วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สำคัญทั้งสิ้น
เป็นกระบวนการที่สืบเนื่องกันเป็นไป

ในกรณีที่ไม่ได้ตรัสรู้อริยมรรคเอง(ไม่ได้เป็นมัคคัญญู).... แต่ เป็นมัคคานุคา คือ ผู้เดินตามมรรค หรือ ในเส้นทางแห่งอนุพุทธะ ปริยัติก็เป็นสิ่งสำคัญ.....

ถ้า ปราศจากปริยัติเลย การปฏิบัติก็จะเพี้ยนออกนอกเส้นทางง่าย และ ย่อมไม่บังเกิดปฏิเวธที่ถูกต้อง

แต่ ถ้า หากในเวลาปฏิบัติแล้ว มัวแต่เอาสัญญาปริยัติเข้ามายึดหมายมากจนเป็นเหตุไม่รู้ชัดในสภาวะแห่งธรรมต่างๆที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น ก็กลายเป็นมีแต่สัญญา ไม่เกิดปัญญา และ ย่อมไม่บังเกิดปฏิเวธที่ถูกต้อง เช่นกัน



อนึ่ง เราท่าน จะไปจำกัดคำว่า ปริยัติ เอาไว้เพียงแค่ การศึกษาธรรมจากพระไตรปิฎก หรือ คัมภีร์อื่นๆ หรือ เข้าชั้นเรียนพระปริบัติธรรมเท่านั้น ก็คงไม่ถูก

ในความจริงแล้ว แม้นแต่ การที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนหลักการปฏิบัติ(ที่ถูกต้อง ที่ท่านเคยผ่านมาก่อน)ให้เราท่านนำฟัง ก็นับว่าเป็นปริยัติด้วย เช่นกัน...เพราะ ครูบาอาจารย์ ไม่ว่าจะองค์ไหนที่ปฏิบัติชอบ ก็ล้วนแต่ใช้หลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้(ซึ่ง นี่ก็คือ ปริยัติ นั่นเอง)ทั้งสิ้น เช่นกัน....
การฟังคำแนะนำของครูบาอาจารย์ จึงเป็นปริยัติเช่นกัน เพียงแต่ ไม่ใช่ปริยัติที่ศึกษาโดยตรงจากพระไตรปิฎกด้วยตนเองเท่านั้น.

ซึ่ง การศึกษาปริยัติผ่านครูบาอาจารย์นั้น ก็มีทั้งแง่ดี และ แง่เสีย.

ถ้า ได้ครูบาอาจารย์ที่เป็นอุชุปฏิปันโน(ปฏิบัติตรง) ที่ท่านฉลาดในจริตนิสัยแห่งศิษย์มาแนะนำให้ ก็โชคดีไปเลย.... เพราะ ท่านจะสรุปสาระหลักแบบกระชับมาให้ศิษย์แล้ว เรียกว่า มีแต่เนื้อหาที่สำคัญของธรรมที่ตรงกับจริตนิสัยของเราเลย ช่วยย่นระยะเวลาให้ศิษย์ได้

แต่ ถ้าได้ครูบาอาจารย์ที่เพี้ยน มาแนะนำให้ แล้วเราเชื่อตามโดยไม่ย้อนกลับไปตรวจสอบ กับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิม(ในพระไตรปิฎกแปลไทย) เรา ก็อาจจะเข้าป่าออกทะเล เพี้ยนตามครูบาอาจารย์ไปด้วย



คำถามที่ว่า


อ้างอิงคำพูด:
ระหว่างปริยัติกับการปฏิบัติอันไหนสำคัญกว่ากัน


จึงตอบแบบแง่มุมเดียว(เอกังสพยากรณ์)ไม่ได้
ต้องตอบแบบแยกแยะรายละเอียด(วิภัชชพยากรณ์)
ด้วยเหตุนี้


ชัดเจนครับ

ท่านอาจารย์หมอ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 18:25
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านมากคะที่ให้ความกระจ่าง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อาตมา: โฮ่... เจ้าเบอร์หนึ่ง มันเปลี่ยนไป
ฤาษีหาชื่อ: มันเพี้ยนรึ ?
อาตมา: วินิจฉัยว่า มันอาจจะบรรลุธรรม จริตเลยเปลี่ยน
ฤาษีหาชื่อ: ส้นตีนจริต ?
อาตมา: เป็นอจินไตย ผู้ใดถาม ผู้นั้นมีส่วนแห่งความเป็นบ้า
ฤาษีหาชื่อ: อืม... :b7: :b7: :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
อาตมา: โฮ่... เจ้าเบอร์หนึ่ง มันเปลี่ยนไป
ฤาษีหาชื่อ: มันเพี้ยนรึ ?
อาตมา: วินิจฉัยว่า มันอาจจะบรรลุธรรม จริตเลยเปลี่ยน
ฤาษีหาชื่อ: ส้นตีนจริต ?
อาตมา: เป็นอจินไตย ผู้ใดถาม ผู้นั้นมีส่วนแห่งความเป็นบ้า
ฤาษีหาชื่อ: อืม... :b7: :b7: :b7:

:b13:

อย่ามาๆ ฤาษีตี๋ :b29:
ข้อหาบรรลุธรรมนี่มันข้อหาหนักนะนี่

อยู่กันมาก็นานนม ดูกันไม่ออกเลยหรืออย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบเจ้าของกระทู้ดังนี้

ถาม : ปริยัติและการปฏิบัติอันไหนสำคัญกว่ากัน?

ตอบ : สำคัญทั้งคู่ แต่ปฏิบัติสำคัญกว่าปริยัติ หากจะสำคัญที่สุดต้องปฏิเวธ เพราะหากไม่มีปริยัติ ก็ปฏิบัติไม่ถูก หากไม่มีปฏิบัติ ก็ไม่มีปฏิเวธ แต่หากมีแต่ปริยัติ ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติ แต่ยังไม่ได้ปฏิเวธ จิตจะไหลสู่อกุศล เผลอทำผิด ปาราชิกได้ ตกนรกได้ อย่างที่มีตัวอย่างในปัจจุบัน

ถาม : ถ้าปฏิบัติมากโดยไม่ค่อยได้ศึกษาปริยัติจะสามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่

ตอบ : ต้องดูว่าศึกษาปริยัติแค่ไหน และปฏิบัติมากแค่ไหน หากศึกษาปริบัติมาในระดับที่นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง อย่างน้อยในเรื่อง ทาน-ศีล-ภาวนา แล้วนำไปปฏิบัติให้มาก เข้าถึงตามเท่าที่ได้สดับมา ก็ทำให้บรรลุได้ ดีกว่าคนที่ศึกษาจนกระทั่งมากมาย แม้แต่ศีลก็รักษาไม่ได้ สมาธิก็ไม่สงบ ปัญญาก็ไม่เกิด

อุปมาเหมือนกับ คนที่มีเงินมาก แต่รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ย่อมสร้างฐานะให้มั่นคงได้ ดีกว่าคนที่มีเงินมาก แต่ไม่รู้จักเก็บ ไม่รู้จักใช้ ย่อมสร้างฐานะให้มั่นคงไม่ได้

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คุณว่าพระอรหันต์ร้องไห้ได้ไหม ?


ไหนใครว่าพระอรหันต์หัวเราะไม่ได้
แล้วพระอรหันต์ร้องไห้ล่ะ เก่งพอจะตอบได้ไหม

หรือตำรามันไม่มีเลยไม่รู้จะตอบยังไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอรหันต์ ต้องไม่หัวเราะ...??? :b6:



172 ภิกษุควรหัวเราะหรือไม่

ปัญหา : ได้ทราบมาว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่มีการหัวเราะมีแต่ยิ้มแย้มเท่านั้น พระภิกษุควรจะหัวเราะหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ
“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การขับร้องคือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า
การฟ้อนรำคือ ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้า
การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า

เพราะเหตุนั้นแล
จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ
เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรม ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม”


โรณสูตร ติ. อํ. (๕๔๗)
ตบ. ๒๐ : ๓๓๕ ตท. ๒๐ : ๒๙๒
ตอ. G.S. I : ๒๓๙

ที่มา:
http://www.84000.org/true/172.html



ตรงนี้ ต้องพิจารณาประโยคนี้ ให้ดีๆ

"การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า"


ระดับ การหัวเราะ มันมีหลายระดับ คือ

1.หัวเราะ(จนเห็นฟัน)"พร่ำเพรื่อ" เช่น ที่ตรัสไว้ในพระสูตรนี้

2.หัวเราะเป็นครั้งคราว

3.ไม่หัวเราะเลย


ที่พระพุทธวจนะตรัส จริงๆแล้ว เป็น การเตือน การหัวเราะในระดับที่1 ..... คือ หัวเราะ(ตนเห็นฟัน)พร่ำเพรื่อ ครับ... อ่านดีๆ

ท่านไม่ได้บอกให้ ห้ามไม่ให้หัวเราะเลย เสียหน่อยน่ะครับ

การเล่นไปแปล คำว่า ไม่ควรหัวเราะ(จนเห็นฟัน)พร่ำเพรื่อ = ห้ามไม่ให้หัวเราะเลย....
และ มีบางท่าน เล่นไปสรุปว่า พระองค์ไหนหัวเราะ พระองค์นั้นต้องไม่ใช่พระอรหันต์ !!!


ในโลกแห่งความเป็นจริง
ผู้ที่ไม่หัวเราะเลย ที่พบบ่อยๆ ก็จะได้ แก่ ผู้ป่วยทางจิตประสาท

โรคจิต หรือ โรคประสาทหลายชนิด จะมีอาการเด่น คือ ไม่หัวเราะ.... คนอื่นเขาหัวเราะกัน ผู้ป่วยก็จะไม่หัวเราะ(ดูสำรวม?)
เช่น โรคพาร์กินสันแบบรุนแรง โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง โรคจิตเภทบางชนิด ๆลๆ

ที่พบบ่อย คือ โรคพาร์กินสัน(PARKINSON DISEASE)

โรคพาร์กินสันนี้ จะมีอาการเคลื่อนไหวช้า บางครั้งอาจจะสั่นเล็กน้อย และ มีสีหน้าและอารมณ์ราบเรียบ ภาษาแพทย์ เรียกว่า masked face หรือ เหมือนคนสวมหน้ากาก คือ ไม่แสดงอารมณ์.... และ มักจะไม่หัวเราะ



ดังนั้น

ถ้าจะหาพระอรหันต์โดยการดูที่"ต้องไม่หัวเราะ" แนะนำให้ไปที่ รพ.ประสาท ..... จะมีผู้ป่วยที่ไม่หัวเราะจำนวนมาก

แต่ อาจจะไม่พบ"พระอรหันต์" น่ะครับ.....

จะพบ "พระพาร์กินสัน"เข้าแทนน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อ เรื่อง อธิวาสนา น่ะครับ


คำว่า วาสนา นี้ เรา-ท่าน มักจะคุ้นเคยว่า เป็นสิ่งที่ดีเท่านั้น

แต่ ความจริงแล้ว คำว่า อธิวาสนา หรือ วาสนา นี้ เป็นความเคยชินที่ฝังรากลึกลงในกมลสันดานชนิดข้ามภพข้ามชาติ ซึ่ง เป็นได้ทั้ง ในทางที่ดี หรือ ไม่ดี

เช่น กรณีพระสารีบุตรชอบกระโดข้ามน้ำ เพราะเหตุที่เคยเกิดเป็นพญาวานรหลายๆชาติ เลยมีอธิวาสนาเช่นนั้น

หรือ พระอรหันต์ที่ท่านชอบสบถคำว่า"ไอ้ถ่อย" เช่นกัน



ในจักรวาลนี้ จะมีก็แต่เพียง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่เลิกล่ะวาสนา(ในทางไม่เรียบร้อย)ได้ทั้งหมด

นอกนั้น ไม่สามารถเลิกล่ะได้ทั้งหมด แม้น สติจะเป็นมหาสติ หรือ จิตหลุดพ้นไปแล้ว ก็ตาม



ดังนั้น ใครก็ตาม ที่พยายามจะตัดสินคุณธรรมของท่านผู้อื่น ด้วยการดูจากภายนอกอย่างเดียว ก็ พึงสังวรจุดนี้ไว้ด้วยน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีอีก พระสูตรหนึ่ง ที่มีการตีความว่า พระอรหันต์จะต้องห้ามหัวเราะ(จนเห็นไรฟัน)เด็ดขาด


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐


อีกอย่างหนึ่ง

พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจ ไม่ชอบใจซึ่งความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน

และไม่ถึงความปลื้มใจด้วยความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามที่มีในคราวก่อนนั้น



พระพุทธวจนะ ตรงนี้ ก็ไม่ได้ตรัสว่า "พระอรหันต์ต้องไม่หัวเราะ" น่ะครับ


ต้องอ่านดีๆ
เพราะมีการระบุชัดเจนว่า "กับมาตุคาม"

"....ไม่ชอบใจซึ่งความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคาม..."
นี้ หมายถึง คุยเล่น หัวเราะรื่นเริง เล่นหัว กับ สาวๆ น่ะครับ

พระอรหันต์ไม่มีทางที่จะไปคุยเล่น หัวเราะรื่นเริงกับ สาวๆได้ หรอกครับ


การหัวเราะ ในพระสูตรนี้ ไม่ครอบคลุมถึง การหัวเราะเบาๆ เป็นบางโอกาส(ไม่พร่ำเพรื่อ) ในกรณีทั่วไปน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณคุณหมอมากครับ
ถ้าไม่มีพุทธพจนืมาช่วย พร้อมกับการแทงประเด็นของคุณหมอให้ชัดเจน
คงยากที่ผู้ใดจะละลดทิฐิมานะลงไป



พระอรหันต์แต่ละองค์ก็มีจริตนิสัยแตกต่างกันไป
มีโหวกเหวกโวยวาย มีเอ็ดตะโร มีฉุน มีหัวเราะร่า มีดุดัน มีไล่ตะเพิด
บางครั้งก็มีผรุสวาท มีตลก มีอารมณ์ขัน
ก็มีพบเห็นได้เป็นปกติ คนไม่รู้ก็ไปปรามาสท่าน
คนส่วนมากมักจะเผลอไปปรามาสท่าน
โดยตัดสินจากสิ่งแสดงออกภายนอกของท่าน
หารู้ไม่ว่าเป็นเพียงกริยาจิตตามจริตนิสัยแต่เดิม
ไม่ได้เกิดจากอกุศลมูลเป็นผู้บงการกริยาอาการต่างๆของท่าน


ในทางตรงกันข้าม คนที่มีจริตนิสัยเรียบร้อย
ก็ไม่ใช่ว่าจะไปตัดสินคุณธรรมของท่านจากสิ่งปรากฏภายนอก
บางคนดัดจริตนิสัยจนคนหลงคนไหลไปทั่วบ้านทั่วเมือง
สุดท้ายเน่าใน เสพสีกามาตั้งนานนมก็มี บางคนถึงกับมีลูกมีเต้า บางคนเสพสุขกับทรัพย์
บางคนก็เสพสุขกับลาภยศสรรเสริญ บางคนก็รักร่วมเพศกับเด็กวัดก็มี

คนที่มีทั้งภายนอกภายในบริสุทธิ์งดงามในระดับพระสาวกนี้ หายาก
ยุคที่พวกเราพอจะรู้กันนั้น ก็เห็นพูดกันว่าเป็นหลวงปู่เทสก์
หลวงตามหาบัวท่านกล่าวถึงสิ่งปรากฏภายนอกของหลวงปู่เทสก์ว่า "เหมือนเทวดา"

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
มาต่อ เรื่อง อธิวาสนา น่ะครับ


คำว่า วาสนา นี้ เรา-ท่าน มักจะคุ้นเคยว่า เป็นสิ่งที่ดีเท่านั้น

แต่ ความจริงแล้ว คำว่า อธิวาสนา หรือ วาสนา นี้ เป็นความเคยชินที่ฝังรากลึกลงในกมลสันดานชนิดข้ามภพข้ามชาติ ซึ่ง เป็นได้ทั้ง ในทางที่ดี หรือ ไม่ดี

เช่น กรณีพระสารีบุตรชอบกระโดข้ามน้ำ เพราะเหตุที่เคยเกิดเป็นพญาวานรหลายๆชาติ เลยมีอธิวาสนาเช่นนั้น

หรือ พระอรหันต์ที่ท่านชอบสบถคำว่า"ไอ้ถ่อย" เช่นกัน



ในจักรวาลนี้ จะมีก็แต่เพียง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่เลิกล่ะวาสนา(ในทางไม่เรียบร้อย)ได้ทั้งหมด

นอกนั้น ไม่สามารถเลิกล่ะได้ทั้งหมด แม้น สติจะเป็นมหาสติ หรือ จิตหลุดพ้นไปแล้ว ก็ตาม



ดังนั้น ใครก็ตาม ที่พยายามจะตัดสินคุณธรรมของท่านผู้อื่น ด้วยการดูจากภายนอกอย่างเดียว ก็ พึงสังวรจุดนี้ไว้ด้วยน่ะครับ



ตรงนี้จะได้มีคนเข้าใจคำว่าวาสนามากขึ้นส่วนให้จะมีคนเข้าใจคำว่าวาสนาผิดกันเยอะครับสาธุๆ แจ่ม

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 01:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..............

....ปฏิบัติ ปริยัติ เป็นสอง

คือทางดำเนิน ดุจคลอง

ให้ล่วงลุปอง

ยังโลกอุดรโดย ตรง.................

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เสริมครับ
คัดมาจากหนังสือที่ดีมากๆที่สุดเล่มหนึ่ง

อ้างคำพูด:
ปริยัติ-ปฏิบัติ


ใน หมู่ผู้สนใจศึกษาศาสนาจะมีข้อโต้แย้งกันเสมอ
ระหว่างการศึกษาจากตำรา คือศึกษาด้านปริยัติ
กับอีกฝ่ายหนึ่งเน้นการปฏิบัติและไม่เน้นการศึกษาจากตำรา
ว่าแนวทางใดจะให้ผลดีกว่ากัน

สำหรับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเสนอแนะให้ดำเนินสายกลาง
นั่นคือถ้าเน้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แล้วละเลยอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นการสุดโต่งไป

หลวงปู่ท่านแนะนำลูกศิษย์ลูกหาที่มุ่งปฏิบัติธรรมว่า
ให้อ่านตำรับตำราส่วนที่เป็นพระวินัยให้เข้าใจ เพื่อที่จะปฏิบัติไม่ผิด
แต่ในส่วนของพระธรรมนั้นให้ตั้งใจปฏิบัติเอา

จากคำแนะนำนี้แสดงว่าหลวงปู่ถือเรื่องการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระวินัยเป็นเรื่องสำคัญ
และจะต้องมาก่อน ศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติตนให้ถูก

แล้วเรื่องคุณธรรมและปัญญาสามารถสร้างเสริมขึ้นได้ถ้าตั้งใจ

ยกตัวอย่างในกรณีของ หลวงตาแนน

หลวงตาแนนไม่เคยเรียนหนังสือ ท่านมาบวชพระเมื่อวัยเลยกลางคนไปแล้ว
ท่านเป็นพระที่มีความตั้งใจดี ว่าง่ายสอนง่าย ขยัน ปฏิบัติกิจวัตรไม่ขาดตกบกพร่อง
เห็นพระรูปอื่นเขาออกไปธุดงค์ก็อยากไปด้วย จึงไปขออนุญาตหลวงปู่

เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว หลวงตาแนนก็ให้บังเกิดความวิตกกังวล
ปรับทุกข์ขึ้นว่า “กระผมไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ภาษาพูดเขา จะปฏิบัติกับเขาได้อย่างไร”

หลวงปู่จึงแนะนำด้วยเมตตาว่า
“การปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวกับอักขระ พยัญชนะ หรือคำพูดอะไรหรอก ที่รู้ว่าตนไม่รู้ก็ดีแล้ว
สำหรับวิธีปฏิบัตินั้น ในส่วนวินัยให้พยายาม ดูแบบเขา ดูแบบอย่างครูบาอาจารย์ผู้นำ
อย่าทำให้ผิดแผกจากท่าน ในส่วนธรรมะนั้นให้ดูที่จิตของตัวเอง
ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้วอย่างอื่นก็เข้าใจได้เอง”

เนื่องจากหลวงปู่ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติมามากต่อมาก
ท่านจึงให้ข้อสังเกตในการปฏิบัติธรรมระหว่างผู้ที่เรียนน้อยกับผู้ที่เรียนมากมาก่อนว่า

“ผู้ที่ยังไม่รู้หัวข้อธรรมอะไรเลย เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจังมักจะได้ผลเร็วเมื่อเขาปฏิบัติจนเข้าใจจิต
หมดสงสัยเรื่องจิตแล้วหันมาศึกษาตริตรองข้อธรรมในภายหลัง
ก็จะรู้แจ้งแทงตลอดแตกฉานน่าอัศจรรย์”

“ส่วนผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาก่อนแล้วจึงหันมาปฏิบัติต่อภายหลัง
จิตจะสงบเป็นสมาธิยากกว่าเพราะชอบใช้วิตกวิจารมาก
เมื่อจิตวิตกวิจารมาก วิจิกิจฉาก็มาก จึงยากที่จะประสบผลสำเร็จ”

อย่างไรก็ตามข้อสังเกตดังกล่าว หลวงปู่ย้ำว่า
“แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปทีเดียว” แล้วท่านให้ข้อแนะนำต่อไปอีกว่า

“ผู้ที่ศึกษาทางปริยัติจนแตกฉานมาก่อนแล้ว
เมื่อหันมามุ่งปฏิบัติอย่างจริงจัง จนถึงขั้นอธิจิต อธิปัญญาแล้ว
ผลสำเร็จก็จะยิ่งวิเศษขึ้นไปอีก
เพราะเป็นการเดินตามแนวทางปริยัติ ปฏิบัติ ย่อมแตกฉาน
ทั้งอรรถะและพยัญชนะ ฉลาดในการชี้แจงแสดงธรรม”

หลวงปู่ได้ยกตัวอย่างพระเถระทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อสนับสนุนความคิดดังกล่าว
ก็มีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) แห่งวัดบวรนิวาส กรุงเทพฯ
และท่านอาจารย์พระมหาบัว ณานสมฺปนฺโน แห่งสำนักวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

ทั้งสององค์นี้
“ได้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อาจหาญชาญฉลาดในการแสดงธรรม
เป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่พระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง”

โดยสรุป หลวงปู่สนับสนุนทั้งตำรา คือ ปริยัติและปฏิบัติต้องไปด้วยกันและท่านย้ำว่า

“ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้
แต่ผู้ที่จะ พ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน”

ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า
ท่านไม่ทิ้งทั้งปริยัติและปฏิบัติ ต้องมีประกอบกัน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการสอนของหลวงปู่จากประสบการณ์ของหลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฒฺโน
(พระมงคลวัฒนคุณ) แห่งวัดถ้ำไตรรัตน์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ขอยกข้อความมาดังนี้

การศึกษาความรู้กับหลวงปู่ดูลย์เมื่อครั้งที่ท่าน (หลวงพ่อเพิ่ม) ยังเป็นสามเณรน้อย
ได้รับการชี้แนะอบรมพร่ำสอนจากหลวงปู่ดูลย์อย่างใกล้ชิด
โดยท่านจะเน้นให้ศิษย์ของท่านมีความสำนึกตรึกอยู่ในจิตเสมอถึงสภาวะความเป็นอยู่ในปัจจุบันว่า

บัดนี้เราได้บวชกายบวชใจเข้ามาอยู่ในบวรพุทธศาสนา
เป็นสมณะที่ชาวบ้านทั้งหลายให้ความเคารพบูชา ทั้งยังอุปัฏฐากอุปถัมภ์ค้ำจุนด้วยปัจจัยสี่
ควรที่จะกระทำตนให้สมกับที่เขาเคารพบูชา ถือประพฤติปฏิบัติตามศีลธรรมตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ฝ่าฝืนทั้งที่ลับและที่แจ้ง

พระเณรที่มาบวชกับท่าน หลวงปู่จึงให้ศึกษาทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป

ด้านปริยัติ ท่านให้เรียนนักธรรม บาลี ไวยากรณ์ ให้เรียนรู้ถึงเรื่องศีลธรรม พระวินัย
เพื่อจะได้จดจำนำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องไม่ออกนอกลู่นอกทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้
ซึ่งจะทำให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างเหมาะสมเยี่ยงผู้ถือบวช ที่ชาวบ้านเขาศรัทธากราบไหว้บูชา

ด้านปฏิบัติ ท่านเน้นหนักเป็นพิเศษให้พระเณรทุกรูปทุกองค์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน
เพราะการปฏิบัติพระธรรมกัมมัฏฐานนี้ จะเป็นการฝึกกายฝึกจิตให้ผู้ศึกษาธรรม
ได้รู้ได้เห็นของจริงโดยสภาพที่เป็นจริง อันเกิดจากการรู้การเห็นของตนเอง
ไม่ใช่เกิดจากการอ่านจดจำจากตำรับตำรา ซึ่งเป็นการรู้ด้วย สัญญาแห่งการจำได้หมายรู้
คือรู้แต่ยังไม่เห็น ยังไม่แจ้ง แทงตลอดอย่างแท้จริง

ข้อธรรมกัมมัฏฐานที่หลวงปู่ดูลย์ ท่านให้พิจารณาอยู่เป็นเนืองนิตย์ก็คือ
หัวข้อกัมมัฏฐานที่ว่า สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา

การพิจารณาตามหัวข้อธรรมกัมมัฏฐานดังกล่าวนี้ หากได้พิจารณาทบทวนอย่างสม่ำเสมอแล้ว
ในเวลาต่อมาก็จะ รู้แจ้งสว่างไสว เข้าใจได้ชัดว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้
หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ มีการเกิดดับ - เกิดดับอยู่ตลอดเวลา

เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว จะทำให้เลิกละจากการยึดถือตัวตนบุคคลเราท่าน
เพราะได้รู้ได้เห็นของจริงแล้วว่า สังขารที่เรารักหวงแหนนั้น
ไม่ช้าไม่นานมันก็ต้องเสื่อมสูญดับไปตามสภาวะของมัน ไม่อาจที่จะฝ่าฝืนได้

เมื่อสังขารดับได้แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนก็จะไม่มี
เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดหายไป
ความทุกข์จะเกิดได้อย่างไร


(มีต่อ ๔)


จาก การเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
ตามไปอ่านเอานะ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=225


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 18:25
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุคะคุณชาติสยามขอบคุณมากคะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะคือคุณากร........
ส่วนชอบสาคร.......
ดุจดวงประทีปชัชวาลย์......

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ ปฏิบัติให้ถูกหลัก นำสิ่งที่ได้เล่าเรียนรับฟังและตริตรองเห็นชัดแล้ว ไปใช้หรือปฏิบัติหรือลงมือทำ ให้ถูกต้องตามหลักตามความมุ่งหมาย ให้หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ ข้อปฏิบัติย่อยสอดคล้องกับจุดหมายใหญ่ ปฏิบัติธรรมอย่างรู้เป้าหมาย เช่น สันโดษเพื่อเกื้อกูลหนุนการงาน ไม่ใช่สันโดษกลายเป็นเกียจตร้าน เป็นต้น

สรุป สำคัญทั้งสองสิ่งเพราะต้องอาศัยเกื้อกูลกันจึงถึงเป้าหมาย

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ........... :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร