั่งสอนไว้ครบถ้วนทุกระดับ เช่นบางแห่งตรัสหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อได้ทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔ ประการ คือ ความขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาจัดดำเนินกิจการ เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา
รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สินและผลแห่งกิจการงานให้รอดพ้นอันตรายไม่เสื่อมเสีย เรียกว่า อารักขสัมปทา
รู้จักเสวนาคบหาคนดีที่เกื้อกูลแก่การงานความดีงามและความก้าวหน้าของชีวิต เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
รู้จักเลี้ยงชีวิตแต่พอดีให้มีความสุขได้โดยไม่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย สามารถประหยัดทรัพย์ไว้ให้เพิ่มพูนขึ้นได้
เรียกว่า สมชีวิตา

และตรัสหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อได้สัมปรายิกัตถะ ๔ ประการ คือ มีความเชื่อ ประกอบด้วยเหตุผล
ถูกหลักพระศาสนาซาบซึ้งในคุณพระรัตนตรัย มีสิ่งดีงามเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ เรียกว่า ศรัทธาสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยศีล มีความประพฤติดีงามเลี้ยงชีพโดยทางสุจริต มีระเบียบวินัยสมควรแก่ภาวะแห่งการดำเนินชีวิตของตน เรียกว่า ศีลสัมปทา
ประกอบด้วยความเสียสละ รู้จักเผื่อแผ่แบ่งปัน พร้อมที่จะช่วยเหลือคนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ
เรียกว่า จาคสัมปทา
ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา รู้จักคิดรู้จักพิจารณา ใช้วิจารณญาณ รู้เท่าทันโลกและชีวิต สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระได้ตามโอกาส เรียกว่า ปัญญาสัมปทา-
(องฺ.อฏฺฐก.23/144/289,292)

ส่วนปรมัตถะนั้น เนื่องจากเป็นจุดหมายสูงสุด และยากที่สุดทั้งโดยการที่จะเข้าใจและการที่จะปฏิบัติ อีกทั้งเป็นส่วนที่เป็นความแตกต่างหรือข้อพิเศษของพุทธศาสนาที่แปลกออกไปจากลัทธิคำสอนเท่าที่มีอยู่ก่อน จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่พระพุทธเจ้าจะทรงสอนเน้นหนัก ดังปรากฏคำสอนเพื่อประโยชน์ข้อนี้กระจายอยู่ทั่วไป
ในพระไตรปิฎก

สำหรับประโยชน์ ๒ ขั้นต้น เขามีสอนกันเรื่อยมา เป็นของมีแพร่หลายอยู่ เฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ขั้นที่ ๑ เขาย่อมสอนกันอยู่เป็นธรรมดาในหมู่ชาวบ้านทั้งหลายโดยสอดคล้องกับถิ่นฐานและกาลสมัย คำสอนใดได้ผลดี และไม่ชักให้เคลื่อนเขวออกจากมัชฌิมาปฏิปทา ขาวพุทธก็ย่อมรับเอามาปฏิบัติได้ทันที ไม่มีข้อใด
จะขัดข้อง และชาวพุทธชาวบ้านเองก็ย่อมสามารถที่จะเสริมแต่งปรับปรุงเพิ่มขยายข้อปฏิบัติระดับนี้ให้ได้ผลดี
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อ่านถึงตรง ทางให้หมดสิ้นกรรมก็ไม่อยากอ่านต่อแล้ว คุณเอามาจากพระไตรปิฎกจริงเหรอ


ผมถามแค่เนี้ย คุณตอบผมได้ไหมหล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน Dr.John ถามใครอะคับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่าน Dr.John ถามใครอะคับ

ถามคุณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Dr.John เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่าน Dr.John ถามใครอะคับ

ถามคุณ



งั้นถามกลับก่อนว่า คุณเข้าใจคำว่า กรรม อย่างไร กรรมในความเข้าใจของคุณต้องยังไง จึงเรียกว่ากรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Dr.John เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่าน Dr.John ถามใครอะคับ

ถามคุณ



งั้นถามกลับก่อนว่า คุณเข้าใจคำว่า กรรม อย่างไร กรรมในความเข้าใจของคุณต้องยังไง จึงเรียกว่ากรรม

ไม่บอก เพราะคุณกับผมเข้าใจกันคนละอย่าง แค่เรื่องกรรมก็คนละความเห็นกันแล้ว
ตอบผมมาเดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่บอก เพราะคุณกับผมเข้าใจกันคนละอย่าง แค่เรื่องกรรมก็คนละความเห็นกันแล้ว
ตอบผมมาเดี๋ยวนี้


กรรมในความเข้าใจของคุณต้องยังไง ไหนลองบอกมาดิอะคับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่บอก เพราะคุณกับผมเข้าใจกันคนละอย่าง แค่เรื่องกรรมก็คนละความเห็นกันแล้ว
ตอบผมมาเดี๋ยวนี้


กรรมในความเข้าใจของคุณต้องยังไง ไหนลองบอกมาดิอะคับ :b1:

ไม่รู้ว่าคุณนับถือศาสนาเดียวกันรึปล่าวถ้าใช่ก็คงเหมือนกันมั้ง เด็กทารกยังรู้เลย มันไม่ได้ยากอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่รู้ว่าคุณนับถือศาสนาเดียวกันรึปล่าวถ้าใช่ก็คงเหมือนกันมั้ง เด็กทารกยังรู้เลย มันไม่ได้ยากอะไร


คุณว่าไม่ยาก แต่คนอื่นๆ อาจยาก คุณก็ช่วยสงเคราะห์ด้วยดิว่า กรรมในความเข้าใจคุณ Dr.John ต้องยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 194 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร