วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


"อินทรีย์ห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา"

มีอะไรเพียง ๑ ได้ถึง ๕ ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕

***********************************

ลองร่วมกันตอบคำถามดูนะครับ ว่าอะไรที่มีเพียง ๑ ในอินทรีย์ห้าจะได้ครบทั้ง ๕ ประการได้ และขาดอะไรไปเพียง ๑ จะไม่ครบทั้ง ๕ อย่าง สิ่งนั้นคืออะไร และเพราะอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาข้อเดียวครับ......นินนิน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ :b8:

คุณหล่อ ลูกแม่อ้วน กรุณาบอกเหตุผลเพิ่มเติมด้วยนะครับ ว่าเพราะอะไร แล้วทำไมมีข้ออื่นอย่างเดียวไม่ได้หรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 21:53
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติค่ะ มีสติแล้วทุกๆ ข้อจะตามมาเองค่ะ
ในทางตรงข้ามถ้าขาดสติทุกๆ อย่างก็ไม่เกิดขึ้นค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำตอบครับคุณมาริสชญา

ผมยังไม่เฉลยนะครับ รอคำตอบจากท่านอื่นๆ ก่อนครับ ตอบกันเยอะๆ นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
"อินทรีย์ห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา"

มีอะไรเพียง ๑ ได้ถึง ๕ ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕

***********************************

ลองร่วมกันตอบคำถามดูนะครับ ว่าอะไรที่มีเพียง ๑ ในอินทรีย์ห้าจะได้ครบทั้ง ๕ ประการได้ และขาดอะไรไปเพียง ๑ จะไม่ครบทั้ง ๕ อย่าง สิ่งนั้นคืออะไร และเพราะอะไร


มีศรัทธาเพียง ๑ ได้ถึง ๕ ขาดศรัทธาเพียง ๑ ไม่ถึง ๕

คร้าบบบ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
มีอะไรเพียง ๑ ได้ถึง ๕

ขอตอบว่า ปัญญา ครับ เพราะ ถ้ามีปัญญา ก็จะรู้ชั่ว รู้ผิด อยู่เหนือความหลงเข้าใจผิดทั้งหลาย
ก็จะทำให้ มองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
ศรัทธาก็จะเป็นใหญ่ เหนือความไม่เชื่อ ความดื้อถือรั้นไปในทางที่ผิดต่างๆ
วิริยะคือความเพียรก็จะเป็นใหญ่เหนือความเกียจคร้าน เอาชนะความเกียจคร้านได้
สติก็จะเป็นใหญ่เหนือความหลงลืมสติ คือสติเองก็จะตั้งมั่นยิ่งขึ้น
สมาธิก็จะเป็นใหญ่เหนือความฟุ้งซ่าน จิตจะได้ความสงบ จะข่มจิตให้สงบได้
ศิรัสพล เขียน:
ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕

ขอตอบว่า ศรัทธา ครับ
มีคำกล่าวว่า "ศรัทธาเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลมูล ศรัทธาเป็นรากฐานของจิตโพธิ"
ศรัทธา คือต้องเชื่อมั่นว่าธรรมะ สามารถนำพาให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารได้
หลังจากที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นแล้วจึงจะเกิดความสนใจต่อธรรมและปฏิบัติต่อไปได้

ขอตอบแค่นี้ครับ ไว้รอดูเฉลยดีกว่า :b20:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอลองตอบปัญหาด้วยปัญญาเท่าทีมีค่ะ

:b47:ขอตอบว่า ศีล
ศีล ชื่อว่าเป็นที่ตั้งของ กุศลทั้งปวง เปรียบเหมือน
พื้นดิน ต้นไม้จะเจริญงอกงามได้ ดินต้องดี ขาดศีลแล้วคือ
ขาดที่ตั้ง อินทรีย์ 5 และกุศลใด ๆไม่ย่อมไม่เกิดขึ้น

:b47: ศรัทธา มีลักษณะ ผ่องใส และแล่นไป
:b47: วิริยะ มีลักษณะ ค้ำจุน ไว้
:b47: สติ มีลักษณะ เตือน และ ถือไว้
:b47: สมาธิ มีลักษณะ เป็นหัวหน้า
:b47: ปัญญา มีลักษณะ ตัด และทำให้สว่าง

:b8:สาธุค่ะ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุ่ยๆๆ แล้วววกัน ลืมบอกเหตุผล

ถ้าไม่มีศรัทธา บอกก็จะไม่เชื่อ สอนก็จะไม่เชื่อ แนะก็จะไม่เชื่อ เรียนแล้วก็จะไม่เชื่อ
อ่านแล้วก็จะไม่เชื่อ เห็นแล้วไม่เชื่อ
แล้วก็จะไม่ทำ(ไม่มีวิริยะ ความเพียร)
เมื่อไม่ทำก็จะไม่มีสติ เมื่อไม่มีสติรั้งจิตก็จะไม่เกิดสมาธิ เมื่อสมาธิไม่มีปัญญาก็ไม่มี

ถ้ามีศรัทธา บอกก็เชื่อ(ทั้งที่ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก กรณีนี้เอาถูกไว้ก่อน) สอนก็เชื่อ
แนะก็เชื่อ เรียนก็เชื่อ อ่านแล้วก็เชื่อ ยิ่งเห็นก็ยิ่งเชื่อ แล้วก็ทำ(วิริยะ ความเพียร)
เมื่อทำสติก็มี เมื่อสติมีมารั้งจิต สมาธิก็ตามมา เมื่อสมาธิตามมา ปัญญาที่รอบรู้ก็เกิดตามมา

เอ่ออออ ถ้าไม่มีศรัทธาสักอย่าง จบทุกเรื่องไม่ไช่แค่เรื่องธรรมะนะจ๊ะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ กันแน่
ขอตอบบ้าง..ผิดถูก ไม่ว่ากันนะ.. :b28:

ขาดปัญญาทุกอย่างก็ขาด มีปัญญาทุกอย่างก็มี

ศรัทธา ที่ขาด ปัญญา ก็กลายเป็นหลง งมงาย ถูกหลอก ถูกต้ม
วิริยะ ที่ขาดปัญญา ก็เท่ากับ เพียรแบบไร้แนวทาง สะเปะสะปะ
สมาธิ ที่ขาดปัญญา ก็กลายเป็น มิจฉาสมาธิและเกิดวิปัสสนูกิเลสได้ง่าย
สติ ขาดปัญญา ก็เป็นมิจฉาสติ ระลึกในทางที่ผิด ทำให้เกิดราคะ โลภะ โทสะ โมหะ

ปัญญาที่กล่าวถึงนี้ คือ "สุตตมัยปัญญาและจินตามัยปัญญา"

ส่วนปัญญา ในข้อสุดท้ายของอินทรีย์ ๕ ท่านหมายถึง "วิปัสสนาหรือภาวนามัยปัญญา"

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: รู้สึกว่าจะมีคนแย่งผมตอบซะแล้ว จริงๆ ชื่อก็บอกว่า อินทรีย์5 หลักธรรมห้าข้อ ที่มารวมเข้าด้วยกัน หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค จริงๆขาดเพียงข้อใด ข้อหนึ่ง ก็ไม่ใช่อินทรีย์5แล้ว แล้วไม่มีข้อใดข้อหนึ่งทีำ่สำคัญหรือยิ่งหย่อนไปกว่ากันเท่าไร แต่ถ้าจะตอบตามกระทู้ตามความเข้าใจผมขอเลือก "สติ" แต่ไม่ใช่ว่าขาดเพียงสติ ข้อเดียว แล้วทำให้ไม่ใช่อินทรีย์5(หมายถึงทุกๆข้อ) เพียงแต่จะบอกว่า ธรรมะ 5 ข้อนี้ ถูกครอบคลุมด้วยตัว "สติ"อยู่ นั่นหมายถึง ธรรม 4 ข้อที่เหลือมี "สติ" เป็นเครื่องเกื้อหนุนอยู่ทุกข้อ :b39:

- ข้ออธิบายถึงอินทรีย์5 และ พละ5 มีธรรมะพื้นฐาน ห้าข้อเหมือนกันครับ และทั้งสองอย่างนี้จะต้องมี
ไว้สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างมาก เพราะอินทรีย์5 เป็นธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้นบำเพ็ญบารมีในการปฏิบัติต้องอาศัยอินทรีย์5 เป็นพื้นฐานอย่างยิ่ง แต่เมื่อมีอินทรีย์5 แล้ว ต้องการจะสู้รบ หรือแผ้วถาง กิเลสคือ ..."ข้าศึกพรหมจรรย์นั้น" ต้องอาศัย พละ5 เพราะเป็น พละ ธรรม อันทรงพละกำลัง ที่สามารถยืนยัดสู้กับกิเลสแต่ละตัวที่มีอำนาจและขจัดกิเลสให้ลดน้อยลงได้โดยตรง ผู้ที่ได้อินทรีย์5 และ พละ5 อย่างบริบูรณ์ย่อมจะหนุนนำธรรมขั้นสูงที่ละเอียดขึ้นขั้นต่อไป ได้ตามลำดับ

เมื่อดูแล้วมีจุดเริ่มต้นที่ ."ศรัทธา" สุดท้ายปลายทาง คือ "องค์ปัญญา" ระหว่างที่เลือกเดินจากต้นไปท้าย มีสติ(เป็นตัวที่มีบทบาทมากที่สุด) วิริยะ สมาธิ ส่งเสริมกันและกันอยู่ :b40: :b39:
:b44:

ในเรื่องของอินทรีย์5 ที่บอกว่า"สติ" มีบทบาทมากที่สุดเพราะว่า สติ ปรากฏอยู่ใน สติปัฏฐาน4 หรือ มหาสติ หรือ มหาสติปัฏฐาน หรือแม้แต่ในอารมณ์ของวิปัสสนาของต้องพึ่งคำว่า "สติ" อย่างมากในการดู."รุปกับนาม หรือ กายกับใจ หรือดูขันธ์ 5"
สตินั้นเป็นธรรมะข้อเดียวที่ทำให้มาก หรือเจริญให้มากกว่าทุกข้อได้ ยิ่งมีมากเท่าไรยิ่งดี ยิ่งมีประโยชน์มากเท่านั้น

ส่วนธรรมะ 4 ข้อที่เหลือคือ ศรัทธา วิริยะ สมาธิ ปัญญา ต้องให้มีอย่างละเท่าๆกัน อย่าให้น้อยหรือมากไปกว่ากัน ส่วนตัว ."สติ"ส่วนใหญ่เราจะขาดหรือไม่ค่อยมีหรือมีน้อยไป เมื่อทำให้มากเข้าไว้จนกำลังใกล้เคียงหรือเกิน 4 ข้อที่ว่านี้ จนกลายเป็น5 ข้อที่มีกำลังเท่าเทียมกันหมดตอนนั้นจะได้ ปัญญาทางวิปัสสนาหรือ ที่เรียกว่า "ญาณ" เกิดขึ้นแล้ว
:b39: :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


แก้ไขล่าสุดโดย อินทรีย์5 เมื่อ 06 มิ.ย. 2009, 17:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขาดข้าวปลาอาหาร
อะไรก็ไม่เหลือ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


มีศรัทธาเพียง 1 ได้ถึง 5
เพราะหากไม่มีศรัทธาแล้ว 4 ข้อที่เหลือก็ไม่เกิด

ขาดปัญญาเพียง 1 ไม่ถึง 5
เพราะหากขาดปัญญาก็จะไม่สามารถปรับอินทรีย์ให้อยู่ในปฏิปทาได้

:b6: :b6: :b6:

กลับลำคำตอบของท่านอมิตาพุทธซะงั้นเลยเรา :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีศรัทธาแต่ปัญญาอ่อน เรียกว่า งมงาย ในโลกนี้ยังมีสิ่งให้ศรัทธาอีกมากมาย :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


โมทนากับการตั้งกระทู้ของคุณ ศิรัสพล ด้วยครับ :b8:

อ้างคำพูด:
"อินทรีย์ห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา"

มีอะไรเพียง ๑ ได้ถึง ๕ ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕


ขอตอบประเด็นแรกนะครับว่า มีศรัทธา 1 ได้ถึง 5

มีศรัทธา...ย่อมนำมาซึ่ง วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

เหตุผล (วิตถตสูตร)

ก็เพราะศรัทธานี้
เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่าง

ผู้มีศรัทธาเท่านั้นจะทำบุญมีทานเป็นต้นได้
แล้วจะประสบทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจอันมโหฬาร

และจะยังประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นนั่นแหละให้ถึงพร้อมด้วยบุญนั้น
แต่บุญเหล่านั้นจะไม่อำนวยประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแก่ผู้ไม่มีศรัทธาเลย.

พึงทราบว่า ศรัทธาเป็นลาภที่ได้ด้วยดี ด้วยประการดังพรรณนามานี้.


ศรัทธารวบรวมสะเบียงไว้บ้าง
ศรัทธาเป็นเพื่อนที่สองของบุรุษบ้าง
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจของบุรุษในโลกนี้บ้าง
ช้างตัวประเสริฐมีศรัทธาเป็นงวงบ้าง
ศรัทธาเป็นพืช เป็นตบะ เป็นฝนบ้าง.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกดำรงอยู่ในศรัทธา
ย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธาบ้าง


ศรัทธา (สันสกฤต : ศฺรทฺธา) หรือ สัทธา (บาลี : สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ
ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล


สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้

ศรัทธาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของมนุษย์
ท่านจึงได้เรียกว่าพลัง หรืออินทรีย์


ศรัทธา คือความเชื่อมั่นในใจของตนว่า
ทำสิ่งนี้ถูกต้องแล้ว
ทำสิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่
เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น
เป็นความเชื่อมั่นในใจของตนเรียก ศรัทธา


สทฺธาย ตรติ โอฆํ

จะข้ามพ้นมหารรณพภพสาสารได้ ก็เพราะศรัทธา


ศรัทธามีแล้ว วิริยะมันก็ไปด้วยกัน
อย่างเชื่อมั่นว่าขุดน้ำที่ตรงนี้
มันจะต้องมีน้ำแน่นอนก็ขุดลงไป
การขุดนี้เรียกว่า วิริยะ ความเพียร ขุดจนไปถึงน้ำ


ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก(คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ

• มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
• มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
• มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
• มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้


ศรัทธาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า
กำลัง คือ ศรัทธา.


ดังนั้นถ้ามีศรัทธาตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วย่อมยังให้ธรรมข้ออื่นๆเกิดตามมา
จนครบทั้ง 5 ข้อ กระทั่งจนวิมุตติได้เลย


นอกจากนี้

พระผู้มีพระภาคเคยเปรียบเทียบการประพฤติพรหมจรรย์ของพระองค์กับการทำนาข้าวว่า


ศรัทธาเป็นพืช :b53: :b52: :b51:

ความเพียรเป็นฝน

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ

หิริเป็นงอนไถ

ใจเป็นเชือก

สติของเราเป็นผาลและประตัก

เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวังนำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคล ไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ


ดังนั้นเมื่อจะเริ่มทำนาปลูกข้าว ก็ต้องมีพืชก่อน(มีศรัทธา) เริ่มต้นก่อนแล้วอย่างอื่นจึงตามมา

:b51: :b52: :b53:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร