วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 21:29
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท กับ ไตรลักษณ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 22:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เดียว ต้องรอ มวยมีสไตล์ก่อนนะ :b12:
ผมมันมวยวัด เอาหลักเอาการไม่ค่อยได้ :b4:

:b11: :b11: :b11: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


วชิรธรรม เขียน:
ปฏิจจสมุปบาท กับ ไตรลักษณ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ :b8:

เหตุ กับ ผล... :b6:
ทุกข์ กับ สมุทัย... :b6:
นิโรธ กับ มรรค... :b6:
.... :b4: :b4: ....

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 16:53
โพสต์: 113

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
คุณ natdanai ตอบได้ดีค่ะกระชับชัดเจน :b13:
แต่ดิฉันว่าขยายความอีกสักหน่อยจะได้ไหมค่ะเพื่อเป็นธรรมทาน
และเพื่อเจ้าของกระทู้จะได้ไม่งงและเข้าใจมากกว่านี้
:b8: :b8: :b8: :b4:

.....................................................
คำของหลวงพ่อชา
“ทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เดียว ต้องรอ มวยมีสไตล์ก่อนนะ :b12:
ผมมันมวยวัด เอาหลักเอาการไม่ค่อยได้ :b4:
:b11: :b11: :b11: :b13:


พูดสะเห็นภาพเลยมวยมีสไตล์ๆ ต้องยกให้ สามารถ พยัคฆ์อรุณ ดูจำได้ไฟล์ต่อยกับมวยต่างชาติ (จำชื่อไม่ได้) คู่ชกไล่ชกเอาๆ สามารถถอยๆไปติดเชือกเด้งเชือกหลบหมัด ...ชกเท่าไหร่ก็ไม่ถูก
สามารถอาศัยจังหวะเผลอชกหมัดเดียวน๊อคเลย คนชื่นชมกันทั้งเมืองว่าลีลาดีมีสไตล์ชกเยื่ยมต้องสามารถ พยัคฆ์อรุณ
ถึงไฟล์ล้างตาแก้มือ (คู่ชกคนเดิม) ระฆังยกแรกคู่ชกไม่ปล่อยให้สามารถตั้งตัวได้ ไล่ถลุงๆ สามารถถอยหนีๆติดเชือกอีก คนดูคาดว่า สามารถคงใช้สไตล์เดิม แต่ที่ไหนได้ โดนถลุงน๊อกคามุม โดยที่ยังไม่ทันออกหมัดเลย คนก็ว่า สามารถล้มมวย ทำไมไฟล์แรกกับไฟล์นี้ห่างกันราวฟ้าดินให้เขาน๊อคง่ายๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วชิรธรรม เขียน:
ปฏิจจสมุปบาท กับ ไตรลักษณ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ :b8:



ปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงของธรรมชาติให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มี ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น

นำมาสั้นๆ พอให้เห็นเค้า ยาวเกินไปเดี๋ยวเฝือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ ท่านวชิรธรรม และกัลยาณมิตรธรรมทุกท่าน :b8:

เริ่มกระทู้ก็เป็นโจทย์์ที่ตอบยากมาก เอาแบบง่าย ๆ แล้วกัน อันที่จริงผมก็เป็นมวยมีสไตล์ ฝีมือจัดจ้านพอสมควร แต่อ่อนซ้อมไปหน่อย เรี่ยวแรงไม่ค่อยจะมี ต้องขอให้ท่านกรัชกายเปิดเพลงอ่อนซ้อมให้ฟังซะแล้ว ชกได้แค่ยกเดียวครับ ยกสองต้องให้พี่เลี้ยงโยนผ้า แหะ..แหะ.. :b32: :b9:

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อภิสมัยสังยุตต์
พุทธวรรคที่ ๑
๑. เทศนาสูตร

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

[๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ฯ

[๓] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

จบสูตรที่ ๑


:b43: องค์ธรรมที่อาศัยองค์ธรรมอื่นแล้วเกิดขึ้น ปรากฎอยู่ชั่วขณะ เพื่อปรุงแต่งให้เกิดองค์ธรรมอื่นต่อไป การที่ปรุงแต่งกันนั้นเรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” อาการที่องค์ธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันเรียกว่า “ปัจจยการ”

กลุ่มธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกัน แล้วเกิดขึ้นพร้อมกันนี้ แบ่งออกเป็นสองกระบวน (สาย) คือสายเกิด (สมุทยวาร หรือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท) เป็นกระบวนการเกิดแห่งทุกข์ เริ่มต้นที่ “อวิชชา” ...
เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น นี่คือสายเกิด......... และ
สายดับ (นิโรธวาร หรือปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท) เป็นกระบวนการดับแห่งทุกข์ เริ่มต้นที่ “อวิชชา” ...เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมดับไป นี่คือสายดับ.........
:b43:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาเธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๓.


:b43: ไตรลักษณ์ คือสามัญลักษณะ ๓ ประการ เป็นกฏแห่งการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ตามสามัญ สามลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จากการที่รู้แจ้งถึงกฎไตรลักษณ์ จะทำให้รู้เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งที่เป็นสังขาร และวิสังขาร ล้วนว่างเปล่า จากความหมายแห่งความเป็นตัวตน จะรู้ถึงความเป็นจริงที่แท้จริง ก้าวเข้าสู่ ”วิชชา” ซึ่งจะสามารถนำไปดับ “อวิชชา” ได้ในที่สุด......

ครับ...เมื่ออวิชชา คือความรู้ผิด เห็นผิดนั้น ถูกวิชชา คือความรู้ตามความเป็นจริงที่ถูกต้อง มาตั้งอยู่แทนที่แล้ว อวิชชา ก็จะดับไป เมื่ออวิชชาดับ สังขาร (ความคิดนึกปรุงแต่งในสิ่งผิด ๆจึงไม่อาจเกิดขึ้น) ก็จะดับไป ...เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมดับไป ...วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ ย่อมดับลงไปในที่สุด เป็นอันจบวงจร หมดสิ้นภาระของการเวียนวนในวัฏสงสาร จิตนั้นย่อมบรรลุถึงฝั่งอันเกษม คือ "พระนิพพาน" ในที่สุด
:b43: :b43: :b43:

ครับ...แบบง่าย ๆ เฮ้อ!!...หมดแรงแล้วครับ (ลองศึกษาเพิ่มเติมเองแล้วละกัน) :b16:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2643605056711sb9.gif
2643605056711sb9.gif [ 3.96 KiB | เปิดดู 5139 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
อันที่จริงผมก็เป็นมวยมีสไตล์ ฝีมือจัดจ้านพอสมควร แต่อ่อนซ้อมไปหน่อย เรี่ยวแรงไม่ค่อยจะมี
ต้องขอให้ท่านกรัชกายเปิดเพลงอ่อนซ้อมให้ฟังซะแล้ว ชกได้แค่ยกเดียวครับ ยกสองต้องให้พี่เลี้ยงโยนผ้า แหะ..แหะ.


พูดเล่นหรอพูดจิงไม่รู้ล่ะเพียงพาดพิง (ขอให้ท่านกรัชกายเปิดเพลง อ่อนซ้อม ให้ฟัง)

เท่านั้นเป็นหลักฐานแล้ว

"อ่อนซ้อม"

http://www.imeem.com/aphikanya/music/NYorL709//

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ คือลักษณะที่มีอยู่และประจำอยู่กับ ทุกสรรพสิ่งตลอดโลกธาตุ
เว้นก็แต่นิพพานเพียงกรณีเดียว ที่เป็นอนัตตา แต่ไม่มี อนิจลักษณะ
และทุกขลักษณะประจำอยู่ เพราะนิพพานไม่ใช่สังขาร และไม่ใช่ทั้งรูปธรรมนามธรรม
ไม่ใช่สิ่งที่ตั้งอยู่เหมือนกับทุกสิ่งที่ตั้งอยู่ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ทรงอยู่โดยไม่ต้องตั้งอยู่



ไม่ว่าสังขารที่เป็นรูปธรรมนามธรรม ทั้งอย่างหยาบประณีตละเอียด
ทั้งภายในภายนอก ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ล้วนมีลักษณะ
อันเหมือนกันและเสมอกัน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ไตรลักษณ์ คือตัวกฏธรรมชาติที่แสดงถึง ลักษณะอันเป็นตัวกฏธรรมชาติ
ที่แฝงอยู่และประจำอยู่ กับสังขารทั้งหลาย เป็นตัวกฏที่ต้องมองให้ลึกเข้าไป
จึงเห็นได้ด้วยปัญญา

และนอกจากกฏ ของธรรมชาติที่แสดง ความเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาแ้ล้ว
สังขารทั้งหลายที่อยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ ก็จะมีระบบการไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
ไปตามกฏธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งคือ กฏอิทัปปัจจยตา

กฏของความเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ความเป็นเหตุ และความเป็นผล
ส่งเนื่องกันอย่างเป็นกฏเกณฑ์

สิ่งทั้งหลายล้วนไหลเวียนเปลี่ยนแปลง ตามเหตุตามปัจจัย
เกิดตามเหตุปัจจัย ดับตามเหตุปัจจัย อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นธรรมดา และเป็นกฏแห่งสัจจธรรม ที่ทรงอยู่คู่กับทุกสรรพสิ่งตลอดอนันตกาล


กฏของไตรลักษณ์แสดงถึงลักษณะเฉพาะ ที่ประจำอยู่กับธาตุธรรมชาติทั้งปวง

กฏอิทัปปัจจยตา คือกฏธรรมชาติที่ประจำอยู่เป็นตัวระบบการไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
ของธาตุทั้งหลาย ที่ไหลเวียน เพราะทุกสิ่งที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง เกิด ดับ
จะต้องเปลี่ยนแปลงเกิดดับ ตามกฏของ อิทัปปัจจยตา

กฏอิทัปปัจจยตา เป็นกฏที่ครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่ง เว้นนิพพาน
ไม่ว่าสังขารทั้งหลายที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต ล้วนเปลี่ยนแปลงเกิดดับตามกฏอิทัปปัจจยตา


ปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นธรรมะที่แสดงถึงรายละเอียด ของการเกิด ดับ ของขันธ์ทั้ง5
หรือตัวชีวิต ตามกฏเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา ที่แสดงถึงความเป็นเหตุเป็นปัจจัย
อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นธรรมะที่แสดงให้รู้ว่า ชีวิตมีธรรมชาติอย่างไร
มีระบบการเกิดอย่างไร มีกระบวนการสืบต่อกันอย่างไร และดับรอบลงสนิทด้วย
อาการอย่างไร เป็น ธรรมะที่แสดงถึง รายละเอียดของเนื้อตัวชีวิตอย่างเป็นเหตุ
เป็นผล เป็นเหตุเป็นปัจจัย


สรุปว่า ไตรลักษณ์ คือตัวกฏธรรมชาติ ที่แสดงถึงลักษณะซึ่งประจำอยู่กับ
สังขารทั้งหลาย ตลอดถึงธรรมชาติทั้งปวง

ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมะที่แสดงรายละเอียดของชีวิต ที่ประกอบด้วยขันธ์5
ว่ามีธรรมชาติอย่างไร เกิดอย่างไร ดับอย่างไร สืบต่อกันอย่างไร
เป็นธรรมที่แสดงถึงความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ตามกฏของอิทัปปัจจยตา

และในปฏิจจสมุปบาทนี้ ก็จะสามารถมองเห็น กฏธรรมชาติที่ครบถ้วน
แฝงอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย

เมื่อเห็น อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ในสภาวะอันเดียวกันนี้ ก็จะเห็น สุญญตา
อนัตตา อนิจจตาและทุกขตา อยู่ในที่เดียวกันนี้ด้วย


ขอร่วมแสดงความเห็นแต่เพียงคร่าวๆเท่านี้ครับ


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย บัวศกล เมื่อ 27 มิ.ย. 2009, 05:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:47
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
:b48: :b48: :b48: :b48:


ยาวจนผมต้องย้อนกลับไปอ่านช้า ๆ สองรอบ
และคงต้องขอกลับไปอ่านเป็นรอบที่สามและสี่เพราะต้องสอบทานกับสิ่งที่ผมเข้าใจก่อน
คุณกลั่นออกมาเองหรือว่าอ้างอิงจากตำราเล่มใดละนี่...
ถ้าอ้างอิง ก็บอกที่มาที่ไปไว้ด้วยก็ดีนะครับ เผื่อใครสนใจจะได้ไปศึกษาเพิ่มเติมได้
แต่ถ้าคุณยินดีที่จะทะยอยนำมาลง ก็ดีครับ ผมจะได้คอยติดตาม คห. ของคุณ
ประหนึ่ง แฟนคลับ ...
:b14: :b14: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 21:29
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับคำตอบที่ทุกท่านได้เมตตานะครับ สาธุ............. :b17: :b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วชิรธรรม เขียน:
ปฏิจจสมุปบาท กับ ไตรลักษณ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ :b8:



ปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงของธรรมชาติให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มี ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น

นำมาสั้นๆ พอให้เห็นเค้า ยาวเกินไปเดี๋ยวเฝือ


สาธุ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้ไม่รู้ทำไม ไม่อยากศึกษาธรรมะเลย อย่างคำถามประเภทนี้ถ้าเป็นเมื่อก่อน ก็คงอยากรู้อยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้จะรู้ไปทำไม หรือว่าจะเอาให้ถึงขั้นเป็นปราชญ์พุทธกันไปเลย ขอระบายหน่อย ตอนนี้เพลิดเพลินกับโลกมาก ปัจจุบันก็มีความสุขตามอัตภาพ อนุโมทนาต่อคำถาม และทุกคำตอบ

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


di_dee เขียน:
:b8: :b8: :b8:
คุณ natdanai ตอบได้ดีค่ะกระชับชัดเจน :b13:
แต่ดิฉันว่าขยายความอีกสักหน่อยจะได้ไหมค่ะเพื่อเป็นธรรมทาน
และเพื่อเจ้าของกระทู้จะได้ไม่งงและเข้าใจมากกว่านี้
:b8: :b8: :b8: :b4:

คงไม่ต้องขยายแล้วนะครับ... :b13:
เพราะครบถ้วนแล้ว...ทั้งปริญัติ และปฏิบัติ :b6:
ส่วนที่เหลือก็ไปทำกันเอาเองนะครับ... :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร