ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=25209
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 26 ส.ค. 2009, 13:48 ]
หัวข้อกระทู้:  การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

กระทู้นี้ เป็นกระทู้ที่ข้าพเจ้าตัังใจจะตอบให้กับเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่ง ที่ได้ตั้งกระทู้ถามเรื่องของการทำบุญ แต่ข้าพเจ้ามีความคิดว่า เป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ ที่สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในทางที่ถูกที่ควร เกี่ยวกับทำบุญตามหลักพุทธศาสนา จึงได้หยิบยกเอามา เขียนเป็นกระทู้ธรรม ขอเชิญท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้เรียนรู้ และได้นำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในตนเองและผู้อื่น ดังต่อไปนี้.-

บุญ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ ตามความหมายในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก หมายถึง "คุณงามความดี หรือความดี หรือ การกระทำดี ตามหลักธรรมคำสอนในศาสนา

บุญ ในทาง พุทธศาสนานั้น ได้จัดเรื่องแห่งการทำบุญ หรือ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า
"บุญกิริยา วัตถุ" ไว้ดังต่อไปนี้

"สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี, หมวด ๓ คือ
๑.ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
๒.สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
๓.ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา"(คัดจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)

การทำบุญทั้ง ๓ รูปแบบนั้น ล้วนจักก่อให้เกิด ความคิดที่ดีต่อบุคคลนั้นๆ เมือบุคคลเกิดความคิดที่ดี ความสบายใจ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตใจผ่องใส ก็เกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นๆ ประดุจดังเงาตามตัว
๑.ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ ยังแบ่งแยกและมีความหมาย หรือมีจุดมุ่งหมายแห่งการให้ หรือ ทาน
คือ "การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;

ทาน แบ่งเป็น ๒ คือ
๑.อามิสทาน ให้สิ่งของ
๒.ธรรมทาน ให้ธรรม;
ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
๒.ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
(คัดจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)
กรุณา อ่านอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้

การทำบุญอย่างที่ ๒ คือ

๒.ศึลมัย หมายถึง " ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา หมายความว่า อธิศีลสิกขา เรียกแบบสั้นๆว่า "ศีล" (คัดจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

การทำบุญอย่างที่ ๓ คือ

๓. ภาวนามัย หมายถึง "การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี" (คัดจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

ทั้งสามข้อ ของการทำบุญ ล้วนก่อให้เกิด ความคิดที่ดีต่อบุคคลผูประพฤติ ย่อมก่อให้เกิด ความสบายใจ ไม่ฟุ้งซ่าน เกิดความผ่องใส เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติ อันนี้ท่านทั้งหลายย่อมสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านเอง
แต่ก่อนที่ท่านจะทำบุญใดใดก็ตาม ก็ควรละความคิด ละความอยาก เพราะหากท่านทำบุญใดใดก็ตามเพื่อหวังผลที่เกินเลย เกินความเป็นจริง หรือไม่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ ท่านทั้งหลายย่อมไม่เกิดความผ่องใสในจิตใจ อาจเกิดทุกข์ เพราะไม่ได้ดังที่หวังไว้จากการทำบุญ ในที่นี้ไม่ยกตัวอย่างนะขอรับ ขอให้คิดพิจารณาด้วยตัวเอง ย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจได้ดีกว่าขอรับ

เจ้าของ:  damjao [ 02 ก.ย. 2009, 09:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

เกิดมาเป็นผู้ให้หน้าสดใสใจเบิกบาน
เกิดมาเป็นขอทานหน้าหยาบกร้านร้าวรานใจ
ให้ทานคนยกย่องชื่อเสียงก้องขจรไกล
ปรารภทำอะไรคนเต็มใจรับใช้งาน
ทะทังมิตตานิคันถะติ คำะพระสอน
ใครเป็นผู้ให้ทานทุกถิ่นฐานมิตรมากมี
ชาตินี้พอมีให้จงฝึกใจให้ยินดี
สร้างทานบารมีเป็นที่พึ่งทุกชาติไป
ดวงจิตจงผ่องแผ้วให้ทานแล้วอย่าเสียดาย
ขอสัตว์โลกทั้งหลายจงสมหมายตามต้องการ

ทำบุญนั้น พุทธบริษัทควรมีสัมมาทิฐิเป็นเบื้องต้น
เราควรเชื่อในเรื่องบาปบุญ คุณโทษ
เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว
ทาน ที่ให้ผลมาก
1.เรามีจิตคิดจะให้ จิตแจ่มใสเบิกบาน
2.วัตถุทานนั้นบริสุทธิ์ เราได้มาจากการประกอบสัมมาอาชีวะ
3.เมื่อให้ทานแล้วเราไม่เสียดาย

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ......... tongue

เจ้าของ:  wic [ 02 ก.ย. 2009, 23:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

บุญ หมายถึง การชำระกิเลส

การทำทานให้ได้บุญ ก็ต้องทำทานให้ลดกิเลสไห้ได้ด้วย

ทำบุญ 100บาท ขอนั่นขอนี่ บางทีมากกว่า 100 กิเลสโลภลดลงหรือเปล่า
ถ้ากิเลสเพิ่มจะได้บาปนะนา

บางคนกว่าจะเก็บให้ได้ 100 แสนยากเย็น แต่ตัดใจเสียสละทำบุญได้บุญมาก

อีกคนไปเอาเปรียบขูดรีดเขามา100ล้าน แบ่งทำบุญแค่ 1ล้านทำข่าวใหญ่โต
อย่างนี้ได้บุญนิดเดียว

เจ้าของ:  sasikarn [ 02 ก.ย. 2009, 23:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

:b8: :b8: :b8: เห็นด้วยทั้งหมดเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน รักษาศิล การเจริญภาวนา ควรเป็นการปฏิบัติที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ทำด้วยใจที่บริสุทธิ เช่นเดียวกับการแผ่เมตตาเราควรแผ่เมตตาด้วยใจที่บริสุทธิ และด้วยใจของผู้ต้องการที่จะให้จริง ๆ แล้วเราก็จะได้พบกับความสุขใจ และอิ่มใจจริง ๆ

:b8: :b8: ...นู๋เอเองจ้า...

เจ้าของ:  อโศกะ [ 14 ก.ย. 2009, 17:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

tongue บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง
ทางได้บุญ ๑๐ วิธี เป็นสิ่งที่ชาวพุทธพึงต้องรู้ แบ่งออกเป็น ๓ หมวด
หมวดทาน
๑.ทาน การให้ปันสิ่งของของตนเองให้กับผู้อื่น
๒.ปัตติทาน การแผ่ส่วนบุญ
๓.ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาส่วนบุญของตนเองและผู้อื่น
หมวดศีล
๔.ศีล การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ
๕.อัปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๖.เวยยาวัจจะ การน้อมรับใช้ผู้อื่น
หมวดภาวนา
๗.ธัมมสวนะ การฟังธรรมตามกาล
๘.ธัมมเทศนา การแสดงธรรม
๙.ภาวนา การทำสมถะภาวนา

๑๐.ทิษฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้อง ด้วยวิปัสสนาภาวนา
smiley

ไฟล์แนป:
100_5142.JPG
100_5142.JPG [ 60.98 KiB | เปิดดู 2359 ครั้ง ]

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 14 ก.ย. 2009, 19:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับทุกคำตอบเลยครับ

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/