ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๖ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26099 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 07 ต.ค. 2009, 13:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๖ |
จิต,เจตสิก,รูป,นิพพานฯ ตอนที่ ๑๖ ท่านทั้งหลาย เมื่อได้อ่าน ได้เรียนรู้ ได้ทำความเข้าใจ และคิดพิจารณา ไตร่ตรองในขั้นตอนแรกของทฤษฎี หรือขั้นสร้างความคิด สร้างข้อคิด หรือถ้าเป็นในหลักการบริหารก็เรียกว่า ขั้นนโยบาย หรือขั้นวางแผน ซึ่งในขั้นตอนแรก(ตอนที่ ๑๓,๑๔,๑๕)นั้นเป็นการอธิบายถึงคุณลักษณะ หรือวิธีการหรือเรียนรู้ขั้นพื้นฐานให้ได้รู้ว่าบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประเภทใด มีลักษณะอย่างไร ละหรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอกสิ่งใด ปรากฏเป็นมรรค ๔ ,ผล ๔ อันเป็นการสร้างพื้นฐานด้านความรู้หรือธรรมอันประกอบอยู่ในจิต เป็นพื้นฐานด้านความคิด เป็นพื้นฐานของสภาพสภาวะจิตใจ เป็นพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก เพื่อเตรียมตัวศึกษา หรือเรียนรู้ในขั้นต่อไป การศึกษา การเรียนรู้ ในชั้นต่อไปนี้ เป็นการศึกษาหรือเรียนรู้ต่อเนื่องจากชั้นพื้นฐานหรือ ชั้นทฤษฎีฯที่ท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษา หรือได้เรียนรู้และทำความเข้าใจไปพอสังเขปแล้ว ซึ่งในชั้นนี้จะเป็นการอธิบายเพิ่มเติมให้ได้รู้ว่า สิ่งที่มรรค ๔,ผล ๔ ได้แสดงไปแล้วนั้นล้วนมีเหตุเกิดจาก หลักความจริงที่ประเสริฐ ๔ อย่าง หรือหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ย่อมหมายความว่า การขจัด หรือการละ หรือการกำจัด หรือการสำรอก สังโยชน์(สัญโยชน์)ทั้งหลาย รวมไปถึง นิวรณ์ทั้งหลาย ล้วนเป็นเหตุ ล้วนเป็นปัจจัย ที่เกิดจากหลักความจริงที่ประเสริฐ ๔ อย่าง และล้วนมีต้นตอมาจากหรือล้วนเป็นผลมาจาก “จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน”ในประโยคที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะต้นตอของเหตุและปัจจัยแห่งหลักความจริงที่ประเสริฐ ๔อย่าง ล้วนเกิดจาก “จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน” และล้วนเป็นผลมาจาก “จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน”ด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังทำให้เกิดผล คือ หลักความจริงที่ประเสริฐ ๔ อย่าง หมุนวนกันเป็น วัฏจักร มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะใช้เวลาเกิดขึ้นสั้นหรือยาวก็แล้วแต่ จะใช้เวลาในการตั้งอยู่สั้นหรือยาวก็แล้วแต่ และจะใช้เวลาในการดับไปสั้นหรือยาวก็แล้วแต่ หรือจะดับสูญหรือดับบางส่วนบางครั้งก็แล้วแต่ หลักความจริงที่ประเสริฐ ๔ อย่างนี้ ในทางศัพท์ภาษาตามหลักพระอภิธรรมปิฎกก็คือ “อริยสัจ ๔” ประกอบไปด้วย ๑. ทุกขอริยสัจ หรือ ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ หรือ สมุทัย ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ หรือ นิโรธ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หรือ มรรค หลักความจริงที่ประเสริฐ ๔ อย่าง หรือ อริยสัจ ๔ นี้เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งในการศึกษา ในการเรียนรู้ ในการคิดพิจารณา และยังเป็น ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา อันหมายถึง “ความรู้แจ้ง รู้ตลอด รู้จริง รู้ตามหลักธรรมชาติ สามารถปฏิบัติได้” ดังนั้นในหลักพระอภิธรรมปิฎก ของพุทธศาสนา จึงได้มีธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ซึ่งล้วนเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย บางชนิด ก็เกิดขึ้นหรือมีขึ้นจากความจำเป็นในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน เกิดจากวิถีชีวิต หรือเกิดจากความจำเป็นในการดำเนินชีวิต เพื่อเตรียมตัว เพื่อการปฏิบัติ ในการละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก กิเลส และ อาสวะแห่งกิเลส ธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย บางชนิด ก็เป็นการฝึกฝนเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่เองในตัวสิ่งมีชีวิตทั้งหลายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ล้วนจำเป็นต้องปฏิบัติควบคู่กันไปกับการเรียนรู้ หรือศึกษา หลักธรรมต่างๆ ตามระดับความต้องการของแต่ละบุคคล หรือตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล หมายความว่า แต่ละบุคคลจะศึกษา เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือหรือหลักวิธีหรือเครื่องช่วยแบบไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลนั้นมีความต้องการที่จะมุ่งสู่ชั้นอริยะบุคคล นับตั้งแต่ชั้นโสดาบัน ไปจนถึง นิพพาน หรือ บุคคลนั้นอาจมีความต้องการเพียงศึกษา หรือเรียนรู้เพียงเพื่อ กล่อมเกลาจิตใจ กล่อมเกลาพฤติกรรม ให้สามารถใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข บางธรรมะที่เป็นเครื่องมือ เป็นหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ก็สามารถใช้ได้กับทุกบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะมีความต้องการในการเรียนรู้หรือศึกษา เพื่อจุดมุ่งหมายใดใดก็ตาม เช่น การปฏิบัติสมาธิ สติปัฏฐาน กสิณ อย่างนี้เป็นต้น อีกทั้งควรได้ทำความเข้าใจไว้อีกว่า หลักธรรมต่างๆนับตั้งแต่ หลักความจริงที่ประเสริฐ ๔ อย่าง และอื่นๆ ซึ่งเป็นหลักธรรมการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักทฤษฎีเบื้องต้น หรือเพื่อให้เกิดการละ การขจัด การขจัด หรือการสำรอก สังโยชน์ ๓,สังโยชน์๑๐, กามราคะ พยาบาท ฯลฯ นั้น จะเป็นหลักธรรมแยกย่อยออกมาอีก ล้วนเป็นหลักปฏิบัติ หลักที่ควรประพฤติ หลักที่ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ หลักธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ใน จิต,เจตสิก,รูป อันเกิดจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม นับตั้งแต่กรรมพันธุ์,การสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน,สิ่งแวดล้อมต่างๆ,วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ฯลฯ ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต อันเป็นสิ่งที่ควรได้คิดพิจารณาศึกษาเรียนรู้และจดจำ เพื่อให้บุคคลนั้นๆบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย หรือบรรลุถึงความต้องการของตน ท่านทั้งหลาย ต้องเรียนรู้ ต้องศึกษา ต้องคิดพิจารณา เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า “ ธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย เป็นเพียงปัจจัยประกอบอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ ศึกษา อาจจะกล่าวได้ว่า ธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี เป็นเครื่องช่วยเพื่อให้บุคคลนั้นๆบรรลุถึง ซึ่งความต้องการได้ดีขึ้นสะดวกขึ้น” ดังนั้น ก่อนที่ทั้งหลายจะได้ศึกษา หรือเรียนรู้ ในรายละเอียดของ “อริยสัจ ๔”จึงควรได้ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ ในธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วยในการที่จะทำให้บรรลุสู่ความต้องการได้ดีขึ้นสะดวกขึ้น ซึ่งเครื่องมือหรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ได้แก่ ๑. โพชฌงค์ ๗ ๒. มรรค ๘, ๓. ฌาน, ๔. สติปัฎฐาน ๔, ๕. กสิณ, จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ๗ ต.ค. ๒๕๕๒ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 08 ต.ค. 2009, 14:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๖ |
เขียนผิดไป ๑ คำ จึงได้แก้ไขขอรับ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 10 ต.ค. 2009, 13:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๖ |
เขียนคำเกินไปอีกหนึ่งคำขอรับ จึงได้แก้ไข ในคำว่า สัมโพชฌงค์ เปลี่ยนเป็น โพชฌงค์ ขอรับ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |