ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23511 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ [ 06 ก.ค. 2009, 00:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า |
กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต พยสนสูตร [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ จบสูตรที่ ๘ อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔ ๘. พยสนสูตร อรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘ พยสนสูตรที่ ๘ ....พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ในคำว่า อกฺโกสกปิรภาสโก อริยุปวาที สพฺรหฺมจารีนํ นี้ พึงประกอบ สพฺรหฺมจารี กับ อกฺโกสนบท และ ปริภาสกบท. บทว่า เป็นผู้ด่าสพรหมจารี เป็นผู้บริภาษสพรหมจารี. ผู้ว่าร้ายด้วยอันติมวัตถุว่า เราจักฆ่าคุณของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมชื่อว่า อริยุปวาที. บทว่า สทฺธมฺมสฺส น โวทายนฺตี ความว่า สัทธรรมคือศาสนาที่นับได้ว่า ไตรสิกขาของภิกษุนั้นย่อมไม่ถึงความผ่องแผ้ว. โรคเท่านั้น พึงทราบว่าอาตังกะ เพราะกระทำให้ชีวิตลำบาก ในคำว่า โรคาตงฺกํ นี้. จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘ |
เจ้าของ: | ariyachon [ 06 ก.ค. 2009, 08:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า |
อนุโมทนาครับ ด้วยทุกวันนี้ บุคคลที่ปรามาสพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ...มีมากเหลือเกิน ผู้ที่มักปรามาสนั้นก็ไม่ใช่อื่นใด คือผู้ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ที่มักกล่าวโจมตี ล่วงเกินพระอริยะสงฆ์ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยภูมิธรรม อันเพียงน้อยนิดของตน ที่คิดว่ายิ่งใหญ่เหลือประมาณ โทษของการปรามาสพระอริยะสงฆ์ จะทำให้ไม่ก้าวหน้าในธรรม ยิ่งทำยิ่งปฏิบัติ ก็ยิ่งฟุ้งซ่าน แล้วมักคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้ว กลายเป็นพวกบ้าๆ บอๆ เที่ยวสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทางแก้ควรจะขอขมาพระรัตนตรัยบ่อยๆ เป็นประจำ แล้วเลิกพฤติกรรมที่ชอบปรามาส ล่วงเกินพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหลาย ผู้ที่ประพฤติดีประพฤติชอบ อาจจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ครับ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ariyachon [ 06 ก.ค. 2009, 08:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า |
พระพุทธเจ้าท่านตรัสหลักการป้องกันภัยไว้สามข้อใหญ่ หนึ่งคืออย่าก่อกรรมชั่วเลย สองคือเร่งสร้างกรรมดีไป สามคืออย่าติเตียนอริยเจ้า จากบันทึกในพระไตรปิฎก เราพอทราบกันได้ว่าวิธีเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า มีอยู่ ๒ หนทางใหญ่ๆ ได้แก่ ๑) มีกรรมสัมพันธ์เชิงลบกับท่านโดยตรง เช่น พระเทวทัตเคยผูกใจเจ็บพระพุทธเจ้ามาแต่ปางก่อน ๒) ปรามาสอริยสาวก ในพระอภิธรรมปิฎกชี้ว่า การปรามาสพระโสดาบัน จะเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระโสดาบัน แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระสกทาคามี แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระอนาคามี แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระอรหันต์ แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้าในที่สุด สรุปคือเพียงพลาดไปปรามาสพระโสดาบัน ก็โน้มเอียงแล้วที่จะก่ออนันตริยกรรม เที่ยงที่จะปิดกั้นสวรรค์และนิพพานได้ในที่สุด ส่วนหนึ่งจาก http://dungtrin.com/mag/ |
เจ้าของ: | คนขวางโลก [ 06 ก.ค. 2009, 12:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า |
แม้แต่พระอรหันต์ก็ยังมีโอกาสทำผิดได้นะท่าน คำว่า การเตือน กับ การปรามาส มันต่างกันอยู่นะ อาจจะเตือนด้วยคำพูดที่ค่อนข้างรุนแรง แต่ ก็ยังต่างจากการปรามาสอยู่ดีนะครับ ลองดูนะ พระอรหันต์ที่ศึกษาน้อย...ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบาปมาก เล่ม 16 หน้า 302 , 308 ...พระขีณาสพ (อรหันต์) ที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติ ( ละเมิด ) ที่เป็นโลกวัชชะ ( การละเมิดที่มีโทษทางโลก ) ก็จริงอยู่ แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ( ทางกาย ) ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ ( ให้คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ( ผู้ไม่ใช่ภิกษุ ) เป็นต้น ย่อมต้องอาบัติในวจีทวาร ( ทางคำพูด ) ในประเภทชักสื่อ หรือกล่าวธรรมโดยบท หรือพูดเกินกว่า 5 – 6 คำ หรือบอกอาบัติที่เป็นจริง เป็นต้น ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวาร ( ความคิด ) ด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน. แม้พระขีณาสพ (พระอรหันต์) ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยังเกิดมโนทุจริต (ความคิดชั่ว) ขึ้นได้ ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะปาตุเมยยกะ ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ในคราวที่ทรงประณามพระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับภิกษุประมาณ 500 รูป..... ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ ( ไฟอันเกิดจากผู้ควรรับของทำบุญ ) นี้ คำว่า ทกฺขิณา ( ของทำบุญ ) คือปัจจัย 4. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล ( ผู้สมควรรับของทำบุญ ). ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะมากเเก่คฤหัสถ์ ( โยม ) ด้วยการชักนำ ให้ประพฤติในกัลยาณธรรม ( ธรรมอันดีงาม ) ทั้งหลายเป็นต้นว่า สรณะ 3 ศีล 5 ศีล 10 การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุงสมณพราหมณ์ผู้มีธรรม. คฤหัสถ์ (โยม) ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน. และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรต (เปรตที่ได้รับสุขและทุกข์สลับกันไป) โดยละเอียดด้วย |
เจ้าของ: | suwichai [ 06 ก.ค. 2009, 14:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า |
คณขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ครับ คุณขงเบ้งน่าจะสังเกตตัวเองนะครับว่า กำลังรับกรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้าประเภทไหนอยู่ หรือว่ารับไปแล้วทุกประเภท มีเพียงประเภทเดียวที่ยังไม่ได้รับกรรม คือ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ |
เจ้าของ: | ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ [ 06 ก.ค. 2009, 15:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า |
suwichai เขียน: คณขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ครับ คุณขงเบ้งน่าจะสังเกตตัวเองนะครับว่า กำลังรับกรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้าประเภทไหนอยู่ หรือว่ารับไปแล้วทุกประเภท มีเพียงประเภทเดียวที่ยังไม่ได้รับกรรม คือ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ อันนี้ท่านsuwichai คงไม่เข้าใจนะงับ แต่ผม ไม่ต้องไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรกนะงับ ผมมีสติระวัง กาย วาจา ใจดี ส่วนบางคนที่บิดเบือนพระพุทธพจน์ น่าจะไปเร็วนะงับ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |