ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=24678
หน้า 1 จากทั้งหมด 5

เจ้าของ:  kokorado [ 05 ส.ค. 2009, 18:35 ]
หัวข้อกระทู้:  อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

มีข้อสงสัยว่า การปฏิบัติสมาธินั้น มีข้อบ่งชี้อย่างไรว่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นมิจฉาสมาธิ แล้วสมาธิทั้ง40 วิธี เป็นสัมมาสมาธิโดยตัวมันเอง หรือว่าแต่ละวิธี ทำให้เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิก็ได้ ขอบคุณครับ

เจ้าของ:  moddam [ 05 ส.ค. 2009, 20:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

ตอบตามสไตส์นะครับ

สมาธิก็มีเหมือนกันทุกคน แต่เป็นมิจฉานะครับ

แต่ถ้ามาฝึกเมื่อไหร่ก็เริ่มต้นเป็นสัมมาทันที

อันนี้ได้ยินได้ฟังมากะหูตัวเองเลยครับ ตอนไปกราบหลวงพ่อใหญ่ วัดโพธิคุณครับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 05 ส.ค. 2009, 21:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

สมาธิ..จะเป็นสัมมาสมาธิได้..ต้องมาจากการมีสัมมาทิฐิ

การจะมีสัมมาทิฐิได้..ก็เพราะเห็นจริง ๆ ว่า..การเกิดมานี้พบแต่ทุกข์ทั้งสิ้น..เห็นว่าทางดับทุกข์มีอยู่..แล้วตัดสินใจเดินไปตามทางนั้น..

ดังนั้นพอจะกล่าวได้ว่า..ถ้าไม่ได้ปรารถณาจะออกจากทุกข์แล้ว..ไซ้ร..ไม่ว่าจะพูด..จะทำ..จะประกอบอาชีพ..จะเพียรอะไร..จะตั้งสติ..จะทำสมาธิ..ก็ล้วนเป็นมิจฉา..ทั้งหมดทั้งสิ้น..

เจ้าของ:  kokorado [ 05 ส.ค. 2009, 22:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

ที่เคยอ่านมา เขาบอกว่า เพราะขาดความรู้ตัว จึงเป็นมิจฉาสมาธิ แล้วคนที่ได้ฌานนี่ น่าจะเป็นสัมมาสมาธิใช่หรือไม่ครับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 05 ส.ค. 2009, 23:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

หากขาดความรู้ตัว..คือขาดสติ..สมาธิอะไรก็ไม่เรียกแล้ว..แล้วคนที่ได้ฌานนี้ก็ยังไม่อาจจะบอกได้เลยทันที่ว่าเป็น..สัมมาสมาธิ..ต้องดูว่าเขาเริ่มที่มรรค 8 ข้อที่หนึ่ง..คือสัมมาทิฐิ..หรือเปล่า..นะครับ..

อย่างคนนอกศาสนาพุทธ..เขาก็ทำสมาธิได้..ทำฌานได้..แต่เขาทำอยู่บนพื้นฐานความปรารถณาต่าง ๆ ในโลก..ในโลกนี้หมายรวมถึง..สวรรค์..พรหม..ด้วยนะครับ..(คำเรียกแต่ละเชื้อชาติ..ศาสนา..อาจไม่เหมือนกัน..แต่สภาวะเป็นอย่างเดียวกัน)..คือเขาก็คิดว่า..นี้แหละสุขแล้ว..แต่เพราะไม่รู้ความจริง..คือไม่รู้ว่าที่มันทุกข์นี้นะ..เกิดจากกิเลส..ตันหา..อวิชชา..เพราะไม่รู้เหตุที่แท้จริงของการเกิดทุกข์..ก็เลย..แก้ได้ไม่หมดจริง..พอไปได้สวรรค์..ได้พรหม..ความจริงยังถูกหมกเม็ดใว้ในสุขในสวรรค์ในพรหม..ความจริงที่ถูกหมกเม็ดก็คือ..เมื่อหมดบุญคือความสุขแล้วต้องมารับกรรมคือความทุกข์อีก..พอได้ทุกข์ก็ขวนขวายหาสุขอีก..ก็วนอยู่อย่างนี้..ตลอดไป..ถ้าตราบใดไม่พบพระพุทธศาสนา..พูดได้เลยว่า..สุขแท้จริงที่ไม่เปลี่ยนมาทุกข์อีก..ไม่มีทางหาพบ..

นี้แหละครับที่กล่าวได้ว่า..ถ้าไม่ใช่สมาธิ..เพื่อออกจากทุกข์..แล้วก็..เป็นมิจฉาสมาธิ..ทั้งสิ้นครับ..

ถ้าคุณตั้งใจทำทุก ๆ อย่าง...เพื่อการออกจากทุกข์..เพื่อกำจัดเหตุให้เกิดทุกข์..แล้วละก็..เป็นสัมมา..หมดครับ..

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 06 ส.ค. 2009, 02:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

มิจฉาทิฐิ คือยังมีอวิชชาเหลืออยู่

สังโยชน์แบ่งเป็น 10 อย่าง
ถ้าเราถอดถอนสังโยชน์ข้อใดไปได้เด็ดขาดแล้ว ก็เรียกว่าเรามี สัมมาทิฐิในสังโยชน์ข้อนั้น
แต่ข้ออื่นๆยังเป้นมิจฉาทิฐิอยู่

ถ้าถอดถอนกิเลสหมดทั้ง 10 อย่างแล้ว
ถึงจะเรียกว่า สัมมาทิฐิ

เพราะฉะนั้น ยกเว้นพระอรหันต์ ต่ำกว่านั้นลงมา
ก็ล้วนมีมิจฉาทิฐิในระดับที่แตกต่างกันไป

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 06 ส.ค. 2009, 11:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

สมาธิ เป็นตัวแสดงคุณภาพของจิตที่ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวครับ

มิจฉาสมาธิ จึงเป็นคุณภาพของอกุศลจิตที่ตั้งมั่น
จิตที่ตั้งมั่นในการประกอบอกุศลกรรมบถ ทางกาย ทางวาจา และทางใจประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่งคือ จิตที่ตั้งมั่นในการพิจารณา กามสัญญาต่างๆ อันเป็นเจตนาฟุ้ง(หรือกล่าวได้ว่า ฟุ้งโดยเจตนา) ครับ ซึ่งทำให้สักกายทิฏฐิเจริญขึ้น ก็จัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิเช่นกันครับ ซึ่งในกรณีนี้ พิจารณาได้จากเจตสิกประกอบในอกุศลจิตดวงที่ 12 ดังนี้ครับ

จิตดวงที่ ๑๒
[๓๓๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?
อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียง
เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 06 ส.ค. 2009, 11:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

อ้างถึง : มีข้อสงสัยว่า การปฏิบัติสมาธินั้น มีข้อบ่งชี้อย่างไรว่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นมิจฉาสมาธิ แล้วสมาธิทั้ง40 วิธี เป็นสัมมาสมาธิโดยตัวมันเอง หรือว่าแต่ละวิธี ทำให้เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิก็ได้

เสนอความเห็น : การศึกษาอธิจิต ก็มาดูข้อบ่งชี้ว่า สัมมาสมาธิคืออะไร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งข้อปฏิบัติอันเป็นมิจฉาสมาธิครับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ตลอดพระชนม์ชีพดังนี้ครับว่า

[๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิ อยู่ เพราะคลายปีติได้อีก
ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

ดังนั้น หากการปฏิบัติสมาธิใดๆ ก็ตามมีลักษณะ อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธิทั้งสิ้น ครับ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 06 ส.ค. 2009, 11:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

อ้างถึง : ที่เคยอ่านมา เขาบอกว่า เพราะขาดความรู้ตัว จึงเป็นมิจฉาสมาธิ แล้วคนที่ได้ฌานนี่ น่าจะเป็นสัมมาสมาธิใช่หรือไม่ครับ

แสดงความเห็น :
ความระลึกเป็นสติ ความรู้ตัวเป็นสัมปชัญญะ สติและสัมปชัญญา เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นด้วยบุญญาภิสังขารครับ สังขารอันมีกุศลปรุงแต่งจิต สติเจตสิกและสัมปชัญญะเจตสิกให้เกิดร่วมเกิดพร้อมกับจิตที่เป็นกุศลครับ

คนที่ได้ฌาน ก็ไม่จัดว่ามีสัมมาสมาธิเสมอไปครับ
คนที่ได้ฌาน เพราะการสวดมนต์ ให้ทาน รักษาศีล มีการเจริญมรรคปฏิปทามีองค์ 5 ก็ยังได้โลกียฌานอันเป็นสัมมาสมาธิ
คนทีี่่ได้รูปฌาน หรือ อรูปฌาน โดยการเจริญมรรคปฏิปทาครับถึงได้โลกียฌานอันเป็นสัมมาสมาธิ
คนที่ได้ ฌาน โดยการเจริญโลกุตตรฌาน อันมีมรรคปฏิปทา ก็จะได้โลกกุตตรฌานอันเป็นสัมมาสมาธิ

คนที่ได้ฌานอื่นใด โดยไม่มีมรรคปฏิปทาแล้ว ล้วนเป็นมิจฉาสมาธิครับ
เพราะฉะนั้น คนที่ได้ฌานโดยไม่เจริญมรรคปฏิปทาจึงไม่สติ ไม่มีสัมปชัญญะ จิตพัวพันในกามสัญญา จมอยู่ในโมหะ ก่อให้เกิดสักกายทิฏฐิครับ

เจ้าของ:  mes [ 06 ส.ค. 2009, 13:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

คุณเช่นนั้นไม่ได้อยู่เวปธรรมะไทยแล้วหรือครับ

เข้าไปเยี่ยม

ไม่เจอ

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 06 ส.ค. 2009, 14:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

เช่นนั้น เขียน:
อ้างถึง : มีข้อสงสัยว่า การปฏิบัติสมาธินั้น มีข้อบ่งชี้อย่างไรว่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นมิจฉาสมาธิ แล้วสมาธิทั้ง40 วิธี เป็นสัมมาสมาธิโดยตัวมันเอง หรือว่าแต่ละวิธี ทำให้เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิก็ได้

เสนอความเห็น : การศึกษาอธิจิต ก็มาดูข้อบ่งชี้ว่า สัมมาสมาธิคืออะไร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งข้อปฏิบัติอันเป็นมิจฉาสมาธิครับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ตลอดพระชนม์ชีพดังนี้ครับว่า

[๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิ อยู่ เพราะคลายปีติได้อีก
ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

ดังนั้น หากการปฏิบัติสมาธิใดๆ ก็ตามมีลักษณะ อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธิทั้งสิ้น ครับ




คำว่า สัมมาสมาธิ ในองค์แห่งอริยมรรค




ในพระสูตรต่างๆที่ตรัสแสดง เช่น ที่ทรงแสดงในสัจจบรรพมหาสติปัฏฐานสูตร

จะแสดงด้วยว่า

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๆลๆ


http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 99&Roman=0


คล้ายๆกับที่ คุณเช่นนั้น นำมาลง
เพียงแต่ใช้คำว่า"ธรรมวินัย" แทนคำว่า"ศาสนา"


ในพระสูตรที่แสดง สัมมาสมาธินี้ ทรงแสดงเรียงมาตั้งแต่ สัมมาทิฏฐิ ๆลๆ...มาทีละองค์แห่งอริยมรรค จนถึง สัมมาสมาธิ

แล้ว จึงทรงแสดง สัมมาสมาธิของภิกษุในธรรมวินัยนี้

คำว่า "ธรรมวินัย"ที่ทรงตรัส นี้ละสำคัญ
เพราะ ธรรมวินัยที่ทรงแสดงนี้กำลังแสดงถึงองค์แห่งอริยมรรค... อริยมรรค นั่นละคือ ธรรมวินัยที่พระพุทธองค์บัญญัติ


ซึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่นับรวม ฤาษีนอกพระศาสนา แน่ๆ
(ฤาษีนอกพระศาสนาไหนรูจักธรรมวินัยเองบ้าง...ถ้าไม่นับพระปัจเจก)



จุดนี้สำคัญ...

เพราะ ถ้าจัดว่าสมาธิใดๆก็ตาม ที่มีองค์แห่งฌานครบแล้ว ก็สามารถนับเป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคได้ ก็อาจจะไม่รัดกุมเพียงพอ...

เพราะ ฤาษีนอกพระศาสนาที่ท่านก็รักษาศีล และ บำเพ็ญฌาน ท่านก็บรรลุ รูปฌาน๑-๔ ที่เป็นมหากุศลได้เช่นกัน...

แต่ รูปฌาน๑-๔ ของฤาษีนอกพระศาสนานั้น ไม่จัดเป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ) เพราะ ไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างเป็นบริขาร



จึงขอเสนอว่า เวลาจะกล่าวถึง สัมมาสมาธิ นั้น ชักชวนให้ระบุชัดๆไปเลยด้วยคำว่า

สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค หรือ อริยะสัมมาสมาธิ


เพราะ ถ้าไม่ระบุให้ชัดเจนไปเลย
โดยกล่าวเพียงคำว่า สัมมาสมาธิ เฉยๆ ที่บางท่าน อาจจะใช้เพียงองค์แห่งรูปฌาน๑-๔ ที่เป็นมหากุศลจิตอย่างเดียวเป็นเกณฑ์......
โดยไม่พิจารณาเหตุปัจจัยที่สำคัญนำหน้าแห่งเอกัคตาจิตนั้นๆ คือ คือองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างที่นำหน้า .... (อ่าน มหาจัตตารีสกสูตร)

เดี๋ยวจะไปจัด ฌานของพระฤาษีนอกธรรมวินัยที่บรรลุโลกุตรฌานที่เป็นมหากุศลจิต(เช่น ของ ท่านดาบสทั้งสอง อดีตอาจารย์พระพุทธองค์) ให้เป็นแบบเดียวกับ อริยะสัมมาสมาธิเข้า

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 06 ส.ค. 2009, 15:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

สวัสดีครับคุณเมส
เช่นนั้น ก็ไปๆ มา ครับ เว็ปโน้นก็ไปบ้าง ตอบกระทู้เท่าที่จำเป็นครับ
เว็ปนี้ก็มาเหมือนกันครับ ขอบคุณครับที่ยังจำกันได้อยู่

------
อ้างถึง : รูป ฌาน๑-๔ ของฤาษีนอกพระศาสนานั้น ไม่จัดเป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ) เพราะ ไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างเป็นบริขาร

ความเห็นเพิ่มเติม: ฌาน 1-4 ของฤาษีนอกพระศาสนา เป็นฌานทีี่เกิดด้วยอำนาจแห่งโมหะ และตัณหา ในรูปตัณหา รูปวิตก รูปวิจาร ย่อมไม่เป็นสัมมาสมาธิครับ เหตุที่ไม่เป็นอีกประการหนึ่งก็เพราะปิยรูปสาตรูปเหล่านั้น เป็นที่ตั้งที่อาศัยของสักกายทิฏฐิ

เจ้าของ:  kokorado [ 06 ส.ค. 2009, 15:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

หากการบรรลุธรรมต้องอาศัยอริยมรรคมีองค์ 8 แต่ที่เคยได้ยิน คนในสมัยพุทธกาล ฟังธรรมจากพุทธองค์ก็บรรลุธรรมกันมากมาย
ทำไมบรรลุธรรมง่ายจัง นี่แสดงว่าแค่ฟังธรรมให้ถูกจริต ก็หลุดพ้นได้ใช่มั้ยครับ บางท่านขณะโกนผม หรือมองดอกบัวก็สำเร็จธรรมกันแล้ว อย่างนี้แสดงว่าบรรลุธรรมแบบเซ็นก็เป็นไปได้ใช่หรือไม่
อีกคำถามคือ เมือนั่งสมาธิ จนอยู่ใน ฌาน 4 จะสามารถอาศัยอำนาจฌาน ในการดับกิเลสต่างๆ ด้วยวิปัสสนาในขณะนั้นได้หรือไม่ นั่นคือ ขณะอยู่ในฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาด้วยได้หรือไม่ โดยอาศัยอำนาจของจิตที่มีคุณภาพด้วยอำนาจของฌานสมาบัติ หรือจำเป็นต้องออกจากฌานมาก่อน

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 06 ส.ค. 2009, 16:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

อ้างถึง : เดี๋ยวจะไปจัด ฌานของพระฤาษีนอกธรรมวินัยที่บรรลุโลกุตรฌานที่เป็นมหากุศลจิต(เช่น ของ ท่านดาบสทั้งสอง อดีตอาจารย์พระพุทธองค์) ให้เป็นแบบเดียวกับ อริยะสัมมาสมาธิเข้า

ความเห็น : เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนมากว่า การเจริญอริยมรรค 8 แล้วทุกคนจะบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ถึงแม้พระมหาฤาษีดาบสทั้งสองรูป นั้น จะเจริญสมาธิอันเป็น รูปฌาน และอรูปฌานก็ตาม
สมาธิที่ท่านมหาฤาษีเจริญนั้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน เพราะจิตท่านสงัดจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ตามลำดับแต่รูปหนึ่งสำเร็จเพียงรูปฌาน และอีกรูปหนึ่งสำเร็จที่อรูปฌาณ แต่เพราะปัญญาท่านดาบสทั้งสองไม่แก่กล้า ปัญญาพละไม่เพียงพอ ท่านจึงมีปสาทะ ความน้อมใจไปในรูปพรหม และอรูปพรหมเสียก่อนท่านทั้งสองจึงพลาดจากมรรค ผล นิพพาน

ดังนั้น การพลาดจากมรรคผล จึงไม่ใช่เกี่ยวกับสัมมาสมาธิเพียงประการเดี่ยว องค์ธรรมที่ประกอบเพื่อมรรคผลนิพพานจึงมี อินทรีย์ 9 พละ7 มรรค 8 และองค์ธรรมอันเป็นกุศลอื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 60 ประการ

พระพุทธองค์ ทรงตรัสถึงพระอาจารย์ทั้งสอง เวลาที่ทราบว่าท่านอาจารย์ทั้งสองทำกาละแล้วว่า "ฉิบหายเสียแล้ว จากมรรคผล".....

สิ่งที่ดาบสทั้งสอง พึงเจริญต่อเพื่อให้เกิดถึงมรรคจิตดวงนี้ ครับ
มรรคจิตดวงที่ ๔
[๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน
เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๒๗๔] อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างเหมือนปัญญา ความสว่าง
คือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบ
แล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญินทรีย์ มีใน
สมัยนั้น ฯลฯ นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี
อยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 06 ส.ค. 2009, 17:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

kokorado เขียน:

อีกคำถามคือ เมือนั่งสมาธิ จนอยู่ใน ฌาน 4 จะสามารถอาศัยอำนาจฌาน ในการดับกิเลสต่างๆ ด้วยวิปัสสนาในขณะนั้นได้หรือไม่ นั่นคือ ขณะอยู่ในฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาด้วยได้หรือไม่ โดยอาศัยอำนาจของจิตที่มีคุณภาพด้วยอำนาจของฌานสมาบัติ หรือจำเป็นต้องออกจากฌานมาก่อน





เสนอ อ่านรายละเอียด


ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ ?


http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 7e132bc1ca



อ้างคำพูด:
หนังสือพุทธธรรมหน้า 365 เริ่ม....

ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

-มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก
และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข
และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า
ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย
ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก
ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118
กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี
องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83)

วินย.ฎีกา.2/271 และวิสุทธิ. ฎีกา.1/254 ขยายความหมายของ
ข้อความอย่างที่พบใน ปฏิสํ. อ. 159, วิสุทฺธิ. 1/190
และ นิท. อ. 1/164 ให้เห็นชัดว่า สมาธิและปัญญาเกิด
ขึ้นได้ โดยเป็นธรรมควบคู่กันในฌานจิต

ส่วนที่ว่า ไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร

นั้น

พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น

มีกำลังแน่วแน่อย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์

(วิตก แปลว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)

ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (วิจาร แปลว่า

เคล้าอารมณ์) ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามี

วิตกวิจาร

หน้า 1 จากทั้งหมด 5 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/