วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า " ความเข้าใจจิต " เป็นชื่อของปัญญาที่รู้จิตตามความเป็นจริง

จิตเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา จิตเป็นปรมัตถธรรม ชื่อว่าจิตตปรมัตถ์

จิตไม่ใช่เจตสิก จิตไม่ใช่รูป จิตไม่ใช่พระนิพพาน จิตมีหลายประเภท

บางครั้งจิตเกิดเป็นอกุศลจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกุศลจิต บางครั้งจิตเกิดเป็น

วิบากจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกิริยาจิต จิตไม่เที่ยง จิตเป็นทุกข์ จิตเป็นอนัตตา

ความรู้อย่างที่ว่ามานี้ชื่อว่า เข้าใจจิต รู้จักจิตตามความเป็นจริง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
คำว่า " ความเข้าใจจิต " เป็นชื่อของปัญญาที่รู้จิตตามความเป็นจริง

จิตเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา จิตเป็นปรมัตถธรรม ชื่อว่าจิตตปรมัตถ์

จิตไม่ใช่เจตสิก จิตไม่ใช่รูป จิตไม่ใช่พระนิพพาน จิตมีหลายประเภท

บางครั้งจิตเกิดเป็นอกุศลจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกุศลจิต บางครั้งจิตเกิดเป็น

วิบากจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกิริยาจิต จิตไม่เที่ยง จิตเป็นทุกข์ จิตเป็นอนัตตา

ความรู้อย่างที่ว่ามานี้ชื่อว่า เข้าใจจิต รู้จักจิตตามความเป็นจริง.



ขอแสดงความเห็นดังนี้

ถ้าจะเอานิยามคำว่า "จิต" ที่กล่าวมา ว่าเป้นจิตในปรมัตถ์ 4
คือที่ว่า ไม่ใช่รูป ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่นิพพาน

ดังนั้น ที่ว่า
อ้างคำพูด:
"..จิตมีหลายประเภท.. "

- จิตตัวนี้มีประเภทเดียว เป้นธรรมชาติรับรู้อารมณ์อย่างเดียว กล่าวคือรับรู้เจตสิก


ที่ว่า
อ้างคำพูด:

"..บางครั้งจิตเกิดเป็นอกุศลจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกุศลจิต
บางครั้งจิตเกิดเป็นวิบากจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกิริยาจิต.."

- ถ้ายังหมายถึงจิตในปรมัตถ์ 4 จิตนี้
จิตจะไม่มีเกิด ไม่มีดับ
พระพุทธเจ้าไม่พูดว่ามีความเกิดอย่างไร มีความดับอย่างไร ท่านพูดแค่มัน"หลุดพ้น"

แต่สำนวนที่เราได้ยินว่า "จิตเกิดดับ" อันนั้นครูอาจารยืท่านพูดรวม คือรวมเอา "จิต+เจตสิก"
พูดรวมๆกันไปโดยอนุโลม เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น

แต่ครูอาจารย์หลายท่านก็พูดแแยกกันในสำนวนของท่าน
เช่น หลวงปู่เทสก์ เรียก "จิต" ว่า "จิต" และเรียกเจตสิกว่า "ใจ"
สำนวนท่านจะมีคำว่า จิต และใจ

สำนวนหลวงปู่ดูลย์ ท่านเรียกว่า "ผู้รู้" หรือ "จิตผู้รู้"
และเรียกเจตสิกว่า "สิ่งที่ถูกรู้"


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รสมนเขียน:
.....
บางครั้งจิตเกิดเป็นอกุศลจิต บางครั้งจิตเกิดเป็นกุศลจิต

เจตสิกค่ะที่เป็นไปอย่างนั้น

สภาวะของจิต มีการรู้ซึ่งอารมณ์แต่อย่างเดียว เป็นสาระสำคัญเป็นลักษณะ
จิตเมื่อว่าโดยลักษณะ ไม่สามารถไปทำกิจการอื่นใดนอกจากการรู้ซึ่งอารมณ์เท่านั้น
และไม่ว่าเป็นจิตของมนุษย์ เทวดา พรหม หรือของสัตว์เดรัจฉาน
ย่อมมีลักษณะรู้ซึ่งอารมณ์อย่างเดียวเหมือนกันหมด ไม่ผิดแผกแตกต่างกันเลย
ถ้าอารมณ์ไม่มี จิตก็ไม่เกิด เพราะไม่มีที่ยึดหน่วง สภาวะรู้ซึ่งอารมณ์นั้น เรียกว่า จิต

สภาวะของเจตสิก คือ เป็นธรรมอันบังเกิดในจิต ประพฤติเนื่องด้วยจิต
อาศัยจิตเกิดขึ้นเป็นลักษณะ เจตสิกจะเกิดขึ้นโดยลำพังหรืออาศัยสิ่งอื่นเกิดหาได้ไม่

สภาวะของรูป คือ มีการแตกสลายแปรปรวนไปเป็นลักษณะ รูปจะยืนยงคงทนถาวรอยู่หาได้ไม่

สภาวะของนิพพาน คือ มีการสงบจากรูปนาม สังขาร ทั้งปวงเป็นลักษณะ
กล่าวคือ ไม่ยึดในรูปนามเป็นอารมณ์.

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 137 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร