วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 03:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต ในพุทธศาสนา
บทความธรรมะในตอนนี้ จะกล่าวถึงเรื่องของ "ภวังค์" หรือ "ภวังค" หรือ "ภวังคจิต" เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้นำไปคิดพิจารณา และทำความใจเกี่ยวกับเรื่อง "ภวังคจิต" อย่างถูกต้อง เหตุเพราะได้มีการสอน และให้ความหมายเกี่ยวกับ “ภวังค์ หรือ “ภวังค” หรือ "ภวังคจิต" แบบผิดๆ มานานแล้ว ทำให้คุณค่าของพุทธศาสนาด้อยลงไป อย่างรู้เท่าไม่ถึงกาล

ภวังคจิต สามารถ อธิบายได้หลายแบบ จะอธิบายโดยยกเอาต้นตอมาให้เกิดความเข้าใจก็ได้ หรือจะอธิบายผลที่เกิดจากต้นตอ ก็ได้เช่นกัน เหตุเพราะ ทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แยกกันไม่ได้ ดังนั้น ผู้รู้ จึงสามารถอธิบายต้นกำเนิด หรือจะอธิบายผลแห่งการเกิดจากต้นตอ ได้ทั้งสองอย่าง

ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต มิใช่ความไม่รู้สึกตัว แต่เป็นสภาพสภาวะทางร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลจะไม่รู้ว่ามีการดำเนินกิจกรรมภายในร่างกาย คือไม่รู้ว่า ร่างกายมีการทำงานอยู่ บางท่านอาจสงสัยและกังขา ว่า ทำไม่เราจะไม่รู้ว่าร่างกายของเราทำงานอยู่ ในเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังหายใจอยู่ ท่านทั้งหลายถ้าท่านคิดอย่างนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้รู้เอาไว้ว่า ที่ท่านยังรู้หรือกำหนดรู้ว่า ท่านหายใจอยู่นั้น ไม่ใช่ สภาพสภาวะของ สิ่งที่เรียกว่า "ภวังคจิต" ดังคำจำกัดความดังต่อไปนี้

"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบนิ่งอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิตหรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"

ภวังคจิต คือ ความเป็นกลางทางอารมณ์ ทางความรู้สึก อันเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ต่อเมื่อร่างกายได้รับการสัมผัส ทางอายตนะทั้งภายใน และภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต หรือ ความเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ซึ่งย่อมประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจ จากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมทั้งในทางที่เป็น อกุศลธรรม และ ในทางที่เป็นกุศลธรรม ต่อเมื่อพฤติกรรรม หรือปฏิกิริยาเหล่านั้น ได้แสดงออกไปจนหมดสิ้นแล้ว บุคคลก็จะกลับสู่ภาวะ ภวังคจิต ตามเดิม

ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของ ดวงจิตที่ได้รับมาจากบิดามารดานับตั้งแต่แรกปฏิสนธิแล้ว ภวังคจิตของบุคคล ย่อมมีส่วนคล้ายคลึง หรือเหมือนกัน เพราะเป็นเพียงจิตส่วนพื้นฐาน หรือจะกล่าวว่า เป็นสรีระร่างกาย และระบบการทำงานของร่างกาย ต่อเมื่อได้รับการขัดเกลาในด้านต่างๆ ภวังคจิต ของบุคคล จึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เพราะบุคคลที่ได้รับการขัดเกลามาดี ภวังคจิต ย่อมปราดเปรียว แคล่วคล่อง มีสติสัมปชัญญะดีกว่า บุคคลที่ไม่ได้รับการขัดเกลา หรือได้รับการขัดเกลามาไม่ดี
แต่ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของผลแห่งสภาพสภาวะร่างกายแล้ว ภวังคจิต ย่อมเป็นผลจากการทำงานของทุกระบบของสรีระร่างกาย บุคคลล้วนมีภวังคจิต คือความไม่รู้สึกว่า ร่างกายของตัวเอง ได้ดำเนินกิจกรรม หรือร่างกายทำงานตามระบบ อยู่ตลอดเวลา แม้ยามหลับนอน หรือไม่รู้สึกว่า เมื่อรับประทานอาหารไปแล้ว ร่างกายแสดงอาการดูดซึม หรือรับเอาอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างไรเมื่อไร เว้นแต่ การได้รับสัมผัส ขณะรับประทานอาหาร อย่างนี้เป็นต้น
มาถึงจุดนี้ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณาอย่างละเอียด และถี่ถ้วน ตามหลักความเป็นจริง ที่ท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย ว่า เป็นจริง มีจริง ตามที่ข้าพเจ้าได้ สอนไว้ข้างต้นหรือไม่

อนึ่ง ความรู้ในเรื่อง "ภวังคจิต" นี้ บางท่านคงคิดว่า ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หรือไม่ใช่เรื่องจำเป็นในการปฏิบัติธรรม หรือไม่จำเป็นในการเรียนรู้ หรือศึกษา พระธรรมทางพุทธศาสนา
แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นที่ท่านทั้งหลายต้องได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ภวังคจิต อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบการทำงานของสรีระร่างกาย อันสามารถนับเข้าเป็น ญาณ ส่วนรายละเอียด ในการพิจารณาเกี่ยวกับร่างกายได้
อีกทั้งยังเป็นการทำความเข้าใจ และแก้ไข ความรู้ที่ผิดๆของหลายท่าน เพื่อความเจริญในธรรม ทางพุทธศาสนา
ขอให้ทุกท่าน เจริญยิ่งในธรรม

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ ส.ค. ๒๕๕๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่เทสส์ เทสรังสี ได้แสดงภวังค์ได้ดังนี้

ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑

ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม

ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่าง(โอภาส)เป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้

ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามท่านเจ้าของกระทู้ว่า ภวังคจิตอยู่ตรงไหนครับ

ขอบคุณครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง่ายๆนะคะ

จิตก็คือจิต จิตในตัวเรา อันนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่มีเรา จิตไม่มีตัวตน แต่เป็นดวงจิตดวงเดียวตลอดไป

จิตจดจำทุกอย่างที่ผ่านมา กี่ชาติกี่ภพก็จำ มีกรรมอะไรยังไงกับใครหรืออะไรๆ ก็จำได้

เราเข้าใจมันได้ไม่ยากค่ะ แค่ถือศีล ทำสมาธิ รอปัญญาเกิด

ปัญญาสูงๆถึงขั้นรู้ว่าทำแบบนี้กับไอ้นี่นะ ไอ้นั่นนะ ก็ต้องฝึกกันไป เพียรโดยไม่ใส่กิเลสน่ะค่ะ แล้วจะรู้เองในวันนึงค่ะ เมื่อเข้าใจเราก็รู้วิธีตัดกรรม วิธีไม่ต่อกรรม สะสมบุญ แล้วก็ตีดกิเลส เมื่อทำได้ทั้งหมด และบุญถึง ก็พ้นทุกข์ นิพพานค่ะ

จุฬาภินันท์กำลังไต่ไปตามทางสายกลางนั้นค่ะ ขยับที่ละหน่อยก็ดีกว่าไม่ขยับ แต่ไม่หวังว่าจะขยับก้าวใหญ่ๆ ไม่หวังอะไรเลย รู้แต่เพียรทำไปแล้วมันขยับเดินหน้าเอง ก็เพียรอย่างเดียว ตั้งใจอย่างเดียวค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
อยากถามท่านเจ้าของกระทู้ว่า ภวังคจิตอยู่ตรงไหนครับ

ขอบคุณครับ

:b8: :b8: :b8:


คุณอ่านแล้วไม่พิจารณาไตร่ตรอง ตามขอรับ จึงทำให้คุณไม่เกิดความเข้าใจ
เอาส้้นนะขอรับว่า

ภวัง ,ภวังค,ภวังค์ คือระบบการทำงานของสรีระร่างกาย (นี้เป็นคำสอนของท่านอาจารย์ของข้าพเจ้า สอนข้าพเจ้าไว้เมื่อ หลายสิบปีก่อน ประมาณ ๓๐ ถึง ๔๐ กว่าปีแล้วขอรับ)
ดังนั้น
ภวังคจิต ก็คือ อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย และหมายรวมไปถึง ระบบการทำงานร่วมกันของอวัยวะทุกสวนด้วยขอรับ

อนึ่ง ขอให้ท่านทั้งหลาย ได้คิดพิจารณา แลพิสูจน์ ด้วยตัวท่านเอง ตามหลักความเป็นจริง
โดยข้าพเจ้าจะแนะแนวให้ว่า สมอง ไม่ทำงานเต็มที่ ท่านท้้งหลาย ก็จะไม่รู้สึกตัว หรือเรียกว่า หลับใน
ถ้าร่างกายได้รับการพักผ่อนไมเพียงพอ ท่านก็จะไม่รู้สึกตัวในบางครั้ง
ถ้าท่านใช้สมองคิดเรื่องใดเรื่องหนึง จนขาดสติสัมปชัญญะ ท่านก็จะเกิดอาการไม่รู้สึกตัว ฯลฯ


หรือหากท่านยังสงสัยว่าเป็นจริงดังคำของท่านอาจารย์ที่ได้สอนข้าพเจ้า หรือไม่ ก็ให้ไปศึกษา ในอภิธรรมปิฎก ทำความเข้าใจในภาษา และความหมายของภาษาให้ดี ก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ จะได้ไม่หลงผิด ใช้ภาษาไปในทางที่ผิดๆ ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจว่า ภวังค์จิต เป็นคนละตัวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งสมองสั่งการเพื่อให้ร่างกายคงอยู่ และเป็นคนละตัวกับสัญชาติญาณ ซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิตในโลกนี้
หมายถึงว่า สิ่งเหล่านี้ ไม่สืบต่อไปกับการเกิด-ดับของจิต เมื่อร่างกายตายลง สิ่งเหล่านี้ก็สูญไป...

ระบบการทำงานของร่างกาย เข้าใจว่าคือ รูปปรมัตถ์ ซึ่งมีหลากหลายมาก และสิ่งที่เชื่อมกับรูปปรมัตถ์นี้คือ เจตสิก (คือจิตสั่งร่างกายโดยผ่านเจตสิก) และมันก็เป็นการทำงานขนานกันไปกับระบบประสาทอัตโนมัติ

ภวังค์จิตเป็นเรื่องของจิต เกิดที่จิต ไม่เกี่ยวกับร่างกายแต่อย่างใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
เข้าใจว่า ภวังค์จิต เป็นคนละตัวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งสมองสั่งการเพื่อให้ร่างกายคงอยู่ และเป็นคนละตัวกับสัญชาติญาณ ซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิตในโลกนี้
หมายถึงว่า สิ่งเหล่านี้ ไม่สืบต่อไปกับการเกิด-ดับของจิต เมื่อร่างกายตายลง สิ่งเหล่านี้ก็สูญไป...

ระบบการทำงานของร่างกาย เข้าใจว่าคือ รูปปรมัตถ์ ซึ่งมีหลากหลายมาก และสิ่งที่เชื่อมกับรูปปรมัตถ์นี้คือ เจตสิก (คือจิตสั่งร่างกายโดยผ่านเจตสิก) และมันก็เป็นการทำงานขนานกันไปกับระบบประสาทอัตโนมัติ

ภวังค์จิตเป็นเรื่องของจิต เกิดที่จิต ไม่เกี่ยวกับร่างกายแต่อย่างใด


พุทธะ......ตอบ

คุณขอรับ ทำไมคุณไม่อ่านและทำความเข้าใจในสิ่งทีข้าพเจ้าอธิบายให้ดีขอรับ และเมื่ออ่านดีแล้วทำไมคุณไม่คิดพิจารณาไตร่ตรองตามที่ข้าพเจ้าได้แนะนำขอรับ
ขออภัยนะขอรับ ถ้าข้าพเจ้าจะกล่าวตามตรง และตามความเป็นจริง ตามที่คุณได้เขียนมานั้น มันเป็นความเข้าใจที่ผิดๆของคุณ โดยที่คุณไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจอะไรเลยแม้แต่น้อย
คุณขอรับ ถึงคุณจะเรียนรู้ ในพระไตรปิฏก มามากสักเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ตามหลักการ ตามความรู้ ตามความเป็นจริง แล้ว คุณก็ไม่มีทางรู้ หรือเข้าใจอย่างถูกต้องดอกขอรับ
ในตอนนี้ข้าพเจ้ายังจะไม่อธิบาย เกี่ยวกับ จิต ,เจตสิก ,รูป ,นิพพาน เพราะยังไม่ค่อยว่าง เน็ต ก็ช้า เอาเป็นว่า ที่คุณกล่าวมา ไม่ถูกต้อง และเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก อาจจะกล่าวว่าคุณ บิดเบือน คำสอนตามพระไตรปิฏกก็ว่าได้ แต่ คุณบิดเบือน เพราะสมองสติปัญญาคุณน้อย ความรู้น้อย ประสบการน้อย ก็ถือว่า พออนุโลมไม่กล่าวโทษ กล่าวร้าย
ถ้าว่างแล้วข้าพเจ้าจะมาเขียนอธิบายให้พวกคุณได้อ่าน เพือเป็นหนังสือ ประกอบการเรียน พระอภิธรมปิฏก ขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร