วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 08:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 17:30
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า ถ้าชาติหน้ามีจริง สมมุติว่านาย A ตายไป ได้เกิดใหม่เป็นนาย B
ถึงแม้วิญญาณเป็นดวงเดียวกันก็ตามที แต่ที่สุดแล้ว นาย A กับนาย B ก็เป็นคนละคนกัน ไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย อาจจะอยู่คนละประเทศ คนละภาษา คนละครอบครัวกันด้วยซ้ำ และถึงแม้นาย B จะระลึกชาติได้ก็ตาม ว่าชาติก่อนเคยเป็นนาย A สุดท้ายคนทั้งสองคนก็เป็นคนละคนกันอยู่ดี
ดังนั้น ถ้ามีคนบอกว่าชาตินี้ทำบุญไว้เยอะๆเพื่อชาติหน้าจะได้รวยๆ สมมุติว่านาย A หมั่นทำบุญเยอะมากๆส่งผลให้นาย B เกิดมารวยมากๆ สุดท้ายก็เหมือนกับนาย A ทำบุญให้ใครก็ไม่รู้ที่ตัวเองไม่รู้จัก แล้วคนที่สบายก็คือนาย B ที่อยู่ๆเกิดมาแล้วรวยเลย ถ้าเป็นแบบนี้แล้วมันยุติธรรมกับนาย A มั้ยครับ
ใครตอบได้ช่วยตอบทีครับ สงสัยมากๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถามได้ดีครับ เข้าใจคิดครับ :b4:

ลองตอบนะครับ

ถ้าเมื่อวานคุณ pnlp ทำผิดกฏหมายที่จังหวัดแห่งหนึ่ง (ปลอมตัวใส่หนวด ใส่วิก)

วันนี้ตื่นเช้ามาทำบุญตักบาตรหน้าบ้าน (ไม่ใส่หนวด ไม่ใส่วิก)

จู่ๆตำรวจก็เดินมาจับคุณ pnlp เพราะว่าเมื่อวานคุณทำผิดกฏหมาย มีคนจำลักษณะท่าทางได้

คุณจะบอกว่ามันยุติธรรมหรือครับที่มาจับผม เพราะไอ้คนที่ทำผิดเมื่อวาน มันแต่งชุดอย่างนั้น อยู่ที่จังหวัดนั้น แล้วมันก็ผ่านไปแล้ว ตำรวจต้องจับคนนั้นเมื่อวานซิครับ

วันนี้ ผมยืนตักบาตรทำบุญอยู่นะครับ ตรงนี้จังหวัดนี้ ไม่ได้ทำผิดอะไร มาจับผมทำไม......

แค่นี้ก่อนนะครับ :b13:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


เพิ่งเจอครับในนี้ก็มี อาจเข้าใจมากขึ้นครับ :b4:

ปัญหาที่ ๖ ถามการถือกำเนิดแห่งนามรูป

อุปมาเรื่องหมั้นเด็กหญิง


“ ขอถวายพระพร เปรียบปานบุรุษผู้หนึ่งหมั้นเด็กหญิงที่ยังเล็ก ๆ เอาไว้ ให้ของหมั้นแล้วกลับไป ต่อมาภายหลังเด็กหญิงคนนั้นก็เติบโตขึ้น มีบุรุษอีกคนหนึ่งมาให้ของหมั้นแล้วแต่งงาน บุรุษที่หมั้นไว้ก่อนจึงมาต่อว่าบุรุษนั้นว่า เหตุใดเจ้าจึงนำภรรยาของเราไป บุรุษนั้นก็ตอบว่า เราไม่ได้นำภรรยาของเจ้าไป เด็กหญิงเล็ก ๆ คนนั้น ที่เจ้าขอไว้แล้วให้ของหมั้นไว้นั้น เป็นคนหนึ่งต่างหาก เด็กหญิงที่เติบโตแล้ว ที่เราสู่ขอแล้วนี้ เป็นคนหนึ่งอีกต่างหาก เมื่อบุรุษทั้งสองนั้นโต้เถียงกันมาเฝ้ามหาบพิตร พระองค์จะทรงวินิจฉัยให้หญิงนั้นแก่ใคร ? ”

“ อ๋อ…ต้องให้แก่บุรุษคนก่อนนะซิ พระผู้เป็นเจ้า ”

“ เพราะเหตุใด มหาบพิตร ? ”

“ เพราะเหตุว่า ถึงบุรุษนั้นจะกล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่เด็กสาวคนนั้นก็เติบโตต่อมาจากเด็กหญิงเล็ก ๆ นั้นเอง ”

“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือถึงนามรูปอันมีต่อไปจนกระทั่งตายเป็นนามรูปอื่น ส่วนนามรูปที่ถือกำเนิดเป็นนามรูปอื่นก็ตาม แต่นามรูปนั้นก็เกิดมาจากนามรูปเดิมนั่นเอง เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม ”


อธิบาย

คำว่า “ นามรูป ” ในที่นี้ท่านหมายถึง “ จิต ” และ “ กาย ” ส่วนคำว่า “ นามรูปนี้ ” เป็น “นามรูปอื่น ” ท่านหมายความว่า

บุคคลที่ยังเกิดอยู่นั้น เพราะผลกรรมของตน ( นามรูปนี้ ) ที่กระทำไว้แต่ชาติก่อนถ้าเป็นกรรมชั่วให้ผล ถึงจะเกิดอีกกี่ชาติ ( นามรูปอื่น ) ก็หาพ้นจากบาปกรรมที่ตนทำไว้แต่เดิมไม่ จนกว่าจะไม่เกิดอีกถึงจะพ้นจากผลกรรมเหล่านั้น


ฏีกามิลินท์ อธิบายคำว่า “ นามรูปอื่น ” หมายถึงนามรูปในอนาคต ที่มีอยู่ในสุคติและทุคติ ที่เกิดสืบต่อไปด้วยนามรูปปัจจุบันนี้ แล้วท่านกล่าวอีกว่า

“ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาลึก ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญด้วยปัญญาของตนเองด้วย เนื้อความอันใดดีกว่าเนื้อความที่เรากล่าวแล้วก็ควรถือเอาเนื้อความอันนั้น ”


:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งทั้งปวงล้วนไหลมาจากเหตุ นี้เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา แม้การได้มาซึ่งอัตภาพของนาย B ก็มี"เหตุ"จากการดับ(ตาย)ไปของนาย A ความสืบเนื่องเกี่ยวโยงของเหตุปัจจัยย่อม ไหลสืบเนื่องกันไปไม่ขาดสาย เมื่ออัตภาพเปลี่ยน "ผล" ที่นายA ทำไว้เขาก็ไม่ได้หายไปไหน เมื่อมีปัจจัยพร้อมมูลเหมาะสมที่จะแสดงตนเขาก็ปรากฏขึ้น มิใช่ว่าเกิดด้วยความเ็ฮ็งหรือฟลุ็ค ทั้งไม่มีพระเจ้ามาบันดาลหรือตนเองเลือกเอาว่าให้มาส่งผลตอนนี้ตอนนั้น ตามใจปรารถนา

เพราะความที่"สัพเพธมมา อนัตตาติ" คือธรรมทั้งหลายบังคับบัญชาไม่ได้ จึงไม่ใช่ใคร ไม่เป็นอะไร ของใคร ไม่ใช่ตัวตนเป็นเพียงสภาพการแปรเปลี่ยนของเหตุปัจจัยสืบเนื่องกันเท่านั้น เรียกสรุปว่าเป็น อนัตตา ....การที่ท่านผู้ถามไปตีค่าว่าเป็นนาย AนายB จึงตกไปสู่ ลัทธิ"สสตทิฏฐิ"คือมิจฉาทิฏฐิที่เห็นว่ามีสัตว์เกิดสัตว์ตาย พอเป็นเช่นนั้น ก็เลยเป็นที่มาของคำถามที่ท่านยกมานั่นเอง ความสงสัยนี้ แม้ในยุคพระพุทธเจ้าเองก็มีมาแล้ว แลคงจะมีอีกจนไม่มีที่สิ้นสุดเพราะไม่เคยสดับคำสอนของพระพุทธองค์ ...บัดนี้ พึงทำความเห็นให้ตรงเสียก่อนก็ย่อมเข้าใจข้ออธิบายต่อไปได้

ส่วน"ผล"จาก "เหตุ" ที่ Aประกอบไว้(ทั้งดีและชั่ว) นั้นเกิดขึ้นแล้วทันทีที่Aทำไว้....เพียงรอเวลาที่ปัจจัยเหมาะควรประชุมพร้อมเพื่อแสดงตัวเท่านั้น หากไม่ส่งผลในอัตภาพ A ก็มีสิทธิปรากฏในอัตภาพ C ,D...Z..AA..ก็มี ...ชักงงมั้ยเนี่ย เอาเป็นว่าอาจส่งผลในอีกแสนโกฏิกัปป์ก็ย่อมได้..

มีอยู่บางคราว ที่ผลจากเหตุที่มีกำลังกล้าส่งผลให้ได้รับทันทีในอัตภาพปัจจุบันในอัตภาพนั้นๆ ไม่ต้องรอไปอัตภาพหน้า ดังเรื่องราว ของพระเทวทัตที่ถูกธรณีสูบ เพราะทำอนันตริยกรรมไว้ นี่เป็นตัวอย่างการให้ผลแห่งอกุศลกรรม

ส่วนเรื่องผลในปัจจุบันชาติฝ่ายกุศล ก็เช่นเรื่องของ ติณณปาละ บุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี...เขามีผ้านุ่งผืนเดียวติดตัว แต่ได้ตัดสินใจ "เด็ดขาดว่าเราจะต้องถวายแน่ ก็เปลื้องผ้ามาทำการซักฟอกและย้อมด้วยน้ำฝาดตนเองก็เอาใบไม้มานุ่ง ป้องกันความอายเท่านั้น แล้วรีบนำผ้าไปหาเศรษฐี มอบอนุโมทนาผ้านั้นเข้าเป็นส่วนบริวารของกฐินนั้น เศรษฐีก็รับอนุโมทนานำผืนของติณณปาละเข้าเป็นส่วนผ้าบริวาร ซึ่งยังขาดอยู่ผืนหนึ่งแล้วนำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ "........ ด้วยบุญกุศลเจตนาอันแรงกล้า จึงเป็นผลสำเร็จให้ผลทันตาเห็นในปัจจุบันชาติ คือ พระราชามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้คนดีฆ้องร้องประกาศตลอดทั้งพระนครแล้วพระราช
ทาน ช้าง ม้า โค กระบือ ข้าทาส ชายหญิงอย่างละหนึ่งร้อย บูชาแก่ติณณปาละเป็นอันมาก แล้วตั้งไว้
ในตำแหน่งเศรษฐีส่วนพ่อค้าคฤหบดีเศรษฐี ก็พากันสละทรัพย์เป็นจำนวนมากออกบูชาคุณติณณปาละ
เป็นสมบัติมากมาย
.
อ่านเรื่องเต็มที่นี่
http://www.84000.org/anisong/12.html



คงเข้าใจนะครับ

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


.
อ้างคำพูด:
การ ที่ท่านผู้ถามไปตีค่าว่าเป็นนาย AนายB จึงตกไปสู่ ลัทธิ"สสตทิฏฐิ"คือมิจฉาทิฏฐิที่เห็นว่ามีสัตว์เกิดสัตว์ตาย พอเป็นเช่นนั้น ก็เลยเป็นที่มาของคำถามที่ท่านยกมานั่นเอง ความสงสัยนี้ แม้ในยุคพระพุทธเจ้าเองก็มีมาแล้ว แลคงจะมีอีกจนไม่มีที่สิ้นสุดเพราะไม่เคยสดับคำสอนของพระพุทธองค์ ...บัดนี้ พึงทำความเห็นให้ตรงเสียก่อนก็ย่อมเข้าใจข้ออธิบายต่อไปได้


:b8: กับท่าน -dd จริง ๆ และขอคำตอบจากพระสูตรในพระไตรปิฎกที่อ้างอิงด้วยเพื่อจะได้เข้าใจยิ่งขึ้นไม่อย่างนั้น ท่านผู้ตั้งกระทู้จะเข้าใจผิดในเรื่องชาตินี้ชาติหน้าชาติที่แล้วไปอย่างมากทีเดียว คิดว่านาย A กับนาย B เป็นคนละคนกันอย่างที่เขาคิด :b21:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


pnlp เขียน:
ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า ถ้าชาติหน้ามีจริง สมมุติว่านาย A ตายไป ได้เกิดใหม่เป็นนาย B
ถึงแม้วิญญาณเป็นดวงเดียวกันก็ตามที แต่ที่สุดแล้ว นาย A กับนาย B ก็เป็นคนละคนกัน ไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย อาจจะอยู่คนละประเทศ คนละภาษา คนละครอบครัวกันด้วยซ้ำ และถึงแม้นาย B จะระลึกชาติได้ก็ตาม ว่าชาติก่อนเคยเป็นนาย A สุดท้ายคนทั้งสองคนก็เป็นคนละคนกันอยู่ดี
ดังนั้น ถ้ามีคนบอกว่าชาตินี้ทำบุญไว้เยอะๆเพื่อชาติหน้าจะได้รวยๆ สมมุติว่านาย A หมั่นทำบุญเยอะมากๆส่งผลให้นาย B เกิดมารวยมากๆ สุดท้ายก็เหมือนกับนาย A ทำบุญให้ใครก็ไม่รู้ที่ตัวเองไม่รู้จัก แล้วคนที่สบายก็คือนาย B ที่อยู่ๆเกิดมาแล้วรวยเลย ถ้าเป็นแบบนี้แล้วมันยุติธรรมกับนาย A มั้ยครับ
ใครตอบได้ช่วยตอบทีครับ สงสัยมากๆ


ปัจจุบันขณะที่นาย A ทำบุญย่อมต้องทำเพื่อตัวเองแน่นอน...เพราะมีศรัทธาอยู่ว่าทำแล้วชาติหน้าจะรวย...
ปัจจุบันขณะที่นาย B ระลึกได้ว่าอดีตชาติตนคือนาย A ซึ่งได้ทำบุญไว้มาก นาย B ก็ย่อมต้องรู้อยู่แก่ใจว่าที่ตนเกิดมารวยและสุขสบายนั้นเป็นผลของการกระทำของตนขณะที่มีชาติเป็นนาย A

สรุปก็คือ นาย A ทำบุญให้ตัวเองและรู้แน่ๆว่าทำให้ตัวเอง ส่วนนาย B เกิดมารวยแล้ว ความยุติธรรมสำหรับนาย A ก็ไม่มีความหมายแล้ว เพราะนาย A เก็บฉากไปแล้ว ที่แสดงต่อไปเป็นเรื่องของนาย B

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน ทจขก
คำถามที่ถามมานี้เขาเรียกว่ายังมีความเห็นผิดหรือมิจฉาฐิทิ และพระพุทธองค์ก็บอกว่าเป็นอจินไต
หรือสิ่งไม่ควรคิด คือผลของบุญและผลของบาป เพราะว่าเราเกิดมาแล้ว infinite ชาติไม่สามารถนับได้ดังนั้นกุศลและอกุศลจึงสลับกับส่งผลวุ่นวายไปหมด เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวก็สุขนั่นไงละครับ เลิกคิดนะครับ เอาเวลาไปเจริญสติแล้วความสงสัยก็จะหมดไปเอง

ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน
อายะ

หมายเหตุ
"จตฺตารีมานิ ภิกขฺเว อจินเตยยานิ น จินเตตพฺพานิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่างนี้คือ

๑.
พุทธวิสัย
วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ใครๆ อย่าคิด
ถ้าใครคิด เป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
๒.
ฌาณวิสัย
วิสัยของผู้ได้ฌาณ (อันนี้ลอกหนังสือครูบาอาจารย์มา ท่านสะกดอย่างนี้
เลยไม่ทราบว่าหมายถึง ฌาน หรือ ญาณ แน่ ต้องขออภัย
ถ้าค้นเจอจะมาแจ้งให้แน่อีกทีค่ะ)
๓.
กัมมวิบาก
กรรมและผลกรรม
๔.
โลกจินตา
คิดเรื่องโลก

อันนี้ ครูบาอาจารย์อธิบายขยายความไว้ดังนี้ค่ะ

ทั้ง ๔ ข้อนี้ ก็เหมือนกัน ใครๆ อย่าคิด ถ้าใครขืนคิด เป็นผู้มีส่วน แห่งความเป็นบ้า มีส่วนแห่งความคับแค้นใจฯ ตามนัยนี้ แสดง ให้เห็นว่า ถึงจะคิดจะวิพากษ์วิจารณ์สักเท่าไรๆ ก็ไม่มีที่สิ้นสุดได้ และไม่ทำให้ผู้นั้นหายสงสัยได้ ถ้าลงมือทำเอง (คือ ลงมือเจริญสติ ตามแนวสติปัฏฐานสี่ ลงมือปฏิบัติกายและใจตามแนวไตรสิกขา คือ ศีล-สมาธิและปัญญา เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นโลกเห็นธรรม ตามความเป็นจริง - deedi) จึงจะหายข้องใจเช่น ผู้ที่จะหยั่งทราบ พุทธวิสัย (= ความสามารถในการหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า - deedi) ต้องบำเพ็ญคุณธรรมคือ บารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยมอย่างพระพุทธเจ้า จึงจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ ผู้ที่จะหยั่งทราบเรื่องการเข้าฌาณ เข้าผลสมาบัติ ตนเองก็จะต้องปฏิบัติธรรมจนได้ผลถึงขั้นเดียวกันก่อน ... จึงจะรู้ได้เช่น เดียวกับท่าน จึงจะรู้กันได้เรียกว่าเดินทางถึงขั้นเดียวกัน การที่จะหยั่ง ทราบผลกรรมของบุคคลและสัตว์ต่างๆ ก็ดี การที่จะหยั่งทราบเรื่องโลก ก็ดีเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า ถ้าจะพากันขืนคิดไปก็ตายเปล่า ไม่มีอันสิ้นสุดยุติลงได้ ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบเจ้าของกระทู้ดังนี้

เท่าที่สันนิษฐานจากการตั้งกระทู้ และยกตัวอย่าง และการตั้งคำถามแล้ว เห็นว่าประเด็นที่คลางแคลงใจจะมีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเด็นใหญ่ คือ

๑. เรื่องสงสัยในชาติหน้าว่ามีจริงหรือไม่
๒. เรื่องความยุติธรรมของนาย A ต่อนาย B


ดังนั้นขอตอบประเด็นที่ ๑ ก่อน...

ความสงสัยเรื่องชาติหน้า หรือชาติที่แล้วเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมเกิดขึ้นได้ และล้วนเป็นเรื่องธรรมดาที่จะให้หายสงสัยได้ หากเรารู้จักหาคำตอบให้ตรงจุด...

สาเหตุของความสงสัยในเรื่องนี้ มองให้ลึกลงไปแล้วจะมาจาก กิเลสประการหนึ่ง ได้แก่ สักกายทิฐิสังโยชน์ คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน หมายถึง ไปยึดติดถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นนาย A, B อยู่จริงๆ เป็นคนเดียว หรือเป็นดั่งคนละคนกัน ไม่ได้เกิดความเข้าใจ รู้ เห็นในระดับปรมัตถ์ว่านาย A, B แท้จริงเป็นเพียงสมมุติของปัจจัยต่างๆ มีอายตนะ, ธาตุสี่, ขันธ์ห้า, ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น มารวมตัวกันแล้วทำงานร่วมกันเท่านั้น เมื่อยังมีกิเลสประการนี้อยู่ ความสงสัยในเรื่องชาติภพย่อมเกิดขึ้นได้

ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะระลึกชาติไปได้เพียงไรก็ตาม แต่ก็ยังคงจะมีความสงสัยในเรื่องนี้หลงเหลืออยู่ได้อีก หรือแม้กระทั่งถูกความรู้ที่ได้จากการระลึกชาตินั่นแหละหลอกเอา เช่น เราเป็นอะไรชาติที่แล้ว แล้วชาติก่อนๆ นั่นอีกเล่าเป็นอะไรหนอสงสัยไม่รู้จักจบสิ้น, เมื่อตนเองสามารถระลึกย้อนได้สูงสุด ๓ ชาติ หลงคิดว่าคนเราล้วนมีชาติแรก คือ ชาติที่ ๓ เท่านั้นนั่นเอง เกิดเป็นว่าคนเรามีมูลกาลแห่งการเกิดอยู่ เป็นต้น

วิธีคลายความสงสัยในเรื่องนี้ที่ดีที่สุด ไม่ใช่ว่าจะไปฟังคำตอบหรือเหตุผลจากผู้ใด แม้จากที่ข้าพเจ้ากำลังตอบอยู่นี้ก็ตามที เพราะแม้เราจะได้ฟังคำตอบจากผู้ใดที่น่าเชื่อถือ เราก็ยังไม่ข้ามพ้นความสงสัยในเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิงได้ เราอาจจะหายสงสัยแม้เพียงชั่วคราว หรือบางส่วน แต่ต่อมาภายหลังในกาลอนาคตเราย่อมเกิดความสงสัย หรือพอกพูนความสงสัยกลับขึ้นมาอีกได้

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เกิดความสงสัยกลับมาอีกเลย คือ เราจะต้องทำการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา จะต้องทำการพิสูจน์ ด้วยการหมั่นเห็นตามเป็นจริง หมั่นพิจารณาโดยแยบคายตามเป็นจริงของสิ่งต่างๆ อยู่เนื่องๆ ให้รู้แจ้งว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา หรือเขา นาย A และ B นี้เป็นเพียงสมมุติของเหตุและปัจจัยต่างๆ มีอายตนะ, ธาตุสี่, ขันธ์ห้า, ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ชาติภพต่างๆ ก็ไม่ใช่ของนาย A และของนาย B อะไร แต่เป็นภพชาติขององค์ธรรมต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเกิดขึ้นแล้วดับไปต่างหาก ให้รู้ว่าการเกิด-ดับของชาติภพจริงๆ มีหลายระดับไม่ได้มีแต่ตอนสิ้นชีวิต หัวใจหยุดเต้นแล้วเท่านั้น ล้วนมีแม้ในระดับของการเปลี่ยนแปลงช่วงชีวิต พฤติกรรม อิริยาบถต่างๆ ฯ

เมื่อได้ทำการพิสูจน์ และปฏิบัติตามอย่างนี้แล้ว เวลารับรู้อะไร ทางกาย เวทนา จิต ธรรม ก็จะเป็น "ของว่าง" ไม่ใช่เรา หรือเขา หรือนาย A นาย B รับรู้ แต่จะรู้เห็นว่าทุกอย่างเป็นเพียงองค์ธรรมเป็นกระแสแห่งเหตุปัจจัยสัมพันธ์กระทบกันเท่านั้น จะค่อยๆ คลายออกจากความยึดมั่นถือมั่นว่าใช่ตัวใช่ตน ใช่บุคคลเราเขา เห็นว่าทุกอย่างเพียงสมมุติ รู้ว่าเป็นอนัตตา คือ เป็นไปตามเหตุและปัจจัยของธรรมต่างๆ ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร รู้และเข้าใจว่า การตายสิ้นชีวิต หัวใจหยุดเต้น ก็เป็นเพียงธรรมดา ของการดับจากธรรมหนึ่ง แล้วเกิดการสืบต่อไปยังธรรมใหม่อีกลักษณะหนึ่งเท่านั้น เป็นการไหลลื่นต่อเนื่องไปเป็นกระแสไม่หยุดยั้ง ไม่ใช่อะไรที่พิเศษพิศดาร ตายแล้วเกิดเลยในทันทีไม่ใช่เนิ่นนานอะไร สิ้นพ้นความสงสัยเรื่องภพชาติได้ในที่สุด หรือทำให้ลดน้อยลงได้อย่างนี้

ทีนี้ประเด็นที่ ๒ เรื่องความยุติธรรม เมื่อเราหมั่นทำอย่างที่แนะนำไปข้างต้นแล้ว ย่อมเกิดความรู้ได้เองอย่างอัตโนมัติว่าเป็นธรรมดาของเหตุและปัจจัย เหตุและผล "เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" ยุติธรรมอย่างนี้นี่เอง ยุติธรรมตามธรรม ไม่ใช่ยุติธรรมตามเรา รู้เอง เห็นเอง ไม่ต้องถามใครอีก ไม่ต้องเชื่อตามใครอีก......

ขอให้เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตออกความเห็น
แบ่งเป็น ๒ คำถาม และ ๒ คำตอบ
๑.ชาติหน้ามีจริงหรือ ???
คำถามนี้ไม่ไช่เพิ่งมีคนถาม ถามกันมาเป็นพันปี และคำตอบบางคนก็ถึงที่สุด บางคนก็ไม่พบคำตอบที่น่าพอใจ
ผมเองก็ยังหาคำตอบอยู่ ทั้งๆที่ผมเชื่อสนิดใจแล้วว่า ชาติหน้ามีจริงสำหรับคนที่ต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารนี้
ผมเสนอข้อคิดนี้ให้ลองพิจารณาครับ
วันนี้(วันที่ผมโพส) วันที่ ๒๖ พค.๕๒ คุณเชื่อหรือไม่ว่า วันที่ ๒๗ พค.๕๒ (วันพรุ้งนี้)จะมีไหม
ถ้าคุณเชื่อว่ามี ลองถามตัวเองว่า คุณเห็นพรุ้งนี้หรือยัง ถ้าคุณเข้าใจว่า ถึงยังไม่เห็นพรุ้งนี้แต่ก็เชื่อได้ว่ามี เพราะเคย
เป็นแบบนี้มานานและก็เคยพบว่ามีพรุ้งนี้อยู่ทุกๆวัน คุณเข้าใจเถิดว่า ผู้ที่เขาบอกว่าชาติหน้ามี เช่นพระพุทธเจ้า
หรือพระอริยสาวกเป็นต้น ท่านเหล่านั้นเห็นมาแล้ว และท่านสามารถเห็นด้วยจักษุของพระอริยะที่มีเฉพาะตนแล้ว
ท่านจึงมาตักเตือนเรื่องทำความดีเพื่ออนาคตชาติ ข้อที่ท่านเหล่านั้นสามารถมองเห็นอนาคตได้นั้น ง่ายดุจเรานึกถึง
การมีขึ้นของวันพรุ้งนี้แหละครับ ข้อนี้ลองพิจารณาดูครับ


๒.เรื่องนายเอและนายบี กับความยุติธรรม
ข้อนี้ต้องทำความเข้าใจหลักการของการเกิดขึ้นและการดับของรูปนามหน่อย ปกติสัตว์ทั้งหลายในภพภูมิทั้งหมด
สรุปแล้วมีเพียงรูปและนาม รูปหมายถึงสภาวะที่สัมผัสได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนนามหมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่รู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ในที่นี้คือ จิต นั่นเอง ในทางพระพุทธศาสนาสอนว่า ทั้ง ๒ อย่างนี้(คือรูปและนาม)ต้องเกิดดับๆอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับการกระพริบของไฟฟ้ากระแสสลับ(ปกติไฟฟ้าที่ใช้อยู่ตามบ้าน๕๐-๗๕ ครั้งต่อวินาที) โดยปกติเราจับการกระพริบนั้นไม่ทันเลย รูปนามก็เช่นกัน โดยเฉพาะนาม(จิต)นั้น
ท่านว่าชั่วดีดนิ้วมือมีการเกิดดับถึงหนึ่งล้านล้านครั้งโดยประมาณ(อ้างอิงอธิบายพระอภิธรรมของมหาจุฬาลงกรณ์
ราชวิทยาลัย,อภิธรรมมัตถโชติกะวิทยาลัย) และลักษณะของการเกิดดับนั้น จิตดวงที่ ๒ จะอาศัยสิ่งที่จิตดวงที่ ๑
ทำไว้ จิตดวงที่ ๓ จะอาศัยจิตดวงที่ ๒ ทำไว้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า กรรมทายาท ส่วนรูปนั้นเมื่อแตกสลาย
(ตาย) ก็กลับสู่สภาพเดิมไป กลายเป็นธาตุต่างๆตามเดิม
ในกรณีนายเอทำนายบีได้ ก็จัดว่ายุติธรรมแล้วถ้าเข้าใจตามลักษณะที่ผมออกความคิดเห็นไป เพราะแม้จะต่าง
ที่รูปกายคนละคน แต่นายบี(สภาวะนาม,จิต)ก็สืบเนื่องทุกอย่างมาจากนายเอ อนึ่งการต่างที่รูปกายนั้นจริงๆแล้ว
จะว่าไม่ต่างก็ได้ เพราะทั้งหมดเป็นผลของรูปและนามของนายเอที่ทำไว้นั่นเอง เมื่อมาเกิดใหม่รูปกายก็ได้มา
จากการสั่งสมกรรมของนายเอนั่นเอง อุปมาเหมือนคนสมัครงานได้ วันนี้สมัครงานได้ พรุ้งนี้เริ่มทำงาน รูปกาย
และจิตของผู้สมัครนั้นคนละรูปกายและจิตของคนที่ไปทำงานในวันรุ่งขึ้น แต่เพราะการสืบเนื่องทางรูป(บุคคลิก
ลักษณะจำเพาะที่เป็นเหตุให้ผู้รับรับเข้าทำงาน)และสืบเนื่องทางนาม(ยกตัวอย่างความปกติทางจิตที่เป็นเหตุให้ผู้
รับรับเข้าทำงานเป็นต้น) ทำให้ไปทำงานได้โดยไม่มีใครทักท้วงว่าคนละคนกัน ถ้าพิจารณาดังนี้ความที่คิดว่าไม่
ยุติธรรมก็จะหมดไปเอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


จะคิดแบบนั้นก็ได้ คือถือว่าเป็นคนละคนกัน เวลาเราตายไปก็ถือว่า จบ สำหรับคนนี้ ส่วนดวงจิตที่จะหยาบหรือละเอียดจะนำพาไปเกิดที่ภูมิใด ก็ถือเป็นเรื่องวันข้างหน้า เพราะเราก็ไม่รู้อยู่แล้วว่า ในอดีตชาติจิตเรา (ในขณะนั้น) ทำอะไรไว้...

ถ้าเราไปเกิดเป็นเปรต เราก็ไม่ตระหนักหรอกว่า ครั้งหนึ่งเราเคยเป็นคนมาโพสต์กระทู้แถวนี้ หรือในตอนนี้ เราก็ไม่รู้หรอกว่า ครั้งหนึ่งเราอาจอยู่ในโลกเทวะ มีเทวฤทธิ์เป็นอำนาจเฉพาะตน

แต่ทีนี้ เรื่องมันมีอยู่ว่า ในหมู่ผู้ปฏิบัติจนได้สมาธิขั้นสูงนั้น (ไม่ว่าจะเป็นพระ พราหมณ์ หรือฤาษี) สามารถรับรู้ถึงความเป็นเปรต หรือความเป็นเทวะได้ การได้เห็นย่อมทำให้เกิดความนึกคิดว่า เป็นเปรตนี้ ช่างไม่น่าพิศมัยเลยหนอ อยากเสพแต่ร่างกายไม่มีรูป หิวแต่กินไม่อิ่ม เพราะไม่มีรูปให้อิ่ม และของที่กินก็เป็นเพียงมโนภาพจากเครื่องเซ่นไหว้เท่านั้น บางท่านที่สมาธิสูงขึ้นไปอีก สามารถรับรู้ในต่างโลก ก็ย่อมเห็นในสิ่งที่แย่กว่า...
แต่เมื่อได้รับรู้ถึงเทวะ ย่อมเกิดความนึกคิดว่า เทวะนี้หนอมีเทวฤทธิ์ ทิพยอำนาจ และมีรูปนิมิตที่งดงาม (งดงามแบบเรียบๆ เย็นๆ ส่วนรูปจำแลงของภูมิอื่นนั้น เรียกว่า สวย จะตรงกว่า ::: เป็นความเข้าใจในตอนนี้นะ)

เมื่อได้เห็น จึงเกิดข้อเปรียบเทียบ จึงได้นำมาบอกต่อๆ กันว่า ทำดีไว้เถิด ทำชั่วไม่มากจะได้เกิดเป็นคนอีก ก็นับว่าโอเค
ส่วนคนที่ไม่เคยเห็น ก็ย่อมแคลงใจเป็นธรรมดา...


ปล. ไปเกิดเป็นสัตว์ก็ยังนับว่า ดีกว่าอบายอื่นๆ เพราะมันอิ่มได้ แม้ร่างกายจะถูกเบียดเบียนหนัก (เห็บกัด แต่ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น การกำจัดเห็บให้หมา จึงเป็นบุญอย่างหนึ่ง อิอิ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ในทางพระพุทธศาสนา เชื่อว่า
หลักของการเวียนว่ายตายเกิด หรือสังสารวัฏ นั้น


คือ การเกิดดับกระแสจิตที่เป็นผลมาจากความยึดมั่นในอุปทานขันธ์
ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวเราของเรา
เมื่อมีการยึดมั่นในอุปทานขันธ์ว่ามีตัวเราของเรา
ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์สุข ทุกข์ วนเวียนเป็นสังสารวัฏอยู่ร่ำไป


นอกจากนี้แล้วก็ยังมี “กามตัณหา”
ที่เป็นทั้ง “กุศลกรรม” และ “อกุศลกรรม” ที่กระทำไว้
เป็นตัวกำหนดภาวะแห่งชีวิต
หรือ ภพภูมิที่เราจะไปเกิดใหม่อีกด้วยค่ะ

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า

การถือกำเนิดใหม่ในภูมิแห่งมนุษย์
ที่มีลักษณะ รูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง สุขภาพ ฐานะความเป็นอยู่
อุปนิสัย สติปัญญา ยุคสมัย เวลา และสถานที่เกิด เป็นอย่างไรนั้น
(คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ และ ปโยคสมบัติ)

จึงเป็นผลอันเกิดมาจากการสร้างเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เป็นวงจรที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” นั่นเอง


อย่างไรก็ตาม กฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิดตามหลักพระพุทธศาสนานี้
ก็ยังถูกกำหนดไว้ตามหลัก พีชนิยาม
(Physical organic order, Biological law)
ซึ่งก็เป็นกฏธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดยีนส์จากบรรพบุรุษตามหลักพันธุกรรมศาสตร์
และตามหลักชีววิทยาเจริญพันธุ์ (Reproductive Biology)
ในปัจจุบันเช่นกัน

เช่น...

นาย ก. เป็นพ่อของนาย ข
นาย ข. เป็นพ่อของนาย ค.
นาย ค. ย่อมได้รับยีนส์จำนวนหนึ่งมาจากนาย ก. ผู้เป็นปู่

ยีนส์ของนาย ก.
ย่อมเวียนว่ายไปเกิดอยู่ในเซลส์ภายในร่างของนาย ค.

นาย ค. จึงมีรูปร่างหน้าตา
มีพฤติกรรมต่างๆ เหมือนปู่ คือ นาย ก.

ยีนส์ของนาย ก. เวียนว่ายตายเกิดต่อไป
จนชั่วลูกหลานตามเงื่อนไขของเหตุปัจจัย

แต่นาย ค. ย่อมไม่ใช่นาย ก.
และย่อมไม่ใช่ตัวนาย ก.
มาเกิดเป็นนาย ค. อย่างแน่นอน


:b43: :b43: :b43:

การสร้างเหตุปัจจัยอย่างไร...ก็จะได้รับผลอย่างนั้น....
ดังนั้น....กฏแห่งกรรมจึงยุติธรรมนักค่ะ
:b8: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 94 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร