วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 15:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างศีล 3 ข้อต่อไปนี้นะครับ (ในพระปาฏิโมกข์หรือศีล 227 ข้อ)
ซึ่งถือเป็นอาบัติ นิสสคียปาจิตตีย์

18.  ภิกษุใด   รับ  หรือ  ให้รับก็ตาม   ซึ่งทอง เงิน  หรือ  ยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ก็ตาม     
เป็นการทำความดีให้ตกไป   จำต้องสละ
19.  ภิกษุใด   ทำการซื้อและการขายด้วยเงินตรามีประการต่างๆ   
เป็นการทำความดีให้ตกไป   จำต้องสละ
20.  ภิกษุใด   ทำการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ   
เป็นการทำความดีให้ตกไป   จำต้องสละ

โทษที่ระบุไว้ก็หนักเอาการ คือ ตกนรกยาวนานมากๆๆๆ และโทษเหล่านี้ยังส่งผลมาสู่ชาวบ้านที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วเราที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา จะมีวิธีการอย่างไรบ้างเพื่อแก้ไขครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 19:18
โพสต์: 160

ที่อยู่: นนทบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ นั่นสิครับ ผมก็เห็นคนเขาถวายเงินให้พระกันถมไป

.....................................................
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาบัติ นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ / 1 ตัว
(โทษที่ทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ)

ตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุคือ 4,000 ปีของชั้นนี้
1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 210,240 ล้านปีมนุษย์
4,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์

สำหรับภิกษุที่ละเมิดพระวินัย (ทุศีล) อยู่เป็นประจำโดยไม่คิดจะแก้ไข – ปรับปรุง – เรียนรู้ เมื่อตายเพราะกายแตกจะต้องไปรับโทษในมหานรกตามความหนัก – เบาของการละเมิดนั้นๆ
รายละเอียดของมหานรกขุมต่าง ๆ แบบย่อ ๆ
โรรุวะนรก = สัตว์นรกในขุมนี้ จะถูกควันแสบแทรกเข้าไปในปากแผล (ทวาร) ทั้ง 9 ของสัตว์นรก แล้วควันอันแสบนั้น จะทำลายร่างกายของสัตว์นรกให้เป็นผง แล้วใหลออกมาคล้ายแป้ง
สัตว์นรกทั้งหลายย่อมร้องคร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง


หมายเหตุ - ข้อมูลนี้มาจากพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระวันรัต (แดง ) วัดสุทัศน์ฯ
- สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา – ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1-2

เพื่อเป็นการช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา ลองแสดงความคิดเห็น/แนะนำ/เสนอแนะ แนวทางแก้ไขด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


พระวินัยบัญญัิติเป็นสิ่งที่พระผู้ีมีพระภาคเจ้า ทรงปรารภด้วยพระสรรพัญญุตญานอันไม่สามัญในบุคคลทั้งหลาย ทรงเห็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เหล่่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนเพื่อบวชด้วยปราถนาหาความพ้นทุกข์เป็นที่ตั้ง ก็สิ่งอันพระมหาบุรุษประกาศไว้ดีแล้วด้วยพระมหาเมตตากรุณาเช่นนี้ เราผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จักพึงแสดงอาการเพิกเฉย ละเลยเสียจะเป็นการสมควรละหรือ? เรารู้เท่าพระพุทธเจ้าหรือยัง จึงสามารถอาจหาญกล่าวทำนองนี้ว่า "นี่แน่ะ ท่านทั้งหลาย อันวินัยดังว่านี้ช่างล้าสมัยนัก ไม่เหมาะควรแก่ยุคไฮไฟฟ์เสียเลย เป็นเรื่องเหลวไหลสิ้นดี มาเถิดพ่อ!... เราพึงเลิกบทสิกขาอันไม่เข้าแก๊ปนี้เสีย พระจะอยู่ได้อย่างไรถ้าไม่มีเงิน..!"

พึงทราบว่า ในบรรดาสัตว์ที่เลิศนั้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่เลิศที่สุด ทรงคุณอันใครๆไม่อาจเปรียบได้ ทรง
บริบูรณ์ด้วยพระญานอันไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นพระญานรู้สรรพกิเลสของสัตว์ทั้งปวงในทุกภพภูมิ พระญานรู้อดีตอนาคตได้ไม่จำกัด ทรงละแล้วจากการกล่าวสิ่งไร้สาระไม่เป็นประโยชน์เป็นต้น ดังนั้น พระวินัยที่ทรงวางไว้แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่บัณฑิตพึงน้อมปฏิบัติตาม ส่วนคนพาลผู้ไม่มีปัญญาย่อมคัดค้าน..

เมื่อทราบหลักดังนี้แล้วพึงปฏิบัติด้วยโยนิโสมนัสสิการแห่งตนเถิด เมื่อพิจารณาทราบคุณและโทษในสิ่งใดๆ แล้ว บุคคลย่อมสามารถตัดสินใจกระการอันถูกต้องได้..

ขอคัดบทความเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางพิจารณาดังนี้

เครื่องเศร้าหมองที่ทำให้พระภิกษุผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาไม่สง่างาม ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์ มี ๔ อย่าง คือ

1. การดื่มสุราเมรัย
2. การเสพเมถุนธรรม
3. การยินดีเงินทอง
4. การเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ (วิ.จุล. ๗/๕๓๓)

พระ พุทธองค์ทรงแสดงโทษของเงินและทองไว้มาก พระภิกษุผู้รับเงินทองยินดีในเงินทอง จะไม่สง่างาม ไม่ผ่องใส มีแต่จะเศร้าหมอง เป็นทาสของกิเลสตัณหา ดุจเนื้อถูกความมืดปกคลุมไว้ ฉะนั้น บวชมาแล้วควรประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรม แต่กลับต้องมาติดข้องอยู่กับเงินทองเหล่านี้ อันเป็นเหตุทำให้ภพชาติยืดยาวต่อไป อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
สิ่ง ที่มีโทษมาก ถ้ารู้จักใช้ คือใช้เป็น ใช้ถูกวิธีก็มีคุณมาก เรียกว่า โทษมหันต์ คุณอนันต์ เช่น เงินทองนี้ก็ดุจเดียวกัน มีโทษมาก แต่ถ้ารู้จักวิธีใช้แล้ว ก็มีคุณมาก มีประโยชน์มาก
พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ให้พระภิกษุใช้กัปปิยวัตถุที่เกิดจากเงินทองโดยผ่านไวยาวัจกร หรือกัปปิยการก
ถ้า ญาติโยมเกิดศรัทธาเลื่อมใส เอาเงินทองมามอบไว้กับไวยาวัจกรแล้วสั่งว่า “คุณช่วยเอาเงินทองนี้ จัดหาสิ่งของที่สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าด้วยนะ” พระยินดีสิ่งของที่สมควร อันเกิดจากเงินทองนั้นได้ ไม่มีโทษ ไม่ต้องอาบัติ หรือพระต้องการอะไรก็ให้ไวยาวัจกรจัดหามาให้ ก็ไม่มีโทษ ไม่ต้องอาบัติ
พระ พุทธองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่ชาวบ้านมีศรัทธาเลื่อมใสมอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า ‘พวกท่านจงจัดหาของที่สมควรมาถวายแก่พระคุณเจ้าด้วยเงินทองนี้’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีสิ่งของที่เป็นกัปปิยะจากเงินทองนั้น แต่เรามิได้กล่าวไว้เลยว่า ‘ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไร ๆ’ ” (วิ.มหาวิ. ๒/๑๔๙, วิ.มหาวิ.อฏ. ๒/๘๖๒)
ถ้าพระไม่รับเอง ไม่ให้ผู้อื่นรับเงินทองแทน และไม่ยินดีเงินทองที่ผู้อื่นเก็บไว้ให้หรือวางไว้ใกล้ ๆ เพียงแต่ยินดีในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยารักษาโรค ตลอดสมณบริขารที่สมควร เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องอาบัติ โดยให้ไวยาวัจกรไปจัดหาสิ่งของที่เป็นกัปปิยะมาให้ ตามที่ต้องการ ก็ไม่มีโทษอะไร

โยมต้องการเอาเงินมาทำบุญควรทำอย่างไร
เมื่อโยมมีศรัทธาต้องการเอาเงินมาทำบุญกับพระภิกษุควรทำให้ถูกต้องตามพระวินัย วิธีที่ถูกต้องนั้น มี ๒ วิธี คือ
๑. โยมเขียนใบปวารณาเสร็จแล้ว นำเงินเหล่านั้นไปมอบไว้กับไวยาวัจกรพร้อมสั่งว่า “คุณช่วยจัดหาสิ่งของที่สมควรถวายแก่พระคุณเจ้า เท่ากับจำนวนเงินนั้น” แล้วนำเอาใบปวารณามาถวายพระ ให้ท่านรับรู้รับทราบเฉพาะในใบปวารณาเท่านั้น
วิธี ที่หนึ่งนี้มีวิธีปฏิบัติเหมือน ในเมณฑกสิกขาบทคือ ทายกเป็นผู้ระบุชื่อไวยาวัจกรเอง เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า (เงิน) ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์ (สิ่งของที่สมควร) จะขอกี่ครั้งก็ได้ ไม่มีกำหนด แม้ตั้งพันครั้งก็ควร
๒. โยมนำเงินเหล่านั้นมาแล้ว พระถามว่า “ที่วัดนี้มีไวยาวัจกรไหมครับ” หรือพูดว่า “ใครเป็นไวยาวัจกรเก็บรักษาเงินเหล่านี้” ถ้าไวยาวัจกรอยู่ต่อหน้า ท่านจะตอบว่า “คนนี้เป็นไวยาวัจกร” ถ้าไวยาวัจกรไม่ได้อยู่ต่อหน้า ท่านก็จะตอบว่า “คนชื่อนี้อยู่บ้านโน้นเป็นไวยาวัจกร” ถ้าโยมไม่ถามก่อน ท่านจะบอกอ้างไวยาวัจกรว่า “เอาไปไว้กับคนนั้น คนนั้นเป็นไวยาวัจกร” อย่างนี้ไม่ได้ ไม่พ้นจากอาบัติ ท่านได้แต่พูดปฏิเสธว่า “อาตมาไม่รับเงิน หรือพระรับเงินไม่ได้ต้องอาบัติ”
เมื่อ โยมเอาเงินเหล่านั้นไปมอบมห้ไวยาวัจกร และสั่งเขาให้เข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าไปหาพระบอกว่า “โยมได้บอกไวยาวัจกรให้เข้าใจแล้ว ท่านต้องการสิ่งของที่สมควร ขอจงบอกนะครับ” วิธีที่สองนี้ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในราชสิกขาบท คือ พระภิกษุเป็นผู้ระบุชื่อไวยาวัจกร มีกำหนดขอได้ ๓ ครั้ง แต่ไม่เกิน ๖ ครั้ง (ขอได้ ๓ ครั้ง ยืนได้ ๖ ครั้ง ถ้าจะขออย่างเดียวขอได้ไม่เกิน ๖ ครั้ง)

ตัวอย่างการใช้คำที่สมควร

โยมผุ้มีความต้องการเอาเงินมาทำบุญ ควรกล่าวคำที่สมควร ตามเมณฑกสิกขาบท ดังนี้
กระผม ขอถวายปัจจัย ๔ และสิ่งของอันสมควรแก่สมณะบริโภค เป็นมูลค่า.............บาท................สตางค์ ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่ากำหนดนี้ โปรดเรียกจากไวยาวัจกรผู้รับมอบนั้น เทอญ
หรือ จะพูดสั้น ๆ ว่า โยมขอถวายสิ่งของที่สมควรแก่ท่านเป็นจำนวน.................บาท ถ้าท่านต้องการสิ่งใด ขอให้แจ้งกับคุณ................., นาย........................, นาง.............................

ตัวอย่างใบปวารณา
ข้าพเจ้า .....................ขอถวายปัจจัย ๔ และสิ่งของอันสมควรแก่สมณะบริโภค เป็นมูลค่า...............บาท ...................สตางค์ หรือเป็นค่า..................(น้ำ ไฟ จีวร อาหารเป็นต้น) ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เท่าในกำหนดนี้ โปรดเรียกจากไวยาวัจกรผู้รับมอบตามประสงค์ เทอญ

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุกับพุทธบริษัทเช่น คุณบัว 4 เหล่าจริง ๆค่ะ
ในความคิดเห็นส่วนตัวของคนไร้สาระ คงต้องใช้คำนี้
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม คงจะแก้ยาก
และไม่ไหวแน่ มีทั่วไป พระแท้ ๆ ที่เป็นพระสุปฏิปันโน
ท่านไม่จับแน่ค่ะ

:b47: ตอนนี้คงมีแค่ แก้ความคิดของตัวเอง
ไม่ไปรับเอากรรมของท่าน ๆ ทั้งหลายมา เราหลาย ๆ
คนที่ศึกษาธรรมะกันอยู่นี้ ก็เท่ากับช่วยจรรโลงพระพุทธ
ศาสนากันอยู่ ขอฝากไว้หนึ่งคำช่วยพิจารณา ว่า....
"มีสติรักษาจิตไว้ค่ะ"
ผิดถูกอย่างไรขออภัยล่วงหน้าค่ะ

อนุโมทนา...สาธุค่ะ ...
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


คุณลักษณะสามประการของผู้รักษาพระพุทธศาสนา

:b53: :b52: :b51:
พระพุทธเจ้าทรงวางเงื่อนไข ๓ ประการนี้ไว้ในตอนจะรับอาราธนาปรินิพพาน

มีเรื่องว่ามารมาอาราธนาพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระองค์ตรัสว่าจะยังไม่ปรินิพพาน และพระองค์ก็ทรงวางเงื่อนไขไว้สามประการ ต่อมาครั้งสุดท้ายมารก็มาอาราธนาอีกโดยทวงว่า เงื่อนไขที่พระองค์ได้ทรงวางไว้นั้นสมบูรณ์แล้ว ขอนิมนต์ปรินิพพานได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงสำรวจดู ปรากฏว่าเงื่อนไขที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ๓ ประการ ครบแล้วจริง พระองค์ก็เลยรับอาราธนาปรินิพพาน แล้วทรงปลงพระชนมายุสังขาร คือตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน ในที่นี้สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าการปลงพระ ชนมายุสังขาร ก็คือเงื่อนไข ๓ ประการนี้ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ว่า ......

๑.ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาจะต้องรู้หลักธรรมเข้าใจคำสั่งสอนของพระองค์แล้วนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง พูดสั้น ๆ ว่า รู้คำสอนและปฏิบัติได้ถูกต้อง

๒.ให้สามารถยิ่งกว่านั้นอีก คือ นอกจากรู้เข้าใจปฏิบัติได้ถูกต้องด้วยตนเองแล้ว ยังนำไปบอกกล่าวชี้แจงสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย คนที่จะไปบอกกล่าวแนะนำสั่งสอนชี้แจงคนอื่นได้นั้น

(๑) จะต้องมีความสามารถที่จะแนะนำสั่งสอน และ
(๒) ต้องมีน้ำใจประกอบด้วยเมตตากรุณา บางคนถึงจะมีความสามารถแต่ไม่มีน้ำใจกรุณา ก็ไม่ใส่ใจที่จะสอนก็ไม่ได้ผล เหมือนกัน จึงต้องมีทั้งน้ำใจ ต้องมีทั้งความสามารถ แล้วก็เอา ธรรมไปแนะนำสั่งสอนแก่คนอื่นต่อไป

๓.ข้อสุดท้ายว่า ถ้ามีการจาบจ้วง คำว่าจาบจ้วงนี่เป็นภาษาโบราณ หมายความว่ามีการกล่าวร้ายต่อพระศาสนา หรือมีการสั่งสอนลัทธิที่ผิดจากธรรมผิดจากพระวินัยขึ้น ก็สามารถกล่าวแก้ ชี้แจงกำราบได้

เราไม่ต้องไปคำนึงมากนัก เรื่องพระที่ประพฤติเสียหายอะไรนั้นเป็นเรื่องรองลงไป

คุณสมบัติ ๓ อย่างของตัวเราเองนี้แหละสำคัญกว่า

เรื่องพระประพฤติเสียหายทำไม่ดีนั้น ถ้ามีขึ้นมาเราถือว่าเป็นโจร เป็นคนร้ายเข้ามาทำลายพระศาสนา เราก็ต้องช่วยกันรักษาพระศาสนา เพราะพระศาสนานี้เป็นสมบัติส่วนรวมของเรา

แต่ถ้าเราไม่มีคุณสมบัติ ๓ อย่างนั้น โจรจะเข้ามาหรือไม่ เราก็จะรักษาพระศาสนาไว้ไม่ได้ ดีร้ายตัวเราอาจจะกลายเป็นโจรไปเสียเอง แต่ถ้าเรามีคุณสมบัติสามประการนี้แล้วเราก็รักษาพระศาสนาของเราไว้ได้


โดย...พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
คัดบางตอนจากหนังสือ จากสุขในบ้าน สู่ความเกษมศานติ์

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวนะครับ
ผมคิดว่า ภิกษุที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วก็ควรที่จะศึกษาพระธรรม วินัย ให้ครบถ้วนและปฏิบัติให้ถูกต้องเท่านั้น มิใช่จะมาหาข้ออ้างโน่นอ้างนี่เพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ เพราะพระบัญญัติต่างๆ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้นั้นล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว พระพุทธองค์ทรงเป็นพระศาสดา ผู้บวชตามก็คือ สาวก จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่สาวกทั้งหลายจะมาแก้ไขพระบัญญัติของพระพุทธองค์เอาเอง แม้จะเป็นหมู่คณะก็ตาม ก็คือ หมู่คณะของสาวกอยู่วันยังค่ำ
พระพุทธองค์ท่านทรงตั้งบัญญัติที่เป็นข้อห้ามและข้อที่สามารถกระทำได้ไว้ดีแล้วเหมาะสมแล้วและเพียงพอที่จะปฏิบัติตนให้หลุดพ้นข้ามวัฏสงสารนี้ไปได้
เราผู้เป็นอุบาสก อุบาสิก ควรที่จะกระตุ้นและเตือนหมู่ภิกษุ ที่ไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเหล่านั้น ให้ท่านหันมาศึกษาอย่างจริงจังซะที (หน้าที่ของภิกษุ คือ ศึกษาพระธรรม วินัยและปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะพระภิกษุ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้นย่อมเป็นเนื้อนาบุญของโลก ถ้าปฏิบัติไม่ดีมันก็จะตรงกันข้ามทันที พระที่สวดพระปาฏิโมกข์เป็นภาษาบาลี(ศีล 227 ข้อ)ทุกๆ 15 ค่ำในเมืองไทยนั้นจะมีสักกี่องค์ที่เข้าใจภาษาบาลีที่ตนเองสวด พอไม่เข้าใจก็คิดเอง เออเองว่าทำแบบนี้ แบบนั้นถูกต้องแล้ว บางทีก็ยึดตามประเพณีบ้าง ตามที่คนส่วนใหญ่ทำบ้าง ซึ่งเมื่ออ่านพระไตรปิฎกแล้วประเพณีส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ไม่ถูกต้องตามพระธรรม วินัยเลย)
บางทีมีคนกล่าวว่า พระภิกษุสมัยนี้จำเป็นต้องใช้เงิน ผมก็ยังไม่เห็นว่าจะจำเป็นต้องใช้ตรงไหน อาหารก็เที่ยวบิณฑบาตเอา(ไม่ต้องซื้อ) เครื่องนุ่งห่ม(เขาก็ถวายให้ใช้) ที่อยู่อาศัย(ชาวบ้านก็สร้างไว้ให้) ยารักษาโรค(ชาวบ้านก็ถวายให้) ถ้าบอกว่า ค่าน้ำ ค่าไฟ อันนี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่ทำหน้าที่แทนสงฆ์(ไวยาวัจกร) สิ่งต่างๆ ล้วนแล้วแต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ถ้าตั้งใจศึกษาพระไตรปิฎกแล้วจะเห็นได้ว่า ทุกปัญหาล้วนแล้วแต่มีทางแก้ไขทั้งนั้น
ฉะนั้นผมจึงอยากจะเชิญชวนให้ชาวพุทธแท้ๆ ทั้งหลาย ช่วยกันศึกษาพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นศาสดาของเราชาวพุทธ(พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่พระอานนท์แล้วว่า พระธรรมวินัยอันตถาคตบัญญัติไว้ดีแล้วจะเป็นศาสดาแทนเราตถาคต ซึ่งก็คือ พระไตรปิฎกนั่นเอง) แล้วก็ช่วยกันดูแล ตักเตือน ภิกษุ ให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อจะได้เป็นเนื้อนาบุญของโลกโดยแท้จริง อย่ามัวทำแต่ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่เกี่ยว ไม่ใช่เรื่องเพราะมันจะส่งผลไปถึงรุ่น ลูก หลาน เหลน โหลน ของเราภายภาคหน้าซึ่งถ้าเรากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเราก็จะเจอกับศาสนาที่ถูกปิดเบือนไปก็ได้
ถ้ามีภิกษุใดกล่าวว่า พระไตรปิฎก เชื่อถือไม่ได้ ก็แสดงว่าภิกษุนั้นไม่ใช่สาวกของพุทธองค์ (เพราะการบวช ก็ต้องบวชตามพระธรรมวินัย ที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกเท่านั้น)
อาจจะขัดกับความรู้สึกของใครหลายๆ คน ผมก็ขออโหสิกรรมด้วยนะครับ ก็แค่อยากจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับ พระพุทธศาสนา ในตอนนี้ก็เท่านั้นครับ

*การให้ธรรมเป็นทานย่อมชนะการให้ทานทั้งปวง แต่อย่าลืมทานทั้งปวงเพื่อธรรมทานจะได้บริบูรณ์*


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเป็นผมนะครับ ก็คงได้แต่วางเฉยนะครับ

คือพระท่านผิดศีล ท่านก็สามารถปลงอาบัติได้
แล้วถ้าท่านทำผิดอะไรนอกจากธรรมวินัยแล้ว ท่านก็เป็นผู้เสวยผลกรรมอยู่แล้ว

อีกอย่าง การไปสงสัย ว่าท่านทำผิดศีล โดยเราทึกทักไปเอง อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
เช่น เห็นพระคุยกับสาวอย่างสนิทสนม เราก็อาจจะเข้าใจไปเองว่า ท่านไม่สำรวม
แต่ไปๆ มาท่านอาจจะคุยกับน้องสาว ก็ได้

โดยหน้าที่แล้ว พระท่านที่ผิดศีล คณะสงฆ์จะเป็นดูแลกันเองครับ
ถ้าผิดกฎหมาย เราก็แจ้งกรมศาสนา และตำรวจครับ

เราควรมองเจตนา ว่าเราทำบุญทำกุศุล ทำบุญตักบาตร เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ส่วนการประพฤติอะไรของพระท่าน ก็เป็นเรื่องของท่าน
ถ้าทำผิดศีลธรรม ท่านก็ต้องรับผลแห่งกรรม
ถ้าท่านทำผิดกฎหมาย ท่านก็จะต้องโทษตามกฎหมาย

สำหรับเราให้มาสนใจตัวเองดีกว่า
อย่าให้พระบางองค์ที่ผิดศีล ทำให้ความเลื่อมใสหรือศรัทธาท่านลดลงเลย

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกรูปทุกนามปรากฎด้วยกรรม ทำเช่นไรไว้ก็ได้รับผลของการกระทำนั้น
ในกรณีเรื่องเงินทองนั้น บางกรณีมองง่าย บางกรณีมองยาก
บางรูปรับ แต่ท่านก็เป็นพระปฏิบัติดีอย่างที่เราเห็นเราเข้าใจกัน
วางเฉยกับการกระทำของท่าน เราไม่สามารถหยังเจตนาท่านได้
เอาจิตไปตรวจตาสอดส่องการกระทำท่าน เหมือนเราหยิบเอา
วิบากติดตัวมา ให้ผลกับเราซะอีก สอดส่องตัวเราเองดีกว่า
เราเองในฐานะอุบาสกอุบาสิกา ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ก็ชื่อว่าช่วยพยุงศาสนาแล้วในฐานะหุ้นส่วน ๓ และที่ ๔

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึง คุณ kritsadakorn
เราควรมองเจตนา ว่าเราทำบุญทำกุศุล ทำบุญตักบาตร เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ส่วนการประพฤติอะไรของพระท่าน ก็เป็นเรื่องของท่าน
ถ้าทำผิดศีลธรรม ท่านก็ต้องรับผลแห่งกรรม


จากการที่ผมได้ศึกษาในพระไตรปิฎกมาบ้าง มีตัวอย่างกล่าวไว้หลายเรื่องด้วยกันนะครับว่า ผู้ที่ทำบุญกับพระทุศีลก็เปรียบเสมือนการให้การสนับสนุนมหาโจร ถึงจะมีเจตนาดีแต่ผลที่ได้กลับมานั้นไม่ดีเอาเสียเลย ยกตัวอย่างนะครับ เช่นการให้ทานนี่แหละครับ เราให้ทานด้วยความบริสุทธิ์ใจเราดีใจ สุขใจที่ได้ให้โดยที่เราไม่สนใจว่าคนๆ นั้นจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ จะดีก็ดีไปจะชั่วเราไม่เกี่ยวอย่างกระนั้นหรือ ถ้าเราเอาเงินให้โจรโดยที่เราไม่รู้ว่าเขาเป็นโจร แล้วโจรนั้นก็เอาเงินของเราที่เราให้เขานั่นแหละไปซื้ออาวุธแล้วไปจี้ไปปล้นคนอื่น โดยที่เราไม่สนใจเราก็ยังจะให้เขาต่อไป สงเคราะห์เขาต่อไปอย่างกระนั้นหรือ และในพระไตรปิฎกก็กล่าวไว้หลายตอนเลย ว่าผู้ที่ให้การสนับสนุนพระทุศีลนั้นก็จะต้องได้รับผลกรรมชั่วตามที่พระนั้นกระทำด้วยเช่นกันถึงแม้ว่าผู้ที่สนับสนุนนั้นจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม

พระพุทธเจ้าสอนให้เราฉลาดในการทำบุญ เลือกทำบุญให้ถูกต้อง พระองค์ก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนเลยว่า ทำบุญกับพ่อแม่ บุญที่ได้เทียบเท่ากับทำบุญกับพระอรหันต์ แต่คนทุกวันนี้กลับกันเลยคือไม่ค่อยให้ความสำคัญกับพ่อแม่ พี่น้อง ชอบไปทำบุญกับพระภิกษุซึ่งเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าท่านเป็นอะไร ดีไหม ทุศีลหรือเปล่าแล้วก็ชอบวิ่งตามหาพระอรหันต์กันทั่วบ้านทั่วเมืองแต่กลับลืมพระอรหันต์ในบ้านของตนเอง

ลองศึกอ่านศึกษาดูนะครับ(พระไตรปิฎก ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
เรื่อง สนับสนุนผู้ทุศีล...ย่อมถึงความพินาศ(สัญชีวชาดก) เล่มที่ 56 หน้าที่ 613
เรื่อง ภิกษุทุศีล...คือเสนียด...คือโจร(เวรัญชกัณฑ์) เล่มที่ 1 หน้าที่ 361
เรื่อง คบผู้ทุศีลเหมือนจับงูพิษเปื้อนขี้(ชิคุจฉิตัพพสูตร) เล่มที่ 34 หน้าที่ 89 บรรทัดที่ 16
เรื่อง ผู้ตำหนิการเรียนปริยัติคือผู้ทำลายศาสนา(ปาปิจฉัตตานิทเทส) เล่มที่ 78 หน้าที่ 881 บรรทัดที่ 15

สนทนาธรรมครับ ไม่ได้มีเจตนากล่าวตู่ กล่าวโทษผู้ใด แต่หวังเพื่อจะได้ให้คนทั้งหลายหันมาสนใจในพระพุทธศาสนาโดยหันมาศึกษาพระไตรปิฎกกันอย่างจริงจัง ถ้ากระทบจิตใจใครจนทำให้เกิดการคุ่นเคืองกัน ไม่พอใจกันแล้ว กระผมก็ขออโหสิกรรมด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามความคิดผมนะครับ คุณไม่พอใจในภิกษุที่ผิดศีล ถามว่าคุณสบายใจมั้ย

ตามความเห็นผม เราไม่ควรนั่งจับผิดคนอื่นเลย ท่านจะเป็นอย่างไร ก็เป็นเรื่องของท่าน เพราะท่านมีพระธรรมพระวินัยเป็นกรอบของท่านอยู่แล้ว

เรามาควรสนใจ การรักษาศีลของเราดีกว่านะครับ

ถ้าเป็นผม สิ่งที่ทำไปแล้ว ผลจะเป็นยังไง ท่านมีศีลหรือไม่มีศีล ก็ไม่เป็นไร เพราะ การให้ ก็คือความสุขอย่างหนึ่งครับ

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ
ถ้าถามผมว่า ผมสบายใจไหม ผมตอบว่า ไม่สบายใจครับ เพราะสิ่งที่ภิกษุที่ทำผิดนั้นมันมีผลกับชาวบ้านที่เขาไม่รู้เรื่องด้วย ถ้าภิกษุทำตัวดี ถูกต้องตามธรรมวินัยชาวบ้านที่ไปตักบาตร ทำบุญด้วยเขาก็จะไม่ได้รับความเดือดร้อนไงครับ ผมจึงอยากจะให้ชาวพุทธช่วยกันติง ตำหนิ ว่ากล่าว ภิกษุที่ทำตัวไม่เหมาะสม ในพระไตรปิฎกก็กล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุทำผิดชาวบ้านก็สามารถตำหนิได้

พระพุทธเจ้าก็ทรงตำหนิพวกภิกษุที่ประพฤติไม่ดี ไม่เหมาะสมอย่างแรงเลยนะครับ ท่านกล่าวไว้ว่า
ภิกษุที่มีความประพฤติไม่ดี ไม่เหมาะสม ถือเป็น โมฆะบุรุษ
แต่ถ้าเป็นพระตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์ พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวว่าเป็น โมฆะบุรุษ แต่พระองค์กล่าวตำหนิว่า ท่านประพฤติไม่เหมาะสม อันจะทำให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อน หมดความเชื่อถือ ศรัทธา
ในสมัยพุทธกาลแม้แต่พระอรหันต์ยังทำผิดได้ถ้าไม่ศึกษาให้ดี
เห็นไหมครับ ต่างกันนะครับ
ภิกษุทั่วไป พระพุทธองค์ตำหนิแรงมาก เป็นถึง โมฆะบุรุษ (ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ)
พระสงฆ์ ท่านก็ตำหนิถ้าทำผิด (สงฆ์ แปลว่า ผู้รู้ตาม ก็คือ พระโสดาบัน พระสักกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จึงไม่ใช่ โมฆะบุรุษ)
แต่โทษ(บาป)ที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลถึงผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด
เช่น หลวงตามหาบัว ท่านเป็นพระอรหันต์แน่นอน ท่านทำผิดก็จริงแต่บาปที่เกิดขึ้นไปไม่ถึงท่านเพราะเมื่อท่านนิพพานแล้วก็แล้วกันไปแต่โทษ(บาป)ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นมีแน่ๆ เพราะยังไม่นิพพานเหมือนหลวงตา

มนุษย์ย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำไม่ดีไม่ชั่วก็ได้ไม่ดีไม่ชั่ว(กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพฺพยากตาธรรม)

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจธรรมของพระพุทธองค์กันอย่างจริงจัง พระพุทธศาสนาจะได้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ขออำนาจแห่งคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ จงบันดาลให้ผู้ที่ยึดมั่นในธรรมของพระพุทธเจ้าทุกคนสามารถเรียนรู้ธรรมเข้าใจและถึงพระนิพพานเป็นเบื้องปลายด้วยเถิด


ท่าน ว.วชิรเมธี ได้กล่าว เกี่ยวกับเรื่อง ความกล้าหาญทางจริยธรรม ไว้ได้ดีพอสมควร คือ
(บางตอน)
"มนุษย์เรานั้นพอเชื่อมั่นว่าตัวเองถูกที่สุดแล้วทำร้ายใครก็ได้ในโลกนี้
เพราะ เขาจะถือว่าเขาผู้นั้นเป็นฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับจริยธรรม
ก็คือฝ่ายอธรรมนั่นเอง และจะถือว่าฉันคือธรรมะ

เพราะฉะนั้นพฤติกรรมที่ฉันทำทั้งหมดจึงถูกต้อง
นี่คืออันตรายของคนที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
ที่จะต้องเรียนรู้เอาไว้ให้เท่าทัน
มิเช่นนั้นคนที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมนั่นเอง
จะเป็นผู้ที่ประพฤติร้ายต่อจริยธรรมของสังคมอย่างน่าเป็นห่วง"

ในทางกลับกัน หากผู้ที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
มีการศึกษาธรรมะควบคู่กันไป
แทนที่เขาจะทำตัวเป็นมโนธรรม เป็นไม้บรรทัดของสังคม
เขาจะปรับตัวใหม่ กลายเป็นมโนธรรมของสังคม
เป็นเสียงแห่งสติของสังคม


มีหน้าที่คอยติงและ คอยเตือน แต่ไม่ใช่ตำหนิ
และเขาจะไม่ใช่ไม้บรรทัดของสังคมอีกต่อไป
หากแต่จะยังเป็นเข็มทิศที่เที่ยงธรรมของสังคม
วางตนเป็นแบบอย่างให้สังคมเห็นว่า
ธรรมเป็นเช่นนี้ และอธรรมเป็นเช่นนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนา จะเจริญหรือเสื่อมถอยก็ด้วยพุทธบริษัทสี่ ได้แก่
1.ภิกษุ
2.ภิกษุณี
3.อุบาสก
4.อุบาสิกา
ความเห็นส่วนตัว พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก เมื่อพบเห็นภิกษุผิดศีล ถ้าสนิทกันก็เตือนท่านใน ฐานะกัลยาณมิตร หรืออาจไหว้วานโยมผู้ใหญ่ หรือพระรูปอื่น เสมือนเป็นผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้
เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระสงฆ์ เสมือนเป็น ทิศเบื้องบน ดังนี้
1.จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
2.จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
3.จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
4.ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
5.อุปถัมภ์ด้วยปัจจัยสี่ :b35:


แก้ไขล่าสุดโดย damjao เมื่อ 20 พ.ค. 2009, 13:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


บัว 4 เหล่า เขียน:
ขอยกตัวอย่างศีล 3 ข้อต่อไปนี้นะครับ (ในพระปาฏิโมกข์หรือศีล 227 ข้อ)
ซึ่งถือเป็นอาบัติ นิสสคียปาจิตตีย์

18.  ภิกษุใด   รับ  หรือ  ให้รับก็ตาม   ซึ่งทอง เงิน  หรือ  ยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ก็ตาม     
เป็นการทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ
19.  ภิกษุใด   ทำการซื้อและการขายด้วยเงินตรามีประการต่างๆ   
เป็นการทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ
20.  ภิกษุใด   ทำการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ   
เป็นการทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ

โทษที่ระบุไว้ก็หนักเอาการ คือ ตกนรกยาวนานมากๆๆๆ และโทษเหล่านี้ยังส่งผลมาสู่ชาวบ้านที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วเราที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา จะมีวิธีการอย่างไรบ้างเพื่อแก้ไขครับ

สังเกตุเห็นตรงที่ทำสีแดงไว้ น่าสนใจนะครับ

ลองพิจารณาดูอีกมุมนะครับ
18. ภิกษุใด รับ หรือ ให้รับก็ตาม ซึ่งทอง เงิน แต่มิได้ทำความดีให้ตกไป จัดเข้าเป็นนิสสคียปาจิตตีย์หรือไม่ :b10:
19. ภิกษุใด ทำการซื้อและการขายด้วยเงินตรามีประการต่างๆ แต่มิได้ทำความดีให้ตกไป จัดเข้าเป็นนิสสคียปาจิตตีย์หรือไม่ :b10:
20. ภิกษุใด ทำการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ แต่มิได้ทำความดีให้ตกไป จัดเข้าเป็นนิสสคียปาจิตตีย์หรือไม่ :b10:

......อย่าเพิ่งว่ากระผมเป็นศรีทนนชัยนะครับ.....

กระผมพิจารณาอยู่ว่ามันเป็นเรื่องของเจตนานะครับ...เราเองที่เป็นอุบาสก อุบาสิกาเองต่างหากที่ทำให้ภิกษุต้องทำเรื่องเหล่านั้น โดยมีอาหารเป็นเหตุส่วนเรื่องของการที่ภิกษุนั้นจะมีความยินดีหรือไม่มันเป็นเรื่องของภิกษุแต่ละบุคคล...

มีพุทธพจน์เกี่ยวกับสิกขาบทบัณญัติอยู่บทนึง ที่พระพุทธเจ้าตรัสก่อนนิพพาน

"กาลเวลาล่วงไป สมัยเปลี่ยนไป ทำให้ปฏิบัติตามสิขาบทลำบาก...เราอนุญาติให้ถอนสิขาบทเล็กน้อยได้"

แต่ไม่มีภิกษุใดถาม...ว่าสิกขาบทเล็กน้อยได้แก่อะไรบ้าง จึงได้ยกมาทั้งหมด :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ปาฏิโมกข์ มี 150 ข้อ นะครับ ไม่ไช่ 227 ข้อ

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร