วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 12:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปาฏิโมกข์ หรือศีล มี 227 ข้อ ดังนี้(พระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของ มมร.)

การละเมิดทั้งหลายที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ    4   ข้อ     
การละเมิดทั้งหลายที่หมู่ภิกษุจำต้องลงโทษ                13  ข้อ     
การละเมิดทั้งหลายที่ยังไม่แน่นอน                           2   ข้อ   
การละเมิดทั้งหลายที่ทำความดีให้ตกไป  จำต้องสละ        30  ข้อ     
การละเมิดทั้งหลายที่ทำความดีให้ตกไป                       92    ข้อ   
เรื่องน่าตำหนิติเตียนที่เกิดขึ้นจำต้องแจ้งให้กันทราบ             4    ข้อ   
ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงใส่ใจปฎิบัติ              75    ข้อ      
วิธีระงับเรื่องราวต่างๆ                                       7   ข้อ     
รวม 227 ข้อ

แล้ว 150 ตรงไหนครับ อธิบายด้วยนะครับ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึงคุณ natdanai ที่ว่า

มีพุทธพจน์เกี่ยวกับสิกขาบทบัณญัติอยู่บทนึง ที่พระพุทธเจ้าตรัสก่อนนิพพาน

"กาลเวลาล่วงไป สมัยเปลี่ยนไป ทำให้ปฏิบัติตามสิขาบทลำบาก...เราอนุญาติให้ถอนสิขาบทเล็กน้อยได้"

แต่ไม่มีภิกษุใดถาม...ว่าสิกขาบทเล็กน้อยได้แก่อะไรบ้าง จึงได้ยกมาทั้งหมด




ไม่ทราบว่ามีแหล่งอ้างอิงไหมครับ มีในพระไตรปิฎกเล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่เหรอครับ
ขอความกรุณาแจ้งด้วยนะครับ คนอื่นๆ ที่สนใจศึกษาธรรมของพุทธองค์จะได้สืบค้นและเป็นธรรมทานต่อๆ ไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขาบทของพระสงฆ์ มี ๒ กลุ่ม
๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๒. อภิสมาจาร มีหลายพันข้อ ว่าด้วยมรรยาทและโคจร เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส
เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น.

----------------------------------
ภิกษุ ท.! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ
อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบท
เหล่านั้น. ภิกษุ ท.! สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของ
สิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สักขาสามอย่าง อัน
เป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์
ในสมาธิ ทำ ให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้อง
ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะ
เหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น
เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจาอาบัติเล็กน้อย
เหล่านี้.

ส่วน สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่
พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกชาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญา-วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

- ติก. อํ. ๒๐/๓๐๑/๕๒๘.
-----------------------------
ภิกษุนั้น ผู้ออกบวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฏิโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร (อภิสมาจาร), มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย, มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ.

-มหาลิสูตร สีล.ที. ๙/๒๐๐/๒๕๕
---------------------------
ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ มีการทำตามสิกขาเป็น
อานิสงส์, มีปัญญาเป็นยอด, มีวิมุตติเป็นแก่นสาร, มีสติเป็นอธิปไตย.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีการทำตามสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็น
อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติ
แล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่
เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น. สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติแล้ว
แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่
เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น, ในลักษณะอย่างใด ๆ, สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตาม
สิกขานั้น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ .

อนึ่ง สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง.
สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแล้วแก่สาวก
ทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง, ในลักษณะ
อย่างใด ๆ , สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตามสิกขานั้น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย สามาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล.

-มหาสาโรปมสูตร มู.ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒.
----------------------------------
แล้วศีล ๒๒๗ มาจากไหน???

ที่จริงแล้วศีล ๒๒๗ มาจากคำของสาวกรุ่นหลัง (จะพบใน อรรถกถาแปล เล่มที่ ๔๖-๙๑)
โดยเอา ปาฏิโมกข์ (๑๕๐ ข้อ) + อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ
๒. เสขิยะกัณฑ์ ๗๕ ข้อ- อภิสมาจาร
---๒.๑ สารูป ๒๖ ข้อ
---๒.๒ โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ ข้อ
---๒.๓ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ
---๒.๔ ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๓. อนิยตกัณฑ์ ๒ ข้อ - อภิสมาจาร
-------------------------------
เห็นใด้ชัดว่า ศีล ๒๒๗ ปาฏิโมกข์ มาจากคำของสาวกรุ่นหลัง
ก็ให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายพิจารณาว่า "จะเชื่อคำพระพุทธเจ้าหรือเชื่อคำสาวกรุ่นหลัง"

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็คุยกันเรื่องเงินๆทองๆ ลองอ่านที่มาของข้อนี้บ้างจะเป็นไร เผื่อกระจ่าง ด้วยปัญญาไม่เท่ากัน

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นกุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใด
ที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น
เขาจึงแบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้องอ้อนวอนว่า
จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า บุรุษผู้สามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจักซื้อของอื่นถวายท่าน
ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศายบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขา
จัดถวาย
ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีมีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง จากนั้นเด็ก
คนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก
พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วย ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เราแล้ว แลหรือ
บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว
อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา
บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเองแล้วเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ
สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับ
รูปิยะจริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่
เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า การกระทำของ
เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส
แล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ
เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่
สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่
ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้
เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ
ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

อธิบายของอรรถกถาจารย์

ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอก
ว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์ ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละ
ในท่ามกลางสงฆ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็น
ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ ถ้าคนผู้ทำการวัด หรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหา
อะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใสน้ำมัน
น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉัน
ได้ทุกรูป ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็น
การดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะองค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

องค์ ๕ นั้น คือ ๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอัน
ทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-

วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็น
ผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก ถ้าทิ้งหมายที่ตกต้องอาบัติทุกกฏ.


บทภาชนีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิย ะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์


ทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ


ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร
[๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี ภิกษุหยิบยก
เองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้น
จักนำไปดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

บัว 4 เหล่า เขียน:
กาลเวลาล่วงไป สมัยเปลี่ยนไป ทำให้ปฏิบัติตามสิขาบทลำบาก...เราอนุญาติให้ถอนสิขาบทเล็กน้อยได้"


วันไหนที่พระท่านขึ้นรถโดยสารแล้วกระเป๋าไม่เก็บสตางค์ท่าน(ทุกคัน)
วันไหนแม่ค่าทุกคนไม่เก็บสตางค์ค่าอาหารท่าน
แม้แต่โรงพยาบาลพระท่านยังต้องจ่ายสตางค์ค่าหมอ


แล้วท่านจะมาถามทำไมครับว่า ทำไมพระท่านถึงต้องรับเงินด้วย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ่ออ อย่ามัวเพ่งโทษพระเลย เพ่งโจทย์ตัวเราเองก่อน :b12: :b12:
พยายามกันนะครับ จะได้ช่วยกันพยุงศาสนา(ร่วมด้วยช่วยกันกับบริษัทที่เหลือ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑
เป็นผู้มีศีล ๑
เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑
ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑
ทำการสนับสนุนในศาสนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ

หานิสูตรและ วิปัตติสัมภวสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมความวิบัติแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ละเลยการฟังธรรม ๑
ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑
ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมความวิบัติแก่อุบาสก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ในทางกลับกัน หากผู้ที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
มีการศึกษาธรรมะควบคู่กันไป
แทนที่เขาจะทำตัวเป็นมโนธรรม เป็นไม้บรรทัดของสังคม
เขาจะปรับตัวใหม่ กลายเป็นมโนธรรมของสังคม
เป็นเสียงแห่งสติของสังคม

มีหน้าที่คอยติงและ คอยเตือน แต่ไม่ใช่ตำหนิ
และเขาจะไม่ใช่ไม้บรรทัดของสังคมอีกต่อไป
หากแต่จะยังเป็นเข็มทิศที่เที่ยงธรรมของสังคม
วางตนเป็นแบบอย่างให้สังคมเห็นว่า
ธรรมเป็นเช่นนี้ และอธรรมเป็นเช่นนี้

สาธุ

ตนเตือนตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาบุญอันเกิดจากการสนทนาธรรมที่ถูกต้องกับทุกท่านครับ

เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจเป็นอย่างมาก

ตราบใดที่ยังไม่ถึงนิพพานก็สู่ต่อไปครับพี่น้อง

จะเร็ว จะช้า ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาว่าถูกต้อง ปฏิบัติได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใด

เจตนาที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพราะอยากรับทราบความคิดเห็นของชาวพุทธในทุกวันนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ ซึ่งตอนนี้ผมก็ไม่ได้เดือดร้อนหรือมีความสุขกับการทุศีลกับการปฏิบัติผิดหรือถูกของใคร เพราะผมมุ่งที่ตัวผมเองเป็นเบื้องต้น(บ้างก็ว่าเห็นแก่ตัว,บ้างก็ว่าดีแล้วเอาตัวเองให้รอดก่อน)
แค่ศรัทธาในพระรัตนตรัยและถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกพึ่งอย่างถูกต้องนี่ก็หนักแล้วเพราะว่ามันจะขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยทำมาอย่างสุดๆๆๆๆๆ (แล้วท่านผู้ปรารถนาในนิพพานตามพระพุทธองค์ทั้งหลายหละ ศรัทธา พื้นฐานอันนี้ท่านสมบูรณ์ บริบูรณ์หรือยัง สู้ต่อไปนะครับพี่น้อง

*** แต่ยอมรับว่า แต่ก่อนเป็นทุกข์ เดือดร้อนจริงๆ เพราะเกี่ยวข้องกับพ่อ แม่ พี่น้อง ของผม เมื่อได้เรียนได้ศึกษาก็ได้รู้ถึง โทษภัยของการกระทำที่ผิดทั้งที่เจตนาและไม่เจตนาก็ตาม ผมไม่อยากให้ผู้ที่ผมเกี่ยวข้องด้วยผู้ที่ผมเคารพนับถือเกิดโทษภัยอย่างนั้น ก็แค่นั้นเอง

ข้อสังเกตุนะครับ จะเชื่อหรือไม่ ก็ใช้ความรู้พิจารณาเอาเองนะครับ

ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกมาเป็นอย่างดี รู้ทุกเรื่องแต่ทำไม ปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้าสักที

*** ศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงแน่วแน่ นั่นเป็น รากฐานที่สำคัญยิ่ง เพราะ
ศรัทธาตั่งมั่นแน่วแน่ จะเป็นฐานค้ำให้พระรัตนตรัย
เมื่อพระรัตนตรัยบริบูรณ์ จะเป็นฐานค้ำให้ ทาน
เมื่อ ทาน บริบูรณ์ จะเป็นฐานค้ำให้ ศีล
เมื่อ ศีล บริบูรณ์ จะเป็นฐานค้ำให้ สมาธิ
เมื่อ สมาธิ บริบูรณ์ จะเป็นฐานค้ำให้ ปัญญา
เมื่อ ปัญญา บริบูรณ์ จะเป็นฐานให้การปฏิบัติ พิจารณาใน ธาตุ 4 ขันธ์ 5 บริบูรณ์
เมื่อการ พิจารณาใน ธาตุ 4 ขันธ์ 5 บริบูรณ์ จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ
เมื่อเกิดความรู้ ความเข้าใจ ก็ไม่มีข้อสงสัย
เมื่อไม่สงสัย ใดๆ แล้ว ก็ปล่อยวาง

ที่กล่าวมานี้ก็ได้มาจากครูอาจารย์ท่านสอนครับ ผมก็อยากปฏิบัติธรรม อยากสำเร็จเหมือนกัน อ่านพระไตรปิฎกมาก็พอสมควร แต่ครูอาจารย์ท่านจะถามผมก่อนเป็นอันดับแรกคือ มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอย่างบริบูรณ์ไหมถ้ายังไม่มี ก็ต้องทำให้มีซะก่อน อยู่ๆ จะมาถือศีล มาภาวนา ลัดขั้นตอนเลย มันบ้า ท่านว่าอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาไม่มีวิธีลัดโดยเด็ดขาด


ตอนนี้ก็พอทราบแล้วครับว่าชาวพุทธ(ตามทะเบียนบ้าน,ชาวพุทธตามหมู่คณะ,ชาวพุทธตามหลักธรรมที่ถูกต้อง) ทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้นแล

การได้สนทนาธรรมย่อมประเสริฐกว่าการสนทนาใดๆ ทั้งสิ้น ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ท่านผู้ใฝ่ธรรมทุกท่านและอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยความจริงใจครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


บัว 4 เหล่า เขียน:
อ้างถึงคุณ natdanai ที่ว่า

มีพุทธพจน์เกี่ยวกับสิกขาบทบัณญัติอยู่บทนึง ที่พระพุทธเจ้าตรัสก่อนนิพพาน

"กาลเวลาล่วงไป สมัยเปลี่ยนไป ทำให้ปฏิบัติตามสิขาบทลำบาก...เราอนุญาติให้ถอนสิขาบทเล็กน้อยได้"

แต่ไม่มีภิกษุใดถาม...ว่าสิกขาบทเล็กน้อยได้แก่อะไรบ้าง จึงได้ยกมาทั้งหมด




ไม่ทราบว่ามีแหล่งอ้างอิงไหมครับ มีในพระไตรปิฎกเล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่เหรอครับ
ขอความกรุณาแจ้งด้วยนะครับ คนอื่นๆ ที่สนใจศึกษาธรรมของพุทธองค์จะได้สืบค้นและเป็นธรรมทานต่อๆ ไปครับ

แหม....มาถามเอากะคนที่ไม่ค่อยอ่านหนังสืออย่างเรา.. :b3: :b3:
เดี๋ยวจะพยายามนะครับ....พอดีว่ามันไหลออกมาจาก สัญญา ครับตอนที่ตอบ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
เดี๋ยวจะพยายามนะครับ....พอดีว่ามันไหลออกมาจาก สัญญา ครับตอนที่ตอบ


หะ หะ หะ
:b32: :b32: :b32:
ให้กำลังใจครับท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 18:32
โพสต์: 20


 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามนี้คิดว่าตอบไม่ยาก ดังข้อที่ว่าภิกษุใด รับ หรือ ให้รับก็ตาม ซึ่งทองเงินหรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ก็ตามเป็นการทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ คิดว่าอุบาสิกาท่านนี้ต้องการทราบความหมายของคำว่ารับเงินทองว่างั้นเถอะ คำว่ารับทองและเงินหมายความว่าเอาเงินทองที่ญาติโยมฝากทำบุญมาเป็นสมบัติของตัวเองอย่างนี้เรียกรับ ส่วนทองและเงินที่ญาติโยมถวายเพื่อเอาไปทำประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่เรียกรับเอา เพราะนำไปสร้างประยชน์ให้ส่วนรวมทั้งทางสงฆ์และทางโลกไม่ได้เก็บไว้ใช้เอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร