ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เบิกบุญ-โอนบุญ’ ใครสอน? จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=22481 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | nene [ 23 พ.ค. 2009, 13:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | เบิกบุญ-โอนบุญ’ ใครสอน? จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ |
เล่ม 34 หน้า 162 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ (วัน 8 ค่ำ) พวกอำมาตย์บริวารของมหาราชทั้งสี่เที่ยวดูโลกนี้ ดิถีที่ ๑๔ แห่งปักษ์ (วัน 14 ค่ำ) พวกบุตรของมหาราชทั้งสี่ เที่ยวดูโลกนี้ วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น มหาราชทั้งสี่ เที่ยวดูโลกนี้ด้วยตนเอง (เพื่อสำรวจ) ว่า ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดาบำรุงสมณพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ถือปฎิชาครอุโบสถ (อุโบสถศีลของผู้ตื่นอยู่) ทำบุญมีจำนวนมากอยู่หรือ ถ้าในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนน้อย มหาราชทั้งสี่ก็บอกแก่คณะเทวดาดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมในสุธัมมาสภาว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนน้อย เพราะข้อที่บอกนั้น คณะเทวดาดาวดึงส์ก็เสียใจ (บ่นกัน) ว่า ทิพย์กายจักเบาบางเสียละหนอ อสุรกายจักเต็มไป แต่ถ้าในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญ จำนวนมาก มหาราชทั้งสี่ก็บอกแก่คณะเทวดาดาวดึงส์ ณ สุธรรมสภาว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนมาก เพราะข้อที่บอกนั้น คณะเทวดาดาวดึงส์ก็ชื่นชม (แสดงความยินดี) ว่า ทิพย์กายจักบริบูรณ์ละพ่อคุณ อสุรกายจักเบาบาง. บทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา ได้แก่ปาริจาริกเทวดา (เทวดารับใช้). บทว่า อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ความว่า ได้ยินว่า ในวัน 8 ค่ำ ท้าวสักกเทวราชทรงบัญชาท้าวมหาราชาทั้ง 4 ว่า ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นวัน 8 ค่ำท่านทั้งหลายจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก แล้วจดเอาชื่อและโคตรของมนุษย์ ที่ทำบุญมา. ท้าวมหาราชทั้ง 4 นั้น ก็กลับไปบัญชาบริวารของตนว่า ไปเถิดท่านทั้งหลาย ท่านจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก เขียนชื่อและโคตรของมนุษย์ที่ทำบุญลงในแผ่นทองแล้วนำมาเถิด. บริวารเหล่านั้นทำตามคำบัญชานั้น บทว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ ความว่า บริษัทอำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง 4 เข้าไปยังคาม (บ้าน) นิคม (หมู่บ้านใหญ่) และราชธานี (เมืองหลวง) เหล่านั้นๆ. ก็เทวดาที่อาศัยอยู่ตามคาม นิคม และราชธานีเหล่านั้น ๆ ทราบว่า อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้งหลายมาแล้ว ต่างก็พากันถือเครื่องบรรณาการไปยังสำนัก(ที่อยู่)ของเทวดาเหล่านั้น. จากบทความของโพสต์ทูเดย์ เบิกบุญ -โอนบุญ’ ใครสอน? หรือคำนี้..มีใช้ในพระพุทธศาสนา รายงานโดย :วรธาร ทัดแก้ว: วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เมื่อหลายเดือนมาแล้วมีคำสองคำที่โผล่ขึ้นมาในสังคมไทย แม้จะไม่ปรากฏแพร่หลาย แต่เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วไม่สบายอุราชีวาจิตเอามากๆ ก็คือคำว่า “เบิกบุญโอนบุญ” ด้วยในฐานะชาวพุทธคนหนึ่งก็ต้องบอกตรงนี้ตรงๆ ว่าตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินคำนี้แม้แต่ครั้งเดียว เพิ่งมาได้ยินก็ในช่วงที่มีข่าวเกรียวกราวที่พระรูปหนึ่งสอนคนไม่ให้ไหว้พระพุทธรูป แต่ก็ไม่รู้ว่าใครกันนะที่เป็นผู้ที่ยกคำสองคำนี้มาพูด หรือใครได้ทำการสอนคนให้ทำตามคำที่ตนแต่งขึ้นนี้หรือไม่อย่างไร เรื่องนี้จะต้องขยายให้ชัด เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะมีชาวพุทธหลายต่อหลายคนที่เมื่อได้ยินคำเหล่านี้แล้วอาจเกิดความฉงนสงสัยว่า แท้จริงแล้วเรื่อง “การเบิกบุญโอนบุญ” ในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยหรือ หรือถ้าไม่ได้ทรงสอนอย่างนี้ล่ะ ทำไมไม่เห็นมีผู้รู้ทางศาสนาสักรูปหรือสักคนออกมาชี้แจงอะไรบ้าง หรือคิดว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องเล็ก ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความใส่ใจกระนั้นหรือ วันนี้จึงขอนำความรู้จากท่านผู้รู้มาบอก พร้อมให้ผู้อ่านได้ใช้วิจารณปัญญาของตนไปด้วย ไม่มี ‘เบิกโอนบุญ’ ในพุทธศาสนา ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า บุญในพระพุทธศาสนาไม่สามารถเบิกได้ถ้าในลักษณะแบบเบิกเงินจากธนาคาร แต่เมื่อถึงคราวทุกข์ยากขึ้นมาแล้วไม่มีที่พึ่งก็สามารถอ้างอานุภาพของบุญไว้ได้ เช่น ปุญญานุภาเวนะ แต่บุญจะให้ผลหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง เหมือนอย่างการอ้างคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขออานุภาพคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นจงคุ้มครองอย่างนี้ ดร.บรรจบ กล่าวต่อว่า ในพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเรื่อง “การเบิกบุญโอนบุญ” แต่มีคำศัพท์หนึ่งที่พระพุทธศาสนาใช้ก็คือ “ปัตติทาน” แปลว่า การให้ส่วนแห่งบุญหรือส่วนแห่งความดี หมายถึงการที่ได้ทำความดีแล้วก็ตั้งจิตปรารถนาต่อคนอื่นแล้วแผ่บุญไปให้ผู้นั้น “พระพุทธศาสนาจะใช้คำว่า ‘ทาน’ ที่แปลว่า ‘ให้’ เช่น ให้อามิส ให้ความรู้ (ธรรมทาน) ให้อภัย ไม่ใช่ด้วยการโอนและไม่เรียกว่าโอนแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนา เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดความสับสนในหมู่ชาวพุทธ” นอกจากการใช้คำว่า “ทาน” แล้วมีคำหนึ่งที่ใช้ก็คือ “การอุทิศ” ซึ่งคำนี้ตามรูปศัพท์ แปลว่า เจาะจง เช่น ทำบุญให้บิดามารดา หมายถึง เจาะจงไปที่บิดามารดา ภาษาไทยนำมาใช้รวบรัดว่าอุทิศส่วนกุศลให้ ซึ่งก็หมายถึงการให้ แต่เป็นการให้โดยการเจาะจงผู้รับ ดร.บรรจบ กล่าวว่า เดิมคำว่าอุทิศใช้กับอะไรก็ได้ เช่น ถวายทานอุทิศสงฆ์ ก็คือถวายทานเจาะจงสงฆ์ “อุทิศ” ในสมัยพุทธกาลใช้ได้กับทั้งคนตายและคนที่มีชีวิตอยู่ เช่นมีคนถามว่าท่านบวชอุทิศใคร ก็หมายถึงท่านบวชเจาะจงใครเป็นศาสดา แต่มาถึงภาษาไทยความหมายเปลี่ยนไปเป็นอุทิศ หมายถึงการอุทิศส่วนกุศลให้กับคนที่ตายแล้ว ซึ่งสังคมไทยใช้คำว่าอุทิศแคบไป แท้ที่จริงอุทิศใช้ได้ทั้งกับคนที่มีชีวิตและคนที่ตายไปแล้ว แค่มองบุญเป็นวัตถุก็ผิดแล้ว ความเห็นของ ดร.บรรจบสอดคล้องกับ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี ที่มองว่า การเบิกบุญหรือโอนบุญไม่มีในพระพุทธศาสนา และการที่มีผู้พูดเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่าจะต้องมีคนอนุมัติ และเราต้องไปฝากไปอะไรไว้ ซึ่งการที่พูดเช่นนั้นเสมือนมองบุญเป็นวัตถุ “แท้ที่จริงบุญเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ การเบิกบุญโอนบุญจึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีในพระพุทธศาสนา มีแต่การให้บุญหรือความดีที่ตนทำแก่ผู้อื่นต่างหาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ส่วนการให้บุญหรือความดีแก่ผู้อื่นนั้น เพียงแค่ตั้งการเจตนาที่บริสุทธิ์แล้วแผ่บุญกุศลนั้นเจาะจงผู้นั้นก็สำเร็จประโยชน์แล้ว ไม่ต้องกรวดน้ำ ไม่ต้องกล่าวคำถวายอย่างนั้นอย่างนี้เช่นที่ทำกันในปัจจุบัน เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่คนแต่งขึ้นในภายหลัง และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงสอน” ส่วนการอุทิศบุญนั้น พระอาจารย์ กล่าวว่า สามารถอุทิศให้ทั้งแก่คนที่มีชีวิตอยู่และคนที่จากโลกนี้ไปแล้ว ทุกชีวิตต่างๆ ที่เกิดมาล้วนไปสู่ความแตกสลาย โดยเฉพาะคนที่จากไปแล้ว ดวงจิตเมื่อดับแล้วก็จะสร้างอัตภาพใหม่อยู่แล้ว ฉะนั้นคนเราสามารถตั้งเจตนาปรารถนาดีต่อเขาแล้วอุทิศบุญกุศลที่มีอยู่ให้เขา “ทั้งนี้ เรื่องการอุทิศบุญไม่ใช่ตัวหลัก แต่เป็นเพียงตัวเสริม ตัวหลักก็คือกรรมของใครก็ของคนนั้น บุคคลทำกรรมแล้วย่อมจะได้รับสิ่งที่ตัวเองกระทำไว้ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้มาคอยแก้กรรม หรือวนไปวนมาเกี่ยวกับเรื่องกรรม แต่พระพุทธเจ้าสอนวิธีดับกรรม ที่เรียกว่ากัมมนิโรธคามินีปฏิปทา คือสอนให้ออกนอกระบบของกรรม ซึ่งก็คือการถอนตัวตนออกจากขันธ์ 5” อย่างไรก็ตาม การที่มีผู้พูดว่าบุญของแต่ละคนมีมาก และส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้บนเบื้องบน คือสวรรค์เพื่อรอใช้ชาติหน้า ถ้ามีความต้องการก็สามารถเบิกบุญเหล่านั้นมาใช้หรือให้กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราได้นั้น พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องเหลวไหลมาก และพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนอย่างนี้ แต่สอนว่าบุญและบาปใครทำก็เป็นของผู้นั้น จะไปเก็บไว้ที่ไหนไม่ได้ ก็อยู่ที่ตัวผู้นั้นเอง อย่ามองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กๆ! จะเห็นว่าการเบิกบุญโอนบุญในพระพุทธศาสนานั้นไม่มีแน่นอน ซึ่งการที่มีผู้คิดใช้คำคำนี้แล้วนำมาถ่ายทอดวิธีการต่างๆ ในการเบิกบุญโอนบุญนั้น ถ้าเป็นการกระทำด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ก็เป็นบาปสำหรับผู้นั้น และเป็นอันตรายต่อพระศาสนา หรือถ้าทำด้วยความไม่รู้ ผู้รู้ทั้งหลายจะต้องเข้ามาชี้แจง เพราะการใช้คำว่าเบิกบุญโอนบุญอาจทำให้คนเกิดความสับสน และในพระพุทธศาสนาก็ไม่ได้มีการใช้คำนี้ “เป็นที่น่าเสียดายว่าสังคมพระสงฆ์เราเพิกเฉยในปัญหาหลายเรื่อง แม้จะเป็นคำพูดเล็กน้อยก็ตาม แต่ว่าเป็นคำพูดที่ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งทุกวันนี้จะเห็นสำนักนั้นสำนักนี้มีการคิดคำขึ้นมาใหม่ ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคณะสงฆ์โดยเฉพาะ มหาเถรสมาคม สำนักพุทธฯ ไม่ได้มีระบบการป้องกันพระพุทธศาสนาอย่างดีไม่ได้” ดร.บรรจบ กล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องพูดไปถึงการศึกษาของคณะสงฆ์ที่ไม่ได้จัดอย่างทั่วถึง การอบรมของครูบาอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ ก็ไม่ได้ทำอย่างเป็นกิจจะลักษณะก็เลยกลายเป็นชิ้นโรคระบาดไปทั่ว ทางที่ดีคณะสงฆ์น่าจะมาช่วยกันพิจารณาเรื่องใดที่เป็นปัญหาต่อพระพุทธศาสนา หนัก กลาง เบา ก็ต้องมาพิจารณา เช่น ปัญหาการตีความหลักธรรม การใช้คำในเรื่องของการสอน และถ้าจะแก้เรื่องนี้ต้องมีคณะนักวิชาการที่เป็นพระมาช่วยกันชี้แจงการใช้ศัพท์ตรงนี้ ชาวพุทธต้องหันมาศึกษาพุทธวจนะ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวว่า เมื่อมีการสอนผิดๆ อย่างนี้ พระสงฆ์ต้องออกมาพูดว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนอย่างนั้น สิ่งสำคัญต้องส่งเสริมให้ชาวพุทธศึกษาพุทธวจนะหรือธรรมวินัยที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง พระอาจารย์ กล่าวว่า พระสาวกพูดผิดบ้าง ถูกบ้าง พระพุทธเจ้ามิให้ไปสนใจ มิให้ไปฟัง พระองค์ตรัสว่า สุตตันตะเหล่าใดที่นักกวีหรือนิพนธ์แต่งขึ้นใหม่จะเป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะคือคำสอนเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตที่จะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนว่าควรศึกษาเล่าเรียน พระพุทธเจ้าตรัสว่าคำที่คนแต่งใหม่ หรือคำของสาวกอย่าไปฟัง และตรัสบอกด้วยว่าคำนั้นๆ จะเป็นเหตุเสื่อมในอนาคตกาล ฉะนั้น สาวกที่พูดผิดพูดพลาดไป ถ้าไปฟังแล้วจักเกิดความสับสน จักไม่สามารถเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ จักไม่บรรเทาความสงสัยทั้งหลายที่สงสัยให้คลายลงไปได้ ถ้ามัวไปฟังคำสาวกหรือคำที่คนแต่งใหม่ นี่พระองค์ตรัส ไม่ใช่อาตมาพูดเอง ซึ่งจะเห็นว่าปัจจุบันมีผู้ที่แต่งหรือประดิดประดอยคำขึ้นใหม่ ซึ่งคำบางคำนั้นก็ไม่ถูกต้องและไม่มีใช้ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่าสาวกจะต้องจดจำคำสอนของตถาคตแบบก๊อบปี้ เมื่อจดจำคำสอนแบบก๊อบปี้ก็ให้แทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็นแล้วเอาไปโยนิโสมนสิการเอาไปใช้ธัมมวิจยะใคร่ครวญตรวจสอบตาม พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสถึงการที่ภิกษุศึกษาพระพุทธวจนะไม่ละเอียดนั้น เวลาบอกสอนจะพลัดหลงเข้าไปสู่มิจฉาทิฐิโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นจะเห็นว่าการที่พระสอนแตกต่างกันหลายสำนักในปัจจุบันมีผิดเพี้ยนบ้างนั้น ตรงนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศาสนาเสื่อม “ต้องถามว่าทุกวันนี้ชาวพุทธปฏิบัติตามใคร ปฏิบัติตามสาวก หรือว่าปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า” คำถามชาวพุทธจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะช่วยกันรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนา ถ้าสิ่งใดที่เห็นไม่ถูกตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอน หรือบางครั้งมีความสงสัยในสิ่งที่เห็นที่ทำ ควรถามผู้รู้หรือค้นคว้าในพระไตรปิฎกว่าแสดงไว้อย่างไร ไม่ควรไปหลงเชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ผ่านการพิจารณาด้วยปัญญาอย่างถ่องแท้ ที่มา : http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=48043 อยากให้อ่านพระไตรปิฎกที่ยกพระสูตรมา และเทียบเคียงกับคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการและ........ว่า สายการปกครองนรก สวรรค์ บุญนั้นอยู่ทีไหน ขออำนาจพระรัตนตรัยมาได้หรือเปล่าและจะขอยกพระสูตรอีกพระสูตรหนึ่ง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 419 ๙. เรื่องนายนันทิยะ [๑๗๓] ข้อความเบื้องต้น พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะ ทรงปรารภนายนันทิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จิรปฺปวาสึ " เป็นต้น. นันทิยะเป็นอนุชาตบุตร ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี ได้มีบุตรแห่งตระกูลซึ่งถึงพร้อมด้วย ศรัทธาคนหนึ่งชื่อนันทิยะ, เขาได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาบำรุงสงฆ์แท้ อนุรูปแก่มารดาบิดาเทียว. ครั้นในเวลาที่เขาเจริญวัยมารดาบิดาได้มี ความจำนงจะนำธิดาของลุงชื่อว่าเรวดี มาจากเรือนอันตรงกันข้าม. แต่ นางเป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีการให้ปั่นเป็นปกติ, นายนันทิยะจึงไม่ ปรารถนานาง. ลำดับนั้น มารดาของเขากล่าวกะนางเรวดีว่า " แม่ เจ้าจงฉาบทา สถานที่นั่นของภิกษุสงฆ์ แล้วปูลาดอาสนะไว้ในเรือนนี้, จงตั้งเชิง บาตรไว้. ในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จงรับบาตร นิมนต์ให้นั่ง เอา ธมกรกกรองน้ำฉันถวาย แล้วล้างบาตรในเวลาฉันเสร็จ; เมื่อเจ้าทำได้ อย่างนี้ ก็จักเป็นที่พึ่งใจแก่บุตรของเรา." นางได้ทำอย่างนั้นแล้ว. ต่อมา มารดาบิดาเล่าถึงความประพฤติของนางนั้นแก่บุตร ว่า " นางเป็นผู้อดทน ต่อโอวาท " เมื่อเขารับว่า " ดีละ " จึงกำหนดวันแล้ว ทำอาวาหมงคล. ลำดับนั้น นายนันทิยะกล่าวกะนางว่า " ถ้าเธอจักบำรุงภิกษุสงฆ์ และมารดาของฉัน, เป็นเช่นนี้ เธอก็จักได้พัสดุในเรือนนี้, จงเป็นผู้ไม่ ประมาทเถิด. " นางรับว่า " ดีละ " แล้วทำทีเป็นผู้มีศรัทธาบำรุงอยู่ ๒ - ๓ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 420 วัน จนคลอดบุตร ๒ คน. มารดาบิดาแม้ของนายนันทิยะ ได้ทำกาละแล้ว. ความเป็นใหญ่ทั้งหมดในเรือน ก็ตกอยู่แก่นางเรวดีนั้นคนเดียว. นันทิยะดำรงตำแหน่งทานบดี จำเดิมแต่มารดาบิดาทำกาละ แม้นายนันทิยะก็เป็นมหาทานบดี เตรียมตั้งทานสำหรับภิกษุสงฆ์. และเริ่มตั้งค่าอาหารแม้สำหรับคนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ไว้ที่ประตูเรือน. ในกาลต่อมา เขาฟังพระธรรม- เทศนาของพระศาสดา กำหนดอานิสงส์ในการถวายอาวาสได้แล้ว ให้ทำ ศาลา ๔ มุข ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ในมหาวิหารในป่าอิสิปตนะแล้ว ให้ลาคเตียงและตั่งเป็นต้น เมื่อจะมอบถวายอาวาสนั้น ได้ถวายทานแก่ ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วถวายน้ำทักขิโณทก แด่ พระตถาคต. ปราสาททิพย์สำเร็จโดยรัตนะ ๗ ประการ สมบูรณ์ด้วยหมู่ นารี มีประมาณ ๑๒ โยชน์ในทิศทั้งปวง เบื้องบนสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ผุดขึ้นในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยการตั้งน้ำทักขิโณทก ในพระหัตถ์ ของพระศาสดาทีเดียว. พระมหาโมคคัลลานะไปเยี่ยมสวรรค์ ภายหลังวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระไปสู่ที่จาริกในเทวโลก ยืนอยู่แล้วในที่ไม่ไกลจากปราสาทนั้น ถามเทวบุตรทั้งหลายซึ่งมาสู่สำนัก ของตนว่า " ปราสาททิพย์ เต็มด้วยหมู่นางอัปสรนั่น เกิดแล้วเพื่อใคร." ลำดับนั้น พวกเทวบุตรนั้นเมื่อจะบอกเจ้าของวิมานแก่พระเถระนั้น จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ วิมานั่นเกิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่บุตรคฤหบดี ชื่อนันทิยะ ผู้สร้างวิหารถวายพระศาสดา ในป่าอิสิปตนะ. " ฝ่ายหมู่นาง อัปสร เห็นพระเถระนั้นแล้ว ลงจากปราสาทกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ พวก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 421 ดิฉันเกิดในที่นี้ ด้วยหวังว่า ' จักเป็นนางบำเรอของนายนันทิยะ ' แต่เมื่อ ไม่พบเห็นนายนันทิยะนั้น เป็นผู้ระอาเหลือเกิน; ด้วยว่าการละมนุษย- สมบัติ แล้วถือเอาทิพยสมบัติ ก็เช่นกับการทำลายถาดดินแล้วถือเอาถาด ทองคำฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าพึงบอกเขา เพื่อประโยชน์แก่การมา ณ ที่นี้. " ทิพยสมบัติเกิดรอผู้ทำบุญ พระเถระกลับมาจากเทวโลกนั้นแล้ว เขาไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า " พระเจ้าข้า ทิพยสมบัติย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ทำความดีที่ยังอยู่มนุษย์โลกนี่ เอง หรือหนอแล ? " พระศาสดา. โมคคัลลานะ ทิพยสมบัติที่เกิดแล้วแก่นายนันทิยะใน เทวโลก อันเธอเห็นแล้วเองมิใช่หรือ ? ไฉนจึงถามเราเล่า ? โมคคัลลานะ. ทิพยสมบัติเกิดได้อย่างนั้นหรือ ? พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า โมคคัลลานะ เธอ พูดอะไรนั่น ? เหมือนอย่างว่า ใคร ๆ ยืนอยู่ที่ประตูเรือน เห็นบุตร พี่น้อง ผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน (กลับ) มาแต่ถิ่นที่จากไปอยู่ พึงมาสู่เรือน โดยเร็ว บอกว่า ' คนชื่อโน้น มาแล้ว.' เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกญาติของ เขาก็ยินดีร่าเริงแล้ว ออกมาโดยขมีขมัน พึงยินดียิ่งกะผู้นั้นว่า ' พ่อ มา แล้ว พ่อ มาแล้ว ่ ฉันใด; เหล่าเทวดา (ต่าง) ถือเอาเครื่องบรรณาการ อันเป็นทิพย์ ๑๐ อย่างต้อนรับด้วยคิดว่า ' เราก่อน เราก่อน ' แล้วย่อม ยินดียิ่งกะสตรีหรือบุรุษ ผู้ทำความดีไว้ในโลกนี้ ซึ่งละโลกนี้แล้วไปสู่ โลกหน้าฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้แล้ว " ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :- ๙. จิรปฺปวาส ปุริสํ ทูรโต โสตฺถิมาคตํ ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ อภินนฺทนฺติ อาคตํ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 422 ตเถว กตปุญฺญมฺปิ อสฺมา โลกา ปรํ คตํ ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ ปิยํ ญาตีว อาคตํ. " ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้ ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี ย่อมยินดียิ่งว่า ่มาแล้ว ่ ฉันใด. บุญทั้งหลายก็ย่อม ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่ โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับ อยู่ ฉันนั้นแล. แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรปฺปวาสึ คือจากไปแล้วนาน. บาทพระคาถาว่า ทูรโต โสตฺถิมาคตํ ความว่า ผู้ได้ลาภคือมี สมบัติอันสำเร็จแล้วเพราะทำพาณิชยกรรม หรือเพราะทำหน้าที่ราชบุรุษ มาแล้วแต่ที่ไกล ไม่มีอุปัทวะ. บาทพระคาถาว่า ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ ความว่า เหล่าชน ที่ชื่อว่าญาติ เพราะสามารถเกี่ยวเนื่องกันด้วยตระกูล และชื่อว่ามิตร เพราะภาวะมีเคยเห็นกันเป็นต้น แล้วชื่อว่ามีใจดี เพราะความเป็นผู้ มีหทัยดี. บาทพระคาถาว่า อภินนฺทนฺติ อาคตํ ความว่า ญาติเป็นต้น เห็น เขาแล้ว ย่อมยินดียิ่ง ด้วยอาการเพียงแต่พูดว่า ่มาดีเเล้ว ่ หรือด้วย อาการเพียงทำอัญชลี, อนึ่ง ย่อมยินดียิ่งกะเขาผู้มาถึงเรือนแล้ว ด้วย สามารถนำไปเฉพาะซึ่งบรรณาการมีประการต่าง ๆ. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 423 บทว่า ตเถว เป็นต้น ความว่า บุญทั้งหลาย ตั้งอยู่ในฐานะ ดุจมารดาบิดา นำเครื่องบรรณาการ ๑๐ อย่างนี้คือ " อายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นอธิบดีอันเป็นทิพย์; รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน เป็นทิพย์ เพลินยิ่งอยู่ ชื่อว่าย่อมรับรองบุคคลแม้ผู้ทำบุญไว้เเล้ว ซึ่ง ไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ด้วยเหตุนั้นนั่นแล. สองบทว่า ปิยํ ญาตีว ความว่า ดุจพวกญาติที่เหลือ เห็นญาติ ที่รักมาแล้ว รับรองอยู่ในโลกนี้ฉะนั้น. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา- ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องนายนันทิยะ จบ. ปิยวรรควรรณนา จบ. วรรคที่ ๑๖ จบ. ขอคัดค้าน จากท่านว่าบุญในสวรรค์นั้นไม่มี และเรามีบุญอยู่มากจริงหรือเปล่าถ้าไม่มีบุญก็ไม่ได้เกิดมาเสวยสุขในโลกนี้อย่างแน่นอน ส่วนกรรมพระพุทธองค์ก็ตรัสว่าคนเราเกิดมา " มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย จักทำกรรมอันใดไว้จะได้รับผลกรรมอันนั้น" และการจะดับกรรมได้ ก็ต้องแก้กรรมเสียก่อน ถึงจะดับได้ การแก้คือไม่ไปทำกรรมนั้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า การเรียนพระพุทธศาสนาก็ต้องเรียนตามลำดับขั้น ไม่มีทางลัด และภาวะเศรษฐกิจบ้านเมืองแบบนี้ก็ต้องแก้กรรมที่มาสนองให้ตัวเองให้เบาบางลงก่อนที่จะไปทำการอย่างอื่นได้ ความคิดตัวเองว่า การทำบุญและอุทิศบุญขณะวางสิ่งของนั้นใช่แล้ว และการระลึกอุทิศบุญถี่ยิบทุกลมหายใจเข้าออก ก็คือการภาวนาอย่างหนึ่งเหมือนกันและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือเรามีสติมากขึ้นและญาติผู้อยู่ในแดนทิพย์ก็ได้รับบุญเพิ่มขึ้นด้วย พระไตรปิฎกคือตาวิเศษที่บอกทางแก้ผู้หลงทางจริง ๆ ด้วย แล้วท่านผู้รู้ทั้งหลายอย่าบอกนะว่าพระไตรปิฎกเขียนมาหลายรุ่นแล้วอาจผิดเพี้ยนแต่อย่าลืมว่าท่านเหล่านั้นพระอรหันต์ และเป็นพระอรหันต์ปฎิสัมภิทาอีกต่างหาก ๆ ไม่ใช้พระอรหันต์สุขวิปัสโกเหมือนสมัยนี้ คนที่มีความคิดเช่นนี้ เป็นมิจฉาฯ ก็ที่ท่านรู้มา และประกาศธรรมอยู่นั่นก็มาจากพระไตรปิฎกมิใช่หรือ หรือว่าท่านเอาคัมภีร์นอกพระพุทธศาสนามาบรรยาย คุณของพระพุทธเจ้ามีมากมาย อำนาจพระรัตนตรัยมีอยู่จริงและขอมาใช้ได้ทุกที่ทั้งบุญและบาปสุดแท้แต่ใครจะเลือกใช้ และนำไปใช้ให้ถูกต้องก็เกิดผลบุญ ไปใช้ในทางบาปก็ได้บาป ธรรมชาติก็มีอยู่เท่านี้ ![]() ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อุทิศ ก. ให้, ยกให้, เช่น อุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี; ทําเพื่อ, สละให้โดยเจาะจง. (ส. อุทฺทิศฺย; ป. อุทฺทิสฺส ว่า เจาะจง). โอน ก. น้อมลง, โน้ม; ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น โอนบัญชี; ยอมมอบให้; ย้ายสังกัด; (กฎ) ทําให้สิทธิตกไปเป็นของบุคคลอื่น เช่น โอนกรรมสิทธิ์. โดยสรุปก็คือ การโอนบุญ หรือ การอุทิศบุญ ก็คือคำที่ใช้ในความหมายเดีียวกัน (เพียงแต่คำอุทิศมีรากศัพท์มาจากคำบาลี แต่คำว่า โอน คือคำไทยๆ) หมายถึง การที่เราทำบุญแล้ว มีความเมตตา แล้วสงเคราะห์ อนุเคราะห์โดยให้ส่วนบุญของเรานี้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อมีญาติเสียชีวิต ไม่ควรร้องไห้เสียใจ แต่ควรทำบุญและควรอุทิศบุญให้ กับผู้ล่วงลับไปแล้ว (เปตชน) ควรให้เทวดาผู้รักษาเรือน ควรให้กับท้าวจตุมหาราช ขอให้ท่านพิจารณากันดีว่าคำสอนนี้เป็นอย่างไร ควรทดลองนำไปใช้หรือไม่? |
เจ้าของ: | natdanai [ 24 พ.ค. 2009, 12:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เบิกบุญ-โอนบุญ’ ใครสอน? จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ |
เป็นเรื่องของพยันชนะ...อรรถะนั้นอันเดียวก็คือ ทาน อ้างคำพูด: แค่มองบุญเป็นวัตถุก็ผิดแล้ว ความเห็นของ ดร.บรรจบสอดคล้องกับ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี ที่มองว่า การเบิกบุญหรือโอนบุญไม่มีในพระพุทธศาสนา และการที่มีผู้พูดเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่าจะต้องมีคนอนุมัติ และเราต้องไปฝากไปอะไรไว้ ซึ่งการที่พูดเช่นนั้นเสมือนมองบุญเป็นวัตถุ “แท้ที่จริงบุญเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ การเบิกบุญโอนบุญจึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีในพระพุทธศาสนา มีแต่การให้บุญหรือความดีที่ตนทำแก่ผู้อื่นต่างหาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ส่วนการให้บุญหรือความดีแก่ผู้อื่นนั้น เพียงแค่ตั้งการเจตนาที่บริสุทธิ์แล้วแผ่บุญกุศลนั้นเจาะจงผู้นั้นก็สำเร็จประโยชน์แล้ว ไม่ต้องกรวดน้ำ ไม่ต้องกล่าวคำถวายอย่างนั้นอย่างนี้เช่นที่ทำกันในปัจจุบัน เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่คนแต่งขึ้นในภายหลัง และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงสอน” บุญเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ แต่สัมผัสได้ด้วย มโนธาตุ เพราะบุญเป็นธรรมธาตุ และรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ บุญจึงเป็นเพียงวัตถุธาตุ... (มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ...ในวิปัสนาภูมิ):b1: |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |