วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 14:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:

ผมคิดว่า น่าจะมีคำถามตามมามากมาย เพราะความเห็นผมแน่ๆ
ต้องคุยไปถามไป ถึงจะอธิบายง่ายครับ :b13:





ผมไม่ถามอาจารย์หรอก

เพราะ เดี๋ยวโดนถามกลับบ้าง....แล้ว ผมจะตอบไม่ได้ :b12:

เข้ามาอ่าน คห ท่านอื่นๆ...
น่าสนใจ หลาย คห โดยเฉพาะของท่าน murano ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่อง คอมพิวเตอร์

และ เสนอสิ่งที่เคยทราบให้ผู้อื่นฟังบ้าง




อ้างคำพูด:
ตามพระพุทธพจน์ มีตอนหนึ่งว่า คูหาสยํ จิตฺตํ จิตอาสัยในคูหา(ถ้ำ)
ตรงนี้ท่านอธิบายว่า ถ้ำที่ว่านี้คือกายหรือ รูปทั้งหมด เมื่อพูดในคน ก็หมายถึงกาย
เมื่อเกิดผัสสะตรงไหน จิต พร้อมอารมณ์และเวทนาก็เกิดขึ้น เช่น ตาเห็นรูป เป็นผัสสะ จิตก็เกิด
หลักมีอยู่ว่า เกิดตรงไหน ดับตรงนั้น


ประเด็น ถ้ำคือ ทั้งร่างกาย นี้
เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ


เล่าเรื่องในอดีตให้ฟัง

ตรงนี้ ผู้ที่เชื่อว่า อรรถกถาต้องถูก100% เขายังเคยชี้ให้ดูว่า ถ้ำ นี่ละคือ หัวใจ...เห็นไหม ในหัวใจมีหลืบมากมาย เหมือนถ้ำ

ผมเลยเอารูปโพรงกระโหลก(ที่ตั้งหลักของCNS) ไปให้เขาดู... ปรากฏว่า เหมือนถ้ำกว่าอีก
แถม ภาษาอังกฤษ เขาเรียกโพรงกระโหลกว่า cranial vault. คำว่า vault มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า อุโมงค์(ถ้ำ???)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ด้วยความไม่รู้..ส่วนตัวไม่เห็นประโยชน์อะไรจากการหาที่ตั้งของจิต..



ใช่เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคุณตรงประเด็น...
จริงๆ เราก็ไม่ได้พยายามเอาจิตไปปนกับวิทยาศาสตร์หรอกนะ แต่เราจะมีแนวคิดหลักๆ อยู่ที่ว่า...
จิตไม่ได้อยู่ในโลกวัตถุ เพราะถ้าอยู่ มันก็คงถูกค้นพบไปนานแล้ว

ส่วนเรื่องอื่นๆ มันเป็นการคิดต่อๆ กันไป แล้วแต่ว่าตอนนั้นจะคิดเรื่องอะไรได้ ส่วนที่เอ่ยเข้าไปในโลกชีววิทยา จริงๆ มันเป็นเรื่องที่เราสงสัยมานานแล้ว (ตั้งแต่สมัยเด็ก) เช่น เรื่องของเส้นประสาท หรือเรื่องของสมอง ก็เลยลองอธิบายโดยใช้แนวคิดของจิตและเจตสิก ซึ่งสำหรับเราก็ดูจะสมเหตุสมผลพอควร

อย่าง DNA ให้คำตอบไม่ได้ ต่อการขึ้นรูปของสิ่งมีชีวิต ว่าต้องมี 2 ตา 1 ปาก 4 ระยางค์ ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่า มีรูปปรมัตถ์อันหนึ่งที่คอยควบคุมตรงนี้ DNA เป็นเพียงตัวควบคุมในระดับย่อย และถ้าเราสามารถอธิบายได้สมเหตุพอควร บวกกับทางวิทย์ไม่มีแนวคิดเพิ่มเติม มันก็น่าจะโอเค...

ส่วนเรื่องอนุภาคทางฟิสิกส์นั้น เราแค่ยกมาลอยๆ ส่วนใหญ่เพื่อเป็นการเทียบเคียงว่า สิ่งเหล่านี้ก็เป็นไปได้นะ ไม่ใช่เรื่องโม้... เช่น หากเราบอกว่า ในโลกของจิตไม่มีคำว่าระยะทาง ก็อาจจะคิดว่า เป็นไปไม่ได้ เลยกล้อมแกล้มว่า ในโลกฟิสิกส์เอง ก็มีบางกรณีที่เกิดปรากฏการณ์ไม่มี ระยะทาง เหมือนกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า จิตเป็นหนึ่งในอนุภาคควอนตัม
อย่างที่บอก จิตไม่ได้อยู่ในโลกวัตถุ อันนี้เป็นแนวคิดหลักของเรา

ว่าแต่ เราดูน่าเชื่อถือไม๊ อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
เอาเถอะ เราไม่ค่อยสนใจเรื่องคำนิยามหรอก เราสนใจถึงสิ่งที่มันเกิดขึ้นมากกว่า ส่วนจะเป็นรูปเป็นนาม อันนั้นเป็นเรื่องของปริยัติ...

ที่เราไม่ค่อยสนใจเรื่องคำบัญญัติ (ถ้าไม่จำเป็น) ก็เพราะมันต้องมีวงเล็บเสมอ ว่าเป็นคำในแง่มุมใด อย่างพลังงานเนี่ย ไม่ว่าเราจะเถียงว่าเป็นรูปเป็นนามกันยังไง มันก็คือพลังงานวันยังค่ำ เรื่องคำบัญญัตินี้ก็เป็นเรื่องของนักปริยัติ จะเรียกว่าเป็นรูป เราก็ว่าเป็นรูป จะบอกว่าเป็นนาม เราก็ว่านาม

โดยทั่วไป แสงเป็นได้ทั้งวัตถุ (อนุภาค) และพลังงาน (คลื่น) ขึ้นอยู่กับว่า เราจะพิจารณาในแง่ไหน เพราะงั้นถ้าเรานิยามว่า รูปคืออนุภาค สิ่งใดที่ไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาค สิ่งนั้นเป็นนาม แสงก็เป็นทั้งรูปและนาม ส่วนเสียงนั้นเป็นพลังงาน (คลื่น) เพราะมันส่งถ่ายเป็นคลื่นต่อๆ กันไป โดยที่อากาศไม่ได้เคลื่อนตาม (เหมือนคลื่นน้ำ) เสียงจึงไม่มีตัวตน

ส่วนในทางพุทธ เขานิยามว่า อะไรคือรูป อะไรคือนามนั้น ไม่ทราบได้ แต่ที่รู้คือ ความหมายในทางพุทธนั้น ไม่เหมือนความหมายที่ใช้กันโดยทั่วๆ ไป
ถ้าจะบอกว่าเสียงเป็นรูป เพื่อความกระจ่าง ก็น่าจะแจกแจงเพิ่มว่า รูปคืออะไร นามคืออะไร


ปล. ถ้าอยากจะคุยกันอย่าง friendly ก็อย่าคิดจะลองภูมิ
การลองภูมิหรือการทดสอบผู้อื่นนั้น ล้วนแต่เป็นการสะท้อนอัตตาของตัว


พาลจริงๆ

ทีตัวมาตอดเล็กตอดน้อยต่างๆนาๆ ภาษาอย่างนี้ หยาบๆคายๆ
การกระทำดังนั้นไม่เรียกว่า friendly เลยสักนิดหนึ่ง
ผมก็ไม่เคยจะไปถืออะไรเลยนะ

นู่น ไปหัดดูจิตใจตัวเองนู่น
ว่ามันหมั่นไส้ผม อิจฉาผมอะไรนักหนา พยาบาทมันถึงมากนัก
เคยว่าไปทีนึงแล้ว ตัวเองก็พูดเองว่าจะไม่ยุ่งกับผม
ถามแค่นี้หาว่าลองภุมิ หาว่ามาหาเรื่อง โอย

ถ้ากลัวคนจะว่าโง่ รับไม่ได้ ก็อย่ามาสนทนาธรรม
เต็มแล้วก็ไปทางไหนก็ไป

ด่าแค่นี้พอนะ
เดี่ยวเขาจะหาว่า ธรรมดาหมา มันคุยกันสามคำดี สี่คำกัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ก็คิดมาได้แวบหนึ่งว่า จริงๆ แล้ว ร่างกายมนุษย์ถูกคลุมด้วยสนามไฟฟ้าหรือเปล่า ไม่รู้ว่ามีเครื่องมืออะไรตรวจจับได้ไหม หากร่างกายมนุษย์ปกคลุมด้วยสนามไฟฟ้าอ่อนๆ จะเป็นไปได้หรือไม่ รูปปรมัตถ์ทั้งหลาย ก็คือ สนามไฟฟ้าที่มีความถี่ (พลังงาน) ที่แตกต่างกัน

หากรูปปรมัตถ์คือ สนามไฟฟ้าจริง มันก็อาจจะอธิบายได้ในหลายๆ อย่าง...
- ภาพถ่ายเคอร์เลียน (ออร่า) คือภาพถ่ายของสนามไฟฟ้าหรือเปล่า
- ระบบประสาทสัมผัสของคนและสัตว์ จริงๆ อาจเป็นสนามไฟฟ้า เส้นประสาททั้งหลายคือท่อเมนหลัก ที่จะนำสัญญาณทั้งหมดเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
- กายละเอียดคือ สนามไฟฟ้า ?

หากจิตเชื่อมต่อกับกายเนื้อโดยผ่านสนามไฟฟ้า (รูปปรมัตถ์) มันก็อาจเป็นคำตอบว่า เหตุใดจิตจึงต้องเกิดพร้อมกับ เจตสิก
เพราะว่าจิตเป็นสิ่งที่ปรากฎในทุกภพภูมิ ซึ่งแต่ละภพก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป จิตที่เกิดในโลกวัตถุ (สสาร) จึงต้องมีเจตสิกเป็นตัวเชื่อมกับสนามไฟฟ้า (รูปปรมัตถ์) และสนามไฟฟ้าก็เป็นตัวเชื่อมกับวัตถุในโลก

คือ... จิต -> เจตสิก -> สนามไฟฟ้า (รูปปรมัตถ์) -> วัตถุ (สสาร)

หากแนวคิดนี้ใช้ได้ ในภพโลกอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างออกไป เช่นในเทวโลก พรหมโลก จิตก็จะมีเจตสิกที่เป็นแบบอื่น ไม่ใช่เจตสิกไฟฟ้า 52 ดวงแบบในโลกนี้
ขอแก้ไขว่า... เจตสิกมี 3 กลุ่ม กลุ่มกุศล อกุศล และเจตสิกกลาง (ซึ่งเราจำชื่อไม่ได้) เจตสิกไฟฟ้าหรือเจตสิกที่จำเพาะในแต่ละภพ จึงเป็นเจตสิกในกลุ่มสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ในการเชื่อมโยงกับรูปปรมัตถ์ของแต่ละภพ ไม่ใช่เจตสิกทั้งหมด

แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า สนามไฟฟ้านั้น เป็นสากลในทุกภพหรือไม่ หากเป็นสากล เจตสิกก็เป็นชนิดเดียวกัน แต่อาจมีความถี่และจำนวนไม่เท่ากัน

มีข้อที่จะบ่งชี้ได้คือ เมื่อตาย จุติจิตเกิด แล้วเจตสิกยังเกิดอยู่หรือไม่ หากเจตสิกไม่เกิด ย่อมแสดงว่า เจตสิกไฟฟ้านั้น จะมีในภพนี้เท่านั้น และเมื่อปฏิสนธิจิตเกิดก็จึงจะมีเจตสิกในภพนั้นๆ เกิดตาม


เราก็คิดต่อไปได้อีกว่า... ในภพของเรา ซึ่งมีมนุษย์ สัตว์ และโอปปาติกะนั้น ลักษณะของโอปปาติกะน่าจะเป็น...
จิต -> เจตสิก -> สนามไฟฟ้า (รูปปรมัตถ์)
คือมีแต่กายละเอียด ไม่มีกายเนื้อ และเพราะไม่มีสสาร ตัวรูปปรมัตถ์อาจมีจำนวนที่น้อยกว่า...

เดี๋ยวค่อยมาต่อ...


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 22 ส.ค. 2009, 20:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


พอคิดได้ถึงตรงนี้ ก็ต้องกลับไปแก้ไขของเดิม ที่ว่า จิตโอปปาติกะที่เห็นในสมาธินั้น เป็นเพียงแค่จิต จึงจำแลงรูปได้ไม่จำกัด

ถ้าหากการทำสมาธิ คือการยกจิตเข้าสู่ระดับปรมัตถ์ คือลดการทำงานของปรมัตถ์บางส่วนลง การเห็นโอปปาติกะในสมาธิ จึงเป็นโอปปาติกะทั้งตัวจริง และที่จำแลงรูปได้ ก็เพราะกายละเอียดนั้นคือสนามไฟฟ้า จะจำแลงรูปได้เพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับกำลังจิตที่มี (คิดไปคิดมา ก็วนกลับที่เดิม... อิอิ)

แต่การจะเห็นโลกในแบบโอปปาติกะ ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า มองเห็นในรูปแบบของสนามไฟฟ้า อาจจำเป็นต้องทำสมาธิ ให้จิตลดการทำงานของปรมัตถ์ลงให้มากกว่านี้ คือเรายังไม่ได้ไปค้นเพิ่มว่า มีปรมัตถ์กี่รูป
ที่แน่ๆ อาจต้องดับปรมัตถ์ที่เกี่ยวข้องกับจักษุ เพื่อให้เกิดการมองทะลุเปลือกตา ซึ่งจะเป็นการมองในแบบผี (มองสนามไฟฟ้า) แต่ที่รู้ การมองโลกเหมือนกับตาเนื้อนั้น มีจริง ดังนั้น อาจเป็นการผสานปรมัตถ์หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน วันหนึ่งคงได้คำตอบ...

เมื่อโอปปาติกะในภพนี้ มองเห็นในรูปแบบสนามไฟฟ้า มันก็คือคำอธิบายว่า เหตุใดตอนกลางวันจึงไม่ค่อยเห็นผี เพราะสนามไฟฟ้าของสิ่งต่างๆ จะถูกแสงอาทิตย์ (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) กลบหมด โดยธรรมชาติ ผีจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ท่องเที่ยวในเวลากลางคืน

ภวังค์คืออะไร... ในภวังค์ระดับสูงหรือภวังคุปัจเฉท หรือนิโรธสมาบัติ คือการจำศีลโดยสมบูรณ์ ภวังค์ระดับนี้ น่าจะเป็นการหยุดการทำงานของจิตและเจตสิก เราจึงได้ยินว่า ในนิโรธสมาบัตินั้น ไม่มีการตาย เพราะจิตนั้นเฉยอยู่... ถ้าร่างกายของพระที่เข้านิโรธ ถูกยิงตาย ปรมัตถ์ดับไป ก็ต้องรอให้จิตนั้นออกจากนิโรธก่อน จึงเกิดจุติจิตและปฏิสนธิจิตต่อไป...

จากตรงนี้ เราก็คิดต่อว่า เมื่อจิตเฉยในภวังค์ จิตก็ไม่ได้ตัดขาดจากปรมัตถ์ นั่นแสดงว่า จิตและร่างกายเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว ไม่สามารถถอดไปไหนมาไหนได้ และดังนั้น ก็ถูกยึดโดยจิตอื่น ไม่ได้
การเข้าทรงโดยจิตอื่น จึงน่าจะเป็นลักษณะครอบงำ โดยที่จิตเรายอมให้ครอบ และต้องใช้ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้จิตอื่นทำความคุ้นเคยกับปรมัตถ์ (ในขณะนั้น จิตเราต้องตกอยู่ในภวังค์) การทำความคุ้นเคยกับปรมัตถ์ ก็คือการปรับคลื่นความถี่ของสนามไฟฟ้าให้ตรงกันนั่นแหล่ะ ทีนี้ ปัญหาจึงเป็นว่า... เมื่อตัดสินใจเป็นคนทรงแล้ว จึงเลิกยาก เพราะคลื่นความถี่ตรงกันแล้ว...

ในภวังค์ระดับกลาง... ภวังคจลนะ ที่ทำให้เกิดนิมิตมากมายนั้น น่าจะเป็นการดับปรมัตถ์ส่วนใหญ่ลง จิตและเจตสิกจึงทำงานเต็มที่ โดยไม่มีข้อจำกัด นี่คือที่มาของ ความฝัน ด้วยกระมัง

เอาล่ะๆ ย้อนกลับมาเรื่องการเห็นผี เราเชื่อว่า การเห็นผีนั้นเป็นการเห็นในระดับปรมัตถ์ นั่นคือ การเห็นผีนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน ในขณะที่คนหนึ่งเห็น อีกคนอาจไม่เห็น แต่ผีที่สามารถปรับความถี่ให้ตรงกับเราได้ ย่อมไม่ใช่ผีสามัญ และภาพผีที่เห็นนั้นก็อยู่ที่ว่า ผีนั้นจะจำแลงรูปเป็นอะไร
แต่อย่าคิดว่า การเห็นผีบ่อยๆ จะทำให้เป็นคนทรง... คนที่เป็นทรงโดยจิตอื่นนั้น จิตนั้นจะต้องเข้ากันได้กับปรมัตถ์ทุกรูปของเรา ไม่ใช่แค่จักษุเท่านั้น

จะเห็นว่า เรื่องราวต่างๆ ในโลกนั้น เกี่ยวข้องกับปรมัตถ์ (สนามไฟฟ้า) อยู่มาก เพราะงั้นเรื่องนี้จึงน่าศึกษาไม่ใช่น้อย และก็ขอตัวไปค้นเพิ่ม...

ปล. นอกเรื่องนิดๆ เมื่อกรงฟาราเดย์ป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วทำไมแสงจึงผ่านเข้าไปได้ แสงก็เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ใช่รือ...

เพิ่มเติมว่า... ผีมีรูปร่างอย่างไร ถ้าเราเชื่อว่า กายละเอียดของโอปปาติกะในโลกนี้คือสนามไฟฟ้า ผีจึงมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผีที่มีกำลังจิตต่ำ อาจปรากฎเป็นฝ้าที่ไม่มีรูปร่าง ผีที่มีกำลังจิตสูง อาจสร้างรูปกายให้คล้ายมนุษย์ได้ตลอดเวลา (เข้าใจว่า เพราะกะให้ดูดีตลอด เผื่อมีคนเห็นไง และอาจเป็นการบ่งบอกสถานะในหมู่ผีด้วย) ผีที่มีกำลังสูงมากขึ้น สามารถปรากฎให้เห็นสี (ผีทั่วไป จะเป็นขาวดำ) และมีรายละเอียดมาก เช่น มีเส้นผมปลิวไสว เป็นต้น อิอิ


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 22 ส.ค. 2009, 21:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ว่าจะหมดแล้ว พอดียังคิดต่อได้อีก คราวนี้คงหมดจริงๆ ...

หากจิตมีเจตสิกที่ขึ้นอยู่กับภพ ดังนั้นโดยสภาพแล้ว จิตอาจเป็นสิ่งที่อยู่เหนือวัฏสงสารทั้งหมด คือเมื่อจิตปฏิสนธิในภพใด ก็จะเกิดเจตสิกขึ้นมาตามแต่สภาพของภพนั้น นี่น่าจะเป็นความหมายของคำว่า อุปาทานทำให้เกิดชาติภพ คือเมื่อจิตมีอุปาทาน ก็ย่อมไปปฏิสนธิในภพใดภพหนึ่ง และเกิดเจตสิกขึ้นมา เมื่อตายลง จิตก็ไปปฏิสนธิในภพใหม่ และเกิดเจตสิกใหม่ขึ้นมาอีกเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด... ดังนั้น

นิพพานคือ สภาวะที่จิตไม่มีเจตสิก ใช่หรือไม่ เมื่อไม่มีเจตสิก ย่อมหมายถึงไม่มีภพชาติ และจิตที่ไม่มีเจตสิก ก็ย่อมเป็นจิตที่ไม่มีอุปาทาน หากความหมายตามนี้ถูกต้อง นิพพานก็ไม่ใช่การดับ การสูญ

ปกติ เราจะแยกอริยะบุคคลตามสังโยชน์ที่ละได้ ในความหมายที่แท้จริง ก็คือการละเจตสิก ใช่หรือไม่ การจะบ่งบอกว่า ผู้ใดคืออริยะ จึงต้องทำโดยผู้ที่รู้วาระจิตของผู้อื่น คือมีเจโตปริยญาณ เป็นการกำหนดรู้ว่า มีเจตสิกใดบ้างที่ยังเหลือ เข้าใจว่า หากละเจตสิกที่เป็นกุศล-อกุศลกรรม ได้ทั้งหมด ก็คืออรหันต์ (ไม่เกี่ยวกับความเป็นพระ แต่โดยมากจะเป็นพระ)

ทีนี้... หากโลกของจิตคือสภาวะกลาง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภพชาติ การสื่อสารกันระหว่างจิตจึงเป็นไปได้ ไม่ว่าจะมนุษย์ เทวะ หรือพรหม ขึ้นอยู่กับว่า จิตเรานั้นมีกำลังที่สูงพอหรือเปล่า หากไม่สูงพอ (จะด้วยกิเลสหนาแน่น อย่างไรก็แล้วแต่) ก็ต้องเป็นฝ่ายรับการติดต่อ...
และแน่นอนว่า หากนิพพานคือ สภาวะที่จิตไม่มีเจตสิก จิตที่อยู่ในนิพพาน (ก็คือโลกของจิตนั่นเอง) ก็ย่อมสามารถติดต่อกับเราได้ด้วย... แต่ปริศนาคือ เมื่อไม่มีอุปาทาน ก็ย่อมไม่มีทั้งเจตสิกและปรมัตถ์ นั่นคือ ไม่มีรูปกาย ทั้งกายหยาบกายละเอียด เพราะงั้น จิตที่อยู่ในนิพพานจะปรากฎในลักษณะใด...

คำว่านิพพานนั้น ใกล้นิดเดียว จึงเป็นความจริง แต่ยากนักจะเข้าถึง...


ปล. คงหมดล่ะ ตอนนี้ขอไปศึกษาปฏิจจสมุปบาทก่อน คงต้องปริยัติบ้าง เพื่อสอบทานสิ่งที่คิดไว้ แล้วก็อาจจะได้ความรู้-แนวคิดใหม่ๆ
http://www.nkgen.com/1mainpage1024.htm อันนี้เป็นลิงค์

ขออนุโมทนาในธรรมทาน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 20:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
ทีนี้... หากโลกของจิตคือสภาวะกลาง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภพชาติ การสื่อสารกันระหว่างจิตจึงเป็นไปได้ ไม่ว่าจะมนุษย์ เทวะ หรือพรหม ขึ้นอยู่กับว่า จิตเรานั้นมีกำลังที่สูงพอหรือเปล่า หากไม่สูงพอ (จะด้วยกิเลสหนาแน่น อย่างไรก็แล้วแต่) ก็ต้องเป็นฝ่ายรับการติดต่อ...
และแน่นอนว่า หากนิพพานคือ สภาวะที่จิตไม่มีเจตสิก จิตที่อยู่ในนิพพาน (ก็คือโลกของจิตนั่นเอง) ก็ย่อมสามารถติดต่อกับเราได้ด้วย... แต่ปริศนาคือ เมื่อไม่มีอุปาทาน ก็ย่อมไม่มีทั้งเจตสิกและปรมัตถ์ นั่นคือ ไม่มีรูปกาย ทั้งกายหยาบกายละเอียด เพราะงั้น จิตที่อยู่ในนิพพานจะปรากฎในลักษณะใด...

คำว่านิพพานนั้น ใกล้นิดเดียว จึงเป็นความจริง แต่ยากนักจะเข้าถึง...


ปล. คงหมดล่ะ ตอนนี้ขอไปศึกษาปฏิจจสมุปบาทก่อน คงต้องปริยัติบ้าง เพื่อสอบทานสิ่งที่คิดไว้ แล้วก็อาจจะได้ความรู้-แนวคิดใหม่ๆ

ขออนุโมทนาในธรรมทาน...


ช่างคิดดีครับ..และก็ออกมาดูดี..(ดีเท่าที่จะดีได้ในขณะนี้)
ถ้า..นิ่งๆ แล้วคิดต่อ..อาจจะได้..ของดีเพิ่ม..ก็ได้นะ..

แต่มีนิดหนึ่ง..

..เจ้าปลามันถามเต่าว่า..ที่เจ้าเรียก..อากาศ..นี้มันเหมือนสาหร่ายไหม?..

เราลองไม่ถือว่า..อะไรเหมือนอะไร..ไม่ว่า..จะสนามไฟฟ้า..จะเจตสิก..จะอุปาทาน..

ปล่อย..สิ่งที่เราเคยรู้..ลง..

แล้วลองนั่งคิดต่อ..แบบ..ไร้สัญญา..ไร้อุปาทาน..ไร้ซึ่งสมมุติฐาน..เดิม ๆ ของเรา..

ก็ถ้าเราจะดูของที่เราไม่เคยพบ..ก็ต้องว่างสิ่งที่เคยพบ..ออกก่อนนะซิครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮับ คุณกบ
ส่วนใหญ่เราจะอ่านอย่างผ่านๆ ไม่เจาะลึก อ่านพอให้รู้แบบกว้างๆ เพราะเกรงว่า จะติดอยู่กรอบของ ภาษา เพราะเรื่องธรรมนี้ เป็นนามธรรม หากติดกับภาษาเมื่อไร ก็ THE END...

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเจาะ..แต่ดันไม่ไปลึก..มันจะไปเจอตาน้ำได้งัย..

ถ้าของดีมันอยู่ตื้น ๆ ..มันก็หมดไปตั้งนานแล้ว..ผ่านมาตั้ง 2552 ปีแล้วนี้นะ..( หมายถึง..คนหมดไปจากโลก..เพราะอยู่นิพพานกันหมด)

เจาะเลย..ลึกเลย..จุดเดียว..ไม่ต้องย้ายไปไหน..เอาที่เดียวให้ลึก..แล้วก็ลึกให้ถึง..ประโยชน์มันจะได้เอง..ได้กับคุณนั้นแหละ..ไม่ใช่ใคร..

มัวแต่เจาะ..สะเป๋..สะป๋ะ..กำลังจะลึกได้ที่..ก็ถอนออกมาเสียแล้ว..แล้วมันจะไปได้น้ำได้เนื้อ..ยังงัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มิใช่เช่นนั้นดอก อาเฮีย คือที่ว่าอ่านผ่านๆ หมายถึงอ่านให้รู้สาระสำคัญ รู้ภาพในมุมกว้าง เพราะถ้ายึดติดมาก (แบบท่อง) เราจะคิดอะไรไม่ออก

ยกตัวอย่างแบบ... หทัยวัตถุนั่นไง เราแค่อ่านว่า... เขาว่าจิตมันมีที่ตั้ง แต่ถ้าเรามาคิดละเอียดว่า หทัยวัตถุคืออะไร เราจะคิดต่อไม่ออกว่า มันอาจอยู่ตรงนั้น แต่ไม่ใช่ที่นั้น...
หรือจิตและเจตสิก หากเราอ่านละเอียดเกิน เราก็จะคิดว่า จิตและเจตสิกนั้น ตายตัว มีจิตต้องมีเจตสิก และเจตสิกต้องมี 52 ดวง และเราจะคิดอะไรต่อไปไม่ได้

แต่ทีนี้ เมื่อเราคิดอะไรได้ เราก็จะกลับไปอ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอบทานว่าสิ่งที่เราคิดนั้น มัน สวม กันได้กับตำราหรือเปล่า เพื่อไม่ให้กลายเป็น ผู้วิปลาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 21:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ท่าน..

ไอ้ผม..มันพลทหาร..ใช้แต่กำลัง

ปะ..(คือพบ)..ฉะ..(คือสู้)..ดะ..(คือไม่เลือก)..ไม่ได้ดูทิศทางลม..ร่มเงาไม้..เล้ย..

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


s006 ... smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ผมไม่ถามอาจารย์หรอก

เพราะ เดี๋ยวโดนถามกลับบ้าง....แล้ว ผมจะตอบไม่ได้ :b12:


แหม๋ ก็นะ ผมไม่ถามกลับแบบไล่เบี่ยอย่างที่บางคนทำหรอก ประเภทนั้น
เข้ามาเพราะร้อนวิชา ถ้าจะถาม ส่วนมากจะเป็นแง่คิด ทำนองว่า แบบนี้ก็น่าจะคิดได้นะ
ทำนองนี้มากกว่า ศึกษาแบบใจกว้างสบายดี

ตรงประเด็น เขียน:
เล่าเรื่องในอดีตให้ฟัง

ตรงนี้ ผู้ที่เชื่อว่า อรรถกถาต้องถูก100% เขายังเคยชี้ให้ดูว่า ถ้ำ นี่ละคือ หัวใจ...เห็นไหม ในหัวใจมีหลืบมากมาย เหมือนถ้ำ

ผมเลยเอารูปโพรงกระโหลก(ที่ตั้งหลักของCNS) ไปให้เขาดู... ปรากฏว่า เหมือนถ้ำกว่าอีก
แถม ภาษาอังกฤษ เขาเรียกโพรงกระโหลกว่า cranial vault. คำว่า vault มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า อุโมงค์(ถ้ำ???)


ตรงนี้ผมไม่รู้จริงๆครับ ผมเข้าใจว่า จิตรู้ผัสสะตรงไหนน่าจะเกิดตรงนั้น ดับตรงนั้น
ส่วนรูปร่างของถ้ำที่เขาว่า ผมไม่รู้ ส่วนที่ว่ามันสัมพันธ์กับเส้นประสาทนั้น ผมเข้าใจว่า
ร่างกายนี้มีระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับเจตนาของจิต และก็จะบันทึกผัสสะระหว่างกัน
เช่นการส่งความรู้สึกไปสมอง ก็ด้วยผัสสะที่ละเอียด สมองก็ส่งผัสสะไปสู่ที่ๆควรส่งตามสภาวะ
เช่นส่งไปที่หน้า จิตก็รู้ผัสสะที่สมองส่งมาที่หน้า รู้ตรงไหนจิตเกิดตรงนั้น

ความจริงเรื่องมันยาวตั้งแต่ลงมากินง้วนดินอ่ะ :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีคิดได้เพิ่มเติมอีกหน่อย...
อรหันต์มี 2 ประเภท น่าจะแยกโดยเจตสิกที่ยังมีอยู่ อรหันต์ที่ตายแล้ว เข้าสู่นิพพาน จิตไม่มีเจตสิกอีกต่อไป พ้นจากวัฏสังสาร อันนี้คืออรหันต์แบบที่ 1
อีกแบบคือ อรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ คือละเจตสิกที่เป็น กุศล-อกุศล ได้ทั้งหมด คงเหลือแต่เจตสิกที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับรูปปรมัตถ์ (ร่างกาย) ซึ่งเมื่ออรหันต์แบบที่ 2 นี้ ตายลง ก็จะเป็นอรหันต์แบบที่ 1 คือสิ้นเจตสิกไปทั้งหมด

ที่ต้องละทั้ง กุศลและอกุศล เพราะกุศลก็ก่อให้เกิดชาติภพชั้นสุคติ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า เราควรจะละกุศลกรรมเสีย เพราะการละเจตสิกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย... ก่อนที่จะละกุศลก็ควรจะละอกุศลให้ได้เสียก่อน เพราะการเกิดในชั้นสุคติ ก็สามารถที่จะละต่อไปได้ (อีกภาษาหนึ่งคือ สร้างบารมี) แต่ถ้าไปเกิดในอบายแล้ว แทบจะปิดหนทางกันไปเลย เพราะในชั้นอบาย จิตจะถูกเบียดเบียนหนัก จนหาความสงบไม่ได้

เราเข้าใจว่า หากละอกุศลได้มาก ก็จะขยับฐานะจากคนธรรมดาไปเป็นอริยะ นับจากโสดาบัน สกิทาคามี และอนาคามี เมื่อถึงชั้นอนาคามี นั่นจึงถึงเวลาของการละกุศล เพื่อเข้าสู่อรหันต์...

คำเล่าที่ว่า เมื่อเป็นอรหันต์แล้วต้องตายภายใน 7 วัน เราคิดว่า เป็นคำบอกเล่าที่ผิดเพี้ยน อรหันต์ไม่ได้ ต้อง ตาย เพียงแต่เมื่อละเจตสิกไปจนเกือบหมด (เหลือแต่เจตสิกที่เชื่อมกับสังขาร) จิตขาดการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง เมื่อขาดอุปาทาน ความมุ่งหมายในชีวิตจึงไม่มี เมื่อชีวิตไม่มีความหมาย จึง ละสังขาร ด้วยตนเอง (จิตระดับนั้น ย่อมมีกำลังเพียงพอที่จะทำได้)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 121 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร