วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเคยคิดไหมว่า ทำไมการปฏิบัติธรรมของเราไม่ก้าวหน้าทั้งๆ ที่เราก็ทั้งเรียน ทั้งศึกษา ทั้งปฏิบัติ

และรู้ขั้นตอนทุกอย่างหมดแล้วแต่พอมาปฏิบัติแล้วทำไมไม่ก้าวหน้า ไม่เกิดปัญญารู้ตาม ทำไมและทำไม

เราก็รู้แล้วนี่ว่า การจะเป็นพระโสดาบัน พระสักกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์นั้น ต้องเป็นผู้ที่คุณลักษณะอย่างไร แต่ทำไมเราถึงทำไม่ได้ทั้งๆ ที่รู้แล้ว และทำแล้วแต่ก็ยังไม่ได้

มีผู้รู้ท่านหนึ่ง บอกว่า ต้องมีฐานที่มั่นคงซะก่อนถึงจะสร้างต่อไปได้ ก็เหมือนกับเราจะสร้างบ้านก็จะต้องมีเสาเข็มที่มั่นคงแข็งแรงถึงจะสร้างชั้นที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ต่อไปได้ อยู่ดีๆ จะมาสร้างช้นที่ 2 เลยมันเป็นไปไม่ได้

แล้วอะไรหละที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ..........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามจริงๆ เถอะครับว่า คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้

"ศาสนาพุทธเสื่อมเพราะชาวพุทธหรือเสื่อมเพราะคนศาสนาอื่น"

1.ความคิดเห็นส่วนตัว คือ............................
2.ความคิดเห็นเมื่อได้ศึกษาในพระไตรปิฎกมาแล้วเป็นอย่างดี คือ ........................

ลองดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


บัว 4 เหล่า เขียน:
คุณเคยคิดไหมว่า ทำไมการปฏิบัติธรรมของเราไม่ก้าวหน้าทั้งๆ ที่เราก็ทั้งเรียน ทั้งศึกษา ทั้งปฏิบัติ

และรู้ขั้นตอนทุกอย่างหมดแล้วแต่พอมาปฏิบัติแล้วทำไมไม่ก้าวหน้า ไม่เกิดปัญญารู้ตาม ทำไมและทำไม

เราก็รู้แล้วนี่ว่า การจะเป็นพระโสดาบัน พระสักกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์นั้น ต้องเป็นผู้ที่คุณลักษณะอย่างไร แต่ทำไมเราถึงทำไม่ได้ทั้งๆ ที่รู้แล้ว และทำแล้วแต่ก็ยังไม่ได้

มีผู้รู้ท่านหนึ่ง บอกว่า ต้องมีฐานที่มั่นคงซะก่อนถึงจะสร้างต่อไปได้ ก็เหมือนกับเราจะสร้างบ้านก็จะต้องมีเสาเข็มที่มั่นคงแข็งแรงถึงจะสร้างชั้นที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ต่อไปได้ อยู่ดีๆ จะมาสร้างช้นที่ 2 เลยมันเป็นไปไม่ได้

แล้วอะไรหละที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ..........


ศีล ครับ

อ้างคำพูด:
ถามจริงๆ เถอะครับว่า คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้

"ศาสนาพุทธเสื่อมเพราะชาวพุทธหรือเสื่อมเพราะคนศาสนาอื่น"

1.ความคิดเห็นส่วนตัว คือ............................
2.ความคิดเห็นเมื่อได้ศึกษาในพระไตรปิฎกมาแล้วเป็นอย่างดี คือ ........................

ลองดูครับ


ตอบ1 เป็นศาสนาเพราะมีองค์ประกอบครบคือ ศาสดา พระธรรมคำสอน และสงฆ์สาวก....
เสื่อมก็ด้วยไม่ครบองค์ประกอบ แต่ก็มิใช่ว่าเสื่อมไปทั่ว แต่จะเสื่อมเฉพาะผู้ที่มีศาสนาไม่ครบองค์ประกอบเท่านั้น และโดยมากคือ ไม่มีสงฆ์ สาวกที่เห็นชอบและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
ส่วนผู้ที่มีครบองค์ประกอบคือ มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง มีพระธรรมคำสั่งสอนเป็นที่พึ่ง และปฏิบัติตามคำสอนจนเห็นแจ้งในธรรมคำสอนก็เรียกได้ว่าพบ สงฆ์ ดังนี้แล้วศาสนาจะไม่มีวันเสื่อมจากผู้นั้นเลย

ตอบ2 ตอบเหมือนกันได้ป่าว :b10: เพราะไม่ค่อยได้ศึกษาจากพระไตรปิฎกครับ :b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
บัว 4 เหล่า เขียน:
คุณเคยคิดไหมว่า ทำไมการปฏิบัติธรรมของเราไม่ก้าวหน้าทั้งๆ ที่เราก็ทั้งเรียน ทั้งศึกษา ทั้งปฏิบัติ

และรู้ขั้นตอนทุกอย่างหมดแล้วแต่พอมาปฏิบัติแล้วทำไมไม่ก้าวหน้า ไม่เกิดปัญญารู้ตาม ทำไมและทำไม

เราก็รู้แล้วนี่ว่า การจะเป็นพระโสดาบัน พระสักกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์นั้น ต้องเป็นผู้ที่คุณลักษณะอย่างไร แต่ทำไมเราถึงทำไม่ได้ทั้งๆ ที่รู้แล้ว และทำแล้วแต่ก็ยังไม่ได้

มีผู้รู้ท่านหนึ่ง บอกว่า ต้องมีฐานที่มั่นคงซะก่อนถึงจะสร้างต่อไปได้ ก็เหมือนกับเราจะสร้างบ้านก็จะต้องมีเสาเข็มที่มั่นคงแข็งแรงถึงจะสร้างชั้นที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ต่อไปได้ อยู่ดีๆ จะมาสร้างช้นที่ 2 เลยมันเป็นไปไม่ได้

แล้วอะไรหละที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ..........


ศีล ครับ


หะ หะ หะ
:b22: :b22: :b22:
เมาต่อดีกว่า...เอิ๊ก...เอิ๊ก...เอิ๊ก (ตอนนี้สามเด้งแล้ว)
นี่คุณกำลังชักชวนสมัครพรรคพวกมาไล่ตบแมงทุศีล...รึเปล่าครับนี่
:b32: :b32: :b32:

ok ครับ ถ้าลูกไม้นี้ ทำให้คุณสามารถสรรหาธรรมสนุก ๆ
มากด้วยปัญญา แต่เบาสมอง มาฝากสมาชิกในที่นี้ได้
ผมจะสวมบทแมงทุศีลเองครับ
:b4: :b4: :b4:

แต่..ไอ้ตะบองที่จะนำมาใช้ในการแสดง...
ช่วยพันสำลีไว้ให้หนา ๆ หน่อย...นะครับ
:b9: :b9: :b9:

แล้วสิ้นปี อย่าลืมบอก admin ให้พิจารณารางวัลตุ๊กตาทองให้ผมด้วยนะครับ
:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:

:b22: :b22: :b22:
เมาต่อดีกว่า...เอิ๊ก...เอิ๊ก...เอิ๊ก (ตอนนี้สามเด้งแล้ว)

เอาอีกซะอย่างซิครับจะได้ครบ (4x100) :b13: :b22: :b22:
yahoo เขียน:
นี่คุณกำลังชักชวนสมัครพรรคพวกมาไล่ตบแมงทุศีล...รึเปล่าครับนี่
:b32: :b32: :b32:

ok ครับ ถ้าลูกไม้นี้ ทำให้คุณสามารถสรรหาธรรมสนุก ๆ
มากด้วยปัญญา แต่เบาสมอง มาฝากสมาชิกในที่นี้ได้
ผมจะสวมบทแมงทุศีลเองครับ
:b4: :b4: :b4:


ป่าวเลยครับ...ผมจะทำอย่างนั้นไปทำไมล่ะครับ กระผมออกจะชื่นชมท่านนะครับ(ไม่งั้นคงไม่ตามหยอกท่านอย่างนี้) แต่ที่ตอบไปนั้นเพราะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ

yahoo เขียน:
แต่..ไอ้ตะบองที่จะนำมาใช้ในการแสดง...
ช่วยพันสำลีไว้ให้หนา ๆ หน่อย...นะครับ
:b9: :b9: :b9:

อย่างท่านต้องตีด้วย ถาด ครับจึงจะฮา... :b2: :b2: (เหมือนตลกคาเฟ่).... :b29: ล้อเล่นๆ :b29: จริงๆแล้วอย่างท่านนั้นเหมาะสมกับกระบองที่ทำจากลำไม้ไผ่ ยาวประมาณซัก ข้อเศษ น่าจะพอเหมาะมือ (จะตีให้ควันโขมงเลย :b13: :b13: )

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระรัตนตรัยครับ

:b1: cool :b1:

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาเป็นฐาน...ปัญญาเป็นยอดยิ่ง

เริ่มต้นด้วยปัญญา...มั่นคงด้วยปัญญา...ตัดขาดด้วยปัญญา...หลุดพ้นด้วยปัญญา...จบลงด้วยปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ปัญญาเป็นฐาน...ปัญญาเป็นยอดยิ่ง
เริ่มต้นด้วยปัญญา...มั่นคงด้วยปัญญา...ตัดขาดด้วยปัญญา...หลุดพ้นด้วยปัญญา...จบลงด้วยปัญญา


ขอบังอาจ(เดา)แปลความหมายหน่อยครับ ผมอยากลองทายใจคุณศิรัสพลเล่น
คงไม่ว่านะครับ ขออนุญาตก่อน ให้หรือเปล่า ไม่สนอ่ะ :b12: :b12: :b12:

เริ่มต้นด้วยปัญญา สุต จินตะ สัมมาทิฏฐิในมรรค ๘ สัมมาสังกัปปะ (รู้เข้าใจระดับอาสวะ)
มั่นคงด้วยปัญญา สัมมาวาจา สัมมาวายาม สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
ตัดขาดด้วยปัญญา มรรค ๘ (ตัดกิเลสเป็นข้อๆไปตามลำดับ หลุดพ้นไปบางข้อ อริยชนเบื้องต้นขึ้นไปแต่ยังไม่สุด)
หลุดพ้นด้วยปัญญา มรรค ๘ (ตัดกิเลสสังโยชน์สิ้งเชิง อรหันต์บุคคล)
จบลงด้วยปัญญา นิพพาน

แวะมาทักทายครับ เห็นว่าคุณไปดุเดือดอยู่ที่ห้องศาสนา แต่ (มาดนิ่มดีจริง) :b12: :b12: :b12:

ถ้าล่วงเกินข้อความโปรดอโหสินะครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ศรัทธาคือฐานรากอันมั่นคง ถ้าเปรียบการสร้างบ้าน
ศรัทธาคือเสาเอก เสาหลัก ยังประโยชน์อื่นๆ อันได้แก่ตัวเรือน ฝาเรือน หลังคาเรือนให้เกิดขึ้นได้
ศรัทธาอันตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ย่อมนำประโยชน์ให้สำเร็จ

:b53: :b52: :b51: :b54:

เพาะบ่มศรัทธาของตนไว้ในใจ...พร้อมกระทำมันอย่างไม่ลดละ แม้จะเจออุปสรรค ก็ต้องอาศัยความอดทนแม้ว่าฝั่งที่จะไปยังมองไม่เห็น ก็อาศัยศรัทธาที่มี และ ความเพียรของตน ด้วยหวังว่า หากเราไม่ถอยความเพียรแล้วศรัทธาที่ตั้งมั่นของเราจะยังประโยชน์ให้สำเร็จ....

:b44: :b49: :b48: :b47: :b46: :b45:

ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่มาร... หลังจากมารกราบทูลให้เสด็จครองราชย์ในแคว้นที่พระราชาปกครองไม่ดี ทรงชี้แจงว่า คนเช่นพระองค์ไม่มีความคิดน้อมไป เพื่อความเป็นเช่นนั้นแล้ว และสิ่งที่พระองค์สอนก็ต่างกับที่มารสอน เพราะพระองค์สอนให้คนทำเหตุแห่งความสุข จากนั้นตรัสภาษิตเป็นอันมาก รวมทั้งภาษิตนี้, ศรัทธา คือความเลื่อมใส ความเชื่อในสิ่งที่ควร มีพระรัตนตรัยเป็นต้น, ความเลื่อมใสที่ทรงประสงค์เพื่อความสุขอันยิ่ง คือ ความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และข้อปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ (ธ.อ.๔/๒๖๐-๒๖๕)

ศรัทธา เป็นเพื่อนสองของคน

ภาษิตนี้ เทวดาตนหนึ่งเป็นผู้กล่าวต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน, ศรัทธาได้แก่ความเลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส มีพระรัตนตรัยเป็นต้น, เป็นเพื่อนสองของคน หมายถึง บุคคลทั้งหลายเกิดในสวรรค์ หรือเข้าถึงนิพพานได้ ก็ด้วยศรัทธา มีศรัทธาเป็นเพื่อนดำเนินชีวิตที่ดีงาม เป็นเพื่อนในการทำกุศล เพื่อนชี้นำประโยชน์ (สารตฺถ.๑/๑/๑๙๗-๑๙๙)

ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ทำประโยชน์ให้สำเร็จได้

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เทวดาตนหนึ่ง อันเทวดาทูลถามว่า "อะไรเล่าตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ?" จึงตรัสตอบด้วยภาษิตนี้, ศรัทธา ได้แก่ ความเลื่อมใส ความเชื่อในสิ่งที่ควรเลื่อมใส ควรเชื่อ มีพระรัตนตรัยเป็นต้น, ศรัทธาที่ตั้งมั่นสูงสุด ได้แก่ ศรัทธาที่เกิดแล้วด้วยอริยมรรคของพระอริยเจ้าทั้งหลาย... ศรัทธาลองจากนั้น ได้แก่ ศรัทธาอันเป็นเหตุให้กระทำประโยชน์ต่างๆได้ เช่น ศรัทธาเป็นเหตุให้ทำงาน ฟังธรรม และช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น (สารตฺถ.๑/๑/๒๗o-๒๗๑)

ศรัทธาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของคนในโลกนี้

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เทวดาตนหนึ่ง อันเทวดาทูลถามว่า "อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐของคนในโลกนี้?", ทรัพย์ได้แก่ เงิน ทอง เพชร เป็นต้น ทรัพย์เหล่านี้ ไม่อาจกระทำให้บุคคลเข้าถึงพระนิพพานได้ แต่ทรัพย์ คือศรัทธาสามารถทำให้เข้าถึงพระนิพพานได้ จึงประเสริฐกว่า (สารตฺถ.๑/๑/๓oo-๓o๑)

ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียงทาง

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เทวดาตนหนึ่ง อันเทวดาทูลถามว่า "อะไรเล่ารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง?", จึงตรัสตอบด้วยภาษิตนี้, เสบียง หมายถึงกุศลทั้งหลาย, เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ทานและรักษาศีล เป็นต้น (สารตฺถ.๑/๑/๓๑๔

ข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่อาฬาวกยักษ์ อันยักษ์ทูลถามว่า "บุคคลจักข้ามโอฆะได้อย่างไร?", โอฆะ ได้แก่ห้วงน้ำ ๔ คือ กาโมฆะ-ห้วงน้ำคือกาม, ภโวฆะ-ห้วงน้ำคือภพ, ทิฏโฐฆะ-ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และอวิชโชฆะ-ห้วงน้ำคืออวิชชา, บุคคลสามารถข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเหล่านี้ได้ ด้วยความมีศรัทธาในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มุ่งศึกษาสำเหนียกในข้อปฏิบัติ เพื่อออกจากทุกข์ตามที่ทรงแสดงไว้ คืออริยมรรคมีองค์ ๘

๑. ชราสูตร

[๑๕๘] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอ ยังประโยชน์ให้สำเร็จจน
กระทั่งชรา อะไรหนอ ตั้งมั่นแล้วยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จ อะไรหนอ เป็นรัตนะได้.


[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ใหสำเร็จ
ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
บุญอันโจรลักไปไม่ได้


รูปภาพ
พระวักกลิเถระ

การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก และการดำรงชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ มีจิตใจสูงส่ง มั่นคงในคุณธรรม ดำเนินอยู่บนเส้นทางการสร้างบารมี เส้นทางแห่งอริยมรรคของพระอริยเจ้าให้ได้ตลอดนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน

ผู้มีบุญมีดวงปัญญาบริสุทธิ์ มีดวงใจที่ผ่องใสเท่านั้น จึงจะใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เดินหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

เพราะฉะนั้น เราจะต้องสั่งสมบุญให้มากๆ และมีความหนักแน่นตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี รักในการประพฤติปฏิบัติธรรม หมั่นนั่งธรรมะทุกๆ วัน อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว ต้องตั้งใจมั่นอย่างนี้ จึงจะพบกับความสุขสวัสดี ได้ที่พึ่งที่ระลึกภายในคือพระรัตนตรัยกันทุกคน

:b39: :b47: :b46: :b45: :b51: :b52:

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในอนุตตริยสูตรว่า

“ ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ ไปดูรัตนะคือช้างบ้าง ไปดูรัตนะคือม้าบ้าง ไปดูรัตนะคือแก้วมณีบ้าง หรือไปเพื่อเห็นรัตนะสูงต่ำ ไปเพื่อเห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ปฏิบัติผิด ภิกษุทั้งหลาย ความเห็นนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าความเห็นนั้นไม่มี ก็แต่ความเห็นนั้นนั่นแล ยังทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อพระนิพพาน
:b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนชนใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการเห็นทั้งหลาย ที่ชนมีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคตนั่น ชื่อว่าเป็นศรัทธาที่ยอดเยี่ยม ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งโสกะ และปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุเญยธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ทัสนานุตริยะ คือการเห็นอันยอดเยี่ยม”

ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป เช่น หลายคนบอกว่า มนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากลิง บ้างก็บอกว่า มนุษย์เกิดมาจากปากของพรหม เป็นต้น ส่วนจะเชื่อถือกันอย่างไรนั้นเป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเหล่านั้น ไม่ได้ทำให้คนเชื่อไปสู่สวรรค์ และนิพพาน

:b41: :b41: :b41: :b41:

สิ่งสำคัญ ความเชื่อที่จะทำให้เราบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากวงเวียนของวัฏฏะได้ ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ต้องอยู่บนพื้นฐานของสัมมาทิฐิ คือความเห็นที่ถูกต้อง เมื่อเรามีความเชื่อที่ถูกต้องแล้ว ความเชื่อนั้นจะปรุงแต่งใจของเรา ให้เป็นความศรัทธามั่น ไม่คลอนแคลน เมื่อศรัทธาเราเปี่ยมล้น ไม่ว่าจะทำบุญทำกุศลอะไร ก็จะมีผลานิสงส์มาก และสามารถนำเราไปสู่จุดสูงสุดของชีวิต คือการได้บรรลุธรรมาภิสมัยได้

:b48: :b43: :b43: :b43: :b43:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึง คุณ ฌาน


ภิกษุทั้งหลาย ส่วนชนใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการเห็นทั้งหลาย ที่ชนมีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคตนั่น ชื่อว่าเป็นศรัทธาที่ยอดเยี่ยม ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งโสกะ และปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุเญยธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ทัสนานุตริยะ คือการเห็นอันยอดเยี่ยม”



ก็แค่มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว แค่นี้

เรายังทำกันไม่ได้เลย แล้วจะเรียกว่า ทัสนานุตริยะ หรือการเห็นอันยอดเยี่ยมได้อย่างไร

ขอฟังความคิดเห็นจากคุณ ฌาน หน่อยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปัจจัยให้เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย คือ

การฟังสัทธรรมหนึ่ง
การคบสัตบุรุษหนึ่ง เป็นต้น

(จากตัณหาสูตร)

การคบสัตบุรุษ

ได้คบสัตบุรุษ-ได้ฟังสัทธรรม-ได้ศรัทธา ๓ ข้อนี้บริบูรณ์เป็นหมู่แรก ก็มี "เหตุ" ที่ต่อให้เป็น "ผล" แล้วก็ไปตั้งต้นเป็น"เหตุ" ก่อให้เกิด"ผล" ต่อและต่อๆไปเป็น..โยนิโสมนสิการ-มีสติสัมปชัญญะ-สำรวม อินทรีย์ ๖ จนที่สุดหมู่สุดท้าย..สุจริต ๓-สติปัฏฐาน ๔-โพชฌงค์ ๗ ก็เข้าสู่..วิชชาและวิมุติบริบูรณ์

หากไม่ได้ "คบสัตบุรุษ" ตัวจริง ก็ย่อมยาก เพราะไม่มีเชื้อที่เป็นของจริงหรือไม่มีต้นทางที่จะนำไปสู่"สัมมาทิฏฐิ"ได้แน่แท้ เพราะศาสนา พุทธนั้น ลึกซึ้ง (คัมภีรา) เห็นตามได้ยาก (ทุททสา) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา) สงบชนิดพิเศษ (สันตา) สุขุมประณีตยิ่ง (ปณีตา) รู้ไม่ได้ด้วยตรรกศาสตร์ หรือคาดคะเนเอาไม่ได้ (อตักกาวจารา) ละเอียดลออ หมดจด ถึงขั้นนิพพาน (นิปุณา) รู้ได้เฉพาะบัณฑิตจริงเท่านั้น (ปัณฑิตเวทนียา)

เมื่อคนผู้ใดได้คบสัตบุรุษ ซึ่งมีภูมิในพุทธธรรมเป็น"สัมมาทิฏฐิ" เป็นอาริยะแท้ เป็นโลกุตระแท้ คนผู้นั้น ก็จะได้ฟัง สัทธธรรม ที่เป็นอาริยธรรมแท้ๆ อย่าง ไม่ผิดไม่เพี้ยนออกไปนอกลู่นอกทาง เพราะผู้มีของจริง ก็ต้องพูด จากของจริงที่ตนมีออกมาแน่ๆ แม้จะไม่เป็น ภาษาวิชาการก็ตาม ก็ย่อมเป็นการบอกของจริง ที่ตนมีนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับภาษาวิชาการ ของคนผู้ไม่บรรลุธรรมรุ่นหลัง ที่บัญญัติขึ้นมา ก็เป็นได้ แน่นอน

การได้คบสัตบุรุษ จึงได้ฟังสัทธรรม หรือได้ฟังสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่จริงแท้ โดยเฉพาะพุทธธรรมที่เป็นอาริยะ เป็นโลกุตระ เป็นอเทวนิยม นี่คือสิ่งที่เกิดต่อจากคบสัตบุรุษ ลำดับ ๒ จึงได้ฟังสัทธรรม

ครั้นได้ฟังสัทธรรม ได้รับ "ความรู้อันเป็นพุทธธรรมที่ถูกต้องจริงๆ" ยิ่งแท้นั้นๆ ผู้ที่เกิดปัญญาเข้าใจได้ ก็จะ"เชื่อ" นี่คือ ลำดับ ๓ "ศรัทธา" เป็นการ "เชื่อ" ที่เกิดต่อตามลำดับ ๑ และ ๒ มาเป็นลำดับๆ และเป็น "ความเชื่อ" ชนิดที่สามารถนำพาผู้"เชื่อ"ไปสู่ความเป็นอาริยบุคคลได้แน่ๆ เพราะสืบทอดจากเชื้อจริง จาก อาริยบุคคลจริง ย่อมมีส่วนถูกต้อง แต่ถ้าลำดับ ๑ ไม่ได้คบสัตบุรุษ ก็แน่นอนว่าลำดับ ๒ ย่อม ไม่ได้ฟัง สัทธรรม ลำดับ ๓ ศรัทธา ก็ "เชื่อ" มิจฉาทิฏฐิ

เห็นชัดไหมว่า ถ้าไม่คบสัตบุรุษ ก็ย่อมยังไม่มีของจริง เพราะผู้ที่ยัง ไม่มีของจริง ก็จะอธิบายด้วย ตรรกศาสตร์ เท่านั้น ที่สำคัญคือในจิตใจของผู้ที่ยัง ไม่ใช่สัตบุรุษ ยังมีกิเลสอยู่แน่ๆ กิเลสนี่แหละตัวร้าย ที่ทำให้ความผิดเพี้ยน เกิดขึ้นได้จริง คำอธิบายของ ผู้ยังไม่ใช่สัตบุรุษ จึงไม่มีหลักประกันที่ไว้ใจได้

ดังนั้น จาก"อวิชชาสูตร" อาหารทางธรรมหมู่แรก ๓ ข้อ คือ คบสัตบุรุษ-ฟังสัทธรรม-เกิดศรัทธา จะเห็นได้ ชัดว่า เป็น "ต้นตอหรือต้นเหตุ"ทีเดียวในความเป็นคน ที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมเพื่อไปสู่ "วิชชาและวิมุติ" เพราะสำคัญมากยิ่ง ถ้าต้นตอของพุทธธรรมไม่เป็น"อาริยธรรม"ที่ถูกต้องแท้จริง "ผล"ที่จะเกิดต่อตามมา ก็แน่นอนว่า ความผิดเพี้ยนย่อมเป็นไปได้ เพราะไม่มีหลักประกันที่เป็นจริง อย่างแน่แท้แม่นมั่น



...ยอดเขาแม้สูงเสียดฟ้า ก็ไม่อาจต้านทานพลังศรัทธาของมนุษย์ที่จะปีนป่ายไปถึง...
...อุปสรรคจะหนักหนาสาหัสเพียงใด ขอเพียง มีใจศรัทธาก็สามารถพิชิตอุปสรรคนั้นได้...


เจริญในธรรมครับ :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


"การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยัง สติ สัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์
ย่อมยัง การสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์..."

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วคุณ ฌาน คิดว่า ในปัจจุบันนี้จะมีส่วนช่วยเหลือสังคมยังไงบ้างหละครับเพราะ สัตบุรุษ อย่างที่คุณ ฌาน ว่ามานั้นหายากมาก ยิ่งตอนนี้มักจะมีแต่พวกคิดเอง เออเอง คาดเดาเอาเองซะเป็นส่วนมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยกับท่าน ฌาณ ครับ
การบำเพ็ญธรรม ต้องมี ศรัทธา ที่มั่นคงก่อน :b8:

"ศรัทธาเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลมูล"
"ศรัทธา เป็นรากฐานแห่งจิตโพธิ"




:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แก้ไขล่าสุดโดย อมิตาพุทธ เมื่อ 18 พ.ค. 2009, 19:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับคำตอบของคุณฌานครับ :b8:

อ้างคำพูด:
แล้วคุณ ฌาน คิดว่า ในปัจจุบันนี้จะมีส่วนช่วยเหลือสังคมยังไงบ้างหละครับเพราะ สัตบุรุษ อย่างที่คุณ ฌาน ว่ามานั้นหายากมาก ยิ่งตอนนี้มักจะมีแต่พวกคิดเอง เออเอง คาดเดาเอาเองซะเป็นส่วนมาก


ผมขอเสริมคำตอบของคุณฌาน และเสนอแนะเจ้าของกระทู้ถึงวิธีการหนึ่งที่มีการใช้ในสมัยพุทธกาลเพื่อใช้พิจารณาด้วยปัญญาก่อนว่าใครพอจะเป็นสัตตบุรุษได้ในระดับเบื้องต้น และนำมาซึ่งการคบหา มีศรัทธามั่นคงต่อไปดังนี้

พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ

[๖๕๗] พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคม
แห่งหนึ่งอยู่. คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม
๓ ประการ คือ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ มีจิตอันธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใด
พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
เช่นนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่
ตั้งแห่งความโลภ ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือว่าสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น
กาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย. อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกาย
สมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้
ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย. เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัด เธอ
บริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
อย่างนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึง
กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย. อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกาย
สมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิต
พึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย. เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ย่อมเห็น
แจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย เมื่อนั้นเขาย่อมใคร่ครวญเธอให้
ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง มีจิตอันธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
เช่นนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งความหลง ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น
กาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย. อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร
วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็น
ได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขา
เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขา
เงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อม
เกิดฉันทะ เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียง
แล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้ง
แทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติ
เพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A=10397&w=พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ

ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ อาจจะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ขอให้เจริญในธรรม :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร