วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 08:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็น

การศึกษาปริยัติมามาก ความมีชื่อเสียงมาก ไม่ได้เป็นการบอกว่า แปลถูกๆๆๆๆ ทุกประการ
เช่นนั้น แรกเริ่มไม่ปราถนาจะเอาคำแปลของท่านที่คุณตรงประเด็นอ้างถึงมาวิจารณ์ เพียงให้คุณตรงประเด็นเข้าใจไปตามนั้น แต่เมื่อท่านโยงการแปล ผิดๆ ถูกๆ นั้น ไปทำความเข้าใจในอรรถ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ จึงจำต้อง แสดงดังนี้

จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=334

มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น — wrong concentration)

ความเห็น : มิจฉาสมาธิ ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ ในกามราคาะพยาบาท แล้วหลงเพลิน ติดหมกมุ่น ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น ตรงนี้ท่านแปลถูก

การเจริญสมาธิ แล้วหลงเพลิน ติดหมกมุ่นตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นเป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น ตรงนี้ ผิดๆ ถูกๆ
-----------
การเจริญมรรคปฏิปทาใดก็ตาม ถึงแม้ว่าเจริญอยู่ก็ตาม หากอินทรีย์ 3 ไม่ปรากฏ คือ อนัญญัสตัญญัสสมีตินทรีย์ หรืออัญญิณทรีย์ หรือ อัญญาตาวินทรีย์ สัมมาทิฏฐินั้น ก็เป็นสาสวะ

การที่สัมมาสมาธิห้อมล้อมทิฐิอันเป็นสาสวะ จึงไม่ใช่มิจฉาสมาธิ
และถ้าหากท่านนิยามว่า มิจฉาสมาธิ ได้แก่การเจริญสมาธิ ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้นตามทีท่านห้อยท้ายไว้

ความหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น ไม่ได้บ่งบอกว่า เป็นมิจฉาสมาธิ ความหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น ขึ้นอยู่กับกำลังปัญญา อันทำอินทรีย์ 3 อันเป็นองค์แห่งมรรค นั้น
แม้แต่อนาคามี ก็ยังไม่หลุดพ้น สมาธิในอนาคามี เป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ?
บุคคลผู้ให้ทานรักษาศีล เป็นสัมมาสมาธิ บุคคลเหล่านั้น ก็หมกมุ่นในบุญ ท่านก็คิดว่าเป็นมิจฉาสมาธิ?

ยามใดเกิดอกุศลจิต ยามนั้นสมาธิเป็นมิจฉาสมาธิ
ยามใดเกิดอกุศลจิต ที่ประกอบด้้วยวิจิกิจฉา ยามนั้น แม้แต่มิจฉาสมาธิก็ยังตั้งอยู่ไม่ได้เลย
ยามใดจิตเป็นกุศล ยามนั้นสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ


เพราะฉะนั้น เช่นนั้นจึงอนุโมทนา ต่อวลีที่คุณกุหลาบสีชา ที่เคยสนทนากันใน hi5 ว่า “พยัญชนะตื้น...อรรถะลึกซึ้ง”
คำแปลผิดๆ ถูกๆ จึงเป็นดังนั้น

องค์เจตสิกที่ประกอบในจิต อันเป็น สมถะ มีใน จิตเหตุเกือบทุกดวง ยกเว้นแต่อกุศลจิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา
อกุศลจิต11 ดวงก็มีสมถะเจตสิก
กามวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต โลกุตตรกุศลจิต ก็มีสมถะเจตสิก

สมถะเจตสิก คือรู้มั่นในอารมณ์ ทำความรู้มั่นในอารมณ์ที่มากระทบ ซึ่งคุณตรงประเด็นก็ไปไล่ศึกษาตามพระอภิธรรมในพระไตรปิฎก ที่ท่านบอกว่ามีแต่หัวข้อนั่นล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ murano

อ้างถึง :
เรา เบื่อมาก กับการโบ้ยไปว่า ให้ไปอ่านเพิ่ม ให้ไปศึกษาเพิ่ม เมื่อไรที่เจอคำนี้ เราจะถือว่า คนนั้นยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองเขียนเลย และไม่รู้จะตอบคนอื่นเขาว่ายังไง เพราะฉะนั้น จึงไม่สมควรเสียเวลาคุยด้วย

อีกอย่างคือ เท่าที่อ่านๆ มา เราว่า คำต่างๆ ที่ยกมาพูดกันนี้ นัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่เคยปฏิบัติได้มาก่อน เมื่อไม่เห็นแจ้ง ก็จะเอาความหมายตามที่ต่างๆ หรือที่เข้าใจเอาเอง มาแย้งกัน...

ความเห็น : เช่นนั้น ไม่ได้เอาความหมายในที่ต่างๆ มาแสดง เช่นนั้นปฏิบัติและได้ความเข้าใจในอรรถ ที่แสดงไว้ในพระไตรปิฏก

ตามที่ท่าน murano แสดงมานั้น จึงเป็นการสรุปเหมารวม โดยไม่มีความเข้าใจว่า ความเข้าใจอรรถ และการตีความ ไม่เหมือนกัน เมื่อเช่นนั้น เข้าใจอรรถ จึงแสดง ไม่ใช่แสดงโดยความไม่รู้ว่าจะตอบคนอื่นว่าอย่างไร
การที่ให้เขาไปศึกษาเพิ่มเติม เพราะ เรามีพระพุทธองค์เป็นกัลยณมิตร ธรรมทั้งหลายที่เราศึกษากันอยู่มาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์ ถ้าท่าน murano ไ้ด้สัพพัญญุตาญาณเมื่อไหร่ เช่นนั้น ก็จะรอฟังธรรมจากท่านเป็นคนแรก


คงไม่แรงไปหรอกน๊ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณกุหลาบสีชา ที่นำเนื้อห้า ของท่าน อาจารย์ พุธ ฐานิโย ทำให้ขอข้องใจในประเด็นนี้คลี่คลายไปได้มาก ผมชอบการโพสตืของคุณ กุหลาบสีชาจัง มันช่างมีสีสันน่าอ่าน ส่วนตัว ไม่ค่อนเข้าใจการใช้งานบอร์ดสักเท่าไร เพราะไม่เคยอ่านวิธีใช้ ทำให้ไม่มารถใช้งานบอร์ด ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อย่างนี้เรียกว่ารู้แล้วแต่ไม่ใส่ใจ คิดว่าควรจะจบกระทู้ได้แล้ว เพราะจากที่อ่านงานเขียน ของท่านอาจารย์พุธ ก้รู้สึกว่าอธิบายความแจ่มแจ้งดีมาก ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น ทรัพย์สินมีค่าข้าพเจ้าไม่มีจะให้ ขอให้บุญจากการสนทนาธรรม อันเป้นมงคลอันประเสริฐ จงประสิทธอิ์ประสาทปัญญาแก่ทุกท่านให้ประหารกิเลส อวิชชา หมดสิ้นในปัจจุบันชาติ เข้าถึงนิพพาน อันบรมสุข ทุกท่านเทอญ :b8:

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านตรงประเด็น

:b8: :b8: :b8:

ผมเห็นด้วยกับความเห็นท่านตรงประเด็นครับ

อีกท่านหนึ่งคือกุหลาบสีชาก็มีความคิดเห็นแต่ละครั้งเต็มไปด้วยสาระสำคัญ



สัมมาสมาธิ หรือ มิจฉสมาธิ สรุปจุดสุดท้ายอยู่ที่

สมาธิเพื่ออะไร ผมเข้าใจถูกไหมครับ

ถ้าเพื่อความหลุดพ้น นิสรณะก็เป็นสัมมาสมาธิ

ถ้าเพื่อตอบสนองความสุขสบาย ยึดติดสุขก็เป็นมิจฉสมาธิ


เหมือนกับ

คำว่าดี

ถ้าพูดว่า"ดีแล้ว ขอให้เจริญธรรมยิ่งๆขึ้นไป" "ดีแล้วคือ สัมมาฯ

ถ้าพูดว่า"ดีแล้ว สมน้ำหน้ามัน" ดีแล้วคือมิจฉฯ

แล้วใครลองแปลคำว่าดีแล้วดูครับว่าคืออะไร



ภาษาเป็นเรื่องสมมุติ

นักอภิอักษรทั้งหลายจึงติดสมมุติ ถูกอักษรล้อมคอกกั้นไว้

นักปฏิบัติติดตัวเอง จึงมักขั้งตัวเองเอาไว้



ส่วนอริยะบุคคลติดปัญญา

ปัญญาจึงพาหลุดพ้น



ปลาที่อยู่ในน้ำ

ก่อนที่จะมีนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าน้ำประกอบด้วย ไฮร์โดรเจน 2 ตัว เกาะกับ อ๊อกซิเจน 1 ตัว

ปลาก็ไม่เดือดร้อน

เพราะการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของน้ำไม่ใช่เรื่องของปลา


มีสุภาษิติของชาติแห่งดวงดาวสีเขียวแกมเหลืองว่า

ปลาถูกจับด้วยอวน

นกถูกดักจับด้วยแร้ว

นักศึกษาถูกจับด้วยอวนแร้วแห่งตัวอักษร

มีแต่อริยะบุคคลที่เหมือนมังกรดั้นเฆม หลุดพ้นด้วยปัญญา


สุดท้ายกับคำพูดเพ้อเจ้อของผม

ใครบอกกับผมได้ไหมว่า

เรือของนายโนอาเป็นเรือไม้หรือเรือเหล็ก


และอย่าถามว่าผมอยากรู้ไปทำไม

ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเมส
ดีใจที่ได้สนทนากันอีกครับ

คุณเมส เขียน:
สัมมาสมาธิ หรือ มิจฉสมาธิ สรุปจุดสุดท้ายอยู่ที่
สมาธิเพื่ออะไร ผมเข้าใจถูกไหมครับ
ถ้าเพื่อความหลุดพ้น นิสรณะก็เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าเพื่อตอบสนองความสุขสบาย ยึดติดสุขก็เป็นมิจฉสมาธิ


สัมมาสมาธิ หรือมิจฉาสมาธิ อยู่ที่คุณภาพของจิตครับ
หลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น อยู่ที่คุณภาพของปัญญาในจิตด้วยครับ
การเสวยความสุขสบาย ก็เป็นธรรมชาติของวิบากจิต ที่เป็นกุศล และอกุศลครับ
การยึดติดสุขในขณะแห่งสัมมาสมาธิ ก็เพราะปัญญายังอ่อนครับ
การเกิดกำหนัดพอใจยินดีในสุข ก็เพราะอกุศลจิตเกิดครับ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 08 ส.ค. 2009, 13:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าพากันใช้ QOUTE ทุกคน ก้จะดีมากเลยครับ

อ้างคำพูด:
แบบนี้น่ะครับ


เพราะไม่รู้ว่าใครกำลังคุยกับใคร ยุ่งเหมือนยุงตีกัน

แต่ถ้ากะจะไม่ให้ใครรู้เรื่องด้วย รู้เรืีองกันแต่คนที่คุยกัน
ก็ไม่ว่าอะไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไม่เป็น อะครับ สอนหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ทำไม่เป็น อะครับ สอนหน่อย



ที่นี่เลยครับ
viewtopic.php?f=63&t=22909


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ เช่นนั้น


ที่คุณกล่าว

อ้างคำพูด:
แม้แต่อนาคามี ก็ ยังไม่หลุดพ้น

สมาธิในอนาคามี เป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ?





ลองพิจารณาเทียบเคียง กับ คำจำกัดความของ มิจฉาสมาธิ ของท่านเจ้าคุณๆ

มิจฉาสมาธิ

ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น — wrong concentration)




สัมมาสมาธิในพระอนาคามี....?
เป็นสัมมาสมาธิของพระอริยบุคคลแล้ว ก็น่าจะตัดประเด็น.... so call สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ ...ออกไปได้เลย



ลองมาพิจารณาดีๆว่า ท่านเจ้าคุณกล่าวผิดไหม?

ท่านเจ้าคุณท่านใช้คำว่า "ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัศนะ และ ความหลุดพ้น" จึงเรียกว่า มิจฉาสมาธิ .

สังเกตุดีๆ ท่านเจ้าคุณท่านไม่ได้ตัดสิน ว่า สมาธินี้เป็นมิจฉาสมาธิหรือไม่ ด้วยข้อบ่งชี้ว่า"หลุดพ้นแล้ว" หรือ "ยังไม่หลุดพ้น" น่ะครับ....

แต่ท่านใช้คำว่า "เป็นไปเพื่อ"...
ซึ่ง คำว่า"เป็นไปเพื่อ"นี้ หาใช่ว่าต้องหลุดพ้นแล้วเท่านั้นนี่ครับ

แม้นยังไม่หลุดพ้น แต่ถ้า สมาธินั้นๆ"เป็นไปเพื่อ" คือ มุ่งบ่ายหน้าไปเพื่อความหลุดพ้น ก็นับว่าสมาธินั้นๆเป็น สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค ด้วยเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:



สัมมาสมาธิ หรือ มิจฉสมาธิ สรุปจุดสุดท้ายอยู่ที่

สมาธิเพื่ออะไร ผมเข้าใจถูกไหมครับ

ถ้าเพื่อความหลุดพ้น นิสรณะก็เป็นสัมมาสมาธิ

ถ้าเพื่อตอบสนองความสุขสบาย ยึดติดสุขก็เป็นมิจฉสมาธิ






ขออนุญาต

จำกัดวง คำว่า สัมมาสมาธิ ให้แคบเข้ามาว่า เป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ) เลย น่ะครับ


เพราะ ไม่เช่นนั้น อาจจะไปเข้าใจว่าผมกำลังกล่าวถึง so call สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ เข้า



เสนอ พิจารณา



ในสัจจบรรพ แห่งมหาสติปัฏฐานสูตร

พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาสมาธิของภิกษุในธรรมวินัย(ไม่นับรวมพระฤาษีนอกพระศาสนา) ไว้ด้วย องค์แห่งรูปฌาน๑-๔ ต่อจาก องค์แห่งอริยมรรคก่อนหน้านั้นเจ็ดอย่าง....

ซึ่ง นี่คือ รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดขึ้นในกระบวนการของอริยมรรค นั่นเอง





ใน ปริกขารสูตร

ทรงแสดง อริยะสมาธิ ด้วยเอกัคคตาแห่งจิต(ฌาน)ที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม

ปริกขารสูตร

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
องค์แห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เอกัคคตาจิตประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้ เรียกว่าอริยสมาธิ ที่เป็นไปกับด้วยอุปนิสัยก็มี ที่เป็นไปกับด้วยบริขารก็มี ฯ




และ ใน มหาจัตตารีสกสูตร ก็เช่นเดียวกัน

ที่ ก็ทรงแสดงเหตุปัจจัย คือ ต้องมีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อมเอกัคคตาจิต(ฌาน)นั้นๆ จึงจะเป็น สัมมาสมาธิของพระอริยะ(ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค)




ดังนั้น

สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค นั้น

ต้องมีเหตุปัจจัย หลักๆ อยู่2อย่าง
คือ
1.เป็นเอกัคคตาแห่งจิต (รูปฌาน๑-๔)
และต้อง
2.มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อมเอกัคคตาจิต(ฌาน)นั้นๆ

จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ไม่ได้




ส่วน จุดมุ่งหมายของ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค นั้น
ก็ เป็นดังที่คุณmes กล่าวไว้ชอบแล้ว...
คือ ต้องเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์... เป็นไปเพื่อ ความดับไม่เหลือ.... เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

หาใช่ เป็นไปเพื่อ ความสุขจากภพอันละเอียดปราณีตแต่เพียงอย่างเดียว




สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค จึง จะมีเหตุปัจจัยนำหน้า และ ผลที่จะตามมา ตรงตามพระพุทธพจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mesครับ


ลองอ่านนี่ครับ


จาก สัทธาสูตร

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ***จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์*** ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ๆลๆ




ท่านพุทธาสภิกขุ ท่าน อธิบายประเด็น"ยึดหน่วงเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์"ไว้ดังนี้

".....สมาธินี่ มีลักษณะเป็นเอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์...ฟังไม่ถูกใช่ไหม?

เอกัคคตาจิต จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ยังฟังไม่ถูก

ต้องพูดเป็นไทยๆว่า เอกัคคตาจิตนั้นคือ จิตมีจุดเดียว มีอารมณ์เดียว มียอดเดียว, เอกัคคตา นั้นรวมเป็นยอดเดียว....นี้เรียกว่า ***เอกัคคตาจิต แล้วมุ่งไปสู่นิพพาน เรียกว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์***....

คำนี้เพราะดี ถ้าจำไว้ได้ก็จะดี

เอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ นั่นละตัวสมาธิ..."




เห็นคุณmes กล่าวถึง สมาธิเพื่ออะไร

อ้างคำพูด:
สัมมาสมาธิ หรือ มิจฉสมาธิ สรุปจุดสุดท้ายอยู่ที่

สมาธิเพื่ออะไร ผมเข้าใจถูกไหมครับ

ถ้าเพื่อความหลุดพ้น นิสรณะก็เป็นสัมมาสมาธิ

ถ้าเพื่อตอบสนองความสุขสบาย ยึดติดสุขก็เป็นมิจฉสมาธิ



ผมเลย ไปนำที่ท่านพุทธทาสกล่าวเอาไว้มาลง




ถึงแม้น ท่านพุทธทาสท่านจะกล่าวถึง สมาธินทรีย์ ... ไม่ได้กล่าวถึง สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ก็ตาม

แต่ เอกัคคตาจิตที่เรียกว่าสมาธินทรีย์ นี้ คือ เอกัคคตาแห่งจิตอย่างเดียวกันกับเอกัคคตาแห่งจิตที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ... นั่นละ

เพียงแต่ว่า จะมองเอกัคคตาจิตนั้น ในมุมมองไหน ในฐานะอะไร.



ถ้า มองเอกัคคตาแห่งจิตนั้นๆ ในฐานะองค์แห่งอริยมรรค(ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) ก็จะเป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค

แต่ ถ้ามองเอกัคคตาจิตนั้นๆ ในฐานะอินทรีย์(ธรรมที่เป็นใหญ่อันนำไปสู่ความพ้นทุกข์) ก็จะเป็น สมาธินทรีย์



สมาธินทรีย์ คือ เอกัคคตาจิต ที่มุ่งไปสู่พระนิพพาน ความดับไม่เหลือ

ไม่ได้มุ่งไปเพื่อ ภพภูมิอันละเอียดใดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะแบบนี้แหล่ะ คือปัญญาของนักปริยัติ
จริงๆ เนื้อหาก็ไม่แตกต่างกันเท่าไรหรอก แต่ก็พยายามหาช่อง หาแง่มุม หาจุดโต้แย้ง ซึ่งไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม จุดประสงค์ก็คือ เพื่ออัตตาที่อยากชนะ รู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มีภูมิเหนือกว่า...

อย่างเช่น คำว่า ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น จริงๆ คำนี้ก็ชัดเจน ไม่น่าจะมีแง่มุมอะไร ก็ยังอุตสาห์ตัดเอาคำว่า "ไม่เป็นไปเพื่อ" ออก แล้วยก "ความหลุดพ้น" มาหาจุดแย้ง
นักปริยัติ ไม่จำเป็นต้องหาแง่หามุมตลอดเวลาหรอก...

เช่นนั้น เขียน:
ความเข้าใจอรรถ และการตีความ ไม่เหมือนกัน

ความเข้าใจอรรถ ก็คือการตีความ...

มิจฉาสมาธิคืออะไร คือสมาธิที่ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความสงบ (อันนี้ก็คือการตีความ) สมาธิในการเล่นเกม สมาธิในการแข่งรถ สมาธิในขณะมีเพศสัมพันธ์ สมาธิในการหาช่องยักยอกทรัพย์ สมาธิพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีเอกัคคตา แต่เป็นมิจฉา
ส่วนสมาธิในฌาณ มีการพูดไว้เยอะแล้ว เช่น สุขในนิมิต หลงใหลในแสงสว่าง ฯลฯ ก็เป็นมิจฉา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง การติดสุขจากสมาธิ นั้นเป็นไปได้จริง

แต่ ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน ท่านมิใช่จะสอนให้ลูกศิษย์ตั้งหน้าตั้งตากลัวกลัวการติดสุขจากสมาธิ จนไม่เจริญสมาธิภาวนา.

ท่านสอนสมาธิภาวนาแน่นอน

เสนออ่าน

การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

viewtopic.php?f=2&t=19823&start=0

ถ้าลูกศิษย์มีแนวโน้มที่จะติดสุขจากสมาธิภาวนาเข้า ท่านก็จะเตือน เช่นกัน... แต่ เป็นการเตือนที่ ถูกต้องตามหลักกาลัญญุตา คือ เตือนถูกเวลา... เตือนเช่นนั้น เมื่อถึงเวลาที่ควรเตือน

ไม่ใช่ ลักษณะเตือนลูกศิษย์ในเรื่องนี้ ตั้งแต่ ลูกศิษย์ยังไม่เคยภาวนาจนพบความสงบของจิตกันเลย.... ดังที่เป็นกันในปัจจุบัน




ในระดับพระสูตร ก็มีพระสูตรที่ทรงแสดง ไม่ให้สาวกพัวพันด้วยสังโยชน์ในฌานต่างๆ.

และ มีพระสูตรที่ทรงแสดง การใช้ฌานเป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาไว้ด้วย


ลอง พิจารณา การใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง ในระดับพระสูตร ที่มีรายละเอียดชัดเจน จุดหนึ่ง

ฌานสูตร นว. อํ. (๒๐๔)
ตบ. ๒๓ : ๔๓๘-๔๓๙ ตท. ๒๓ : ๓๙๐-๓๙๑


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาหร เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้วเธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ นั้นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละ คือ อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้นย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย....”


แม้น ฌานระดับอื่นๆที่สูงกว่านี้ ก็ทรงแสดงไปในแนวเดียวกัน




ปล... พึงสังเกตุ การพิจารณาขันธ์๕ อันมีอยู่"ในขณะ"แห่งฌาน



....................................................



มี โอวาทธรรม ของ พระสุปฏิปันโน ในยุคปัจจุบัน(หลวงปู่ ชา สุภัทโท)
ที่ ท่านกล่าวถึง การพิจารณาความสงบ จนไม่ติดในความสงบ
คือ ใช้ความสงบที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา


"....อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง

และเมื่อจิตสงบแล้วความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะ คือสมาธิธรรมทำให้จิตเป็นสมาธิมันก็สงบ
ถ้าความสงบหายไปก็เกิดทุกข์ ทำไมอาการนี้จึงให้เกิดทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย แน่นอนมันจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

เมื่อมีความสงบแล้วยังไม่จบ พระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่ พรหมจรรย์ไม่จบ มันไม่จบเพราะอะไร เพราะมันยังมีทุกข์อยู่

ท่านจึงเอาตัวสมถะตัวสงบนี่พิจารณาต่อไปอีก ค้นหาเหตุผลจนกระทั่งท่านไม่ติดในความสงบ

ความสงบก็เป็นสังขารอันหนึ่ง ก็เป็นสมมติ เป็นบัญญัติอีก ติดอยู่นี่ก็ติดสมมติ ติดบัญญัติ

เมื่อติดสมมติติดบัญญัติก็ติดภพติดชาติ ภพชาติก็คือความดีใจในความสงบนี่แหละ เมื่อหายความฟุ้งซ่านก็ติดความสงบก็เป็นภพอีก เกิดอยู่อย่างนี้ ภพชาติเกิดขึ้นมา ทำไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้...."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ



อ้างคำพูด:
มีข้อสงสัยว่า การปฏิบัติสมาธินั้น มีข้อบ่งชี้อย่างไรว่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นมิจฉาสมาธิ แล้วสมาธิทั้ง40 วิธี เป็นสัมมาสมาธิโดยตัวมันเอง หรือว่าแต่ละวิธี ทำให้เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิก็ได้ ขอบคุณครับ


สมาธิภาวนาวิธีใดๆ ที่มีเหตุปัจจัยแห่งสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคครบถ้วน คือ เป็นเอกัคคตาแห่งจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค

นอกจากนี้แล้ว ย่อมไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค
ส่วน จะเป็น มิจฉาสมาธิ หรือ so call โลกียะ(สาสวะ)สัมมาสมาธิ ก็พิจารณาตามข้อมูลด้านต้น



อ้างคำพูด:
ที่เคยอ่านมา เขาบอกว่า เพราะขาดความรู้ตัว จึงเป็นมิจฉาสมาธิ

แล้วคนที่ได้ฌานนี่ น่าจะเป็นสัมมาสมาธิใช่หรือไม่ครับ


คำว่า "ความรู้ตัว"นี้ กว้างมากครับ

รู้ตัวแบบผิด(มิจฉาสมติ) ก็มี
รู้ตัวแบบไม่ผิด แต่ ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะเป็นสัมมาสติในองค์แห่งอริยมรรค ก็มี
รู้ตัวแบบถูก มีคุณสมบัติแห่งสัมมาสติในองค์แห่งอริยมรรค ก็มี


ดังนั้น คำว่า "ความรู้ตัว" นี้ ต้องระบุให้ชัดไปเลย ว่าคือ สัมมาสติในองค์แห่งอริยมรรค ครับ

สมาธิใดๆที่มีสัมมาสติในองค์แห่งอริยมรรค เป็นเหตุนำใกล้ สมาธินั้นๆ คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ครับ

[จาก มหาจัตตารีสกสูตร ; เพราะมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะ(บริบูรณ์)]


ถ้า "รู้ตัว" เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ระดับสัมมาสติในองค์แห่งอริยมรรค ...สมาธิที่บังเกิดตามจากสตินั้นๆ ก็ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค (เช่น ที่ทางจิตวิทยานำการเจริญสติไประยุกต์ใช้ในการลดอาการซึมเศร้า ก็มีสมาธิปรากฏเช่นกัน แต่ ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคโดยตรง เพราะ ไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอื่นๆเช่น อนาสวะสัมมาทิฏฐินำหน้าการเจริญสตินั้น)


ส่วน ฌาน นั้น ก็ขึ้นกับว่า เป็นฌานในแนวทางแห่งอริยมรรคไหม
ดัง กล่าวไว้มากแล้ว ด้านบน




บ่ายๆ จะแวะเข้ามาใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงปรเด็น เขียน:
ดังนั้น

สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค นั้น

ต้องมีเหตุปัจจัย หลักๆ อยู่2อย่าง
คือ
1.เป็นเอกัคคตาแห่งจิต (รูปฌาน๑-๔)
และต้อง
2.มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อมเอกัคคตาจิต(ฌาน)นั้นๆ

จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ไม่ได้



ท่านตรงประเด็นสรุปได้ตรงมากที่สุดแล้วในความคิดผม



ตั้งต้นเพื่อไม่ต้องอยากโน้นอยากนี้ เรามีดำริว่าเช่นนั้น

จึงตั้งต้นปฏิบัติตามเจตนาที่ดำริ

จะเกิดผลหรือไม่ไม่ต้องตั้งความหวัง

คือปฏิบัติให้ถูกในปัจจุบัน



ปริยัติ คือดำริชอบ

เพื่อนำมาลงมือปฏิบัติ

ปฏเวชเป็นอีกเรื่องหนึ่งเป็นเพียงธงที่ตั้งเอาไว้



ความสำคัญของเรืออยู่ที่การลอยตัวได้ และมีหางเสือ

ไม่ได้อยู่ที่ใช้ไม้กี่ท่อนเหล็กกี่แผ่นในการสร้าง

ที่สำคัญคือ ต้องใช้สำหรับการสัญจร


เรากำลังถูกล่ามโซ่ตีตรวนเป็นนักโทษของทฤษฎีหรือเปล่า

ทำไมเราไม่กล้าลุกขึ้นมาเลิกทาสให้กับตัวเอง

อะไรที่เป็นความฟ่ามเฟื้อของอักษรภาษาปล่อยเอาไว้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์



ต้องปลดเลื้องทฤษฎีออกไป จึงหลุด

(ทฤษฎี = ทิฏฐิ)


มิจฉทฤษฎี = สังโยช (อุธัจจะ)


เมื่อหลุดพ้นจากอุธัจจะหรือมิจฉทฤษฎี จึงเป็นสมาธิ หรือ เอกคัตตาจิต


สัมมาทฤษฎีเป็นไฉน

ตัวอย่างแพที่มีเอาไว้ข้ามฟาก


พระพุทธเจ้าสอนว่า

แพเอาไว้สำหรับข้ามฟากครับ

ไม่ใช่เอาไว้ยึดติดบูชาจนลื่มข้ามฟาก



เมื่อเราไม่มีปัญญาเก่งพอต้องอาศัยกัลยาณมิตร ปรโตโฆษะ คือ ปริยัติ

แต่ถ้าเราติดปริยัติ ก็ฟุ้งซ่าน ถึงขั้นเสพติด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 153 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร