ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

เหตุที่ยังไม่สามารถบรรลุอรหันต์ได้
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=22526
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ศิรัสพล [ 26 พ.ค. 2009, 09:00 ]
หัวข้อกระทู้:  เหตุที่ยังไม่สามารถบรรลุอรหันต์ได้

ปัญหาที่ ๓

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนทุกคนถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติ
ชอบแล้ว ย่อมได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกันทั้งนั้นหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ทั้งนั้นมีบางจำพวกซึ่งแม้จะ
ปฏิบัติดีสักเท่าไร ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้บรรลุ
ม. พวกนั้นได้แก่ใครบ้าง
น. ขอถวายพระพร ได้แก่คนเหล่านี้ คือ -
(๑) คนมิจฉาทิฐิ
(๒) คนกระทำอนันตริยกรรม ๕ (ฆ่ามารดา ๑, ฆ่าบิดา ๑, ฆ่าพระอรหันต์ ๑,
ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต ๑, ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ๑, ) แม้อย่างใด
อย่างหนึ่ง
(๓) คนปลอมเพศเป็นพระภิกษุ
(๔) พระภิกษุกลับไปถือลัทธิอันผิด
(๕) คนประทุษร้ายนางภิกษุณี
(๖) พระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้อยู่กรรม
(๗) คนบัณเฑาะว์ (กะเทย)
(๘) คนอุภโตพยัญชนก (คนปรากฏทั้ง ๒ เพศ )
(๙) สัตว์เดียรฉาน
(๑๐) เปรต
(๑๑) เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ
ม. สิบพวกข้างต้นนั้น ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ตามที แต่เหตุไฉน
เด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบ จึงไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเล่า
น. เหตุว่าเด็กอายุเพียงเท่านั้น จิตยังไม่มีแนวความคิดที่จะให้เกิด
ความรู้สึกว่า ผลของความดีและความชั่วมีอยู่อย่างไร เมื่อไม่รู้จักผลก็
ไม่เกิดความคิดที่จะให้สาวไปหาเหตุแห่งผลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
กำลังใจก็มีไม่พอที่จะให้ก้าวไปหามรรคผลนิพพานได้
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. ภูเขาสิเนรุ บุรุษพึงพยายามให้กำลังแรงของตนยกเอามา จะไหว
หรือไม่
ม. ภูเขาใครจะไปยกไหวเล่าเธอ
น. ขอถวายพระพร นั่นเป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะกำลังมีไม่พอกันน้ำหนักแห่งภูเขา
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันการที่เด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบไม่ได้
บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ก็เพราะว่ากำลังใจมีไม่พอกับน้ำหนักแห่งมรรคผล
นิพพานเช่นเดียวกันแล ขอถวายพระพร พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล อรหัตตผล ทั้ง ๔ อย่างนี้กับพระนิพพานเป็นธรรมที่เผล็ดมาจาก
เหตุคือมรรค ๔ ก็เมื่อเด็กอายุเพียงนั้นยังไม่มีความคิดที่จะหยั่งลงไปสาวหา
ผลได้ดังนั้นแล้ว ไฉนเลยจะมีโอกาสได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเหตุ
และผลของกันได้เล่าถึงว่าจะได้อบรมบารมีมาแก่กล้าแล้ว และได้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบเพียงไรก็ตาม ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว

จบเอกัจจาเนกัจจานํธัมมาภิสมยปัญหา

จาก : มิลินทปัญหา

เจ้าของ:  damjao [ 26 พ.ค. 2009, 10:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุที่ยังไม่สามารถบรรลุอรหันต์ได้

เดินทางสายนี้สายเดียวเรียกว่า หนทางไปสู่พระนิพพาน ทำอริยสัจสี่ให้แจ้ง
ทางสายกลางมีสายเดียวประกอบไปด้วยมรรคมีองค์แปดประการ
โดยจัดการเกี่ยวกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ถูกต้องเย็นสนิทไม่มีร้อน ก็จะได้มรรค ผล ได้นิพพาน
เมื่อสิ้นอาสวะกิเลสแล้วบรรลุอรหันต์ได้ :b8:

เจ้าของ:  กามโภคี [ 27 พ.ค. 2009, 16:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุที่ยังไม่สามารถบรรลุอรหันต์ได้

เสริมส่งกันอีกนิดครับ

อันตราย ๕ อย่างของการบรรลุมรรคผล (ม.อ.)
๑.กัมมันตราย ได้แก่อนันตริยกรรม ๕ (ตามที่คุณศิรัสพลกล่าว) เพิ่มอีก ๑ ข้อ ภิกษุณีทูสกะ ทำร้ายภิกษุณี
ท่านว่าห้ามมรรค
๒.กิเลสันตราย ได้แก่มิจฉาทิฏฐิ ต่างๆ (ในบางข้อที่เจ้าของกระทู้ยกมาก็จัดอยู่ในหมวดนี้)
๓.วิปากันตราย ได้แก่ผลกรรมขัดไว้ หมายถึงพวกที่ปฏิสนธิด้วยอเหตุกะปฏิสนธิและทวิเหตุกะ เช่นมนุษย์ที่พิการบาง
จำพวกและสัตว์ติรัจฉาน เฉพาะมนุษย์ห้ามมรรคผล แต่ถ้าทำความดี ไม่ห้ามสวรรค์
๔.อริยูปวาทันตราย การกล่าวร้ายพระอรหันต์หรือพระอริยะทุกจำพวก ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ว่าท่านเป็นพระอริยะ ข้อนี้
ห้ามสวรรค์และมรรคผล ข้อนี้ต้องขอขมาท่านหรือขอขมากรรมต่อสงฆ์จึงพ้นได้
๕.อาณาวีติกกันตราย การล่วงข้อบัญญัติของพระพุทธเจ้า ข้อนี้ถ้าแก้เสีย หรือ ปลงตามพระบัญญัติจึงพ้นได้

ส่วนศีลที่คฤหัสถ์ถือนั้น ไม่เป็นเหตุห้ามการถึงมรรคผล แม้เพียงสมาทานรักษาใหม่ๆ ถ้าดำเนิถูกทางของการปฏิบัติ
ก็อาจบรรลุได้ เช่น สันตติอำมาตย์ คนตกปลาชื่ออริยะ เจ้าศากยะชื่อสรณานิ เป็นต้น

เจ้าของ:  nene [ 28 พ.ค. 2009, 08:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุที่ยังไม่สามารถบรรลุอรหันต์ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

คำว่า ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้
คือ ไม่ทำเพิ่มเติม ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร
คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่
ในโลกนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น
อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตรหรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรค
อื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญบาป ละเสียซึ่งตน
เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้.
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตาม
ความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ และ
ละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.

ว่าด้วยการจับ ๆ วาง ๆ พ้นกิเลสไม่ได้
[๑๒๔] คำว่า ละต้น อาศัยหลัง มีความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ละศาสดาต้น อาศัยศาสดาหลัง ละธรรมที่ศาสดาต้นบอก อาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ธรรมที่ศาสดาหลังบอก ละหมู่คณะต้น อาศัยหมู่คณะหลัง ละทิฏฐิต้น
อาศัยทิฏฐิหลัง ละปฏิปทาต้น อาศัยปฏิปทาหลัง ละมรรคต้น อาศัย อิง-
อาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงมรรคหลัง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อ
ว่า ละต้น อาศัยหลัง.
[๑๒๕] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไปตามความแสวง
หา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ มีความว่า ตัณหา เรียกว่า
ความแสวงหา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไปตามความแสวงหา คือไปตาม ไปตามแล้ว
แล่นไปตาม ถึงแล้ว ตกไปตามความแสวงหา อันความแสวงหาครอบงำ
แล้ว มีจิตอันความแสวงหาควบคุมแล้ว. คำว่า ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่อง
เกี่ยวข้องได้ คือ ย่อมไม่ข้าม ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวพ้น ไม่
ก้าวล่วง ไม่ล่วงเลย ซึ่งกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต, เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไป
ตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้.
[๑๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ มี
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถือศาสดา ละศาสดานั้นแล้วย่อม
ถือศาสดาอื่น ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ละธรรมที่ศาสดาบอกนั้น
แล้ว ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ย่อมถือหมู่คณะ ละหมู่คณะนั้นแล้ว
ย่อมถือหมู่คณะอื่น ย่อมถือทิฏฐิ ละทิฏฐินั้นแล้วถือทิฏฐิอื่น ย่อมถือปฏิ-
ปทา ละปฏิปทานั้นแล้ว ถือปฏิปทาอื่น ย่อมถือมรรค ละมรรคนั้นแล้ว
ถือมรรคอื่น ย่อมถือและปล่อย คือ ย่อมยึดถือและย่อมละ. เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ.
[๑๒๗] คำว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น
มีความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมจับถือและปล่อย คือย่อมยึด
ถือและสละทิฏฐิเป็นอันมาก เหมือนลิงเที่ยวไปในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้
ละกิ่งไม้นั้นแล้วจับกิ่งอื่น ละกิ่งอื่นนั้นแล้วจับกิ่งอื่น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น. เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไป
ตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ
และละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.

[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-
ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องใน
สัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้
ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจ
แผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ.

:b8: ขอยกพระสูตรนี้มาให้พิจารณากันว่าเทียบเคียงได้หรือเปล่า :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/