วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: ใครที่ชอบเรียนทางโลก อ่านความรู้ของพระพุทธเจ้าพระสูตรนี้นะ และไปทำความเพียรให้ลูกกะตามันเล็กที่สุดเป็นยิ่งกว่ากล้องจุลทรรศน์ ถ้าใครมีสร้างบุญมาแล้วทำได้มาเล่าให้ฟังบ้างนะ ชอบมากกับความรู้ในธรรมชาตินี้ (เพราะตัวเองยังเป็นจุลินทรีย์ ไวรัส แบคทีเรียอยู่เลย) แต่ก็พยายามเป็นมด เป็นแมงเป็นแมลงเหมือนกันแหละ :b8:

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
[๕๖] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีบางสมัยบางคราว โดย
อันล่วงไปแห่งกาลอันยาวนาน โลกนี้ก็จะพินาศไป เมื่อโลกกำลังพินาศ
อยู่ โดยมากหมู่สัตว์ย่อมวนเวียนไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม ในชั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

อาภัสสรพรหมนั้น สัตว์เหล่านั้นมีความสำเร็จได้โดยทางใจ มีปีติเป็น
ภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปได้ในอากาศ ดำรงอยู่ในวิมานอันแสนงาม
ย่อมดำรงอยู่ได้สิ้นกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มี
สมัยอีกบางครั้ง โดยอันล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน โลกนี้ย่อมเจริญขึ้น
เมื่อโลกกำลังเจริญขึ้น โดยมากเหล่าสัตว์ก็จะพากันเคลื่อนจากพวกอาภัสสร-
พรหมมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก และสัตว์เหล่านั้นมีความสำเร็จได้โดยทางใจ
มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปในอากาศได้ ดำรงอยู่ในวิมานอัน
งดงาม ย่อมดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็โดยสมัยนั้นแลจักรวาลนี้ก็จะกลายเป็นน้ำไปหมด มีความมืด มองไม่เห็น
ทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรก็ยังไม่ปรากฏ
กลางวันกลางคืนก็ไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งกึ่ง เดือนหนึ่งก็ยังไม่ปรากฏ ฤดู
และปีก็ยังไม่ปรากฏ หญิงชายก็ยังไม่ปรากฏ. หมู่สัตว์ทั้งหลายก็ถึงการ
นับว่า สัตว์ดังนี้อย่างเดียวกัน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกาล
บางคราว โดยอันล่วงได้แห่งกาลยืดยาวนาน ง้วนดินก็เกิดลอยอยู่บนน้ำ
ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น เหมือนน้ำนมสดที่บุคคลเคี่ยวแล้วทำให้เย็นสนิท
แล้วปรากฏเป็นฝาอยู่ข้างบนฉะนั้น ง้วนดินนั้นได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส
มีสีคล้ายเนยใสอย่างดีและเนยขึ้นอย่างดีฉะนั้น และได้มีรสอันน่าชอบใจ
เหมือนน้ำผึ้งอันปราศจากโทษฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะที่นั่น
แล มีสัตว์บางตนมีชาติโลเลกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ลอยอยู่นี้ จะเป็น
อะไรดังนี้แล้วเอานิ้วมือช้อนเอาง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อเขากำลังเอานิ้วมือ
ช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มอยู่ ง้วนดินที่ได้ซ่านไปทั่ว ความอยากจึงเกิดขึ้น
แก่เขา. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่าอื่นแลก็ถึงทิฏฐานุคติ
ของสัตว์นั้นก็จะพากันเอานิ้วมือซ้อนง้วนดินนั้นขึ้นมาลิ้มดู. เมื่อสัตว์เหล่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

นั้นกำลังเอานิ้วมือช้อนเอาง้วนดินนั้นขึ้นมาชิม ง้วนดินก็แผ่ซ่านไปทั่ว
สรรพางค์ และตัณหาก็เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-
วาชะ ที่นั้นแล สัตว์เหล่านั้นจะพากันพยายามเอามือปั้นง้วนดินปั้นทำให้
เป็นคำเพื่อที่จะบริโภค. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใดแลที่สัตว์
เหล่านั้นพยายามที่จะเอามือปั้นง้วนดินทำเป็นคำเพื่อที่จะบริโภค เมื่อนั้น
รัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นก็จะหายไป. เมื่อรัศมีเฉพาะตัวหายไป
พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้นมา เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์
ปรากฏขึ้นแล้ว หมู่ดาวนักษัตรก็จะปรากฏ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรปรากฏ
แล้ว กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืนกลางวันปรากฏแล้ว
เดือนหนึ่ง กึ่งเดือนหนึ่งก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหนึ่ง
ปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและปีก็ปรากฏขึ้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ด้วยเหตุเพียงประมาณเท่านี้แล โลกนี้ก็ย่อมเจริญขึ้นมาอีก.
[๕๗] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้น
พากันบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาล
ยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดิน
มีง้วนดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหารได้ตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการ
ใดแล ความแข็งแกร่งก็เกิดมีในกายของสัตว์เหล่านั้น ความมีผิวพรรณดี
ก็ได้ปรากฏชัดขึ้นมา สัตว์บางพวกก็มีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว.
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์
ที่มีผิวพรรณเลวว่า เรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมี
ผิวพรรณเลวกว่าเราดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะถือตัวเพราะการ
ดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินก็ได้อันตรธานหายไป. เมื่อง้วนดิน
หายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นประชุมกันแล้วต่างก็พากัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ทอดถอนใจว่า รสดี รสดีดังนี้. แม้ในทุกวันนี้พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบาง
อย่างเท่านั้น ก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า รสดี รสดี ดังนี้ หมู่พราหมณ์ทั้ง
หลายพากันอนุสรณ์ถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของเลิศเป็นของเก่านั้น แต่
หาได้รู้ถึงความหมายของอักขระนั้นเลย.

ว่าด้วยกะบิดินเป็นต้นเกิดขึ้น
[๕๘] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล เมื่อง้วนดิน
ของสัตว์เหล่านั้นหายไป กะบิดินก็ปรากฏขึ้น. กะบิดินนั้นปรากฏเหมือน
เห็ด. กะบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส ได้มีสีเหมือนเนยใสที่ปรุง
อย่างดีหรือเนยขึ้นอย่างดี และได้มีรสอย่างน่าชอบใจเหมือนน้ำผึ้งซึ่งปราศ-
จากโทษฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นก็
ได้พยายามเพื่อจะบริโภคกะบิดิน สัตว์เหล่านั้น บริโภคกะบิดินนั้นแล้ว
มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดู
ก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นเมื่อบริโภคกะบิดิน มีกะบิดิน
นั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการใด
แล ความเป็นผู้กล้าแข็ง โดยประมาณโดยยิ่งก็ได้ปรากฏขึ้นในกายของ
สัตว์เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามก็ได้ปรากฏขึ้นในกายของ
ประการนั้น. สัตว์บางพวกมีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดา
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็พากันดูหมิ่นสัตว์
ที่มีผิวพรรณทรามว่า พวกเรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านี้
มีผิวพรรณเลวกว่าพวกเราดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างพากันมีมานะเกิดขึ้น
เพราะการดูหมิ่นผิวพรรณเป็นปัจจัย กะบิดินก็อันตรธานหายไป. เมื่อ
กะบิดินหายไปแล้ว เครือดินได้ปรากฏขึ้นมา. เครือดินนั้นได้ปรากฏคล้าย
ผลมะพร้าวฉะนั้น. เครือดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส ได้มีสีเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

เนยใสที่ปรุงอย่างดีหรือเหมือนเนยขึ้นอย่างดีฉะนั้น และได้มีรสน้ำชอบใจ
เหมือนน้ำผึ้งซึ่งปราศจาดโทษฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันพยายามเพื่อที่จะบริโภคเครือดิน สัตว์
เหล่านั้นบริโภคเครือดิน ได้มีเครือดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรง
อยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้น
บริโภคเครือดิน มีเครือดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืด
ยาวนานโดยประการใดแล ความเป็นผู้กล้าเข็งโดยประมาณโดยยิ่งก็ได้
ปรากฏในการแก่สัตว์เหล่านั้น ละความเป็นผู้มีผิวพรรณดีได้ปรากฏขึ้น
อย่างชัดเจน. สัตว์บางพวกมีผิวพรรณดี บ้างพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดา
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใด มีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นย่อมดูหมิ่นหมู่สัตว์
ที่มีผิวพรรณเลวว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านี้มี
ผิวพรรณเลวกว่าเราทั้งหลายดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างก็เกิดมีมานะ
ถือตัวเพราะมีมานะว่ามีผิวพรรณดีนั้นเป็นปัจจัย เครือดินได้อันตรธาน
หายไป. เมื่อเครือดินหายไปแล้ว เหล่าสัตว์ประชุมกัน ครั้นประชุม
กันเล้วก็ทอดถอนใจว่า เครือดินได้มีแก่เราหนอ เครือดินของเราได้
สูญหายไปหมดแล้วหนอ ดังนี้. ในสมัยนี้มนุษย์ทั้งหลายพอถูกทุกขธรรม
บางอย่างถูกต้องเข้าก็พากันกล่าวว่า ของนี้ได้มีแล้วสู่เรา ของนี้ของเรา
ได้สูญหายไปหมดแล้ว ดังนี้. พวกพราหมณ์ ย่อมอนุสรณ์ถึงอักขระอันควรรู้
ซึ่งเป็นของดีเป็นของเก่านั้นแล แต่ว่าพวกพราหมณ์เหล่านั้น หารู้ทั่วถึง
ใจความของอักขระนั้นไม่.

ว่าด้วยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
[๕๙] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นนั้นแล เมื่อเครือดิน
ของสัตว์เหล่านั้นสูญหายไปแล้ว ข้าวสาลีซึ่งบังเกิดในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

รำไม่มีแกลบ บริสุทธิ์มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ปรากฏขึ้นมา. สัตว์
ทั้งหลายก็พากันขนเอาข้าวสาลีชนิดใดมา เพื่อเป็นอาหารมื้อเย็นในเวลา
เย็น ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นก็สุกงอกขึ้นมาเทน และในตอนเช้าสัตว์
ทั้งหลายได้พากันขนเอาข้าวสาลีชนิดใดมา เพื่อรู้โภคในเวลาเช้า ใน
ตอนเย็น ข้าวสาลีชนิดนั้นก็สุกงอกขึ้นมาแทน ความบกพร่องไปหาได้
ปรากฏไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล เหล่าสัตว์ทั้งหลาย
พากัน บริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถมีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา
เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภาร-
ทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ มี
ข้าวสาลีนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน โดย
ประการใดแล ความกล้าแข็งโดยประมาณโดยยิ่งได้เกิดมีในกายของสัตว์
เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนโดยประ-
การนั้น. และเพศหญิงก็ปรากฏแก่หญิง เพศชายก็ปรากฏแก่ชาย. ก็ได้
ยินว่าหญิงย่อมเพ่งดูชายอยู่ตลอดเวลา และชายก็เพ่งดูหญิงอยู่ตลอดเวลา
เช่นกัน. เมื่อชนเหล่านั้นต่างเพ่งดูกันและกันอยู่ตลอดเวลา ความกำหนัด
ก็เกิดขึ้น ความเร่าร้อนก็ปรากฏขึ้นในกาย. ชนเหล่านั้น เพราะความ
เร่าร้อนเป็นปัจจัย จึงได้เสพเมถุนธรรม. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็ โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดแลเห็นสัตว์เหล่าอื่นกำลังเสพเมถุนกันก็โปรย
ฝุ่นลงบ้าง โปรยเถ้าลงบ้าง โปรยโคมัยลงบ้าง ด้วยกล่าวว่า คนถ่อย
เจ้าจงฉิบหาย คนถ่อยเจ้าฉิบหายดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็สัตว์จักกระทำ
กรรมอย่างนี้แก่สัตว์อย่างไรดังนี้. แม้ในขณะนี้ ในชนบทบางแห่ง เมื่อ
นำสัตว์ถูกฆ่าไปสู่ตะแลงแกง มนุษย์เหล่าอื่นก็จะซัดฝุ่นบ้างซัดเถ้าบ้าง
ซัดโคมัยบ้างใส่คนชื่อนั้น. พวกพราหมณ์ย่อมระลึกถึงอักขระที่รู้กันวาดีซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

เป็นของเก่านั้น แต่ว่าพราหมณ์เหล่านั้นหารู้เนื้อความของอักขระนั้นอย่าง
ชัดเจนไม่.
[๖๐] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะก็โดยสมัยนั้น การซัดฝุ่น
เป็นต้นนั้นแล รู้กันว่าไม่เป็นธรรม ในบัดนี้รู้กันว่าเป็นธรรม. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดแลย่อมเสพเมถุนกัน
สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมตลอด ๓ เดือน
บ้าง ๒ เดือนบ้าง. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกาลใดแล สัตว์ทั้ง
หลายถึงความชั่วช้าในอสัทธรรมนั่นตลอดเวลา ในกาลนั้น สัตว์เหล่านั้น
จึงได้พากันพยายามสร้างเรือนอยู่ เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดอสัทธรรม
นั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์บางตนซึ่งมีชาติขี้เกียจได้มี
ความคิดนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เรานี้ต้องนำเอาข้าวสาลีมาเพื่อเป็นอาหารเย็น
ในเวลาเย็นและเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ย่อมเดือดร้อนจริง อย่า
กระนั้นเลย เราควรนำข้าวสาลีมาครั้งเดียวให้พอเพื่อบริโภคทั้งในเวลาเช้า
และเวลาเย็นดังนี้ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นก็
นำเอาขาวสาลีมาเพียงคราวเดียว เพื่อเป็นอาหารทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลา
เช้า. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์อื่นจึงเข้าไปหาสัตว์
นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วจึงได้กล่าวกะสัตว์นั้นว่า มาเถิด สัตว์
ผู้เจริญ เราจะไปนำข้าวสาลีมาดังนี้. สัตว์นั้นจึงกล่าวว่า อย่างเลยสัตว์
ผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อบริโภคทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลา
เข้าดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นก็ถึงทิฏฐา-
นุคติของสัตว์นั้นแล้ว นำข้าวสาลีมาครั้งเดียว เพื่ออาหารทั้งสองเวลา
ด้วยกล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญดังนี้ ดูก่อนวาเสฏฐะและภาร-
ทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์อื่นจึงเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

กล่าวคำนี้กะสัตว์นั้นว่า มาเถิดสัตว์ผู้เจริญ เราจะไปเก็บข้าวสาลีกันดังนี้.
สัตว์นั้นจึงตอบว่า อย่าเลยสัตว์ผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อเป็น
อาหารทั้งเช้าและเย็นดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์นั้นถึง
ทิฏฐานุคติของสัตว์นั้นจึงนำข้าวสาลีมาเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน ด้วย
กล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
สัตว์อื่นเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะสัตว์นั้นว่า
มาเถิดสัตว์ผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันดังนี้. สัตว์นั้นจึงกล่าวว่า
อย่าเลยผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อเป็นอาหารได้ ๔ วันดังนี้.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นถึงทิฏฐานุคติของสัตว์
นั้นได้ไปขนเอาข้าวสาลีมาครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อเป็นอาหาร ๔ วัน ด้วย
กล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
เมื่อใดแล สัตว์นั้นก็ได้พยายามเพื่อจะบริโภคข้าวสาลีที่สั่งสมไว้. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล ข้าวสาลีจึงมีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบ
ห่อเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก การขาดตอนก็ปรากฏ
ขึ้น ข้าวสาลีจึงได้มีเป็นกลุ่มขึ้นมา.
[๖๑] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้น
จึงประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วก็พากันทอดถอนใจว่า ผู้เจริญ ธรรมอันเลว-
ทรามได้ปรากฏในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า ในกาลก่อน พวกเรามีความ
สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปในอากาศได้ ดำรง
อยู่ ในวิมานอันงดงาม ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน ในกาลบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน ง้วนดินเกิดในน้ำแก่พวกเรา ง้วนดินนั้น
ได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส พวกเรานั้น ได้พยายามเอามือปั้นง้วนดินเป็น
คำ ๆ เพื่อที่จะบริโภค เมื่อพวกเราพากันพยายามเอามือปั้นง้วนดินทำ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

เป็นคำ ๆ เพื่อที่จะบริโภคอยู่ รัศมีเฉพาะตัวก็หายไป เมื่อรัศมีเฉพาะตัว
หายไป พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์
ปรากฏแล้ว หมู่ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ได้ปรากฏ เมื่อหมู่ดาวนักษัตร
ปรากฏแล้ว กลางคืนกลางวันก็ได้ปรากฏ เมื่อกลางคืนกลางวันปรากฏ
แล้ว เดือนหนึ่งกึ่งเดือนหนึ่งก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่งกึ่งหนึ่งเดือนปรากฏอยู่
ฤดูและปีก็ปรากฏ พวกเราเหล่านั้นบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็น
ภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะอกุศลธรรมอัน
ลามก ง้วนดินของพวกเรานั้นจึงได้หายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว กะบิดิน
ก็ปรากฏ กะบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเรานั้นบริโภคกะบิดินนั้นแล้ว
กันพยายามเพื่อจะบริโภคกะบิดินนั้น พวกเรานั้นบริโภคกะบิดินนั้นแล้ว
มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะ
ความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรานั้น กะบิดินจึงได้หายไป
เมื่อกะบิดินหายไปแล้ว เครือดินก็ปรากฏขึ้นมา เครือดินนั้นก็สมบูรณ์
ด้วย สี กลิ่น รส พวกเรานั้นได้พากันพยายามเพื่อที่จะบริโภคเครือดินนั้น
พวกเรานั้นบริโภคเครือดินนั้นแล้ว ก็มีเครือดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร
ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอัน
ลามกของพวกเรานั้น เครือดินจึงได้หายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว
ข้าวสาลีอันเกิดสุกในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม
มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ได้ปรากฏขึ้น พวกเราไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมา
เพื่อเป็นอาหารเย็นในเวลาเย็น ในตอนเช้าข้าวสาลีนั้นก็สุกงอกขึ้นอีก
พวกเราไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ใน
ตอนเย็นข้าวสาลีนั้นก็สุกงอกขึ้นเอง ความขาดหาได้ปรากฏไม่ พวกเรา
นั้น เมื่อบริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดในที่ที่ไม่ได้ไถ ก็มีข้าวสาลีนั้น เป็นภักษา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏ
แห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรานั้นแล ข้าวสาลีจึงมีรำหุ้มเมล็ด
บ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ข้าวสาลีที่เราเกี่ยวแล้วหาได้งอกขึ้นอีกไม่
แม้ความขาดตอนก็ได้ปรากฏ ข้าวสาลีเป็นกลุ่มจึงเกิดขึ้น ไฉนหนอ
เราควรแบ่งข้าวสาลีกัน และพึงกั้นเขตคันกันดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและ
กั้นเขตคันกั้นขึ้น.
[๖๒] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์บาง
ตนมีความโลเล รักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้
บริโภค. สัตว์เหล่าอื่นได้จับสัตว์นั้นได้ ครั้นจับได้แล้วจึงกล่าวว่า
สัตว์ผู้เจริญ ทานทำกรรมชั่วที่รักษาส่วนของตนไว้ถือเอาส่วนอื่นที่
เขาไม่ได้ให้บริโภค สัตว์ผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทำกรรมชั่วช้าอย่างนี้อีก
ดังนี้. สัตว์นั้นก็รับคำของสัตว์เหล่านั้นว่า เราจะไม่ทำอย่างนี้อีก
ผู้เจริญ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ในครั้งที่ ๒ สัตว์นั้น ฯลฯ
ดูก่อนนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ในครั้งที่สามสัตว์นั้นก็รับอย่างนั้น
และสัตว์นั้นก็ยังรักษาส่วนของตน แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้
บริโภค. สัตว์ทั้งหลายได้พากันจับสัตว์นั้นแล้ว ครั้นจับแล้วกล่าวคำ
นี้ว่า สัตว์ผู้เจริญ ท่านทำกรรมชั่วช้าที่รักษาส่วนของตนแล้วถือเอา
ส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้กลืนกิน สัตว์ผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีก
ดังนี้. สัตว์เหล่าอื่นเอามือทุบ เอาก้อนดินขว้าง เอาท่อนไม้ตี.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นสำคัญแล อทิน-
นาทานจึงปรากฏ การครหาจึงปรากฏ มุสาวาทปรากฏ การจับท่อนไม้
จึงปรากฏ. ครั้งนั้นแล สัตว์ประเสริฐทั้งหลายจึงได้ประชุมพร้อมกัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ครั้นแล้วก็ทอดถอนใจว่า ผู้เจริญ ธรรมอันลามกเลวทรามปรากฏ
ในหมู่สัตว์ได้ ก็อทินนาทานจักปรากฏ การครหาจักปรากฏ มุสาวาท
จักปรากฏ การจับท่อนไม้ก็จักปรากฏ อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือ
สัตว์ผู้หนึ่งซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้
ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น
ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นจึง
เข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า
แล้วได้กล่าวคำนั้นว่า มาเถิดสัตว์ผู้เจริญ ท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่า
กล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่
ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ท่านดังนี้. สัตว์นั้นได้
รับคำของสัตว์เหล่านั้นว่า อย่างนั้นผู้เจริญดังนี้ แล้วได้ว่ากล่าวผู้ที่
ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่
ได้. ส่วนสัตว์เหล่านั้น ก็ได้ให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่สัตว์นั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ด้วยเหตุเพียงประมาณเท่านี้แล
อ้างคำพูด:
โลกนี้ก็ย่อมเจริญขึ้นมาอีก.
[๕๗] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้น
พากันบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาล
ยืดยาวนาน.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดิน
มีง้วนดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหารได้ตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการ
ใดแล ความแข็งแกร่งก็เกิดมีในกายของสัตว์เหล่านั้น ความมีผิวพรรณดี
ก็ได้ปรากฏชัดขึ้นมา สัตว์บางพวกก็มีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว.
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์
ที่มีผิวพรรณเลวว่า เรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมี
ผิวพรรณเลวกว่าเราดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะถือตัวเพราะการ
ดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินก็ได้อันตรธานหายไป. เมื่อง้วนดิน
หายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นประชุมกันแล้วต่างก็พากัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ทอดถอนใจว่า รสดี รสดีดังนี้. แม้ในทุกวันนี้พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบาง
อย่างเท่านั้น ก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า รสดี รสดี ดังนี้ หมู่พราหมณ์ทั้ง
หลายพากันอนุสรณ์ถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของเลิศเป็นของเก่านั้น แต่
หาได้รู้ถึงความหมายของอักขระนั้นเลย.

ตามที่อ้างถึงก็คงเป็นความเข้าใจผิดของข้าน้อย ละซี พอดีได้อ่าน"หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีวัถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย" แต่งโดย พระธรรมวงศ์เวที(อ่ำ ธมฺมทตฺโต) แห่งวัดสมนัสฯ และอ่านพระสูตรนี้ พอจะเทียบเคียงกันได้ ก็ลองโพสต์ดูเพื่อจะได้มีใคร ๆ ที่ความรู้มากกว่านี้จะสามารถอธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ได้มากกว่านี้
อ้างคำพูด:
ความรู้ของพระพุทธเจ้าเหนือวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แต่ก็เป็นความรู้ทางวิทยาศาตร์เหมือนกัน เพียงแต่มนุษย์ในโลกใบนี้ยังเข้าไม่ถึงความรู้นั้น แต่มนุษย์ในโลกธาตุอื่นเขาอาจเข้าถึงความรู้นั้นเล้วก็ได้
อ้างคำพูด:
ความเป็นมนุษย์จริงๆเริ่มเมื่อไม่ถึง30000 ปี เมื่อมีผู้นำเอายีนหรือโครโมโซมหรือพันธุกรรมมนุษย์มาผสมพันธุ์กับพันธุ์มนุษย์ดั้งเดิม


อยากรู้เพิ่มขึ้นมาอีก ในอ้างถึงนั้นมีในตำราใดบ้างที่จะหาอ่านได้ หรือท่านรู้ด้วยญานของท่านเอง ขอความรู้ท่านด้วย :b8: :b6: คือคนมันอยากรู้หนะ :b42:


แก้ไขล่าสุดโดย nene เมื่อ 24 พ.ค. 2009, 18:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"หนังสือพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีวัถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย" แต่งโดย พระธรรมวงศ์เวที(อ่ำ ธมฺมทตฺโต) แห่งวัดโสมนัสฯ


:b8: แนะนำหนังสือเล่มนี้อ่านกันแล้วหรือยังและท่านสมาชิกผู้มีความรู้ทั้งหลาย ถ้าใครได้อ่านแล้วช่วยแนะนำด้วยว่าเป็นอย่างไร มีประโยชน์ต่อการศึกษาหรือไม่ :b8: สำหรับข้าน้อย อ่านแล้วสนุกดีและได้ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ในเรื่องที่เราไม่เคยได้รู้ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณneneครับ



"โลกนี้ก็ย่อมเจริญขึ้นมาอีก.ฯลฯ"

คำว่า "โลก" แม้ว่ามีคำว่า "นี้" อยู่ ก็มิได้ถึงโลกของเราในมิตินี้ หรือในจักรวาลนี้ ที่เรียกว่า โลกธาตุนี้เท่านั้น เพราะพุระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูกรอานนท์ พระตถาคตในโลกนี้ พึงแผ่รัศมีไปทั่วโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล"

ทฤษฎีจักรวาลคู่ขนานนั้นเป็นไปได้มากเลย ในจูฬนีสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

ตอนที่สำคัญคือ พระพุทธเจ้าที่ผมขอบกมากล่าว ตือ พระพุทธเจ้าตรัสถึงโลกธาตุว่า

" เมื่อใดก็ตามที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติในมงคลจักรวาล พุทธานุภาพแห่งองค์พระทศพลก็จะแผ่ขยายไปไกลถึงแสนโกฏิจักรวาล(1 โลกธาตุ(กาแลกซี่)ขนาดใหญ่) พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์สามารถสอนสั่ง และนำบรรดาสรรพสัตว์จากทั้งแสนโกฏิจักรวาลข้ามโอฆสงสารได้มากมาย นับได้ถึง ๒๔ อสงไขย ๑,๑๖๐ โกฏิ กับเศษ ๑๐๐,๐๐๐ ตัวสัตว์ ในแต่ละพุทธันดร

ย้ำ!!!

" เมื่อใดก็ตามที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติในมงคลจักรวาล พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์สามารถสอนสั่ง และนำบรรดาสรรพสัตว์จากทั้งแสนโกฏิจักรวาลข้ามโอฆสงสารได้มากมาย นับได้ถึง ๒๔ อสงไขย ๑,๑๖๐ โกฏิ กับเศษ ๑๐๐,๐๐๐ ตัวสัตว์ ในแต่ละพุทธันดร

ถ้ามีโลกเดียว คือ โลกในมิติหรือในจักรวาลที่เราอยู่ เงื่อนไขข้างต้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะ

1. ไม่มีสรรพสัตว์มากมายถึง๒๔ อสงไขย ๑,๑๖๐ โกฏิ กับเศษ ๑๐๐,๐๐๐ ตัวสัตว์
2. ข้อนี้ชัดเจนเลย โคตมพุทธเจ้าตรัสว่า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์สามารถสอนสั่ง และจะนำบรรดาสรรพสัตว์จากทั้งแสนโกฏิจักรวาลข้ามโอฆสงสารได้มากมาย

ย้ำอีกครั้ง "แสนโกฏิจักรวาล" แสดงว่ามีโลกซ้อนๆกันอยู่จริงๆในจักรวาลคู่ขนานจริงๆ ด้วยเหตุนี้ คำว่า "โลก" แม้ว่ามีคำว่า "นี้" อยู่ ก็มิได้ถึงโลกของเราในมิตินี้ หรือในจักรวาลนี้ เพราะรู้กันอยู่แล้วว่า พัฒนาการของมนุษย์ในโลกใบนี้ ไม่ได้เป็นไปดังที่พระพุทธเจ้าตรัส

คำว่า "โลก" แม้ว่ามีคำว่า "นี้" อยู่ น่าจะหมายถึงโลกใบอื่นใบใดใบหนึ่งในแสนโกฏิโลก ในแสนโกฏิจักรวาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"ดูกรอานนท์ พระตถาคตในโลกนี้ พึงแผ่รัศมีไปทั่วโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล"


:b8: :b20: คุณพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ที่ได้ให้ความรู้เพิ่มมาอีกจะรีบไปอ่านอีกหลายพระสูตรที่เกี่ยวกับจักรวาลและโลก อีกเยอะ ๆ :b53:

อ้างคำพูด:
ความรู้ของพระพุทธเจ้าเหนือวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แต่ก็เป็นความรู้ทางวิทยาศาตร์เหมือนกัน เพียงแต่มนุษย์ในโลกใบนี้ยังเข้าไม่ถึงความรู้นั้น แต่มนุษย์ในโลกธาตุอื่นเขาอาจเข้าถึงความรู้นั้นเล้วก็ได้
[


เคยได้ฟังธรรมจากอาจาร์ยท่านหนึ่งบรรยายธรรมเล่าให้ฟังเหมือนกันว่า มนุษย์ในโลกอื่นเขาพัฒนากว่าโลกมนุษย์ใบนี้อีก เก่งกว่าตนในโลกนี้อีก ท่านบอกว่าถ้าใครอยากไป ก็ต้องพัฒนาตัวเองให้เข้าถึง"พุทธะ"ให้ได้แล้วจะรู้เอง แต่ไม่ใช่ที่นั่ง ๆ นึกกัน แบบนั้นหรอกนะท่านบอกว่าอย่างนั้น :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....ความรู้ของพระพุทธเจ้าที่เหนือวิทยาศาสตร์
ใช่แล้วครับ...ท่านลองมาฟังบทสวดบทนี้ครับ
อัตถิ อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นขา ทันตา ฯลฯ
แปลว่า ในร่างกายนี้ประกอบด้วย ผม,ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง
คืออาการสามสิบสองนั้นเองครับ


ทางการแพทย์ พอผ่าศพออกมาฝรั่งถึงขนาดอุทานว่า
"พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องจริง"และท่านตรัสมาแล้วถึง ๒,๕๐๐กว่าปีแล้วครับ


ขออภัยด้วยครับผมไม่มีพระไตรปิฏกยืนยัน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

คุณใบไม้นอกกำมือ
คุณเป็นคนศาสนาฮินดูแน่เลย ๆ
คุณถึงกล้ากล่าวอย่างนั้น

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณใบไม้นอกกำมือ
คุณเป็นคนศาสนาฮินดูแน่เลย ๆ
คุณถึงกล้ากล่าวอย่างนั้น


อ๋อ ! น่าจะเป็นพวกเดียวกันกับบทความนี้นะ :b13:

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11383 มติชนรายวัน


พัฒนาการทางความคิดของ พุทธศาสนามหายาน

คอลัมน์ หน้าต่างความจริง

โดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์


ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียอย่างต่อเนื่อง
กระทั่งถึงยุคพระเจ้าอโศกมหาราชพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด โดยแผ่ไปทั่วทั้งชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง
มีศิลาจารึกและเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นประจักษ์พยานอันสำคัญ หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินอินเดียที่ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างจริงจัง พุทธศาสนาจึงเสื่อมถอยมาเป็นลำดับ

มูลเหตุแห่งความเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดียได้แก่ ประการแรกเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานนานวันเข้า
ชาวพุทธอินเดียเกิดความประมาท หันเหออกจากหลัก "การพึ่งตนเอง" ไปพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ภายนอก
จึงเป็นทีของศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เต็มไปหมด ในที่สุดชาวพุทธก็ค่อยๆถูกกลืนหายไป

ประการที่สองขณะเมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีพราหมณ์จำนวนมากเข้ามาบวชเรียนในพุทธศาสนา
พราหมณ์พวกหนึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงหลังจากอุปสมบทแล้วก็กลายมาเป็นกำลังสำคัญของพุทธศาสนา
พราหมณ์อีกพวกหนึ่งต้องการที่จะเข้ามาศึกษาเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของพุทธศาสนา เพื่อนำไปปรับปรุงศาสนาพราหมณ์
ของตนให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อมา "ต่อสู้ทางความคิด" กับพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ที่ได้ผ่านการปฏิรูปแล้ว
ได้กลายมาเป็นศาสนาฮินดูในที่สุด

เมื่อพุทธศาสนามาถึงจุดเสื่อมถอย ชาวพุทธอินเดียจำนวนหนึ่งได้ใช้วิธี "หนามยอกเอาหนามบ่ง" โดยเข้าไปศึกษา
จุดอ่อนจุดแข็งของศาสนาฮินดูบ้างเพื่อนำมาปรับปรุงพุทธศาสนาให้อยู่ในสถานะที่จะสามารถ "แข่งขัน"
กับศาสนาฮินดูได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความศรัทธา ในที่สุดพุทธศาสนาก็ได้นำเสนอ
"ทฤษฎีตรีกาย" (Trikaya) หรือกายทั้งสามของพระพุทธเจ้าออกมา ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้

1."นิรมาณกาย" (Nirmana-kaya) หรือ "กายเนื้อ"
ได้แก่ ร่างกายของเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ 80 ปี ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

2."ธรรมกาย" (Dharma-kaya) หรือ "กายธรรม" ได้แก่ คุณสมบัติที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
หรือพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั่นเอง ("ธรรมกาย" ในที่นี้แตกต่างจากคำสอนของวัดพระธรรมกายที่อ้างว่า
นิพพานคืออัตตา และจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนาคืออายตนะนิพพานที่อยู่บนฟ้าบนสวรรค์ สามารถวัดขนาดความกว้าง
ยาว และสูงได้ คำว่า "ธรรมกาย" เป็นแนวความคิดของพุทธศาสนามหายานที่เกิดขึ้นในอินเดียกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
โดยมีความหมายแตกต่างจากวัดพระธรรมกายอย่างสิ้นเชิง)

3."สัมโภคกาย" (Sambhokha-kaya) หรือ "กายทิพย์" ได้แก่ กายแห่งนามธรรมของพระพุทธเจ้า
ซึ่งยังดำรงอยู่ในจักรวาลนี้ต่อไปภายหลังการเสด็จดับขันธ์ โดยชาวพุทธกลุ่มใหม่อธิบายว่า
พระพุทธเจ้าเมื่อใกล้เสด็จดับขันธ์แล้วก็ยังทรงห่วงใยสรรพสัตว์ที่อยู่เบื้องหลังและด้วยพระมหาเมตตากรุณาที่ยิ่งใหญ่
จึงทรงตัดสินพระทัยไม่เสด็จสู่ปรินิพพาน (สภาพที่ขาดสูญไปจากจักรวาลนี้อย่างสิ้นเชิง) แต่ยังทรงดำรงอยู่ในฐานะ
"กายทิพย์" แห่งสัมโภคกาย คอยสดับตรับฟังทุกข์สุขของสรรพสัตว์ที่อยู่เบื้องล่าง
เมื่อมีผู้เดือดร้อนเป็นทุกข์สวดมนตร์อ้อนวอน ก็จะทรงได้ยินและจะทรงประทานความช่วยเหลือลงมาให้

การนำเสนอทฤษฎี "ตรีกาย" ของพุทธศาสนาอย่างใหม่
ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามว่า "พุทธศาสนามหายาน" (Mahayana Buddhism) นี้
ทำให้พระพุทธเจ้าถูกยกสถานะให้เทียบเท่ากับ "พระเจ้า" ในศาสนาฮินดู นับเป็นการพลิกโฉมของพุทธศาสนา
จากศาสนาประเภท "อเทวนิยม" (Atheism) มาเป็นศาสนาประเภท "เทวนิยม" (Theism) เลยทีเดียว
แต่พระพุทธเจ้าในฐานะพระเจ้าก็มีอยู่เพียงพระองค์เดียว คงจะไม่สามารถต้านทานพระเจ้าในศาสนาฮินดูที่มีมากมาย
ซึ่งมากันเป็น "กองทัพ" ได้

มหายานจึงได้พัฒนาแนวความคิดต่อไปว่า จักรวาลเป็นอนันตกาล (infinity) ในอดีตอันเป็นอนันตกาลนั้น
เคยมีพระพุทธเจ้าเสด็จมานับครั้งไม่ถ้วน (ยิ่งกว่าจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียอีก) โดยพระพุทธเจ้าสมณะโคดม
(หรือ "พระพุทธเจ้าศากยมุนี" ตามคำเรียกของฝ่ายมหายาน) เป็นเพียงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเท่านั้น
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ทรงมีพระมหากรุณาที่ยิ่งใหญ่ เมื่อถึงคราวจะดับขันธ์ ก็ทรงเลือกที่จะดำรงอยู่
ในจักรวาลนี้ต่อไปในฐานะ "สัมโภคกาย" ทั้งสิ้น โดยนัยยะนี้มหายานจึงมี
"พระพุทธเจ้า" จำนวนมหาศาล (พอที่จะต่อกรกับ "กองทัพเทพเจ้า" ของศาสนาฮินดูได้)

ในบรรดาพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่อย่างมากมายนั้น
พุทธศาสนามหายานได้ให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าอมิตาภะ (Amitabha Buddha)
ที่ประทับอยู่ ณ แดนสุขาวดี (Sukhavati) สวรรค์ทางทิศตะวันตก โดยมีสาวกเบื้องซ้ายและขวา
ที่ดำรงอยู่ในฐานะสัมโภคกายคือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) ผู้ยิ่งด้วย "เมตตา-กรุณา"
และพระโพธิสัตว์มหาสถามปราปต์ (Mahasathamaprapta) ผู้ยิ่งด้วย "มุทิตา-อุเบกขา" เนื่องจากคุณสมบัติ
ของพระโพธิสัตว์ดังกล่าวชาวพุทธมหายานจึงนิยมสวดมนตร์อ้อนวอนต่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
(หรือ "กวนอิม" ในภาษาจีน) มากกว่า

ขณะเดียวกันมหายานได้พัฒนาแนวคิดต่อไปอีกว่า
ในอนาคตซึ่งก็เป็นอนันตกาลเช่นกันนั้น จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาอุบัติอีกนับจำนวนไม่ถ้วน
(มากกว่าจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียอีก) มีความเชื่อของชาวพุทธโดยทั่วไปที่ว่า
ศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณะโคดมนั้นจะมีอายุเพียง 5,000 ปี (ซึ่งเราก็ได้ฉลองกึ่งพุทธกาลไปแล้วในปี พ.ศ.2500)
หลังจากนั้นจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาอุบัตินามว่า "พระพุทธเจ้าศรีอาริยเมตไตรย์" (หรือ "พระศรีอาริย์")
และถ้าหากว่าจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาอุบัติในอีก 2,400 กว่าปีข้างหน้าแล้วไซร้
เวลานี้พระองค์ก็จะต้องกำลังเสวยพระชาติเป็น "พระโพธิสัตว์" อยู่
และเราก็ไม่อาจบอกได้ว่า เวลานี้พระองค์เป็นใครหรืออยู่ที่ไหน

เมื่อเราไม่อาจระบุได้ว่าเวลานี้พระศรีอาริย์เป็นใครและอยู่ที่ไหนแล้ว
มหายานก็ได้แนะนำว่า เราทุกคนสามารถที่จะเป็น "ผู้สมัครแข่งขันชิงชัย" (candidate) ได้
โดยแนะนำว่าเราทุกคนควรจะบำเพ็ญ "พระโพธิสัตวธรรม" (ธรรมะของพระโพธิสัตว์) เพื่อปรารถนาต่อพุทธภูมิ
ในวันข้างหน้า และถ้าหากว่าเราพลาด "ตำแหน่ง" พระศรีอาริย์แล้วไซร้ ก็ยังมี "ตำแหน่ง" ของพระพุทธเจ้า
ในอนาคตให้เราได้ปรารถนาอีกมาก ดังนั้นอุดมคติของชาวพุทธมหายานจึงเปลี่ยนจาก "พระอรหันต์"
มาเป็น "พระโพธิสัตว์" เพื่อที่จะได้ตรัสรู้เป็น "พระพุทธเจ้า" เสียเองในที่สุด

ที่มา :

http://www.matichon.co.th/matichon/view ... 2009-05-10


:b17: :b17: :b28:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณnene ครับ


บทความนั้นเป็นของศาสนาพุทธมหายานนะครับ แต่อรรถกถาทสรถชาดก และ อัคคัญญสูตร เป็นพระไตรปิฎกของเถรวาทนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์....
เป็นอกาลิโก............หลักธรรมไม่มีคำว่าล้าสมัย ไม่จำกัดกาลเวลา ทันสมัยเป็นนิจ
เอหิปัสสิโก............เชิญเข้ามาพิสูจน์...........


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร